ความคืบหน้าล่าสุดของมหากาพย์ผูกขาดอีบุ๊กของแอปเปิล หลังจากที่ศาลแขวงได้ตัดสินแอปเปิลมีความผิดฐานสมคบคิดโก่งราคาอีบุ๊กแล้ว ทางกระทรวงยุติธรรมสหรัฐก็ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น (remedy) จากการผูกขาดอีบุ๊กของสโนว์ไวท์แอปเปิลเมื่อวันศุกร์ที่สองที่ผ่านมา
ข้อเสนอมีใจความสำคัญว่า แอปเปิลยังคงขายอีบุ๊กอยู่ได้ แต่ต้องหยุดพฤติกรรมกีดกันสำนักพิมพ์คู่แข่งขายอีบุ๊กแข่ง (ประมาณปีหนึ่งมาแล้วที่แอปเปิลไม่อนุญาตให้ Kindle หรือ Nook พาผู้ใช้ไปยังร้านค้าของตัวเองและบังคับให้เอาระบบซื้ออีบุ๊กของตัวเองออก และถ้าจะอนุญาตให้ผู้ใช้ซื้ออีบุ๊ก จะต้องซื้อขายผ่านระบบ in-app purchase ของแอปเปิลและต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 30% ของราคาขายใหักับแอปเปิล หากไม่ทำตามนโยบายนี้ตัวแอปของคู่แข่งจะโดนถอดออกจาก App Store) และห้ามแอปเปิลไปทำข้อตกลงกับเจ้าของ (suppliers) อีบุ๊ก, เพลง, ภาพยนตร์, รายการโทรทัศน์ หรือเนื้อหาอื่นๆ ไปในทำนองให้ขึ้นราคากับคู่แข่งของแอปเปิล อีกทั้งแอปเปิลจะต้องจ้างเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการผูกขาดและต้องอนุญาตให้ศาลเข้ามาตรวจสอบการนโยบายต่อต้านการผูกขาดของแอปเปิลอีกด้วย
ข้อเสนอดังกล่าวจะถูกพิจารณา (hearing) ในศุกร์ที่ 9 นี้
โดยส่วนตัวก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีที่เปิดให้มีการแข่งขันอย่างยุติธรรมมากขึ้น แม้ว่าถ้าดูเผินๆ จะดูเหมือนว่าอเมซอนจะชนะ แต่มันก็เป็นกรณีตัวอย่างใหักับเจ้าของ platform อื่นๆ ทั้งกูเกิล,ไมโครซอฟท์หรือแม้แต่อเมซอนเองได้พิจารณาเหมือนกันว่า ถ้าใช้แต้มต่อที่ตัวเองมีสร้างความเหนือกว่ารวมถึงไปกีดกันคู่แข่งขันในลักษณะเช่นนี้แล้วอะไรจะเกิดขึ้น
Comments
รอดูวันศุกร์นี้
อั้ยย่ะ ถ้าเมืองไทยกฏหมายผูกขาดได้แบบนี้ ไม่แคล่ว CP PTT โดนเล่นก่อนเพื่อน 555+
ทำไม CP PTT ต้องโดนหรอครับ?
เงิบบ ... "สโนว์ไวท์"
ที่ Apple โวยว่า "Draconian & Punitive" เพราะศาลจะเข้ามาควบคุมการทำธุรกิจของ Apple สิ่งที่ Apple ทำคือการผูกขาดหรือพยายามใช้ Business Model ของตัวเองที่พยายามปลดแอก สำนักพิมพ์ต่างๆจากการควบคุมของ Amazon ในการขาย e-book ถึงอย่างไรก็ตาม Apple เข้าตลาด e-book มาได้ แต่ได้ประมาณ 20% ของจำนวนยอดขายทั้งหมด ยังงัยก็สู้ Amazon ไม่ได้จริงๆ
เท่ากับว่า ต่อไป App ต่าง ๆ สามารถสร้าง Store เรียกเก็บเงินลูกค้าของตนเองได้ โดยไม่ต้องแบ่งให้ Apple, Google, Microsoft หรือ เจ้าของ OS ถือว่าดีครับ สำหรับ Software ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม แต่ลูกค้ารับความเสี่ยงกับระบบชำระเงินของแต่ละ App เอง ( ตัวใครตัวมัน ครับ )
รวมทั้ง Content จะไม่ถูกรวมศูนย์ กระจายไปตาม App ต่าง ๆ ด้วย
ปล. มันจะทำให้หนังสือ e-book ใน kindle ถูกลงไหม เพราะจากเดิมแค่ 50% ของหนังสือจริง ๆ ตอนนี้ หนังสือใหม่ ๆ ขึ้นมาเกือบ 100% เทียบกับหนังสือจริง ๆ แล้ว สรุปสุดท้าย user จะซวยกว่าสมัยติดตั้งบน Desktop อีก เพราะไม่มีใครจัดระเบียบ ( ผมว่าเดิม Apple ก็ใจกว้างพอ ให้ซื้อขายจากที่อื่นได้ )
แอปเปิลใจกว้างเรื่องอีบุ๊กหรือครับ? จริงๆถ้าเค้าทำได้เค้าก็อยากให้ปิดกั้นไม่ให้อ่านหนังสืออีบุ๊กของคู่แข่งในเครื่องตัวเองแหล่ะครับ แต่จะโดนฟ้องร้องกันวายป่วงก็แค่นั้น เลยทำไม่ได้
มาใช้ระบบบน iOS หาฐานลูกค้าแต่ทำไมไม่อยากเสียค่าธรรมเนึยม in-app purchase
กรณีนี้ผมยังสงสัยว่ามันไม่เป็นธรรมอย่างไร
That is the way things are.
งั้นถ้าเปลี่ยนใหม่ เอาเป็นไมโครซอฟท์ วันพรุ่งนี้ผีเข้า บอกว่าคนที่พัฒนาแอพทำ e-Commerce ทุกตัวที่รันบน Windows Platforms จะ native หรือผ่านเว็บเบราเซอร์ นับจากวันพรุ่งนี้ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับไมโครซอฟท์ 30% ไม่งั้นมันจะรันไม่ได้บน Windows รวมถึงการขายที่รันบนเว็บเบราเซอร์ เช่น Amazon, e-Bay, ฯลฯ ที่ผู้ซื้อทำงานบนเครื่อง Windows ด้วย ไม่งั้นปิดระบบเรียบ
ไมโครซอฟท์อ้างว่า ไมโครซอฟท์พัฒนา Windows มาร่วมยี่สิบปี มีส่วนสร้างฐานลูกค้าให้กับระบบ e-Commerce ต่างๆก็ไม่น้อย ดังนั้นไมโครซอฟท์คิดว่าบริษัทมีสิทธิ์อันชอบธรรมในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้แพลตฟอร์ม Windows ในการสร้างรายได้
กรณีนี้ คุณคิดว่าอย่างไรดีครับ?
ผมว่าเปรียบเทียบไม่ตรงบางส่วนนะโดยเฉพาะเรื่องซื้อของบน website ต่างๆ ผ่าน browser เพราะ
ลองกลับไปเรียบเรียงความคิดและยกตัวอย่างเปรียบเทียบมาใหม่ที่อยู่บน domain เดียวกันมาอีกครั้งนะครับ ผมจะได้คิดและตอบกลับได้ตรงประเด็น เพราะถ้ายกตัวอย่างมาไม่เข้าข่ายจะตอบไปกี่ครั้งก็คงจะตรงประเด็นยาก หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้นแทนที่จะยกตัวอย่างเทียบเคียงสู้บอกด้วยเหตุผลมาเลยครับว่าสิ่งที่ผมคิดว่าถูกนั้นมันผิดตรงไหนจะได้เข้าใจ ไม่งั้นมันจะออกแนว Apple ผิดเพราะอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้จำกัดแบบที่ Apple ซึ่งผมว่ามันไม่เกี่ยวเท่าไร model ทางธุกิจไม่เหมือนกันก็ไม่ได้แปลว่าต้องมีแค่แบบเดียวที่ถูกต้องเสมอไป
That is the way things are.
ก็ก่อนที่ Apple จะเสนอระบบส่วยทางด่วน (in-app purchase) ถามว่า Kindle, Nook เค้าให้ลูกค้าบน iOS ซื้อหนังสือกันอย่างไรครับ คุณรู้รึเปล่า? เค้ามีวิธีของเค้าอยู่แล้วที่จะ leverage ระบบเว็บของทางร้านค้า(รวมถึงและระบบตัดเงิน)
แต่อยู่ๆแอปเปิลก็ผีเข้า ดันบอกว่า เฮ้ยๆ พรุ่งนี้คุณใช้วิธีเดิมๆของคุณไม่ได้ (มันไม่สะดวกกับใคร? ลูกค้า? อเมซอน?, B&N? หรือแอปเปิล??? ในเมื่อวานอเมซอนก็ยังขายหนังสือได้อยู่ ลูกค้าก็ไม่ได้บ่น) บลา บลาๆ ต้องซื้อผ่านใช้วิธีของชั้นเท่านั้น โดยไม่ให้ทางเลือกใดๆกับลูกค้าทั้งสิ้น และยื่นคำขาดว่าถ้าไม่แก้มาตามนี้ ออกไป
อย่างนี้เรียกว่ายุติธรรม?
ประเด็นนี่คือวิธีการเยียวยาการผูกขาดอีบุ๊กที่แอปเปิลก่อขึ้นนะครับ เค้ามองว่าก่อนหน้านี้แอปเปิลทั้งกีดกันคู่แข่ง,รวมหัวกันกำหนดให้ราคาขายปลีกอีบุ๊กที่ถึงมือลูกค้าแอปเปิลต้องถูกที่สุด เค้าจึงออกข้อปฏิบัติต่างๆที่จะสร้างแต้มต่อแก่คู่แข่งเพื่อชดเชยความเสียหายในสิ่งที่แอปเปิลได้ก่อครับ
ย้อหน้าสุดท้ายเริ่มกลายเป็นประเด็นอื่นแล้วนะครับ ผมอ่านข่าวนี้หมดแล้วเข้าใจว่าต้องการสื่ออะไร ผมเพียงแค่ไม่เห็นด้วยกับข่าวบางประเด็นเพราะมันดูไม่สมเหตุสมผล ซึ่งผมก็ได้เขียนเอาไว้แล้วว่าส่วนที่ผมไม่เห็นด้วยนั้นคือส่วนไหนใน comment แรก นั่นคือ scope ของ comment ผม ดังนั้นการที่คุณมา reply ไม่เห็นด้วยกับ comment ของผมนั้นก็ควรพูดคุยให้อยู่ใน scope เดียวกัน เพราะถือว่าคุณเป็นคนที่อยากจะโต้แย้งเรื่องนี้กับผม ไม่ใช่พูดๆ อยู่ในประเด็นย่อยเถียงด่วยเหตุผลไม่ได้ก็ย้อนกลับไปประเด็นใหญ่ของข่าว ทำมาย้อนถามผมว่ารู้ไหมว่าประเด็นของข่าวคืออะไร แบบนี้ภาษาอังกฤษมี term เฉพาะเรียกว่า Scope Shift หรือถ้าเป็นภาษาไทยน่าจะเรียกว่าแอบเนียนเปลี่ยนหัวเรื่องครับ
ตกลงว่าประเด็นแรกจะไม่ตอบแต่ย้ายมาเป็นประเด็นว่าทำไม Apple ไม่ leverage (?) ระบบเดิม ?
ก่อนมี App Store ลูกค้าซื้อ e-book อย่างไรครับ ?? เข้า website ผ่าน browser แล้วกดสั่งซื้อ ? แล้วหลังจากมี App Store ลูกค้าทำแบบเดิมไม่ได้แล้วเหรอครับ ?? ผมว่าทุกวันนี้เราก็ยังซื้อ e-book แบบเดิมๆ แล้วเอามาอ่านบน iPhone ได้นะ ไม่เห็นว่า Apple จะห้ามอะไร
ส่วนเรื่ิองการฮั้วตั้งกฎขึ้นราคามันเป็นอีกเรื่องที่คนละประเด็นกับการเก็บค่าธรรมเนียมผ่าน in-app purchase ไม่เข้าใจว่า comment แรกผมมันเกี่ยวกับประเด็นฮั้วราคาตอนไหน
เอากลับไปประเด็นแรกให้จบก่อนดีไหมครับ ?
That is the way things are.
ผมเป็นคนนึงที่อยู่วงการ e-book เมืองไทย เคยได้คุยกับนักพัฒนาที่ทำระบบซื้อขายหนังสือและ e-book reader บน iOS เค้าบอกว่า "ทำระบบซื้อขายผ่าน website ได้ แต่ต้องไม่ให้ Apple รู้ เพราะถ้าถูกจับได้ จะถูกถอด App ออกจาก App Store และจะถูกสั่งให้ไปแก้ใหม่ให้เป็น in-app purchase แทน ส่วนพวก Amazon เค้าคงปล่อยผ่านเพราะเป็นรายใหญ่"
การเก็บค่าธรรมเนียมและข้อผูกมัดในการที่จะขายซอฟแวร์บนแพลตฟอร์มต่างๆมีมานานแล้วครับ
สำหรับไมโครซอฟท์ก็มีการใช้ในเครื่องเล่นเกมส์ xbox
ซึ่งมาตรฐานวงการนี้ ถ้าซอฟท์แวร์เกมส์ที่ทำออกมาไม่ผ่านตามเงื่อนไขที่ไมโครซอฟท์กำหนดก็ไม่มีโอกาสได้ออกขายบนเครื่อง xbox ไมโครซอฟท์ก็เก็บเงินจากผู้ผลิตซอฟท์แวร์เกมส์ เพียงแต่ไม่ใช่ 30% อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าแล้วแต่ผู้ผลิตซอฟท์แวร์เกมส์มีพลังต่อรองแค่ไหน เช่น เป็นเกมส์ที่ฮิตมากไมโครซอฟท์อยากให้มาลงก็อาจจะมีการลดราคาให้ ซึ่งระบบของไมโครซอฟท์หรือโซนี่จะต่างกับ app store ของแอปเปิ้ลตรงยังไม่ยอมรับซอฟท์แวร์เกมส์ที่แจกให้ดาวน์โหลดฟรีแต่เก็บตังค์จากการขายไอเท็มที่ฮิตๆกันในวงการเกมส์ออนไลน์ในไทย (ตอนหลังเริ่มมีการทดลองระบบแบบนี้บ้างแล้ว) ซึ่งถ้ามีระบบแจกเกมส์ฟรีแพร่หลายเมื่อไหร่ ก็ต้องมีระบบ in-app purchase แน่ เพราะไม่งั้นไมโครซอฟท์และโซนี่คงไม่มีอะไรกิน
ส่วนระบบวินโดวส์ไม่เป็นแบบนี้ก็เป็นเรื่องของความแตกต่างด้านการทำตลาดที่ต่างกัน
เพราะ xbox นั้นขายทั้งระบบ แต่วินโดวส์นั้นเป็นแค่ os โอกาสโดนเสียบแย่งลูกค้ามีเยอะมาก
เช่น ถ้าคนหันไปใช้ linux ไมโครซอฟท์อาจจะเจ๊งได้
เอาบ้าง
เครื่องของลูกค้าแท้ๆ ลูกค้าซื้อเครื่องมาไม่ได้ยืมใครใช้ เนื้อหาผู้ขายก็เป็นผู้สร้าง โดยแอปเปิลไม่มีส่วนร่วมเลยแม้แต่น้อย ดังนั้นการซื้อขายแลกเปลี่ยนเนื้อหาก็ควรเป็นเรื่องระหว่างผู้ให้บริการเนื้อหากับลูกค้า ไม่รู้ว่าการทำตัวเป็นพ่อค้าคนกลางแถมผูกมัดนี่ไม่รู้ว่ามันผุดจากหลุมใดขึ้นมา
กรณีนี้ผมก็ยังสงสัยว่ามันเป็นธรรมได้อย่างไร
มันไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องอธิบายยืดยาวนอกจากพฤติกรรมเอาแต่ได้ เพราะเหตุนี้ iOS กับผมจึงเป็นเส้นขนานตลอดมา แนวคิดบริษัทพวกนี้ไม่ควรค่าแก่การสนับสนุนเลย
โดยสามัญสำนึกแล้ว การกระทำแบบนี้มันไม่ควรเกิดขึ้นและให้การสนับสนุนเสียด้วยซ้ำ ถ้าเปิดใจจริงๆ จะพบว่ามันไม่เหมาะสมจริงๆ แต่ไม่รู้เพราะอะไร หลายๆ คนหลับหูหลับตามึนเมาเห็นดีเห็นงามกับแอปเปิลไปเสียหมด ลูกค้าและผู้ขายโดนเอาเปรียบไม่ต้องสนใจ ขอให้แอปเปิลรวย แอปเปิลจงเจริญ
ปล.แพลตฟอร์มเติบโตมีฐานลูกค้ามากได้ ก็เพราะแอพและเนื้อหาด้วย ไม่ใช่เพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ไม่ทราบว่าคุณ illusion รู้สึกอย่างไรกับการซื้อของผ่านตลาดนัด ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าครับ เพราะทั้ง 3 อย่างนี้ล้วนแล้วแต่ขายสินค้าแล้วเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ขายสินค้าทั้งสิ้น สินค้าก็ไม่ได้ผลิตเองแต่อย่างใด ลูกค้าก็เป็นคนเดินไปเลือเสาะแสวงหาสินค้าเอง ทำไมต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับห้าสรรพสินค้าด้วย เช่น ห้าง Central คิดค่าธรรมเนียมจาก 40% ของยอดขายสินค้า เป็นต้น
ถ้าในกรณีนี้คุณรู้สึกโอเคกับมัน ใช้ชีวิตเดินห้างตามปกติ แล้วทำไมกรณี Apple คุณบอกว่าไม่โอเคล่ะครับ ?? มาตรฐานอยู่ที่ตรงไหน
คุณเคยเห็นร้านค้าเปิดร้านที่ห้างสรรพสินค้าแล้วบอกว่าตัวเองของเปิดร้านค้าภายในร้านค้าอีกที โดยแยกยอดขายของร้านค้านี้ออกจากร้านที่จดทะเบียนกับทางห้างสรรพสินค้า และไม่นำยอดขายจอง "ร้านค้าในร้าค้า" นี้มาคิดเป็นยอดขายที่ต้องนำส่งห้างสรรพสินค้า ทำให้ร้านค้าเสียค่าธรรมเนียมน้อยลงหรือไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเลย คุณคิดว่าห้างสรรพสินค้าจะยอมรับเงื่อนไขแบบนี้หรือครับ ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นผู้ลงทุนใน infrastructure ต่างๆ รวมไปถึงการค้นหาทำเลที่เอื้อต่อการจับจ่ายใช้สอยด้วย ยังไม่นับว่าได้ลงทุนเองไปก่อนเป็นก้อนอีกต่างหาก
สรุปมาตรฐานอยู่ตรงไหนครับ ??
That is the way things are.
คุณก็เปรียบเทียบไม่เหมือนกันอยู่ดี
ห้างนั้นให้ infrastructure ให้ เช่น น้ำ,ไฟ,ที่จอดรถ,ระบบรักษาความปลอดภัยแต่ร้านค้าย่อยๆ รวมถึงจัดสรรพื้นที่ทางกายภาพที่มีอยู่จำกัด ในการวางขายสินค้าและบริการ
แต่ผมก็ไม่เห็นว่า Apple ได้เตรียมโครงสร้างพื้นฐานทำนองนี้ให้แก่ Kindle, Nook ในการขายหนังสือแต่ละเล็มแต่อย่างใด หนังสือก็เก็บที่เครื่องแม่ข่ายของอเมซอน, B&N ระบบ Sync Bookmark เค้าก็มีของเค้าเอง ระบบเก็บเงิน, ข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้า รวมไปถึงระบบค้นหาหนังสือ,แนะนำหนังสือ แอปเปิลก็ไม่ได้ทำให้ เค้าก็มีกันอยู่เองอยู่แล้ว ไม่ได้ facility อะไรที่ว่าของคุณเลย
แล้วมีเหตุอันชอบธรรมอันใด อันนี้ผมก็นึกไม่ออกจริงๆ
ห้างมี infrastructure ให้ส่วน Apple มี iPhone กับ App Store ให้
ถ้าไม่มี iPhone กับ App Store ผู้ใช้ iPhone จะสามารถ download application Nook, Kindle, B&N แล้วพกพาไปไหนมาไหนติดตัวได้หรือครับ ? ถ้าไม่มีหน้าร้านที่เป็นแบบ application บน iOS แต่แรก Nook, Kindle, B&N จะขายหนังสือผ่าน application บน iPhone ได้อย่างนั้นหรือครับ ??
ค่า server App Store ค่าคิดค้นออกแบบและผลิต iPhone นั้น Nook, Kindle, B&N ช่วยออกเงินช่วยคิดค้นด้วยหรือครับ ??
ผมว่าผมเปรียบเทียบไม่ผิดหรอกครับ อยู่ที่คนว่าจะยอมทำความเข้าใจหรือไม่มากกว่า สินค้าอาจจะเกิดก่อนห้างสรรพสินค้าได้ แต่ร้านค้าที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าที่ตั้งอยู่บน "ทำเล" ที่ดีนั้นต้องมาทีหลังห้างสรรพสินค้าแน่นอน ฉันใดก็ฉันนั้น Amazon Nook อาจจะขาย e-book เองมานานก่อน iPhone แต่การที่จะขาย e-book บน iPhone นั้นยังไงก็ต้องให้ iPhone เกิดขึ้นก่อนแน่นอน ซึ่งถ้าอยากขาย e-book บน platform ที่คนอื่นสร้างไว้ application ก็แจกฟรีให้ download ผ่าน App Store ไปลงบนระบบ iOS ใน hardware ที่คนอื่นคิดมาอีกที่เรียกว่า iPhone แล้วยังจะเปิดร้านของตัวเองภายในระบบนั้นซื้อขายสินค้าใดๆ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ เลย แบบนี้มันเป็นธรรมตรงไหนครับ ?
That is the way things are.
คุณตรรกะวิบัติตั้งแต่เอาไปเทียบกับห้างแล้วครับ
พิมพ์สั้นดีครับแต่ไม่เห็นอธิบายอะไรเพิ่มเติมเลย บอกว่าคนอื่นผิดแต่ไม่บอกว่าผิดอย่างไร ต้องรอให้คนอื่นมา post ถามผมว่ามันไม่ใช่มารยาทที่ดีนะครับ
คุณ illusion แสดงความคิดเห็นเชิงว่าไม่เห็นด้วยกับการกระทำเยี่ยงพ่อค้าคนกลางของ Apple ผมก็ยกตัวอย่างพ่อค้าคนกลางที่เก็บเงินจากผู้ค้าตามยอดขายสินค้าเหมือนอย่างที่ Apple เรียกเก็บซึ่งก็คือห้างสรรพสินค้ามาเปรียบเทียบ คุณว่าการเปรียบเทียบนี้เข้าขั้นตรรกะวิบัติ อยากถามว่าวิบัติอย่างไรทั้งๆ ที่พฤติกรรมวิธีการคิดเงินคล้ายคลึงกัน สินค้าก็ไม่ได้ผลิตหรือหามาเองเหมืิอนกัน เพียงเท่านี้ผมว่าความคล้ายคลึงของปัจจัยก็เพียงพอต่อการนำมาเปรียบเทียบแล้ว หากคุณไม่เห็นด้วยแล้วคุณคิดว่าควรเปรียบเทียบกับอะไรจึงเหมาะสมครับ ?
พิมพ์โต้ตอบด้วยหลักการเหตุผล อย่าสักแต่ดูถูกคนอื่นพร่ำเพรื่อครับ
That is the way things are.
.
คืองี้ครับ ผมไม่มีปัญหากับคำว่าพ่อค้าคนกลาง หรือการหักเปอร์เซนต์นะครับ การซื้อการขายจำนวนมากบนโลกนี้ขึ้นกับพ่อค้าคนกลางทั้งสิ้น และการได้ส่วนแบ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่สมเหตุผลอยู่แล้ว เนื่องจากทุกอย่างย่อมมีต้นทุน
และแอปเปิล จะหักเปอร์เซนต์ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพราะอันที่จริงถ้าซื้อขายผ่านแอปเปิล ก็ย่อมมีต้นทุนเกิดขึ้น ณ จุดนี้เหมือนกัน
แต่ประเด็นปัญหาของผมคือการผูกมัดและผูกขาดของแอปเปิลครับ จะจ่ายเงินที ช่องทางการจ่ายเงินต้องผ่านแอปเปิลทั้งหมดไม่มีทางเลือก บีบคอเค้นเงินกันเลยทีเดียว (อย่าบอกว่าเค้าไม่ได้บังคับให้ซื้อนะ มีสมาร์ทโฟนก็ต้องตามมาด้วยแอพและคอนเทนท์อยู่แล้ว)
อย่างผมจะซื้อของซักชิ้น ผมไม่จำเป็นต้องซื้อจากเซ็นทรัล ผมอาจจะซื้อจากห้างอื่นที่ผมโอเคกว่า ผมมีสิทธิ์ในการเลือกว่าผมพอใจจะจ่ายเงินให้ใคร เงินเป็นของผม ผมอยากให้ใครได้กำไรจากผม ผมเลือกเองได้ แต่สำหรับ iOS ถ้าผมไม่อยากจะเสียเงินให้ apple ผมมีทางเลือกอื่นอีกไหม?
เรื่องผูกขาด app store อันนี้ก็ไม่เคยเห็นดีเห็นงามอยู่แล้ว แต่ยอมหลับตาให้ แต่เรื่อง in-app purchase นี่มันเกินไปแบบจะเอาทุกทางจริงๆ และไม่ให้ลูกค้ากับผู้ค้ามีทางเลือกด้วย โดยเฉพาะ e-book นี่มันชัดเจนมาก ได้ทั้งขึ้นทั้งล่องหมด ขนาดจะซื้อ e-book จาก amazon ซึ่งมันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับแอปเปิลและไม่มีต้นทุนเลย ถ้าจ่ายตรงให้ amazon ก็จบไปแล้ว นี่ยังโดนบังคับลากมาให้เสียเงินให้ apple แบบไม่มีทางเลือกอีก สำหรับผมมันสุดๆ จริงๆ ครับ (โดยส่วนตัว in-app purchase มันคือการอำนวยความสะดวก แต่ไม่ใช่เอาไว้เป็นช่องทางผูกขาด ถ้าผู้ค้ารายอื่นเขามีระบบการชำระเงินเอง ก็ปล่อยเขาไปเถิด ไม่ใช่ว่าคอยเป็นตัวกลางดักเงินผู้ค้า ลูกค้ามันทุกเม็ด)
ผมเห็นด้วยกับคอมเมนต์ของคุณ tekkasit ด้านล่างว่านี่เป็นการสร้างแต้มต่อให้ iBook store ของตัวเองล่ะครับเพราะไม่ต้องเสียค่าต๋งเลย งานนี้มันแข่งขันกันอย่างไม่เป็นธรรม มีเจตนาผูกขาด แถม iOS เองก็ดันเป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุดอันหนึ่งของโลกด้วย ผมจึงเห็นสมควรแล้วที่รัฐบาลเขาต้องออกมาทำอะไรซักอย่างเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภคเอง
แล้วในทางกลับกัน คุณคิดว่า Amazon กับ B&N จะยอมให้ Apple เปิดขายหนังสือเป็นแอพบน Kindle กับ Nook โดยไม่จ่ายค่าธรรมเนียมได้หรือเปล่าครับ
มันไม่เป็นธรรมตรงที่ถูกบังคับให้ต้องใช้ in-app purchase อย่างเดียว ในขณะที่ platform อื่นกลับไม่บังคับครับ
ผมว่าย่อหน้าที่สองก็อธิบายหมดแล้วนะครับ
เรื่องของแอป ถ้าบังคับเรื่องค่าธรรมเนียม in-app purchase ไม่ได้ ก็สบายเลยครับ
เพราะแอปเปิ้ลไม่กำหนดราคาแอป สามารถตั้งราคาขายเท่าไหร่ก็ได้ เช่น
แจกฟรีมันเลย แล้วให้ลูกค้าจ่ายเงิน in-app purchase ไม่ต้องเสียตังค์ให้แอปเปิ้ลอีกต่อไป
ดูคุณหลงประเด็นมากกว่าครับ
ผู้ฟ้องไม่ใช่เหล่าบริษัทฯ หนังสือ แต่เป็น รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา ข้อหาละเมิดกฏหมายป้องกันการผูกขาดโดยการรวมหัวกับสำนักพิมพ์หนังสือเพื่อกำหนดราคาอีบุ๊ก ครับ ไม่ใช่ไม่มีใครไม่อยากเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งเอาจริงๆ
คนแคระบริษัทฯ ต่างๆ ทั้ง 7 ก็พอใจในสถานการณ์ที่ทำร่วมกับแอปเปิล แต่รัฐบาลกลางไม่เอาด้วยประเด็นหลักของข่าวและคดีไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ Kindle หรือ Nook อยากจ่ายหรือไม่อยากจ่าย แต่เป็นเรื่องการบังคับ และรวมตัวกันบังคับราคา
สรุป ความไม่เป็นธรรมกรณีนี้ไม่ใช่ "ไม่อยากเสียค่าธรรมเนียม" แต่เป็น "ร่วมกันผูกขาดโดยแอปเปิลเป็นแกนนำ" ครับ
ประเด็นหลักผมเข้าใจแต่ผมแค่ไม่เห็นด้วยในประเด็นย่อยครับ เพราะผมมองว่าการเก็บค่าธรรมเนียมและบังคับไม่ให้ redirect ไปยังร้านค้าของตัวเองนั้น Apple ทำถูกต้องแล้ว ส่วนเรื่องการบังคับราคาว่าที่ขายที่ App Store ต้องถูกที่สุดต่างหากที่ผมมองว่าเป็นต้นเหตุแห่งการผูกขาดราคา e-book แต่ในข่าวกลับเขียนเน้นว่าประเด็นนี้เป็นใจความสำคัญ แถมยังเป็นส่วนขยายของตัวอย่างพฤติกรรมกีดกันด้วย (ตามหลักภาษาเนื้อหาส่วนที่อยู่ในวงเล็บคือส่วนขยายของเนื้อความก่อนหน้าวงเล็บ)
แนะนำให้อ่าน comment ด้านบนของผมเกี่ยวกับ scope ดูครับ
That is the way things are.
ใครไม่อยากเสียหรือครับ?
ไม่เห็นด้วยในประเด็นย่อย? ข่าวนี้มีประเด็นย่อยหรือครับ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นพฤติกรรมที่สืบต่อกันมามากพอจนถึงขั้นให้ฟ้องจนชนะคดีได้ ดังนั้นทุกหัวข้อก็เป็นประเด็นหมด
ผมย่อให้เหลือดังนี้ครับ
ข้อเสนอมีใจความสำคัญว่า แอปเปิลยังคงขายอีบุ๊กอยู่ได้ แต่ต้องหยุดพฤติกรรมดังนี้
ส่วนสาเหตุที่แอปเปิลต้องหยุดพฤติกรรม 3 ข้อนี้ก็เพราะแอปเปิลผิดในข้อหาร่วมกันผูกขาด
สามหัวข้อนี้เป็นสาระสำคัญอยู่แล้ว ส่วนบทขยายความในข้อหนึ่งก็เป็นเรื่องการปูพื้นให้ผู้อ่านได้เข้าใจข่าว (ซึ่งไกค์ไลน์ของบล๊อกนันกำหนดให้เป็นเช่นนี้) การกล่าวถึงค่าธรรมเนียมก็เป็นการกล่าวเพื่อประกอบข่าว ซึ่งมันก็เป็นข้อเท็จจริงประกอบข่าวทั่วไป
อยู่ๆ คุณเล่นยกมาบอกว่าไม่อยากเสียค่าธรรมเนียม??? นั่นหมายถึงคุณ "ยกเอาข้อเท็จจริงทั่วไปในข่าว" มาเป็นประเด็นหลักแทน
คือคุณนั่นแหละที่เปลี่ยนสโคปของข่าว (ภาษาอังกฤษว่าอะไรไม่รู้ ผมก๊อปของคุณมาไม่ทัน :D )
ผมว่าผมคงจับประเด็นผิดไปจริงๆ ผมควรเขียนแค่เพียงว่า "เสียค่าธรรมเนียม in-app purchase นับเป็นพฤติกรรมกีดกันตรงไหน" มากกว่าเพราะอันที่จริงในข่าวก็ไม่ได้เขียนว่าบริษัทอยากหรือไม่อยากเสียค่าธรรมเนียม
อย่างไรก็ตามความเข้าใจผิดของผมคงไม่อาจเรียกได้ว่าผมพยายามเปลี่ยน scope ของข่าวไปได้หรอกครับ ผมยังไม่เคยเห็นการแสดงความคิดเห็นเปลี่ยน scope ข่าวได้เคยแต่เห็นคนที่คุยๆ กันอยู่เรื่องหนึ่งอยู่ๆ ก็หยุดคุยเรื่องนั้นแล่วเปลี่ยนไปคุยเรื่องอื่นแทน
การจับประเด็นเรื่อง "อยาก" หรือ "ไม่อยาก" นี่ผมหลงประเด็นไปเองจริงๆ แต่ส่วนที่ผมคิดว่าการเก็บค่าธรรมเนียมจากยอด in-app purchase นั้นสมเหตุสมผลแล้วยังคงเหมือนเดิม ผมมองว่าเรื่องนี้ไม่มีส่วนกีดกันการค้า e-book แต่อย่างใดหากปราศจากข้อกำหนดที่ว่าราคาที่ขายบน platform ของ Apple ต้องถูกที่สุด
อนึ่งผมไม่เห็นด้วยที่คุณบอกว่าข่าวมีแค่ประเด็นเดียว เพราะในบทความทุกอย่างย่อมร้อยเรียงด้วยหลายใจความองค์ประกอบอยู่แล้ว ดังที่คุณเองก็สามารถแยกมาเป็น bullet ได้ หากมีคนไม่เห็นด้วยในเนื้อหาใน bullet ใด bullet หนึ่ง คนๆ นั้นก็สามารถหยิบเนื้อหาใน bullet นั้นมาโต้แย้งนับเป็นประเด็นย่อยได้ ไม่เกี่ยวว่าข่าวจะมีประเด็นหลักอย่างไร เช่น ข่าวบอกยอดขาย smartphone เติบโต x% คนอ่านข่าวจบก็เข้าใจว่าข่าวต้องการนำเสนออัตราการเติบโตของยอดขาย smartphone แต่อาจจะมีคนหนึ่งมาอ่านแล้วก็ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีการสุ่มนับส่วนแบ่งการขายว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ จากนั้นก็แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้แยกออกมาเป็นอีกประเด็น เป็นต้น
That is the way things are.
ถ้าคุณไม่เห็นด้วยในส่วนย่อยของข่าว กรณีนี้คุณควรแย้งเป็น
ข่าวนี้ผมยังเห็นมีประเด็นเดียวครับ คือข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาให้แอปเปิล 3 ข้อ ทีเหลือก็เป็นเรื่องที่สืบๆ กันมา
ถ้าซื้อ/ขายบน iOS ต้องจ่ายค่าต๋ง 30% ของราคาขายปลีก เช่นก็เท่ากับสร้างแต้มต่อให้ระบบร้านค้าอีบุ๊กตัวเอง คู่แข่งต้องแบกต้นทุนเพิ่ม 30% ของราคาขายปลีก แต่ iBook ไม่ต้องแบกค่าต๋งที่ว่า
เช่นนี้ไม่ถือการกีดกันทางอ้อมอย่างหนึ่งรึ?
นั่นเป็นเหตุผลที่ศาลยุติธรรมสหรัฐได้มีข้อเสนอแนะให้ยกเลิกข้อกำหนดนี้ เพื่อเยียวยาความเสียหายที่แอปเปิลได้ก่อขึ้น ทำให้มีแต้มต่อน้อยลง
คู่แข่งสามารถไปสร้าง e-book reader ของตัวเองได้นี่ครับ ซึ่งเขาก็ทำอยู่นะ
ทั้ง kindle แล้วก็ nook มันเป็นชื่อ e-book reader นะครับ
แถม e-book reader พวกนั้นก็ขายดีมีคนใช้เยอะเหมือนกัน
ลูกค้าที่อย่างซื้อ e-book กับ Amazon ก็ซื้อเครื่องของ Amazon ก็จบแล้ว
มันจะไม่เป็นแต้มต่อครับถ้าไม่บังคับว่าให้ขายที่ App Store ถูกที่สุด เช่น ขายที่ App Store แพงกว่าที่ Amazon Store เป็นต้น เพราะค่าธรรมเนียมนี้ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องเก็บครับ เพราะมันเป็นค่าให้บริการ "ทำเล" ที่เข้าถึงผู้มีกำลังซื้อจำนวนมาก
ไม่อย่างนั้นก็ทำ application มาเป็นแค่แนะนำหนังสือพร้อมราคาและตัวอย่างให้อ่านแต่เวลาจะซื้อให้ลูกค้านำชื่อหนังสือไป search แล้วซื้อเองแบบเดิมๆ
That is the way things are.
ปัญหามันอยู่ตรงที่ Amazon e-book เองมีหลายช่องทางมากกว่าครับ ตัว Kindle for iOS เองก็คงแค่อยากให้ผู้ใช้อ่านหนังสือจากที่ไหนก็ได้ อย่างผมถ้าวันไหนลืมหยิบ Kindle ไปด้วยแล้วอยากอ่านผมก็แค่เปิดผ่านเว็บหรือโทรศํพท์เอา แต่ Apple กลับไม่ยอมให้ทำแบบนั้นซะอย่างนั้น บังคับว่าถ้ามีขายทางอื่นก็ต้องมีขายที่ตัวเองผ่านตัวเองด้วย แถมต้องขายราคาเดียวกันอีกต่างหาก
ผมว่า in-app purchase มันสมควรถูกจำกัดอยู่ที่ว่า เป็นระบบที่ช่วยอำนวยความสำดวกให้นักพัฒนา เป็นระบบสำหรับจ่ายเงินภายในแอพสำหรับนักพัฒนาที่ไม่พร้อมจะทำระบบรับจ่ายเงินเองเสียมากกว่า เพราะตรงนี้เองมีค่าใช้จ่ายและต้องเตรียมตัวในระดับนึง แถมต้องจัดการปัญหาวุ่นวายต่าง ๆ ด้วยตัวเอง รวมถึงเตรียมเซอร์เวอร์สำหรับส่งข้อมูลเองอีก ขณะที่การใช้ in-app purchase ไม่ต้องวุ่นวายกับปัญหาเหล่านี้เลย
ผมยังสงสัยอยู่อีกอย่าง แอพสั่งพิซซ่า แอพขายของ (เข้าใจว่าแอพ Amazon.com เองก็ซื้อของในเว็บได้ด้วย) ทำไมไม่บังคับบ้าง หรือแค่เพราะว่า content เหล่านั้นไม่ได้เข้ามาในเครื่องโดยตรง? แล้วแอพจ่ายค่าใช้บริการโทรศัพท์มือถือนี่จะโดนด้วยมั้ย?
การผูกขาด ebook ของ apple มันมีอะไรที่มากกว่า in-app purchase ครับ
อย่างแรกต้องเข้าใจการเก็บค่าหัวคิวของคินเดิลก่อนครับ คินเดิลจะเก็บค่าหัวคิว 2 แบบ คือ 65% และ 30%
สำหรับ 65% นั่นจะอนุญาตให้ตั้งราคาขายได้สูงถึง $200 ส่วนแบบเก็บ 30% จะอนุญาตให้ตั้งได้แพงสุดที่ $9.99
ทีนี้ถ้าสมมุติคุณเลือกแบบหัก 30% และตั้งราคาขายที่ $9.99 เมื่อซื้อผ่าน in-app purchase ปัญหาก็จะเกิด คุ้นๆ กับเลข 30% ใช่มั๊ยครับ? นั่นคือเมืออเมซอนต้องมาใช้ in-app purchase และขายในราคาเท่ากับซื้อผ่านเว็บปกติ 30% ที่อเมซอนจะต้องหักเข้ากระเป๋าตัวเอง ก็ลอยไปเข้ากระเป๋าแอปเปิลในฐานะค่าทำเนียม in-app purchase แทน ทางเดียวที่จะทำให้อเมซอนได้กำไรคือต้องดันราคาขายให้สูงขึ้นไปอีก
ทีนี้ย้อนกลับมาที่การขายบน iBook กันบ้าง แอปเปิลบอกเอาไว้ว่าสำนักพิมพ์สามารถกำหนดราคาได้เอง แต่มีข้อแม้คือห้ามขายที่อื่นถูกกว่า ดังนั้นการที่สำนักพิมพ์จะไปตั้งราคาที่ถูกกว่าเพื่อให้คินเดิลขายราคาเท่ากับในไอบุ๊ค ย่อมทำไม่ได้ (นี่ยังไม่นับกรณีตั้งราคาเกิน $9.99 อีก ที่ถ้าไปตั้งราคาเกินนี้ในคินเดิล ก็จะโดนค่าหัวคิวถึง 65% ซึ่งสำนักพิมพ์คงไม่อยากเอาด้วยแน่ๆ) ดังนั้นทางเดียวที่คินเดิลใน iOS จะได้กำไรจากพวก %9.99 คือต้องขายแพงขึ้น
และในเมื่อหนังสือเล่มเดียวกันในคินเดิลขายแพงกว่าในไอบุ๊ค (ซึ่งเป็นการบังคับกลายๆ จากแอปเปิล) คนก็จะหันไปซื้อในไอบุคมากกว่า
เหมือนกับ CP ส่งไส้กรอกให้แฟมิลี่มาร์ทแล้วบอกห้ามขายถูกกว่าในเซเว่นนั่นแหละ
ผมเข้าใจว่าที่แตกต่างจากห้างสรรพสินค้าที่สุด คือแอปเปิลได้รายได้จากไอโฟน(ลูกค้าเสียเงินซื้อเอง) แล้วยังมาบังคับเก็บค่าต๋งอีกนะครับ
มันเหมือนคุณซื้อบ้านมาแล้ว แต่โดนบังคับว่าจะซื้อเฟอร์นิเจอร์ต้องซื้อจากตลาดของโครงการเท่านั้น ถ้าเจ้าอื่นจะมาขายเฟอร์นิเจอร์ให้คุณต้องจ่ายค่าต๋งให้เจ้าของโครงการ ทั้งที่บ้านก็ของคุณแท้ๆ
ถ้าไม่ตรงประเด็นก็ขออภัยล่วงหน้าครับ แอบอ่านแอบพิมพ์ระหว่างทำงาน(ฮา)
ผมว่าไม่ได้อยู่ที่เก็บไปก่อนเท่าไหร่นะครับ ขึ้นกับว่าตกลงอย่างไร อย่างพวก game console ก็ขายเครื่องและเก็บ % จากเกมอีกเหมือนกัน แต่อย่าง game console อาจจะเป็นเพราะคุ้นเคยกันว่าเค้าทำแบบนี้ และรู้กันว่ารายได้หลักมาจาก % ส่วนแบ่งจากค่าเกม และแน่นอน ถ้าใครจะแจกเกมฟรีและขาย dlc ผ่านระบบของตัวเอง ระบบ payment แบบไม่ยุ่งกับเจ้าของ console โดยไม่แบ่งส่วนแบ่งให้ก็คงทำไม่ได้เช่นกัน ผมว่า iOS ก็กึ่งๆ นะ เค้าสร้าง platform ของเค้าขึ้นมา ลงทุนไปก็มาก ถ้าคนมีให้โหลดแต่ app ฟรี แล้วขายผ่านระบบตัวเองหมดเค้าก็คงไม่อยากให้เกิดแบบนั้น
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
แล้วแอปเปิ้ลต้องไปเปิดร้านใน Kindle กับ Nook มั้ยเนี่ย
ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ขายของที่หนึ่งโดยมีข้อกำหนดว่า ห้ามไปขายที่อื่นในราคาต่ำกว่าที่ขายที่นี่ มันเลยเป็นเรื่อง เพราะส่วนรวมเสียประโยชน์จากการสมยอมและร่วมกับผูกขาดของกลุ่มธุรกิจ ที่ต้องทำให้เกิดการแข่งขัน ประชาชนเสียประโยชน์โดยทั่วหน้าครับ
+1
(จะว่าไป westernunion ก็ทำสัญญาผูกขาดไว้กับไปรษณีย์ไทย(เรื่องการส่งเงินระหว่างประเทศ)เหมือนกันนะครับ แปลกดีที่ไปรษณีย์ไทยก็ยอมรับ)
ลูกจ้างและบุคลากรในกิจการสิ่งพิมพ์ก็เป็นประชาชนนะครับ
การตั้งราคาควรอยู่บนพื้นฐานการแข่งขันหรือเปล่าครับ ถ้าไม่สามารถแข่งขันได้ สุดท้ายลูกจ้างและบุคลากรก็ได้รับผลกระทบในท้ายที่สุด เพราะยอดขายและการลดรายจ่ายเพราะสภาพการแข่งขันถูกแช่แข็งครับ
ได้เห็นตรรกะของคนที่เห็นแตกต่างกันนี่สนุกดีจริงๆ
อาจจะเป็น bias มากกว่า ไม่น่าใช่ตรรกะ
ภาพรวมมันเป็นแค่ ผู้ผลิต vs ผู้บริโภค
apple amazon เป็นแค่ตัวกลางที่อยู่คงละฝั่งเท่านั้น
ผู้ผลิตไม่มีทางเลือกต้องจำยอม ร่วมในกิจการ ebook เพราะการมาของ piracy
ผู้บริโภคมีทางเลือกทั้งซื้อและไม่ซื้อ ซื้อแบบเล่ม ซื้อแบบ e-content
amazon ผูกขาดพร้อมตั้งราคาต่ำ กดขี่ผู้ผลิต ซึ่งกิจการย่ำแย่จากยุคดิจิตอลเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
amazon ซึ่งเป็นตัวกลางได้ประโยชน์จากการจับเสือมือเปล่าอยู่เจ้าเดียว
apple เข้ามากู้โลกให้ สนพ ให้ตั้งราคาได้ตามใจชอบ ให้ดีลกับความต้องการของลูกค้าเอง
apple ซึ่งเป็นตัวกลางได้ประโยชน์ % จากหนังสือที่ขาย ราคาสูงกว่า amazon ทำให้แข่งขันยากกว่า
เกิดสมดุลระหว่างสิ่งพิมพ์และดิจิตอลคอนเทนต์ ไม่มีอะไรถูกแพงมากกว่ากันจนอีกฝ่ายต้องล่มสลายไป
ฮีโร่ก็ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง
ล็อคความเห็น ชอบๆ
งั้นใครจะมาเป็นแจ็คกำจัดยักษ์ที่ชื่อแอปเปิล ในวงการค่ายเพลงดีล่ะ
....
ผู้ผลิตไม่มีทางเลือกต้องจำยอม ร่วมในกิจการขายเพลงดิจิตอลเพราะการมาของ piracy
ผู้บริโภคมีทางเลือกทั้งซื้อและไม่ซื้อ ซื้อแบบซีดี ซื้อแบบดิจิตอล
แอปเปิล ผูกขาดพร้อมตั้งราคาต่ำ กดขี่ค่ายเพลง ซึ่งกิจการย่ำแย่จากยุคเทปซีดีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
แอปเปิล ซึ่งเป็นตัวกลางได้ประโยชน์จากการจับเสือมือเปล่าอยู่เจ้าเดียว
....
แต่ในอีกด้านหนึ่งมันก็เป็นตลาดที่สร้างโอกาสให้กับผู้ผลิต ศิลปิน รายเล็กๆ ได้มีพื้นที่ขายเพลงที่สะดวกและกระจายผลงานได้ดีกว่าแต่ก่อนด้วยนะครับ
งั้นในทางกลับกัน amazon ก็สร้างโอกาสให้กับวงการสื่อสิ่งพิมพ์เหมือนกันนะครับ
มันเหมือนๆ กันเลยนะ amazon ibook store กับ itunes music store เนี่ย
ตรงนี้ก็เห็นด้วยครับ แต่ด้านบนเพียงอยากจะชี้ให้เห็นถึงแง่มุมด้านอื่นของ iTunes store ปัญหาที่จริงตอนนี้คือจะทำยังไงให้ทุกอย่างอยู่ตรงกลางหรือยอมรับได้ระหว่าง ผู้บริโภคกับผู้ผลิตให้มากที่สุด
เพลง - ฟังกับอุปกรณ์อิเลกทรอนิกซ์ ใช้ไฟฟ้า
หนังสือ - สิ่งพิมพ์
ยุคสมัยก่อน เพลงฟังด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า จนถึงตอนนี้คนก็ยังฟัังเพลงกับอุปกรณ์ไฟฟ้าเหมือนเดิม
สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ การมาของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อินเตอร์เนต p2p และ mobile device
itune มากับ ipod มันเป็นการขุดคลองให้เกิดการซื้อเพลงมากขึ้น
จากการเกิด player --> computer --->handheld device --> walkman --> ipod
แต่กับสิ่งพิมพ์ มันไม่ใช่แบบนั้น เพราะสิ่งพิมพ์ เป็น Handheld มาตั้งแต่แรกไม่ได้ใช้ไฟฟ้ามาตั้งแต่แรก
ธุรกิจสิ่งพิมพ์มีวงจรของมัน การ piracy เป็นการ steal content อย่างสมบูรณ์แบบ
การมาของอุปกรณ์อิเลกทรอนิกซ์ และ ebook เหมือนกับการปล่อยปิรันยาลงในแม่น้ำโขง
ไม่ว่าจะโหลดเพลงจาก youtube p2p หรือไป rip มาจาก cd เพื่อน ได้ฟังเพลงแถวสยามแสควร์
คนก็ยังไปดูคอนเสิร์ตของนักร้องวงนั้น คนก็ยังโหลดเพลงที่ชอบจาก itune เพื่อให้ได้ฟังใน idevice เพราะมันคือการขายความนิยม
แต่หนังสือ คือการขายข้อมูล เมื่อได้ข้อมูล คนก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเพื่อสิ่งใดอีก
การนำ iTunes musicstore == amazon bookstore เป็นเท็จ
เอิ่ม ยกเรื่องนี้มา ผมยอมรับว่า discuss ไปต่อไม่เป็นเลยครับ ยอมเลย
ที่ยอมเพราะจับจุดตรรกะไม่เจอ เรื่องที่บอกว่าเพลงฟังด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนหนังสือไม่ได้เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่แรก
อ่านแล้วเงิบ อ่านแล้วเบลอ ไปไม่เป็นเลยครับ จับประเด็นไม่ถูก
แต่ถ้าคลี่ประเด็นออกมา มันก็มีจุดสังเกตถึงความเหมือนของสองวงการนี้นะครับ อันนี้ผมพูดเรื่องสื่อที่ใช่บันทึกโดยเฉพาะเลย ซึ่งตัวสื่อมันเกี่ยวข้องกับการจำหน่ายและละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรงด้วย
เพลง: ตัดมาที่ยุคเทปคลาสเซทซึ่งทำสำเนาได้ คนก็ทำสำเนากันบ้างแต่คุณภาพไม่ดี เลยซื้อของแท้กัน พอมาเป็นยุคซีดี แรกเริ่มก็ทำสำเนายาก คนซื้อแท้กัน พอมายุคของ CD-R และ writer ที่ถูกลง ก็ละเมิดกันมากขึ้น แต่ยังยากเพราะต้องอยู่บนสื่อกายภาพอย่าง CD (ถึงจะถอดเป็นไฟล์ wave ก็ขนาดใหญ่มาก) แต่จุดตายจริงๆ คือ mp3 และการมาของอินเทอร์เน็ต คราวนี้แชร์กันว่อน piracy กันกระจาย
เครื่องเล่นก็มีส่วน พวก mp3 player ทำให้เกิด piracy กันมากขึ้นเพราะยัดไฟล์เพลงมากๆ ลงไปได้ง่าย หรือมียุคนึงเมื่อ 6-8 ปีที่แล้วที่เราๆ bluetooth เพลงถึงกันสนั่นเมือง
หนังสือ: ใช่ว่าอยู่ในรูปสิ่งพิมพ์แล้วจะไม่โดน piracy ทุกคนทราบดีว่าศัตรูตัวฉกาจของมันก็คือเครื่องถ่ายเอกสารนั่นเอง ก็ steal content สมบูรณ์แบบกันตั้งแต่ยุคโน้นแล้ว แต่ก็ยังอยู่บนสื่อกายภาพเหมือนกับเพลงอยู่ดี และจุดตายของมันก็เหมือนกัน คิอ PDF และการมาของอินเทอร์เน็ต เอาจริงๆ นะครับ อยากได้หนังสือภาษาอังกฤษเล่มไหน ลองเสิร์ชดูดีๆ ก็อาจจะเจอ ยิ่งมี ebook reader, tablet ยิ่งทำให้คนอยากได้ไฟล์ e-book มากขึ้นเพราะยัดไปอ่านได้ทีละหลายๆ เล่มเลย
สรุปว่าเมื่อก่อน สองวงการนี้มันก็โดนละเมิดลิขสิทธิ์กันทั้งคู่แหละ หนังสือก็โดน แต่มันไม่ได้กระจายมากเพราะยังติดเรื่องสื่อกายภาพ แต่พอยุคไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ อินเทอร์เน็ต และเครื่องเล่น/เครื่องอ่าน มันก็เตลิดกันไปทั้งสองวงการแหละครับ แบบนี้จะไม่ให้ยกมาเปรียบเทียบกันได้ยังไง
หรือผมเข้าใจประเด็นไหนผิดโปรดชี้แนะด้วยครับ เพราะอ่านแล้วก็ยังเบลอๆ กันประเด็นที่ยกมาเหมือนกัน
ปล. เพิ่งเห็นเพิ่มย่อหน้าใหม่เรื่องคอนเสิร์ต งั้นมีความเห็นดังนี้ครับ
งานเพลง: ถ้ายังดังไม่ถึงจุดนึง ก็ยากที่จะมีคอนเสิร์ตครับ ขายเพลงแล้วก็จบเหมือนกัน
งานเขียน: ดู harry potter เป็นตัวอย่างได้เลยครับ ได้ทั้งรายได้จากหนัง สินค้าที่ระลึก ลิขสิทธิ์ต่างๆ มากมายไม่จบที่หนังสือ หรือถ้าเป็น text วิชาการ เขียนหนังสือมันก็เป็น profile ในวิชาชีพครับ ชื่อเสียง การยอมรับ การเตอบโตทางวิชาการ รวมถึงการรับเชิญไปเป็นวิทยากรหรืออาจารย์พิเศษ มันก็ตาอยอดไปได้เหมือนกัน ไม่จบแค่ในหนังสือแน่ถ้างานดังพอ
คนที่ชอบฟังเพลง ขนาดที่ฟังของเถื่อนแล้วยังไปซื้อเพลงจาก iTune ฉันใด คนที่ชอบอ่านหนังสือ ขนาดอ่านหนังสือเถื่อนบนคอมแล้วก็ยังไปซื้อหนังสือเล่มจริงฉันนั้นครับ
ผมยังมองว่ามันไม่ต่างกัน
พยายามทำให้ กรณี เพลงบน iTunes ไม่เหมือน อีบุ๊ก บน amazon ด้วยเหตุผลที่ "ฟังไม่ขึ้น" เลยแม้แต่น้อย...
ใช้ไฟฟ้ากับไม่ใช้ไฟฟ้า มันเกี่ยวอะไรกับเรือ่งที่ถกกันอยู่นี่ล่ะครับ
อย่าออกทะเลครับ
เรื่องที่อ้างมาไม่ทำให้ความจริงที่ว่า "แอปเปิลสุมหัวโก่งราคากับ สนพ." และ "กีดกันผู้ค่าอีบุ๊กรายอื่น" เปลี่ยนแปลงไปเลยแม้แต่น้อย
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
Amazon กดขี่ผู้ผลิตอย่างไรครับ?
จากความเห็นคุณ ผมเข้าใจว่า ตอนนี้ apple เข้ามากู้โลกให้ สนพ
แต่กดขี่ผู้บริโภคแทน เพราะทำให้ราคาตลาดโดยรวมสูงขึ้น งานนี้ มีคนยิ้ม 2 คน คือ apple+สนพ
เพราะไม่ว่าใครจะกำไร หรือขาดทุน apple ก็เก็บค่าต๋งได้เสมอ
เทียบกับสมัย amazon ตามที่คุณเขียน
ราคาที่ขายถูกกว่าปัจจุบัน ทำให้ส่วนแบ่งของ amazon น้อยกว่า apple และผู้บริโภคได้ซื้อหนังสือในราคาที่ถูกกว่าปัจจุบัน ไม่ใช่แบบที่คุณเขียนในความเห็นด้านบน ที่ว่า amazon ได้ประโยชน์แต่เพียงคนเดียว
สำนักพิมพ์ ไม่มีคำว่าขาดทุน มีแต่กรณีกำไรลดลง เพราะต้นทุนของฉบับ e-book มันไม่ได้เพิ่มไปจากการทำฉบับกระดาษเลยครับ
ลองคิดในมุมมองที่เป็นกลางดูครับ ว่าแบบไหน น่าจะดีกว่า
ตกลงในประเทศที่ช้าวจานละ $8 การคิดราคา ebook $12 ในขณะที่นิตยสารราคา $15 เทกซ์บุคเล่มละ $30
มันคือการกดขี่ใช่หรือไม่ครับ ???
ผู้บริโภคซื้อหนังสือฉบับพิมพ์ ตามร้านกันมาตลอด 50-60 ปีที่ผ่านมาในราคา $30 เท่ากับผู้บริโภคถูก"กดขี่" จาก "นักเขียน" และ "ผู้ผลิต"มาตลอดเลยหรือครับ
::: สำนักพิมพ์ ไม่มีคำว่าขาดทุน มีแต่กรณีกำไรลดลง เพราะต้นทุนของฉบับ e-book มันไม่ได้เพิ่มไปจากการทำฉบับกระดาษเลยครับ :::
ตอบคำถามผมสั้นๆ คุณมี ebook กี่เล่ม และทุกเล่มนั้นคุณมีฉบับพิมพ์ด้วยหรือไม่
สำนักพิมพ์แบกรับสองประการ 1) ความเสี่ยงที่ ebook ถูกนำไปทำ piracy 2) คนซื้อ ebook จนไม่ซื้อฉบับพิมพ์ ห่วงโซ่ไปถึงกิจการสิ่งพิมพ์ โรงานกระดาษ โรงงานผลิตหมึก ลูกจ้าง สายส่ง
การกดขี่คือการบังคับโดย " ไม่มีทางเลือกอื่นใด"
ผู้ผลิต - นิยามถึงผู้เขียน สำนักพิมพ์ ลูกจ้างในกิจการกระดาษ ลูกจ้างกิจการผลิตหมึก ซึ่งจะอดตายจาก piracy และ ebook
ผู้บริโภค - ก็คือผู้ซื้อหนังสือ ซึ่งราคาเท่ากับข้าว 2-3 จานเท่านั้น
พิจารณาใหม่นะครับ ขอให้มีคณิตศาสตร์ในกระบวนทัศน์ด้วย
อ่านแล้วไม่เข้าใจตรรกะข้างหลังเลยครับ
ผู้บริโภคมองว่า ต้นทุนต่อหน่วยที่เพิ่มของอีบุ๊กนั้นน้อยกว่าฉบับหนังสือ อีกทั้งผู้ที่ซื้ออีบุ๊กจริงๆไม่ได้ซื้ออีบุ๊ก แต่ซื้อสิทธิ์การอ่าน (เพราะเปลี่ยนมือไม่ได้ ขายต่อไม่ได้) อีกทั้งผู้บริโภคบางกลุ่มต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์เฉพาะทางมาอ่าน (dedicated ebook reader) ซึ่งมองว่าเค้าถือความเสี่ยงเริ่มต้นอยู่พอสมควรแล้ว
อีกทั้งในต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา บรรดาร้านค้าก็เอาหนังสือที่ขายช้าๆหน่อย มาจัดขายลดราคาอยู่บ่อย ซึ่งจะถึง 33-50% ของราคาปกอ่อนก็เห็นอยู่ออกบ่อย (กระบะลดราคาน่ะ)
แต่มันไม่เคยเกิดขึ้นกับอีบุ๊ก (รึไม่จริง?)
แล้วเช่นนี้ไม่ให้ผู้บริโภคคาดหวังว่าราคาอีบุ๊กจะประมาณปกอ่อนหรือต่ำกว่าเล็กน้อยได้อย่างไร?
ส่วนเรื่องนี้เราว่ากันว่าเรื่องการกีดกันทางการค้าและความพยายามในการขึ้นราคาขายปลีกอีบุ๊กของแอปเปิลนะครับ ซึ่งสุดท้ายผู้บริโภคทั่วๆไปเสียประโยชน์มากกว่า
ผมมีหนังสืออีบุ๊กถูกต้องตามกฎหมายอยู่ประมาณห้าร้อยเล่มน่ะ ทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ และส่วนมากอยู่ในอเมซอนและก็เทกซ์บุ๊กอีกนิดหน่อย
โมเดลธุรกิจหนังสือบ้านเรานะไม่เหมือนคนอื่น เอาจริงๆ ผมว่าคนกดขี่บ้านเรานี่น่าจะเป็นสายส่งนะครับ เอาไปแล้วไม่จ่ายเงิน สามารถคืนได้ หนังสือยับเยิน,ชำรุด หรือแม้แต่ขายไม่ออกก็ต้องรับคืน เรียกว่าสำนักพิมพ์เอาเงินไปจมในหนังสือเล่มๆแต่สายส่งยังไม่จ่ายเงินให้ก็ไม่น้อย
ถึงเวลานี้ถ้าสำนักพิมพ์ไม่ปรับตัว ก็เจริญแล้วละครับ ผมว่าพวก Amazon, B&N นี่เสียอีกที่ปลดแอกผู้บริโภคจากสำนักพิมพ์ เพราะนักเขียน indy สามารถส่งหนังสือตัวเองไปตีพิมพ์บน Kindle, Nook ได้โดยตรงโดยไม่ต้องง้อสำนักพิมพ์อีกต่อไป ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากมายมหาศาล
lockku
ข้างบน "lockku" นี่มันสิงใดฤา?
กุญแจ ม.เกษตรศาสตร์???
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
นี่คือสาเหตุว่าคุณควรเขย่าโคอะลามาร์ชก่อนกิน
คราวนี้ ลองมามองอีกมุมนะครับ
สถานที่เดียวกันนั่นละ app store, google play
application ราคาเท่าไหร่ครับ 30$ รึเปล่า หรือว่า 1$ โปรแกรมที่ขายกันบนคอมสมัยก่อน ราคาเท่าไหร่ครับ ประเทศเดียวกันกับที่คุณยกตัวอย่างเรื่องข้าวจานละ 8$ แต่ผมก็หา แฮมเบอร์เกอร์ราคา 2$ ได้เหมือนกัน
ถ้าคุณถามว่า กดขี่รึเปล่า คุณน่าจะตอบได้เอง ว่าวันก่อน ผู้บริโภคไม่มีตัวเลือก พอวันนี้ ผู้บริโภคมีตัวเลือกขึ้นมา ตลาดกลับมาเป็นของผู้บริโภค ผู้บริโภคมีทางเลือก คนที่เดือดร้อนออกมาเต้น ก็มีแต่ผูผลิตเท่านั้นละครับ
อยากให้มองในมุมมองอีกแบบหนึ่ง มองออกมานอกจากมุมมองของผู้ผลิต
ผมไม่รู้ว่าจะส่งบทความนี้ให้คุณอ่านยังไง มันอยู่ในนิตยสารคอมเล่มนึง มันเป็นบทสัมภาษณ์เฮียฮ้อ RS ครับ ที่หลายคนไม่ยอมรับแก
แต่ผมอ่านบทความที่แกให้สัมภาณ์ ผมว่าแนวคิดแกดีครับ
แกบอกว่า วันที่แกขายโรงงานผลิตเทป ซีดีของแกไป แกโดนคนบอกว่าบ้า เพราะวันนั้น ธุรกิจมันยังไปได้ การขายเทปและซีดี ยังพอไหว แต่แกมองว่า ปัญหาเทปผีซีดีเถือน ก็รุมเร้าเข้ามาแล้ว
แกจะทำยังไง ให้ผู้บริโภคยอมจ่าย และจ่ายได้ง่ายที่สุด จ่ายโดยที่ไม่ต้องคิด
แกขายโรงงานทิ้ง วันที่แกให้สัมภาษณ์ แกมีช่องทางกระจายสินค้าแค่ 3 เจ้า คือ DTAC True AIS
แกทำไงให้คนซื้อ จ่ายได้ง่ายสุด ก็ให้ download กันเลย นั่งอยู่บ้าน
สุดท้าย แกมีเหมาจ่าย โหลดได้ไม่จำกัด มีคนถามแกว่า จะคุ้มเหรอ
แกตอบว่า คนที่อยากจะซื้อ แต่ติดประเด็นเรื่องราคา มันมี แกทำไงถึงจะให้คนกลุ่มนี้ ซื้อของแก ซื้อง่าย ซื้อสะดวก แกก็เลยทำแบบนี้ เพราะแกบอกว่า ถ้ามีช่องทาง คนกลุ่มนี้จะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ แกได้เงินต่อหัวจากคนกลุ่มนี้น้อย แต่แกหวังให้มีคนกลุ่มนี้มาก ๆ ซึ่งแกจะมีรายได้มากขึ้น ถ้าแกไม่ทำแบบนี้ หวังรายได้สูง ๆ ต่อหัวจากคนพวกนี้ จากการคิดแบบเดิม คนพวกนี้ก็จะละเมิด ซึ่งแกจะไม่ได้สักบาท
ส่วนพวกละเมิดโดยไม่สนใจอะไร แกปล่อย ทำอะไรไม่ได้
ตรงนี้ เป็นตัวอย่างของมุมมองที่ต่างออกไปครับ ว่า piracy บางครั้ง แก้ได้ครับ แค่เปลี่ยนมุมมอง ถ้าสินค้าไม่แพงเกินไป มีคนยอมจ่ายครับ
ผมไม่รู้ว่าคุณทันหรือเปล่า วันที่ nod32 เข้ามาทำตลาดในเมืองไทยครั้งแรก ในราคา 100 กว่าบาทต่อปี จากที่สมัยนั้น anti virus software ราคาหลักพันต่อปี
ผู้บริโภคเถื่อนเกือบ 100% วันที่มี nod เข้ามา มีคนจำนวนมา ยินดีซื้อของแท้ และถ้าทันยุคนั้น ในพันทิพ เวลามีคนเข้ามาขอ key ก็จะโดนว่าไป ว่าเค้าเข้ามาขายราคาถูกแล้ว ไปซื้อของแท้ซะ
หลังจากนั้น antivirus เจ้าอืน ปรับราคาลงมากัน จนเหมาะกับค่าครองชีพ ทำให้ software ประเภทนี้ขายได้เป็นกอบเป็นกำ จากเดิม ที่แทบจะเป็น 0
ธุรกิจ antivirus มีรายได้ขึ้น จากที่ไม่มีรายได้เลย เพราะมีการละเมิดลิขสิทธิ์ กลายเป็นสินค้าที่มีการจ้างงานเพิ่ม
หรือแม้แต่ software ทั่วไป เมื่อก่อน ราคาหลัก 10$ ขายได้มากน้อยแค่ไหนครับ เทียบกับการขาย app ราคา 1-2 $ ว่ามีคนพร้อมจะจ่ายง่ายดายแค่ไหนครับ
อย่าคิดว่าผมออกนอกเรื่องนะครับ เพราะคุณนิยามคำว่าผู้ผลิต ไปยันลูกจ้างโรงงานหมึกพิมพ์ คุณมองมุมกว้าง ผมก็มองในมุมกว้างเช่นกันครับ
พิจารณาใหม่อีกมุมนะครับ
ผมไม่ได้ต้องการวิวาทะแต่ประการใด แต่ผมมองจากมุมมองของผู้บริโภค และในอีกมุมมอง ที่มีประสบการณ์และข้อมูลต่างจากคุณครับ และผมยอมรับในมุมมองการคิดต่างของคุณครับ
เมื่อเรื่องที่คุยอยู่ไม่ทราบจะตอบสิ่งใด ก็ให้สำแดงสิ่งที่ตนรู้อย่างดีให้มากที่สุด
แม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับประเด็นเลยก็ตาม
เมื่อไม่มีสิ่งใดจะตอบ จงพิมพ์ให้ยาวที่สุด เปลี่ยนประเด็นไปให้ไกลที่สุด
ดีกว่าเถียงแพ้เป็นใหนๆ
สวัสดี
เหมือนใครนะ??
พอยกตัวอย่างเปรียบเทียบไม่ได้ ก็หันมาเหน็บแนม???
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ความหมายของคำว่ากดขี่ตรงนี้ไม่ได้บอกว่าราคามันถูกหรือแพงกว่าอะไร แต่หมายถึงห้ามผู้ประกอบการร่วมหัวกันกำหนดราคาสินค้าหรือบริการ
แน่นอนว่าทั้งหมดที่ว่ามาสำนักพิมพ์มีแต่ได้กับได้ ส่วนผู้บริโภคถึงจะจ่ายซื้อได้ (ไอแพดยังซื้อได้เลย) แต่ก็เสมือนถูกบังคับ ซึ่งทำให้ศาลไม่เล่นด้วย ราคามันควรไปเป็นตามกลไกตลาด ไม่ใช่มาสุมหัวกันบังคับแบบนี้ ทำให้ศาลต้องตัดสินให้แอปเปิลละเมิดกฏหมาย ไม่ใช่ว่าเพราะมันแค่แพงกว่าที่ Amazon ขาย
คุณเป็นห่วงเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ เหมือนคุณไม่ทราบเลยว่ากฏหมายของสหรัฐเองก็เข้มงวดให้ผู้ประกอบการผ่านกฏหมายมากมายทั้งเรื่องเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร (ซึ่งแอปเปิลเองก็ใช้สิทธิ์นี้ และชนะซัมซุงด้วย)
ถ้าคุณยังเห็นแอปเปิลและพวกซึ่งจงใจละเมิดกฏหมายแบบนี้ว่าเป็นฮีโร่ ผมก็คงไม่ต้องคิดอะไรมากแล้ว คงมองได้แค่ว่าอคติมันทำให้คนมองด้านเดียวจริงๆ
งั้นอย่างนี้ก็โปรดพิจารณาถึงวงการเพลงด้วยครับ การทำเพลงก็มีต้นทุนเหมือนกัน และการที่มันขายแบบดิจิทัล หรือแบบสื่อบันทึก มันก็มีต้นทุนในการสร้างงานไม่แตกต่างกัน
แต่ทำไม itunes store ของ apple ถึงขายแค่เพลงละ 0.99$ ?
แบบนี้มันกดขี่ค่ายเพลงหรือไม่?
แต่ก็เห็นค่ายเพลงยอมรับกันนะครับ? แถม itunes music store ยังได้ชื่อว่าผู้กอบกู้วงการเพลงอีก
โมเดลธุรกิจของ itunes music store ผมคงไม่ต้องบอกให้ใครไปอ่าน เพราะเชื่อว่าคนอ่าน blognone คงรู้ดีกันอยู่แล้ว แต่ที่สงสัยคือ พอมาเป็นกรณี iBook store กับ amazon ทำไมมันจึงเป็นหนังคนละม้วนไปเลย ทั้งๆ ที่สองวงการนี้มันเหมือนกันมากเลยคือขายในรูปแบบสื่อดั้งเดิมมาก่อนในราคาที่สูง แล้วย่ำแย่เพราะการมาของยุคดิจิทัลและการละเมิดลิขสิทธิ์ จนได้ฮีโร่เข้ากอบกู้วงการคือ itunes ในฝั่งเพลง และ amazon ในฝั่งสิ่งพิมพ์ โดยใช้ราคาขายต่ำ ซื้อสะดวกเข้าสู้ ซึ่งที่ผ่านมาก็ดูจะไปได้ดี จนกระทั่ง iBook store มันโผล่มานี่แหละจึงปั่นป่วนไปหมด
เรื่องของเรื่องก็คงเป็นความไม่รู้จักพอของผู้ขาย จริงๆ ในฝั่ง itunes เองค่ายเพลงก็เคยออกมาเรียกร้องให้ขึ้นราคาเหมือนกัน แต่สุดท้ายค่ายเพลงก็ต้องยอมเพราะต้องง้อ apple ไง มันเลยปราบความไม่รู้จักพอของผู้ขายตรงนี้ได้ ซึ่งเคสของ amazon ก็คงเหมือนกัน ถ้าไม่ใช่ apple ที่มากระทุ้งรังแตนจนแตกไปหมด
แบบนี้ถ้าวันนึง มีคนมาปลดแอก itunes music store บ้าง แอปเปิลจะว่ายังไง?
แปลกมากตรงที่พอเป็นแอปเปิล iTunes กำหนดราคาขายปลีกเพลงที่ 0.99 และยกอัลบัมที่ 9.99 เหรียญ (ซึ่งต่ำกว่าราคาขายปลีกซีดี) หลายคนแถวนี้คนเชียร์กันสุดลิ่มทิ่มประตู ไม่มีใครบอกเห็นใจคนในอุตสาหกรรมดนตรี
แต่พอเป็นแอปเปิลทำตัวเป็นผู้ร้ายแสดงออกอย่างชัดเจนในการร่วมมือกับสำนักพิมพ์เพื่อรวมหัวกันโก่งราคาอีบุ๊ก ซึ่งมันไม่ใช่แค่กำหนดราคานะ อันนี้เจตนาโก่งราคาชัดๆ (คือที่ราคาขายปลีกที่ร้านตรูต้องขายปลีกถูกสุด ไม่งั้นใช้พลังมาเฟียคว่ำบาตรโดยให้ 7 สำนักพิมพ์ใหญ่ที่ครอบครองหัวหนังสือกว่า 90% ชักปลั๊กไม่ขายหนังสือให้) กลับกลับไปชมเชยอีกว่าเป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมกระเทียมเจียว ดุจพระมาโปรดวงการหนังสือ ถ้าไม่ลงมาโปรดนี่ สำนักพิมพ์จะโดนอเมซอนทุบราคาตายเรียบ
บทบาทมันเหมือนกันเลยนะ แต่กลับข้างกันเท่านั้นเอง แต่พอเป็นวงการดนตรีบอกให้รับสภาพเศษเงินที่แอปเปิลจัดมาให้เพลงละเหรียญ เค้ามาโปรดแล้ว ไม่งั้นคนหนีไปใช้ของเถื่อนหมด
พอเป็นวงการหนังสือ บอกพี่รวมหัวกันขึ้นราคาเลย ชอบๆ เร่งราคาเท่าไรก็ดี เพื่อช่วยวงการหนังสือ (-_-')
และที่ตอนนี้เห็นแค่สโนไวท์โดนลงโทษเพียงคนเดียว ก็เพราะว่าบรรดาคนแคระทั้งเจ็ดต่างทยอยมอบตัวและตกลงค่าเสียหายกันนอกศาลเรียบร้อยแล้วต่างหาก ซึ่งโดนกันไปประมาณรายละเป็นสิบล้านเหรียญ อันนี้แค่บทบังคับใช้เพื่อเยียวยาวการกีดกันทางการค้าเฉยๆ ส่วนเรื่องบทลงโทษกับสโนว์ไวท์กรณีนั้นคงต้องรอให้สโนว์สู้คดีจนเสร็จเสียก่อน
หนังสือ
และ
เพลง
ไม่เหมือนกัน
เพลง ฟังเพราะความนิยมในดนตรีและวง นักร้อง
หนังสือ อ่านเพราะต้องการข้อมูล
ตกลง ebook ของคุณห้าร้อยกว่าเล่ม
คุณมีฉบับ hard copy ที่ซ้ำกับฉบับ ebook กี่เล่ม
ใหนยอดการซื้อ ebook 500 เล่ม ใน store account ของคุณ ?
ทำไมเลี่ยงตอบคำถามแค่ครึ่งเดียว
ดูท่าท่านจะไม่ได้อยู่ในวงการหนังสือแฮะ
คนเราก็เห็นหนังสือเป็นความบันเทิงชนิดหนึ่งครับ ไม่ได้เอาสาระ ดูได้จากยอดขายหนังสือครับ
ไปสืบค้นดูได้ว่าในตลาดหนังสือต่างประเทศ หนังสือขายดีส่วนใหญ่เป็นหนังสืออ่านเพื่อความบันเทิงครับ (fiction, novel, graphic novel/manga) แหมเอาง่ายๆ ในช่วงห้าปีหนังสือนิยายขายดีถึงขนาดเอาไปทำเป็นภาพยนตร์/ซีรีส์ ที่ดังมาถึงบ้านนี่ก็ไม่น้อยเพียบนะครับ Game of Thrones, Hunger Games, World War Z, Ender's Game, Dexter ทั้งหมดที่ว่ามาเคยเป็นหนังสือทั้งสิ้น
ส่วนหนังสือก็มีแฟนที่ชอบสไตล์งานเขียนก็ติดตามนักเขียนและซื้อมาเก็บไว้เหมือนกัน แต่อันนี้คงจะยากหน่อย เพราะมันไม่มีเก็บไว้ แต่ผมว่างานเพลงก็คุณว่าก็ไม่มีข้อมูลยืนยันเหมือนกัน
ส่วนหมวดวิชาการ/สาระ ประเภท non-fiction, self-improvement ยอดขายเป็นสัดส่วนที่น้อยนะครับ
ป.ล. ส่วนหนังสืออีบุ๊ก ผมมีสองบัญชีบนอเมซอน ไทยและอเมริกา สองตัวรวมกันก็ห้าร้อยเล่มพอดี ของไทยมี 255 เล่ม หนังสือที่ผมซื้อบนนั้นเกือบทั้งหมดผมไม่มีเป็นหนังสือจริงๆครับ (ที่พลาดซื้อซ้ำก็อาจจะตอนลดราคา ก็เพราะชอบว่าอ่านง่ายกว่า ไม่ต้องแบก) แค่เปิดคินเดิล Paperwhite กดไปสองสามทีก็เห็นแล้วครับว่าผมมีอีบุ๊กกี่เล่ม พร้อมให้โหลดลงมาอ่านทันที ไม่ต้องไปนับให้เมื่อตุ้มเหมือนหนังสือจริงๆ
ผมยังไม่เข้าใจนะครับ ว่ามันต่างกันแล้วจะส่งผลยังไง
เพลงก็มีคนบางพวก ที่ซื้อทั้ง soft และ hard copy ทั้งสองอย่าง (ย้ำว่าบางพวกครับ และผมค่อนข้างเชื่อว่าเป็นส่วนน้อย)
หนังสือ ก็มีคนบางพวก ที่ซื้อทั้ง soft และ hard copy ทั้งสองอย่าง
ตัวผมเอง ถ้าเป็นพวก Light novel และ Manga ผมมีทั้ง soft copy และ hard copy ครับ
โอเคครับ เพลง กับ หนังสือ ไม่เหมือนกัน ผมเชื่อครับ 55
แต่เรื่องฟังเพลงเพราะนิยมในดนตรี กับอ่านหนังสือเพราะต้องการข้อมูล มันเกี่ยวกับประเด็นเรื่องบริษัทนึงโก่งราคาในวงการหนึ่ง แต่ไปกดราคาอีกวงการหนึ่งอย่างไรครับ
ทั้งๆ ที่ทั้งงานหนังสือ และงานเพลง ถือเป็นงานสร้างสรรค์ทั้งคู่ ใช้ความรู้ความสามารถในการสร้างผลงานทั้งคู่ มีต้นทุนทั้งคู่ ไม่ว่าผู้บริโภคจะรับข้อมูลในรูปแบบใดก็ตาม แต่ทำไมสองวงการนี้คุณถึงไม่ได้มองว่ามันมีบริบทที่คล้ายๆ กันล่ะครับ?
โอเค เพลง กับ หนังสือไม่เหมือนกัน ผมยอมรับ 55 แต่บริบทมันใกล้เคียงกันมาก อะไรที่ทำให้มันนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ล่ะครับ มีอะไรบังตาอยู่ หรือสิ่งที่ Apple, Inc. ทำออกมาคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุดแล้ว โต้แย้งไม่ได้? โอ้ ไปจัดตั้งเป็นศาสนาเลยดีกว่าครับ ^^
ถามคุณ Razor ตามตรงว่าเป็นคนเดียวกับคุณ 3000AV หรือเปล่าครับ? แนวทางการตอบจัดจ้าน (?) เหมือนกัน :D
ตอบให้เลยว่าใช่แน่นอนครับ
จริงๆจับได้มาซักพักแล้วละ แต่เห็นไม่ค่อยตรรกะวิบัติแล้วเลยไม่ทัก
อย่าไปถามตรงขนาดนั้นสิครับ คนที่โดนแบนจะต้องไม่เปิดเผยตัวหรือแสดงออกชัดเจนว่าเป็นคนที่ใช้ user ที่ถูกแบนนะครับ ไม่งั้นจะถูกแบนชื่อใหม่ทันทีเลยนะครับ
ผมว่าไม่ใช่นะครับ ลักษณะของ 3000AV จะทำให้ผู้อ่านเหนื่อยได้มากกว่านี้
ผมแอบทำตัวเป็นนักสืบพันดริฟท์ครับ พบรูปแบบที่เข้ากันได้กับคุณ 3000AV ในตำนาน
จริงๆ ไม่กล้าเดาก็เลยดุ่ยถามตรงๆ ง่ายกว่า เผื่อใช่ครับ อีกอย่างผมคิดถึงเขาครับ เขาทำให้ผมใช้เวลาอ่า่นความเห็นในบล๊อกนันนานขึ้น
คิดถึงก็พิมพ์ว่า "คิดถึงนะจุ๊บๆ" สิครับ
ฮ่า ฮ่า ฮ่า
ถึงกับใช้คำว่า "กดขี่" เลยเหรอครับ?
ผู้ผลิตจะเจ๊งกันหมดเลยเหรอครับ? ผมว่าถ้าศักยภาพในการทำธุรกิจจะด้อยขนาดนั้น เขาคงไม่สามารถเอาตัวรอดมาได้ต้ังหลายสิบปี (เผลอๆ เป็นร้อยปี) หรอกครับ
แล้วอีกเรื่องหนึ่ง พอหาเหตุผลมาคุยกันไม่ได้ ถกกันไปต่อไม่ถูก ก็เริ่มมาแขวะ มาเหน็บแนมกันที่ตัวบุคคล "คุณมีอีบุ๊กกี่เล่ม? คุณมีฉบับพิมพ์ด้วยหรือเปล่า?" ผมว่าเลิกทำซะเหอะครับ....
คุณเองไม่เคยแปลข่าวมาลงบล็อกนัน ก็ไม่เห็นมีใครมาถามว่าทำไมจึงกล้ามาออกความเห็นแถวนี้นะครับ ซึ่งเป็นเพราะที่นี่เป็นพื้นที่เปิดให้ใช้เหตุผลมาคุยกัน
ฉะนั้นถ้าคุณคุยเรื่องอีบุ๊กแล้วมีคนถาม ก็ตอบเขาไปตามเนื้อความดีกว่าจะมาเทียวถามคนนู้นคนนี้อ่านอีบุ๊กหรือเปล่า?
ป.ล. ผมจะบอกให้ด้วยว่า ผมเองทำงานบริษัทผลิตกระดาษพิมพ์เขียน ลูกค้าของบริษัทก็มีทั้งโรงพิมพ์, สำนักพิมพ์, (ทั้งพวกที่พิมพ์หนังสือ, พิมพ์นิตยสาร, พิมพ์ฉลากสินค้า) มีทั้งขายปลีกถึง end user ทั้งกระดาษคอมพิวเตอร์, กระดาษใช้ในสำนักงาน, กระดาษ thermal หรือแม้แต่กระดาษกันปลอมแปลงสำหรับทำแสตมป์ คุณคงไม่คิดว่าผมเป็นพวก "นอกวงการ" อีกนะครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
คุณใช้วินโดว์แท้รึเปล่าครับ?
/me: โดนถีบ!!!
ใช้ค้าบ... ติดมากับเครื่องบริษัทฮ้าฟฟ
;)
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
จริงๆ แล้วที่เล่นมุกนี้เพราะคิดว่ามันเทียบเคียงกันได้ครับ
เห็นภาพ อ่อมันทำให้นึกไปถึงเหตุการณ์ทำนองนี้ด้วยนะครับ
ผมใช้ Ubuntu ปลอมครับ แผ่นไรท์มาจากพันดริฟท์ร้านข้างๆ จ่าเฉย
ไม่ได้กลิ่นมาม่าในนี้มานานแล้ว
^_^
กินแล้วไม่อ้วนดีนะ
แต่กินมากแล้วผมร่วงนะ(เครียด)
ผมพยายามอ่านให้หมดทุกคน แต่ไม่ไหว อ่านไปคิดตามไป
รู้สึกเหมือนกำลังเรียนฟิสิกส์ผสมกับเคมีในภาคภาษาอังกฤษ