InfoWorld มีสกู๊ปเกี่ยวกับอนาคตของภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก ว่าจะไปในทิศทางใด จำนวน 10 ข้อ
- ภาษาจะมีลักษณะคล้ายกันมากขึ้น เพราะหยิบยืมฟีเจอร์ของภาษาอื่นๆ มาใช้
- เฟรมเวิร์คมีความสำคัญมากขึ้น ปัจจัยในการเลือกไม่ได้มีแต่ภาษาอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มีเรื่องเฟรมเวิร์คเข้ามาเพิ่มด้วย
- เริ่มมีการระบุความเชี่ยวชาญเป็นชื่อแอพพลิเคชัน (เช่น WordPress, Drupal, Facebook) มากขึ้น แทนที่จะเป็นตัวภาษา แต่ถ้ามันเฉพาะทางเกินไป อาจอยู่ไม่ยืด
- ชุมชนผู้ใช้ภาษาโปรแกรมจะมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อ iPhone SDK เปิดตัว ก็มีคนสนใจ Cocoa/Obj-C เพิ่มขึ้นมาก
- เว็บแอพพลิเคชันและ cloud จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาษาไดนามิกรุ่ง เอาง่ายๆ ดู AppEngine/Python
- ประสิทธิภาพจะเป็นตัวเปลี่ยนเกม - สงครามเอนจินจาวาสคริปต์ระหว่าง TraceMonkey, V8, SquirrelFish Extreme จะทำให้ประสิทธิภาพของจาวาสคริปต์เพิ่มจนเราอาจเอา Perl ไปรันได้ (Larry Wall เขาว่าไว้)
- โปรแกรมมิ่งจะเปลี่ยนจากเดิมที่อิงคอมมานด์ไลน์ มาเป็นเว็บอย่างเดียวมากขึ้น เช่น การใส่ code snippet ส่วนเล็กๆ ลงใน WordPress หรือ Drupal
- การคอมไพล์ข้ามแพลตฟอร์ม เช่น Python เป็นไบต์โค้ดหรือ CLR และ GWT แปลงจาวาเป็นจาวาสคริปต์ จะช่วยขยายพรมแดนของภาษาไดนามิกออกไป
- ให้จับตาดูเครื่องมือโปรแกรมมิ่งแบบลากแล้ววาง อย่างเช่น Coghead หรือ Microsoft Popfly
- ตัวภาษาและแพลตฟอร์มต้องพัฒนาตัวเอง ให้รองรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบใหม่ๆ เช่น มัลติเธร็ด
ที่มา - InfoWorld
Comments
1. จริง และจะยืมฟีเจอร์กันต่อไป
4. ค่อนข้างชัดเจน ตอน Android SDK ออกมาก็เป็นทำนองเดียวกัน (ภาษาอาจจะคุ้นเคย แต่ stack ใหม่)
8. การที่ภาษา ๆ นึงจะอยู่บน stack เดียวนั้นเป็นการปิดกั้นตัวมันเองอย่างมาก คือเรียกว่า cross-platform คงไม่ได้แล้ว อาจจะต้องเรียกกันว่า cross-stack ? ยกตัวอย่างเช่น Ruby นอกจาก C implementation แล้ว ก็มีทั้ง IronRuby บน DLR (ที่เป็น cross-platform), JRuby บน JVM (ที่เป็น cross-platform) และมี Rubinius VM และอื่น คิดว่าเริ่มเห็นชัดแล้วว่า เราต้องนิยามคำว่า platform กันใหม่
10. เพราะ multi-core ภาษาถัดไปที่จะครองโลกอาจเป็น Erlang ?
เยอะไป อยากได้แบบโดนๆสักสามสี่ข้อก็พอแล้ว เช่นข้อ 2
LongSpine.com
ชอบวิธีการเขียนคำว่า มัลติเธร็ด ครับ
เป็นวิธีถอดเสียงตามราชบัณฑิตปกติครับ th ใช้ ธ
มาเสริมข้อ 9 ครับ
ลองเล่น Coghead + ลอง get ข้อมูลผ่าน REST API ดูแล้ว ซาบซึ้งมาก
ตามไม่ทันเลยครับ เห็นทีอีกไม่กี่ปี ผมฟังภาษาคอมไม่รู้เรื่องแล้ว ตอนนี้ก็แทบจะเขียนโปรแกรมไม่เป็นแล้ว ... ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ตามเรื่องภาษาโปรแกรมนี่เหนื่อยจริงๆ สงสัยต้องเข้าวัดเข้าวาทำจิตใจให้สงบก่อนเริ่มศึกษาตัวใหม่ๆ
---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
มา .Net/Mono กันเถอะ
เฟรมเวิร์คเดียวคอมไพล์ได้ทุกภาษา อะไรงี้
ภาษาจะเป็นไงก็ช่าง
ทุกอย่างก็อยู่บนคณิตศาสตร์และทฤษฎีโลกแห่งความเป็นจริงอยู่ดี
เห็นด้วยกับ ข้อ 2,8 อย่างยิ่ง หมดยุคผูกขาดแล้วครับ
อนาคตจะเขียนโปรแกรมเป็นภาษาอังกฤษได้เลยหรือเปล่าแบบนี้ เข้าใกล้คำว่า Human Language ไปเรื่อยๆ แล้ว
เห็นด้วยในแง่ที่ว่าตัวภาษาจะมีฟีเจอร์ใกล้เคียงกันมากขึ้น แต่ไม่ใช่ syntax แน่นอน เพราะว่าแต่ละภาษาต้องแข่งกันเรื่องความสวยงามของไวยกรณ์ ภาษาสคริบท์บางตัวตอนเขียนปรกติก็ดูง่ายดูสวย แต่พอโค้ดมีความซับซ้อนมากขึ้นกลับอ่านยาก บำรุงรักษาอยาก เพราะบางภาษาเลือกที่ให้อิสระในการเขียนได้หลายรูปแบบ ถ้าฟีเจอร์ไม่ต่างกันมากแล้ว ยิ่งต้องเอาชนะกันด้วยไวยกรณ์มากขึ้น
อันนี้จริง แต่จะไม่จริงถ้าุถึงจุดที่ว่าเฟรมเวิร์คกับภาษาเป็นอิสระจากกัน ถ้าจะมองในอดีตเฟรมเวิร์คก็ไม่ต่างอะไรกับไลบรารี่ที่เป็นยูทิลิตี้และให้เซอร์วิสกับแอปพริเคชั่นที่ใช้ภาษาที่เรียกใช้ไลบรารี่ได้