ปีเตอร์ รีดบอกว่าบอลไทยจะไปบอลโลกได้ในปี 2014 หลายคนอาจหัวเราะ แต่ว่าถ้าเปลี่ยนมาเป็นไอทีไทยล่ะ อนาคตของมันเป็นไปในทางเดียวกันหรือเปล่า?
ในบทความ 3 ปีกับประสบการณ์ที่ได้จากการทำ Blognone ผมเขียนไว้ว่าวิสัยทัศน์ของ Blognone มีสามอย่าง
เวลาผ่านไปเกือบหนึ่งปี ผมคิดว่าได้เวลากลับมาทบทวนเป้าหมายนี้อีกครั้ง และถึงเวลาที่เราต้องกลับมาใคร่ครวญวิสัยทัศน์ข้อสุดท้ายอย่างจริงจังกันเสียที
ผมคิดว่าคงไม่มีคนอ่าน Blognone คนไหนที่ไม่อยากเห็นอุตสาหกรรมไอทีพัฒนา ก้าวไกล และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ แน่นอนว่าปัญหาของอุตสาหกรรมไอทีไทยมีมากมาย แต่เรื่องที่น่าเศร้าคือเรามักเห็นโซลูชันดังต่อไปนี้ซ้ำไปซ้ำมาอยู่เสมอ
ที่ผมบอกว่าน่าเศร้าไม่ใช่ว่าเรามองไม่เห็นปัญหาหรือทางแก้ แต่ว่าทางแก้ที่พวกเรามักพูดถึงกัน ไม่มีทางไหนเลยที่เราคิดจะแก้ไขกันด้วยตัวเอง มีแต่รอความหวังลมๆ แล้งๆ จากกระทรวงไอซีที กระทรวงการศึกษา นักการเมือง (ที่พวกเราบอกว่าห่วย) ทั้งนั้น
ผมเคยคิดแบบเดียวกันนี้ และเคยเข้าไปมีส่วนร่วมในหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบปัญหาเหล่านี้ตรงๆ ประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานรัฐสอนผมให้รู้ซึ้งว่า อย่าคิดพึ่งพาหน่วยงานรัฐเลย มันไม่ได้ผลและไม่มีวันได้ผล (ด้วยปัญหาและข้อจำกัดของหน่วยงานรัฐที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว) ถ้าอยากได้อะไร มีทางเดียวเท่านั้นคือต้องทำเอง
ดังนั้นเพื่อค้นหาทางออกของอุตสาหกรรมไอทีไทย และสร้างค่านิยม "อยากได้ต้องทำเอง" ให้แพร่หลาย ผมจึงขอชักชวนผู้อ่าน Blognone ทุกท่าน ร่วมเสนอไอเดียที่ทำได้จริงในทางปฏิบัติ และถกกันว่าข้อดีข้อเสีย อุปสรรคและทางแก้ไขของแต่ละไอเดียเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นก้าวแรกของการปฏิรูปอุตสาหกรรมไอทีที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวของเราเอง
ผมเชื่อว่าด้วยความหลากหลายและความเชี่ยวชาญของชุมชน Blognone การแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย
(อ่าน Ask Blognone ตอนเก่า: ถ้าคุณได้เป็นรัฐมนตรี ICT..... และ ระบบโครงสร้างไอทีแห่งชาติ ถนนสู่อนาคตเทคโนโลยีไทย ประกอบ)
Comments
ต้องเปลี่ยนทัศนคติกันยกใหญ่ "อยากได้ต้องทำกันเอง"
เราต้องเปลี่ยนเองด้วย.
I like the slogan “อยากได้ต้องทำกันเอง”. It's a truism actually.
ปัญหาใหญ่ๆ ของเรื่องนี้ ก็คือเรื่องเงินทุนนั้นล่ะครับ เหมือนว่าเราคิดจะจัดงานใหญ่แต่เราไม่มีเงินทุกมันก็ทำอะไรไม่ได้ เว้นแต่ว่าเราจะสามารถมีสปอนเซอร์รายใหญ่ๆ เป็นผู้สนับสนุน และวางโปรเจ็กให้มันดีๆ
ถ้าเคยทำโครงการใหญ่ๆ มา จะพบว่าทุนเป็นสิ่งที่หาง่ายที่สุด ส่วนอันที่ยากที่สุดคือ "ใจ" ครับ
ผมเคยเจอพวกทำงานด้วย "ใจ" ครับ
แต่ตัวมันหายไปไหนไม่รู้นะ
+1 ครับ
เอาใจช่วยอย่างเดียว ไม่ลงแรง งานจะเสร็จมั้ยนั่น
20 ปี วง B'z
ถ้า idea ดีจริงทุนหาไม่ยากอย่างที่คิด แบงค์ปล่อยเงินกู้มีเยอะแยะ
พวก private funding ที่เป็น NGO ข้ามชาติก็เยอะครับ เพียงแต่ต้องหาช่องให้ถูกเท่านั้นเอง
ดูเหมือนจะเป็นความจริง ต้องช่วยตัวเอง หาสปอนเซอร์เอกชนเองแล้วล่ะ สำหรับคนไทย
หนทางอาจจะยาก แต่ถ้าติดแล้วคงไปรุ่ง
@TonsTweetings
สร้างศูนย์รวมความรู้ที่เป็นภาษาไทย...
เห็นจีนกับรัสเซียแล้ว ทางนั้นเก่งกันมากเลย พอเข้าไปดู หลายๆ อย่างความรู้ดีๆ บางอย่างมีแต่ในภาษาของเค้าด้วยซ้ำ โชคดีที่เค้ามีตัวแปลภาษาเนียนๆและก็คนเยอะพอที่จะสร้างความรู้ด้วยภาษาของเค้าเองได้ สำหรับคนไทยคิดว่าคงต้องทำทั้งสองทาง คือสร้างเนื้อหาที่เป็นภาษาไทยขึ้นมาเยอะๆกับหาทางเปลี่ยนความรู้จากภาษาอื่นเป็นภาษาไทยเยอะๆ และที่สำคัญต้องให้ทุกคนเข้าถึงความรู้เหล่านี้ได้ง่ายและฟรี!!
อันนี้เห็นด้วยอย่างยิ่ง ครับ ยิ่งมี document, tutorial หรือ manual การแก้ไขปัญหา ที่เป็น ภาษาไทยมากเท่าไหร่ คนไทยก็จะยิ่งมีความรู้ มากยิ่งขึ้น
It's my life. Open your mind for the future.
เห็นด้วยครับ เพิ่มญี่ปุ่นอีกประเทศ
เริ่มที่ Wikibooks กันเลยครับ ช่วยกันแปลคนละนิด ดีกว่ารอคนอื่นแปลให้
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
เห็นด้วยกับ Wikibooks ครับ
แต่แค่ช่วยกันแปลคนละนิดคงไม่ทันกินแน่ ผมแนะว่าถ้าใครแปลเข้ามาก็ให้จ่ายเป็นค่าแปลให้ด้วยเลย(หรือให้เป็นของที่ระลึก)+โฆษณาดีๆ น่าจะจูงใจคนได้ดีกว่า แล้วถ้าเงินดีนักเรียนนักศึกษาก็น่าจะเข้ามาร่วมด้วยง่ายขึ้น (ผลพลอยได้คือคนที่แปลก็ได้ความรู้ไปด้วย->ประเทศไทยก็ดีขึ้น)
ส่วนเงินทุนผมมองว่าน่าจะขอจากบริษัทใหญ่ๆได้ไม่ยาก ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดมีระบบลดภาษีสำหรับงานบริการสังคมอยู่ กรณีนี้ก็น่าจะเข้าข่ายให้บริษัทใหญ่ๆตัดสินใจง่ายขึ้น แล้วโดยทั่วไปบริษัทใหญ่ๆมีงบแบบนี้อยู่แล้ว แต่ถ้าจะกู้จากธนาคารคงยากเพราะผมก็ยังมองกำไรไม่ออก แต่อาจจะพอมีทางอยู่บ้าง
ส่วนวิธีที่ไม่ใช้เงินทุนเลย ผมมองว่าสุดท้ายก็จะเหมือนวิกิคือ เหลือคนไอทีไม่กี่สิบคนที่ยังมานั่งเขียนอยู่(แถมกรณีนี้จะน้อยกว่าอีก)
ผมว่าเอาใกล้ตัวก่อนดีกว่าครับ ควรเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคไอทีของเราใหม่ครับ ควรบริโภคงานไอทีของคนไทยให้มากที่สุดครับ ออกแนว "ไทยช่วยไทย กินของไทย ใช้ของไทย เที่ยวเมืองไทย ร่วมใจประหยัด"
เพื่อทำให้ "ไอทีไทยไปไอทีโลก" (ถ้านึกภาพไม่ออกให้ไปดู ญี่ปุ่น,จีนและเกาหลีใต้)
ผมไม่เคยเห็นด้วยกับความคิดว่า ไทยช่วยไทย กินของไทย ใช้ของไทย แล้วมันจะช่วยให้ชาติเจริญขึ้น หรือทำให้เราเดินก้าวไปจากจุดนี้ได้ไกลขึ้น แต่ผมกลับคิดว่าความคิดแบบนี้จะทำให้เราย่ำอยู่ที่เดิมหรือเดินถอยหลังไปเรื่อยๆ ผมจะไม่ใช้ของไทย แต่ผมจะใช้ของที่ดี
ถ้าหากอุตสาหกรรมไหน อยากจะขายอะไรบางอย่างให้ได้ ก็ควรจะผลักตัวเองด้วยวิธีใดก็ตามมากกว่าจะมาออดอ้อนคนในชาติ ให้สนับสนุนของชาติเดียวกัน
i agree
ลิเวอร์พูลเก่งที่สุดในจักวาล
เห็นด้วยอีกคน
ไอเดียนี้มันเป็นพวกคิดว่าดีแล้ว พอแล้ว ทำให้ไม่เกิดการเติบโตและการพัฒนา
@TonsTweetings
อีกมุม ผมมองว่ามัน "ทุเรศ" (ไม่รู้จะหาคำอะไรแทนคำนี้ดี) ที่หน่วยงานของรัฐจำนวนมากใส่สเปคเวลาจัดซื้อของว่าต้องมาจาก "อเมริกา, ญี่ปุ่น, หรือยุโรป"
ผมไม่สนับสนุนให้คนคลั่งชาติ แต่ TOR แบบนี้จากหน่วยงานรัฐนี่คนเขียนควรถูกด่า
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด อุตสาหกรรมไอทีของญี่ปุ่นที่เติบโตและผลิตสินค้าที่คุณภาพสูงมาจนถึงทุกวันนี้ได้ ปัจจัยสำคัญคือกล้ายอมรับในคำตำหนิติเตียนของผู้ใช้ชาวญี่ปุ่นด้วยกันเอง แล้วนำไปพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น
แล้วอุตสาหกรรมไอทีของไทยล่ะครับ? ผมสามารถตำหนิได้ไหม? ยอมรับคำตำหนิได้ไหม? และเสียงตำหนิของผม(เพราะอยากให้ดีขึ้น)น่ะจะมีค่าบ้างไหม?
ขอแค่นีล่ะครับ รับรองดีขึ้นแน่ๆ
ผมเจอเรื่องในทางไมโครนิดหนึ่ง เรื่องกระบวนการบริหารโครงการด้าน IT มีปัญหา หลายงานไม่จบดีๆสักเท่าไร ไม่ก็ยังไม่สามารถ deliver ได้ตามที่สัญญาไว้
ผมว่ารัฐบาล ควรทำตัวเป็น facilitator เตรียมสิ่งแวดล้อมให้เอื้อกับการพัฒนา เหมือนกับการลงทุนอุตสาหกรรม ทำถนน,ทางรถไฟไปถึงแหล่งทรัพยากร ลด/สนับสนุนการตั้งโรงงานการผลิต ส่งเสริมอุตสาหกรรมต้นน้ำ/กลางน้ำ/ปลายน้ำ อบรมผู้ประกอบการ
facility ที่ต้องการมีอะไรบ้างครับ? จริงๆ มีผู้บริหารระดับค่อนข้างสูงของหน่วยงานภาครัฐอ่าน Blognone กัน ถ้าลงรายละเอียดได้อาจเป็นไปได้ตามฝัน
เห็นด้วยกับวลีนี้ครับ "อย่าคิดพึ่งพาหน่วยงานรัฐเลย"
ผมก็เข้าใจว่าไม่ใช่ภาครัฐจะอยู่เฉยๆ แต่เค้าทำเท่าที่เค้าคิดว่ามันอยู่ในกรอบหน้าที่ของตนเอง
สิ่งที่เราในฐานะผู้ประกอบการไอทีควรจะทำก็คือการช่วยตัวเอง อยากได้อะไรก็ทำเองเท่าที่จะทำได้
ควรทำ business plan ก็คิด ก็เขียนมันออกมาเอง
ควรทำ marketing research ก็วางแผนแล้วลุยเองเลย
ควรทำ prototype ทดลองการตอบรับของตลาด ก็ทำแล้วโปรโมตเอง
ควรหา finance ก็วิ่งยืมเงินคนรู้จักมาใช้ก่อน (แบงค์ไม่ให้กู้ รัฐไม่สนับสนุน)
ถึงจุดนี้จะรู้่สึกว่ามันเหนื่อย ถ้าทำแล้วไม่มี return อะไรกลับมา
ผมคิดว่ามันจะดีมาก ถ้าไทยทำ ไทยใช้
แต่ก็ไม่ได้จะบังคับใครหรือเชิญชวนให้หันมาใช้ซอฟต์แวร์ไทยนะครับ
คือถ้ามันห่วย ก็ช่วยบอกคนทำหน่อยนึงจะได้รู้ว่าแก้ตรงไหน
ที่ผ่านมาเราไม่ค่อยได้ช่วยเหลือกันเท่าไร
เห็น iPhone มา ก็แห่มีแต่ข่าว iPhone ช่วยกันโปรโมตทำให้มันน่าสนใจ
เห็น twitter ดี ก็แห่กันไปใช้ twitter เธอใช้ยัง? ดีน้าจะบอกให้
แต่... ไม่ค่อยจะได้ข่าวอะไรเกี่ยวกับการพัฒนาไอทีหรือซอฟต์แวร์ไทยเสียเท่าไร
เพราะเรายังเป็นผู้บริโภค ที่ชื่นชมและให้ความสนใจกับกระแสโลกกันอย่างมากๆ อยู่
เรื่องคนไทยไม่เก่ง ผมว่าไม่จริงครับ
คนไทยแข่งโน่นแข่งนี่ได้รางวัลเยอะไป แต่ผมว่าเราเก่งในระดับทำงานคนเดียว ไม่ค่อยทำงานร่วมกันเท่าไร
อย่างที่ว่าเด็กเก่งไม่เก่ง ผมไม่ได้สนมากเท่ามีใจจะทำงานหรือเปล่า พร้อมที่จะเปิดรับ ร่วมงานกับคนอื่นไหม
ก็ถ้าอยากให้ไอทีไทยก้าวไกลระดับโลก
ผมคิดว่าพวกเราคนไทยต้องจับมือทำงานร่วมกันให้มากขึ้นครับ
มันมีอะไรอีกหลายๆ อย่าง ยังมี opportunity ในตลาดโลก ให้เรากระโดดเข้าไป แต่อันดับแรกเราต้องพร้อมและทำงานกันให้เป็นก่อนครับ
iam in Thai อีเวนท์ทั่วไทย ใครจะไป... ยกมือขึ้น
ผมเห็นด้วยเรื่องกระบวนการทำงานร่วมกัน
ปล. ผมคิดคล้ายๆกัน นี่ดูเหมือนจะเป็น stereotype ของคนไทย คือดูเหมือนคนไทยจะเก่งกันแต่งานที่เป็นตัวบุคคล ตัวคนเดียว สนุกเกอร์, เทนนิส, ยกน้ำหนัก, งานบริการ สปา, นวดแผนโบราณ, ฯลฯ
ไอ้งานเป็นทีม เช่น ฟุตบอล (ขอโทษที่ยกตัวอย่าง) กลับใช้เวลานานมากในการพัฒนา
ผมเห็นด้วยกับเรื่อง การทำคู่มือภาษาไทย ให้ครบถ้วนมากที่สุดครับ
เราต้องการฮีโร่ เรื่องแย่ๆ เพลาๆ ลงบ้างก็ได้
ผมว่าปัญหาที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ ไม่มีโครงการไหนที่จะสามารถคงอยู่ได้นาน จนทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงจริงๆจังๆ หลายครั้ง หลายหนที่ เรามีโครงการที่มี campaign ที่ดีแค่ไหน งบประมาณ ไม่จำกัดแค่ไหน ผมว่า ผมยังไม่เคยเห็นโครงการไหนที่จะอยู่ได้นานหลายปี (อย่างมีคุณภาพ)
สิ่งหนึ่งที่เราชอบทำกัน คือ "การตามกระแส" ซึ่งถามว่ามันเป็นเรื่องทีดีไหม ก็น่าจะใช่
ช่วงที่กระแสบูม การพัฒนาก็เกิดขึ้นอย่างจริงจัง งบถูกทุ่มเข้ามา คนก็เฮโลเข้าไปทำ แต่มันก็คงอยู่ได้เพียงแค่ชั่วคราว พอลมพัดผ่านไป เราก็ลืมแล้ว ไม่มีใครทำต่อ พอ รู้ตัวอีกที เราก็กลับมาตั้งต้นกันใหม่
ยกตัวอย่างเรื่องกระแสเนี่ย ง่ายๆ เช่น ทางด้าน IT รณรงค์การใช้และพัฒนา Open Source,
หรือ ทางด้านสังคมอย่าง กระแสจตุคาม, กระแสประหยัดไฟ ดับไฟ 1 ชั่วโมง
กระแสเสื้อสีต่างๆ หรือแม้แต่ที่จะเห็นขาลงในเร็วๆนี้ ก็คง เรื่องโลกร้อน และก็ประหยัดน้ำมัน
มันเหมือนพอ กระแสจาง เราก็หยุด
ทุกการพัฒนาเป็นสิ่งที่ดีครับ ถือว่าเป็นการเริ่มต้น ดีกว่า อยู่นิ่งที่ 0 แต่ ถามว่า ทำไง
มันจะรักษาระดับให้ไม่ตกลงมาที่ 0 ได้เนี่ยสิ .... ผมว่ายากนะครับ
ไม่รู้ว่า อาจจะเป็นเพราะ เราลืมง่ายและเบื่อง่ายกันหรือเปล่า หรือจะเป็นเพียงแค่ "ตามกระแส"
....อีกประการ คือ ผมเห็นด้วยกับ ที่คุณ mk ว่าครับ..... สิ่งที่หายากที่สุด คือ "ใจ" ครับ
นั่นเพราะเป็นการรณรงค์ การรณรงค์ก็ไม่ต่างอะไรกับการบังคับให้ทำอะไรบางอย่างชั่วครั้งชั่วคราว
ผมคิดว่าทัศนคติที่ผิดๆ ของคนไทยอันหนึ่งคือ "อยากดังเดี่ยว" จะเห็นว่าค่านิยมในการต่อยอดซอฟต์แวร์เดิมๆ ของเรามีน้อยมาก ลองดูโปรเจคต์จบเด็กปี 4 จะเห็นว่าเป็นโครงการใหม่ๆ ทั้งนั้น และทำซ้ำกันทุกปี พอเรียนจบได้เกรดก็เลิกไป ซึ่งทัศนคติอันนี้ก็เกิดขึ้นในโครงการแบบอื่นๆ เช่นกัน คือทำตามแฟชั่นหรืองบประมาณ พอหมดกระแสหรือตังค์หมดก็เลิก
ผมคิดว่าค่านิยมการต่อยอด เป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ ที่ต้องกระตุ้นให้เกิด โดยเราสามารถนำเอาวิถีปฎิบัติของโอเพนซอร์สมาใช้ได้หลายอย่าง เช่น การเปิดซอร์สให้เป็น GPL หรือการเอาโค้ดไปขึ้นไว้บน SF หรือ Google Code
สมัยเรียนผมทำโปรเจต์ต่อจากรุ่นพี่ (คนเริ่มต้นคือคุณ sugree) ทำต่อกันมาหลายรุ่น และผลที่ได้คือซอฟต์แวร์ตัวนั้นถูกใช้โดยมหาลัยดังๆ ของเมืองนอกอย่างเช่น SDSC ซึ่งการสร้างซอฟต์แวร์คุณภาพระดับนี้เป็นไปไม่ได้เลย ถ้าทำด้วยนักศึกษาเพียงรุ่นเดียว
การพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระในไทยเอง (ดูจากบน thaiware ก็ได้) ก็มักเป็นการสร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมาใหม่หมด แต่เราจะเห็นว่ามีนักพัฒนาไทยไปแจมกับโครงการโอเพนซอร์สระดับโลกน้อยมาก (ยิ่งถ้าไม่นับเรื่องภาษาไทย แทบจะนับนิ้วได้)
เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ซอฟต์แวร์ของคนไทยด้วยครับ (ผมก็ว่ายาก แต่ก็ต้องพยายามทำกันครับ เริ่มจากตัวเองก่อนเลย) เราเป็นพวกขี่ช้างจับตักแตนครับ ใช้ซอฟต์แวร์ครึ่งแสน แต่เอาความสามารถมันเพียงน้อยนิด
ถ้าอยากได้ทุน ต้องเลิกมองทุนในแง่ลบ เปิดรับทุนใหม่และเก่า จัดงานไอทีกันเองต้องใจกว้าง จะ Microsoft หรือ Google ก็เอามา เค้ามีใจ เราก็รับไว้ เค้าให้ทุน เราก็รับไว้ เอามาพัฒนาต่อยอด ไม่ใช่ไปตั้งแง่ ไม่รับ กลัวไปหมด ซึ่งเร็ว ๆ นี้ก็มีประเด็นกันอยู่ข่าวนึง ผมอ่านแล้วก็เซงเหมือนกัน
เราต้านกระแสโลกไม่ได้ ก็ต้องไหลตามมันไปครับ ไหลแล้วหาทางให้เราเป็นกระแสที่สอง ที่สาม แทนที่จะไหลอย่างเดียว
อีกอย่างคือเราถูกปลุกฝั่งในด้านการใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดมานาน จนชินชา และด้วยระบบสังคมที่คุณค่าทางความคิดสร้างสรรค์มีค่าเพียงแค่ราคาแผ่น CD/DVD เราจะทำยังไงให้ความคิดสร้างสรรค์มีค่ามากกว่านี้ เหมือนเราคิดกลไกในการทำนาที่ดีกว่าเดิม แต่คนนำเอาความคิดเอาไปใช้ เห็นเพียงแต่สิ่งที่จับต้องได้ แต่ลืมคิดถึงคุณค่าทางความคิด โดยลืมตีค่าตรงนั้นออกมาเป็นทุนรอนเพื่อพัฒนาความคิดนั้นต่อไป ทำให้ความคิดดี ๆ หายไป หรือโดนต่างชาติที่เห็นโอกาสนั้น ซื้อไปพัฒนาต่อ แล้วเราก็มานั่งเสียดายตอนที่ความคิดนั้นโดนพัฒนาแล้วย้อนกลับมาขายเราในอนาคต
ตลาด IT ในไทยส่วนมากตาม Software House ที่กำลังจะโตเน้นผลการทำงาน มากกว่ากระบวนการทำงาน เราพัฒนาซอฟต์แวร์ออกมาเพื่อเพิ่มผลการผลิต แต่เราลืมกระบวนการทำงานให้เกิดซอฟต์แวร์นั้น ๆ ยังผลให้เวลาเกิดเหตุการณ์เช่นบุคคลหลักในการพัฒนาออก ทำให้โครงการมีปัญหา หรือแม้กระทั่งการค้นหาข้อผิดพลาดและการส่งต่องานที่ไม่ราบรื่น โดยมักจะเกิดกันในช่วงมีคนใหม่เข้ามาทำงาน หรือส่งต่องานให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งน่าจะเอารูปแบบการประสานงานของ Open-source ดัง ๆ มาปรับใช้ได้
คนไทยส่วนใหญ่มอง Open-source เป็นเพียง Freeware ไม่ใช่ Free Software ซึ่งก็มีทั้งระบบ IT Manager และอาจารย์หลาย ๆ คนก็ยังคิดแบบนี้ เมื่อแม้แต่คนระดับหัวคิดกันแบบนี้ก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรหลาย ๆ อย่างได้
พิมพ์ ๆ มานานสิ่งหนึ่งในไทยที่ยังขาดคือการนำความรู้กลับคืนสู่สังคมครับ ทำยังไงให้คนที่มีประสบการณ์มีพื้นที่ในการเผยแพร่ความรู้ของตนเองให้มากขึ้น ทั้งในด้าน IT และด้านอื่น ๆ ด้วย เพราะเรามีคน IT เก่ง ๆ เยอะแต่กระจายตัว บางครั้งความรู้ความเข้าใจไม่ตรงกันทะเลาะกันซะงั้น ก็มีเยอะแยะครับ T_T
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
เพราะทุึกคนอยากทำงานแบบมีความสุข เราเลยมาช่วยกันคิดว่าเราจะทำแบบไหนดี เลยคิดถึงแนวคิดแบบพอเพียงด้วยการเริ่มต้นที่ “อยากได้ต้องทำกันเอง” แต่ก็มีสิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องคือ
"อยากได้ต้องทำกันเอง"("พึ่งพาตนเอง") -> "อยู่ได้ด้วยตัวเอง" -> "พอเพียง" -> "แบ่งปัน" -> "สามัคคี"(ทีม) -> "ชุมชนแข็งแรง" -> "แลกเปลี่ยน"(ค้าขาย)
เมื่อเราพึ่งพาตนเองได้ อยู่ได้ด้วยตัวเอง - เราไม่เครียด
พอเพียง แบ่งปัน - เรามีความสุขจากการให้ มีองค์ความรู้สะสม
สามัคคี - เราก็จะได้ทีมงาน ที่กลมเกลียว ( เพราะทุกคนมีความสุข )
ชุมชนแข็งแรง - ประเทศไทย ก็จะแข็งแรง
แลกเปลี่ยน - เราจะเข้าสู่ทุนนิยมด้วยรากฐานอันแข็งแรง ( ทุกคนก็น่าจะมีความสุข (ขึ้นกับปัจจัยสังคมร่วมด้วย) )
อันนี้เป็นแนวคิดที่"ผม"คิดว่า มีความน่าจะเป็น ที่จะเป็นไปได้ -ขอบคุณครับ-
ผมว่าอันนี้เข้าข่ายหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริงครับ
ไม่หวังพึ่งราชการและนักการเมืองอยู่แล้วครับ จริงๆคิดด้วยซ้ำไปว่า หากหน่วยงานรัฐลดคนเหลือ 1 ใน 10 และลดงาน (คำอวดอ้างว่างาน) ไป 1 ใน 10 ประเทศคงพัฒนาไปมากจนตกใจ
แต่การผลักดันจากคนเล็กๆนั้นไม่ง่ายจริงๆ เราไม่ได้เติบโตมากับการทำงานร่วมกัน เท่าเทียมกัน เป็นทีมเดียวกันเท่าไหร่ เราหวังแต่ไม่พึ่งเค้า-ก็ช่วยเหลือเค้า (ไม่งั้นก็ทะเลาะกัน) โมเดลผู้ออกทุน ผู้ถือหุ้น ผู้ระดมทุน ฯลฯ เลยกลายเป็นการอุปถัมภ์และบุญคุณความแค้นซะหมด
ตอบคำถามคุณ mk ดีกว่า ไอเดียเท่าที่พอจะนึกออกตอนนี้
การสนับสนุนโครงการของนักศึกษาให้นำมาใช้จริง คงต้องเริ่มจากบริษัทคุยกับเหล่าอาจารย์ (เห็นคุณ mk ก็มีเริ่มบ้างแล้ว) หากมีทั้งบริษัทที่เป็นลูกค้า บริษัทที่เป็นผู้ผลิต/เขียนโปรแกรม แล้วก็อาจารย์ที่สนับสนุนให้เด็กทำงานให้บริษัทเหล่านี้ ก็น่าสนใจครับ คงเริ่มยากหน่อย แต่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์
ความรู้ที่เป็นภาษาไทย - หากมีโปรเจ็คทำนอง - ทำการบ้านลง Wiki แบบเมืองนอก ก็น่าสนมากๆ แต่อันนี้ก็เริ่มที่อาจารย์ อาจจะเกินกำลัง (เพียงแต่อาจารย์ที่ใส่ใจหน่อย จะทำได้อย่างไม่ยากเย็นเท่านั้นเอง) แต่หากเริ่มที่หน่วยงานกึ่งรัฐได้ และสนับสนุนให้เอกชนมาแชร์กันได้ คงน่าสนใจมาก (เพราะจริงๆ ก็มีการเขียนหนังสือขายกันบ้างอยู่แล้ว)
บริษัทมีการรวมตัวกันเพื่อจัดสัมมนา อันนี้ลำบากได้แต่ประโยชน์กันหลายฝ่าย กระนั้น เมืองไทยมีวัฒนธรรม "เจ้าภาพ" อยู่เยอะ ไม่มีเจ้าภาพก็เกิดยาก
จากเหตุผลดังกล่าว สุดท้ายสังคมไทยไม่ควรมี "ฮีโร่/เจ้าภาพ" เพราะมันทำให้คนปลาบปลื้มเพ้อเจ้อ แต่ก็ไม่แน่ว่า ระยะสั้น ฮีโร่/เจ้าภาพ เหล่านั้นจะทำให้คนลุกขึ้นมาทำอะไรบ้าง (เช่นมาตีเทนนิส ซักเดือน) และหากมีการสานต่อที่ดี คงดี (หรือไม่แน่ว่า การอกหักจากฮีโร่บ่อยๆ คนไทยอาจจะเรียนรู้และพัฒนา? หากเป็นอย่างนี้ ก็ไม่ต้องทำอะไรโดดเด่น รอเวลาไปเรื่อย)
แต่หากการมีฮีโร่จะเป็นประโยชน์ ทางพวกเราก็จงร่ำรวยและเป็นฮีโร่กันเถิด (ด้วยความสุจริตนะ) เผื่อเด็กไอทีอื่นๆอยากจะตั้งใจทำงานกันบ้าง
ฮีโร่ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าภาพ ฮีโร่ในความหมายของผมคือ คนที่คิดดี ทำดี ไม่จำเป็นต้องรวย ไม่ต้องเด่น ใช้เป็นตัวอย่างในชีวิตได้ เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กรุ่นใหม่ได้ ฮีโร่ในใจแต่ละคนอาจจะต่างกัน ขึ้นกับมุมมอง สุดท้ายแล้วทุกคนก็ต้องเป็นฮีโร่ของใครบางคน
ฮีโร่ไม่จำเป็นต้องเสียสละเพื่อสังคม ฮีโร่คือคนธรรมดา ทุกคนคือฮีโร่
เหมือนนิกกี้หรือเปล่า
ขำ ๆ นะ
แต่ว่าถ้ามัวแต่รอฮีโร่ ไม่ช่วยตัวเอง คงไม่เวิร์คเท่าไร ฝรั่งเค้าว่า "พระเจ้าจะช่วยเฉพาะคนที่ช่วยตัวเองเท่านั้น" เราต้องสร้างฮีโร่ด้วยตัวเองนะครับ \(@^_^@)/ M R T O M Y U M
จริงๆ ผมก็มีโครงการในใจไว้บ้างแล้ว เพียงแต่อยากได้ความเห็นที่ไม่ถูกชักจูงเลยรอไว้ก่อน ตอบเท่าที่เสนอมา
ผมว่าฮีโร่เป็นสิ่งจำเป็น อย่างตอนคุณปรเมศวร์ขาย Sanook ได้หลายตังค์ ก็มีคนจำนวนมากหันมาสร้างเว็บเพื่อหวังผลแบบเดียวกัน ปัญหาคือฮีโร่มีน้อยเหลือเกินต่างหาก
ส่งสัยต้องทำระบบโปรเจคแห่งชาติละมั้ง จริง ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับสาขา ไอที อย่างเดียว แต่เป้นทุกสาขาที่มีโปรเจคจบ ที่ต่างมหาลัยบางทีจะทำงานที่ซ้ำกัน ซึ่งพอเวลาชี้แจ้งต่ออาจารย์ที่ปรึกษาก็ได้รับคำตอบแบบให้แข่งกัน ใครดีใครอยู่ไป และบางทีก็ไม่ยอมร่วมมือกับมหาลัยอื่นที่ทำงานเหมือนกันและคล้ายกัน เพราะกลัวว่าจะโดนก๊อปปี้ความคิดไป
molecularck โม-เล-กุล่า-ซี-เค
sci news on foosci.com
http://www.digimolek.com
วิธีการง่ายๆ แต่ practical ที่ผมนึกออก
เรื่องโปรเจคไม่ได้เป็นเพียงเฉพาะระดับมหาวิทยาลัยครับ ลองไปดูโครงงานของเด็กระดับมัธยมดูก็ได้ บางโครงงานเวียนกันส่งมาตั้งแต่สมัยผมยังเรียน ปัจจุบันก็ยังมีส่งกันอยู่ แถมบางทีเอาไปประกวดสัปดาห์วิทย์ ดันผ่านเข้ารอบซะอีก -*-
ผมลองสรุปปัญหาคร่าวๆ ดูนะครับ (เน้นของมัธยม เพราะของมหาวิทยาลัยมีคนพูดไปหมดแล้ว)
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
ความต้องการในตลาดแรงงาน - ไม่หลากหลาย ควรจะมีทั้งทางกว้างและลึก เช่น device driver development, telecommunications ไม่ว่าบน platform ไหน ไม่ใช่แค่ web-database ทำงัยอะให้ตลาดมันกว้างกว่านี้
อุปสรรคในเรื่องภาษา - ตัวเราเองควรจะขจัดอุปสรรคข้อนี้ให้ได้ เพราะเราเดินตามเทคโนโลยีต่างชาติ
เงินทุน - ผมมีใจนะ แต่ผมก็มีครอบครัวต้องเลี้ยงดู งานหลักก็ต้องทำ ส่วนที่อยากทำก็ต้องหาจ๊อบมาทำเพื่อต่อยอดงานตัวเอง เมื่อไรจะเสร็จ จะทันความต้องการของตลาดมั้ย
ชุมชน - เห็นหลายชุมชน เริ่มคนเยอะก็เริ่มทะเลาะกัน(เก่งมั่ง เกรียนมั่ง) จนรู้สึกว่าเป็นธรรมชาติของคนไทยไปแล้ว ทำงานใหญ่ไม่ได้หรอกแบบนี้ ก็ทำจากเล็กๆไปก่อน
คน - พวกที่อยู่ที่นี่ที่คิดเรื่องแบบนี้เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของคนไอทีทั้งหมด คนส่วนใหญ่คิดแค่ว่าจบมาทำงาน 1 ปีต้องเป็น senior อีกสองปีต้องเป็น team leader อีกสองปีต้องเป็น manager แล้วก็จบแล้ววงจรชีวิตนักพัฒนา รึเปล่า (เพื่ออนาคต เงิน?)
มันพึ่งพาใครไม่ได้จริงๆ แหละ
ผู้ใหญ่ที่สั่งงานแต่ละคน บางคนเช็คอีเมล์ยังไม่เป็น เว็บยังไม่เล่น
แล้วจะไปเอาอะไรกันละ จะเข้าใจไหม?
คนวิจารณ์ดนตรี ถ้าไม่เคยเล่นดนตรี ไม่ฟังดนตรี
แล้วจะเข้าใจในความไพเราะของมันไหม?
มันยาก แต่ว่าจริงๆ แล้วผู้ใหญ่ต้องเริ่มเข้าใจได้แล้วว่า
อายุ หรือ ตำแหน่ง มันไม่ได้ช่วยให้งานด้าน it มันก้าวหน้าได้เลย
เปิดโอกาสให้คนมีประสบการณ์ คนเชี่ยวชาญด้าน it ดีกว่า มาผลักดันด้านเนี่ย
อะ ผมพูดเลยละกัน
ผมอยากเห็นคนอายุ 40 ต้นๆ ที่เชี่ยวชาญทางด้าน IT มาเป็น รมต. กระทรวง ICT ครับ
มาผลักดันวงการ IT ด้วยวิสัยทัศน์ของคนรุ่นใหม่ซะที
ไม่ใช่เอาแต่คนแก่ๆ ที่ไม่รู้เรื่องด้านนี้เลยมาเป็นผู้นำด้าน IT ครับ ..
ผมว่า ถ้าเริ่มต้นจากวิสัยทัศน์ดีๆ ของประเทศแล้ว
ต่อจากนั้น น่าจะมีแต่สิ่งที่ดีๆ เกิดขึ้นในเมืองไทยนะ :)
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
ผมคิดว่ายังเข้าใจเป้าหมายของผมไม่ตรงกันเท่าไรนะครับ
เป้าหมายของผมในกระทู้นี้คือเลิกพูดถึงกระทรวงไอซีทีหรือภาครัฐไปอย่างสิ้นเชิง (เพราะว่าภาครัฐจะไม่มีความสำคัญเลย ถ้าเราคิดพึ่งตัวเอง)
เห็นด้วยครับ ผมเองไม่เคยจะคิดพึ่งอยู่แล้วครับ ภาครัฐ ผมคิดว่าที่ IT ในได้เราได้มาได้ถึงระดับในทุกวันนี้ ล้วนมาจากการเพิ่งตัวเองซะส่วนใหญ่ หรือไม่ก็เอกชน สนับสนุน ครับ
ก็น่าภูมิใจไปอีกแบบที่ภาครัฐไม่ค่อยได้สนับสนุนอะไรมากมายพวกเราก็มากันได้ระดับหนึ่ง แต่มองอีกมุมก็อิจฉาเพื่อนบ้านเราอย่าง มาเลย์ ที่ภาครัฐเค้าเอาจิงเอาจังเหลือเกินอะไรๆก็รวดเร็วไปหมด เช่น Cyberjaya ก็ออกมาให้เห็นเป็นตัวเป็นตนแล้ว ไม่เหมือนบ้านเราขายฝันพูดไปเรื่อยเปื่อย ไม่รู้จำ สคริปต์ ใครมาพูดอะเปล่าเห็นแล้วเหนื่อยใจ
Prasert's Blog
เห็นพูดกันถึงเรื่องเงินทุน.. ผมอยากเรียกคำนี้ว่าเป็นอุปสรรคของโครงการด้วยซ้ำ เพราะมักจะทำให้โครงการล้มได้ง่ายเมื่อขาดเงินทุน หรือเงินหมด โครงการชุมชนที่ดี ควรอยู่ได้โดยไม่พึ่งพิงเงินทุนเลยด้วยซ้ำ (แต่ไม่ได้หมายความว่าปฏิเสธเงินทุน ถ้ามีมาก็ดี ไม่มีก็ไม่ตาย ประมาณนั้น)
สิ่งที่โครงการชุมชนต้องการตามลำดับจากมากไปน้อยคือ
ทำไมถึงว่าเงินทุนจำเป็นน้อย? อย่าลืมว่าผมไม่ได้พูดถึงโครงการฉายเดี่ยว หรือการลงทุนของบริษัท แต่กำลังพูดถึงโครงการชุมชนแบบโอเพนซอร์ส ที่แต่ละคนเสียสละคนละนิด มาช่วยกันดูแลโครงการ เหมือนที่ mk พูด ว่าเขียนคนละ 4-5 บรรทัด ก็ได้หนังสือเป็นเล่มแล้ว ถ้านี่เป็นการเจียดเวลาว่างของแต่ละคนมาทำ ก็ไม่เห็นว่าจะต้องใช้เงินทุนอะไร นอกเหนือจากการลงทุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน (เซิร์ฟเวอร์, ชื่อโดเมน, wiki) เท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นว่าควรตัดประเด็นเรื่องเงินทุนออกไปเลยครับ ถ้าคนในชุมชนร่วมแรงกันมากพอ สุดท้าย มันจะกลายเป็นแค่ภาระในการบริหารให้โปร่งใสเสียด้วยซ้ำ
ข้อ 0 ควรจะเป็นความสม่ำเสมอนะ และความเป็นเอกลักษณ์
บางคนทำ 10 อย่าง ไม่มีความเคลื่อนไหวเลยเป็นเดือน ๆ ซะ แปดอย่างก็ไม่ได้
10 อย่างทำมั่วไปหมด ก็ไม่ดี
สักพักไปทำอย่างที่ 11 แล้ว ทำไมก็ไม่รู้
เขียนหนังสือหนึ่งเล่มเกินสามคน ก็ต้องแบ่งเป็นภาค ๆ แล้ว ไม่งั้นตีกันตาย
แต่ตามแก้ไขสำนวนคำพูดให้เป็นไปแนวทางเดียวกันก็บ้าตายแล้ว
นั่งแปล It's not so short ... เวอร์ชันล่าสุด เอาของเก่ามาเพิ่มเติมได้สามวัน
เขียนใหม่หมดเร็วกว่า (เพราะสำนวนไม่เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าแปลไม่เหมือนกัน)
ตอนนี้จะเสร็จบทสามแล้ว เหลืออีกสามบท ว่าง ๆ จะส่งไปขอความเห็น
นิสัยคน(ทั่วโลก) ชอบวิจารณ์มากกว่าร่วมมืออยู่แล้ว นั่งเขียนเว็บเกี่ยวกับ LaTeX
สามปีได้แล้วมั้ง มี สองสามคนที่มีส่วนร่วมต่อยอด ที่เหลืออ่านอย่างเดียว ที่บ้าบอ
ที่สุดมีอาจารย์สายคอมฯ เป็น ดร. อยู่ ม. ชื่อดังทางภาคใต้ ลอกไปทั้งบทความเลย
ไปแปะเว็บตัวเอง ไม่อ้างอิงด้วย ถ้าเรื่องอย่างนี้แก้กันไม่ได้ก็ไม่ต้องไปคิดทำอะไร
หรอก
ไอ้ข้อสอง น่ะ พูดไปก็เป็นเรื่องที่ยากที่สุด หรือว่าไม่จริง
เห็นด้วยว่าหนังสือมันไม่ได้เขียนง่ายขนาดนั้น
ผมยกตัวอย่างในเชิงปริมาณงานครับ ไม่ได้จะให้เขียนหนังสือด้วยวิธีนี้ตรง ๆ
ยกตัวอย่างให้เห็นว่าข้อสอง มันยากมาก ๆ นะ ตรงประสานงานน่ะ
ตัวเทคโนโลยีโดยมากไม่ได้ยากอะไร ที่จะยากคือทำไงให้คนมาใช้ให้คุ้มค่ามากกว่า
โรงเรียนไง การพัฒนาต้องพัฒนาตั้งแต่ยังดัดง่าย
เริ่มที่โรงเรียนก่อน ปลูกฝัังค่านิยมที่ถูกต้อง
ให้เด็กรักการพัฒนาและต่อยอด มากกว่าแบมือใช้ของเถื่อน
Kohsija
ปัญหาคือเราไม่สามารถสั่งการโรงเรียนได้ ถ้าจะเอาในวงกว้างก็ต้องอาศัยกระทรวงศึกษา กลายเป็นโมเดลพึ่งพารัฐไปเสียอีก
ผมเชื่อว่าเรื่องใช้ของเถื่อนต้องเริ่มที่ตัวเองและคนรอบข้างเท่านั้น
ตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์ opensource ร่วมกันหรือจัดโครงการให้ความรู้ด้านไอทีกับสังคมจะดีไหมครับ และมีการแบ่งงานและจัดการกับโครงการอย่างจริงจัง ไม่ปล่อยให้เคว้ง สมาชิกต้องทำการตกลงกันให้ดีก่อนเพราะช่วงแรกก็คงต้องใช้แรงใจกันน่าดู แล้วหลังจากนั้นค่อยหาสปอนเซอร์มาสนับสนุนหรือดำเนินการในรูปแบบธุรกิจมากขึ้น (อย่างว่าล่ะครับ เงินทองก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้) ผมคิดว่าอย่างน้อยถ้าเราจัดตั้งกลุ่มที่ทำงานตรงนี้อย่างจริงจังขึ้นมา อย่างน้อยก็น่าจะช่วยผลักดันวงการได้ครับ
กลุ่มมีเยอะแล้วแต่ไม่มีคนครับ ถ้าสนใจลองดู
เริ่มได้ทันที เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องรอ
กลุ่มที่ว่านี่ไม่ได้เป็นกลุ่มเฉพาะทางแบบกลุ่มที่มีครับ อาจเป็นกลุ่มที่มีแนวคิดเกี่ยวกับ opensource เป็นหลักและรวบรวมโปรเจคท์ต่างๆที่กระจัดกระจายมาไว้ที่เดียว (อารมณ์ประมาณ sourceforge) กลุ่มที่มีอยู่ตอนนี้ผมมองว่ามันยังกระจัดกระจายน่ะครับ ถ้ามีกลุ่มนึงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางน่าจะทำงานกันง่ายกว่า
อ้อ งานที่ทำคงไม่ใช่แค่เพียงเรื่องการพัฒนาโปรแกรมอย่างเดียวแต่ต้องมีเรื่องการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับไอทีรวมถึงการจัดการกลุ่มที่ดีด้วยครับ
(mk คงไม่ได้เจาะจงเฉพาะ blognone นะ)
เห็นด้วยเรื่องการต่อยอด อย่างโปรเจ็ก blender นี่ เอามาทดแทน software แพงๆ ตัวอื่นในอุตสาหกรรมนี้ได้สบาย อยากได้อะไรเพิ่ม ก็เขียน plug-in เข้าไป เมื่อใช้ต้นทุนน้อยลงคงมีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศมากขึ้น
แต่ผมว่ายังงัยทุกอย่างมันต้องมีดีมานต์ ซัพพลาย ถ้าเราทำให้เกิดความต้องการได้ คนหันมาสนใจ มาใช้ แต่คนดูแลใช้ได้แต่เพียงเวลาว่างเอามาทำหรือซัพพอร์ต ไม่นานคนก็เลิกใช้เพราะไม่ทันต่อความต้องการ
แต่ก็น่าสนใจว่า การที่ช่วยกันมาทำคนละนิดเนี่ย ระบบนี้มันทำได้จริงมั้ย
เสนอ 1 กิจกรรมครับ
กิจกรรม แบบวัดมาตรฐานความสามารถด้าน IT
ที่มา เราตั้งสมติฐานว่าระบบวัดผลของมหาวิทยาลัยไม่ประสบความสำเร็จเพราะดันปลอยคน ที่ด้อยความสามารถออกมา ผู้เรียนพยายามทำตามมาตรฐานของการวัดผลนั้นให้ดี เพื่อให้จบการศึกษา ซึ่งทำให้เกิดระบบนกแก้วขึ้น ถ้าเรามีระบบวัดผลที่ตรงกับความต้องการของภาคเอกชน ทั้งมหาวิทยาลัย และนักศึกษา จะสามารถกวดวิชาได้ตรงจุด และเริ่มได้มาตรฐานของเรามากขึ้น ถึงแม้จะอ่านข้อสอบมา อย่างน้อยก็ได้ความรู้ตรงกับที่เราต้องการ
แนวทาง
ประมาณนี้ครับ ความตั้งใจคืออยากให้น้องๆ ที่เรียนรู้ว่าอะไรที่ควรจะเรียน แทนที่จะไปหัดใช้ IDE ตัวโน้นที ตัวนี้ที ให้หันมาเรียนรู้เนื้อๆ ดีกว่า
Apirak.com panatkool
เดี๋ยวก็คงมี Testking, ActualTest, TestInside, Pass4sure ฉบับ version ประมาณว่า Blognone's Qualified IT & Software Engineer Certification. แน่ๆ
และมันก็คงจะมี level อย่าง cert ชื่อดัง เป็นตัวย่อประมาณว่า BCSEA (ฺBlognone Certified Software Engineer Associate) -> BCSEP (Professional) -> BCSEE (Expert)
Cert. มันก็วัดความสามารถได้ระดับหนึ่งครับ ..... แต่ ผมก็ไม่แน่ใจนะว่ามันจะเป็นทางออกที่ดี
สำคัญที่แนวข้อสอบของเราด้วยครับ ถ้าจะสอบ Cert. Java ให้ได้ก็ต้องมีความรู้ java ถ้าจะสอบของตัวนี้ให้ได้ ก็ต้องมีความรู้พื้นฐานอาจจะของ com sci หรือ com eng
จริงถ้ามีข้อสอบแบบนี้ผมก็อยากทำด้วยครับ จะได้ความรู้แบบ foundation เพิ่มเติม
กำลังคิดต่อว่าทำอย่างไรให้สนุก เคยคิดโครงการ 10x10 เป็นตาราง ให้เริ่มทำจากโจทย์ด้านล่างขึ้นด้านบน เหมือนเล่นเกมส์ต่อกล่องให้เต็ม ข้อสอบแต่ละชุดมีแค่ 10x10=100 ข้อ ใครสนใจชุดข้อไหนก็เอาชุดนั้นไปทำ
แต่ละชุดเรียงกันประมาณนี้
[11][12][13][14][15]
[06][07][08][09][10]
[01][02][03][04][05]
ถ้าทำไม่ได้ก็มีเฉลยให้เป็นข้อๆ พร้อมสอนไปด้วยเลย ถ้าทำข้อ 03 ไม่ได้ก็จะขึ้นไปข้อ 08 ไม่ได้ (พยายามใส่ความลงไปนิดหน่อย)
เราสามารถเริ่มใน wiki ได้เลย ช่วยๆ กันเขียนโจทย์
Apirak.com panatkool
จริงๆ ผมเห็นด้วยกับแนวทางนี้นะ เรื่องวัดระดับมี SIPA กับ NECTEC จัด ITEE กันมาสักระยะแล้ว เพียงแต่คนได้ certificate มายังไม่มีที่เอาไปใช้มากกว่า
ในนี้มีคน recruit มาอ่านค่อนข้างเยอะ ลองถามหา ITEE เวลารับสมัครงานก็อาจจะช่วยได้บ้าง
1 เดือน 1 ผลิตภัณฑ์ เลยครับ
แนะ นำสอน การติดตั้ง คอนฟิกที่จำเป้น แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น อะไรพวกนี้อ่ะครับ เอาจากตัวเองเป็นที่ตั้งนะครับคือเจอปัญหาแบบ อยากใช้ลินุกซ์แต่ลงไม่เป็น พอลงได้ก็หาเลือกโปรแกรมใช้งานไม่ถูกเนื่องจากเยอะเกิน พอเจอปัญหาก็แก้ยากอีก อยากให้มีโครงการแบบนี้อ่ะครับ คือแรก ๆ ไม่ต้องสนใจหรอกคนที่ไม่สนใจเอาแค่คนที่อยากจะใช้ให้ใช้ได้ก่อน คือเจอเยอะอ่ะครับพวกประเภทอยากใช้แต่ไม่รุ้จะเริ่มตรงไหน อยากให้ทำโครงการสำหรับยูสเซอร์ด้วยอ่ะครับ ขยายฐานผู้ใช้งาน คือยังไงผมก็เชื่อเรื่องชุมชนอยู่นะครับ ถ้าเราใช้เป็นให้ความรุ้ได้แก้ปัญหาให้ได้เดี๋ยวเพื่อนเราก็ใช้ตาม
ผมว่า 1เดือน 1 ผลิตภัณฑ์เนี่ยถ้าทำได้จริง ๆ ปีนึงเราก็จะลดการละเมิดลิขสิทธิ์ลง 12 ตัวช่วงแรกคนใช้อาจจะน้อยแต่ถ้าชุมชนเราแข็งแรงเดี๋ยวมันก็ใหญ่ขึ้นเองอ่ะครับ
ตอนนี้ที่อยากได้จัด ๆ เลยคือ
1.เปลี่ยนไปใช้ลินุกซ์
2.งานเอกสาร office+pdf
3.เขียนจาวา(ใช้งานแบบ IDE)
4.รับ-ส่งเมลล์
5.ดูหนัง-ฟังเพลง
6.อื่น ๆ ค่อยว่ากัน
ผมว่ายูสเซอร์ทั่ว ๆ ไปก็คงต้องการอะไรไม่มากนักคงใช้เวลาไม่นานในการย้ายไปใช้โอ่เพ่นซอร์ส(สำหรับคนที่อยาก)
อยากให้มีที่ ๆ คนที่เข้ามารุ้สึกว่ามีส่วนร่วมครับ เป้นชุมชนของเราแบบที่ Blognone เป็น
เรื่อง usergroup ทาง Ubuntuclub มีจัดกิจกรรมอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่ค่อยมีคนไปครับ งาน developer ผมก็เห็นทาง Narisa จัดกันอยู่เรื่อยๆ อีกเหมือนกัน
ประเทศนี้โดนคำสาปครับ
NERD GOD
ไม่ใช่เหตุผลที่จะไม่ทำอะไรนี่ครับ
ก็เรากำลังแก้คำสาปอยู่ไง
NERD GOD
ไม่ว่าจะทำแผนการอะไรก็ตาม (เท่าที่อ่านดู มีพูดถึงเรื่องแปลองค์ความรู้เป็นภาษาไทย, open source, wiki, เกี่ยวกับ project ของนักศึกษา)
ควรคิดถึงแนวทางของทุนนิยมควบคู่ไปด้วยในทุกๆ ขั้นตอนของแผนการนั้นๆ
ง่ายๆ คือ ต้องเอาปัจจัยทางเศรษฐกิจ เป็นตัว drive ตลอดกระบวนการ ตั้งแต่ผู้พัฒนาไปยัน user
เพราะเราอยู่ในโลกของทุนนิยม
และเห็นด้วยอย่างมาก ที่ไม่ต้องไปคิดถึงความช่วยเหลือจากภาครัฐ
เพราะในความเป็นจริง รัฐจะเข้ามาช่วยเหลือ ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นๆ มันมี effect ในเชิงเศรษฐกิจเท่านั้น
เห็นด้วยครับ ให้ win-win เพราะยังไงก็ต้องมีทุน
ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาเช่น Eclipse by IBM, Netbeans by SUN หรือ Ubuntu by Canonical ฯลฯ
จะเห็นว่า software ระดับโลกพวกนี้ล้วนมีผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลังทั้งนั้น โดยจะเป็นไปในแนวทางที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
ขาดการโฆษณา ที่ดีด้วยหล่ะครับ
หลายโครงการของรัฐดีๆ ก็รู้กันแต่วงแคบๆ
We are end-users.
"อยากได้ต้องทำเอง" นี่ผมว่าน่าสนใจดีครับ แต่มันติดตรงที่ว่าเราอยากจะได้อะไร? และอยากจะทำอะไร? มากกว่า
สั้นๆง่ายๆเลย
แต่ทั้งปวงนี้ต้องเริ่มมาจากคนๆนึงมีไอเดียสุดบรรเจิดแล้วเอามาระดมหัวกันเพื่อคั้นเอา 3 ข้อดังกล่าวออกมา ดังนั้นพ่อหัวเริ่มต้นต้องยอมมอบแนวคิดแบบไม่งกให้คนอื่นๆเหมือนคนสร้าง Linux ขึ้นมานั่นแหละ
ว่าแต่เราอยากจะทำอะไรกันดีล่ะ? ^_^
ผมเสนอตาม comment #60027 ครับ
Apirak.com panatkool
จากที่อ่านๆมาเริ่มที่ตัวเราก็ดีแต่ที่ผมว่าเราทำได้และทำได้ง่ายกว่าการพึ่งพากระทรวงคือการที่ Blognone บุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยหรือเพื่อหา Project ให้น้องๆทำเช่นว่าถ้าเขายังคิดไม่ออกเราก็เสนอ Project ที่เขาสามารถนำไปต่อยอดในการทำงานในเชิงอุสาหกรรมไม่ใช่อะไรก็ Database ผมว่าหลายๆคนในนี้จบมาด้วย Project Database ผมก็เหมือนกันดังนั้นเมื่อเราทำไปสักปีสองปี เราอาจจะเป็นศูนย์กลางที่นักศึกษามาชุมนุมกันและเราก็จะใช้ Community นี้หลอมคนออกมาให้มีคุณภาพมีวัฒนธรรมการการทำงานหรือการใช้ Software ที่มีประสิทธิภาพให้มองว่าใครคือผู้ถือสิขสิทธิ์ถ้าจะใช้ต้องเสียเงินถ้าไม่อยากเสียเงินก็ใช้ Open Source ไม่งั้นก็เขียนขึ้นมาใช้เอง เพราะเราก็มี โครงการหา Project ให้น้องๆอยู่แล้วอาจจะขยายช่องทางนี้ให้มากขึ้นกว่าเดิม
ปล.. ผมเสนอตาม comment #60027 ด้วยคนครับ
เรื่องบุกไปมหาวิทยาลัยเป็นอะไรที่ผมกับลิ่วคิดกันไว้นานแล้ว ปัญหาคือผมไม่มี contact ของมหาวิทยาลัยอื่นนอกจากเกษตร (ซึ่งสุดท้ายมันก็จะวนๆ อยู่แค่นั้น) ถ้าผู้อ่านท่านใดอยากให้ Blognone บุกไปมหาวิทยาลัยตัวเอง ก็ฝากเชิญ อ. ที่น่าจะสนใจมาอ่านกระทู้นี้ แล้วติดต่อมาที่ผมโดยตรงได้เลยครับ
ผมอ่านที่ post มาแล้วเป็นความเห็นดีๆมากมายครับ อ่านแล้วรู้สึกมัน ขอแจมด้วยนะครับ
ผมมีโอกาศร่วมงานทางภาครัฐมาพอควร ต้องบอกว่าประสบการณ์คล้ายๆคุณ mark ปัญหา คือ พอสูงถึงจุดหนึ่งในบ้านเราทุกอย่างกำหนดจากการเมืองครับ ไม่ใช่ความสามารถ ผมว่าในระบบรัฐมีคนดีอยู่ครับ อย่าเพิ่งหมดหวัง เพียงแต่ท่านเหล่านี้ไม่ได้เป็นใหญ่ถึงระดับกำหนดนโยบาย นั่นคือปัญหาที่ทำให้เรามีปัญหาครับ
ตอนนี้ไทยเหมือนตอนกรุงศรีอยุธยาแตกขึ้นทุกที ไม่ใช่เรารบพม่าไม่ได้นะครับ แต่ข้าราชการที่มีความสามารถไม่เคยได้ทำงานเลย ที่ห้อมล้อมพระเจ้าแผ่นดินเล่นการเมืองกันมาหรือยกลูกสาวให้ท่านมาทั้งนั้น ขนาดมือหนึ่งอย่างรัชกาลที่หนึ่งยังๆได้เป็นแค่คุณหลวงบ้านนอกอยู่ราชบุรีเอง ที่จริงพม่าทำคุณอย่างใหญ่หลวง คือ ตอนเผากรุงตัดหัวข้าราชการพวกนั้นไปหมดเกลี้ยง ในภาวะวิกฤติเราถูกบังคับให้จริงจังเลือกคนทำงานได้มาเป็นใหญ่ทำให้ประสิทธิภาพของระบบก้าวกระโดดในแค่สิบปี ผลคือ อีก สิบกว่าปีให้หลัง พม่าบุกมาเก้าทัพใหญ่หลวงกว่าตอนเสียกรุงมาก ถูกเราตีกระเจิดกระเจิงไปเลย ไทยเจริญถึงขีดสูงสุดมาอีกร้อยกว่าปี ดังนั้นอย่าห่วงวิกฤติตอนนี้ เราต้องการวิกฤติเพื่อให้คนไทย ตื่นจากภวังค์เสียทีครับ
ตอนนี้รัฐบาลกำลังร่างแผนแม่บทของไอทีแห่งชาติ อยู่ครับ ผมเข้าไปฟังแล้วมีดีมีเสีย ความเห็นผมอาจจะไม่ตรงกันนักกับท่านที่ร่างแผน ผมมองว่าท่านมองเทคโนโลยีและการใช้งานปัจจุบันออกจะมากไปนิด เรื่องนี้ถ้าพูดจะอีกยาว ผมคิดว่าที่เราขาดบางอย่าง คือ
ถึงตอนนี้ถามว่าเริ่มอย่างไร ผมเสนอว่าทาง blognone สามารถเป็นประสานการทำงานในลักษณะเป็น โครงการ หากมีแต่วิจารณ์ไม่สู่ action งานใหญ่ยากจะสำเร็จครับ
ขอเสนอโครงการแรกเลยครับจะไๆด้มี action ทันที นั่นคือ ให้เป็นทางนี้แกนร่าง "ยุทธศาสตร์ไอทีชาติ 2552-2554 ฉบับประชาชน" ครับ เพราะหากไม่มีแกนยุทธศาสตร์ให้เกาะ เราก็ออกความเห็นแบบกระจายไปเรื่อยยากที่จะทำได้ครับ
ลองมองว่า ในปี 2554 IT ไทยควรเป็นอย่างไร แล้วเราต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะไปถึงนั่น ทำให้สั้นไม่เกิน 20-30 หน้าก็ดี ยาวนักคนจะไม่ค่อยอ่านครับ
ถ้าใครมีไอเดียดีเสนอมาเลยครับ แต่ขอให้เน้นเป็นโครงการที่มีโครงสร้างให้รวมคนลงมือทำได้น่าจะดีครับ
กำลังอ่าน "ฟ้าใหม่" เลยอินกับความเห็นของอาจารย์เป็นพิเศษ :P
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ครับ เราต้องช่วยกันร่าง "แผนยุทธศาสตร์ไอทีแห่งชาติ ฉบับประชาชน" ขึ้นมาเองก่อนนี่จึงจะเข้ากับแนวคิด "อยากได้ต้องทำเอง" ที่สุดเลยครับ
(@^_^@)/
M R T O M Y U M
คิดถึงโปรเจคตอนจบมหาวิทยาลัยที่ตัวเองทำไว้เหมือนกัน
จริงๆ มีอีกหลายตัวที่หลายต่อหลายรุ่นทำเอาไว้
แต่เข้าถึงยาก และส่วนมากเก็บไว้ในห้องสมุดคณะ
คนนอกมหาวิทยาลัย ยิ่งไม่ต้องพูดถึง แทบไม่มีโอกาสเห็น
อยากให้เข้าถึงได้ง่าย และเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไปได้มากกว่านี้...
Kohsija
มีเว็บไหนที่เป็นศูนย์กลางรับอาสาสมัครในโครงการที่ยังขาดคนไหมครับ
บางทีถ้ามีคนที่พาสองกลุ่มมาเจอกันง่ายๆ ก็ดีนะ
Kohsija
ผมคิดไม่ออก แต่ว่ามาใช้ forum ไปก่อนได้เลยครับ
โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เห็นด้วยกับการเปิดข้อมูลทั้งหมดของโปรเจคจบครับ สุดท้ายแล้วมีโครงการจำนวนมากที่เป็นไปได้ในเชิงการค้า แต่ไม่เหมาะกับโอเพนซอร์ส
ผมเสนอประเด็นในระดับ "บริหาร" ไว้แบบนี้ครับ
สำหรับระดับ "ปฏิบัติการ"
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ติดตามอ่านมานาน แต่ไม่เคยเขียน Comment ซะที ต้องถือว่ากระทู้นี้ "ล่อเป้า"สำเร็จ ^__^
Blognone รวม IT Geek ได้ขนาดนี้ถือเป็นปรากฎการณ์ เพราะปกติระดับเทพ ไม่ว่าจะด้านศิลปะ หรือ วิทยาการ นั้นย่อมต้องพก ego กันมาในระดับนึง ไม่ค่อยจะลงให้ใครง่ายๆ
แต่สังคมนี้น่าทึ่งมากตรงที่ เป็นสังคมที่ดี แบ่งปัน สมานฉันท์
ขอออกความเห็นเป็น 1 เสียง รวมกับอีกหลายๆเสียงในนี้นะครับ สิ่งที่ควรทำคือ
ตั้งโครงการที่สำคัญและสามารถ Action ได้จริง ต้องเป็นโครงการที่เป็นที่ต้องการของตลาด เน้นความยั่งยืน มีกิจการรองรับดูแลตัวเองได้ในระยะยาว สังคมไทยได้ประโยชน์อย่างชัดเจนจากการเกิดของสิ่งนี้
ต้องเป็นโครงการใหญ่ อาจจะเริ่มต้นที่ระดับไม่กี่สิบล้านแต่สามารถทำให้ใหญ่ไปที่ระดับพันล้านได้ สมัยก่อนอาจจะใช้เวลานาน แต่สมัยนี้น่าจะเร็วกว่าที่คิด ซึ่งจะทำให้เข้าระดมทุนในตลาดทุนได้ต่อไป พวก VC จะชอบมาก (ทุนนิยมไปไม๊เนี่ย.. ถ้าชอบงานเพื่อสังคมก็ขออภัย)งานใหญ่ๆ จะดึงดูด น่าสนใจ และแบ่งเค้กได้ง่าย เพราะเค้กก้อนใหญ่ต่อให้หารเยอะยังไงก็ยังใหญ่อยู่ดี
เห็นด้วยกับ mk หากโครงการดี มีดรีมทีมที่ทำสำเร็จได้จริง เรื่องเงินไม่ใช่ปัญหา
คนที่มาร่วมทีม หากมีประสบการณ์เคยทำงานสำเร็จ หรือ เคยทำอะไรเจ๊ง มาแล้ว จะดีมาก (มือใหม่ต้องมาศึกษาดูก่อนอย่าใจร้อน)
อย่าเล็งผลเลิศตั้งแต่งานแรก เอาให้สำเร็จแล้วจากนั้นจะมีโครงการดีๆเกิดตามมาได้อีกเป็นเบือ
หลักการที่อยากแชร์มีแค่นี้ครับ ส่วนจะเป็นอะไรนั้นเดี๋ยวคงมีคำตอบโผล่มาล่ะครับ
ผมว่าคุณ poramate ให้ข้อคิดที่ดีนะครับ การเริ่มถ้ามีโครงการดีแล้วหาเงินทุนได้ไม่ยาก เหลือแต่ลงมือทำละครับ ทำอะไรกันดี ลอง list ไอเดียออกเป็นโครงการไหมครับ
แจมด้วย เสนอพัฒนา Framework สำหรับสร้าง Web Application โดยพัฒนาสนับสนุนความต้องการพัฒนาต่อยอดของ Developer ในเมืองไทย เอาของ Opensource มาต่อยอดก็ได้
แล้วทีมก็พัฒนา Extension ต่างๆ เพิ่มเข้าไป ตามความสนใจของแต่ละทีม น่าจะทำให้เกิด Effect แนวกว้างไ้ด้ดีกว่าทำเฉพาะเจาะจงระบบใดระบบหนึ่ง
กำลังจะบอกว่าทำอย่าง Joomla หรือ Dupal เนี่ยแหล่ะ คือทำ Framework สำหรับ Web Application ให้สำหรับนักพัฒนาโปรแกรมในเมืองไทย เห็นที่ทำๆ กันอยู่ มันไม่ค่อยจะมี Effect เท่าไหร่ ออกแนวเงียบๆ
อย่าง Joomla ยังเอา Mambo มาต่อยอด ไปมาๆ กลายเป็นสายพันธ์ใหม่ไปแล้ว แล้วทำไมเราไม่เอาของพวกนี้มาทำ่ต่อล่ะ อย่าบอกว่าในเมืองไทยมีคนทำอยู่แล้ว เพราะใครอยู่ในแวดวงนี้ก็จะรู้ว่าไม่ค่อยมีอะไรให้จับต้องได้นอกจากแปลภาษาไทย
มีคนไทยทำพวก framework อยู่หลายคนครับ แต่ทำใช้กันเองมากกว่า เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำ document กันเลยไม่แพร่หลายครับ (แบบผมเนี่ย T_T)
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
ว่างพักเที่ยง เลยมาขยายความอีกนิดนะครับ
ผมกำลังจับตามองโมเดลการเติบโตของ อูบุนตู มันน่าสนใจจริงๆ
ตอนแรกๆก็ทำเป็นมูลนิธิสนับสนุน แต่มันไม่ยั่งยืนจริง คาดว่า องค์กรไม่แสวงกำไร น่าจะสนับสนุน FOSS ได้แค่พอเป็น Seed Money 1-3 ปีเท่านั้นเพื่อให้มันตั้งไข่ได้โดยไม่ล้ม จากนั้น Long Term Support (LTS) เป็นไปได้โดยบริษัทที่เป็น Service Company มาสนับสนุนต่อ คุณ dome เล่าให้ผมฟังว่า Ubuntu มันใช้เงินดันจนเกิด เยอะมากๆ ไม่ได้ปล่อยให้โตไปแบบตามมีตามเกิด แต่มี "ผู้ประกอบการ" ที่บ้าดีเดือด คอยตะล่อมๆ ผลักดัน Developer Community อย่างมีทิศทางและ Aggressive เพื่อให้มันพัฒนาไปเร็ว ไม่ใช่ทำกันไปตามมีตามเกิด (ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง) ซึ่งวิธีนี้เป็นนวัตกรรมใหม่จริงๆน่านับถือมาก
สิ่งที่ได้คือ Ubuntu และ Opensource software ตลอดจนองค์ความรู้สาธารณะอีกมากมายที่ต่อยอดได้อย่างไม่รู้จบ จนหลายๆค่ายที่เป็น Commercial มองดูการเติบโตของโมเดลนี้ด้วยความสยอง (555)
ผมไม่ชวนให้พวกเรามา Anti โปรแกรม Commercial นะครับ แค่จะชวนเปิดทางเลือกใหม่ๆให้คนรุ่นต่อไปเท่านั้น ดีกว่าถูกผูกขาดทางความคิดกันไปเรื่อยๆ แต่สุดท้ายก็เป็นความสมัครใจของผู้ใช้ครับว่าจะเลือกใช้ระบบไหนที่จะเหมาะสมกับตัวเขาเอง ของแบบนี้ไม่มีผิดไม่มีถูก
ผมเองคิดว่า ภาครัฐเป็นกำลังสำคัญๆ ให้ในหลายประเทศ จุดประกายให้คนในประเทศของเขาดึงศักยภาพออกมาทำอะไรก็ได้ที่ตัวเองถนัด เพราะลงท้ายแล้วสิ่งของเหล่านั้นล้วนแต่ "ทำกำไรคืนให้ชาติ" ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งทั้งสิ้นแต่ประเทศเราพึ่งพารัฐไม่ได้เลยครับ ยิ่งเรื่องในเชิงไอทียิ่งไม่ต้องพูดถึงผมเสียดายที่เวลาเราเลือกตั้ง คนในประเทศเราก็ยัง put the right man into the right job กันไม่ได้สักทีไม่ว่าจะพยายามมากแค่ไหนก็ตาม
จริงๆ คนไม่เก่งได้ขึ้นไปบริหารประเทศชาติไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจหรอกครับ ถ้าคนนั้นยอมรับตัวเองได้แล้วหาคนที่เก่งกว่ามาช่วย (ที่ไม่ใช่ summon พวกเดียวกันเข้ามารุมกินโต๊ะน่ะครับ)เมื่อนั้นประเทศไทยคงไปไหนต่อไหนได้ไกลขึ้นอีกเยอะเลยครับ
นำเรื่องนี้ตั้งเป็นหัวข้อใน BarCampBKK2 เลยครับ
ไม่ค่อยอยากให้มองในประเด็นที่ใหญ่มากนักในช่วงแรก คือแนวคิดที่ว่า "อยากได้ต้องทำเอง" เนี่ย มันเริ่มได้จากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ รอบตัวเรา ถ้าอะไรที่ทำได้ไม่ยาก ใช้เวลาไม่นาน ก็ลงมือทำเลย คิดมากไปแล้วไม่ได้ทำเสียที
ในความคิดผม อยากให้มีโครงการแบบ jibjib ของ sugree หรือ PHP framework ของ FordAntiTrust ออกมาเยอะๆ ทำเองคนเดียวในช่วงแรกก่อน แล้วเอามาปล่อยในชุมชน ใช้โมเดลของ opensource ถ้ามันน่าสนใจก็จะมีคนมาช่วยทำเอง
การจัดการช่วงแรกมันอาจจะ ad-hoc ไปบ้าง แต่ผมว่าการไปทำให้มัน well-organized ตั้งแต่แรกมันมี overhead สูงเกินไป
pittaya.com
pittaya.com
ประเด็นนี้คงไม่ต้องคิดมาก ทำขนานกันไปได้ คนที่วางโครงสร้างก็วางไป อาจต้องใช้เวลาหน่อย ส่วนเราๆ ที่เขียนตะลุยดะก็เขียนต่อไป เมื่อโครงสร้างพร้อมก็จะมีที่นั่งใหม่เท่านั้นเอง
เห็นด้วยกับ @pitaya ครับ
โครงการใหญ่ๆก็น่าทำ ผมว่าในระดับล่างแล้ว คนไทยจะมีแนวโน้มรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งพออยู่บ่อยๆ ซึ่งโดยความเห็นส่วนตัวผมว่าไม่จริงเลย แต่คือโอเคปริมาณมันอาจจะเทียบกับจีน อินเดียไม่ได้ (แน่ล่ะ คนเขามากกว่า) คงต้องมีกระบวนการบางอย่างที่จะรณรงค์ให้มาลบล้างความรู้สึกนี้ออกไป
ผมคิดเล่นๆนะ จริงๆถ้าให้เด็กปี 4 ทุกคนบังคับทำโปรเจ็คเป็น open source (ไม่ต้อง GPL ก็ได้) แล้วเอาขึ้น SF หรือ Gcode ให้หมด ไม่ต้องไปสนเรื่อง quality ป่านนี้อาจจะมีอะไรงอกงามจากตรงนั้นบ้าง แต่เด็กส่วนใหญ่มากจะคิดว่า ไม่ไหว อาย ไม่อยากเอาโค้ดขึ้น ตรงนี้อาจจะช่วยเรื่องแชร์ความรู้เรื่อง project ปี 4 ได้ด้วยไปในตัว
หรือจะมีอะไรง่ายๆทำนอง Blognone Winter of Code (??) สำหรับปิดเทอม 1 เอาโครงการซอฟต์แวร์ (อาจจะไม่เป็น open source ก็ได้) ที่เป็นของไทยหรือไทยไปเกี่ยวข้องอยู่บ้าง มา post ดูว่าอยากให้มีใครช่วยทำอะไรๆไหม
แต่ผมไม่อยากให้แค่ list open source project ของคนไทยนะเพราะเห็น list ไปหลายทีแล้วก็คงเบื่อๆกันน่ะครับ
พัฒนาสามทางครับ
ผู้ใช้ : สร้างนิสัยการใช้ Software อย่างมีคุณภาพ - มีกี่โรงเรียนที่สอนนักเรียนใช้ Open-Source และไม่ใช้ Software เถื่อน ?
สร้างรากฐานของ Demand ที่ดี ... บ้านเรายังเปิด Camfrog เพื่อดูคนเต้นแก้ผ้ากันครับ
เลิกปัญญาอ่อนกับค่านิยมที่ว่า Product ในโลกนั้นมีเพียงอย่างเดียว มีแต่ไฟล์ DOC และ Jpeg และ MP3 มีระบบปฏิบัติการเดียวในโลกคือ Win XP และกล้องถ่ายรูปที่ดีที่สุดต้องมี Mega Pixel ที่สูงที่สุด ... มันเป็นค่านิยมจากการตลาดที่ไร้สาระและทำให้คนไทยมัวมอมเมาไปกับอะไรก็ไม่รู้
บุคลากร : ปลูกฝังวิสัยการทำงานที่สร้างสรรค์ ไม่ต้องไปออกันอยู่ ณ จุดหนึ่ง ... ตอนนี้คนทำเกมส์มือถือมีล้นตลาด แต่คนทำ Application อื่นๆกลับหาได้น้อย
สร้างความเป็นมิตรของอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงที่สุดอาจจะเป็นเรื่องยากหน่อย แต่มันก็ทำได้ ...
สร้างพื้นฐานของการรักฝรั่งให้ถูกทาง ... เราไม่จำเป็นต้องแอนตี้เค้า แต่เราต้องเอาของที่เค้ามีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ที่สุด แล้วก็ Contribute กลับไปที่สังคมโลก
เลิกบ้ากันแต่ในคนวงเดียวกัน ... มองภาพไปถึง User บ้าง ผู้ใช้หรือคนที่ไม่เคยแตะคอมบ้าง ... เราอาจจะนั่งเถียงเรื่องผลักดันวงการ ICT แต่เราก็ยังไม่เคยฟังเสียงส่วนใหญ่ของประเทศที่เค้าไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่า MSN กับ Hotmail ... เค้ารับอะไรที่เราจะทำให้ได้บ้าง ?
ผู้บริหาร : หาวิสัยทัศน์มาใส่สมองบ้าง ผู้บริหารเก่งๆนั้นหากำไรได้ไม่ยาก ... แต่ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์มักจะหากำไรไม่เก่ง มันต้องมีควบคู่้กัน ... การสร้าง Product ที่แตกต่างทำให้ตลาดคึกคัักอยู่เสมอครับ
ผู้บริหารส่วนใหญ่มักจะมีเขางอกบนหัวเวลามีเรื่องของ ICT เข้ามาเกี่ยวข้อง ... การโดนโกงในบริษัทใหญ่ๆเป็นเรื่องทั่วไป ... ทำไมไม่เคยมีที่ปรึกษาที่เป็นที่ปรึกษาจริงๆจังๆบ้างนะ ?
รัฐ : คืออะไรเหรอ ?
ปล.บริษัทผมให้ใช้ Opensource ซะส่วนใหญ่ครับยกเว้นบาง Software ที่ดีจริงๆก็จะซื้อมา เพราะ Opensource เองตอบสนองความต้องการของงานได้แทบทั้งหมดแล้ว นอกจากนี้แล้วเราก็ต้องประยุกต์ทำ Know-how ส่วนตัวเข้ามาเพื่อลบค่านิยมแปลกๆของพนักงานแต่ละคน ... บริษัทผมมีทั้ง Gimp Blender (ทำ Render Farm เอง) Ubuntu Fedora Cinerella Inkscape Drupal (เขียน Module เองเสริมอีกด้วย) หรือบริการฟรีที่มีคุณภาพแบบ Google Docs Twitter(ล่มบ่อยจัง) ในขณะเดียวกับพัีฒนาความสามารถกับ Software และ Hardware ใหม่ๆเสมอๆ ทั้งกับฝั่ง User ฝั่งบุคลากร และฝั่งงานบริหาร เป็นนโยบายที่จะทำให้ทุกคน Open และเปิดกว้างในการรับรู้ด้าน ICT มากที่สุด ... ถ้าเปิดสมองให้โล่งแล้ว ... อะไรๆก็จะง่ายขึ้นมากครับ
ปล2.เขียนไปเบลอไปครับ ... ไม่ได้นอนมาหลายวัน .. ชักเบลอ .. .ต้องขออภัยครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
:: Take minimum, Give Maximum :