เมื่อวานนี้ โครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม หรือกลุ่ม NBTC Policy Watch นำเสนอผลการศึกษาหัวข้อ “การใช้ทรัพยากรของหน่วยงานกำกับดูแล: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศ” โดยนักวิจัยคือ ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จากการตรวจสอบโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายของ กสทช. ในปี 2555 พบว่า การจัดสรรค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1,400 ล้านบาทนั้น ไม่สะท้อนวัตถุประสงค์ขององค์กรในการกำกับดูแลเท่าที่ควร โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงที่สุด เช่น เงินบริจาคและการกุศล จำนวน 245 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ จำนวน 206 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ จำนวน 114 ล้านบาท ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายทั้ง 3 รายการ มีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 40 ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในปี 2555 ของ กสทช. (รายละเอียดดูในไฟล์สไลด์ท้ายข่าว)
นอกจากนี้ นายประเสริฐ อภิปุญญา คณะกรรมการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ของ กสทช. (นิยมเรียกกันว่า "ซูเปอร์บอร์ด") ยังให้ข้อมูลว่า กสทช. บางรายจัดซื้อไอแพดในราคาเครื่องละ 7 หมื่นบาทด้วย ซึ่งทางซูเปอร์บอร์ดจะขอให้ กสทช. มาชี้แจงต่อไป
ที่มา - ข่าวแจกของ NBTC Policy Watch, ประชาชาติธุรกิจ, เดลินิวส์
โครงการ NBTC Policy Watch เปรียบเทียบการใช้ทรัพยากรในการกำกับดูแลของ กสทช. กับหน่วยงานกำกับดูแลในต่างประเทศ พร้อมเสนอแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 โครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม หรือ NBTC Policy Watch นำเสนอรายงานในหัวข้อ “การใช้ทรัพยากรของหน่วยงานกำกับดูแล: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศ” โดย ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.พรเทพ ให้ข้อมูลว่า ในปี 2555 กิจการโทรคมนาคม โทรทัศน์ และการกระจายเสียงของไทย มีมูลค่าประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ในขณะที่ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกามีขนาดของกิจการดังกล่าวใหญ่กว่าไทยประมาณ 8 และ 40 เท่า ตามลำดับ โดยงบประมาณที่ กสทช. ใช้กำกับดูแลมีประมาณ 4,000 ล้านบาท เทียบกับงบประมาณที่หน่วยงานกำกับดูแลของอังกฤษและอเมริกาใช้ประมาณ 6,000 และ 11,000 ล้านบาทตามลำดับ และหากพิจารณาจำนวนพนักงานพบว่า กสทช. ใช้พนักงาน 1,097 ราย ซึ่งสูงกว่า Ofcom ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลของอังกฤษที่ใช้พนักงาน 735 ราย ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกา Federal Communications Commission (FCC) ใช้พนักงานจำนวน 1,685 ราย
ดร.พรเทพ กล่าวว่า จากการตรวจสอบโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายของ กสทช. ในปี 2555 พบว่า การจัดสรรค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1,400 ล้านบาทนั้น ไม่สะท้อนวัตถุประสงค์ขององค์กรในการกำกับดูแลเท่าที่ควร โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงที่สุด เช่น เงินบริจาคและการกุศล จำนวน 245 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ จำนวน 206 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ จำนวน 114 ล้านบาท ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายทั้ง 3 รายการ มีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 40 ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในปี 2555 ของ กสทช.
ดร.พรเทพ อธิบายว่า กสทช. ไม่มีหน้าที่ใช้ทรัพยากรสาธารณะในการบริจาคเพื่อการกุศล แต่กลับใช้งบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกับส่วนนี้ในสัดส่วนที่สูงที่สุด ในขณะที่ในต่างประเทศ ทั้ง FCC และ Ofcom ไม่มีงบประมาณในเรื่องนี้ “การบริจาคและกิจการการกุศลเป็นเรื่องดีที่ กสทช. ไม่ควรทำ เพราะบทบาทดังกล่าวไม่ใช่หน้าที่ของ กสทช. ซึ่ง กสทช. พึงระลึกไว้เสมอว่างบประมาณดังกล่าวเป็นรายได้จากค่าธรรมเนียมที่ควรจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนากิจการโทรคมนาคมและกระจายเสียงให้มีประสิทธิภาพ หากทรัพยากรที่ กสทช. มีเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่แล้ว ก็ควรส่งงบประมาณที่เหลือกลับสู่รัฐที่มีหน้าที่ในการจัดสรรใช้ประโยชน์ในทางอื่นต่อไป” ดร.พรเทพ กล่าว
ข้อสังเกตุอีกประการหนึ่งคือ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของ กสทช. สูงจนน่าตกใจ โดยค่าใช้จ่ายรวมในการเดินทางทั้งในและต่างประเทศของ กสทช. คือ 231 ล้านบาท ในปี 2555 ดร.พรเทพ อธิบายว่า ค่าใช้จ่ายเดินทางคิดเป็นร้อยละ 16 ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งสูงกว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่หน่วยงานกำกับดูแลของอเมริกาและอังกฤษใช้ที่ 57 ล้านบาท และ 79 ล้านบาท เป็นจำนวนมาก ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวของทั้งสองประเทศคิดเป็นร้อยละ 1.9 และ 1.6 ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่แต่ละประเทศใช้ตามลำดับ สาเหตุสำคัญคือ กสทช. ตั้งงบประมาณในการเดินทางของคณะกรรมการ กสทช. รวมถึงงบรับรอง ไว้ค่อนข้างสูง เช่น ในปี 2556 คณะกรรมการแต่ละรายจะได้รับงบประมาณ 400,000 บาท สำหรับค่าเดินทางภายในประเทศ และ 3,000,000 บาทสำหรับค่าเดินทางไปต่างประเทศ รวมทั้งงบรับรองอีกจำนวนหนึ่งแยกต่างหาก และงบประมาณในส่วนนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2557 ซึ่งแตกต่างจากหน่วยงานกำกับดูแลในต่างประเทศที่พนักงานทุกรายรวมถึงผู้บริหารระดับสูง ต้องเบิกค่าใช้จ่ายตามจริง และมีข้อกำหนดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เข้มงวด เช่น ห้ามโดยสารเครื่องบินชั้นหนึ่ง ไม่ว่ากรณีใด ๆ เป็นต้น และมีการเปิดเผยค่าใช้จ่ายส่วนนี้โดยละเอียดต่อสาธารณะ
งบประมาณสำหรับประชาสัมพันธ์เป็นค่าใช้จ่ายอีกรายการที่ กสทช. ใช้จ่ายจำนวนมาก โดยในปี 2555 งบประชาสัมพันธ์ของ กสทช. เท่ากับ 114 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8 ของงบดำเนินการ ดร.พรเทพ กล่าวว่า หากเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาจะพบว่ามีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ที่น้อยกว่ามาก โดยหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐใช้งบประชาสัมพันธ์เพียง 9.9 ล้านบาท คิดเป็น 0.33% ของงบดำเนินการ “การประชาสัมพันธ์ไม่ใช่ภารกิจหลักของ กสทช. แต่ กสทช. กลับใช้งบประมาณไปกับเรื่องดังกล่าวมากกว่าค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อผลิตงานวิชาการ และค่าใช้จ่ายในการอบรมสัมมนาสำหรับพนักงานเสียอีก” ดร.พรเทพ ให้ความเห็น
นอกจากนี้งบบางประเภทก็ไม่มีการระบุถึงการใช้ที่ชัดเจน เช่น งบกลางฉุกเฉินที่ถูกใช้ไป 80 ล้านบาท และงบประมาณสำหรับ “ภาระต่าง ๆ ที่จำเป็น” ซึ่งมีจำนวนมากถึง 970 ล้านบาท
ดร.พรเทพ เสนอว่า กสทช. ควรปรับการใช้งบประมาณให้สอดคล้องกับเป้าหมายภารกิจและยุทธศาสตร์ขององค์กร โดยในการจัดทำงบประมาณ การรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ และการรายงานผลการปฏิบัติงาน ทั้งหมดควรจะจำแนกตามภารกิจและยุทธศาสตร์ที่ กสทช. ตั้งไว้ เพื่อช่วยในการติดตามประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร และสร้างความโปร่งใส
นอกจากนี้ รายงานการใช้จ่ายควรจำแนกตามกลุ่มงาน ซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นว่า กสทช. กระจายทรัพยากรเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด โดยในปัจจุบันการกระจายของงบประมาณระหว่างกลุ่มงานมีความแตกต่างกันมาก ยกตัวอย่างเช่น ในปีงบประมาณ 2556 งบประมาณสำหรับภารกิจโทรคมนาคมมีทั้งสิ้น 795 ล้านบาท ในจำนวนนี้กลุ่มงานกรรมการกิจการโทรคมนาคม และ กลุ่มงานขับเคลื่อนภารกิจพิเศษ ได้รับการจัดสรรงบประมาณสูงที่สุดถึง 28% และ 24% ของงบประมาณภารกิจโทรคมนาคมข้างต้น ในขณะที่กลุ่มงานที่น่าจะมีภาระตรงกับยุทธศาสตร์ขององค์กร เช่น กลุ่มงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม กลุ่มงานวิชาการและการจัดสรรทรัพยากรโทรคมนาคม และกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับการจัดสรรงบประมาณคิดเป็นเพียง 9%, 8% และ 6% ตามลำดับ
ในส่วนของผลการดำเนินงานของ กสทช. ดร.พรเทพ พบว่า ผลงานส่วนใหญ่เป็น การร่างประกาศ แผนงาน ที่บังคับใช้ รวมถึงการประชุมระดมความเห็นเป็นจำนวนมาก ซึ่งในหลายส่วนงานของ กสทช. มีเกณฑ์เป้าหมายเป็นจำนวนการบังคับใช้ร่างประกาศต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ประเมินคุณภาพ (Key Performance Indicator) ที่มีความเหมาะสมสำหรับการดำเนินงานในปีแรก ๆ อย่างไรก็ดี ดร.พรเทพ เสนอว่า ในอนาคต กสทช. ควรพิจารณาเพิ่มเกณฑ์ประเมินคุณภาพที่สะท้อนผลลัพท์หรือประสิทธิภาพในการกำกับดูแล (Outcome oriented performance goal) ตามยุทธศาสตร์ขององค์กร เช่น เป้าหมายการคุ้มครองผู้บริโภค ควรพิจารณา จำนวนเรื่องร้องเรียนที่แก้ไขสำเร็จ หรือการบังคับใช้ประกาศอัตราค่าโทรขั้นสูง หรือการแก้ปัญหาที่ผู้บริโภคพบบ่อย อาทิ SMS ขยะ ระยะเวลาการขอย้ายโครงข่ายโดยใช้เบอร์เดิม เป็นเกณฑ์ประเมินคุณภาพเป็นต้น
Comments
งบไปต่างประเทศว่าเยอะแล้ว งบบริจาคยังมากกว่า อูยยยยย ประเทศไทยเราช่างอู่ฟู่่
my blog
ซื้อ iPad ได้ในราคา Macbook Pro Retina Thailand Only
มันคือ ipad pro ซินะ //ข่าวต่อไปสื่อต่างชาติตะลึง ipad pro. เปิดตัวแบบ exclusive ที่ประเทศไทยที่แรก
เอ่อแล้วงบไปต่างประเทศตั้ง 200 ล้าน นี่ไปกันกี่คนถ้าไปเฉพาะ 15 คน งบเท่านี้คงได้รอบโลกดีไม่ดีอาจจะได้ท่องอวกาศด้วยนะเออ
สงสัยซื้อ iPad พร้อมอุปกรณ์เสริม 50 ชิ้น
iPad with Retina display 128 GB ฿31,400.00
Lightning to 30-pin Adapter ฿1,490.00
Lightning to USB Cable (2m) ฿1090
Image 1 - Lightning to USB Cable (1 m) ฿690.00
Lightning to USB Cable (0.5 m) ฿690
Lightning to Micro USB Adapter ฿690
Lightning to USB Cable (1 m) ฿690
iPad Smart Case ฿2,990.00
Apple 30-pin to VGA Adapter ฿1,090
Lightning to SD Card Camera Reader ฿1,090.00
Lightning to USB Camera Adapter ฿1,090.00
Lightning to VGA Adapter ฿1,890.00
Lightning to 30-pin Adapter (0.2 m) ฿1,490.00
Apple 30-pin to USB Cable ฿690.00
Lightning Digital AV Adapter ฿1,890.00
Lightning to Micro USB Adapter ฿690.00
Apple iPad Camera Connection Kit ฿1,090.00
Apple 30-pin Digital AV Adapter ฿1,490.00
Apple 30-pin to VGA Adapter ฿1,090.00
Apple Composite AV Cable ฿1,490.00
Apple iPad Dock ฿1,090.00
Apple iPad Dock ฿890.00
Apple 5W USB Power Adapter ฿690.00
Apple 12W USB Power Adapter ฿690.00
Apple World Travel Adapter Kit ฿1,490.00
Apple Wireless Keyboard - English (USA) ฿2,290.00
Apple EarPods with Remote and Mic ฿1,090.00
Apple In-Ear Headphones with Remote and Mic ฿2,990.00
Apple TV ฿3,800.00
AppleCare Protection Plan for iPad ฿2,800
มันเป็นอุปกรณ์เสริมอย่างที่ท่าน mr_tawan บอกครับ รวมแล้ว ฿72,630.00 ก็พอๆ กับที่เค้าบอกไว้นะครับ ^ ^
ช็อคครับ O_o
สรุปพี่แกเล่นอุปกรณ์ทุกอย่างเนื่องจากกลัวงบประมาณเหลือ -*-)
เอ่อ...หรือจะจริง ?
ขออนุญาตเอาไปประจานบน FB ของกระผมนะครับ
เดี๋ยวๆ ผมเข้าใจว่าอันนี้คุณ shinobi ไปไล่รายการอุปกรณ์เสริมมาเองไม่ใช่เหรอครับ?
ผมขึ้นแบบนี้น่ะครับ
"จากข่าวนี้ https://www.blognone.com/node/50563
ผมสงสัยมากเลยว่าทำไม iPad จากเครื่องนึงไม่กี่หมื่นบาท มันถึงหลายเป็น 70,000 บาทไปได้
แต่สงสัยได้ไม่นานนัก ก็มีคนคาดการณ์คำตอบที่น่าจะเป็นคือ Accessories ทั้งหลายที่ Apple สร้างสรรค์ขึ้นมาได้"
แล้วก็Copyประโยคของคุณ shinobi มาแปะ แล้วบรรทัดสุดท้ายก็เขียนว่า Credit:shinobi
ไม่ทราบว่าเหมาะสมที่จะทำไหมครับ ผมคาใจอยู่เหมือนกัน
แบบนี้ผมว่าน่าจะโอนะครับ แต่ถ้าจะเอาจริงๆ คงต้องรอคุณ shinobi (- -)d
เดี๋ยววววววววววว ผมเปิด store.apple.com แล้วเอามาคำนวณเล่นๆ คนเดียวครับ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงแต่อย่างใด T T
เห็นที่เค้าเอาไปโพสต์ไม่ได้มีระบุว่าของจริง แค่คาดการณ์น่ะครับ :D
ถ้าคาดการณ์ก็เชิญตามสะดวกเลยครับ ^^
ขอบคุณครับผม ^-^
คุณพี่เขาคงไปหลับไปนอนแล้วล่ะมั้ง สงสัยต้องรอคำตอบพรุ่งนี้เช้า
**
แบ่งกันกินเค้กเสร็จแล้วก็แยกย้ายกันไป รวยยันลูกหลาน เห็นแล้วไม่อยากเสียภาษีเลยจริงๆ
ยังอ่านไม่จบ แต่สะดุดตรง iPad เครื่องละ 7 หมื่นบาท
...ซื้อในราคา x3
น่าจะจับมาปรับแบบเหมาเข่งนะครับ แหม่
{$user} was not an Imposter
ไม่แน่ใจว่าอันไหนแพงกว่ากัน นาฬิกาในสภาราคา 70K หรือ iPad ในราคา 70K
นาฟิกามันเป็นระบบ เลยแพง ซึ่งแม่งก็แพงจริงๆน่ะแหละ
iPad ราคา 70,000 แพงมาก เอามาซื้อ Tablet แจกเด็กป.1 ได้ทั้งห้องเลยนะครับ ลูกพี่
ipad ฝังเพชรหรือเปล่าครับ 555
ขอข้อมูลเพิ่มเติมหน่อยครับ ว่าทำไม iPad ถึง 70,000
อ่านแต่หัวข้อสิน้า ข้างบนเขียนว่า
"ซึ่งทางซูเปอร์บอร์ดจะขอให้ กสทช. มาชี้แจงต่อไป"
ถ้า กสทช. มาชี้แจงก็ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเองแหละ ส่วนเชื่อ กสทช.หรือไม่แล้วแต่เลย
ipad 70000
เอามา facetime คุยกับ สตีฟ จ๊อบส์รึเปล่า
ยกข้อความมา
กสทช ไทย บริจาค 245.4 ล้านบาท อเมริกา 0 บาท อังกฤษ 0 บาท เนื่องจากกิจกรรมการกุศลไม่ใช่หน้าที่หลักของหน่วยงาน
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไทย 231 ล้านบาท อเมริกา 57 ล้านบาท อังกฤษ 79 ล้านบาท (เดินทางกันบ่อยมาก)
งามไส้
ถ้าเราเป็นคนขาย iPad ให้หน่วยงานรัฐแล้วต้องรอรับเงินในอีก 3 เดือนถัดมา โดยเราต้องจ่ายเงินในการจัดหา iPad ทั้งหมดไปล่วงหน้าก่อน คุณจะตั้งราคาขาย iPad รุ่นสูงสุดราคาเท่าไรดี?
ท่านอยากได้เท่าไหร่ครับ เดี๋ยว + เข้าไปให้
อัตราปกติทางธุรกิจ +1ถึง3% ต่อเดือน
ถ้าราคาขายแพงอัตราชดเชยก็แพงตาม
ถ้าราคา 1 เครื่อง 70000.- (เครดิต3เดือน) ราคาขายเบื้องต้นน่าอยู่ประมาณ 65000.- ถึง 68000.- (มันก็แพงอยู่ดี)
แพงมากจริง ๆ แต่ต้องดูเงื่อนไขก่อนครับ อาจเป็นแบบ 3G พร้อม SIM แถมพ่วง ประกันเปลี่ยนเครื่อง 5 ปีก็ได้ครับ
กสทช บริจากเงินไปไหน? เดี๋ยวนี่เป็นหน่วยงานการกุศลแล้วเหรอ?
ผมคิดว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้คนมันโกงกินกันขนาดนี้ ส่วนหลักๆก็คือเรื่อง งบประมาณ นี่แหละ
ต้องใช้งบให้หมด ใช้ไม่หมดต้องส่งคืน แล้วปีต่อไปได้น้อยกว่าเดิม
เลยต้องจัดจ้างจัดซื้อกับแบบหน้าด้านๆ ไปดูงานต่างประเทศ (ซึ่งจริงๆแล้วคือไปเที่ยว)
ตรงนี้มีใครพอรู้บ้างครับว่า กฏเรื่องงบประมาณแบบนี้ มันเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่
ส.ต.ง. จัดการได้เปล่าหว่า แต่มันไม่ใช่งบประมาณแผ่นดินนี่นา?!
ตอนรัฐวิสาหกิจดูแลคลื่น ยังพอมีหน่วยงานตรวจ
แต่พอเป็นองค์กรอิสระ ทีนี้ใครจะตรวจกันหละเนี่ย
Happiness only real when shared.
ตามหลักได้่นะ :) ถือเป็นเงินแผ่นดินเหมือนกัน
แต่ พอเป็นรัฐวิสาหกิจ ระเบียบการเงินเขาจะไม่เหมือนกับของ ราชการ ทำให้ยืดหยุ่นกว่า บลาๆ
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
พอดีว่า กสทช. ก็ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจครับ มีรายได้จากการเก็บค่าใบอนุญาต
I need healing.
มีน้องที่รู้จักทำอยู่ กสทช. บินไปดูงาน US สามสี่วันก็กลับ ไปกันทีเป็นกลุ่ม... ไม่แปลกใจตัวเลขดูงานต่างประเทศเล้ย
บริจาค 245.4 ล้านบาท
เดินทางไปต่างประเทศ 206.5 ล้านบาท
ประชาสัมพันธ์ 113.6 ล้านบาท
ผมเจ็บปวดมากเลย โดยเฉพาะค่าเดินทางไปต่างประเทศ ไปทำไมครับ ตั้ง 200 กว่าล้าน ค่าตั๋ว ค่าที่พักมันแพงขนาดนั้นเลยเหรอ
ประชาสัมพันธ์นี่ก็จะเยอะ โฆษณาไปทำไม ทำงานก็ไม่ค่อยจะสำเร็จ
เอาเงินคืนมา แล้วหาคนใหม่มาทำได้มั้ยเนี่ย เศร้าอ่ะ ไอ้อย่างนี่ ขอล่ารายชื่อฟ้องดีมั้ยเนี่ย
..: เรื่อยไป
ฝ่ายบริหาร? เชื่อไม่ได้ องค์กรอิสระต้องตรวจสอบได้
องค์กรอิสระ? เชื่อไม่ได้อยู่ดี?!?
.......แปลกจัง นึกว่าเราเลือกแต่คนดีมาทำหน้าที่นะเนี่ย
ดร.พรเทพ อีกไม่นานจะหายเค้ากลีบเมฆไปหรือไม่ หรืออาจต้องลองดูกัน ว่า iPad ราคา 70,000 นั่น กรอกตัวเลขผิดอีกใช่หรือไม่ ถ้ากรอกผิดแล้ว เอาเงินที่ไหนคืน
ในเนื้อข่าวเป็นพรืด ยังมีงบประมาณสำหรับ “ภาระต่าง ๆ ที่จำเป็น” อีก 970 ล้านบาท โดยไม่ชี้แจงรายละเอียด ... ปวดหัวตึ่บกับหน่วยงานแบบนี้ ;(
my blog
ผมรอของ สสส. มากกว่า
(-_-)+
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้สนใจครับ
ผลของการประชาสัมพันธ์ ยังไม่ค่อยเห็นผลเท่าไหร่เลยนะครับ
ยิ่งตอนนี้ กำลังจะมี TV digital คำถามว่า ต้องเปลี่ยน TV หรือเปล่า ยังพบได้ทั้วไปอยู่เลย
งบบริจาค อยากรู้จริงว่าบริจาคอะไรบ้าง ...รวยจริงๆ เลยนะ องค์กรเนี้ย... (ทำนอง: พริกขี้หนู)
จริงๆ ผมรู้อยู่บ้างนะครับว่าบริจาคไปที่ไหนบ้าง แต่พูดไม่ได้จริงๆ ครับ อยากรู้ต้องไล่หาอ่านกันเองในมติบอร์ดข้างต้น
เจอแต่โครงการ 80 ล้านที่ใช้งบกรณีฉุกเฉินและจำเป็นอะครับ(ประชุมเดือนตุลา) นี่ถือเป็นงบบริจาคหรือเปล่า?
ส่วนอันอื่นหาไม่เจอ
Happiness only real when shared.
ไล่อ่านวาระปี 2555 ผ่านๆก็หาไม่เจอเหมือนกัน จะให้ไปไล่อ่านมติทั้งหมดก็คงไม่ไหว
ใครอ่านแล้วเจอรบกวนหลังไมค์มาบอกหน่อย ฮาฮา
พอจะรู้ว่าไปไหนบ้าง แต่ก็ยังอยากเห็นกับตาเช่นกันครับ
ลองอะไร แบบนี้ แบบนั้น ดูบ้าง
May the Force Close be with you. || @nuttyi
อืมมม
ผมค้นอะไรแบบนี้แคบคงเกินไป
site:nbtc.go.th filetype:doc บริจาค
แต่โครงการในนั้น ก็เป็นเรื่องที่พูดได้ไม่ใช่?
ชัดเจน ขอบคุณ เมื่อวานนั่งไล่อ่านมติไปหลายอัน ยังหาไม่เจอ ของคุณนี่เจอที่อันที่สองทีเดียว
จะบอกว่า งบแบบนี้มีทุกกระทรวงครับ เคยเห็นบางอันยังงงว่าโครงการนั้นเกี่ยวกับกระทรวงนี้ด้วยหรือ...
มีประโยคเดียวที่เหลือให้พูด
....
ถึงตายก็บอกไม่ได้?
May the Force Close be with you. || @nuttyi
เกิดใหม่อีกรอบก็คงบอกไม่ได้
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
...
ถ้าบริจาคแล้วพูดไม่ได้ก็พอจะเดาได้ว่าไปที่ไหน..
วู้ ประเทศเราเป็นประเทศ ที่มีสิทธิเสรีภาพนะ พูดไม่ได้เหรอ
ภาษีประชาชน กินกันอร่อยเลย
การเมืองไทย เอามาทำหนังคงยิ่งกว่า Infernal Affair
อ่านแล้วถอนหายใจ รู้สึกหมดความหวัง สังเวชประเทศไทย
อู้วววว
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
How good is it? Delicious? Not even gov., but our beloved indies as well. SO...what about the constitutional court?
เป็นแบบนี่ทั้งชั่วชีวิตผมก็คงยังไม่เห็นประเทศชาติเจริญสักที สังเวชมาก
อยากถามความเห็นชาว blognone ที่ดูจะเป็นคนดีไม่โกงกินนะครับว่า ถ้าอยู่ในสถานการณ์ต่อไปนี้จะทำยังไง
อันแรก แบบง่ายๆ ถ้าคุณไปอยู่ในหน่วยงานราชการ/เอกชน ที่มีงบประมาณเหลือ ซึ่งถ้าคุณไม่ใช่มันจะสลายไปต่อหน้าคุณ คุณจะปล่อยไว้อย่างงั้น หรือคุณจะใช้มั้นให้คุ้ม
สถานการณ์ที่สอง ต่อจากข้างบน ถ้าเช้าวันนึงมาที่โต๊ะทำงาน มีเอกสารมาให้คุณเซ็น ซึ่งถ้าคุณเซ็นปุ๊บ งบประมาณที่เหลือนั่นจะเป็นของคุณและเพื่อนพี่น้องในที่ทำงานของคุณอีกจำนวนมาก ถ้าไม่เซ็นก็ไม่มีใครได้อะไรเลย คุณจะปฎิบัติตัวอย่างไรในสถานการณ์นั้น? แล้วคุณจะไปบอกกล่าวกับเพื่อนพี่น้องทั้งหลายนั้นอย่างไร? คุณเลือกที่จะแบ่งเค้กกันกินหรือเลือกที่จะเหยียบตีนชาวบ้าน?
สถานการณ์ที่สาม โน้ตบุ๊คของที่ทำงานที่น้องในทีมคุณซื้อมาเมื่อปีที่แล้วเพิ่งหมดประกันไป แต่ปรากฎว่าปุ่ม Esc มันทำงานแปลกๆ บางทีกดทีเดียวก็พอ บางทีต้องกดย้ำหลายๆที และงบที่เหลือข้างบนนั่นไม่ได้เกี่ยวกับโน้ตบุ๊คนี้เลย แต่น้องคนนั้นมาขอให้คุณช่วยซื้อเครื่องใหม่ให้เพราะไหนๆงบก็เหลือแล้ว เป็นคุณคุณจะทำอย่างไร?
อันดับแรก
ปล่อยไปแล้วครับ โดนหัวหน้าตีกลับ
อันดับสอง
มันเกี่ยวกะอันแรกครับ
เลยต้องลาออก
อันดับสาม
ทำเรื่องซื้อใหม่ครับ แต่ไม่ทันอยู่ดู เพราะลาออกก่อน
โลกมันก็งี้แหละคับ ผิดถูก ว่าด้วยกฏหมายไม่ได้ครับ ต้องจริยธรรม กับ ศาสนา
แต่ก็ทุกคนมันประกอบด้วยหลายปัจจัยครับ ผมไม่มีภาระ ลาออกไป ไม่ได้ต้องดูแลใคร ไม่มีใครต้องมาดูแล เลยไม่สนมาก
บางคนอาจถูกบีบ ด้วยสถานการณ์ต่างๆ แต่ก็นั้นแหละคับ ทุกคนมีทางเลือก มันอยู่ที่เราจะเดินทางยากหรือทางง่าย
ทางง่ายมันสบายคับ แต่ก็ต้องลองถามตัวเองก่อนว่า การตัดสินใจครั้งนั้น มันจะทำให้เรารู้สึกอย่างไรในภายภาคหน้า
สงสัยในกรณ๊ที่สามที่ทำเรื่องซื้อใหม่ครับ ในความเห็นคุณ Kizz การทำเรื่องซื้อ notebook ใหม่นี่มันต่างกับการไปดูงานที่ US รึป่าวครับ เพราะในความเห็นผม มันเป็นการใช้งบเกินความจำเป็นทั้งคู่
ขั้นตอนมาตราฐานองค์กรทั่วไปมั้งครับ
เสีย > ส่งซ่อม > ซ่อมไม่ได้ ทำเรื่องซื้อใหม่
ซื้อใหม่เพราะมันเสีย มันใช้งานไม่ได้ มันต่างกับ การไปดูงานที่ US ลิบลับมั้งคับ
ของมันจำเป็นต้องใช้ ต้องทำงานกะมันทุกวัน กะไปดูงานที่ US
มันเหมือนกันตรงไหนครับ???
1.ผมจะใช้มันให้คุ้มครับ สิ่งใดที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ผมจะไม่ลังเลที่จะจ่ายเลย และถ้าจ่ายจนไม่รู้จะจ่ายอะไรแล้วแต่ยังเหลือก็จะส่งคืนครับ
2.ไม่แบ่งครับ ผมจะคืนหลวง เวลามีคนใช้ผมไปซื้อของ ถ้าไม่ใช่เงินของพ่อแม่ผมผมไม่เคยซื้อของนอกกรอบครับ ขนาดญาติสนิทถ้าเขาไม่อนุญาตหรือให้เงินเอาไปใช้ตามใจเลย ผมไม่เคยซื้อของนอกรายการนะ ผมคนขี้เกรงใจคับ :3 และผมก็ไม่แน่ใจว่านิสัยแบบนี้จะสามารถไต่เต้าขึ้นไปอยู่ในหน้าที่ที่มีอำนาจเซ็นได้หรือเปล่า เลยไม่ค่อยคิดมากในการตอบเท่าไหร่ :P
3.ให้ใช้เครื่องสำรองที่ซื้อไว้จากข้อ 1. ระหว่างรอซ่อมเสร็จไปก่อนครับ มีปัญหาแค่นั้นแล้วซื้อเครื่องใหม่มันเวอร์ไป
การกระทำทุกอย่าง ย่อมมีผลตามมาครับ การกินตามน้ำอาจจะเข้าข้างตัวเองว่าไม่ผิด ทำเพื่อพวกพ้อง ครับ สำหรับพวกพ้องมันดูเท่มาก แต่สำหรับคนอื่นแล้วมันดูแย่ครับ และคุณก็ต้องยอมรับผลที่ตามมาเช่นกัน
ส่วนตัวผม ผมไม่ทำครับ กลัวบาปกรรม โกงกินชาติบ้านเมือง ไม่ไหวครับ ชดใช้กรรมอีกกี่ชาติก็ไม่รู้กว่าจะได้เกิดมาเป็นคนอีก
ถ้าใช้ให้คุ้มก็ดูจะโอเค แต่ที่ดูผมว่าไม่คุ้มไงชอบกล (ไอแพดตัวละเจ็ดหมื่น ...)
ตีเอกสารกลับไป บอกไปว่า งบมันมากเกินไป ใช้ไม่หมด
บอกให้เขาไปส่งซ่อมพันทิพย์ หรือส่งศูนย์ (แต่ตามปรกติบ.ใหญ่ ๆ ใช้วิธีเหมาซื้อเหมาซ่อมอยู่แล้ว หลาย ๆ ที่ใช้วิธีเช่าเครื่องเอาด้วยซ้ำ ก็แค่ส่งกลับไปเปลี่ยน) ถ้างบบริษัทไม่มีจะจ่ายก็ออกไปก่อน ทั้งนี้การที่เครื่องบริษัทเสียและเป็นเครื่องใข้ทำงานทางบริษัทก็ควรจะออกค่าซ่อมให้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมาตกแต่งบัญชีกลบเกลื่อนเรื่องพวกนี้
ผมอยากถามกลับว่า ถ้าคุณอนุมัติมันหมดทุกอย่าง แล้วคุณถูกหน่วยงานตรวจสอบจับได้ว่าคุณเอางบประมาณไปใช้สุรุ่ยสุร่ายโดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเอกสารที่คุณเซ็นอนุมัติเลย ...
ผมว่าการทำตัวทุจริตโดยคิดว่าจะไม่มีใครจับได้เป็นมุมมองที่โลกสวยเกินไปครับ
เป็นเพราะคนอย่างพวกคุณนี่แหละครับงบประมาณมันต้องเพิ่มขึ้นทุกๆปีทั้งๆที่บางปีมันไม่ได้จำเป็นอะไรเลย ผลาญเงินเล่นทั้งๆที่ไม่ใช่ของตัวเอง
อยากให้ม็อบพวกที่ไล่ๆนักการเมืองเนี่ยหันมามองแล้วไล่คนอย่างพวกคุณออกจากประเทศบ้าง
คนแบบนี้แหละครับโกงตัวเอ้ นักการเมืองมันโกงเรายังรู้แต่คนอย่างพวกคุณน่ะโกงทีนึงพร้อมกันทั้งประเทศไม่มีใครรู้
รู้ไหมว่ามันเสียหายเท่าไร ทั้งเอกชนทั้งรัฐ
ขอรูปใหญ่ๆได้ไหม อยากเห็นหน้าคนโกงชัดๆ
ใช้เท่าที่ต้องใช้ครับ ถ้าสิ่งที่ต้องใช้มันช่วยทำให้ระบบโดยรวมดีขึ้น จะใช้แบบไม่ขี้เหนียว ไม่ได้ฟุ้งเฟื้อเกินความเป็นจริง แล้วถ้ายังเหลือนั่นหมายถึงงบประมาณมันเยอะเกินความจำเป็น เมื่อต้องถูกปรับลดในปีถัดไป ก็ถูกต้องเหมาะสมดีแล้ว
ถ้าผมมีอำนาจ ผมไม่เซ็นครับ ใครไม่พอใจก็ออกไป ผมต้องการคนทำงาน ไม่ได้ต้องการคนเช้าชามเย็นชาม สิ้นปีต้องมาคิดส่วนแบ่งว่าจะได้เท่าไหร่
โน้ตบุ๊กเสียก็ส่งซ่อมสิครับ แถมหลาย ๆ บริษัทอนุญาตให้ซื้อประกันต่อได้ เช่น Dell ถึงแม้อุปกรณ์เสียหลังหมดประกันไปแล้ว คุณสามารถซื้อประกันเพิ่มภายหลังก่อนที่จะส่งซ่อมได้ด้วย และถ้าแป้น keyboard เสีย มันซ่อมไม่ยากเลย พนักงานมาซ่อมให้ถึงที่ ไม่ต้องเอาไปส่งซ่อมที่ไหน แล้วจะซื้อใหม่ไปเพื่ออะไร? ในเมื่อปุ่มยังพอใช้ได้ และ support เดี๋ยวนี้ก็เร็วมาก
งบที่เหลือจริง อาจพิจารณาอย่างอื่นแทน เช่น Flash drive, External Disk เพื่อ Backup, Keyboard/Mouse ไร้สาย ดี ๆ ที่ช่วยให้การทำงานสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ถ้าเข้าใจไม่ผิดระบบราชการไทยโดยทั่วๆ ไป เค้าไม่กลัวว่าจะใช้งบไม่หมดนะอยากจะคืนด้วยซ้ำ แต่มันติดตรงถ้าไม่ใช่งบประมาณให้หมดปีหน้างบหด
ส่วนเรื่องนี้เป็นเรื่องเพราะผลาญงบด้วยวิธีสิ้นคิดครับ ถึงมองโลกในแง่ดีว่า project งบไม่พอ แต่เล่นเอามาผลาญแบบให้หมดๆไป อย่างนี้ก็ไม่ไหวจะเคลียร์ -*-)
เข้าใจถูกแล้วละครับ
งบไม่หมด เขาก็จะจัดหาโครงการอะไรก็แล้วแต่ที่ทีมเขาจะจินตนาการขึ้นมาได้
อย่าหวังพึ่งระบบราชการเลยครับ
ถ้าเรามารู้ความจริงของหลายๆที่ หลายๆอย่าง ของระบบหน่วยงานในไทย แล้วจะรู้สึกหดหู่ + สิ้นหวังมากกว่านี้ครับ
ทุกวันนี้เกี่ยวข้องกับราชการตรงที่แค่เสียภาษีเท่านั้น เพราะไม่อยากเป็นคนผิดกฏหมาย นอกนั้นไม่ขอเกี่ยวข้องใดๆทั้งสิ้น
ถ้าทำสังคมให้ดีขึ้น ก็สร้างด้วยมือตัวเองดีกว่า
หากผมมีโอกาศก็อยากจะสอนหนังสือเด็กนะครับ (ตอนนี้ขอตัวเองให้รอดก่อนนะ @_@)
ในอีก 10 ปีข้างหน้า เด็กเราจะยิ่งตามหลังพวกชาติตะวันตกขึ้นไปอีกหลายปีแสง เพราะฝากนู่นเขาเริ่มสนับสนุนนโยบายให้เด็กเขียน code ตั้งแต่ประถม กันอย่างเป็นจริงเป็นจัง (code.org)
ซึ่งหมายความว่า ต่อไป การเขียนโปรแกรมนั้นจะเป็นแค่ skill นึงของเด็กทั่วๆไป
หึหึหึ ลองนึกดูนะครับ เด็กที่เขียนโปรแกรมเป็นตั้งแต่ยังเด็ก ความคิดความอ่านเขาจะไปในระดับไหน
หันกลับมาดูการศึกษาบ้านเราแล้ว... (นอกเรื่องไปมั้ยเนี้ยย :P )
คอนเฟิร์มเรื่องงบบริจาคครับ
สมัยอยู่ที่ทำงานเก่า เคยต้องไปเกี่ยวกับงบตัวนี้ทีนึง (ที่ทำงานเก่าผมไม่ใช่ กสทช นะ บอกก่อน)
เอาเป็นว่า ไม่จำเป็นอย่าพูดดีกว่าครับ
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
เก้าอี้ในมือมันสั่นไปหมด
Educational Technician
เก้าอี้นวดหรือเปล่าครับ?
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
If you all think you re one of the owner of this country, please do not hesitate to ask and say about where our money has been gone. Please tell me. I need to know.
Why do people keep that thing as a secret?
It sounds weird while you re protesting about censorship, but this is self censorship, isn't it?
แหม่!
กิน อิ่ม อร่อย หัก หัว คิว เก็บ ส่วย นอน พุง กาง . .
กสทช เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ก่อตั้งขึ้นมาเหมือนรวมทุกประตูแล้วตั้งด่านเก็บค่าทางด่วน
ทั้ง กสท องค์การโทรศัพท์ องค์กรสื่อสารมวลชน ธุรกิจที่เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม ฯลฯ
ทุกองค์กรถูกรวบไปอยู่ภายใต้อำนาจ ของ กสทช หมดเลย ตั้งแต่ กสทช ก่อตั้งขึ้นมา
ผมรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ นะ !
รอเขาชี้แจงดีกว่านะ เพราะเท่าที่รู้คร่าวๆ งบบริจาคของ กสทช. มันเป็นลักษณะหน่วยงานอื่นๆ มาขอไปพัฒนางานโทรคมนาคม เช่น ผมเป็นหน่วยงาน A ต้องการอะไรทำโครงการที่เกี่ยวกับด้านโทรคมนาคม แต่หน่วยงานตนเองไม่มีงบ ก็จะมาของบบริจาคที่ กสทช. ซึ่งงบก็จัดอยู่ในหมวดบริจาคเหมือนกัน
ส่วนงบประชาสัมพันธ์เนี่ย เยอะมานานแล้ว เจ้าหน้าที่ข้างในเองเขายังปวดหัวเลย มันยิบย่อยมาก
บ.ไทยควรมีรายงานเรื่องความโปร่งใสออกมาบ้างนะครับ เช่น บริจาคเข้าองค์กรรัฐไหนบ้างปีละเท่าไหร่ :-)
กสทช แปลว่าอะไรครับ เก็บส่วยทั้งชาติ รึเปล่า ???
+1