Amazon เปิดตัวบริการใหม่ชื่อ Supply Chain by Amazon จัดการซัพพลายเชนสินค้าให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ครบกระบวนการ (end-to-end supply chain management) ตั้งแต่นำสินค้าออกจากโรงงาน ไปจนส่งถึงมือลูกค้าทั่วโลก และไม่ใช่แค่ผ่านอีคอมเมิร์ซอย่างเดียว แต่ยังช่วยกระจายสินค้าไปยังหน้าร้านสาขาให้ได้ด้วย
ก่อนหน้านี้ Amazon มีบริการชื่อ Fulfillment by Amazon (FBA) รับจัดการสต๊อกสินค้า แพ็กเกจ และส่งสินค้ามาตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งผู้ขายสินค้าสามารถฝากของไว้ในโกดังของ Amazon โดยไม่ต้องจัดการเรื่องการแพ็กของและส่งเอง
Nikkei Asia รายงานว่า Dell เริ่มแจ้งซัพพลายเออร์ถึงแผนการลดใช้ชิปและชิ้นส่วนที่ผลิตในจีน ตั้งเป้าหยุดใช้ในปี 2024
แหล่งข่าวของ Nikkei Asia อ้างข้อมูลของ Dell ที่แจ้งซัพพลายเออร์ว่าตั้งใจลดการใช้ชิ้นส่วนจากจีนลงอย่างมีนัยสำคัญ (meaningfully lower) ซึ่งในความหมายนี้รวมถึงชิ้นส่วนจากบริษัทสัญชาติอื่น แต่โรงงานอยู่ในจีนด้วย โดย Dell ตั้งเป้าว่าจะต้องไม่ใช้ชิปที่ผลิตในจีนให้ได้ทั้งหมดภายในปี 2024 ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายไม่น้อย
โฆษกของ Dell ปฏิเสธไม่แสดงความเห็นในเรื่องนี้ บอกเพียงว่าบริษัทมีนโยบายเลือกแหล่งที่มาของชิ้นส่วนที่หลากหลายอยู่แล้ว
Eben Upton ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของบริษัท Raspberry Pi ให้สัมภาษณ์กับช่อง ExplainingComputers เล่าถึงปัญหาซัพพลายเชนที่ทำให้สินค้า Raspberry Pi ขาดตลาดอย่างหนักมาตั้งแต่กลางปี 2021
ปัญหาซัพพลายเชนทำให้บริษัทต้องทำงานหนักเพื่อหาสินค้ามาส่งมอบให้ลูกค้า โดยเฉพาะรายย่อย สถานการณ์ตอนนี้แม้ดีขึ้น แต่ก็ต้องใช้เวลาค่อยๆ ฟื้นฟู สินค้าที่จะเน้นคือ Pi 3A+ และ Pi Zero 2 W ส่วน Pi 4 คงต้องขึ้นกับโชคด้วยว่าช่วงนั้นมีของหรือไม่
มีรายงานจาก Nikkei Asia อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง ว่าแอปเปิลได้หารือกับ Foxconn เพื่อให้เดินสายการผลิต MacBook ในเวียดนามเป็นครั้งแรก
ในรายงานบอกว่า Foxconn น่าจะเริ่มสายการผลิตในเวียดนามได้เร็วที่สุดช่วงเดือนพฤษภาคม
โรงงานของ Foxconn นี้ได้รับอนุญาตเมื่อต้นปี 2021 โดยวางแผนผลิต MacBook กับ iPad แต่การผลิตเริ่มได้ล่าช้าเนื่องจากปัญหาความซับซ้อนของซัพพลายเชน โดยเวียดนามมีแผนใช้เป็นฐานการผลิต Apple Watch และ HomePod ด้วย
ที่มา: MacRumors
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Supply Chain Platform แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการซัพพลายเชน ที่มีเครื่องมือเสริมครบครันไม่ว่าจะเป็น Microsoft AI, ระบบการทำงาน collaboration, เครื่องมือ low-code, ระบบความปลอดภัย และแอพพลิเคชัน SaaS
ไมโครซอฟท์บอกว่าเครื่องมือจัดการซัพพลายเชน ไม่ได้เป็นของใหม่ในวงการ แต่ความท้าทายในการบริหารจัดการซัพพลายเชนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้สภาพตลาดและการจัดการเปลี่ยนแปลงด้วยความเร็วที่มากขึ้น ซอฟต์แวร์จึงเข้ามามีบทบาทมาก เพื่อให้ผู้ดูแลเห็นข้อมูลมากที่สุด และรองรับการพยากรณ์เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
แอปเปิลออกแถลงการณ์ชี้แจงนักลงทุน เกี่ยวกับสถานการณ์ซัพพลายเชนของ iPhone 14 Pro และ iPhone 14 Pro Max ระบุว่ามาตรการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันโควิด 19 ในเมืองเจิ้งโจว ประเทศจีน ส่งผลกระทบชั่วคราวต่อการประกอบ iPhone ทั้ง 2 รุ่นดังกล่าวโดยตรง โดยโรงงานต้องดำเนินการภายใต้กำลังการผลิตที่มีอย่างจำกัด
แอปเปิลบอกว่าความต้องการ iPhone ทั้งรุ่น iPhone 14 Pro และ iPhone 14 Pro Max ยังมีอยู่สูงมาก อย่างไรก็ตามผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ลูกค้า จะต้องรอคอยสินค้าเป็นเวลาที่นานขึ้น ซึ่งบริษัทยังดำเนินงานร่วมกับซัพพลายเออร์ เพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด และมีความปลอดภัยกับพนักงานทุกคน
Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สายแอปเปิลคนดัง โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ ให้ข้อมูลว่าแอปเปิลกำลังปรับยุทธศาสตร์ด้านซัพพลายเชน ให้พึ่งพาจีนน้อยลง
ตัวอย่างที่เห็นกันไปแล้วคือการผลิต iPhone ในอินเดีย ตอนนี้ 80% ของ iPhone ที่ผลิตในอินเดีย (โดยโรงงาน Foxconn) นำไปขายในอินเดียเอง แต่ในอนาคต เราอาจได้เห็นบริษัทใหญ่ๆ ของอินเดียอย่าง Tata Group ร่วมมือกับโรงงานรับจ้างผลิตอย่าง Pegatron หรือ Winstron เพื่อขยายการผลิต iPhone ในอินเดียให้มากขึ้น
ประเด็นถัดมาคือ Kuo บอกว่าแอปเปิลน่าจะย้ายฐานผลิต MacBook ซึ่งปัจจุบันผลิตในจีน 100% และเป้าหมายปลายทางน่าจะเป็นประเทศไทย อย่างไรก็ตาม Kuo ไม่ได้ให้ข้อมูลมากไปกว่านี้
อย่างที่ทราบกันว่าจีนเป็นซัพพลายเชนสำหรับผลิตสมาร์ทโฟนใหญ่ของโลก โดยสมาร์ทโฟน 2 ใน 3 ส่วนทั่วโลกผลิตในจีน อย่างไรก็ตาม สถานะการเป็นแหล่งผลิตสมาร์ทโฟนของจีนกำลังสั่นคลอน เนื่องจากนโยบาย Zero Covid ของรัฐบาลและตลาดสมาร์ทโฟนซบเซาลง
แหล่งข่าวของ South China Morning Post เผยว่าโรงงานผลิตสมาร์ทโฟนในจีนได้รับคำสั่งซื้อที่ไม่ชัดเจนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดจากบริษัมสมาร์ทโฟนทั้งการลดการสั่งผลิตสมาร์ทโฟนหรือแม้แต่การยกเลิกการผลิต
สาเหตุหลักที่ทำให้การเป็นแหล่งผลิตสมาร์ทโฟนของจีนสั่นคลอนมาจากที่ผู้บริโภคชะลอการซื้อสมาร์ทโฟนจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้บริษัทสมาร์ทโฟนยกเลิกคำสั่งผลิตมายังโรงงานผลิตในจีน
มีรายงานว่า Pegatron อีกหนึ่งโรงงานที่ประกอบ iPhone ให้กับแอปเปิลในจีน ได้หยุดสายการผลิตชั่วคราวทั้งโรงงานในเซี่ยงไฮ้และคุณซาน ตามคำสั่งปิดโรงงานของทางการจีน เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด 19 โดย Pegatron บอกว่าจะร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อให้โรงงานกลับมาดำเนินงานต่อได้โดยเร็วที่สุด
ก่อนหน้านี้โรงงาน Foxconn ในเซินเจิ้น ที่ประกอบ iPhone ให้แอปเปิลเช่นกัน ก็ถูกสั่งปิดชั่วคราวในลักษณะคล้ายกัน ก่อนจะให้กลับมาดำเนินงานต่อได้บางส่วน นอกจากนี้ยังมีรายงานโรงงานที่ผลิตสินค้าให้แอปเปิลรายอื่นในจีน ทั้ง Quanta (MacBook) และ Compal Electronics (iPad) ก็ถูกสั่งหยุดโรงงานเช่นเดียวกัน
ปัญหา Raspberry Pi ขาดแคลนที่กระทบต่อมาจากปัญหาชิปขาดแคลนจนต้องขึ้นราคา ดูจะหนักขึ้นเรื่อยๆ โดยตอนนี้ร้านค้าปลีกทั่วโลกแทบไม่มีร้านไหนมี Raspberry Pi 4B ขายเลย
ในสหรัฐฯ ตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่อย่าง Mouser หรือ Digi-Key ล้วนไม่มีขาย แถมระบุว่าจะเติมสต็อกอีกทีปี 2023 เลยทีเดียว มีเพียง PiShop เท่านั้นที่ยังมีขายรุ่น 2GB อยู่ ส่วน Sparkfun ระบุว่ากำลังมีสต็อกเข้ามาเติมต้นปี 2022 พันกว่าชุด
Raspberry Pi 4B เป็นรุ่นยอดนิยมที่ใช้งานกันในหมู่ผู้สนใจเทคโนโลยีเป็นวงกว้าง เพราะราคาถูก ประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆ
จากปัญหาชิปขาดแคลนยืดเยื้อยาวนาน บริษัทวิจัยตลาด NPD ประเมินตัวเลขว่าราคาของทีวีจอใหญ่ๆ เริ่มปรับตัวสูงขึ้นถึง 30% เมื่อเทียบกับราคาช่วงกลางปีที่แล้ว และคาดว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ จะปรับตัวขึ้นตามในไม่ช้า
ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายรายก็เคยเตือนปัญหาราคาพุ่งมาก่อนแล้ว เช่น ASUS หรือ Synaptics ที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในสินค้า ระบุว่าชิ้นส่วนขาดแคลนตั้งแต่ต้นน้ำอาจทำให้สินค้าราคาแพงขึ้น ส่วนเว็บไซต์ขายชิ้นส่วน Monoprice ก็ยอมรับว่าเจอปัญหาสต๊อกขาดแคลนแล้ว บริษัทยืนยันว่าไม่ขึ้นราคา แต่ก็อาจต้องเลิกโปรโมชั่นหรือส่วนลดแทน
Twilio ผู้ให้บริการ API ด้านการสื่อสาร เช่น SMS, โทรศัพท์, และอีเมล ประกาศว่าซอร์สโค้ดของบริษัทถูก clone ออกไปจากบัญชี GitHub เนื่องจากใช้บริการตรวจสอบความครอบคลุมของชุดทดสอบโค้ด Codecov ที่ถูกแฮกอีกทีหนึ่ง
ปี 2020 เป็นปีที่วงการพีซีกลับมารุ่งเรืองจากกระแสทำงาน-เรียนที่บ้าน ทำให้ยอดขายพีซีของปีนี้อาจสูงถึง 300 ล้านเครื่อง เติบโต 15% จากปีที่แล้ว และเป็นตัวเลขที่เราเคยเห็นครั้งสุดท้ายในปี 2008
Canalys ประเมินว่าสิ้นปี 2021 ยอดใช้งานพีซีและแท็บเล็ตรวมทั่วโลกจะอยู่ที่ 1.77 พันล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นจาก 1.64 พันล้านเครื่องในปี 2019 จากเดิมที่หนึ่งบ้านมีพีซีแค่หนึ่งเครื่อง กลายมาเป็นคนในบ้านหนึ่งคนมีพีซีของตัวเองคนละเครื่อง
Todd Garrigues หัวหน้าโครงการคู่ค้าของอินเทลยอมรับกับสำนักข่าว CRN ว่าปีที่ผ่านมาถูกคู่ค้าแสดงความไม่พอใจที่ไม่สามารถส่งมอบซีพียูให้ได้ และสัญญาว่าจะพยายามสื่อสารให้มากขึ้น
ข่าวซีพียูขาดตลาดเริ่มเป็นข่าวตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน เมื่ออินเทลออกมายอมรับผ่านช่องทางทางการของบริษัท ปัญหาใหญ่คือคู่ค้าจำนวนมากไม่รู้ว่าอินเทลจะส่งมอบซีพียูให้ได้เมื่อใด คู่ค้าบางส่วนระบุกับ CRN ว่าสั่งซีพียู Core i5-8500 ไปแต่ไม่ได้รับสินค้า จนต้องยอมประกอบเครื่องด้วย Core i5-8600 เพื่อให้ส่งมอบกับลูกค้าได้ตามสัญญาแม้ต้นทุนจะเพิ่ม
หลังจากที่เคยมีข่าวเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานในประเทศโลกที่ 3 ที่ขุดแร่เพื่อผลิตเป็นชิ้นส่วนให้แอปเปิล จนทำให้ปีที่แล้วแอปเปิลประกาศว่าสามารถตรวจสอบซัพพลายเชนได้เองทั้งหมด 100% แล้ว
ด้วยความสามารถในการตรวจสอบซัพพลายเชนนี้เองมีส่วนให้แอปเปิลประกาศว่า จะนำแร่และวัสดุจากอุปกรณ์ที่เลิกใช้แล้ว กลับมารีไซเคิลผลิตเป็นอุปกรณ์ชิ้นใหม่ เป็นแบบ closed-loope supply chain หรือชิ้นส่วนรีไซเคิลคุณภาพสูงที่ซื้อจากซัพพลายเออร์ ซึ่งเท่ากับว่าแอปเปิลจะช่วยลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิคส์ไปด้วยในตัว
มีข่าวลือชุดใหม่ที่ใกล้เคียงกับสถานะปัจจุบันของแอปเปิลออกมาหลายเรื่อง ซึ่งเกี่ยวกับการแก้ปัญหาฮาร์ดแวร์ที่เพิ่งพบว่า iPhone 6 Plus รุ่นความจุ 128GB เจอปัญหาบูทลูป ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าเป็นเพราะการเปลี่ยนมาใช้ชิปแฟลชแบบ TLC จากโตชิบา แทนที่ซัมซุงหลังจากทั้งสองฝ่ายตกลงเรื่องราคากันไม่ได้ โดยจะโยกกลับไปให้ซัมซุงผลิตดังเดิมทั้ง iPhone 6 และ 6 Plus เป็นหลัก แทนที่สามเจ้าแรกอย่างโตชิบา, SK Hynix และ SanDisk แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าจะเป็นชิปแบบ MLC หรือ TLC กันแน่
รายงานล่าสุดระบุว่าหลังจากที่แอปเปิลเริ่มปรับลดความสัมพันธ์กับซัมซุง ด้วยการลดความพึ่งพาซัมซุงในเรื่องของการผลิตชิป และเปลี่ยนไปจ้างบริษัทอื่นอย่าง TSMC ให้ผลิตชิปแทนนั้นส่งผลกระทบต่อหน่วยธุรกิจผลิตชิปของซัมซุงมาก
ตั้งแต่ปี 2007 ที่แอปเปิลเริ่มขายสินค้าตระกูล iOS ซัมซุงเป็นผู้ผลิตชิปตระกูล Apple Ax ให้กับแอปเปิลแต่เพียงผู้เดียว แต่ระยะหลัง ๆ นี้แอปเปิลได้ว่าจ้างบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing (TSMC) ให้เป็นผู้ผลิตชิปร่วม หลังจากที่มีเหตุการณ์ฟ้องร้องกันกับซัมซุง
มีข่าวลือออกมาจาก milukugiuniu ว่าขณะนี้โซนี่กำลังเผชิญปัญหาการผลิตชิ้นส่วนจากซัพพลายเออร์อย่างหนัก จนทำให้ไม่สามารถส่งชิ้นส่วนมาประกอบขึ้นรูปเป็นตัวเครื่องได้ทัน อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เจอปัญหานั้นยืนยันแล้วว่าไม่ใช่ Qualcomm ครับ ดังนั้นจากเหตุผลข้างต้น จึงทำให้ Xperia Z2 อาจจะขายได้ในจำนวนที่น้อย-น้อยมากในช่วงแรก คือภายในเดือนนี้ และอาจจะเปิดขายอีกทีคือในช่วงปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคมเลยทีเดียว
ถ้ากำหนดการข้างต้นนั้นเป็นจริง ช่วงเวลาดังกล่าว ก็คือช่วงเวลาที่ Samsung Galaxy S5 ออกขายอย่างเป็นทางการแล้ว 1 เดือน และยังไม่รวม HTC All new One ที่มีการคาดการณ์ว่ากำหนดการขายน่าจะมาก่อนอีกด้วย ดังนั้นน่าจะทำให้โซนี่เจอปัญหาการขายเครื่องในช่วงแรกแน่นอนครับ
แอปเปิลได้เซ็นสัญญากับ TSMC ให้เป็นผู้ผลิตชิปตระกูล A-series สำหรับอุปกรณ์ iOS ของแอปเปิลเริ่มต้นปีหน้า โดย TSMC จะเริ่มใช้เทคโนโลยีสถาปัตยกรรมขนาด 20 นาโนเมตรในการผลิตชิปให้แก่แอปเปิล
ในรายงานระบุว่าทั้งสองบริษัทเริ่มเจรจากันตั้งแต่ปี 2010 แล้ว แต่เพราะข้อจำกัดทางเทคนิค ทำให้ TSMC ไม่สามารถผลิตชิปได้มากพอที่แอปเปิลต้องการ อีกทั้ง yield rate ที่ไม่ดีพอ ทำให้แอปเปิลไม่ได้เซ็นสัญญากับ TSMC อย่างเป็นทางการ
หลังจากที่ทางผู้บริหารนิรนามของ HTC ยืนยันถึงเรื่องที่ HTC One ผลิตไม่ทัน แต่ก็ยังไม่มีข่าวคราวว่า HTC One จะขายในแต่ละประเทศวันไหนกันแน่ ล่าสุด HTC ประกาศบน Facebook ของตนแล้วว่า
เนื่องจากความต้องการของ HTC One มีมาก ทำให้ทางบริษัทไม่สามารถผลิต HTC One สู่คนทั่วโลกได้ทันตามที่กำหนด ทำให้ต้องเลื่อนการวางจำหน่ายของ HTC One ในบางประเทศ แต่แน่นอนว่าที่สหราชอาณาจักร, เยอรมนี และไต้หวันยังคงขายสัปดาห์หน้าไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนทวีปยุโรป, อเมริกาเหนือ และทวีปเอเชียในส่วนที่เหลือ จะวางจำหน่ายไม่เกินปลายเดือนเมษายนนี้ HTC หวังว่าลูกค้าจะสามารถอดทนรอได้ และเมื่อได้เครื่องแล้ว ลูกค้าจะตอบรับว่ามันสมกับการรอคอยจริง ๆ
Sammy Ohev-Zion ผู้บริหารของ BLU Products ให้สัมภาษณ์ว่าเทคโนโลยีการผลิตและชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และบริษัทขนาดเล็กก็สามารถผลิตโทรศัพท์ที่มีคุณสมบัติและต้นทุนการผลิตใกล้เคียงกับผู้เล่นรายใหญ่เช่นซัมซุงหรือโมโตโรลาเช่นกัน แต่การเป็นบริษัทเล็กที่มีรายจ่ายอื่น เช่น โฆษณาและค่าเช่าตึกออฟฟิศหรูๆ น้อยกว่า ทำให้สามารถขายในราคาที่ถูกกว่าได้
โดยบริษัทนี้ตั้งราคามือถือเรือธงรุ่นล่าสุด BLU Life One ไว้ที่ 299 ดอลลาร์เท่านั้น ด้วยเสปค CPU Quad-Core 1.2 GHz, จอ IPS HD 5 นิ้ว, กล้องหลัก 13 megapixel, stock Android 4.2 และขายผ่านร้านค้าปลีก
แน่นอนว่า วิศวกรของแอปเปิลอยากเห็นผลิตภัณฑ์ของตนเปิดตัวอย่างงดงาม ในงาน Keynote ท่ามกลางสายตาผู้คน จึงไม่น่าแปลกใจที่ีพวกเขาต้องกระเสือกกระสนในการปกปิดข้อมูลทุกอย่างให้เป็นความลับ และต้องการชมปฏิกิริยาที่ผู้คนทั่วโลกเห็นขณะเปิดตัว แน่นอนว่าใคร ๆ ก็คงอยากรู้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลก่อนงานเปิดตัว ดังนั้น จึงเกิดข่าวลือต่าง ๆ ออกมามากมาย ซึ่งเหล่าวิศวกรแอปเปิลนั้น เมื่อเห็นข่าวลือพวกนี้ก็คงเหมือนเด็ก ๆ ที่หมดสนุกกับการเปิดกล่องของขวัญ โดยการเขย่า บีบ เพื่อเดาว่าอะไรอยู่ในนั้น แล้วจึงเปิด
พวกเราส่วนใหญ่น่าจะรู้ว่าช่วงปีที่ผ่านมา แอปเปิลนั้นเป็นลูกค้ารายใหญ่ของซัมซุงมาโดยตลอด เมื่อปีที่แล้วซัมซุงมียอดสั่งซื้อชิ้นส่วนจากแอปเปิลเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านล้านวอน (ประมาณ 276,000 ล้านบาท) แต่ดูเหมือนว่าปีนี้แอปเปิลจะเริ่มปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานของบริษัทแล้ว โดยจะไม่สั่งชิ้นส่วนหน้าจอและชิปหน่วยความจำจากซัมซุงเป็นหลักเหมือนเมื่อก่อนแต่จะหันไปหา โตชิบา, SK Hynix และ Elpida Memory สำหรับการผลิตชิปหน่วยความจำและจะให้แอลจีผลิตหน้าจอเป็นหลักแทน อย่างไรก็ตาม ซัมซุงจะยังเป็นผู้จัดส่งชิปให้กับแอปเปิลก่อนในช่วงแรกแต่ก็มีแนวโน้มว่าจะลดลงไปเรื่อยๆ
หลังจากอินเทลผิดหวังกับตลาดโมบายมาหลายต่อหลายรอบ (นับแต่ MID, จนถึง Moorestown) ความหวังจาก Medfield ที่น่าจะมีการผลิตสินค้าเป็นโทรศัพท์และแท็บเล็ตออกขายก็ทำให้อินเทลเตรียมปรับสายการผลิตของตัวเองให้พร้อมรับคำสั่งซื้อจำนวนมากแล้ว
Brian Krzanich เพิ่งได้รับตำแหน่ง COO ของอินเทลคาดว่ากำลังผลิตของอินเทลจะไปอยู่กับอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนหน้าที่จะรับตำแหน่งนี้ เขาเป็นหัวหน้าฝ่ายการผลิตมาก่อน มีผลงานสำคัญคือการลดช่วงเวลาเดินสายการผลิตของชิปลงเหลือเพียงครึ่งเดียวในช่วงห้าปีที่ผ่านมา และเขาเชื่อว่ากระบวนการผลิตที่สั้นลงนี้จะดีต่อตลาดโทรศัพท์ด้วยเช่นเดียวกัน
น่าอาจจะเป็นเรื่องน่าขัน แต่จากรายงานล่าสุดจาก iSuppli ได้เปิดเผยข้อมูลว่าซัมซุงเป็นผู้ผลิตรายเดียวที่ทำหน้าจอ Retina Display ส่งให้กับแอปเปิลเพื่อนำมาผลิต iPad โดยข้อมูลนี้ต่างจากรายงานก่อนหน้าที่อ้างว่า LG และ Sharp ต่างก็ทำหน้าจอนี้ส่งให้กับแอปเปิล
โดยในรายงานก่อนหน้านี้เชื่อว่า Sharp เป็นผู้ "ออกแบบ" เทคโนโลยีจอ Retina Display และจะเป็นผู้ผลิตรายเดียวที่สามารถทำหน้าจอดังกล่าวส่งให้กับแอปเปิลได้ แต่หลังจากที่ Sharp ไม่สามารถที่จะผลิตชิ้นส่วนจำนวนมากให้กับแอปเปิล ประกอบกับปัญหาเรื่องคุณภาพของสินค้าที่ออกมาเมื่อต้นเดือนมกราคม ทำให้แอปเปิลต้องเลือกที่จะเปลี่ยนผู้ผลิตชิ้นส่วน