วันนี้การจัดสรรคลื่นย่าน 2100MHz ด้วยวิธีการประมูลก็จบลงไปแล้วตามคาด ด้วยการแบ่งคลื่นรายละ 15MHz จากการเข้าประมูลของผู้ให้บริการสามราย และเพดานคลื่นที่ไม่สามารถประมูลได้เกินหนึ่งในสาม ทำให้ไม่มีเหตุผลที่เอกชนจะต้องเข้าต่อสู้ราคาประมูล
แม้จะเกิดความไม่พอใจในหลายส่วนจากการประมูลครั้งนี้ จากการที่ราคาประมูลไม่ได้ขึ้นไปสูง และการประมูลจบลงอย่างรวดเร็วเทียบกับหลายประเทศที่ต่อสู้กันในการประมูลนับร้อยรอบ แต่หากการประมูลนี้สามารถผ่านกระบวนการที่เหลือ (เช่น การโหวตรับรองจากกสทช.) และออกใบอนุญาตได้ในที่สุด ก็นับว่าเราจะเข้าสู่ยุค "ใบอนุญาต" ในการจัดสรรคลื่นความถี่เป็นครั้งแรกนับแต่รัฐธรรมนูญ 2540 พยายามทำให้เกิดขึ้นเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ถึงตอนนี้เราจะมาดูกันว่าความเปลี่ยนแปลงนี้จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอะไร และเราต้องติดตามอะไรกันต่อไป
ความเปลี่ยนแปลงอย่างแรกคือผู้ให้บริการทั้งสามราย จะเป็นผู้ให้บริการที่ถือคลื่นความถี่เอง ภายใต้การกำกับดูแลของกสทช. ระบบใบอนุญาตเช่นนี้ทำให้ผู้ให้บริการทั้งสามรายมีอิสระในการทำธุรกิจมากขึ้น สามารถเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีไปมาได้หากได้รับอนุญาตจากกสทช. และทรัพยสินต่างๆ เป็นของบริษัทเองทั้งหมด ไม่ต้องส่งคืนรัฐหลังหมดสัปทานอีกต่อไป เว้นเพียงอุปกรณ์วิทยุที่ต้องนำออกจากราชอาณาจักรหลังหมดใบอนุญาต
ในระบบสัมปทานเดิมนั้น เอกชนนอกจากต้องลงทุนในการวางโครงข่ายทั้งหมดแล้ว เมื่อเอกชนได้ดำเนินกิจการจนครบสัญญาสัมปทานแล้วจะต้องโอนอุปกรณ์ทั้งหมดตั้งแต่อุปกรณ์เครือข่าย เสาส่ง รวมถึงลูกค้าทั้งหมดกลับให้หน่วยงานเจ้าของสัมปทาน (ในกรณีของกิจการโทรคมนาคม คือ CAT และ TOT ในกิจการวิทยุโทรทัศน์จะมีอสมท. และกองทัพต่างๆ) ยกเว้นว่าจะมีการเจรจาต่อสัญญากันใหม่เป็นรอบๆ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการตกลงต่อสัญญากันไปบ้างแล้ว และไม่สามารถต่อได้อีก เพราะพ.ร.บ.กสทช. ฉบับล่าสุดระบุให้ใบอนุญาตของเจ้าของสัมปทานเองหมดอายุไปพร้อมๆ กับสัมปทาน
ภายใต้ระบบใบอนุญาต กสทช. จะเป็นศูนย์กลางเดียวที่กำกับดูแลผู้รับใบอนุญาตทั้งหมด แม้ในความเป็นจริงจะมีอนุกรรมการต่างๆ หรือสภาวิชาชีพที่กำกับในส่วนต่างๆ แต่อำนาจจะออกมาจากกสทช. ผ่านประกาศต่างๆ แต่ทุกวันนี้เองอำนาจของกสทช. ยังถูกตั้งคำถามและท้าทายในอีกหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นประกาศกำหนดเพดานราคาค่าโทร 99 สตางค์ที่ดูยังไม่มีสภาพบังคับ หรือจะเป็นการกำกับดูแลเรื่องเครือข่ายล่มที่มีการสั่งปรับแล้วก็ยังเป็นคดีทางปกครอง ไปจนถึงการทำสัญญาระหว่าง CAT และ Truemove-H ที่สั่งให้แก้ไขมานานแล้วก็ยังไม่มีความคืบหน้า กสทช. ต้องพิสูจน์ตัวเองว่ามีความจริงจังที่จะบังคับคำสั่งของตัวเองเหล่านี้ให้เห็น
ประเด็นที่การประมูลวันนี้ถูกวิจารณ์มากที่สุดคงเป็นเรื่องที่การออกแบบเปิดให้เอกชนทั้งสามรายได้คลื่นเท่าๆ กันจากการลดเพดานคลื่นจาก 20MHz เหลือ 15MHz ทำให้ปลายทางของการประมูลแทบไม่มีทางอื่นนอกจากทุกรายได้คลื่นเท่าๆ กันทั้งหมดเพราะระยะเวลาของการออกประกาศกับระยะเวลาการประมูลก็สั้นมากจนไม่มีทางที่เอกชนรายอื่นจะสามารถระดมเงินทุนเข้ามาแข่งขันได้
เงินค่าใบอนุญาตทั้งหมดกว่าสี่หมื่นล้านบาท แต่ใช้งานได้ถึง 15 ปี เทียบไม่ได้กับเงินค่าสัมปทาน ที่ทั้งสามค่ายเคยจ่ายผ่านรัฐวิสาหกิจก่อนหน้านี้โดยจ่ายตามสัดส่วนรายได้ แต่ต้องอย่าลืมว่าเงินจำนวนนี้ไม่ได้หายไปทั้งหมด รัฐบาลมีสิทธิที่จะกำหนดเงินภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมเพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปจากเงินสัมปทาน โดยตอนนี้อัตราปัจจุบันอยู่ที่ 0% แต่มีเพดานภาษีอยู่ที่ 50% ตัวกรมสรรพสามิตเองก็ออกมาแสดงท่าทีก่อนหน้านี้แล้วว่าจะเก็บเงินภาษีในส่วนนี้
แต่การปล่อยให้คลื่นกับเอกชนทั้งสามรายไปเท่าๆ กันไม่ใช่เรื่องที่เราควรปล่อยผ่านไปเสีย เพราะสามารถเก็บรายได้ด้วยภาษี เพราะการประมูลนั้นไม่ใช่เรื่องของรายได้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการจัดสรรสรรพยากรของชาติให้กับคนที่เหมาะสม แนวคิดคือคนที่สามารถจ่ายแพงมากกว่าได้แสดงว่ามีความสามารถจะทำประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านี้ได้มากกว่าด้วยเช่นกัน การออกแบบกฎเช่นนี้ไม่ได้แก้ปัญหาที่ทุกวันนี้เป็นอยู่ คือ มีผู้ใช้มากมายแย่งทรัพยากรจำนวนน้อย ขณะที่ผู้ให้บริการที่ไม่มีศักยภาพกลับได้ทรัพยากรจำนวนมากๆ ไปให้บริการคนเพียงน้อยนิด
ผมมองว่ากสทช. ต้องรับผิดชอบต่อการจัดสรรรูปแบบนี้ แต่ไม่เห็นด้วยกับการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อล้มการจัดสรรครั้งนี้ไปเสีย เพราะแม้จะทำได้สำเร็จ แต่ความสำเร็จจะสร้างภาพที่ไม่น่าเชื่อถือต่อระบบการประมูลตามกระบวนการที่เข้าไปยังราชกิจจานุเบกษาแล้ว การสร้างภาพลักษณ์เช่นนี้จะยิ่งสร้างกำแพงความกลัวให้กับผู้ประกอบการรายอื่นที่อาจจะเข้ามาแข่งขันในไทยซึ่งจะมีโอกาสสูงขึ้นหลังการเปิด AEC หรือกระทั่งทุนไทยกลุ่มอื่นๆ เองที่อาจจะเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ สร้างตลาดที่ผูกขาดกับผู้ให้บริการรายเดิมยิ่งกว่าเก่า กระบวนการที่ผมเสนอ คือ ให้มีการเสนอเรื่องเข้าถอดถอนกสทช. ต่อวุฒิสภา ตามมาตรา 22 ของพ.ร.บ.กสทช. ที่ระบุให้ประชาชนสองหมื่นคนยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการถอดถอนได้ หากกสทช. ไม่ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ แม้กระบวนการที่ผ่านไปแล้วจะดำเนินต่อไป หากสามารถยื่นเรื่องให้วุฒิสภาพิจารณาได้ ไม่ว่าจะถูกถอดถอนหรือไม่ก็เป็นการแสดงให้กสทช. ตระหนักว่ายังมีภาระหน้าที่ต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นการเรียกร้องความรับผิดชอบจากวุฒิสภา ผู้แต่งตั้งกสทช. ชุดนี้มาด้วยในเวลาเดียวกัน
ประเด็นคลื่น 3G นั้นเป็นประเด็นที่ถูกสังคมจับตามองอย่างมาก เพราะความต้องการของตลาดที่สูงขึ้นเรื่อยมา แต่เราต้องไม่ลืมว่าหน้าที่ของกสทช. ไม่ใช่เพื่อมาจัดประมูล 3G ให้คนไทยใช้งานแล้วเลิกกันไป การประมูลจะมีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากนี้ไป หน้าที่ของกสทช. ที่จัดสรรคลื่นความถี่จะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุใบอนุญาตเดิมที่หมดลงไปทีละใบ
ในระยะสั้นแล้ว เพียงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า จะมีคลื่นจำนวนหนึ่งหมดอายุใบอนุญาต เช่น Truemove ที่จะหมดสัมปทานในวันที่ 15 กันยายน 2556 กสทช. ต้องเร่งวางแผนและออกประกาศที่จำเป็นว่าจะให้ Truemove ทำอย่างไรกับลูกค้าในระบบ และการนำคลื่นที่ได้ไปจัดสรรใหม่จะจัดสรรอย่างไร ให้จัดสรรได้ทันทีหรือจะรอแบ่งพื้นที่ใหม่เมื่อคลื่น 1800 ของผู้ให้บริการรายอื่นหมดอายุลง
การเรียกคืนคลื่นเมื่อหมดใบอนุญาต ปัญหาเช่นคลื่น GreenWave ที่สุดท้ายกสทช. ยังให้ GreenWave ใช้งานคลื่นต่อไปแม้ไม่ได้ผ่านกระบวนการจัดสรรด้วยการประมูล เป็นปัญหาที่ต้องนำขึ้นมาบนโต๊ะแล้วแก้ไขให้ประชาชนได้เห็น ว่าผู้ให้บริการทุกรายจะต้องเข้ามาสู่ระบบใบอนุญาตและการกำกับดูแลอย่างเท่าเทียมกัน หากกสทช. ยังวางเฉย ปัญหาจะลุกลามไปถึงปัญหาที่อาจจะเป็นแบบเดียวกัน กับช่องโทรทัศน์ ที่สัมปทานกับอสมท.และกองทัพบกจะทยอยหมดอายุในช่วงปี 2557-2566
กสทช. ไม่ได้มีเพียงฝั่งโทรคมนาคมที่เพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของไทยคือการย้ายจากโทรทัศน์อนาล็อกไปยังระบบดิจิตอลที่เป็นการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ และในระยะสั้นแล้วจะเข้าถึงประชาชนได้ง่ายกว่าเพราะบริการจำนวนมากไม่ต้องเสียค่าใช้บริการ สิ่งที่เราต้องจับตามองประเด็นโทรทัศน์ดิจิตอลไม่ต่างไปจากสิ่งที่เราเรียกร้องจาก 3G มากนัก ทั้งความทั่วถึงของบริการ และการประมูลคลื่น ล้วนเป็นหัวใจสำคัญทั้งสิ้น แม้ว่าทุกวันนี้เราจะมีช่องโทรทัศน์จำนวนมากผ่านดาวเทียม แต่โทรทัศน์ภาคพื้นดินยังคงเข้าถึงพื้นที่และกลุ่มคนจำนวนมาก โดยเฉพาะการดูโทรทัศน์ผ่านโทรศัพท์มือถือที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย โทรทัศน์ดิจิตอลจะช่วยให้คนที่เข้าถึงสื่อผ่านอุปกรณ์เหล่านี้มีทางเลือกมากขึ้นอีกมาก
Blognone เสนอเรื่องราวของ IPv6 มาหลายครั้ง หลายคนบ่นว่าทำไมรัฐจึงไม่เข้ามาดูแลจัดการ ส่วนใหญ่ๆ ของปัญหาคือหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอย่างกสทช. เองยังไม่มีการเข้ามาดูแลอย่างจริงจัง กระบวนการเปลี่ยนผ่านทั้งหมดล้วนเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ให้บริการและผู้ขายสินค้า ในหลายประเทศอุปกรณ์เครือข่ายที่จะนำเข้ามาขายได้ จะต้องถูกรับรองว่ารองรับ IPv6 หรืออย่างน้อยมีกระบวนการสร้างความมั่นใจว่าผู้ผลิตจะกลับมาอัพเกรดซอฟต์แวร์ให้รองรับ IPv6 เมื่อถึงวันที่หน่วยงานกำกับดูแลประกาศไว้ ทำให้ประเทศเหล่านั้น เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง ผู้ให้บริการทุกรายมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่ใช้บริการจะรองรับ IPv6 แล้ว
กองทุน USO เป็นกองทุนที่เก็บจากรายได้ของผู้ให้บริการผ่านใบอนุญาตกสทช. แทบทุกใบ กองทุนนี้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ปีข้างหน้า เราต้องตั้งคำถามกับกสทช. อีกมากในการจัดการกองทุน เช่น การจ่ายเงิน 950 ล้านให้กระทรวงไอซีทีไปจ่าย TOT และ CAT เพื่อทำโครงการ Free Wi-Fi ที่รอบอร์ดใหญ่อนุมัติ เราต้องตั้งคำถามและให้กสทช. ตอบให้ได้ว่ากรณีแบบนี้ทำไม TOT และ CAT จึงได้สิทธิเป็นผู้ติดตั้ง มีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างไร และพื้นที่ที่ติดตั้งเป็นพื้นที่ที่ต้องการกองทุนสนับสนุนจริงหรือไม่
Comments
มีแต่คนบอกว่ารัฐและประชาชนที่เสียภาษี เป้นฝ่ายเสียหาย
ทำไมผมไม่เห็นจะรู้สึกแตกต่างเลย?
เป็นบทความที่ดีมากครับ เห็นด้วยเกือบทุกประการ เรื่องประมูลวันนี้ผมเฉย ๆ (หมายถึงไม่ตกใจเพราะเดากันออกอยู่แล้ว) ผมซีเรียสเรื่องหลังจากนี้มากกว่า ว่าจะ "ควบคุม" ใครต่อใครได้จริงหรือเปล่า
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
คลื่น 850 900 1800 ที่จะหมดสัมปทาน น่าจะกันบริษัท พวก ais dtac true ออกไป ให้บริษัทใหม่ๆใด้ประมูลบ้างจะใด้แข่งขันกันเยอะๆ
เห็นด้วยนะ เราอาจได้เห็น 3BB Network และ...คิดไม่ออกแล้ว ก็เป็นได้ครับ
รวม truemove h ด้วยครับที่ต้องกันออกไป
เอาบริษํทใหม่เข้ามา ผมว่ามันแย่ไปนะครับ
เพราะพวกที่ทำอยู่แล้วอะไรๆ ก็พร้อมมากกว่าด้วย ประสบการณ์อะไรๆ ก็เพียบ น่าจะดีกว่า เจ้าใหม่ที่พึ่งเข้ามานะครับ
+1
เค้าไม่ได้กันเจ้าอื่นมาประมูลนี่ครับ พวกค่ายที่คุณว่าไม่มาประมูลกันเอง
ถ้าคุณมีเงินพอ จะตั้งบริษัทแล้วไปร่วมประมูลก็ได้ครับ ไม่มีใครห้าม
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
มันติดเงื่อนไขบางอย่างที่ค่ายใหม่ๆเกินปัญญาทำจริงๆครับเช่นการต้องครอบคลุมพื้นที่ขั้นต่ำ การทำให้เสร็จภายในระยะเวลาสั้น เพราะเค้าไม่ได้มีเบสเสาอะไรอยู่แล้วแบบเจ้าใหญ่ๆ
ถามว่าทำได้รึเปล่า ทำได้ครับ 40% ภายในสองปีมันไม่ได้ยากขนาดนั้น เพราะก่อนจะประมูลเค้าวางแผนกันมาแล้วหลายปีครับ ผู้ให้บริการบางรายเช่น 3BB นี้ก็มีโครงสร้างพื้นฐานกันอยู่แล้ว
ถามว่าทำไมไม่ทำ - เพราะฐานลูกค้ามันสร้างยากกว่าโครงสร้างพื้นฐานเยอะครับ ดูอย่างปัจจุบันก็ได้ มีผู้ให้บริการหลายรายที่ดีกว่า ถูกกว่า 3 บริษัท ให้บริการโดยใช้เครือข่ายของ TOT ซึ่งว่างและแทบไม่มีคนใช้ แต่ผมก็ไม่เห็นว่าผู้ให้บริการเหล่านั้นจะได้รับความนิยมนะ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ท่านต่องรอให้ ais โอนเสาเป็นหมื่นต้นให้ tot กอนสิครับมันถึงจะสูสี
อีก 3 ปีใช่ไหมครับ? ผมคงไม่มีความใจเย็นที่จะรอนานถึงขนาดนั้นครับ
อันที่จริง ผมอยากให้ TOT/CAT โดนยุบทิ้งภายใน 1-2 ปีนี้ซะด้วยซ้ำครับ :)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
555+
ถ้าไม่ติดเงื่อนไขพวกนี้ประชาชนนั่นแหละที่เสียประโยชน์นะครับ
จริงๆ แล้วสำหรับ "รอบต่อไป" ไม่ใช่ข้ออ้างเลยครับ เพราะสามารถไปใช้เสาร่วมกับคนอื่นได้ มีเสาพร้อม สายไฟเบอร์พร้อม จ่ายค่าเช่าแล้วใช้งาน
แต่ไม่มีฐานลูกค้า ไม่มีรายได้ ค่าเช่าต้องจ่าย ค่าจ้างคนต้องมีนะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ยังไงครับประมานว่าเสาของ ais จะมี dtac true ใด้ใช่ใหมครับ
ใช่ครับ
ผมกลัวรายเล็กจะสู้ราคาไม่ไหวครับ กสทช อาจตั่งราคาขันต่ำ 4500 แต่กันรายใหญ่ออกไปคนประมูลก็อาจจะเยอะก็ใดครับ
ประเด็นคือเรา 'ไม่สามารถกีดกัน' รายใหญ่ได้ครับ
และการลดราคาขั้นต่ำ ก็ไม่ได้เป็นการประกันว่าจะมีรายย่อยอื่นๆเข้ามาประมูล เอาจริงๆแค่ราคาขั้นต่ำ 4500M นี่ ก็โดนคนส่วนใหญ่วิจารย์กันแล้วครับว่าต่ำเกินไป
เราไม่สามารถทำอะไรให้ถูกใจคนทั้งหมดได้หรอกครับ
ปล. ผมเข้าใจว่าเว็บนี้ห้ามทำ multi-account นะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ก็แบนผมไปสิครับ ท่านบอกว่าราคา 4500 ต่ำไปอย่างนี้ 2100 ที่ 6x5mhz ทีราคาไม่ขยับอยู่ที่ 4500 ก็อาจจะมีปัญหาใด้
4500M ไม่ขยับ กับ 500M ขยับสูงสุด 1000M
แบบไหนดีครับ?
ลองถามตัวคุณเองก่อนดีกว่าครับ ว่าตัวคุณต้องการอะไรกันแน่ บริการที่มีคุณภาพ บริการที่ไม่มีคุณภาพแต่ราคาถูก หรือการเข้าแข่งขันของผู้แข่งขันรายย่อย
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมพูดถึงช่วงคลืนที่เขาแบงเป็น 9 ลอกนะครับ
ผมแบนไป 1 แล้วนะครับ ถ้าพบว่าสร้าง account เพิ่มอีกจะแบนทั้งหมดนะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
โหแบนใด้ไง id ใช้มานานด้วย โหดจริง
ก็บอกให้แบนเองนี่ครับ - -a แถมพลาดที่ไม่ได้ระบุ id ด้วย
ถามคนข้างบนที่บอกให้แบนดูสิครับ สงสัยเล่นสองคนแล้วไม่เคลียร์กันเอง
May the Force Close be with you. || @nuttyi
"ก็แบนผมไปสิครับ" ก็บอกเองนี่นา
จริงๆ แล้วในต่างประเทศมีบริการวิทยุโทรคมรายเล็กๆ เยอะครับ แต่เป็นบริการ "ท้องถิ่น" อาจจะตั้งเสา 8 เมตรต้นเดียวให้บริการในจังหวัดอะไรแบบนั้น
ส่วนบริการรายใหญ่ต้องรอวันพัฒนาตัวอีกไกลครับ (อย่างเร็วๆ ก็ 5-10 ปี สร้าง profile มาระดมทุนตลาดหุ้น) หวังรายใหญ่จากต่างประเทศอาจจะง่ายกว่า
ดังนั้นถ้าหวังรายเล็กประมูลเครือข่ายทั่วประเทศ อาจจะต้องมองถึงความสมเหตุสมผลด้วย ลำพังต้นทุนค่าใบอนุญาตไม่ใช่ทุกอย่าง
lewcpe.com, @wasonliw
ประมูลเสร็จ และได้ใช้เร็ว ก็ดี สำหรับกลุ่มคนที่ใช้งาน data
ส่วนคนบางกลุ่ม ที่ใช้มือถือธรรมดา คงได้ประโยชน์ไม่มากนัก
ได้ประโยชน์ครับ เพราะทุกวันนี้ที่สัญญาณ Voice ติดๆ ดับๆ ก็เพราะเอาความถี่เก่ามายัดเยียดการส่งข้อมูลแบบใหม่นี่แหละ
แล้วแนวโน้มของการใช้งานก็มุ่งไปที่การใช้ Data เพิ่มขึ้นคนที่เคยใช้แต่ Voice ก็จะเริ่มเปลี่ยนมาใช้ data มากขึ้นเพราะ agency มีวิธีการดึงคนมาใช้งานได้ดีขึ้น เร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน
ลองสังเกตดูว่าวัยเกษียณ ก็เริ่มหันมาหัดใช้ tablet กันมากขึ้นกว่า laptop แล้วนะครับ แล้วกลุ่มพวกนี้มีเงินจับจ่ายซื้อของเยอะด้วย เพราะเก็บหอมรอมริบไว้นานแล้ว แต่ติดตรงที่วัยเกษียณมักจะเลือกออกไปพักผ่อนอยู่ตจว. มากกว่าจะมาวุ่นวายในกทม. ถ้ามี 3G กระจายไปถึงจริงๆ อาจจะเห็นการตลาดที่เจาะกลุ่มวัยเกษียณเพิ่มมากขึ้นก็ได้ครับ ^_^
คนใช้มือถือธรรมดา อาจได้ใช้ช่องบริการที่มีคุณภาพดีขึ้นรึเปล่าคับ (เช่น เหตุการณ์เครือข่ายล่มอาจจะน้อยลงหรือไม่มีเลย) เพราะผู้ใช้บางส่วนอาจหันไปใช้บริการ 3G แทน??
(อันนี้ไม่รู้จริงๆ จึงสอบถามเพื่อความแน่ใจ)
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
พวกที่เคยรับช่วงไปขายต่ออย่าง i-Mobile, 3GMOjO, 360 ก็ไปไม่รอดในตลาดเพราะต้นทุนมาสูง
สุดท้ายก็ต้อง สามค่ายหลักนี้แหละครับ
ไม่รอดเพราะเครือข่ายที่ไปขอเช่าไม่ครอบคลุมมากกว่านะ แต่ถ้ามาขอเช่าจากสามเจ้าใหญ่ก็ไม่แน่
ถ้า margin ไม่ได้แย่เกินไป แบบตั้งราคาปัจจุบันอยู่ได้ถ้ามีลูกค้า 2-300,000 ราย (ต่อ MVNO) ผมว่าเป็นเพราะเครือข่ายมันแย่เองครับ
ผมพยายามใช้ตั้งแต่แรกๆ พบว่าไม่ไหว และลองครั้งล่าสุดก็ยังใช้งานไม่ได้ แนะนำสำหรับคนอยู่หอแล้วต่อเน็ตไม่ได้อย่างเดียว
lewcpe.com, @wasonliw
+1 ครับ
เคยทดลองใช้เพราะ nexus s ใช้ คลื่น 850 ไม่ได้
อยู่กรุงเทพฯยังไม่ไหวเลยครับ สัญญาณไม่ครอบคลุมอย่างแรง บริเวณที่มีก็ได้คลื่นไม่เคยเกิน 3 ขีดเลย -.-'
ปล. เค้าชื่อ 365 ครับ (อันที่ผมใช้พอดี) เมนต์ข้างบนเล่นซะผมงงเลยยี่ห้อ 360(องศา?)
ไม่ใหวยังไงครับช้าหรือสัญญาณไม่มีครับ
ไม่มีสัญญาณครับ
นั่งรถเมล์จากบ้านไปที่ทำงานประมาณชม.นึง ใช้ได้สักยี่สิบนาที..... มันเป็น mobile ตรงไหน Orz
บ้านผมมีเสาของ TOT แต่ไม่มีคนใช้เสร็จผมคนเดียว (ทุ่งนาเยอะ)
เว้นวรรคหลัง กสทช. ด้วยครับ แล้วก็ ทรัพยสิน นี่ต้องเป็น ทรัพย์สิน หรือเปล่า?
WiMax นี่เฉียดสูญพันธุ์แล้วนะครับตอนนี้ คาดว่าคงเอาไว้ใช้กับพื้นที่ห่างไกลจริง ๆ มากกว่า
ประมูลไปก็ไม่มีเครื่องลูกข่ายครับ
wimax มันคือ 4g ของฝั่ง cdma ครับ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับ wifi
แปลว่าที่พูดมาทั้งหมด 3g (hspa) หรือ 4g (lte) ก็ใช้งานได้ไม่ต่างกันครับ
LTE ก็ใช้คลื่นอื่นได้ครับ เช่นที่ US ก็ใช้ 700 ซึ่งไม่เคยเป็นคลื่นมือถือ หรือ LTE บางที่ใช้ 2600 (เครือข่าย WiMAX ดังๆ อย่าง ClearWire ใช้ 2500)
WiMAX ไม่เกี่ยวกับ CDMA เลยครับ WiMAX พัฒนาขึ้นมาใหม่ เริ่มมาจาก WiFi Alliance นั่่นแหละ
ส่วนฝั่ง CDMA มี 4G ชื่อ UMB หรือ EV-DO Rev C ครับ (ที่เคยให้บริการในบ้านเราคือ Rev A)
ใช่ครับ ผมมึนเอง ตามที่คุณว่ามาถูกต้องแล้วฮะ 5555
wimax มันไม่เกี่ยวกับทั้ง gsm หรือ cdma แต่มันวางตัวมาคล้ายๆกันคือทำงานในเชิง mobile network มากกว่าจะเป็น local network เหมือน wifi ครับ
"wimax มันคือ 4g ของฝั่ง cdma"
โอ้วแม่เจ้าเล่นเอาต้องไปเปิดอ่านดูกันเลยทีเดียว
ผมก็ต้องเปิดตำราอ่านเลย
สูญพันไปแล้ว ไม่มีใครใช้ ไม่มีเครื่อง
wimax ที่เคยลองที่ญี่ปุ่นไม่ไหวเลยครับ เดินเข้าอาคาร 10 เมตรก็จบเห่แล้ว
ขอบคุณสำหรับบทความครับ ดูแล้ว กสทช. ยังมีงานให้ทำอีกเพียบเลย และหลายเรื่องก็น่าเปิดประเด็นให้ตรวจสอบความถูกต้อง
อย่างน้อย ๆ ก้าวแรกถือว่าสำเร็จแล้ว ในส่วนที่ยังไม่ดีพอก็พัฒนาปรับปรุงให้มันสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นต่อไป
ประเทศไทยสูญเสียรายได้เข้ารัฐมหาศาล ว่าแต่ได้ยินว่าจะสามารถเก็บภาษีเพิ่มได้ ซึ่งตอนนี้เก็บอยู่ 0% จะเก้บเป็น 50% ได้ แต่ใครจะกล้าเก็บ คนที่มาพูด คนที่มีอำนาจ อาจโดนอะไรอุดปากก็ได้นะ ท้ายสุดไม่ได้ขึ้นภาษีั
มันก็ 0 มาหลายปีแล้วนา
ถ้าไม่เก็บก็คือไม่เก็บครับ ถ้ารัฐบาลบอกว่าไม่สนใจ รายได้หายไปไม่เป็นไร ก็ต้องหารายได้ทางอื่นเอง อย่างทุกวันนี้แผนการขึ้น VAT ก็โดนเลื่อนมาเหมือนกัน อันนั้นเป็นความรับผิดชอบของคนอื่นที่ไม่ใช่กสทช. แล้ว
ประเด็นหนึ่งที่เราต้องชัดเจนคือ ไม่มีใครเสนอให้เก็บเงินใบอนุญาตเท่ากับมูลค่าสัมปทาน ไม่อย่างนั้นแปลว่าเรากำลังหวังค่าใบอนุญาตใบละหกแสนล้าน ไม่ว่าการประมูล n-1 หรือการประมูลที่เพดานคลื่น 20MHz ทุกคนก็คิดว่าเงินที่ได้มันจะต่ำกว่านั้นทั้งสิ้น
lewcpe.com, @wasonliw
ขอ unlimit เดือนละ 100 บาท ได้ไหม
คิดว่าไม่มีทางที่จะลดราคาลงมาได้แล้วครับทุกวันนี้เรียกได้ว่า ถูกอยู่แล้ว(สำหรับผู้ให้บริการ)
2G ที่ทุกวันนี้ใช้งานอยู่เป็นสิ่งยืนยันได้เลย มีเจ้าไหนตอนนี้แข่งขันกันบ้างที่มีค่าโทรถูกๆ ค่าเน็ต EDGE/EGPRS ถูกๆ ทั้งที่ความครอบคุมก็ไม่ดี ความเร็วที่เรียกได้ว่าย่ำแย่ หรือแม้กระทั้งการโทร ก็ยังติดยากในบางที กฏหรือข้อบังคับก็คงไม่แตกต่างจากใบอนุญาติ 3G นี้มากเท่าไรนัก
แค่คำว่า 3G คงเปลี่ยนสิ่งที่เป็นอยู่ไม่ได้
ราคา 3G ยังถูกลงได้อีกครับ ^^' แต่คงไม่ถึงขนาด 100 บาท unlimited แบบไม่มี fair use
ถ้ามี อย่างดีที่สุดคง limit 300MB fair use 64kbps ครับ
32Kbps, then.
Blog | Twitter
จริงๆ เป็นสิ่งที่ผม "เรียกร้อง" ให้มีนะครับ ความเร็วต่ำมากๆ แต่ always on ในราคาที่สมเหตุสมผล ให้ชนชั้นล่างเข้าถึงเว็บ, podcast, twitter ฯลฯ
lewcpe.com, @wasonliw
+1
iPAtS
ถ้าถูกแล้วติดๆดับๆ ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง นี่ผมก้อไม่เอานะครับ
ยอมจ่ายแพงกว่าแต่ใช้ได้ทุกเวลาที่ต้องการดีกว่า แค่ลดปริมาณการใช้ให้พอกับค่าใช้จ่ายมันไม่ยากเท่ากับการเดินหาสัญญาณเวลาจะใช้นะครับ
Destination host unreachable!!!
ใครจะเข้าชื่อถอดถอน กสทช บ้างมั้ยครับ ผมเอาด้วยคน หากเห็นด้วย +1ต่อท้ายไว้นะครับ
ถอดถอนใครบ้าง เนื่องจากอะไร แล้วใครจะรวบรวมชื่อ ลายเซ็น สำเนาบัตรประชาชน
แค่สอบถามเบื้องต้นก่อนครับ ส่วนถอดถอนใครบ้าง ผมคิดว่ายื่นถอนถอน กรรมการ กสทช. ที่มีมติเห็นด้วยกับราคาตั้งต้น 4500 ล้านต่อ 5 MHz มีจำนวน 8 คน จาก 11 คน เหตุผลที่ถอดถอนเนื่องจาก
เหตุผลอื่นๆ ตามข่าวนี้นะครับ
ปีที่แล้ว AIS,DTAC และ True จ่ายค่าสัมปทานให้รัฐปีเดียว 47,786 ล้านบาท
ย้ำว่าปี 2011 ปีเดียวจ่ายสัมปทาน 2G 47,786 ล้านบาท
แต่วานนี้ 3 ค่ายใหญ่เสียค่าประมูล 15 ปี รวมแค่ 41,625 ล้านบาท
ไม่ได้เสียหายแค่หลักพันล้าน อย่างที่พูดกันนะครับ
ในแง่ "รายได้รัฐ" ต้องรอดูครับว่ารัฐบาลจะเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมรึเปล่า (น่าจะเก็บแน่) และในอัตราเท่าใด สร้างรายได้เท่าใด
ตรงนี้ฝนตกทั่วฟ้า CAT/TOT เองก็ต้องมาจ่ายด้วยพร้อมกัน
lewcpe.com, @wasonliw
อันนั้นก็แล้วแต่กฏเกณฑ์ที่จะออกมาครับ
แต่ก็คนละประเด็นกับสิทธิครอบครองคลื่นความถี่ 15 ปี ที่ถูกเหมือนได้เปล่า
แล้ว CAT กับ TOT เคยจ่ายค่าสิทธิ์ครอบครองความถี่ที่ว่านี่ด้วยเหรอครับ?
3G มันจะอยู่ถึง 15ปีมั๊ยนี่
ไม่ใช่จ่ายค่าจ่ายสัมปทานให้ TOT กะ CAT รึ รายได้ 20-25% ก็ต้องส่งให้ TOT กะ CAT ด้วย จากนั้น TOT กะ CAT ก็เอาไปหักค่าใช้จ่ายแล้วค่อยส่งส่วนที่เหลือให้รัฐ จนเป็นที่มาของคำว่าเสือนอนกิน
ใช่ครับ บางส่วนถูก
แต่ CAT กับ TOT ก็เป็นส่วนนึงของรัฐ อย่างน้อยผลประกอบการส่วนนึงที่ได้ก็ส่งรัฐ
รวมถึงการขยายการโทรคมนาคมสู่ ชนบทก็เป็นบทบาทของ รัฐวิสาหกิจและอื่นๆอีกมากมาย(ถึงแม้ส่วนนี้ทำแล้วจะขาดทุน) แต่ก็เป็นนโยบายที่ต้องทำ ถามว่าเอกชนเขาจะมาหรือถ้าไม่ได้รับผลประโยชน์เขาไม่ทำหรอก
รัฐวิสาหกิจจึงเป็นมือเป็นไม้ให้รัฐ
แต่การประมูลแบบนี้ เอกชนเหมือนได้เปล่าแล้วถามว่าค่าบริการจะถูกเหมือนได้ฟรีหรือเปล่า คำตอบคงไม่ต้องพูดถึงเดาได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ไม่ได้หวงแหนสัมปทานมากมายขนาดนั้น แต่หักลบ กลบกับของเดิมแล้วผมแค่พยามชี้ให้เห็นว่า 2G-3G รายได้เข้ารัฐแตกต่างกันชัดเจนเทียบกับ 1 ปี กับ 15 ปีนะครับ ไม่ได้เทียบ 15-15
แล้วถ้าสรรพสามิตเก็บภาษีผู้ได้ใบอนุญาต 10% แทนล่ะ ทดแทนกันได้มั้ย
จากรายได้รวม 3 เจ้า 200,000 บาท จะได้เงินเข้ารัฐปีละ 20,000 ล้านบาท โดยไม่ต้องไปโดนหักค่าใช้จ่ายโดย CAT กับ TOT ก่อน (ไม่รู้ว่าทุกวันนี้รัฐได้กี่บาทจากค่าสัมปทาน และ TOT กับ CAT เอาค่าสัมปทานไปทำอะไรบ้าง) หรือจะเก็บเป็นขั้นบันไดเผื่อไว้ทุกๆ 5 ปีก็ได้ 10%-15%-20%
http://www.thairath.co.th/content/eco/276763
อ่านจาก http://www.blognone.com/node/36775 แล้ว จะให้เชื่อได้ไงว่า CAT จะเอาค่าสัปปทานไปใช้ในทางที่ควร
ผมคงยังไม่พูดถึงเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น หรืออาจจะเกิดขึ้นเพราะไม่มีความแน่นอน
เพราะกฏเกณฑ์แต่ละอย่างไม่ใช่พูดปั๊บจะทำได้ทันที ยกตัวอย่างเรามี กสทช. ก็นาน แต่เพิ่งได้ประมูล 3G
จะเก็บหรือเปล่าหรือเก็บเท่าไหร่ เก็บได้หรือเปล่า แล้วถ้าเก็บได้ผลประโยชน์จะไปอยู่ที่ใครอันนี้ก็ยังไม่ทราบ
แต่ความเสียหายมันเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ประมูลและ กสทช. ประกาศยอมรับครับ
ส่วนประเด็นนำเงินเข้ารัฐ ผมเองมีความเห็นว่า สร.กสท. ก็ใช้สิทธิปกป้องผลประโยชน์ขององค์กร ถูกต้องแล้ว
โดยเฉพาะประเด็น นำส่งเงินเข้ารัฐเป็นปกติอยู่แล้ว ยังต้องนำเงินส่ง กสทช. อีก
ประเด็นCAT จะเอาค่าสัปปทานไปใช้ในทางที่ควรนั้นยิ่งไม่ต้องห่วง เงินมันไม่ได้นำมาใช้ง่ายขนาดนั้นหรอกครับ โดยเฉพาะองค์กรรัฐ ต้องได้รับนโยบายจากรัฐเป็นหลัก การจะนำเงินไปทำอะไรก็ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐ รวมถึงนโยบายสาธารณะด้วย
ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไม CAT,TOT ขาดทุน เพราะเทคโนโลยีโทรคมนาคม คนของรัฐมันหากินง่ายกว่าองค์กรอื่น มันถึงมีแร้งทึ้งอยู่ทุกวันไงครับ
ร่วมล่ารายชื่อถอดถอนครับ คุณ deargerous โพสเริ่มไว้แล้ว หรือฟ้องผู้ตรวจการแผ่นดินก็ได้ เพราะศาลเปิดช่องไว้แล้วว่าหากมีความเสียหายเกิดขึ้นให้แจ้งได้
ปล.เพิ่งเห็นว่าคุณ komsanw เป็นคนในองค์กร ขออภัยด้วยที่พูดกระทบองค์กรไปบ้าง
ตลกล่ะครับ เท่าที่จำได้คือ สององค์กรนี้ไม่ได้ส่งรายได้เข้ารัฐมาหลายปีแล้วนะครับ เพราะอ้างว่าขาดทุน ...
ขาดทุน ??? เพราะอะไรน่าจะคิดได้ไม่ยากนะครับ
Destination host unreachable!!!
ผิดแล้วครับ ปี 55 รายได้นำส่งเข้ารัฐ
- บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 11,184.00
- บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 6,669.43
ปล. ก่อนจะเขียนอะไร หรือโจมตีใคร หากไม่แน่ใจ หาข้อมูลก่อนะครับ
เท่าที่อ่านน่าจะมีกำไรนะครับ
แต่กำลังหาว่าส่งเข้ารัฐเท่าไหร่
อ้างอิงจากปีที่แล้วนะครับ หาของปี 55 ไม่เจอ :p
ต้องดูผลประกอบการของ TOT กับ CAT ครับ แล้วคุณจะรู้สึกว่า เงินค่าสัมปทานที่ได้มันหายไปไหนหมด
ผมมักจะย้ำเสมอๆว่า ผลประโยชน์ของรัฐ คือผลประโยชน์ของ'ประชาชน' ไม่ใช่ตัวเลขที่'รัฐบาล' หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้รับครับ
ปล. ข้อมูลจากไหนหรือครับ อยากหาอ่านบ้าง
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ตัวเลขผมอาจจะไม่ตรงนัก ขออ้างอิงเขามาอีกทีนึงครับ
แนะนำให้อ่านตรงนี้ http://www.oknation.net/blog/talkwithMetha/2012/10/15/entry-1
ประเด็นค่าสัมปทานผมขอชี้แจงนิดนึง เฉพาะของ CAT ได้รับประมาณปีละ หมื่นกว่าล้าน
-ส่วนหนึ่งส่งเข้ารัฐ ซึ่งแต่ละปีจะไม่เท่ากัน ต้องขออภัยผมจำตัวเลขไม่ได้
-ส่วนหนึ่ง รัฐวิสาหกิจก็จะนำมาลงทุนโครงข่ายต่างๆ ซึ่งสำหรับ CAT เองก็ขายต่อให้เอกชนอีกทอดนึง เช่น โครงข่ายใยแก้วความเร็วสูง การถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม ฯลฯ
-รวมถึงลงทุนขยายเทคโนโลยีไปสู่ชนบทที่ห่างไกล ให้คลอบคลุมมากขึ้น
-สนองนโยบายของรัฐบาลต่างๆ ที่ต้องการ(งบประมาณส่วนนี้น่าจะหนักสุดๆ)
-จ่ายค่าจ้างพนักงาน(อันนี้ลืมไม่ได้)
อาจจะมีส่วนที่ผมไม่ทราบ แต่ก็พอบอกได้คร่าวๆแค่นี้
แปลว่า หากไม่มีเงินค่าสัมปทานเหล่านี้ CAT เองก็แทบจะไม่สามารถดำเนินธุรกิจด้วยตัวเองได้เลย ใช่หรือเปล่าครับ?
ผมไม่รู้นะว่า AIS บริหารงานยังไง ทั้งวางเครือข่ายเอง ต้องจ่ายเงินค่าสัมปทานจำนวนมหาศาล จ่ายเงินค่าจ้างพนักงาน แล้วยังมีกำไรรายไตรมาสกว่า 8 พันล้านบาท ในขณะที่ CAT มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีพร้อมเกือบทุกอย่าง ขนาดของบริษัทมีศักยภาพเพียงพอ กลับได้แต่รอเงินสัมปทานเพียงอย่างเดียว
ผมว่าเราควรเปลี่ยนมุมมองได้แล้วครับ จากการที่ทำไมไม่ให้เอกชนจ่ายค่าสัมปทานต่อไป เป็น เราควรจะพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของรัฐวิสหกิจเหล่านี้ ให้แข่งขันกับเอกชนแทนได้แล้ว
หากรัฐวิสหกิจกิจเหล่านี้ ทำได้แค่ครึ่งหนึ่งของเอกชน เราจะได้รายได้มหาศาล(แน่นอน ไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้ใครด้วย) และลดการพึ่งพาเอกชนไปได้มาก
ผมว่าคนส่วนมากที่บ่น ก็เพราะรู้ว่ารัฐวิสหกิจกิจเหล่านี้ 'ไม่มีทางทำแบบนั้นได้' ดังนั้นอย่าโทษ กสทช เลยครับ โทษความห่วยแตกในการบริหารของรัฐวิสหกิจ และการเมือง/ระบบเส้นสายของบ้านเราดีกว่า
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
+1000 ครับ เรื่อง การบริหารของรัฐวิสหกิจ และการเมือง/ระบบเส้นสาย รวมถึงกฏระเบียบต่างๆ ทำให้ยากมากที่รัฐวิสาหกิจจะไปแข่งกับเอกชน
ความเห็นส่วนตัว:
คำถามย้อนกลับไปว่าเดิมเจ้าของ AIS คือใคร? คำตอบก็อยู่ในตัวอยู่แล้ว
ไม่ใช่ว่าอยากทำอะไรก็ทำได้เลยนะครับ ยกตัวอย่างเช่นคุณมีเสาสัญญาณแต่ไม่มีไฟ คุณจะให้บริการได้เต็มที่อย่างไร คุณจะแข่งขันกับเขาอย่างไร แน่นอนว่ามีข้อจำกัด
มีเสาสัญญาณแต่ไม่มีไฟ คุณจะให้บริการได้เต็มที่อย่างไร
ทำให้มีไฟครับ เรื่องแบบนี้มันพัฒนากันได้ ไม่ได้จำเป็นว่าไม่มีแล้วต้องไม่มีตลอดไป
คุณกำลังจะบอกว่าที่ AIS มีกำไรกว่า 8000 ล้านในไตรมาสหนึ่ง'ในปี 2555' เป็นเพราะทักษิณเป็นเจ้าของเดิมหรือครับ? ผมว่ามันไม่ใช่นะ :)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
+1 ครับ
เห็นด้วยที่ควรพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันกับภาคเอกชน อีกหน่อยถ้าไม่มีเงินค่าสัมปทานแล้วจะอยู่อย่างไร (เข้าใจว่ารัฐคงหาเงินจากส่วนอื่นมาชดเชย) แต่คงจะดีกว่า ถ้าสามารถดำเนินธุรกิจได้โดยไม่พึ่งพาค่าสัมปทานหรือเงินอุดหนุนจากรัฐมากเกินไป ถ้ายังขาดทุนเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่ยอมทำอะไร ก็ควรปรับลดขนาดขององค์กรลง
ราคามันก็เป็นเรื่องนึงนะ แต่เราจะดูรายได้จากการประมูลมาเทียบกับสาธารณูปโภคพื้นฐาน(แม้ไม่ได้มาจากรัฐก็เหอะ) งั้นเหรอ เอาจริงๆแล้วถ้า CAT กับ TOT ขยันหน่อยไม่ใช่แมวนอนกินกับนั่งร้องไห้อยู่นะ แล้วมาแย่งประมูลด้วย ผมว่าสนุกกว่านี้อีก แต่เมื่อเค้าไม่ทำ และทำมาแล้วห่วย(TOT) เราก็กลายเป็นต้องไปใช้ของเจ้าหลักอยู่ดี เหอๆ
ก็ไม่ถึงกับนั่งกินนอนกินครับ ทุกวันนี้องค์กรเราก็ไฟต์ตลอด
ในฐานะที่ผมเองเป็นส่วนนึงขององค์กร
ก็ทราบดีว่าฝ่ายการเมืองพยายามเตะสกัดเราตลอด
มีเหลือบยุงลิ้นไร ในองค์กรมากมาย
ขนาดอนุมัติให้ประมูล 3G ก็อนุมัติเกือบวันสุดท้ายของการประมูล ผมคิดว่า TOT ก็โดนเหมือนกัน
ไม่ใช่ไม่อยากทำ แต่เขาเอื้อเอกชนทุกด้าน
อ่านที่คุณโพสๆมา ประเด็นนี้จริงๆน่าสนใจมากเลย สมควรแก่การตรวจสอบว่าทำไมTOTกับ CATไม่เข้าร่วมเหตุผลจริงๆมันคืออะไร คิดดูแล้วจริงๆรัฐควรส่งเสริมให้สองเจ้านี้เข้าร่วมในการแข่งขันกันให้บริการ และควรจะทำให้ดีด้วย แถมยังสามารถเข้าไปควบคุมกลไกราคาตลาดพวกค่าบริการหรืออะไรต่างๆได้ง่ายกว่า
เพราะมีคลื่นอยู่ในมืออยู่แล้วไงครับ เปิดบริการได้อยู่แล้ว จะมาประมูลอีกทำไมหล่ะครับ
iPAtS
เพื่อให้ราคาสมเหตุ สมผลมากขึ้นตามความเห็นของหลายๆ คน
ถ้ามีผู้เข้าประมูลมาก ราคาน่าจะมากขึ้น
คนที่ไม่มีคลื่นก็จะได้กระตือรือร้นที่จะประมูลมากกว่านี้หน่อย
ผมมองว่าจริงแล้วถึงแม้เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่บริการบางอย่างมันไปทับซ้อนกับที่เอกชนมีก็ควรจะลงมาเล่นบนมาตรฐานเดียวกันครับ อย่าง CAT ก็มีคลื่น(ที่ไปกะ trueh) ส่วน TOT ก็มีคลื่น(ที่เงียบไปเลย) ทำไมถึงไม่คืนคลื่นไป (หรือให้รัฐซื้อคืนก็ได้) เพื่อเอาคลื่นมาเข้าระบบจัดสรร และที่ผมสงสัยมากคือตอนนี้บริการของ TOT และ CAT ใกล้เคียงกันมาก ทำไมเราถึงต้องมีรัฐวิาหกิจที่มีบริการซ้ำซ้อนกันสองเจ้า เป็นไปได้มั้ยที่จะยุบรวม(อันนี้ผมคงคาดหวังมากไปหน่อย) และการทำ network กลางให้เจ้าเล็กๆเช่าทำคลื่นแบบ TOT แต่ทำเป็นแบบท้องถิ่นแทน (TOT ทำทั่วประเทศ) เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้ผู้เล่นหน้าใหม่ด้วย อย่างเครือข่าย virgin ของอเมริกา ยังครอบคลุมแค่เสี้ยวเดียวของประเทศเท่านั้น เค้ายังอยู่ได้ ถ้าทำแบบนี้อีกหน่อยจังหวัดหัวเมืองภูมิภาคและจังหวัดใหญ่อาจจะมีเครือข่ายท้องถิ่นสำหรับคนในจังหวัด และเครือข่ายหลักสำหรับการเดินทางไปทั่วประเทศ
จริงๆประเทศเรามีแต่จะแตกหน่วยย่อยออกไปเรื่อยๆนะครับมันคงง่ายในการแบ่งงบประมาณ... พึ่งเห็นการรวมกันของกสทชเนี่ยแหล่ะที่แหวกแนวออกไป
ให้ประมูลเพื่อเกิดการแข่งขันครับ ไม่ใช่จัดแบ่งกันลงตัว เคสนี้มันเป็นการจัดแบ่งกันในชื่อการประมูลเพราะแค่กฎหมายบังคับว่าให้จัดสรรโดยการประมูลเท่านั้น
ในความคิดผมจริงๆแล้วบริการทุกๆอย่างรัฐควรเป็นผู้ดูแลจัดการให้ประชาชนถ้าสามารถทำได้ เพราะรายได้เข้ารัฐมันก็ย้อนกลับมาหาประชาชนใหม่ในรูปแบบอื่น(ถ้าไม่อมเข้ากระเป๋ากันนะ) แต่พอมันมีอะไรที่รัฐทำเองไม่ได้ความสามารถไม่ถึง หรืออาจจะเป็นเพราะต้องการกระตุ้นให้ภาคเอกชนมาลงทุน สร้างงานหรือทำให้มีเงินเข้าประเทศจากเอกชน ถ้ารัฐปล่อยให้เอกชนทำกันเอง แล้วไม่มีการวางกรอบที่เหมาะสมให้เอกชนเพื่อคุ้มครองประชาชน ไม่เข้าไปร่วมเป็นหนึ่งในกลไกตลาด ผลเสียตกกับพวกเราเต็มๆ ลองคิดดูว่าถ้าCAT กับ TOT ทำ3G ออกมาได้ดีจริงเทียบเท่าอีก3เจ้า แล้วค่าบริการถูกกว่า อีกสามเจ้าก็ต้องยอมลดกำไรตั้งราคาค่าบริการต่ำลง
"มีเหลือบยุงลิ้นไร ในองค์กรมากมาย" ดังนั้นจึงเป็นความผิดของ กสทช เหรอครับ? ทั้งที่ action ของ กสทช ไม่ได้กีดกัน CAT และ TOT ในการเข้าร่วมประมูลเลย ซึ่งถ้าสององค์กรนี้เข้าร่วมประมูล มันคงไม่ลงตัวจบ 15-15-15 สามเจ้าพอดี ราคาประมูลที่ออกมาคงสวยหรูกว่านี้แน่ๆ
ผมว่านี่มันคือความผิดของ CAT เองเลยนะครับ ที่ปล่อยให้มียุงเหลือบลิ้นไร แล้วองค์กรตัวเองทำงานไม่ได้เรื่องเนี่ย หลายคนชอบมองว่า การโกงคือการเอาเงินเข้ากระเป๋าเท่านั้น แต่สำหรับองค์กรที่เอางบประมาณไปแล้วทำงานไม่ได้เรื่องนี่มันน่าจะเป็นความผิดด้วยนะครับ เช้าชาม เย็นชาม อย่างที่เป็นอยู่ ถ้าจะเรียกว่าเอาเงินไปผลาญฟรีๆก็คงไม่ผิดหรอกครับ
ไหนๆถ้าจะมีเข้าชื่อถอดถอน กสทช แล้วก็น่าจะมีเข้าชื่อถอดถอน CAT, TOT บ้างนะครับ นี่มีเสียงยืนยันจากคนภายในองค์กรเองเลย ว่าปล่อยให้มี "ยุงเหลือบริ้นไร" อยู่ภายในองค์กร จนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามที่สมควรจะเป็น ถ้าความสามารถไม่ถึงไม่สามารถบริหารได้ แล้วปล่อยให้เละเทะไปเรื่อยๆแบบนั้น ก็น่าจะยุบทิ้งนะครับ
ผมไม่แน่ใจว่าเค้าหมายถึง กสทช นะครับ เห็นเค้าระบุแค่ว่าฝ่ายการเมืองขัดขา
ส่วนประเด็นที่คุณพูดเนี่ย ผมว่าโกงคือการโกง(ในรูปแบบเงิน,สิ่งของ,เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตัวเองปราถนา) ส่วนทำงานไม่ได้เรื่องอันนี้เป็นเรื่องของความสามารถครับ แต่ถ้าไม่ทำงานหรือทำให้มันออกมาไม่ได้เรื่องเพราะว่าโดนจ้างมาแบบนี้ก็คือการโกงเอาเงินเข้ากระเป๋าอยู่ดี ส่วนพวกเหลือบลิ้นไรเนี่ย ผมเดาเองเองนะครับว่าส่วนใหญ่น่าจะเป็นระดับคนตัดสินใจหรือบริหารนะครับไม่น่าเป็นระดับเล็กๆ ดังนั้นจะให้คนพวกนี้ไปกำจัดพวกเหลือบริ้นไรเนี่ยไม่น่าจะเป็นไปได้ ทุกเรื่องพวกโปรเจคอะไรใหญ่ๆเม็ดเงินขนาดนั้นน่าจะมีการเมืองมาเกี่ยวข้องอยู่แล้วหล่ะครับ
ต้องมีคนปฏิรูปองค์กรพวกนี้จริงจังครับ ประโยชน์และผลเสียตกกับประชาชนคนทั่วไป
คุณ Lew ผมว่าบทความนี้น่าจะอยู่ในหมวด Feature นะครับ จะได้ไม่ตกไปหน้าอื่นเร็วเกิน
"ขนาดอนุมัติให้ประมูล 3G ก็อนุมัติเกือบวันสุดท้ายของการประมูล"
บอกได้คำเดียวว่า รีดจนโอกาสสุดท้าย
ดีใจที่เราจะได้ใช้3G แต่ก็ละเหี่ยใจกับความไม่โปร่งใส
ผมไม่คิดว่าเราจะได้ใช้ 3G ในราคาถูกลงกว่านี้หรอกเพราะราคาปัจจุบันคนส่วนใหญ่ก็ค่อนข้างจะรับได้ ทำไมเค้าต้องลดราคา ทั้งสามค่ายก็แค่บอกว่าแม้ว่าเราจะประมูลมาได้ในราคาถูกแต่เราก็มีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นบลาๆๆๆ เราทำราคาต่ำกว่านี้ไม่ได้ ก็จบ
ยังมีคนที่ไม่ได้ใช้อีกเยอะครับ
ส่วนลูกค้าเก่า ถ้าค่ายใดลดราคาให้ถูกกว่าค่ายอื่นได้ โดยคุณภาพไม่ลดลง และการย้ายค่ายทำได้ง่าย ก็น่าจะมีคนย้ายไปใช้ค่ายที่ถูกกว่าครับ
กระแสล่าสุด
‘สุภิญญา’ผวาประมูล3จี ผิดกฎหมาย ส่อไม่รับรองผล
'น.พ.ประวิทย์'ชี้ประมูล3Gส่อขัดพ.ร.บ.ฮั้วประมูล
<ค้นในเนตเองนะครับ ...ยาวว>
ผมย้ำว่าไม่ได้มีปัญหากับการประมูลครับ แต่วิธีมันลงตัวเกินไป
พยายามเตะสกัด เจ้าอื่นอย่างเต็มที่
6 ช่วงความถี่ ประมูล ช่วงละเจ้า อะไรมันจะเป๊ะ ขนานนั้น
ต้องลุ้นกันว่า กสทช. จะรับรองหรือไม่
ถ้ามีคนมีอำนาจขนาดเตะสกัด CAT, TOT ได้ เรื่องรับรองหรือวิ่งเต้นให้ผ่านคงจะไม่ยาก
ประเด็นที่เห็นได้ชัดๆ ก็คงจะเป็น Greenwave นี่แหละ ว่าทำไมถึงยังให้ต่ออายุไปเรื่อยๆ ทั้งที่จริงๆ ก็น่าจะเรียกคลื่นคืนมาได้แล้ว นี่ขนาดเป็นกรณีของเอกชนรายนึงเท่านั้นนะ แล้วถ้าต่อไปถึงเวลาของคลื่นโทรทัศน์ ที่คนกุมในตอนนี้เป็นทหาร "."
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.