เรื่องมีอยู่ว่าช่างภาพชื่อคุณ Miles Astray ได้เข้าร่วมการประกวด 1839 Color Photography Awards ซึ่งมีการประกวดภาพถ่ายในหลายหัวข้อ เช่น Architecture, Still Life, Film/Analog โดยมีหัวข้อภาพที่สร้างจาก AI และเป็นหมวดเดียวที่ให้รางวัลกับรูปภาพที่ไม่ได้มาจากกล้องถ่ายรูป
Astray เลือกส่งภาพถ่ายจริงจากกล้อง โดยประกวดในหมวดภาพที่สร้างจาก AI ผลงานชื่อ Flamingone ที่เป็นภาพถ่ายนกฟลามิงโก และผลการตัดสินออกมาว่าเขาได้รับรางวัลที่ 3 จากคณะกรรมการที่เป็นช่างภาพมืออาชีพจากหลายองค์กร และได้คะแนนยอดนิยมจากการโหวตเป็นอันดับ 1
ภาพถ่ายโดย Suzi Dougherty ถูกตัดสิทธิ์จากงานประกวดภาพถ่าย Charing Cross ในหัวข้อแฟชั่น หลังกรรมการสงสัยว่า ภาพถ่ายของเธออาจสร้างขึ้นจาก AI
ภาพดังกล่าวเป็นภาพที่ Dougherty ถ่ายลูกชายของเธอกับหุ่นจำลองในนิทรรศการของ Gucci ที่ Powerhouse Museum ในซิดนีย์ โดยกรรมการตัดสิทธิ์ภาพดังกล่าวเนื่องจากมองว่าภาพของเธอเหมือนใช้ AI สร้างภาพขึ้นมา ขัดกับเงื่อนไขของงานประกวดที่ระบุไว้ชัดเจนว่าห้ามใช้ AI อย่างไรก็ตาม Dougherty ยืนยันว่า เธอถ่ายภาพดังกล่าวด้วยตนเองโดยใช้ iPhone
เหตุการณ์นี้จุดประกายประเด็นที่ว่า โลกของเรายังไม่มีวิธีการที่สามารถแยกแยะระหว่างภาพที่สร้างขึ้นจาก AI และ ภาพถ่ายจริงได้อย่างชัดเจน
เมื่อวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา รัฐ Virginia ได้ตัวนางงามประจำรัฐคนใหม่ ผู้ที่คว้ามงกุฎ Miss Virginia 2019 ไปครองได้สำเร็จนี้คือนักศึกษาปริญญาโทจาก Virginia Commonwealth University และหนึ่งในสิ่งที่ทำให้เธอสร้างความติดตรึงประทับใจแก่กรรมการจนช่วยส่งให้เธอชนะการประกวด ก็คือการแสดงบนเวทีที่เธอเลือกเอาการทดลองทางวิทยาศาสตร์มานำเสนอ
เมื่อ 4 ปีก่อน Camille Schrier สาวน้อยวัย 18 ปีในขณะนั้นตระหนักดีว่าตัวเธอนั้นขาดซึ่งทักษะการแสดงบนเวทีทั้งการร้องการเต้น ที่เรียกได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เธอประสบความสำเร็จกับวงการนางงามได้ ดังนั้นเธอจึงตัดสินใจพับความฝันเรื่องการขึ้นสู่เวทีนางงามหลังจากที่ได้รับการตอบตกลงให้เข้าศึกษาที่ Virginia Tech
Getty Images เชิญชวนผู้ใช้ Instagram ร่วมส่งภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอสะท้อนสังคมชิงเงินรางวัลพร้อมโอกาสรับคำแนะนำจากช่างภาพมืออาชีพของ Getty Images ภายใต้ชื่อโครงการประกวด Getty Images Instagram Grant
ผลงานที่จะส่งเข้าประกวดควรสะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นไปของสังคมในแง่มุมที่ไม่ค่อยพบเห็นในสื่อกระแสหลัก โดย Getty Images ไม่จำกัดรูปแบบว่าจะเป็นภาพถ่าย, คลิปวิดีโอ หรือสื่อผสมรูปแบบอื่น ทั้งนี้การตัดสินผลงานจะทำโดยคณะกรรมการซึ่งเป็นช่างภาพมืออาชีพนอกสังกัด Getty Images ที่ได้รับเชิญมาทำหน้าที่โดยเฉพาะร่วมด้วยผู้ชนะการประกวดของปีก่อน โดยผู้ชนะการประกวด 3 รายจะได้รับเงินรางวัลคนละ 10,000 ดอลลาร์ นอกจากนี้ Getty Images จะให้การสนับสนุนผู้ชนะด้วยการเปิดให้ช่างภาพมืออาชีพมาให้คำแนะนำเพื่อพัฒนาผลงานต่อไปในอนาคต
ผู้ที่สนใจร่วมการประกวด Getty Images Instagram Grant สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมได้ฟรีที่นี่ ภายในวันที่ 12 เมษายน โดยจะประกาศผลการตัดสินในเดือนกรกฎาคม ลิขสิทธิ์คุ้มครองผลงานทุกชิ้นจะยังเป็นของผู้เข้าร่วมการประกวดดังเดิม
ที่มา - South China Morning Post
ASUS จัดการประกวด "Face the Future" เปิดให้นักออกแบบและแฟนๆ สามารถส่งผลงานการออกแบบหน้าปัดนาฬิกา ZenWatch โดยมีรางวัลตอบแทนเป็น ZenWatch จำนวน 6 รางวัล
ผู้ที่จะส่งผลงานสามารถดาวน์โหลดไฟล์แม่แบบมาใช้ได้ จากนั้นเมื่อผลงานแล้วเสร็จ จะต้องอัพโหลดไฟล์ภาพ JPG หรือ PNG ขนาด 320*320 พิกเซล ขนาดไฟล์ไม่เกิน 2MB สู่เว็บของ ASUS
ไมโครซอฟท์เตรียมจัดงาน Publish Windows งานพัฒนาแอพแบบข้ามคืนพร้อมกันทั่วโลกในเดือนหน้า ผู้เข้าร่วมงานซึ่งต้องกำลังพัฒนาแอพหรือเกมอยู่แล้วจะได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของบริษัทในการพัฒนาและทดสอบแอพ เมื่อสิ้นสุดเวลาพัฒนาจะมีช่วงให้นักพัฒนาโชว์ผลงาน ซึ่งจะมีการพิจารณาให้รางวัลพิเศษด้วย
สำหรับประเทศไทยนั้นจะจัดงานระหว่าง 16-17 พ.ค. นี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่นี่ครับ
ช่วงหลังมานี้บรรดาค่ายผู้ผลิตหน้าจอรายใหญ่จากฝั่งเกาหลีเริ่มแสดงความพร้อมว่าสามารถทำหน้าจอบิดงอได้ (flexible display) บนอุปกรณ์พกพากันแล้ว แต่เราๆ ก็ยังไม่เห็นว่าการมาของหน้าจอบิดงอได้จะพลิกโฉมวงการไปได้แค่ไหน และก็มีทางซัมซุงที่เพิ่งออกโครงการให้ส่งผลงานที่ใช้หน้าจอบิดงอได้มาชิงรางวัลกันได้
ข้อกำหนดของผู้ที่จะส่งผลงานมาร่วมประกวดจะต้องผ่านเกณฑ์ของซัมซุงอย่างแรกคือต้องใชหน้าจอบิดงอได้เป็นคีย์หลักของผลงาน อาจจะไม่จำเป็นต้องทำสมาร์ทโฟนก็ได้ รวมถึงมีแผนการตลาดรองรับ พร้อมทั้งประเมินระยะเวลา และค่าใช้จ่ายการผลิตได้
ข่าวดีสองชั้น! สำหรับนักพัฒนาไทยที่กำลังพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อเข้าประกวด OTPC App Contest นะครับ ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ขยายระยะเวลารับผลงานจากเดิมวันที่ 21 มีนาคม เป็นวันที่ 9 เมษายน 2556 และได้มีการเพิ่มรางวัลสุดยอดที่นักพัฒนาทั่วโลกต้องการมากที่สุดคือ รางวัลบัตรเข้าร่วมงาน Google I/O และตั๋วเครื่องบินไปกลับซานฟรานซิสโก ทั้งหมด 3 รางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศในแต่ละประเภท
โดยรางวัลเปิดให้ทั้งผลงานในประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หากผู้ได้รางวัลชนะเลิศส่งเข้าร่วมเป็นกลุ่ม เรายังมีรางวัลปลอบใจเป็นบัตรเข้าร่วมงาน Google I/O Extended อีกจำนวน 2 ใบ เพื่อชมบรรยากาศจาก Moscone Center กันแบบสดๆ ร่วมกันกับนักพัฒนาท่านอื่นได้ที่กรุงเทพฯ
Google Photography Prize งานประกวดภาพถ่ายซึ่งจัดขึ้นโดย Google ได้ผู้ชนะแล้วคือ Viktor Johansson จากสวีเดน
Viktor Johansson อายุ 24 ปี ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสอนถ่ายภาพ Nordens Fotoskola Biskops-Arnö โดยภาพที่เขาส่งเข้าประกวดนั้นเป็นภาพของ Christoffer Eskilsson นักกีฬากระโดดน้ำชาวสวีเดน
Viktor ใช้เวลา 3 วันเพื่อเก็บภาพต่างๆ ระหว่างการฝึกซ้อมของ Christoffer โดยภาพที่เขาเลือกมานั้นแสดงให้เห็นมุมมองที่แตกต่างจากสื่อทั่วไป ดึงดูดและมีความน่าสนใจ แสดงถึงความโดดเดี่ยวระหว่างการฝึกซ้อมที่ยาวนานและการฝึกฝนอย่างหนัก กว่าจะมาเป็นนักกีฬากระโดดน้ำอันดับหนึ่งของสวีเดนในวันนี้
Disrupt เป็นงานสัมมนาทางเทคโนโลยีที่ TechCrunch จัดขึ้นเป็นประจำ แน่นอนว่างานรวมพลคนไอทีอย่างนี้ ไปนั่งฟังอย่างเดียวคงได้เฉาตายแน่ ดังนั้นจึงมีการจัดแข่ง Hackathon ควบคู่ไปด้วยตลอด
งานรอบนี้ค่อนข้างพิเศษหน่อย ตรงที่เป็นงานนอกสหรัฐครั้งแรกครับ โดยสถานที่จัดงานคือกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีนนั่นเอง
และจากการพัฒนาโปรแกรมกันอย่างมาราธอนต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง โดยโปรแกรมเมอร์กว่า 300 ชีวิต ผ่านสายตากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน ตอนนี้ก็ได้ผลงานสุดเจ๋ง 6 อันดับสูงสุดแล้วครับ
ไมโครซอฟท์ได้จัดการแข่งขันออกแบบแอพฯ สำหรับ Windows Phone ในหัวข้อการแข่งขัน "Fast Track to the Mobile App - Windows Phone App Design Challenge" ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้แข่งขันจากทั่วโลกสามารถส่งผลงานการออกแบบและการจำลอง (mock up) แอพฯ สำหรับการใช้งานเชิงธุรกิจในชีวิตประจำวัน ที่จะช่วยผู้ใช้งานสามารถทำงานเสร็จสิ้นจากสถานที่ใดก็ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
เป้าหมายของโครงการนี้ก็เพื่อนำเสนอผลงานการออกแบบที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ผ่าน Windows Phone Marketplace และผู้สนับสนุนอย่าง Core77 Design Network โดยผู้ที่ชนะเลิศการแข่งขันจะได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์และผู้สนับสนุนต่างๆ เพื่อพัฒนาและวางขายแอพฯ ตามแนวคิดที่นำเสนอ
งาน Hackathon คือชื่องานที่โดยรวมๆ แล้วคนมาร่วมงานต้องมานั่งเขียนโปรแกรมร่วมกันจริงๆ ไม่ใช่งานนั่งฟังแล้วกลับบ้านเหมือนงานอีเวนต์แบบอื่นๆ งานนี้ทางบริษัทหัวลำโพงเกิดนึกสนุกอยากจัดงานแบบนี้บ้าง ก็ได้เป็นงานเขียนแข่งเขียนโปรแกรมกันขึ้นมา
Blognone รายงานการแข่งขันเขียนโปรแกรมของบริษัทระดับโลกมาหลายครั้ง วันนี้บริษัท หัวลำโพง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์บนโทรศัพท์ของคนไทยก็จัดแข่งบ้างแล้วครับ โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องแก้โจทย์ให้ได้ภายในสามชั่วโมง ตั้งแต่สามทุ่มถึงเที่ยงคืน
การแข่งขันรอบคัดเลือกมีสองรอบคือวันที่ 7 และวันที่ 9 โดยสามารถเข้าร่วมได้ทั้งสองรอบ หลังจากนั้นจะมีรอบจริงจัดงานที่ CS-LOXINFO อีกสามชั่วโมง ในรอบสุดท้ายทางหัวลำโพงระบุว่าจะมีการขัดขวางการเขียนโปรแกรมไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบการแข่งขัน
การแข่งขันเขียนโปรแกรมใหญ่ๆ ระดับโลกที่บ้านเรารู้จักคงเป็น Google CodeJam และ Microsoft Imagine Cup แต่อีกค่ายอย่างอินเทลก็มีการแข่งขันเหมือนกันแต่เป็นการแข่งขันในโจทย์เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบมัลติเธรด
การแข่งขันเริ่มวันที่ 18 เมษายนนี้ ตอนเที่ยงตรง (เวลา PDT) โดยการแข่งขันจะแบ่งออกเป็นสามข้อแต่ละข้อมีเวลาทำ 22 วัน ผู้ที่ทำคะแนนได้สูงสุด 3 คนแรกในแต่ละข้อจะได้รางวัล 400, 250, และ 100 ดอลลาร์ตามลำดับ และผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะได้ไปร่วมงาน Intel Developer Challenge ที่ซานฟรานซิสโกปลายปีนี้
รางวัลอาจจะเป็นเรื่องไม่สำคัญเท่าว่าคนที่เข้าร่วมการแข่งขันจะเข้าใช้งาน Manycore Testing Lab ฟรีเพื่อตรวจผลการทำงานในสภาพแวดล้อมที่มี 40 คอร์ 80 เธรด
เมื่อวานนี้ตามเวลาสหรัฐฯ ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวโครงการ Code7 Contest โดยเป็นการแข่งขันพัฒนาแอพพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ในวินโดวส์ 7 โดยหนึ่งทีมจากแต่ละภูมิภาคจะได้รับโอกาสนำเสนอผลงานในงาน PDC09 และได้รับวินโดวส์ 7 Ultimate ที่มีลายเซ็นของ Microsoft VP และของรางวัลผู้ชนะเลิศคือ เช็คเงินสด 17,777 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ได้มีโอกาสพบกับผู้บริหารของไมโครซอฟท์ในงาน PDC09 รวมถึงเข้าเยี่ยมชมไมโครซอฟท์แคมปัสที่เรดมอนด์ สหรัฐฯ ฯลฯ รวมมูลค่า 27,777 ดอลลาร์สหรัฐฯ เริ่มสมัครและส่งผลงานแล้วที่ Code7 Contest จนถึงเที่ยงคืนของวันที่ 10 ต.ค. รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ข้างล่าง
(คลิกที่หัวข้อเพื่อดูรายละเอียดของ Code7 Contest)
มหกรรมการประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 (Thailand ICT Contest Festival 2008) ที่จัดระหว่างวันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ ได้ประกาศผลรางวัลอย่างเป็นทางการแล้วครับ สำหรับรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลในแต่ละสาขา สามารถดูได้ ตามนี้
การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมแห่งประเทศไทย หรือ NSC ที่นี่
การประกวดโครงงานนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ หรือ YSC ที่นี่