โครงการ Blognone Library เป็นโครงการที่จะรวบรวมและแปลเอกสารที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเข้ามาโดยเปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาแก้ไขได้ในแนวคิดเช่นเดียวกับ Blognone โดยโครงการแรกที่ผมเสนอคือโครงการ Python Tutorial ภาคภาษาไทย ส่วนโครงการอื่นๆ นั้น จะมีตามมาตามความสนใจของผู้เข้าร่วมเป็นหลัก
ข้อควรรู้ก่อนเข้าร่วมโครงการ Blognone Library
- โครงการนี้ไม่ใช่ Wikipedia หรือโครงการอื่นใดของ Wikimedia ความเกี่ยวข้องประการเดียวคือเราใช้ MediaWiki เหมือนกัน ดังนั้นโครงสร้างชุมชนจึงต่างกัน
- ข้อขัดแย้งใดๆ ใน Blognone Libray ถือคำตัดสินของผมและมาร์คเป็นสิ้นสุดเช่นเดียวกับใน Blognone แต่ทั้งนี้เราฟังความเห็นชุมชนเสมอ
- เอกสารทั้งหมด ต้องเผยแพร่ในแบบ Tri-License คือ Creative Commons (Attribution-Noncommercial-Share Alike), GFDL, และการยกสิทธิ์ให้ผมและมาร์คเป็นผู้ถือครอง และในกรณีที่เอกสารต้นฉบับระบุให้ใช้สัญญาอนุญาตแบบอื่นๆ จะรวมการใช้ตามต้นฉบับเข้าไปด้วย
- ผู้ที่จะแก้ไขต้องสมัครสมาชิก Blogone ก่อนเสมอ
ช่วงแรกอาจจะยังมีปัญหาอยู่บ้าง ยังไงมาแจ้งในนี้ได้ครับ
Comments
สอบถามหน่อยครับ ว่าต้องสมัคร account ใหม่ไหมครับ หรือว่า username ทั้งสองโปรแกรมอยู่ใน session เดียวกันแล้ว
dare to try? http://itshee.com/quiz
user เดิมใช้ได้เลยครับ
เขียนเองด้วยหรือว่าแปลอย่างเดียวครับ ?
ThaiGameDevX -- The First Game Developer Community in Thailand.
ตอนนี้ยังมีแต่โครงการแปลนะครับ ยังไงถ้ายอยากเขียนเรื่องอะไรคงต้องคุยกันก่อนอ่ะครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
นโยบายชัดเจนเข้ากับยุคสมัยดี.
:)
ที่อยากอ่านก็เรื่อง Ruby on Rails, cakePHP, Symfony framework, แนวทางการพัฒนาโมดูลของ Drupal ครับ
จะว่าไปแล้วก็อยากเขียน แต่ยังไม่แ่น่นพอที่จะถ่ายทอดได้
สงสัยประโยค "และการยกสิทธิ์ให้ผมและมาร์คเป็นผู้ถือครอง" น่ะครับว่าหมายถึงอะไร
นั่นคือลิทธิ์ในเอกสารนี้จะเป็นของผมและ mk ครับ ลอ งนึกถึง MySQL ที่เวลาเราจะส่งแพตซ์เข้าไป เราต้องยกแพตซ์นั้นให้เป็นสิทธิของ MySQL AB ไปพร้อมๆ กับการเปิดแบบ GPLv2
วิธีการอย่างนี้ทำให้เอกสารไม่ถูกล็อกเป็น CC อย่างเดียวแต่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ด้วย (แน่นอนว่ารวมถึงการนำในพิมพ์เป็นเล่มในภายหลังด้วย)
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ประมาณนี้เปล่า (สมมุติว่าเป็นเอกสารใหม่)
Copyright (C) 2007 Mk&Lew Duo
Copyright (C) 2007 Pruet boonma
CC(ANSAL)
GFDL
Blah blah blah (content)
ประมาณนั้นล่ะครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
อธิบายต่ออีกนิดว่าทำไมผมถึงกำหนดสัญญาอนุญาตเป็นแบบนี้
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ช่วยเป็น editor พิสูจน์อักษรก่อนแล้วกันนะครับ ยังไม่มีแผนจะแปลเอกสารในช่วงนี้ (แค่แปลโปรแกรมเล็ก ๆ ยังไม่คืบหน้าเลย -_-")
———————
คิดๆ ขีดๆ เขียนๆ
LinkedIn
แล้วบทความต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษนี่จะให้ไปขอมาแปลกันเอง หรือ blognone library จะติดต่อให้? ...
หรือแปลกันดื้อๆ เลย?
http://www.seasandsong.com/
คำว่า "สิทธิ์"ที่ lew&mk พูดถึงข้างต้น ผมเข้าใจว่า คือ ลิขสิทธิ์
การแปลหนังสือหรือเอกสารที่มีลิขสิทธิ์ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ถือเป็นการดัดแปลงงานเดิมตามพรบ.ลิขสิทธิ์ พศ.๒๕๓๗ ของไทย มาตรา ๑๑ ผู้ดัดแปลง ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เดิมก่อน จึงจะได้ลิขสิทธิ์ในงานที่แปล ดังนั้นสำหรับงานประเภทที่ผู้สร้างสรรค์ได้อุทิศให้เป็นสาธารณะ (public domain) หรือใช้สัญญาอนุญาตแบบ CCL จำนวนมากที่ไม่ห้ามการดัดแปลง ก็สามารถนำมาแปลได้เลย ถ้าไม่ใช่กรณีที่ว่า ก็ควรต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน
การกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แปลงานในโครงการ ยกลิขสิทธิ์ของตนให้กับ lew&mk เข้าใจว่า กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการจัดการกับลิขสิทธิ์ของงานแปลในโครงการ แต่ก็มีข้อน่าคิดหลายเรื่อง ดังนี้
๑.ที่ว่า วิธีการอย่างนี้ทำให้เอกสารไม่ถูกล็อกเป็น CC อย่างเดียวแต่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ด้วย
คำถาม คือ อย่างอื่น คือ อะไร?
๒.ที่ว่า อนาคตอาจจะมีสัญญาอนุญาตแบบอื่นๆ ที่เป็นโครงการเปิดเหมือนกัน และอาจจะมีข้อมูลที่ต้องการยกให้โครงการใหม่นั้นไปดูแลเอกสารต่อไป แต่ถ้าติดสัญญาอนุญาตแบบอื่นๆ แล้วอาจจะทำไม่ได้
คำถาม คือ สัญญาอนุญาต CCL แบบ BY-NC-SA เป็นอุปสรรคในการเปลี่ยน อย่างไร?
๓.การนำงานแปลในโครงการ มารวมพิมพ์เป็นเล่ม ถ้าไม่ใช่ทำเป็นการค้า เพื่อหากำไร เช่นพิมพ์แจกเป็นของชำร่วยหรืออภินันทนาการ สามารถทำได้ตาม สัญญาอนุญาต CCL แบบ BY-NC-SA อยู่แล้ว แต่ถ้าอยากทำเป็นธุรกิจ ก็ควรใช้ สัญญาอนุญาต CCL แบบ BY-SA ตั้งแต่แรก แต่นั่นหมายถึง คนอื่นก็สามารถนำงานแปลจากโครงการไปรวมเล่มพิมพ์ได้เช่นเดียวกัน
ถ้าต้องการให้ lew&mk ทำที่ว่าได้ แต่คนอื่นทำไม่ได้ ก็น่าคิดว่า ทำไมจึงต้องเป็นเช่นนั้น?
๔.การนำกรณี เปรียบเทียบ การส่งแพตซ์เข้าไป เพื่อแก้ไข โปรแกรม MySQL เราต้องยกแพตซ์นั้นให้เป็นสิทธิของ MySQL AB นั้น เป็นเพราะ MySQL AB ได้ลงทุนพัฒนาโปรแกรมMySQL มายาวนาน ทั้งโปรแกรมMySQL ก็ทำงานได้ดีอยู่แล้ว ซึ่งน่าจะต่างกับการทำงานแปลใหม่หมด การใช้เงื่อนไขเหมือนกันกับสภาพงานที่ต่างกัน จะสมควรหรือไม่?
๕.เมื่อลิขสิทธิ์งานแปลของโครงการเป็นของ lew&mk ก็น่าคิดว่า ต่อไป ถ้า(ขอโทษ เป็นการสมมุตินะ ไม่ได้แช่ง)คนใดคนหนึ่งเป็นอะไรไป ทายาทของคนนั้น ก็จะเข้ามาถือลิขสิทธิ์แทน
ถ้าพูดกันรู้เรื่อง ก็ดีไป ถ้าพูดกันไม่รู้เรื่อง? หรือถ้าภายหน้า สองคนเกิดแตกคอกัน พูดกันไม่รู้เรื่อง แล้วจะทำอย่างไร? มันควรจะมีวิธีจัดการที่มีเหตุผลและยั่งยืน กว่านี้ ไหม?
ผลจากเงื่อนไขนี้ อาจกีดกันคนส่วนหนึ่งออกจากโครงการไป
ก็น่าคิดว่า มีเหตุผลและความจำเป็นแค่ไหน เพียงใด ในการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว
ตอบทีละข้อแล้วกันนะครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ตอบ 1-2 รวมกันก่อนนะครับ
เคสที่น่าสนใจมากคือ Wikipedia/Wikibooks ซึ่งใช้สัญญาอนุญาตแบบ GFDL ซึ่ง เข้ากันไม่ได้ กับ CC (ถึงแม้ใน CC 3.0 จะเปิดช่องตรงนี้ไว้ให้แล้ว แต่ยังไม่เห็นทาง GNU ออกมาผลักดันอะไร) ดังนั้นการยกผลประโยชน์ที่ได้ในบั้นปลายให้กับโครงการอย่าง Wikibooks จึงทำได้ยากมาก เพราะต้องขอเจ้าของสิทธิ์ (ซึ่งก็ตามจำนวนคนเขียนจาก log) ให้ยอมเปลี่ยนจาก CC เป็น GFDL ให้ก่อน
นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมถึงต้องยอมยกสิทธิ์ให้ทาง Blognone เป็นผู้ถือ เพื่อจะได้สะดวกในการ re-license ถ้าจำเป็น
อย่างในกรณีนี้ผมได้ปิดจุดอ่อนเรื่อง Wikibooks โดยบังคับใช้ GFDL เป็น dual license เข้าไปด้วย แต่ก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าอนาคตจะไม่มีโครงการแบบ Wikibooks ที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบอื่นขึ้นมาอีก (เช่น Artistic License เป็นต้น)
3-4 อันนี้แบบที่ลิ่วตอบไปว่าคงต้องขึ้นกับความเชื่อใจเป็นหลัก โครงการนี้ไม่เหมือน wikipedia ที่เปิดเสรีทั้งหมด แต่ Blognone Library นั้นมีการควบคุมที่ต่างออกไป ผมคิดว่าวัดจาก contribution ในขณะนี้ (จาก log) ก็น่าจะพูดได้ว่าของผมกับลิ่วยังสูงพอจะมีสิทธิ์ที่ว่า
5 ข้อนี้ผมคิดเหมือนคุณ pichaip ถือเป็นข้อแนะนำที่ดีมาก ผมคิดว่าในระยะยาวคงต้องจดเป็น foundation แต่เทียบความคุ้มค่าในระยะเริ่มต้น (ว่าจะเสียความคล่องตัวไป) ก็คงยังไม่คุ้ม
ขอเสริมที่ตัวเองตอบไปอีกนิดว่า โครงการ Blognone Library นี้ ผมออกแบบโครงสร้างให้มี "การควบคุม" มากขึ้นเพื่อรักษาคุณภาพของชิ้นงาน (เพราะว่าเรายังไม่มี "enough eyeballs" เพื่อจะทำให้ "all bugs are shallow") ดังนั้นถึงแม้ว่าการควบคุมที่มากขึ้น จะทำให้การ contribution จากข้างนอกลดลงไปบ้าง แต่ถ้าแลกกับคุณภาพของชิ้นงานที่ดีขึ้น ปัญหาในโครงการที่ลดลง (เช่นพวก vandalize หรือมาตรฐานการเขียน) ผมก็คิดว่าเป็น trade-off ที่คุ้มค่า
ยังไงเสียเป้าหมายของเราก็คือสร้าง free/open textbook ภาษาไทยที่ยังขาดอยู่ เพียงแต่ agenda ในเชิงการค้าไม่มีอะไรมารับประกัน (อันนี้ผมก็เห็นจุดโหว่แต่แรก) แต่เมื่อคิดเทียบกับความสะดวกและความคล่องตัวในช่วงแรกแล้ว ก็คิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่เหลือก็คงต้องอาศัยความเชื่อใจล่ะครับ
ถ้าใครมีทางออกที่แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ผมก็ยินดีเปลี่ยนครับ
ผมเองโดยส่วนตัว รู้จักและเชื่อใจทั้ง lew&mk ทั้งเข้าใจดีว่า ที่กำหนดให้ยกลิขสิทธิ์ให้ ก็เพื่อความสะดวกในการจัดการ ในกรณีที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสัญญาอนุญาตในอนาคต
แต่ที่ท้วงติง ก็ด้วยเห็นว่า โครงการลักษณะนี้ จะได้รับความสำเร็จ ก็โดยการได้รับการสนับสนุน เข้าร่วมและลงแรงจากคนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่อาจไม่รู้จัก lew&mk เป็นการส่วนตัวและอาจจะรู้สึกตะขิด ตะขวงใจกับเงื่อนไขดังกล่าว
การที่ตอนนี้ ทั้งสองคนลงแรงหรือมีผลงานในโครงการมากกว่าคนอื่นๆ ตามหลักทั่วไป ก็มีผลเพียงว่า ทั้งสองคนมีลิขสิทธิ์ในงานที่แต่ละคนได้สร้างสรรค์มากกว่าคนอื่นๆ แต่ที่ผมเสนอ คือเรื่องลิขสิทธิ์ผลงานของคนอื่นๆ ว่า การยกให้บุคคล มีขีดจำกัดและอาจก่อปัญหาได้ในอนาคต
ทางเลือกที่ดีกว่า คือ ๑.ยอมรับให้เป็นลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ แล้วเลือกใช้สัญญาอนุญาตที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ เช่น โครงการลีนุ๊กซ์เคอเนล โปรแกรมเมอร์ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในซอสโค๊ดที่แต่ละคนเขียน แต่ใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL เป็นต้น
๒.ยกลิขสิทธิ์ให้กับสถาบันที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับโครงการ เช่น ผมทำ CCL ตามกฎหมายไทย ผมก็ยกลิขสิทธิ์ให้ CC corporation ซึ่งเป็นสถาบันที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับโครงการ CC Thailandและไม่ทำการค้า หากำไร เป็นต้น
ถ้า mk ว่าการตั้ง foundation ยังไม่คุ้มในตอนนี้ ก็อาจตั้งเป็นชมรมของคณะบุคคลแบบ CC club of Thailand ก็ไม่ได้ยุ่งยากหรือใช้เวลาอะไรมากมาย ก็เพียงทำเอกสารจัดตั้งฉบับเดียวแบบที่คุณอาทิตย์ (อาท)ทำให้ CC club of Thailand เช่น อาจตั้งเป็น ชมรม blognone Library ถ้ายกลิขสิทธิ์ให้ชมรม เช่นที่ว่านี้ ผมคิดว่า ความรู้สึกของคนที่เข้าร่วม จะต่างกันเยอะกับการยกลิขสิทธิ์ให้ lew&mk
ผมดูโครงการที่ประสพความสำเร็จมากๆ เช่น facebook ที่คุณ worawisut ได้วิเคราะห์์ไว้ที่
http://www.worawisut.in.th/2007/11/03/google-facebook-myspace/ ว่าเกิดจากกลยุทธ์พื้นฐาน ๒ ข้อคือ การ Open Registration และ การ Open Platform
และดูโครงการ Open Handset Alliance ที่กูเกิ้ลได้รับความสนับสนุนจากบริษัทยักษ์ใหญ่ ถึง34 รายอย่างรวดเร็ว ก็เพราะใช้กลยุทย์ดังกล่าว เช่นเดียวกัน ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.iht.com/articles/2007/11/06/technology/06google.php
จึงคิดว่า โครงการดีๆ ดังเช่นโครงการนี้ ที่คุณ lew&mk ได้ริเริ่มไว้ ก็ควรจะเดินเส้นทางสายนี้ แต่ถ้ารักษาเงื่อนไขเดิมไว้ ผมก็กริ่งเกรงเพียงว่า ผลอาจกลายเป็นการปิดประตูกันคนส่วนหนึ่ง(ไม่รู้จริงๆ ว่าเท่าไหร่) ออกไปจากโครงการ
ถ้าผมขอ เขียนหนังสือ ขึ้นมาเลย (โดยไม่แปลจากเอกสารอื่น) Blognone/lib จะยินดีรับไหมครับ
ได้นะครับ แต่จะเป็นแนวร่วมมือกัน คืออาจจะมีคนอื่นเข้ามาช่วยกันแก้ไข ตรงนี้ก็ต้องระวังไว้ด้วยนะครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw