กูเกิลประกาศว่า Google Search AI Overviews ฟีเจอร์ที่ใช้ AI ช่วยตอบคำถามและให้ข้อมูล แสดงผลด้านบนสุดในหน้าผลการค้นหา เตรียมทยอยเปิดใช้งานกับผู้ใช้งานเพิ่มมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งทำให้ AI Overviews เข้าถึงผู้ใช้งานมากกว่า 1 พันล้านคนต่อเดือนตามแผนที่กูเกิลประกาศในเดือนพฤษภาคม
กูเกิลแจ้งการปิดการทำงานกล่องค้นหาย่อยในผลค้นหาเว็บ ที่แสดงผลในหน้าค้นหาหลัก (Sitelinks Search Box) โดยให้เหตุผลว่าปริมาณการใช้งานลดลง และช่วยให้ผลค้นหามีความเรียบง่ายมากขึ้น
กล่องค้นหาย่อยในผลการค้นหาหลักของกูเกิล จะปิดการทำงานตั้งแต่ 21 พฤศจิกายน 2024 เป็นต้นไป มีผลกับผู้ใช้งานทั่วโลกและทุกภาษา โดยกูเกิลยืนยันว่าไม่มีผลกระทบต่อการจัดอันดับแสดงผล ส่วนเจ้าของเว็บไซต์ที่เคยทำ Structured Data สำหรับเว็บไซต์เพื่อให้เกิดกล่องค้นหาย่อย ก็ไม่จำเป็นต้องนำข้อมูลส่วนนี้ออก เพราะกูเกิลจะข้ามข้อมูลส่วนนี้ไปเลยในอนาคต
กูเกิลประกาศปรับโครงสร้างองค์กรของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริการค้นหาข้อมูล (Knowledge & Information) เพื่อให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของ AI และบริการค้นหาข้อมูล ซึ่ง Gemini จะเข้ามามีบทบาทต่อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากขึ้น รายละเอียดดังนี้
Honor ประกาศปล่อยอัพเดตฟีเจอร์ Circle to Search ของกูเกิล ให้กับสมาร์ทโฟนของตัวเอง โดยเริ่มจากมือถือจอพับ Honor Magic V3 ก่อน แล้วจะอัพเดตให้ Honor 200 Series ตามมาในลำดับถัดไป
ความคืบหน้าต่อจากคดีศาลสหรัฐตัดสิน Google มีพฤติกรรมผูกขาดบริการ Search Engine เมื่อเดือนสิงหาคม 2024
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice หรือ DoJ) ในฐานะผู้ยื่นฟ้อง ได้ยื่นแนวทางบรรเทา (remedies proposal) พฤติกรรมการผูกขาดต่อศาล ทั้งหมด 4 ข้อ
Google Search ทดลองเพิ่มเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้า ท้ายเว็บไซต์ที่แสดงในหน้าผลการค้นหา เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าเว็บไซต์นี้เป็นเว็บของจริง ไม่ใช่เว็บหลอก โดยเบื้องต้นมีรายงานพบในเว็บไซต์ของบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ เช่น Meta และ Apple
ตัวแทนของกูเกิลยืนยันการทดลองนี้ โดยบอกว่าเพื่อให้คนที่ค้นหาข้อมูลสินค้า ได้ผลลัพธ์ไปยังเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ โดยตอนนี้ทดสอบกับผู้ใช้งานกลุ่มเล็ก และกับเว็บธุรกิจจำนวนหนึ่งเท่านั้น
กูเกิลเริ่มทดสอบฟีเจอร์ Generative AI ช่วยสรุปคำตอบใน Search มาตั้งแต่ปี 2023 ภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น AI Overviews และทยอยเปิดใช้งานในบางประเทศ (ยังไม่มีไทย)
ตอนที่เปิดตัว กูเกิลได้รับคำถามมากมายว่า หากใช้ AI สรุปคำตอบ เราก็ไม่ต้องกดลิงก์เข้าเว็บกันแล้ว จะมีผลกระทบกับทราฟฟิกของเว็บไซต์ต่างๆ รวมถึงรายได้จากโฆษณาบนเว็บของกูเกิลหรือไม่ คำตอบที่ผ่านมาของกูเกิลก็อ้อมๆ แอ้มๆ คือบอกว่ารายการลิงก์และพื้นที่แสดงโฆษณายังมีอยู่เหมือนเดิม (แม้อยู่ในตำแหน่งต่ำลงไปจากเดิม เพราะ AI Overviews ถูกแสดงขึ้นมาก่อน)
วันนี้กูเกิลมีคำตอบเรื่องโฆษณาให้แล้ว เพราะ AI Overviews เริ่มแสดงโฆษณาแล้ว
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์สำคัญให้ Google Lens สองอย่าง ได้แก่
กูเกิลอัปเดตวิดเจ็ตของแอป Google สำหรับ iPhone และ iPad ซึ่งผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งปุ่มต่าง ๆ ที่ต้องการให้แสดงได้แล้วสักที จากก่อนหน้านี้หัวข้อจะกำหนดไว้สามอย่างคือ Lens, Voice Search และ Incognito
ในวิดเจ็ตใหม่ ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มปุ่มที่ต้องการได้เป็น 4 ปุ่ม และมีตัวเลือกเพิ่มเติมเช่น Activity, Gemini, Google Lens สำหรับ Homework, Google Lens สำหรับ Screenshot, Song Search, Translate เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลเฉพาะวิดเจ็ตขนาดใหญ่เท่านั้น และยังสามารถเลือกธีมสีได้อีกด้วย
ที่มา: 9to5Google
Google ประกาศว่าเตรียมแปะป้ายกำกับ AI ในผลการค้นหา กับรูปที่ถูกสร้างหรือถูกปรับแต่งด้วย AI กับภาพที่มี metadata ฝังตามมาตรฐานกลางของ C2PA
การแสดงผลนี้จะอยู่ในส่วน About this Image ทั้งบน Search, Google Lense และ Circle to Search ไปจนถึงโฆษณาด้วย
Google บอกด้วยว่ากำลังหาทางนำมาตรฐาน C2PA ไปใช้กับ YouTube อยู่ และจะมีอัพเดตเพิ่มเติมให้ภายในปีนี้
ที่มา - Google
มีรายงานจากผู้ใช้งาน Android จำนวนมาก พบปัญหาแอป Google แครช ไม่สามารถใช้งานได้ โดยขึ้นข้อความ Google keeps stopping เมื่อพยายามค้นหาข้อมูล
ปัญหานี้เกิดเช่นกันเมื่อค้นหาด้วย Google ผ่านหน้าโฮม ในตอนนี้ 9to5Google พบว่าปัญหานี้เกิดขึ้นแม้ใช้งานแอปเวอร์ชันเก่ากว่า 15.35 ที่เป็น stable ตัวล่าสุด ฉะนั้นการลบลงใหม่ยังไม่แก้ปัญหา
การค้นหาผ่านช่องทางอื่น เช่น Google Assitant, Gemini, Google Lens, Circle to Search หรือเข้าตรงที่ google.com ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ ปัญหาจึงน่าจะเป็นปัญหาเฉพาะที่การทำงานของแอป Google เอง ซึ่งอาจคล้ายกรณีปัญหา WebView เมื่อสามปีก่อน
Google Search ประกาศว่าจะเริ่มแสดงผลการค้นหาเว็บไซต์ โดยมีส่วนที่เชื่อมโยงไปยัง Internet Archive หากผู้ใช้งานต้องการดูประวัติการเปลี่ยนแปลงหน้าในลิงก์ปลายทางนั้น
ในการใช้งานเมื่อค้นหาสิ่งที่ต้องการ จะมีปุ่ม 3 จุดอยู่ข้างผลการค้นหาใน Google เมื่อเลือกแล้วไปที่ More About This Page จะมีลิงก์ที่ไปยังเว็บไซต์นั้นใน Wayback Machine ซึ่งรวมข้อมูลเว็บไซต์ในแต่ละช่วงเวลา
ในอดีต Google Search เคยมีส่วนเรียกดูผลการค้นหาผ่านเว็บแคช แต่กูเกิลได้ถอดความสามารถนี้ออกไป ซึ่งเวลานั้นกูเกิลบอกว่ากำลังพิจารณานำเนื้อหานี้ไปไว้ที่ Internet Archive โครงการห้องสมุดอินเทอร์เน็ตแบบไม่แสวงหากำไร เพื่อใช้สำหรับการอ้างอิงนั่นเอง
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ให้ Circle to Search สามารถฟังเสียงเพลงรอบตัว แล้วค้นหาชื่อเพลงได้ ฟีเจอร์นี้ไม่จำเป็นต้องวาดหน้าจอส่วนที่ต้องการ เพียงแค่กดปุ่ม Home ค้างเพื่อเรียกหน้าจอ Circle to Search ขึ้นมา แล้วกดตรงไอคอนรูปโน้ตดนตรีได้เลย
ฟีเจอร์นี้มีใน Android มานานแล้ว แต่ต้องใช้ผ่าน widget Sound Search หรือไม่ก็กดตรงปุ่มไมโครโฟนในแถบ widget Google Search แล้วสั่ง "search a song" การที่กูเกิลผนวกมันเข้ามาใน Circle to Search ก็แสดงให้เห็นว่ากูเกิลต้องการเน้นให้ผู้ใช้มาที่ Circle to Search มากขึ้น
ที่มา - Google
Google Search ประกาศซัพพอร์ตไฟล์รูปภาพแบบ AVIF หรือ AV1 Image File Format ที่ใช้ตัวเข้ารหัสวิดีโอ AV1 มาบีบอัดไฟล์ภาพนิ่ง
กูเกิลมีเครื่องมือหลายอย่างที่เรียกขึ้นมาทันทีเมื่อค้นหาผ่าน Google Search ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนาฬิกาจับเวลา (Stopwatch) และตัวจับเวลา (Timer) ที่มีให้ใช้งานมานานแล้ว ล่าสุดกูเกิลปรับปรุงหน้าตาใช้งานให้สะดวกมากขึ้น
กูเกิลประกาศขยายประเทศที่รองรับ Google Search AI Overviews ฟีเจอร์ที่นำ AI มาช่วยตอบคำถามในหน้าผลการค้นหา หลังจากเปิดให้ผู้ใช้งานในอเมริกาทุกคนเมื่อเดือนพฤษภาคม
6 ประเทศที่เพิ่มเติมในรอบนี้ได้แก่ สหราชอาณาจักร อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เม็กซิโก และบราซิล พร้อมรองรับการให้คำตอบเป็นภาษาท้องถิ่น ซึ่งกูเกิลบอกว่าได้ทดสอบมาแล้วระยะหนึ่ง
นอกจากนี้ AI Overviews ยังปรับปรุงการแสดงผลลิงก์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง โดยเวอร์ชันเดสก์ท็อปจะแสดงรายการลิงก์ที่ด้านขวา จากเดิมเป็น Card ด้านล่าง ส่วนเวอร์ชันมือถือแสดงลิงก์ที่มุมบนขวา ซึ่งกูเกิลบอกว่าการแสดงลิงก์ประกอบคำตอบนั้น ทำให้ทราฟิกเว็บที่ถูกระบุถึงเพิ่มสูงมากขึ้นด้วย
ซัมซุงประกาศขยายฟีเจอร์ Circle to Search ที่เคยเป็นเอ็กซ์คลูซีฟของมือถือระดับเรือธงอย่าง Galaxy S24 และ Galaxy Z Fold/Flip 6 มายังอุปกรณ์รุ่นอื่นๆ ได้แก่ Galaxy A และ Galaxy Tab S9 FE/FE+ ด้วย
มือถือชุดแรกที่เริ่มได้อัพเดตฟีเจอร์ Circle to Search ในเดือนนี้ (สิงหาคม) คือ Galaxy A55, A54, A35, A34 โดยรุ่นอื่นจะตามมาในระยะถัดไป
ที่มา - Samsung
กูเกิลเพิ่มเครื่องมือใหม่ต้อนรับวันอีโมจิโลก (17 กรกฎาคม) โดยนำฟีเจอร์ผสมอีโมจิ 2 อัน รวมร่างเป็นอีโมจิใหม่หรือ Emoji Kitchen มาให้ใช้งานใน Google Search แล้ว โดยค้นหาคำว่า emoji kitchen จะปรากฏกล่องเครื่องมือผสมอีโมจิ Emoji Kitchen นี้
Emoji Kitchen เป็นฟีเจอร์ที่กูเกิลเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2020 ใช้งานได้บน Gboard ของ Android
ฟีเจอร์ Emoji Kitchen นี้ ยังขยายไปให้ใช้งานได้ใน Shorts บน YouTube อีกด้วย
ที่มา: Social Media Today
กูเกิลเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ของ Circle to Search บนเวทีเปิดตัว Galaxy Z Fold 6 เมื่อวานนี้ ฟีเจอร์ที่ฮือฮาคือการใช้ Circle to Search ช่วยแก้โจทย์และสมการคณิตศาสตร์ แค่ถ่ายรูปโจทย์ เอานิ้ววาดวงกลมบนหน้าจอ แล้วจะได้แนวทางการแก้สมการมาให้เลย
The Information มีรายงานถึงความพยายามของกูเกิล เพื่อลดการพึ่งพาทราฟิกและรายได้โฆษณาจากการค้นหาในกูเกิลผ่าน Safari บน iPhone ซึ่งเป็นที่ทราบอยู่แล้วว่ากูเกิลจ่ายเงินให้แอปเปิล เป็นจำนวนเงินต่อปีที่สูง แลกกับการถูกกำหนดเป็นเสิร์ชเอ็นจินค่าเริ่มต้น ซึ่งตัวเลขในปี 2022 นั้นสูงถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยคิดจากส่วนแบ่ง 36% ของรายได้โฆษณา
Google Search ยืนยันการเปลี่ยนแปลงในหน้าผลการค้นหาสำหรับผู้ใช้งาน โดยจะเลิกแสดงผลรูปแบบที่สามารถเลื่อนดูต่อเนื่องยาว ๆ เริ่มมีผลสำหรับเดสก์ท็อปตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และจะมีผลกับมือถือด้วยเช่นกัน โดยเมื่อเลื่อนไปสุดหน้า จะมีปุ่ม Next หรือ More results ที่ต้องกดต่อเพื่อดูเพิ่มเติม
กูเกิลเริ่มเปลี่ยนการแสดงหน้าผลค้นหา เป็นแบบเลื่อนดูต่อเนื่องยาว ๆ ไม่มีแถบแสดงลำดับหน้า มาตั้งแต่ปี 2021 สำหรับการค้นหาบนมือถือ และขยายมายังเดสก์ท็อปในปี 2022 เท่ากับว่ารูปแบบแสดงผลนี้ถูกใช้งานประมาณ 2-3 ปีเท่านั้น
กูเกิลประกาศจัดงาน Search Central Live ที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นการกลับมาจัดงานในไทยครั้งแรกในรอบ 5 ปี (ครั้งสุดท้ายปี 2019 ก่อน Covid)
Search Central Live หรือชื่อเดิม Webmaster Conference เป็นงานสัมมนาฝั่ง Google Search มีเนื้อหาเกี่ยวกับ search engine, search console, SEO, Google Trends และเครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
งานจัดวันที่ 9 สิงหาคม 2024 ที่โรงแรมคาร์ลตัน กรุงเทพ สุขุมวิท ใครสนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนได้ตามลิงก์
ที่มา - Google
กูเกิลอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นของฟีเจอร์ AI Overviews ที่อยู่ด้านบนสุดของหน้าผลการค้นหา โดยให้คำตอบแบบสรุปจากสิ่งที่ถาม ซึ่งเมื่อขยายให้กับผู้ใช้มากขึ้นเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาในอเมริกา ทำให้เกิดรายงานการให้คำตอบแปลก ๆ หลายต่อหลายกรณี
กูเกิลเริ่มต้นด้วยการอธิบายวิธีการทำงานของ AI Overviews โดยย้ำว่าการทำงานนั้นแตกต่างจากแชทบอตหรือ LLM ตัวอื่น เป้าหมายคือการสรุปเนื้อหาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้คำตอบเร็วที่สุด การเขียนคำตอบทำด้วยโมเดลภาษาที่ปรับแต่ง อิงจากอันดับผลการค้นหา การทำงานหลักจึงอยู่ที่ส่วนของ Search คำตอบที่ได้จึงมีลิงก์ให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วย
กูเกิลทดสอบฟีเจอร์ใช้ Generative AI ช่วยตอบคำถามของผู้ใช้งานผ่านหน้าผลการค้นหามาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันเรียกชื่อฟีเจอร์นี้ว่า AI Overviews และมีแผนขยายบริการนี้ไปยังผู้ใช้งานทุกคน โดยเริ่มที่สหรัฐอเมริกาในสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงทำให้มีรายงานการตอบคำถามของกูเกิลที่ดูไม่ค่อยดีเท่าใดนักออกมา
ผู้ใช้งานคนหนึ่งแชร์คำตอบของคำถามว่า ทำพิซซ่าอย่างไรให้ชีสไม่ไหลหลุดจากแป้ง ซึ่ง AI Overviews ตอบว่าให้ผสมกาวไป 1/8 ถ้วย จะช่วยได้ คำตอบนี้ย่อมไม่ถูกต้องและทำจริงไม่ได้ ที่น่าสนใจคือใน Reddit มีคนค้นพบว่า เคยมีคนตอบแบบนี้เมื่อ 11 ปีที่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นแหล่งข้อมูลที่กูเกิลนำมาใช้ตอบนั่นเอง
กูเกิลประกาศในงาน Google I/O ว่าบริการค้นหาข้อมูล Google Search ซึ่งมีฟีเจอร์ทดสอบที่ใช้ Generative AI ช่วยตอบคำถาม ตอนนี้มีชื่อเรียกว่า AI Overviews นั้น จะเปิดให้กับผู้ใช้งานทั้งสหรัฐอเมริกาภายในสัปดาห์หน้า และจะขยายไปยังผู้ใช้งานประเทศอื่นต่อไป เป้าหมายคือเข้าถึงมากกว่า 1 พันล้านคนภายในปีนี้
Google Search ยังประกาศเพิ่มเติมเครื่องมือและความสามารถใหม่ให้ AI Overviews ดังนี้