ข่าวเก่า: วิเคราะห์ พรบ. นี้ที่ BioLawCom.de
อาทิตย์ก่อนเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปเป็นฉบับแรก สรุปด้วยการตั้งคณะกรรมการแปรญัตติ 7 วัน (แปรญัตติ - แปลว่า ให้เสนอการเปลี่ยนแปลง ครับ ผมก็เพิ่งรู้จากข่าวที่แล้วอะแหละ) เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (23 พ.ย.) ทางคณะกรรมการได้ประชุมรอบแรก รายงานการประชุมสามารถอ่านได้ที่ Wiki ของ NectecPedia
พรบ. นี้จะมีผลกระทบต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบ้านเราพอสมควร ไม่อยากให้มองว่าเป็นเรื่องกฎหมายไกลตัว ลองกดเข้าไปอ่านรายละเอียดใน Wiki (หรือเวอร์ชันย่อยแล้วของ BioLawCom.de ก็ได้) ภาคประชาชนอย่างเราต้องช่วยกันครับ
ลิงก์เรื่องเดียวกันของศูนย์ข่าวอิศรา
ป.ล. Wiki ของ Nectec อันนี้ยังเป็นศูนย์รวมเอกสารเรื่อง OLPC ด้วย เผื่อใครต้องการหาข้อมูลที่เป็นทางการ
อัพเดต - ไทยรัฐออนไลน์ มีคำสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ด้วย
Comments
ไม่ยักรู้ว่าเดี๋ยวนี้มี Nectecpedia ด้วย
pittaya.com
เพิ่งรู้เหมือนกันครับ...
ขอบคุณ nectec*pedia ที่เอามารวมไว้ครับ หาอ่านจากสื่อกระแสหลักไม่ได้เลย หรือว่ามันไม่น่าสนใจเสียแล้ว
อยากให้คนทำสื่อโดยเฉพาะสื่อออนไลน์สนใจเรื่องนี้ให้มากๆ เพราะมันเกี่ยวกับเราทุกคนที่ใช้อินเตอร์เนตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย
-_-"
ปกป้อง | เฟสบุ๊ก | ทวิตเตอร์
เรื่องที่เกี่ยวข้อง http://facthai.wordpress.com/2006/11/22/a-petition-to-the-national-human-rights-commission-thai/
ถ้ากฎหมายตัวนี้มีการเปิดช่องให้มีพระราชกฤษฎีกาประกอบด้วยล่ะก็ สงสัยเวลาจะอ่านทีคงต้องดูกันยาวเลยล่ะ เพราะถ้ามีพระราชกฤษฎีกาแล้ว ก็จะมีประกาศ, คำสั่ง และระเบียบตามมาอีกเป็นกระตั๊ก
ถึงตอนนั้นเวลาจะทำอะไร ก็ต้องระวังตัวกันแจ เหมือนกับต้องระวังเรื่องภาษีตามประมวลรัษฎากรนั่นแหล่ะ
----- http://www.peetai.com | เว๊ปบล็อกที่โม้แต่เรื่อง Software as a Service.