นอกจากประเด็นโอเพนซอร์สแล้ว อีกประเด็นที่สำคัญไปไม่น้อยกว่ากันคือ "ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์" ที่โดนเร่งทำคลอดอย่างด่วนมาก
แม้กฏหมายนี้จะมีประโยชน์ แต่หากมีเจตนาแอบแฝงนั้นจะเป็นกฏหมายที่นำประเทศกลับไปยุคมืดเช่นประเทศจีนได้ง่ายๆ พอดีเว็บพันธมิตรอย่างไม่เป็นทางการของเรา BioLawCom.de เขียนบทวิเคราะเรื่องนี้อย่างละเอียด ทุกท่านควรเข้าไปอ่านกันครับ
Comments
ออกมาดักการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลบนอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะเลย อย่างนี้ก็ไม่ไหวนะ
พักนี้เห็น url blognone บ่อยจริงๆ เจอที่นี่อีกแห่งนึง http://thaienews.blogspot.com/2006/11/ict.html
ยาวมากครับ ขอตัวไปอ่านให้จบก่อน
iPAtS
ปรกติแล้ว ว่าง ๆ ไม่มีอะไรทำ ผมก็จะนั่งอ่านกฎหมายเป็นว่าเล่นครับ โดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, ประมวลกฎหมายอาญา และประมวลรัษฎากร สามเล่มนี้จะอ่านเป็นพิเศษ
ทีนี้ประเด็นที่น่าสนใจของ ร่างพรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ อยู่ตรงที่การให้อำนาจเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตาม ร่าง พรบ.ครับ ที่ให้อำนาจในการเข้ายึดจับกุมได้ ก่อนขออำนาจจากศาล
ผมว่าผมอ่านกฎหมายมาเยอะนะ ในประเทศไทยเรามีกฎหมายอยู่แค่ฉบับเดียวเท่านั้น ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานในการทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องขออำนาจศาล นั่นคือ ประมวลรัษฎากร ที่ให้อำนาจในการอายัดทรัพย์, ยึดทรัพย์สิน, ยึดที่ดิน, ยึดบัญชีหุ้น, ยึดบัญชีเงินฝากธนาคาร หรืออะไรที่ตีค่าเป็นมูลค่าได้ เพื่อเอามาชดใช้ภาษีคงค้าง และค่าปรับที่ติดค้างกับกรมสรรพากร
นอกนั้นจะทำอะไรก็ต้องขออำนาจศาลทั้งนั้น
แต่ฉบับนี้เขียนคลุม ๆ น่ากลัวจริง ๆ
----- http://www.peetai.com | เว๊ปบล็อกที่โม้แต่เรื่อง Software as a Service.
วันก่อนแค่จะเข้าไปดูดวงทางเว็ปที่ดูประจำ ปรากฏว่าต้องรีจิสเตอร์ยืนยันตนด้วยบัตรประชาชน - -* แค่อ่านเองนะ ไม่ได้โพสต์!
ผมเห็นด้วยครับที่รัฐบาลรักษาการไม่ควรจะนำร่างกฎหมายใดที่เคยมีข้อขัดแย้งทางความคิดมาดำเนินการในช่วงนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้องการสมานฉันท์ การที่รัฐบาลปล่อยกฎหมายที่มีข้อขัดแย้งกันมาก่อนในลักษณะนี้เข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ผลที่ออกมาก็คือรัฐบาลได้เลือกข้างไปแล้ว เราท่านทั้งหลายคงจะสามารถพยากรณ์ออกกันได้เลยว่าผลจะออกมาในลักษณะใด เราไม่สามารถคาดหวังอะไรจากการพิจารณาในรายละเอียดของสนช.ได้เลย อีกทั้งในอดีตที่ผ่านมาท่านประธาน สนช. ท่านก็ยืนอยู่ในฝั่งที่ตรงข้ามกับพวกเราส่วนหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีการพิจารณาในขั้นกรรมาธิการกันอีก เราก็ยังไม่มั่นใจว่ากรรมาธิการทั้งหลายจะสามารถพิจารณาข้อมูลที่มีข้อถกเถียงขัดแย้งทางความคิดกันได้ครบถ้วน เรียนตรงๆ เลยที่มีความเห็นเช่นนี้ ก็ด้วยทั้งเหตุผลในเรื่องเวลาที่ท่านจะต้องใช้ในการศึกษาหาเรื่องราว และเรื่องความสามารถทันเกมที่จะแก้ลำกับกลุ่มที่มีความคิดเผด็จการ ที่จะผ่านกฎหมายในลักษณะที่มีการใช้อำนาจริดรอนสิทธิประชาชนฉบับนี้ ผมได้ยินว่ามีผู้เปรียบเทียบกับ พรบ.การพิมพ์ฯ ตามประกาศคณะปฏิบัติฉบับที่ 42 ว่ามีเนื้องหาความเป็นเผด็จการเทียบเคียงกันได้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราทำได้ในขณะนี้ก็คือการให้ข้อมูลกับสมาชิก สนช. ให้ท่านทั้ง 241 คน (ขอตัดประธานออก 1 คน) ได้รู้เข้าใจในปัญหาทั้งหลายทั้งปวง เพื่อที่ท่านจะประเมินได้ว่าควรจะผ่านร่างฉบับนี้ออกไป หรือยั้บยั้งไว้รอพิจารณาจากสภาฯ ชุดถัดไป หรือหากเป็นไปได้ ถ้ากระทรวงไอซีทีเองจริงใจในการฟังเสียงประชาชน ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะเป็นผู้เสนอขอชลอการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ไว้ก่อน หรือมีกระบวนการอื่นใดที่จะช่วยให้การพิจารณาของกรรมาธิการเป็นไปอย่างถี่ถ้วน ไม่ใช่ผ่านไปอย่างลวกๆ สิ่งที่กระทรวงไอซีทีหวังว่าจะได้เป็นผลงาน ก็จะได้เป็นผลงานที่ดี หาไม่แล้วมันอาจเป็นกรณีอัปยศได้
นี่มันรัฐบาลเผด็จการนะครับ คุณจะเอาอะไรหนักหนากับพวกเขา ขนาดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง พวกคุณยังไม่ได้อะไรดังใจเลย แล้วจะมาวิจารณ์ให้เสียเวลา เสียอารมณ์ทำไม ลืมอะไรไปหรือเปล่า เราอยู่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการ
ผมว่านะครับ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลเผด็จการ หรือรัฐบาลเลือกตั้ง เราก็คงจะต้องวิจารณ์ตลอดเวลาเช่นกันนะครับ
ยิ่งเป็นรัฐบาลเผด็จการ ประชาชนอย่างเรายิ่งต้องสนใจและตั้งใจดูมากยิ่งขึ้นไปอีก
ยังไงประชาชนก็เป็นเจ้าของประเทศนะครับ
มาตรา 13 น่ากลัวจริงๆ
รัฐบาลเผด็จการ วิจารณ์ไงเค้าก็ยังตะแบงได้ รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง สมัยนี้ไม่ทำ สมัยหน้าซวย อีกอย่างวิจารณ์รัฐบาลเผด็จการ ถ้าล้ำเส้นไปมาก ก็ อาจจะถูกเรียกพบ (แต่ให้ข่าวว่าขอเข้าพบ) ก็เป็นได้ ว่าจะไม่เขียนเกี่ยวกับการเมืองใน blognone นะ แต่ก็นะมันอดไม่ได้ การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัว
jittat เห็นด้วยว่าจะรัฐบาลเผด็จการหรือเลือกตั้ง ยังไงเราก็ต้องวิจารณ์เพราะเราเป็นฝ่ายถูกริดรอนสิทธิ์ แค่ต้องวิจารณ์ไม่ล้ำเส้นเท่านั้นเอง (เส้นที่เค้าขีดกับ เส้นที่เราขีดอาจจะคนละตำแหน่งได้)