เมื่อวันที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา ศาลอาญาได้พิพากษาคดีของนายคธา พนักงานการตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ให้จำคุก 4 ปี จากการแปลข่าวจากสำนักข่าว Bloomberg ที่ทำให้เกิดความตื่นตระหนกจนกระทั่งหุ้นตกอย่างมากในวันที่ 14 ตุลาคม 2552
คุณสฤณี อาชวานันทกุล แสดงความเห็นเรื่องนี้ลงหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ว่ามาตรฐานของคดีนี้จะเป็น "บรรทัดฐานแย่ๆ" ของการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เพราะข้อความที่โพสระบุว่ามีข่าวลือ ไม่ใช่การอ้างว่าเป็นเรื่องจริง ซึ่งไม่ตรงกับกฎหมายที่ระบุว่าต้องเป็น "ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ" อีกทั้งเวลาโพสก็เป็นตอนบ่ายหลังจากหุ้นตกตั้งแต่เช้า
คุณสฤณียังเป็นพยานในคดีนี้ และแสดงความผิดหวังว่าศาลไม่ให้น้ำหนักกับคำให้การว่าการโพสของนายคธาไม่มีทางเป็นต้นเหตุของหุ้นตก และหากกรณีนี้ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ นักข่าวของ Bloomberg ก็ควรถูกจับด้วยข้อหาเดียวกัน
ที่มา - กรุงเทพธุรกิจ
Comments
น่ากลัว
วิชาแพะ
Blognone ล่ะ??
อยา่กถามเหมือนกัน??
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ต้องดูว่าโจทก์เป็นใครครับ
ยังไม่มีคนฟ้องมั้งครับ
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ!
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
แล้วมนุษย์ต่างดาวในข่าวเว็บผู้จัดการที่เอาออกไปเมื่อวานหลังรู้ว่าไม่ใช่ถือว่าผิดไหม? หรือเพราะมันทำให้หุ้นไม่ตกเลยไม่ผิด
เว็บผู้จัดการชอบพาดหัวข่าวเรียกคน หัวข่าวไม่ค่อยตรงกับเนื้อข่าวเลย มั่วมากๆ โดยเฉพาะข่าวดารา พาดหัวซะเสียเลยบางที แย่มากๆ
ถ้าเราวิพากษ์วิจารณ์ จะถือว่าหมิ่นศาลไหมเนี่ย
ศาลท่านมีหน้าที่ตัดสินตามกฎหมายครับ ดังนั้นถ้ากฎหมายมันแย่ ก็ต้องโทษนักการเมืองที่มีหน้าที่ออกกฎหมายครับ
ครับ พอดีกฎหมายฉบับนี้ออกโดยรัฐบาลที่มาจากคณะรัฐประหาร
lewcpe.com, @wasonliw
แสดงว่าถ้าไม่ได้ออกจากรัฐบาลที่มาจากคณะรัฐประหาร ก็ถือว่าดี ?
คณะรัฐประหาร ไม่ได้มาจากคนไปเลือกมา แต่มากันเองพวกกันเอง ที่มาก็ไม่ดีแล้วฮะ
หรือเขาเป็นคนดี ที่มากันเนี่ย
ใจเย็นครับ ผมยังไม่เห็นเค้าตีความแบบนั้นยังไงนะครับ
ผมแค่ระบุกลุ่มนักการเมืองที่พูดถึงในข่าวนี้ครับ
lewcpe.com, @wasonliw
คนบางฝ่าย เลยดิ้นจะแก้ให้ได้ไงครับ
แต่จะแก้ประเด็นอื่นนะ 555
ผมว่ากฏหมายไม่ได้แย่หรอกครับ แต่ขึ้นอยู่กับคนตีความมากกว่า
เราต้องมาตีความกันว่า "ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ" จริงๆแล้วมันครอบคลุมถึงข่าวลือด้วยหรือเปล่า
ต่อให้กฏหมายดีแค่ไหน แต่ตีความแย่ ผลลัพธ์ก็แย่ครับ
(ดังนั้นกฏหมายที่ดีในความคิดของผมคือต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ และไม่ตีความไปได้หลายทาง..)
กฏหมายไม่ได้แย่ แต่เป็นเพราะตีความเท็จ
แต่กฏหมายที่ดี ต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ
แล้วกฏหมาย มันแย่ หรือมันดีล่ะเนี่ย ดูขัดๆกันนะครับ
ถ้าเป็นในกรณีนี้ ในความคิดของผมมันยังไม่ดีพอครับ
เพราะ "ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ" ไม่ได้ระบุไว้ว่าหมายถึงข่าวลือ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแล้วเอามาเขียนเป็นเท็จครับ
อ้อ "ในความคิดของผม" นะครับ ^^
ทำให้เราตีความกำกวม ไม่ชัดเจนนี่ล่ะครับ มันถึงดูแย่
ตามหลักตรรกศาสตร์
ข่าวลือ = ข้อความอันเป็นเท็จ
การบอกว่า ข่าว A เป็นข่าวลือ แสดงว่าเป็นการบอกความเป็นจริง(จริงที่ว่าข่าว A เป็นข่าวลือ)
ฉะนั้นข่าวB มาบอกต่อว่า ข่าว A เป็นข่าวลือ ก็ต้องเป็นการบอกความจริง เป็นข่าวอันเป็นจริง
จะเป็นการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จได้อย่างไร?
ถ้าตีความอย่างเคร่งครัด ย่อมไม่มีทางขัดแย้งหลักตรรกศาสตร์ได้ แต่ระบบเมืองไทยมันมั่วๆ เขียนกฎหมายแบบ civil law ซึ่งต้องตีความอย่างเคร่งครัด แต่การตัดสินบางครั้งก็เลือกใช้หลักการตีความแบบกว้างตามcommon law ตามใจชอบ แถมไม่ยึดเป็นบรรทัดฐาน
กลายเป็นเอาส่วนด้อยของสองระบบมารวมกัน?
ที่สำคัญไม่มีใครคานอำนาจได้ การถอดถอนตามรธน.ฉบับคนถือปืนเขียน ต้องใช้เสียง 3/5 ของสภารวม ซึ่งครึ่งนึงของสภาสูงดันมาจากการแต่งตั้ง ซึ่งคนแต่งตั้งก็เป็นคนกลุ่มเดีัยวกับที่จะโดนร้องให้ถอดถอน ในเมื่อมี conflict of interest อยุ่ ก็ยากที่จะคาดหวังการคานอำนาจอย่างเที่ยงธรรมได้
ถูกใจความคิดเห็นนี้ครับ ระบบกฏหมายประเทศนี้ลักหลั่นย้อนแย้งมากมาย ชอบเปิดช่องว่างให้ระบบกว้างๆแต่ดันเป็น civil law
เรียกได้ว่าเป็น false positive แบบระบบดักสแปม?
ผมว่า น่าจะถือโอกาศที่รัฐบาลกำลังจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เสนอแก้เรื่องนี้ไปด้วยน่าจะดีนะครับ ปล่อยทิ้งไว้อันตรายมากต่อเสรีภาพ และก็เสอนต่อไปอีกว่า ให้การบัญญัตกฏหมายใหม่ใดๆขึ้นมา ต้องทำให้ยากขึ้น โดยให้มีการโหวตอาจะใช้สูตร
นักกฏหมาย หรือสภากฏหมายส่งตัวแทนมา 30 คน ภาคธุรกิจ หรือ ผู้ที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับกฏหมายที่จะบัญญัตอีก 70 คน รวมเป็น 100 คน 100 คะแนน กฏหมายจะผ่านได้ต้องใช้ 60 : 100 ผมว่ามันน่าจะช่วยไห้กฏหมายมีความใกล้ชิดและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น
ไม่เกี่ยวครับ ... ถ้าข้อมูลตามข่าวเป็นจริง กรณีนี้เห็นชัดว่าการพิพากษาคดีนั้นไม่เป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาคดีที่ควรจะเป็น หุ้นตกเช้า ... ข่าวออกบ่าย ... แถมแปะป้ายข่าวลือแล้ว
ผมมองว่่าเกี่ยว เพราะเนื้อหาของกฎหมาย มันเปิดโอกาสให้ใช้ดุลยพินิจแบบกว้างมากเกินไป และกฎหมายนี้ถูกเพิ่มโทษตอนรบ.ทหารด้วย ทั้งๆที่ร่างฯแรกไม่ได้รุนแรงขนาดนี้
ถึงเวลาต้องสะสางกฎหมาย ที่ออกในสมัยเผด็จการ เพื่อให้กฎหมายชัดเจนไม่คลุมเครือ ไม่เปิดช่องให้มีใครโดนกลั่นแกล้งหรือโดนลงโทษเกินกว่าเหตุอีกต่อไปง่ายๆ
งั้นเดี๋ยวขอไปอ่านร่างก่อนครับ :P ว่ามันมีอะไรประมาณ (แล้วแต่ดุลยพินิจฯ) หรือเปล่า
ทำเอาศรัทธาสั่นคลอน
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
หุ้นที่ศาลซื้อไว้ตกอะดิ เลย หาที่ระบาย
ระวังโดนข้อหาหมิ่นศาลนะครับ ระวังหน่อย
ถ้าเขาจะโดนก็โดนหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา...
ถ้าเข้าใจไม่ผิด หมื่นศาลนี่ต้องเข้าไปหมื่นตอนตัดสินคดี
แต่จากการตีความมั่วๆ ตามคดีข้างบนอาจกลายเป็นหมิ่นศาลก็เป็นได้
จริงๆ ต้องตีความตามนั้น แต่ใช้จริงก็อย่างที่เห็นๆ กัน
ผมจำได้ว่าความเห็นกล่าวหาคนอื่นลอยๆ เคยโดนแบนมาแล้วนะครับ ระวังนิดนึงน่าจะดี จะบอกว่าตัดสินไม่ตรงไม่ดีก็ว่าไป ไปหาว่าเค้าระบายเพราะเรื่องส่วนตัวโดยไม่มีมูลเหตุอะไรเลยผมว่าไม่เหมาะเลย
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
จำได้วันนั้นเช็คข่าวกันวุ่น เพื่อนเป็นโบรกฯ ก็โทรมาเช็คกับผมเพื่อให้ถามเพื่อนที่เป็นคนในอยู่รพ.นั้นอีกที
แต่ต้นทางจริงๆคือบทวิเคราะห์(ข่าวลือ?) ที่ลงในเวบข่าวของบลูมเบิร์กส์นะ แต่ทำไม นักข่าวไทยเป็นคนโดนลงโทษ ทั้งๆที่ก็อ้างอิงข่าวจากตปท.ซึ่งเป็นสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ และเป็นการลงข่าวหลังเหตุการณ์โดยระบุว่าเป็นข่าวลือ?
งงกับหลักการในกฎหมายข้อนี้จริงๆ แค่ลงข่าวซ้ำก็ถือว่าเป็นเท็จ? แล้วการลงข่าวบอกว่าเป็นข่าวเท็จ ถือเป็นการเผยแพร่ข่าวเท็จ?
ข่าวนั้นสินะ หึหึ
ที่โดนเพราะเป็นข่าวของเทวดาต่างหากถึงได้โดน
เอางั้นเลยเหรอ
ลองไปอ่านคำพิพากษาดูในที่มา ผมก็ไม่กล้าพูดอะไรเหมือนกันแฮะ
แล้วพวกมั่วข่าวว่าโลกแตก ควรจะโดนมากกว่าหรือเปล่า ?!?
แต่ทางที่ดี ทำพรบ.คอมให้เป็นมิตรกว่านี้เถอะ
น่ากลัวจริงๆ
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
อยู่ยากขึ้นไปอีก
อยู่ไม่ยากหรอกครับ ถ้ารู้ว่าอะไรควร อะไรห้าม
ปัญหาคือสิ่งที่คนตีความ "คิดว่าห้าม" ในหลายๆ ครั้ง มันไม่ได้เขียนไว้นะสิครับ
แล้วบางครั้งสิ่งที่บอกว่าห้ามมันก็ตีความได้ว่า ห้ามทุกอย่างในโลกนี้
แล้วสิ่งที่ห้ามมันสมควรจะห้ามจริงๆหรือครับ?
ทำละครกระทบการเมืองยังโดนแบนเลยฮะ
อยู่ยากจริงๆ อิอิ
ซวยหล่ะ ดันเข้ามาอ่านทุกวันเลย
... (ไม่รู้ว่าจะพิมพ์อะไรได้บ้าง)
มันอยู่ที่คนนั้นเป็นใครมากกว่า คุกมีไว้ขังคนจน กับ คนไม่มีเส้นยังใช้ได้เสมอ
เมื่อเช้าดูข่าวอินทัชถึงกับเงิบ เงิบแล้วเงิบอีก เงิบซ้ำซาก
ผมงงๆอยู่ ปล่อยข่าวลือ ผิด พรบ.คอม (พวกโลกแตกทำไมไม่จับมันวะ?) ปล่อยข่าวลือในวงหุ้น ก็มีกฎหมายรองรับเหมือนกัน แต่ในกรณีนี้คือการแปลข่าวมาปล่อยอีกที ซึ่งผมคิดว่าไอ้คนแปลมันก็มีส่วนช่วยเผยแพร่มันก็ผิดอยู่นะ
ต่อให้ยกเลิก ███ ผมว่าก็ไม่มีประโยชน์ นี่ขนาดไม่ใช่คดี ███ ยังตัดสินเอา ███ มาประกอบได้เลย
คนไทยนี่เล่นหุ้นตามข่าวลือหรือครับ ผมนึกว่าเขาเล่นกันตามปัจจัยพื้นฐานของหุ้น
แสดงว่าไม่เคยเล่นหุ้นไทยสินะครับ
555+
+1 เล่นแบบไทยสไตล์แล้วจะเงิบ
ถึงดูจากพื้นฐาน ราคาเป้าหมายก็ต้องเปลี่ยนอยู่ดี สภาวะไม่มั่นคง บริษัทจะลงทุนเท่าเดิม จะเติบโตเท่าเดิมฤๅ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
นักแปลไม่มีที่ยืนแล้ว
Coder | Designer | Thinker | Blogger
เข้าไปอ่านข่าวจากต้นเรื่องแล้วพูดไม่ออกเหมือนกันครับ
T.T
จริงๆก็สงสาร แต่ต้องการแพะมากกว่านี้ มันจะได้เปลี่ยนแปลงอะไรง่ายขึ้น
รับๆ ไปก่อน เดี๋ยวค่อยแก้ทีหลัง
ก็ตามนั้นละกัน
บังเอิญคนบอกจำเรื่องนี้ไม่ค่อยได้ซะด้วย
ยุคล่าปอบ เผาแม่มด
ที่โดนหนักและพิเศษขนาดนี้ ไม่ใช่เพราะข่าวทำให้หุ้นตก
แต่เป็นเพราะ "เนื้อหา" ข่าวนั้น
กฎหมายที่ดี > ต้องเป็นธรรม ตามแต่ละประเทศนั้นๆ ^^
คิดว่าในอนาคต blognone อาจไม่มีข่าวลือให้อ่านอีกต่อไป อยากอ่าน ให้ไปอ่านที่เว็บ ตปท. ครับ
เป็นการตัดสินที่ไม่ยุติธรรมมาก ๆ ถ้าใช้มาตรฐานนี้คงโดนกันทั้งประเทศแล้วล่ะ แต่ถ้าใช้ดุลพินิจจากเรื่องนั้น ศาลก็ควรชี้แจงอย่างตรงไปตรงมา ไม่ใช่อ้างเรื่องหุ้น
ถ้าบอกว่าติดคุกเพราะเรื่องนั้น ต่างชาติจะยิ่งมองว่าล้าหลัง ด้อยพัฒนา ฯลฯ กระแสตีกลับจะเยอะมาก
เห็นคนที่ไปอ่านข่าวจากที่มาถึงกับเงิบไปหลายคน พูดไม่ออกกันเลยทีเดียว
ถ้าคุณ lew ยก"ประเด็นนั้น"มาเขียนแต่แรกก็จบนะ >_<
จบข่าว? หรือ จบกัน?
คดีนี้ใครฟ้องเนี่ย
แล้วอุทธรณ์สู้ต่อได้รึเปล่า
มีใครได้อ่านแถลงการ หรือสำนวนสรุปคดีของศาลหรือยังครับ ปกติในนั้นน่าจะมีคำอธิบายยืดยาวอยู่ ว่าทำไมต้องตัดสินอย่างนี้ ไม่รู้ว่าคนธรรมดาไม่เกี่ยวกับคดีมีสิทธิอ่านไหม อ่านได้ที่ไหน ??
กำลังพยายามหามาให้ครับ ถ้าหามาได้คงเอามาโพสในนี้เหมือนคดีก่อนๆ
lewcpe.com, @wasonliw
รายละเอียดตามนี้ครับ http://freedom.ilaw.or.th/th/case/83#detail
pittaya.com
อ่านคร่าวๆ แล้ว
ส่วนตัวคิดเองว่าชนวนเหตุการฟ้องร้องน่าจะมาจากเหตุอื่น หุหุ
อ่านแล้ว มีประเด็นทางเทคโนโลยีที่น่าสนใจ
"การสืบสวนในทางลับ" ที่อ้างว่าเป็นเครื่องชี้ว่า จำเลย เป็นผู้ใช้นามแฝงในเวบนั้นจริงๆ(ผ่านการเชื่อมโยงemail) โดยไม่มีพยานเอกสารอื่นใดยืนยัน ไม่มีเอกสารจากเวบต้นทางยืนยัน น่าสนใจว่าศาลรับฟังได้ ทั้งๆที่ไม่มีพยานชัดเจน หรือว่า "ในทางลับ"หมายถึงการสืบสวนทีผิดกฎหมาย เช่นการhack เข้าเวบต้นทาง หรือแม้แต่การดักข้อมูลที่gatewayหรือไม่?
น่าสนใจที่ Microsoft ยอมให้เลข IP ของผู้ใช้งาน hotmail มาโดยไม่มีคำสั่งศาล? เป็นแค่คำขอจากก.ICT ตรงนี้น่าสนใจในเรื่องของsecurity&private policy ที่อาจทำให้ต้องพิจารณาถึงความเชื่อถือในการใช้งานกับ free email ต่างๆ เพราะเคสเก่าๆกับทางบ.อื่นเช่น google จะไม่ยอมให้ข้อมูลจนกว่าจะมีคำสั่งศาลโดยตรง(หรือบางทีก็ไม่ยอม เช่นเคสyoutube ที่ปฎิเสธคำขอipผู้ใช้งานไป จนทำให้ประเทศไทยแบนทั้งเวบอยู่พักใหญ่ๆ) หรืออาจจะแตกต่างเพราะ Microsoftมีสำนักงานในไทย เลยเกรงใจหน่วยงานรัฐมากกว่า?
การร้องขอและการค้นหาหลักฐาน เกิดหลังการจับกุมจำเลย? อะไรทำให้จนท.มั่นใจว่าจำเลยคือผู้กระทำผิด ทั้งๆที่ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดก่อนหน้า? (ผมสงสัยไอ้คำว่าสืบสวนในทางลับมากๆ)
4.พยานจาก ICT บอกเองว่า ไม่ได้มีหลักฐานการเชื่อมโยงบุคคลจากเวบไซต์ที่โพส แต่เชื่อว่าเป็นผู้เดียวกันจากการสืบสวนของจนท.? งงตรงไม่มีหลักฐานจากเวบที่โพส แล้วเชื่อมโยงได้ยังไง? แล้วอ้างว่าการสืบสวนมาจาก สภาความมั่นคง และหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ? ประเด็นนี้ยิ่งทำให้ตำนานเรื่องsniffer gateway ราคา 500ล้านฟังดูมีส่วนจริงยิ่งขึ้น
5.การสืบพยานหลักฐานต่างๆ โดยเฉพาะเรื่อง ip เป็นแค่การสืบพยานเพื่อยืนยันหลักฐานเท่านั้น เพราะประเด็นสำคัญคือจนท.หน่วยข่าวกรอง ระบุมาชัดเจน ว่าจำเลยเป็นผู้โพส แค่หาหลักฐานตามกฎหมายมาอ้างอิงทีหลังตาม
เนื้อหาการสืบพยานส่วนใหญ่ เป็นไปในการชี้ในเรื่องที่อาจเกี่ยวข้องกับการผิดมาตรา112 แต่สุดท้ายหวยมาออกที่พรบ.คอมฯ ก็งงๆดี
แต่ข้อสรุปคือ มีกระบวนการ"สืบสวนในทางลับ" ที่อาจไม่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนตามกฎหมาย(ถ้าถูกกฎหมายทำไมไม่เปิดเผย) พยานทั้งหมดไม่มีข้อมูลจากผู้ให้บริการเวบไซต์ที่โพสเลย
ตรงนี้แหละ ผมว่าชาวIT ต้องร้อนๆหนาวๆกันบ้างแล้ว เพราะแม้จะไม่มีหลักฐานในการเชื่อมโยง แต่เขาใช้คำว่า มีการสืบสวนในทางลับ(สืบสวนยังไงไม่บอกไม่อธิบาย) แล้วเอาหลักฐานแวดล้อมประกอบ ก็เอาผิดคุณได้แล้ว ยังแปลกใจที่ศาลเชื่อว่า จำเลยเป็นเจ้าของuser name เพียงเพราะค้นเจอคำค้นจาก HDD จำเลยโดยไม่มีหลักฐานอื่นใด(แค่คุณเข้าเวบอ่าน มันก็บันทึกลงในcache แล้วนะครับ)ร่วมกับบันทึกคำสารภาพในชั้นสอบสวน แถมย้ำอีกว่า เพราะเจอหลักฐานในHDD จึงอ้างไม่ได้ว่าแค่อ่าน ไม่ใช่ผู้post
อย่างนี้ถ้ามีผู้กระทำผิดในเวบนี้ แล้วคุณๆเผลอมาอ่าน ก็อาจโดนเป็นจำเลยได้ด้วยนะเนี่ย
"Big Brother is watching you!"
เค้ารับสารภาพนิ
ถึงจะรับสารภาพว่าเป็นเจ้าของเมล แต่พิสูจน์ยังไงว่าเป็นเจ้าของ username "wet dream"?
เค้ารับสารภาพในชั้นสอบสวน แต่กลับคำให้การในชั้นศาลครับ แต่แปลกที่ศาลก็เชื่อคำให้การชั้นสอบสวนมากกว่า ทั้งๆที่ไม่มีหลักฐานทางเทคโนโลยีอื่นใดเชื่อมโยงโดยตรง อ้างแต่พยานแวดล้อมอ้อมๆเช่นเจอเอกสารที่printมาในรถ หรือเจอคำค้นในHDD
ซึ่งชั้นสอบสวนในประเทศไทย ผมคิดว่าเรารู้ดีกันอยู่ ว่ามันไม่ใช่แบบในหนังฝรั่งที่เขาประกาศสิทธิ์ให้เราฟังกันชัดเจน กับคดีแบบนี้ ถ้าไม่แม่นกฎหมายจริงๆ จู่โดนอุ้มไปทันทีโดยไม่ออกหมายเรียกก่อน รับรองกลัวจนตัวสั่นทั้งนั้นแหละครับ เพราะบทลงโทษของคดีที่อาจเกี่ยวข้อง มากเท่ากับฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา(จริงๆมากกว่าด้วยเพราะไม่มีเหตุให้ยกเว้นความผิด) แถมนับโทษแยกกระทงอีกนะ และอาจไม่ได้ประกันตัวด้วย ตามสถิติคดีนี้ได้รับการประกันตัวไม่ถึงครึ่ง(โอกาสได้ประกันตัวน้อยกว่าคดีฆ่าคนตายโดยเจตนาก็ว่าได้) ผมไม่ได้กล่าวหาใครนะ ว่าส่วนใหญ่จะโดนกล่อมให้รับๆไปก่อน จะได้ประกันตัวออกไปสู้คดี ฯลฯ
แต่ประเด็นสำคัญ กฎหมายบ้านเราเป็นระบบกล่าวหา จำเป็นต้องพิสูจน์จนปราศจากข้อสงสัยสิ ไม่ใช่อ้างว่าเขาเคยรับสารภาพแล้ว แม้จะไม่มีหลักฐานอื่นเชื่อมโยงเลย ยังงี้มีคนถือมีดใหม่ๆเล่มนึงไปรับสารภาพว่าฆ่าคนตาย โดยที่ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใด ก็วุ่นไปหมดแล้วสิครับ ยัดแพะกันง่ายๆเลย
who watch the watchmen?
อ่านความเห็นหลายคนในนี้แล้วส่วนมากน่าจะจบสาย IT มาไม่น่าจะมีนักกฎหมายซักเท่าไรนะ
งั้นผมขอแสดงความเห็นในฐานะนักกฎหมายหน่อยละกันครับ มาดูกันว่าที่ศาลตัดสินใช่"บรรทัดฐานแย่ๆ" ในมุมมองนักกฎหมายคนหนึ่งอย่างผมไหม
พรบ. คอมพิวเตอร์มาตรา 14(2) บัญญัติไว้ว่า นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
มาดูองค์ประกอบความผิดมาตรานี้กันก่อน
"นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ" ข้อความที่โบรเกอร์นำมาเผยแพร่ในอินเตอร์เนทนั้นถึงแม้จะเป็นข่าวลือแต่ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ความจริงจึงเป็นข้อความเท็จ ถึงแม้โบรกเกอร์ดังกล่าวจะนำข่าวของต่างประเทศมาแปลอีกทีไม่ได้เป็นคนทำข้อความเท็จขึ้นมาเอง และก็ไม่ได้ยืนยันว่าข่าวลือนั้นเป็นความจริง ก็ไม่ทำให้ข้อความที่เขาโพสไม่อาจที่จะไม่เป็นข้อความเท็จได้ถึงแม้จะเป็นข่าวลือที่ไม่มีใครยืนยันข้อเท็จจริงว่าเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม เพราะคำว่าเท็จตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า โกหก,ไม่จริง ดังนั้นเมื่อข้อมูลดังกล่าวที่โบรกเกอร์นำมาโพสเป็นข้อมูลที่ไม่จริงจึงเป็นข้อมูลเท็จ เมื่อนำไปโพสย่อมเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์จึงเข้าองค์ประกอบความผิดอันที่หนึ่ง
องค์ประกอบอีกอันของมาตรานี้คือ
"โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน" ถึงแม้โบรกเกอร์จะนำข้อมูลดังกล่าวมาเผยแพร่ในอินเตอร์เนทหลังจากหุ้นตกแล้วก็ตามสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดอันที่สองนี่หาใช่ว่าข้อความดังกล่าวส่งผลต่อตลาดหุ้นหรือไม่
สาระสำคัญขององค์ประกอบมาตรานี้คือ การเผยแพร่ข้อความเท็จดังกล่าวน่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงหรือต่อความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ซึ่งคำว่า"โดยประการที่น่าจะเกิดความเสีย" เป็นภาษากฎหมายที่หมายความว่า เป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำไม่จำเป็นต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นจริงๆจากการกระทำนั้น แต่การกระทำดังกล่าวน่าจะทำให้เกิดความเสียหายได้ ผู้กระทำก็มีความผิดสำเร็จแล้วต้องรับโทษ เมื่อการที่โบรกเกอร์นำข้อความเท็จซึ่งเป็นเรื่องอ่อนไหวของความรู้สึกของประชาชนคนไทยไปเผยแพร่ในอินเตอเนท การกระทำดังกล่าวย่อมอาจที่ทำให้จะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกของประะชาชนได้ การกระทำของโบรเกอร์จึงเป็นความผิดสำเร็จทันทีโดยที่ ไม่ต้องมีความเสียหายต่อความมั่นคงเกิดขึ้นหรือเกิดเหตุการณ์ที่ประชาชนได้คื่นตระหนกจากการได้รับรู้ข้อมูลเท็จนั้น
ส่วนเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ขอออกความเห็นในเรื่องข้อเท็จจริงเพราะไม่ได้อ่านคำฟ้องฉบับเต็ม แต่ขอแสดงความคิกเห็นในข้อกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถึงแม้โบรเกอร์จะไม่ได้ถูกจับในข้อหาดังกล่าว แต่หากเมื่อจับในข้อหาอื่นแล้วพนักงานสอบสวนได้ทำการสวนแล้วพบการกระทำความผิดอื่นด้วย พนักงานสอบสวนมีอำนาจตั้งข้อหาเพิ่มเติมและสอบสวนให้พนักงานอัยการสั่งฟ้องได้ แต่ถ้าข้อหานี้ไม่ได้มีการแจ้งข้อหาและพนักงานอัยการไม่ได้ยื่นฟ้องในข้อหานี้เท่ากับศาลพิพากษาเกินคำขอ ถ้ามีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ศาลสูงพิพากษายกฟ้องข้อหานี้ได้ทันทีเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ดังนั้นในความเห็นของนักกฎหมายแบบผมถือว่าคำพิพากษาตามข้อหา พรบ.คอมพิวเตอร์ตัดสินได้ถูกต้องตามตัวบทกฎหมายแล้ว ส่วนเรื่องหมิ่นไม่อาจแสดงความเห็นได้
ใครยังสงสัยอะไรในเชิงกฎหมายเกี่ยวกับคดีนี้ถามได้นะครับจะมาตอบให้หายสงสัยกันว่าทำไมคดีนี้ถึงตัดสินมาแบบนี้
ถ้าเช่นนั้นเวปที่เผยแพร่ข่าวลือ(ซุบซิบ ดารา)ทั้งหมดที่ยังยืนยันความเป็นจริงไม่ได้ก็แสดงว่าเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จทั้งหมดรึเปล่าครับ?
และการตีความว่า "น่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงหรือต่อความตื่นตระหนกแก่ประชาชน" มันกว้างจนเกินไปจนสามารถใช้โจมตีบุคคลได้โดยง่ายรึเปล่าครับ ? หรือขึ้นอยู่กับ วิจารณญาณของศาล?
ปล.กฏหมายที่ดีควรจะต้องจะสื่อความหมายชัดเจน ถูกต้อง และ ไม่กำกวม --ใครซักคนกล่าวเอาไว้ผมจำไม่ได้
ตอบ
1.เวปที่เผยแพร่ข่าวถ้าไม่ใช่ความจริงก็เป็นความเท็จทั้งหมดแหละครับ แต่ส่วนจะผิดไหมต้องดูว่าการเผยแพร่ข้อความเท็จไปเข้าองค์ประกอบความผิดอื่นอันจะให้ความเท็จดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมาย เช่น หมิ่นประมาท ได้หรือไม่ เพราะโดยลำพังแค่เผยแพร่ความเท็จองค์ประกอบไม่เพียงพอที่จะผิด
2.อันนี้ต้องดูเป็นพฤติการณ์ไปครับว่าข้อเท็จจริงไหนมันถึงขนาดกระทบต่อความมั่นคงหรือต่ื่นตระหนกต่อประชาชน ส่วนการตีความกฎหมายส่วนมากเราใช้หลักวิญญูชนตีความครับคือ บุคคลส่วนมากในสังคมมีบรรทัดฐานเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างไร เราก็จะเอาบรรทัดฐานนั้นมาตีความกฎหมายครับ มันไม่น่าสามารถใช้โจมตีบุคคลได้ง่ายๆนะครับ
3.กฎหมายบางทีจะเขียนชัดแจ้งโดยไม่ให้ตีความเลยก็ไม่ได้ครับ เพราะกฎหมายอาญาตีความโดยเคร่งครัดคือต้องถือตามตัวบทเป็นหลักแบบนี้ถ้ามันชัดแจ้งจนตีความไม่ได้เลย ถ้ากฎหมายมันชัดแจ้งแล้วว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลไม่อาจตีความให้ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษได้เลยในกรณีที่การกระทำของเขาไม่ได้มีเจตนาที่จะกระทำผิด
ขอบคุณชัดเจนกระจ่างแจ้งมากขึ้นพอสมควรเลยครับ
แต่ดันไปนึกถึงกรณีที่ สื่อทั้งประเทศลงข่าวเรื่อง "คำทำนายภัยพิบัติต่างๆ"หรือ"วันโลกแตกผ่าน" website ของตัวเองนี่ถือว่าเข้าข่าย เผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จ และ "น่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงหรือต่อความตื่นตระหนกแก่ประชาชน" หรือไม่ครับ?
พวกคำทำนายต้องดูว่าเป็นเพียงแค่การคาดการณ์หรือไม่ ถ้าเป็นเพียงแค่การคาดการณ์ โดยไม่ยืนยันว่านี่เป็นข้อเท็จจริง อันนี้ก็ไม่เข้าข่ายความเท็จนะครับ จึงไม่ผิดครับ
ขอบคุณครับที่ช่วยอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ
ผมไปอ่านจากเว็บ ilaw แล้วครับ มันมีช่องโหว่ที่ใหญ่มากตรงที่ว่า email และ account มันไม่ชัดเจนว่าเชื่อมโยงกันได้ยังไง เพียงอาศัยจาก temp file แล้วก็บอกว่าเชื่อมโยงกันเท่านั้น ทั้งที่จริงควรจะเอาข้อมูลจากเว็บ sameskybooks มาว่ามีเมลนี้อยู่และสมัครในชื่อ wet dream ที่อยู่ในฐานข้อมูลเว็บบอร์ดจริงหรือไม่ นี่สิถึงจะถูกต้อง
เห็นแบบนี้แล้วประสาทกิน
อันนี้ขอถามหน่อยครับ ด้วยความที่อยากรู้จริงๆ
ถ้าผมนำเข้าข่าวลือ โดยพาดหัวบอกว่านี่คือข่าวลือ
ผมนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือเป็นจริงครับ
ขอตอบด้วยคำพิพากษาในคดีนี้(ขอcensor บางส่วน)
"'....อย่างไรก็ตาม แม้ข่าวดังกล่าวจะเป็นข่าวลือหรือไม่อย่างไร จำเลยก็ไม่มีสิทธิ์นำข่าวลือโดยเฉพาะข่าวลือที่เกินเลยจากความเป็นจริง และเป็นความเท็จ อันเป็นการใส่ร้าย....หรือบุคคลในมาโพสต์อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อออนไลน์ที่แพร่กระจายข่าวอย่างรวดเร็ว เพราะหากปล่อยให้จำเลยกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยก็ย่อมกล่าวหาหมิ่นประมาทใส่ร้ายผู้ใดก็ได้ โดยอ้างว่าเป็นข่าวลือเท่านั้น โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมหรือผู้ใด ซึ่งเป็นกรณีละเมิดสิทธิผู้อื่นตามกฎหมาย"
นั่นคือถึงจะบอกว่าเป็นข่าวลือกำกับแล้วก็ตาม แต่ถ้าข่าวลือนั้นมีผลกระทบต่อความมั่นคง หรือหมิ่นประมาท ก็ถือว่าผิด
แต่ที่งงกับคดีนี้ คือถ้าอ้างว่าการเผยแพร่ข่าว(โดยบอกว่าเป็นข่าวลือ)เป็นการหมิ่นประมาทและกระทบต่อความมั่นคงฯ แล้วทำไมไม่มีการฟ้องในคดีหมิ่นฯแต่แรก?
และน่าเสียดาย แม้จะตอบด้วยคำพิพากษา แต่ระบบกฎหมายบ้านเรา คำพิพากษาจะยึดหรือไม่ยึดถือเป็นบรรทัดฐานก็ได้ นั่นแสดงว่า การกระทำแบบเดียวกัน อาจจะผิดหรือถูกกฎหมายก็ไม่มีใครรู้อยู่ดี? อย่างที่บอกไปเขียนกฎหมายอาญาฯเป็นcivil law แต่ดันตีความไม่เคร่งครัด แถมไม่สามารถยึดเป็นบรรทัดฐานได้อีก
ขอบคุณครับ
พอดีว่าสงสัยเพราะมีเว็บดังๆ หลายเว็บก็นำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ (ข่าวลือ) แต่ก็ยังเห็นว่าชิวๆ อยู่ได้ก็เลยงงกับวิธีการพิจารณาคดีน่ะครับ
แต่ตอนนี้ไม่สงสัยแล้วล่ะ เพราะชนวนเหตุจริงๆ มันคงไม่ได้มาจากเรื่องหุ้นตกอะไรนี่หรอก
เนอะ
ขอเติมอีกนิด ... ตะงิดๆ ตรง "น่าจะเกิดความเสียหาย" กับ "ความตื่นตระหนกของประชาชน"
ตีความได้กว้างดีจัง
กำลังจะพิมพ์ตรงที่คุณ PaPaSEK เดิมพอดี ว่า อาจจะเกี่ยวกับคำนั้นล่ะมั๊งครับ
เขาตีความแบบกว้างไว้ เพราะกฎหมายเขียนไว้กว้างเกิน เลยเปิดโอกาสให้ใช้ดุลยพินิจแบบกว้างเกินไปนี่แหละครับ
แต่ถ้าถามคคห.ผม ประเด็นสำคัญก็อยู่ที่ชนวนข้อความที่โพส ด้วยuser นั้น ซึ่งจริงๆแล้วไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องหุ้นตกเลย เพราะขนาดพยานผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่าการโพสนั้นไม่มีผลต่อหุ้นตก เพราะเกิดหลังเหตุการณ์และอยู่ในเวบที่ไม่ใช่เวบที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุน ก็ยังบอกว่า ทำให้แตกตื่นมีผลกับความมั่นคงอยู่ดี
แต่ที่น่ากลัวกว่า คือกระบวนการสืบสวน ดังคคห.ที่ผมยกไปข้างบนครับ มีวิธีการที่ไม่น่าจะถูกกฎหมายแน่ๆ และการเชื่อมโยงที่ไม่สมบูรณ์ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ แต่กลับยืนยันว่าสมบูรณ์โดยอ้างการสอบสวนทางลับ(หลักฐานไม่มี?)
สรุปห้ามพูดถึงเลย ไม่ว่ากรณีใดๆ เพราะพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง แต่ถ้าพูดถึงแล้วอาจทำให้รู้สึกไม่ดี ก็เข้าข่ายหมิ่น(แล้วทำไมไม่ฟ้องหมิ่น?)
ส่วนข่าวลืออื่นที่ไม่เกี่ยวกับมาตรา.... ก็คงไม่มีใครส่งจนท.มาสืบสวนทางลับ แล้วมาเอาผิดในข้อหาแบบนี้หรอกครับ
ผมเพิ่งเข้าใจถึงจุดที่คุณ Fourpoint ย้ำนักย้ำหนา
"สืบสวนทางลับ" อาจเป็นแค่คำกล่าวอ้าง เพื่อหาทางเอาผิดใช่มั้ยครับ
เหมือนกับเอา GT200 มาเป็นใบเบิกทางจับคนมาสอบสวน คงแนวๆ นั้น
ไม่เข้าใจตรงคำว่า จำเลยไม่มีสิทธิ์นำข่าวลือโดยเฉพาะ "ข่าวลือที่เกินเลยจากความเป็นจริง และเป็นความเท็จ" ตรงนี้เค้าหมายถึงว่า เรื่องนั้น ๆ "ต้องได้รับการพิสูจน์แล้ว" ว่า "เกินเลยจากความเป็นจริง" หรือ "เป็นความเท็จ" ใช่ไหมครับ?
ข่าวลือถ้ายืนยัน้วว่าเป็นความจริงเอามาเผยแพร่ไม่ผิดครับ แต่ถ้ายังไม่ขืนยันมันเป็นได้ทั้งจริงและเท็จถ้าเกิดเป็นเท็จขึ้นมาก็ผิดทันที ดังถึงแม้เป็นข่าวลือถ้ายังไม่แน่ใจว่ามันคือความจริง อย่าไปเผยแพร่น่าจะเป็นการดีที่สุดครับ
ปรกติข่าวลือที่สื่อนำมาเผยแร่ก็ไม่เคยยืนยันได้ว่าเป้นความจริงนะครับ เพราะฉะนั้นคิดว่าเพราะไม่มีโจทย์เองมากกว่าไม่เหมือนไต้หวัน
ปล.ขอบคุณมากครับเข้าใจกระจ่างแล้ว พอดี quota comment หมดครับ
ปล2. อีกนิดทุกวันนี้คิดดูๆมีการกระทำผิดกฏหมายที่โจ่งแจ้งเยอะพอสมควรแต่ไม่มีโจทย์แฮะ ...สิ้นหวังแล้วบ้านเรา...
โจทย์ -> โจทก์ ครับ
โฮ่ ... เมืองไทยกรรมการมวยปล้ำเยอะครับ
อันนี้พลาดจริงๆครับ ดันคิดไปอีกอย่างนึง
ขอตอบ reply ของคุณ btxxx
จะสื่อว่าทุกวันนี้สิ่งผิดกฏหมายสามารถพบเห็นได้ทั่วไป กระทั่งออกสื่อพื้นฐานของประเทศ
เพียงแต่ไม่มีใครหยิบยกขึ้นมาใช้เพราะยังไม่ถึงเวลา ธุระไม่ใช่ หรือตนเองได้ผลประโยชน์ด้วยนี่ซิครับ
ปล.ความฝันที่จะให้ประเทศพัฒนาให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วคงเป็นได้แค่ความฝันลมๆแล้งๆนี่แหละ
ปกติเค้าใช้วิธีให้คนโดนกล่าวหาพิสูจน์ว่าเป็นความจริงถึงไม่ผิด ไม่ใช่คนร้องพิสูจน์ว่าเท็จหรอกหรือครับ? แบบนี้ตัวเองพิสูจน์ไม่ได้ หรือ ไม่ได้พิสูจน์ก็ถือว่าผิด?
กฎหมายบ้านเราจะยึดคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานต่อเมื่อเป็นคำพิพากษาของศาลฎีกาครับ เมื่อมีข้อเท็จจริงคล้ายๆกันที่ศาลฎีกาเคยพิพากษาไว้อย่างไรศาลล่างต้องถือตาม ไม่มีใครในศาลล่างกล้าตัดสินให้ต่างไปหรอกครับ เพราะอาวุโสยังน้อยกว่าท่านๆที่อยู่ในศาลฎีกากัน จะกลับคำพิพากษาได้ต่อเมื่อคดีนั้นขึ้นไปถึงศาลฎีกาแล้วมีผู้พิพากษาในองคณะเห็นต่าง และจะมีการประชุมผู้พิพากษาในศาลฎีกากันว่าสมควรกลับคำพิพากษาให้มันต่างจากที่เคยตัดสินมาก่อนไหม ซึ่งถ้าผู้พิพากษาส่วนมากลงความเห็นว่าควรกลับก็จะกลับคำพิพากษาใหม่ครับและให้ถือเอาคำพิพากษาใหม่นี้เป็นลรรทัดฐานต่อไป ดังนั้นคำพ พากษายึดถือได้กว่า 80% เลยครับจนกว่าจะถูกกลับ
เป็นความเข้าใจทาง กม. ที่ผิดครับ องค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งของฐานความผิดนี้ก็คือ ผู้กระทำความผิดต้องรู้แน่ชัดด้วยว่าข้อความที่โพสต์นั้นเป็นความเท็จ ถึงจะครบองค์ประกอบความผิด
ดังนั้นการอ้างว่า "มีข่าวลือว่า" จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด
ข้างต้นเป็นการให้ความคิดเห็นโดยหัวหน้าภาคอาญา คณะนิติศาสตร์ มธ. ครับ
เหมาะสม หรือเปล่า
ทำไมถึงได้นำเสนอข่าวไม่ครบถ้วนละครับ
คอมเมนต์คุณภาพก็ลดลงไปมากใ้นช่วงหลังๆ
ข่าวก็ยังจะขาดความสมบูรณ์ไปอีก
มันไม่ครบยังไงอ่ะครับ ช่วยชี้แจงหน่อย เพราะผมอ่านแล้วก็ครบประเด็นดี
อีกประเด็นนึงเกี่ยวข้องกับสถาบันครับ ... ทุกคนเลยเลี่ยงที่จะพูดถึง
เพราะอาจจะกลายเป็นความผิดฐานเผยแพร่ข้อความหมิ่นฯ ครับ
ลองดูเนื้อหาในหัวข้อ "รายละเอียดการกระทำตามข้อกล่าวหา" ดูนะครับ
ขอแก้ไขเพิ่มเติมหน่อย ... ผมเข้าใจว่าเว็บนี้ต้องการนำเสนอเฉพาะส่วนของการพิจารณาคดีที่เป็นผลให้มีการลงโทษมากกว่าครับ ก็เลยไม่ได้เล่นประเด็นที่คุณ SnowBEE พูดถึง
ผมลองอ่านในที่มาแล้ว เจอย่อหน้านี้ครับ
กับ
นี่เขาพูดถึงคดีเดียวกันรึเปล่าเนี่ย
ยินดีต้อนรับสู้ประเทศของพวกเราครับ :D
อ่านข่าว ไม่ว่าจากที่ใด ก็ต้องใช้วิจารณญานไว้
บางครั้ง คนเขียนข่าว ก็เข้าใจผิด
บางครั้ง แหล่งข่าว ก็เข้าใจผิด
หรือบางที ต้นสังกัด ก็จงใจเบี่ยงประเด็น
นั่นคือเหตุผลที่ Blognone ต้องมีที่มาข่าวเสมอ ให้ตามกลับไปอ่านได้ครับ
lewcpe.com, @wasonliw
พออ่านหัวข้อข่าวนี้จบ
"โบรกเกอร์ถูกจำคุกสี่ปีตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ เพราะแปลข่าวลือ"
ผมนึกในใจว่า
โบรคเกอร์คนนี้ คงแปลข่าวลือ ส่งให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้าตกใจ เทขายหุ้น เลยโดนจับ
พออ่านข่าวจบ เป็นคนละเรื่องกับที่คิดไว้
ยังมีใครจำข้อสอบ o-net ข้อนี้ได้บ้าง
นพวรรณ เลิศชีวกานต์ หรือ "น้องนก" เป็น นักเทนนิสเยาวชนหญิงอายุ 17 ปี จากจังหวัดเชียงใหม่ เธอประสบความสำเร็จในการเล่นกีฬาเทนนิสเป็นอย่างสูงเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา น้องนกได้ตำแหน่งชนะเลิศหญิงเดี่ยวและหญิงคู่มาครองในการแข่งขันเทนนิสเยาวชน วิมเบิลดันที่ประเทศอังกฤษ
ความสำเร็จในครั้งนี้ เป็นผลมาจากการทำงานอย่างหนักของผู้ฝึกสอนชาว อเมริกัน ชื่อ ฌักส์ คริส เขาได้ทุ่มเททั้งกายใจ ปละเวลาในการฝึกสอนให้น้องนกได้พัฒนา คุณลักษณะที่สำคัญของนักเทนนิส ที่ดีทั้งในด้านสมรรถภาพทางกาย การแสดงทักษะความสามารถ การควบคุมสภาพจิตใจและความมีน้ำใจนักกีฬา
คำถาม
ในการตีลูกวอลเลย์ นพวรรณ ควรตีลูกในอากาศที่ตำแหน่งใด?
ข้อสอบข้อนี้ถูกต่อว่า ว่าเรื่องราวตอนต้น ไม่เกี่ยวกับคำถามเลย แล้วใส่มาให้อ่านทำไม
ส่วนผมคิดว่า เออ ก็จริงนะ ไม่ว่านักเทนนิสจะเป็นใคร อายุเท่าไร ใครเป็นผู้ฝึกสอน ... ลูกวอลเลย์ก็ยังเป็นลูกวอลเลย์อยู่วันยังค่ำ
กลับมาที่หัวข้อข่าวของเรา ผมคิดว่า ไม่ว่านายคนนี้จะ เป็น หรือ ไม่เป็น โบรคเกอร์ ก็ไม่มีผลต่อคำตัดสินเลย หัวข้อข่าวนี้ ตัดคำว่าโบรคเกอร์ทิ้งไป เหลือแค่
"ถูกจำคุกสี่ปีตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ เพราะ..."
ก็ยังได้
การที่ศาลสั่งจำคุก ไม่ใช่เพราะแค่ "แปล" ข่าวลือ แต่เพราะการเอา "ข่าวลือ" ที่อาจสร้างความ "ตื่นตระหนก" ไป "แพร่" บนเว็บ
(สำหรับข่าวลือเรื่องไอโฟนรุ่นต่อไป ซึ่งจะมีชื่อว่า iPhone 5HD จะมีขนาดหน้าจอ 5 นิ้ว FHD นั้น คงไม่สามารถสร้างความตื่นตระหนกในวงกว้าง และคงจะไม่โดนข้อหานี้ ซึ่งหมายความว่าเราก็คงจะมีข่าวลือทำนองนี้ให้อ่านกันต่อไป )
ผู้กุข่าวลือ คงได้รับประโยชน์อะไรซักอย่าง การที่จะสำเร็จประโยชน์จากข่าวลือนั้น ก็ต้องให้มันกระจายออกไปในวงกว้าง
ข่าวลือ จะกระจายออกไปได้ ก็ต้องมีผู้กระจายข่าว หากเราเป็นผู้กระจายข่าวลือแต่ไม่ได้รับประโยชน์จากข่าวลือ ก็หมายความว่าเราก็โดนผู้กุข่าวใช้เป็นเครื่องมือนั่นเอง
สมัยก่อน ยังไม่มีเทคโนโลยีทันสมัย การกระจายข่าวลือ ใช้วิธีปากต่อปาก ส่วนข่าวลือชิ้นที่ยังกล่าวขวัญกันจนทุกวันนี้ ใช้วิธีส่งคนไปตะโกนในที่ชุมนุมชน ว่า "xxx yyy zzz" ผู้ที่ได้ยิน ก็จะเอาไปถามเพื่อนๆว่า นี่ เธอ ชั้นได้ยินว่า xxx yyy zzz น่ะ จริงหรือเปล่า เพื่อนก็เอาไปบอกเพื่อนของเพื่อนว่า ชั้นได้ยินว่า xxx yyy zzz น่ะ เธอได้ข่าวบ้างไหม...
จนมาถึงสมัยนี้ การ Fwd mail, โพสลง web, share ใน FB ก็เป็นการกระจายข่าวลือได้อย่างดี
คนกุข่าว มักรู้ดีว่าขณะนั้น อะไรเป็นข่าว hot จะสร้างข่าวที่เป็นไปได้สูง และจะเกาะกระแสนั้นกระจายข่าวเพื่อสร้างประโยชน์ให้ตัวเอง
ผมหวังว่าเมื่อท่านอ่านบทความนี้จบลง จะคิดดีๆก่อนจะกด like/share/fwd จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อผู้กุข่าวลือโดยง่ายดาย