Proton VPN เพิ่มฟีเจอร์ที่น่าสนใจให้แอพเวอร์ชัน Android คือสามารถเปลี่ยนชื่อและไอคอนของแอพ Proton VPN ให้ดูเหมือนแอพทั่วๆ ไป เช่น Weather, Notes, Calculator ได้ด้วย
ทีมพัฒนา Proton VPN บอกว่าถึงแม้ตัวแอพช่วยหลบเลี่ยงการเซ็นเซอร์ได้ก็จริง แต่ในบางประเทศ ตำรวจหรือทหารอาจนำมือถือของประชาชนมาตรวจสอบ และถ้าพบว่ามีแอพกลุ่ม VPN ก็อาจมีความผิดได้ ทางทีมพัฒนาจึงออกแบบฟีเจอร์นี้มาช่วยให้ผู้ใช้ Proton VPN มีโอกาสหลบเลี่ยงการถูกค้นมือถือแล้วพบสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศนั้นๆ ได้มากขึ้น (ฟีเจอร์นี้มีเฉพาะ Android เพราะบน iOS เปลี่ยนไอคอนไม่ได้)
The Moscow Times รายงานว่ามีผู้ให้บริการ VPN อย่างน้อยสองราย ได้รับแจ้งจากแอปเปิลว่าแอปของพวกเขา ถูกถอดออกจาก App Store ในรัสเซีย ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งของ Roskomnadzor หน่วยงานกำกับดูแลการสื่อสารของรัสเซีย ซึ่งแอปที่ระบุได้แก่ Red Shield VPN และ Le VPN ซึ่งทั้งสองแอปได้ชี้แจงเป็นทางการในเวลาต่อมา
Roskomnadzor ให้เหตุผลของการสั่งนำสองแอปนี้ออกจาก App Store ว่าแอปดังกล่าวมีเนื้อหาที่ผิดกฎหมายของรัสเซีย
สำนักข่าว Reuters อ้างข้อมูลจาก Interfax ว่าไม่ได้มีแค่สองแอป VPN นี้ ที่ถูกถอดออกจาก App Store แต่รวมแล้วมีถึง 25 แอป
Proton VPN บริการ VPN ในเครือ Proton ที่เพิ่งปรับองค์กรเป็นมูลนิธิ ประกาศเปิดให้ใช้งานแบบไม่ต้องล็อกอินใดๆ ไม่ต้องมีบัญชีของ Proton ก็เชื่อมต่อบน VPN ได้เลย ยังรองรับเฉพาะการใช้งานบน Android เท่านั้น
Proton อธิบายว่าต้องการให้บริการ VPN กับประชาชนในประเทศต่างๆ กว่า 60 ประเทศที่มีการเลือกตั้งในปีนี้ เป้าหมายคือให้ประชาชนเหล่านี้สื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเซ็นเซอร์ข้อมูล การบล็อคการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในแต่ละประเทศ ตัวบริการ Proton VPN มีฟีเจอร์หลายอย่างช่วยหลบเลี่ยงการเซ็นเซอร์ เช่น การปลอมแพ็กเกตข้อมูล VPN ให้ดูเหมือนทราฟฟิกอินเทอร์เน็ตทั่วไป หรือการใช้โปรโตคอล VPN ที่สลับไปมา บล็อคได้ยากขึ้น เป็นต้น
ตามที่มีผู้ใช้ที่มุด VPN ปลอมประเทศไปสมัคร YouTube Premium ในราคาที่ถูกกว่าประเทศตัวเอง ออกมาบอกว่าถูกยกเลิกแพลนพรีเมียมไปในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาบน Reddit ตอนนี้ YouTube ได้ออกมายืนยันกับ TechCrunch แล้วว่ากำลังไล่ตรวจจับผู้ใช้ที่ใช้ VPN อยู่
และหาก YouTube พบผู้ใช้ที่ประเทศตอนสมัคร YouTube Premium ไม่ตรงกับประเทศที่อาศัย YouTube ก็จะส่งบิลไปขอให้ผู้ใช้อัพเดตข้อมูลการเรียกเก็บเงินให้ตรงกับราคาของประเทศที่อาศัยอยู่
ถึงยังไม่มีข้อมูลออกมาว่า YouTube ได้ยกเลิกแพลนพรีเมียมของผู้ใช้เหล่านั้นก่อนจะส่งบิลไปหรือไม่ แต่คิดว่าสาเหตุของการถูกยกเลิกแพลนที่เกิดขึ้นก็น่าจะเป็นเพราะเหตุผลดังกล่าว
ไมโครซอฟท์ออกอัปเดตแก้ไขบั๊ก VPN ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ เมื่ออัปเดตแพตช์ของเดือนเมษายน 2024 ซึ่งตอนนั้นไมโครซอฟท์ยืนยันปัญหา และแนะนำให้ถอนการติดตั้งไปก่อน
อัปเดตใหม่ที่ได้รับการแก้ไขบั๊ก VPN จะอยู่ในอัปเดตของเดือนพฤษภาคม 2024 สำหรับ Windows 11, Windows 10 ตลอดจนกลุ่ม Windows Server
ทั้งนี้ไมโครซอฟท์ไม่ได้อธิบายสาเหตุที่ทำให้ VPN ใช้งานไม่ได้ในอัปเดตในเดือนเมษายน
ที่มา: Bleeping Computer
ไมโครซอฟท์ยืนยันปัญหาหลังมีรายงานจากคนที่อัปเดต Windows ของเดือนเมษายน Build 22621.3447 (KB5036893) สำหรับ Windows 11 และ Build 19045.4291 (KB5036892) ของ Windows 10 พบว่าไม่สามารถเชื่อมต่อ VPN ได้ โดยบอกว่ากำลังตรวจสอบแก้ไขบั๊กนี้ และจะอัปเดตอีกครั้ง
Palo Alto Networks รายงานว่ามีกลุ่มแฮกเกอร์กลุ่มหนึ่งกำลังแฮก PAN-OS ที่เปิด GlobalProtect โดยใช้ช่องโหว่ที่ไม่รู้จักมาก่อน และยังไม่มีแพตช์ออกมา เรียกปฎิบัติการแฮกของคนร้ายครั้งนี้ว่า Operation MidnightEclipse
ทางบริษัทระบุว่ากำลังพัฒนาแพตช์อยู่ มีกำหนดออกแพตช์วันที่ 14 เมษายนนี้ อย่างไรก็ดีเชื่อว่ามีคนร้ายเพียงกลุ่มเดียวที่รู้ช่องโหว่นี้ และสามารถลดความเสี่ยงได้โดยการปิดฟีเจอร์ device telemetry ออกไปก่อนจนกว่าจะมีแพตช์
กูเกิลอีเมลแจ้งลูกค้าที่ใช้งานบริการ VPN ที่แถมมาให้กับแพ็คเกจ Google One ว่าบริการนี้จะปิดตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่ยังไม่ได้ระบุวัน
Google One VPN เปิดตัวในปี 2020 ตอนแรกแถมมาให้เฉพาะคนที่สมัครแพ็คเกจบนสุด 2TB รองรับบน iOS และ Android จากนั้นขยายมาใช้งานบน Windows กับ Mac ได้ด้วย เมื่อปีที่แล้วกูเกิลขยายบริการ VPN มาให้ลูกค้า Google One แพ็คเกจเล็กที่สุดด้วย แต่ที่ว่ามาทั้งหมด ลูกค้าในประเทศไทยก็ยังไม่สามารถใช้งานได้
DuckDuckGo เปิดตัวบริการ Subscription เป็นครั้งแรก โดยบอกว่าปกติ Subscription ก็จะได้แค่หนึ่งอย่าง แต่อันนี้ให้ถึงสามได้แก่ VPN แบบนิรนาม (anonymous) สูงสุด 5 อุปกรณ์, บริการตามลบข้อมูลส่วนบุคคลที่พบตามเว็บไซต์, บริการตามกู้คืนบัญชีที่ถูกขโมย
บริการนี้เรียกรวมว่า Privacy Pro คิดราคา 9.99 ดอลลาร์ต่อเดือน อย่างไรก็ตามบริการนี้ยังจำกัดให้เฉพาะผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น โดย DuckDuckGo มีแผนขยายตลาดเพิ่มเติมในอนาคต
ที่มา: DuckDuckGo
โครงการ PiVPN ที่เป็น shell script สำหรับการติดตั้ง VPN อย่างง่าย ประกาศออกเวอร์ชั่น 4.6.0 เป็นการสั่งลา หลังจากเริ่มโครงการมา 7 ปี รวมมีผู้ร่วมพัฒนา 84 คน โดย @4s3ti เป็นผู้ดูแลโครงการที่รับต่อมาจาก @0-kaladin
@4s3ti ระบุว่าเขาจะไม่ส่งต่อโครงการให้ใครยกเว้นผู้ก่อตั้งโครงการเริ่มต้นเท่านั้น สำหรับผู้สนใจคนอื่นๆ ที่ต้องการดูแลโครงการต่อต้อง fork โครงการไปเท่านั้น
แม้จะเป็นเวอร์ชั่นสั่งลา แต่ก็มีการแก้บั๊ก และเพิ่มฟีเจอร์รองรับ Pi-hole เข้ามาด้วย พร้อมกับแก้บั๊กเล็กๆ น้อยๆ และ refactor โค้ด
ที่มา - PiVPN
Mozilla Corporation ประกาศเปลี่ยนตัวซีอีโอ โดย Mitchell Baker ซีอีโอที่รับตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 2020 จะกลับไปเป็นประธานบอร์ดอีกครั้ง (เธอเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Mozilla และเป็นซีอีโอมารอบหนึ่งในปี 2003-2008) และไปทำงานด้านนโยบาย การเป็นตัวแทนองค์กรบนเวทีสัมมนา การพบปะกับภาคส่วนต่างๆ ให้มากขึ้น
มีผู้ใช้พบว่าเว็บเบราว์เซอร์ Brave เวอร์ชันวินโดวส์ แอบติดตั้งเซอร์วิสที่เกี่ยวกับ VPN แม้ผู้ใช้ไม่ได้สมัครบริการ Brave VPN ก็ตาม
Brave เพิ่งเปิดตัวฟีเจอร์ Firewall + VPN ในราคา 9.99 ดอลลาร์/เดือน เมื่อเดือนมีนาคม 2023 ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะมีเบราว์เซอร์หลายตัวผนวกเอาบริการ VPN เข้ามาด้วย
ปีที่แล้ว Microsoft เปิดตัวบริการ VPN ฟรีในเบราว์เซอร์ Edge ในชื่อ Microsoft Edge Secure Network โดยใช้เครือข่ายของ Cloudflare ซึ่งตอนนั้นให้โควต้าคนละ 1GB ต่อเดือน
ล่าสุด Microsoft ได้ประกาศเพิ่มโควต้าฟรีเป็น 5GB ต่อเดือน โดยบังคับว่าต้องล็อกอินในเบราว์เซอร์ด้วย Microsoft account ก่อนใช้งาน อย่างไรก็ตาม ชื่อผู้ใช้จะไม่ถูกส่งต่อไปยัง Cloudflare ที่เป็นผู้ให้บริการ VPN
Cloudflare ประกาศเริ่มใช้โปรโตคอล MASQUE ที่ขี่อยู่บน HTTP/3 อีกอีกทีหนึ่ง มาให้บริการ VPN บนแอป WARP คู่กับ Wireguard
เนื่องจาก HTTP/3 หรือ QUIC นั้นรองรับการเชื่อมต่อหลายสตรีมพร้อมกับ การให้บริการ VPN ผ่าน MASQUE จึงเป็นเหมือนการเชื่อมต่อผ่าน proxy ดั้งเดิมที่เราเคยใช้กันมา คำสั่งเชื่อมต่อนั้นยังใช้ HTTP CONNECT เหมือนกันอีกด้วย ข้อดีที่เหนือ Wireguard คือไฟร์วอลล์มักไม่บล็อคพอร์ต 443 สำหรับ HTTP/3, กระบวนการเข้ารหัสสามารถใช้อัลกอลิทึมใหม่ๆ ได้, และในอนาคตเมื่อมาตรฐาน Multipath QUIC พร้อมใช้งานก็จะสามารถเชื่อมต่อหลายช่องทางได้พร้อมกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถสลับการเชื่อมต่อเช่น Wi-Fi มาเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์มือถือได้โดยสามารถส่งข้อมูลต่อเนื่อง
แอปเปิลประกาศอัปเดตซอฟต์แวร์ tvOS 17 เพิ่มฟังก์ชันอินเทอร์แอ็คทีฟได้มากกว่าเดิม โดยเพิ่ม FaceTime มาอยู่บน Apple TV ให้ผู้ใช้งานสนทนากับครอบครัวและบุคคลอื่นผ่าน TV ได้เป็นครั้งแรกแล้ว ในอนาคต Apple TV ยังเปิดรองรับการเชื่อมต่อ VPN จากแอปภายนอกได้แล้ว เปิดให้องค์กรหรือสถานศึกษาสามารถสร้างแอปสำหรับ Apple TV เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาบนเครือข่ายส่วนตัวของตนเองได้
นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเสริมอื่นๆ ที่มาพร้อมกับ tvOS 17 ได้แก่
เว็บเบราว์เซอร์ Brave ออกเวอร์ชัน 1.49 เพิ่มฟีเจอร์ Firewall + VPN สำหรับผู้ใช้บนเดสก์ท็อป จากที่มีให้บริการ VPN บนเวอร์ชัน iOS/Android มาก่อนหน้านี้
VPN ของ Brave ใช้เครือข่ายของ Guardian ซึ่งไม่ฟรี คิดค่าบริการ 9.99 ดอลลาร์ต่อเดือน หรือ 99.99 ดอลลาร์ถ้าสมัครรายปี โดยเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้สูงสุด 5 ชิ้น (นับรวมทั้งเดสก์ท็อปและมือถือ) และใช้กับแอพอื่นๆ นอกเบราว์เซอร์ได้ด้วย
เว็บเบราว์เซอร์อื่นที่มีฟีเจอร์ VPN ให้ใช้งานคือ Opera ที่ใช้งานได้ฟรี และ Microsoft Edge ที่ยังทดสอบในกลุ่มจำกัด
Google เปิดบริการ VPN แถมไปกับผู้จ่ายค่าใช้งาน Google One แพ็กเกจ 2TB มาตั้งแต่ปี 2020 แต่ล่าสุดก็เตรียมแถมให้กับทุกคน รวมถึงคนใช้แพ็กเกจ 1.99 ดอลลาร์ต่อเดือน อย่างไรก็ดีบริการ VPN นั้นให้บริการบางประเทศเท่านั้น และที่ผ่านมาก็ไม่เปิดบริการในประเทศไทย
นอกจากนี้กูเกิลยังประกาศเพิ่มบริการสแกนข้อมูลที่หลุดออกไปยัง dark web โดยผู้ใช้ต้องใส่ข้อมูลต่างๆ ให้กับกูเกิล เช่น ชื่อ, ที่อยู่, หมายเลขโทรศัพท์, เลขประจำตัวประชาชน แล้วกูเกิลจะคอยตรวจสอบว่ามีฐานข้อมูลหลุดใดมีข้อมูลเหล่านี้หรือไม่ หากพบก็จะแจ้งเตือนพร้อมกับแนะนำว่าควรทำอะไรบ้าง
กูเกิลออก Android 13 อัพเดตฟีเจอร์ประจำไตรมาส Quarterly Platform Releases (QPR1) ให้กับ Pixel 7 และ Pixel 7 Pro ดังนี้
ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 25252 ให้กลุ่มทดสอบ Dev Channel มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจคือ ไอคอนเครือข่ายใน system tray มีป้าย (badge) รูปโล่ เพื่อบอกว่ากำลังเชื่อมต่อ VPN อยู่ในตอนนั้น
ความนิยมใน VPN เพิ่มขึ้นมากในยุคหลังด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง ทั้งเรื่องความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว การหลบเลี่ยงเซ็นเซอร์ หรือการใช้งานบริการที่จำกัดภูมิภาค เราจึงเริ่มเห็นบริษัทเจ้าของ OS หรือเบราว์เซอร์เริ่มทยอยเพิ่มฟีเจอร์ด้าน VPN เข้ามา เช่น Microsoft Edge มี VPN ใช้ฟรี, iOS มีบริการ Private Relay หรือ Google One VPN เป็นต้น
แพ็กเกจ Google One ของกูเกิลมีบริการ VPN ให้สำหรับลูกค้าที่ใช้พื้นที่ 2TB ขึ้นไป (เฉพาะในบางประเทศ และยังไม่มีไทย)
ก่อนหน้านี้บริการ Google One VPN ใช้ได้เฉพาะบน Android แล้วค่อยขยายมายัง iOS ล่าสุดรองรับการใช้งานบนเดสก์ท็อปแล้ว ทั้งวินโดวส์และแมค รองรับ Windows 10 และ macOS 11 ขึ้นไป
การใช้งานบนเดสก์ท็อปจำเป็นต้องดาวน์โหลดแอพ VPNbyGoogleOneSetup.exe หรือ VpnByGoogleOne.dmg มาติดตั้งในเครื่องก่อน ล็อกอินด้วยบัญชีกูเกิล และเปิดใช้งาน VPN เหมือนกับแอพ VPN ทั่วไป สามารถใช้งานบนอุปกรณ์ต่างๆ ได้สูงสุด 6 ชิ้น
Proton VPN เป็นผู้ให้บริการ VPN รายล่าสุด ที่ประกาศปิดเซิร์ฟเวอร์ในอินเดีย หลังจากทางการมีข้อกำหนดให้ผู้ให้บริการ VPN ในประเทศ ต้องเก็บข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อลูกค้า, อีเมล, IP ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยต้องเก็บข้อมูลอย่างน้อย 5 ปี และให้ข้อมูลกับหน่วยงานดูแลเมื่อมีการร้องขอ
ก่อนหน้านี้ ExpressVPN ก็ประกาศปิดเซิร์ฟเวอร์ในอินเดีย รวมถึงผู้ให้บริการ VPN หลายรายก็ใช้แนวทางนี้ นั่นคือลูกค้ายังใช้งานได้ตามเดิม แต่ไม่ได้เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งในประเทศ
ที่ผ่านมาทางการอินเดียได้ข้อกำหนดเรื่องความมั่นคงทางไซเบอร์หลายหัวข้อ ซึ่งเป็นการควบคุมอินเทอร์เน็ตในระดับเดียวกับจีนและรัสเซีย
รัฐบาลอินเดียได้ออกคำสั่งห้ามพนักงานรัฐใช้งาน VPN จากผู้ให้บริการรายอื่นที่ไม่ใช่ VPN ของหน่วยงานรัฐเอง ซึ่งมีผลกระทบกับผู้ให้บริการปัจจุบันในอินเดีย เช่น Nord VPN, ExpressVPN หรือ Tor ซึ่ง ExpressVPN ได้เคยประกาศปิดเซิร์ฟเวอร์ในอินเดีย เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดใหม่ได้
ในคำสั่งนี้ยังกำหนดให้การเก็บเอกสารข้อมูลสำคัญ ห้ามเก็บไว้ในบริการคลาวด์จากผู้ให้บริการอย่าง Google Drive หรือ Dropbox ด้วย และยังระบุว่าห้ามเจลเบรกหรือรูทสมาร์ทโฟน เพื่อให้สามารถลงแอปอื่นที่ต้องการ
ผู้ให้บริการ VPN เจ้าดัง “ExpressVPN” แถลงผ่าน Blog ของเว็บไซต์ว่า กำลังจะนำเซิร์ฟเวอร์ออกจากอินเดีย เพราะไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายอินเดียที่ให้เปิดข้อมูลตัวตนและการใช้งานของผู้ใช้ได้
ในแถลงการณ์ยังระบุว่า ด้วยหลักการทำงานและการให้บริการ VPN ที่จะปกปิดข้อมูลของผู้ใช้ ทำให้ ExpressVPN ไม่สามารถที่จะตามข้อบังคับของรัฐบาลอินเดียได้ เพราะว่าพวกเขาไม่เคยเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการเอาไว้ในระบบ และตัวกฎหมายยังขัดกับหลักการพื้นฐานของ VPN อีกด้วย
นอกจากนี้ ExpressVPN ยังระบุอีกด้วยว่า จะไม่ร่วมกับการกระทำใด ๆ ที่ส่งผลต่อเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ต
หน้าเว็บของไมโครซอฟท์ขึ้นข้อมูลบริการ Microsoft Edge Secure Network ซึ่งเป็น VPN ฟรีที่จะมาใน Microsoft Edge โดยตรง
Microsoft Edge Secure Network เป็นบริการ VPN ฟรีในตัวเบราว์เซอร์ ลักษณะเดียวกับที่ Opera มีมาตั้งแต่ปี 2016 กรณีของ Edge Secure Network ผู้ใช้จะได้ปริมาณข้อมูลฟรีเดือนละ 1GB (ต้องล็อกอินบัญชีไมโครซอฟท์ก่อนถึงใช้ฟีเจอร์นี้ได้) เทียบกับของ Opera นั้นไม่จำกัดปริมาณข้อมูลและไม่บังคับล็อกอิน
Microsoft Edge Secure Network ใช้เครือข่าย VPN ของ Cloudflare ที่การันตีลบข้อมูลการใช้งานทั้งหมดของฝั่ง Cloudflare ทุก 25 ชั่วโมง ส่วนข้อมูลที่เก็บฝั่งไมโครซอฟท์จะตามเงื่อนไข Privacy Statement มาตรฐานของไมโครซอฟท์อยู่แล้ว
พม่าเตรียมประกาศกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ฉบับใหม่ โดยเน้นความมั่นคงของรัฐบาลทหารปัจจุบันอยู่หลายส่วน
กฎหมายใหม่นี้จะให้อำนาจรัฐบาลเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้อินเทอร์เน็ต, แบนเนื้อหาได้ค่อนข้างกว้าง, เปิดทางให้ดักฟักการสื่อสาร, และจำคุกผู้วิจารณ์รัฐบาลหรือแม้แต่พนักงานของบริษัทที่ไม่ให้ความร่วมมือ อีกส่วนหนึ่งคือการเพิ่มโทษจำคุกผู้ที่ใช้บริการ VPN เพื่อหลบเลี่ยงการบล็อคเว็บ
ปีที่แล้ว Telenor เคยออกมายอมรับว่าถอนตัวออกจากพม่าเพราะรัฐบาลบีบให้ติดตั้งอุปกรณ์ดักฟัง การปรับกฎหมายครั้งนี้ก็เป็นการประกาศแนวทางนี้ออกมาชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรจากเดิมที่เป็นคำสั่งลับของรัฐบาล