เมื่อวันที่ 15 พ. ย. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในวาระแรกที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอโดยนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 25 คนเพื่อแปรญัตติให้เสร็จภายใน 7 วัน
กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายฉบับแรกที่เข้า สนช. ซึ่งมีหลายคนเป็นห่วงว่าให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากเกินไป (แค่สงสัยไม่ต้องมีหลักฐาน) ในฐานะประชาชนอย่างเราๆ ก็ต้องตรวจสอบว่าเค้าออกกฎหมายอะไรกันบ้าง มีแหม่งๆ รึเปล่า ใครสนใจลองอ่านร่างได้ตามลิงก์ที่ประชาไทครับ
Comments
โดยส่วนตัว คิดว่า.. ถึงแม้ พ.ร.บ. นี้จะ 'ค่อนข้าง' มีความจำเป็น แต่มันก็เกี่ยวเนื่องกับสิทธิของประชาชน และอำนาจของเจ้าหน้าที่ และมีผลกระทบอย่างมาก..
ซึ่งผมคิดว่า.. กฏหมายที่มีผลกระทบมากขนาดนี้ ไม่ควร ผ่านออกมาโดย สนช. เพราะประชาชน (ผู้ที่ได้รับผล) ไม่ได้เป็นผู้เลือกให้เค้ามาออกกฏหมาย
iPAtS
ี่รัฐบาลรักษาการ รักษาการ รักษาการ
ร่างทรง
ใช่ครับ ร่างทรง
เชิญอ่านความคิดเห็นจากผู้เชียวชาญด้านนี้โดยตรงได้ที่ กฎหมาย ที่ร่างกันแบบไม่เร่ง แต่ผ่านกันแบบรีบ ๆ (ตอน 1) ครับ
ร่าง พรบ.นี้รับหลักการไปแล้ว ในขณะนี้มีการตั้งกรรมาธิการเพื่อแปรญัตติ ดูจากรายชื่อ เชื่อว่ากรรมาธิการน่าจะเปิดรับความคิดใหม่ๆครับ (ผมคิดเอาเองนะ)
แต่ประเด็นสำคัญ เหมือนอย่างคุณ bow (ขออภัยที่เอ่ยนาม) เขียนไว้ที่ไหนสักที่ คือไม่มีประโยชน์ที่จะบ่นไปบ่นมาโดยไม่ทำอะไร
ตอนนี้พบช่องทางออนไลน์ที่จะส่งข้อมูลให้กรรมาธิการอยู่บน Community Portal ที่เนคเทค ไม่คิดว่านี่เป็นช่องทางตรง แต่เชื่อว่าจะมีกรรมาธิการบางท่านหรือหลายท่าน แวะมาเก็บข้อมูล หรือรวบรวมประเด็นไว้ที่นั่นเพื่อพิมพ์แจกกรรมาธิการได้ แบบนี้น่าจะดีกว่าการนั่งบ่นกันไปเรื่อยๆ
จึงอยากเชิญชวนแบบด่วนที่สุด ขอให้ช่วยกันรวบรวมประเด็นที่ควรแก้ไข (เช่นอำนาจของเจ้าพนักงานในมาตรา 16) ขอให้ชัดเจน และสุภาพครับ เวลาจะแก้กฏหมาย คงไม่ใช่แ่ค่ชี้ว่ามาตรานี้ไม่ชอบเท่านั้น น่าจะมีหลักการ/เหตุผล/แก้เป็นอะไรด้วย
[เอกสารอ้างอิง: ร่าง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ผ่าน สคก.แล้ว เป็นฉบับที่รับหลักการไปแล้วและกรรมาธิการกำลังแปรญัตติ]
การแปรญัตติในระดับกรรมาธิการ จะต้องให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 ดังนั้นจึงเหลือเวลาอีกไม่มากแล้ว
วิกิ รวบรวมความเห็นเกี่ยวกับร่าง พรบ.นี้ครับ