เมื่อสัปดาห์ก่อน Acer เปิดตัว Liquid Z3 ร่วมกับ AIS ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวครั้งแรกในโลกที่เมืองไทย ทำให้ผู้บริหารของ Acer สำนักงานใหญ่ที่ไต้หวันบินมาร่วมงานแถลงข่าวด้วย
ผมมีโอกาสสัมภาษณ์คุณ S.T. Liew (เอส ที เหลียว) ตำแหน่งเป็น President of Smartphone Business Group (อธิบายง่ายๆ ว่าใหญ่สุดในสายสมาร์ทโฟนของ Acer) ซึ่งก็ได้ข้อมูลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ด้านอุปกรณ์พกพาของ Acer หลายประการครับ
S.T. Liew ทำานกับ Acer มาตั้งแต่ปี 2010 โดยก่อนหน้านั้นเขาทำงานกับ Motorola มาก่อน เขาเพิ่งมารับตำแหน่งประธานฝ่ายสมาร์ทโฟนเมื่อต้นปี 2012 และทำงานในตำแหน่งนี้มาประมาณปีครึ่ง
คุณ S.T. เริ่มการสัมภาษณ์โดยเล่าว่าโลกของพีซีกำลังหมุนเข้าสู่โมบาย สินค้าไอทีแบบเดิมๆ อย่างโน้ตบุ๊กเริ่มซบเซา บริษัทไอทีต้องปรับตัวเข้าสู่โลกแห่งอุปกรณ์พกพา
Acer รู้ตัวดีว่าไม่ใช่ผู้ผลิตโทรศัพท์รายใหญ่เหมือนซัมซุงหรือโนเกีย ดังนั้น Acer จึงต้องถามตัวเองว่ามีดีที่ตรงไหนถึงจะสร้างความแตกต่างและแข่งขันกับชาวบ้านได้ คำตอบที่ Acer พบก็คือบริษัทมีประสบการณ์ในการผลิตสินค้าไอทีมายาวนาน และสามารถนำประสบการณ์เหล่านี้มาใช้กับโลกของโมบายที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวันในมิติด้านสมรรถนะ มือถือจอใหญ่ขึ้น ซีพียูเริ่มแรงกว่าพีซี
สิ่งที่ Acer ทำอยู่ในตอนนี้คือเปิดศูนย์วิจัยพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านมือถือ เริ่มนำฟีเจอร์ด้านมัลติทาสกิงของพีซีมาใช้กับมือถือ (มือถือจอใหญ่ของบริษัทอย่าง Acer Liquid S1 มีฟีเจอร์การรันแอพหลายตัวพร้อมกันชื่อ Acer Float คล้ายกับของซัมซุงแต่รันได้มากกว่าสอง และทำหน้าต่างลอยหรือ float ได้เหมือนกับวินโดวส์) รวมถึงฟีเจอร์อื่นๆ อย่าง AcerCloud ที่ซิงก์ข้อมูลข้ามอุปกรณ์กันได้ทั้งพีซี แท็บเล็ต มือถือ
ส่วนยุทธศาสตร์ด้านการตลาดที่ Acer เลือกใช้คือการเจาะเป็นรายภูมิภาคหรือรายประเทศ เพราะ Acer ยอมรับว่าต้นกำเนิดของตัวเองมาจากไต้หวันซึ่งเป็นประเทศเล็ก ต่างจากแบรนด์จีนที่มีแค่ฐานตลาดในจีนก็เพียงพอแล้ว ทำให้บริษัทต้องเลือกทุ่มทรัพยากรเป็นบางจุดอย่างระวัง โดยปีก่อน Acer เน้นเจาะตลาดยุโรปเป็นบางประเทศ และปีนี้จะเจาะตลาดเอเชีย 4 ประเทศสำคัญคือ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย
คุณ S.T. บอกว่าตลาดที่มีศักยภาพมากที่สุดคืออินโดนีเซียและไทย โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ Acer สำนักงานท้องถิ่นเข้มแข็งมากในแง่ช่องทางการขายและแบรนด์ แถมไทยยังเป็นจุดตั้งต้นในการขยายไปยังประเทศอื่นๆ ในอินโดจีนได้ด้วย
เซกเมนต์ของตลาดมือถือที่ Acer สนใจมี 2 ตลาดคือ ตลาดล่าง และตลาดกลาง-บน โดย Acer ยังหลีกเลี่ยงตลาดบนสุดที่ซัมซุงกับแอปเปิลต่อสู้กันอย่างดุเดือด แต่หันมาจับตลาดรองลงมาด้วย Liquid S1 ที่เป็น phablet คุณภาพสูง วัสดุดีแทน (ผมลองจับของจริงมาแล้ว งานประกอบแน่น วัสดุดีจริงครับ)
ในตลาดกลาง-บน ฟีเจอร์ที่ Acer เน้นให้ความสำคัญว่าต้องคุณภาพดีเสมอมี 5 อย่าง ได้แก่
ส่วนตลาดล่าง Acer ตั้งใจจับกลุ่มผู้ซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องแรก หลังการเปลี่ยนผ่านจากยุค 2G มาเป็น 3G ซึ่งก็เป็นเหตุว่าทำไม Acer ถึงออกแบบ Liquid Z3 มาจับตลาดประเทศไทยโดยเฉพาะ โดยจุดขายของ Z3 คือราคาถูก แต่คุณภาพต้องดี วัสดุต้องดี มีฟีเจอร์ครบครันสำหรับลูกค้า ซอฟต์แวร์ของรุ่นเล็กต้องไม่ต่างจากรุ่นใหญ่ ได้ฟีเจอร์จำนวนใกล้เคียงกัน
คุณ S.T. อธิบายเหตุผลของการจับมือกับ AIS ว่าช่องทางการตลาดของ AIS จะช่วยให้ Acer เป็นที่รู้จักในหมู่ลูกค้าชาวไทยมากขึ้นว่ามีมือถือขายด้วย (ปัจจุบันคนยังรู้จัก Acer ว่าทำโน้ตบุ๊กเป็นหลัก ส่วนยุทธศาสตร์การขายมือถือแบรนด์ของ AIS ที่ต่างจากการใช้สินค้า OEM แล้วแปะแบรนด์ตัวเองของคู่แข่ง ก็ช่วยให้ลูกค้ามั่นใจมากขึ้นว่า ซื้อมือถือแบรนด์อินเตอร์อย่าง Acer แล้วไม่ถูกทอดทิ้ง มีปัญหาก็เข้าศูนย์บริการ รับบริการหลังขายของ Acer ได้เลย
ช่วงถาม-ตอบ
ผมถามถึงยุทธศาสตร์ด้าน OS ของมือถือ Acer ว่าเป็นเช่นไร คุณ S.T. บอกว่าในตอนนี้ยังโฟกัสเฉพาะ Android เท่านั้น เพราะเคยทำ Windows Phone แล้วไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังเปิดกว้างเสมอสำหรับอนาคต
ผมถามต่อว่า Acer สนใจระบบปฏิบัติการใหม่ๆ อย่าง Firefox OS หรือ Ubuntu หรือไม่ คุณ S.T. ตอบว่า Acer จับตาดูระบบปฏิบัติการพวกนี้อย่างใกล้ชิดเสมอ เพียงแต่รู้สึกว่ายังไม่เข้าใจระบบปฏิบัติการพวกนี้ดีนักเพราะยังใหม่มาก แถมทรัพยากรด้านการวิจัยมีจำกัด เบื้องต้นก็ยังทำตลาดเฉพาะ Android ไปก่อน แต่ถ้าเป็นตลาดแท็บเล็ตก็จะทำตลาด Windows 8 ควบคู่ไปด้วย
คุณ S.T. ยังบอกว่านโยบายด้านการปรับแต่ง Android ของ Acer คือ “keep Android barely minimum” หรือปรับแต่งหน้าตาให้น้อยที่สุด แต่ก็จะเพิ่มฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าลงไป โดยพยายามไม่ยุ่งกับตัวแกนของระบบปฏิบัติการ
สุดท้าย เจอคนใหญ่คนโตทั้งที ผมเลยถามคุณ S.T. ว่ามีแผนจะทำ Nexus Phone หรือไม่ เขาหัวเราะและตอบว่าโดยส่วนตัวแล้ว เขาก็อยากให้มี แต่ในฐานะบริษัทก็ขึ้นอยู่กับกูเกิลและข้อตกลงทางธุรกิจด้วย ซึ่งนโยบายของ Acer คือ “keep the options open” อยู่แล้ว (เขายังตอบแบบติดตลกว่าให้ทุกคนไปบอกกูเกิลให้เลือก Acer ทำ Nexus สิ)
Comments
แสดงว่าหลายๆบริษัทนั้นใจจริงอยากทำ nexus
ไม่เหมือนโซนี่ที่ปฏิเสธ
LG?
ได้ทำ nexus นี่หล่อเลย
รักนะคะคนดีของฉัน
Acer ทำ Nexus จะเป็นไงนะ - -"
จริงการออกแบบของacer ในหลายรุ่นผมก็อยากได้นะ แต่คุณภาพไม่แน่ใจ
อิอิ
ถูกใจจริงๆ
ผมว่าหลังๆ ก็ดีขึ้นเยอะแล้วนะครับ A500 ผมตกจนตูดเยินไปรอบ แต่ใช้งานได้ปกติ
จนมาเปลี่ยนเพราะทน Tegra 2 ไม่ไหวแล้วอะ
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
คุณภาพน่ะพอโอเคครับ แต่ที่ผมว่าน่ากลัวจริงๆ ของยี่ห้อ acer คือเรื่องการอัพเดตเนี่ยแหละ
ยี่ห้อพวกนี้มักออกอุปกรณ์มาแล้วแทบจะลอยแพเลย อ้างว่าคนใช้น้อยบ้างล่ะ ทรัพยากรมีจำกัดบ้างล่ะ ไม่คุ้ม ฯลฯ ดังนั้นก็ไม่คุ้มที่จะซื้อเครืาองพวกนี้เหมือนกัน
ครั้นจะไปหาพวก ROM นอกทั้งหลาย ก็ยากอีก เพราะเหตุผลเดิมๆ คือคนใช้น้อย
อย่าคิดว่าเรื่องอัพเดตไม่สำคัญนะครับ อย่าคิดว่าใช้ๆ ไปไม่ได้สนใจรุ่นใหม่อะไรมากมาย ..คือการอัพเดตไม่ได้แปลว่าได้ OS รุ่นใหม่เสมอไป แต่มันรวมถึงการแก้บั๊กด้วย อุปกรณ์ออกมาแทบทุกตัวมีบั๊กติดตัวมาแทบทั้งนั้นล่ะ แต่รุ่นยอดนิยมทั้งหลายไม่นานก็จะมีตัวอัพเดตออกมาแก้เอง ส่วนมือถือชายขอบอย่าง acer ออกมาแล้วแทบจะลอยแพไปในทันที ถ้ามีบั๊กอะไรมันก็จะมีแนวโน้มสูงที่จะคงอยู่เช่นนั้นไปตลอดชีวิตอุปกรณ์นั้น มันเป็นประสบการณ์ตรงอันเจ็บปวดที่เคยเจอมาครับ
พวกยี่ห้อดังๆ รุ่นดังๆ แทบไม่ต้องห่วงเลย อาการแย่ๆ ที่เคยเจอตอนซื้อเครื่องใหม่ๆ มันจะดีขึ้นเรื่อยๆ จากตัวอัพเดต หรือจาก android ตัวใหม่เองครับ ถึงการอัพเดตจะเป็นแค่ช่วงนึงแล้วลอยแพไป แต่เมื่อถึงช่วงนั้นซอฟท์แวร์ก็น่าจะนิ่งมากๆ แล้ว ผิดกับยี่ห้อชายขอบที่แทบจะไม่มีการอัพเดตเลยด้วยเหตุผลที่ว่าคนใช้น้อย งบน้อย ไม่คุ้มดูแล
เสียดายที่ไม่ได้ถามคำถามเหล่านี้ ผมเองก็อยากจะรู้แนวคิดของเขาเกี่ยวกับเรื่องการอัพเดตเหมือนกัน และอยากให้เขารู้ด้วยว่าลูกค้าให้ความสำคัญกับมันมากแค่ไหน
ถามครับแต่ผมอาจเขียนไม่เคลียร์เท่าไร