ประเด็นเรื่อง "อายุของบัตรเติมเงินพรีเพด" เป็นเรื่องที่ยืดเยื้อมานาน ย้อนความสั้นๆ คือ กทช. ในปี 2549 เคยออกประกาศห้ามไม่ให้โอเปอเรเตอร์กำหนดอายุของบัตรเติมเงิน แต่โอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 รายได้ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งภายหลัง กทค. พิจารณายืนตามคำสั่งเดิมของ กทช.
อย่างไรก็ตาม กสทช. ยังพบว่าโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 รายยังฝ่าฝืนประกาศของ กทช. อยู่ ล่าสุดจึงได้ส่งหนังสือเตือนให้แก้ไขปัญหานี้ และสั่งปรับในอัตราวันละ 100,000 บาท จนกว่าทั้ง 3 บริษัทจะปฏิบัติถูกต้อง และถ้ายังฝ่าฝืนอีก กสทช. จะกำหนดค่าปรับในอัตราที่สูงขึ้นต่อไป
นอกจากนี้ กสทช. ยังสั่งให้โอเปอเรเตอร์ทั้ง 5 รายดำเนินการเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการแบบพรีเพด ที่ กทช. เคยออกประกาศไว้ (แต่โอเปอเรเตอร์ยื่นอุทธรณ์ในลักษณะเดียวกัน) โดยสั่งปรับวันละ 80,000 บาท ยกเว้นกรณีของทรูมูฟที่ยื่นเรื่องนี้ต่อศาลปกครอง และเรื่องยังอยู่ในกระบวนการของศาล
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
เลขาธิการ กสทช. ประเดิมปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภคของ กสทช. สั่งให้ทีโอทีทำสัญญาเชื่อมต่อไอซีกับดีแทคพร้อมปรับวันละ 20,000 บาท และห้ามโอเปอเรเตอร์กำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงิน ทั้งให้โอเปอเรเตอร์ต้องจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือพรีเพดนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) (ปัจจุบันคือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)) ได้มีคำสั่งให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ ทีโอที ทำสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโครงข่ายโทรคมนาคมกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ตามคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ 4/2551 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2551 ให้แล้วเสร็จภายในภายใน 7 วัน ซึ่งต่อมาศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษายกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ 1033/2553 คดีหมายเลขแดงที่ 1178/2555 ที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ฟ้อง กทช. และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และให้การคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวสิ้นสุดลงนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา นั้น
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าปัจจุบัน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ก็ยังคงฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ กสทช. ไม่ทำสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโครงข่ายโทรคมนาคมกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณะ และประชาชนผู้ใช้บริการ และเพื่อบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย สำนักงาน กสทช. จึงได้มีหนังสือถึงบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้ดำเนินการทำสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตามคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ 4/2551 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2551 และให้ชำระค่าปรับทางปกครองในอัตราวันละ 20,000 บาท ต่อสำนักงาน กสทช. ให้ครบถ้วน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนด 7 วันที่ ทีโอที ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ 4/2551 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2551 จนกว่าจะดำเนินการทำสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายโครงข่ายโทรคมนาคมกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) แล้วเสร็จ
นายฐากร กล่าวว่า สำหรับกรณีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า หรือ พรีเพด ได้กำหนดเงื่อนไขการให้บริการในลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้น ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ตนเองได้มีคำสั่งกำหนดค่าปรับทางปกครองในอัตราวันละ 100,000 บาท กรณีบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย อันได้แก่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อ 11 ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งทั้ง 3 บริษัทได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ต่อมา กทค. ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. ได้พิจารณาคำอุทธรณ์ของทั้ง 3 บริษัทฯ แล้วเห็นว่า คำสั่งเลขาธิการ กสทช. ที่กำหนดค่าปรับทางปกครองชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงมีมติเห็นชอบยืนตามคำสั่งเลขาธิการ กสทช. ในการกำหนดค่าปรับทางปกครองดังกล่าว
ปัจจุบันพบว่าทั้งบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ยังคงกำหนดระยะเวลาการใช้งานสำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าอยู่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 11 ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 แม้ว่าทั้ง 3 บริษัท จะได้ยื่นขอความเห็นชอบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะที่เรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าต่อ กสทช. แต่เมื่อ กสทช. ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ ทั้ง 3 บริษัท ย่อมไม่มีสิทธิกำหนดเงื่อนไขอันมีลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนดในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะที่เป็นการเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า
และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณะ และประชาชนผู้ใช้บริการ และเพื่อบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย สำนักงาน กสทช. จึงได้มีหนังสือถึงบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ขอให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อ 11 ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 โดยให้แก้ไขปรับปรุงเงื่อนไขการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะที่เป็นการเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า ไม่ให้มีข้อกำหนดอันมีลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก กสทช. เป็นการล่วงหน้า และให้ชำระค่าปรับทางปกครองในอัตราวันละ 100,000 บาท ต่อสำนักงาน กสทช. ให้ครบถ้วน โดยเริ่มปรับตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ไปจนกว่าทั้ง 3 บริษัทจะปฏิบัติตามประกาศฯ ข้อ 11 อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ หากทั้ง 3 บริษัทยังคงฝ่าฝืนคำสั่ง เลขาธิการ กสทช. จะอาศัยอำนาจตามมาตรา 66 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 พิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองในอัตราที่สูงขึ้นต่อไป
นายฐากร กล่าวต่อว่า ในส่วนของการให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้า หรือ พรีเพด ซึ่งนับตั้งแต่เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กทช.) ได้มีคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 64 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด จัดเก็บข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้าตามข้อ 38 และข้อ 96 ของประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 ให้ครบถ้วนภายใน 90 วัน ซึ่งทั้ง 5 บริษัทได้ยื่นขออุทธรณ์คำสั่ง ต่อมา กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ได้พิจารณาอุทธรณ์ของทั้ง 5 บริษัทแล้วเห็นว่า คำสั่งทางปกครองของเลขาธิการ กทช. ในขณะนั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงให้ทั้ง 5 บริษัท ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามประกาศดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
จากนั้นสำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือแจ้งเตือนให้ทั้ง 5 บริษัทปฏิบัติตามคำสั่งของเลขาธิการ กทช. ในขณะนั้น และคำวินิฉัยอุทธรณ์ ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ มิฉะนั้นเลขาธิการ กสทช. จะใช้อำนาจตามมาตรา 66 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 พิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองให้ทั้ง 5 บริษัทชำระในอัตราไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อวัน จนกว่าบริษัทจะได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้บริการแล้วเสร็จ ต่อมาเลขาธิการ กสทช. มีคำสั่งทางปกครองกำหนดค่าปรับทางปกครองในอัตรา 80,000 บาทต่อวัน โดยให้ทั้ง 5 บริษัทชำระค่าปรับนับแต่วันพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งทั้ง 5 บริษัทได้อุทธรณ์คำสั่งกำหนดค่าปรับทางปกครองของเลขาธิการ กสทช. และ กทค. ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. ได้พิจารณาอุทธรณ์ของบริษัทในการประชุมครั้งที่ 44/2555 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2555 แล้วเห็นว่า คำสั่งเลขาธิการ กสทช. ที่กำหนดค่าปรับทางปกครองชอบด้วยกฎหมายแล้วและไม่มีเหตุต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่ง จึ่งมีมติเห็นชอบยืนตามคำสั่งเลขาธิการ กสทช. ในการกำหนดค่าปรับทางปกครองดังกล่าวข้างต้น
ด้วยข้อเท็จจริงปรากฏว่าปัจจุบันผู้ให้บริการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 5 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ยังไม่ดำเนินจัดเก็บข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้าตามข้อ ๓๘ และข้อ ๙๖ ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ครบถ้วน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณะ และประชาชนผู้ใช้บริการ และเพื่อบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย สำนักงาน กสทช. จึงได้มีหนังสือถึงบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและปฎิบัติให้ถูกต้องตามข้อ 38 และ 96 ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามประกาศดังกล่าวให้ครบถ้วน ทั้งนี้ หากทั้ง 5 บริษัทยังคงฝ่าฝืนคำสั่ง เลขาธิการ กสทช. จะอาศัยอำนาจตามมาตรา 66 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 พิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองในอัตราที่สูงขึ้นต่อไป และให้ 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ชำระค่าปรับทางปกครอง ในอัตราวันละ 80,000 บาท ต่อสำนักงาน กสทช. ให้ครบถ้วน ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของเลขาธิการ กสทช. ในการกำหนดค่าปรับทางปกครอง เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ บริษัทฯ จึงต้องชำระค่าปรับทางปกครองนับแต่วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไปจนกว่าบริษัทฯ จะได้ดำเนินจัดเก็บข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้าตามข้อ ๓๘ และข้อ ๙๖ ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ครบถ้วน
ในส่วนของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขดำที่ 1867/2554 มีคำสั่งให้ระงับการกำหนดมาตรการบังคับทางปกครองตามคำสั่งของเลขาธิการ กสทช. ตามหนังสือสำนักงาน กสทช. ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาเป้นอย่างอื่น และมีคำสั่งให้ยกคำขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่ให้บรษัทฯ ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้าตามข้อ ๓๘ และข้อ ๙๖ ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ครบถ้วน จึงไม่ต้องชำระค่าปรับทางปกครองนายฐากร กล่าวย้ำว่า ปี 2556 นี้เป็นปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภคของ กสทช. ทางสำนักงานจะดำเนินการเรื่องการดูแลคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรม จะเร่งแก้ปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคให้เรียบร้อย
Comments
ในทางปฏิบัติจะไหวมั้ยอ่ะ
เตรียมตัวเสียค่าบริการรักษาเบอร์รายเดือนกันได้!
+1
???
บัตรเติมเงิน มันใช้เงินสดซื้อมา เพื่อนำมาใช้แทนเงินสด (ไม่งงนะ)
เพราะงั้น การที่ให้บัตรเติมเงินหมดอายุ มันก็เหมือนให้ธนบัตรเงินสดหมดอายุ
ผมว่าไม่สมควร
ถ้าอย่างนั้นต้องไปตามแก้พวก Gift Voucher , บัตรเติมเงินต่างๆเช่น บัตรรถไฟฟ้าBTS/MRT /บัตร Major Cash Card /บัตรเงินสดตาม food court/center / บัตรเติมเงินทางด่วน ด้วยครับมานั่งนึกๆดูพวกนี้มีหมดอายุเหมือนกันแม้ว่ามันจะนานกว่ามาก แต่ก็ใช้เงินซื้อมาเหมือนกัน
ไม่ได้อยู่ในอำนาจของ กสทช. นะ
จริงด้วยแฮะลืมไปเลย=w=
มัวแต่นึกไปเรื่อยๆว่ารอบๆตัวเรามีเหตุการณ์แบบไม่สมเหตุสมผลเยอะพอสมควร..
ถ้าบัตรนั้นมีแค่จำนวนเงิน ไม่มีรหัสโปรโมชั่น ฯลฯ ผมว่าก็สมควรเป็นแบบที่คุณว่านะครับ
มันมีค่าใช้จ่ายในการจัดการข้อมูลอยู่นะครับ
อีกอย่างบัตรเติมเงินผมซืัอแล้วก็ขูดเติมเงินทันทีหรือว่าคนอื่นเขาชอบซื้อเก็บทีละหลาย ๆใบ
ร้านมือถือที่ขายบัตรเติมเิงินไงครับ
แต่จริงๆ แหละ พวกนี้ผมนึกคนที่จะได้ประโยชน์ออก ก็มีแค่ร้านค้า คนธรรมดาไม่น่าจะได้ประโยชน์เท่าไหร่
แถมถ้าอ่านตามด้านล่าง เหมือนข้อเสียจะมากกว่าข้อดี
ถ้าจะให้ดี ที่น่าทำมากกว่า คือเรื่องเติมเิงินแล้ววันหมดมากกว่า
มันมีกรณีเลขหายเช่น บัตรเติมเงินยังไม่ใด้ไช้ โดนลืมไว้ต่างประเทศ หรือโดนลมพัดลงแม่น้ำ
พอถึงเวลาเลขไช้มีไม่พอ ตัวเลขก็ต้องยาวขึ้นไปอีก วันหนึ่ง เราอาจต้องกรอกเลข 50 ตัวเพื่อเติมเงินก็ใด้
ตัวสำคัญคือเดี่ยวนี้เค้าไม่ค่อยชื้อบัตรมาเติมเงินกันแล้ว ช่องทางอื่นเช่น เติมกับมือถือแม่ค้า เติมกับตู้เติมเงิน เติมกับตู้ atm สดวกกว่า
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
กรณีที่กล่าวมาไม่น่ามีมากพอที่จะทำให้ต้องเพิ่มหลักเลขเติมเงินครับ และเอาจริงๆ เท่าที่ทราบเลขบัตรเติมเงินก็ไม่นำกลับมาใช้ใหม่อยู่แล้วครับ
เอาจริงๆผมว่าจากที่คนเติมออนไลน์กันมากขึ้น (เดี๋ยวนี้คนเติมบัตรน้อยลงเยอะ) การทำให้บัตรไม่หมดอายุน่าจะดีซะอีก ไม่ต้องผลิตบัตรซ้ำใหม่เรื่อยๆ และน่าจะประหยัดเลขมากขึ้นด้วยเช่นกัน (แต่ค่ายมือถือก็จะอดได้เงินฟรีจากบัตรที่หมดอายุ)
วันละแสนจิ๊บๆ
+1 เสียค่าปรับวันละแสน มันเทียบไม่ติดกับรายได้ต่อวันเลย เป็นใครๆ ก็ยอมจ่ายค่าปรับ
คงคล้ายๆจับพวกขายแผ่นละเมิดลิขสิทธิ์ ค่าปรับน้อยกว่ากำไรไม่สนใจอยู่แล้ว
ต้องปรับเป็น 1 เปอเซนต์ของรายได้ดูสิครับ รีบทำตามแน่ๆ
100,000 ต่อใบดีกว่า ^^
ดีครับ 555
ขอให้ทำจริง ๆ จัง ๆ ซักทีวันละแสนรายเป็นไง
จะได้แก้ปัญหาเบอร์วนในตลาดได้ระดับนึงด้วยนะนั่น ==
เรื่องบัตรเติมเงินหมดอายุนะครับ ไม่ใช่เรื่องวันหมด
ผมก็อ่านหัวข้อข่าวผิดนะนึกว่าเรื่องซิมหมดอายุ ><
แต่เรื่องบัตรเติมเงินไม่มีหมดอายุ มันมีปัญหาทางเทคนิคหลายประการ บัตรทีเก่ามากๆ จะปลอมแปลงได้ง่าย เพราะเทคโนโลยีการปลอมแปลงพัฒนาขึ้นทุกวัน รูปแบบรหัสหรือการจัดเก็บก็ต้องพัฒนาขึ้นไป ยิ่งถ้าบัตรเก่าๆที่อาจชำรุด ผ่านไปสักสิบปี จะพิสูจน์ได้ยังไงว่าเป็นของแท้?
ขนาดธนบัตรเก่าๆ เขายังมีการประกาศยกเลิกการใช้งานเลย แต่เปิดโอกาสให้ไปแลกเป็นธนบัตรรุ่นใหม่ได้ ในเวลาที่กำหนด
แต่ไม่ใช่ไม่มีวันหมดอายุ แบบเอาบัตรเติมเงินเมื่อสักสิบปีที่แล้ว(ยุคแรกสุด) มาเติมหรือแลกได้ อันนี้ผมว่าเกิดความวุ่นวายแน่ๆ ถ้ามีคนพยายามนำบัตรเติมเงินเก่าๆlotใหญ่ มาแลกคืน หรือยิ่งเป็นlot ที่มีปัญหา(ที่เคยมีข่าว hacker ขโมยรหัสบัตรไปlotใหญ่ แลกเป็นเงินได้นับสิบล้านบาท)จะแก้ปัญหากันอย่างไร?
ทางออกที่ดีและเหมาะสมกับทุกฝ่าย น่าจะเป็นบัตรเติมเงินมีอายุใช้งานจำกัด แต่สามารถนำไปแลกหลังหมดอายุได้ในเวลาที่กำหนด เช่นกำหนดอายุบัตรที่ใช้เติมเงินได้ภายใน 1ปี แต่ไปแลกกับศูนย์บริการได้อีก1ปีหลังหมดอายุ
คิดได้รอบคอบดีครับ ผมเห็นด้วยกับแนวทางนี้นะ
+1 ผมก็เข้าใจผิด ปล่อยไก่ไปตัวนึงเมื่อกี้
ทำไมไม่ปรับจากจำนวนฐานลูกค้านะ
ถ้ามีฐานลูกค้า 10ล้านเลขหมาย ก็คิดเป็น 10 ล้านบาท ต่อวัน
ต่อไปจะมีค่ารักษาเบอร์ อาจจะเดือนละ 100บาท
น่าจะเป็นไปไม่ได้นะครับ เพราะตอนนี้ที่แพงที่สุดเป็น
สิ่งที่แต่ละเจ้าควรปรับก็ไม่น่ายากนะ ก็แค่ตั้งอัตราการรักษาเลขหมายขึ้นมา เหมือนบัญชีธนาคารที่หักเงินค่ารักษาเลขหมาย ต่อ... อะไรก็ว่าไป และตัดเงินอัตโนมัติ ไม่ใช่ทำเป็นโปรเสริมให้ผู้ใช้ต้องกดเติมวันเองเหมือนตอนนี้
ผมว่าปัญหาเรื่องตัว "บัตรเติมเงิน" หมดอายุ ไม่น่าใช่นะ เพราะถ้าซื้อมาเก็บจนหมดอายุจริงๆ ก็เข้าใจว่าสามารถนำไปเปลี่ยนที่ศูนย์บริการได้อยู่นะครับ ถ้าเขาตรวจสอบว่าเป็นบัตรจริง และยังไม่ได้ใช้ คิดว่าน่าจะเปลี่ยนได้นะ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
love กสทช. จัง
แล้วเรื่องวันหมดเมื่อไหร่จะแก้ได้?
เร็ว ๆ เข้า อย่าช้า Operator ไทย
Coder | Designer | Thinker | Blogger
TOT และ MVNO โดนด้วยรึป่าวครับ
ใช้ TOT3G อยู่เบอร์นึง คิดว่าไม่นะ
เพราะเวลาเช็คยอดจะโชว์แค่เงินคงเหลือ ไม่โชว์วัน
ผมอ่านในที่มา มันเป็นเรื่องของการเติมเงิน แล้วกำหนดให้ใช้ได้ในระยะเวลาที่กำหนด
แต่ทำไมสรุปข่าวออกมา กลายเป็นเรื่องบัตรเติมเงินหมดอายุเฉยเลย มั่วแล้ว อ่าน comment แล้วก็มีคนเข้าใจผิดกันเยอะเลยข่าวนี้
ตกลง บัตรเติมเงินหมดอายุ หรือ เบอร์ระบบเติมเงินหมดอายุ ?? เริ่มงงแล้ว
หัวข้อข่าวกับเนื้อข่าวไม่ตรงกันปะครับ มันทำให้เข้าใจผิดกัน
มันเป็นเรื่องของอายุการนำบัตรเติมเงินไปเติมเงินเงินเข้าสู่ระบบการโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเงินที่นำเข้าสู่ระบบการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นแบบจ่ายล่วงหน้าไม่ควรจะมีอายุจำกัดการใช้งานกันแน่ หรือว่าเนื้อข่าวเหมารวมกันทั้ง 2 เรื่องครับ
เท่าที่ผมเข้าใจคือ อายุของเงินที่เติมลงไปในระบบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ แบบพรีเพด จะต้องไม่หมดอายุการใช้งาน หรือก็คือเมื่อนำบัตรเติมเงินพรีเพดไปใช้แล้ว (แต่ยังไม่ได้เอาไปใช้โทร) เงินที่เติมลงไปในระบบจะต้องไม่มีหมดอายุหายไปจากระบบถ้าไม่ได้มีการใช้งาน และเมื่อนำรหัสบัตรเติมเงินไปใช้งานแล้ว จะต้องระบุพ่วงระหว่างตัวเงินที่รหัสบัตรใด ใช้กับผู้ใช้คนใด และใครที่เป็นคนซื้อบัตรเติมเงินไปจากบริษัทก็ควรมีระบุไว้ด้วย เพื่อตรวจสอบที่มาที่ไปของเงินได้ (จากที่ผมอ่าน มันควรทำเพราะว่า มันเป็นจุดอ่อนในการทำให้สามารถหลบเลื่องภาษี และการระบุรายได้ที่แท้จริงของบริษัท พอคิดได้อย่างนี้ทำให้คิดได้เลยว่ารายได้ที่ประกาศมาของแต่ละบริษัท เป็นรายได้ที่ต่ำกว่าควาามเป็นจริงได้มาก เพราะถ้าเงินที่หมดอายุก็ไม่มีหลักฐานการใช้งาน การตรวจสอบเพื่อเอาผิดเป็นไปได้ยากเพราะ บัตร 50บาท 1ล้านใบเติมเงินไปแล้วแต่ไม่ได้ใช้ ใครจะไปตรวจสอบได้ครับว่าบริษัทผู้ให้บริการอมไปเท่าไหร่ เจ้าทุกข์ก็ไม่มีจะฟ้อง แต่ถ้าไม่มีหมดอายุก็จะอมเงินไปไม่ได้ เพราะเกิดผู้ใช้บริการยังไม่ได้ใช้งานแล้วไม่ได้ระบุลงในบัญชี ก็มีสิทธิ์ถูกฟ้องแบบเหมารวมหลายๆเจ้าทุกข์ได้อยู่ และรายได้ก็จะต้องแจ้งอย่างตรงไปตรงมามากกว่าที่เป็นอยู่)
เท่าที่ผมเข้าใจมันมีผลร้ายแรงถึงขั้นทำให้เงินที่หายไปจากระบบโดยไม่สามารถระบุตัวเงินที่หายไปได้ และสามารถเอาไปใช้เป็นช่องทางส่วนหนึ่งของการฟอกเงินเถื่อนได้เลยด้วย ซึ่งถือว่าอันตรายมาก
ไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกหรือเปล่านะครับ
ใครมาสนใจเรื่องบัตรเติมเงินครับ ไม่เคยเห็นใครซื้อมากักตุนนะ ซื้อมาแล้วก็เติมเลยทั้งนั้น กสทช. น่าระบุไปเลยว่าถ้าเงินเหลือยังไงต้องโทร/รับสายได้ ไม่ใช่เงินเหลือแต่โทรไม่ได้เพราะวันหมดอายุ ต้องมาเสียตังค์เติมวันเข้าไปใหม่ ไม่ก็บังคับให้เติมเงินเพิ่มทั้ง ๆ ที่เงินก็ยังเหลือ
ค่าปรับน้อยไป วันละแสน เดือนนึงก็ 3 ล้าน ผมว่าโอเปอร์เตอร์กำไรต่อวันมากกว่า 3 ล้านนะ น่าจะปรับเป็น % ตามรายได้
ถ้าเงินเหลือในซิม 1บาท ผมจะเก็บไว้รับสายฟรีัๆสักสิบปีได้ไหมครับ?
อย่าึคิดว่าไม่มีใครทำนะครับ พวกแม่ค้าในเวบนี่แหละ มีเบอร์เป็นสิบ ไว้รับสายอย่างเดียว แยกตามชนิดสินค้าก็มี เติมเงินน้อยๆแต่ใช้นานๆ
คนทั่วไปยังไงก็ต้องมีการโทรออกครับ ญาติผู้ใหญ่ผมที่ไม่ค่อยได้โทรศัพท์ ก็ยังโทรหาลูกหลานบ่อยๆ ยอดใช้เกินกลุ่มแม่ค้าที่ผมพูดถึงไปเยอะ
ทุกอย่างมีต้นทุนครับ ผมเชื่อว่าสุดท้าย จะมีการบังคับเก็บค่ารักษาเบอร์ หากมียอดการใช้น้อยกว่าxx บาทหรือวัน จนเงินหมดซิม แล้วก็หมดอายุซิมไปโดยอัตโนมัติ แบบเดียวกับการหักเงิืนในบัญชีที่ไม่มีความเคลื่อนไหวของธนาคาร
ป.ล. จนถึงตอนนี้ก็ยังสับสนกับข่าว หัวข้อข่าวพูดถึง"บัตรเติมเงิน" แต่ในคำตัดสินพูดถึงอายุเงินในซิม และคคห.ต่างๆก็ตีความกันไปหลากหลาย เอาเป็นว่า ผมเหมาพูดถึงทั้งสองกรณีไปด้วยเลยทีเีดียวก็แล้วกัน-_-"