มนุษย์นั้นชอบเกลือ เนื่องจากเกลือนั้นทำให้รสชาติอาหารอร่อยขึ้น แต่การกินเกลือที่มากไปกลับไปทำลายร่างกายของมนุษย์อย่างเราๆ แทน ในสหรัฐอเมริกาแค่ที่เดียวมีผู้ใหญ่ที่มีปัญหาความดันเลือดสูงถึง 30% ซึ่งถูกแนะนำให้ลดการกินเค็มในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหญ่ก็คือ อาหารรสอ่อนมักจะไม่ค่อยถูกปากผู้คน
จากปัญหาข้างต้น Nimesha Ranasinghe ผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย University of Maine และ ผู้อำนวยการ Multisensory Interactive Media Lab คิดหาเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยเขาได้ทดลองพัฒนาตะเกียบที่มีขั้วไฟฟ้าต่อไปที่ปลายตะเกียบทั้งสองข้าง โดยขั้วไฟฟ้าจะเป็นตัวส่งกระแสไฟฟ้าไปหลอกรสชาติต่างๆต่อการรับรู้บนลิ้นของเรา ตะเกียบดังกล่าวประสบความสำเร็จในการให้ผู้ทดลองกินอาหารที่รสจืด แต่กลับรู้สึกได้ว่ามันเค็ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในผู้ป่วยที่ต้องจำกัดการบริโภคเกลือจากอุปนิสัยส่วนตัว
ไอเดียของ Ranasinghe นั้น ได้มาจากงานวิจัยเก่าเมื่อเกือบ 50 ปีที่แล้ว ในการใช้ไฟฟ้าช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสาทรับรสเสีย โดยการใช้ไฟฟ้าในการควบคุมรสเค็มและรสเปรี้ยว Ranasinghe ได้ทดลองระดับไฟฟ้า และความถี่ของไฟฟ้า ในการสร้างรสชาติต่างๆ โดยรสเค็ม รสเปรี้ยว และ รสขมนั้น สร้างได้ไม่ยาก แต่รสหวานนั้นสร้างได้ยากมาก และเขาเองก็ไม่ได้ทดสอบรสชาติที่ 5 อย่างรสอร่อย หรือ รสอูมามิ ในงานวิจัยของเขาอีกด้วย นอกจากนี้เขายังได้พัฒนาข้อมูลส่วนในการรับรสต่างๆบนลิ้นของเราขึ้นมาใหม่อีกด้วย
อ้างอิงจาก : IEEE Spectrum
Comments
งานวิจัยตะเกียบลดโรค เปลี่ยนให้คนบริโภคเกลือแต่น้อยแล้วอร่อยกับสัญญาณไฟฟ้าแทน
เคยอ่านการ์ตูนทำอาหาร ชื่อ "โซ้ยแหลก"
ตอนใกล้ๆจบ ตัวเอกกับคู่แข่ง ต้องทำอาหารแข่งกันในเงื่อนไข "รสชาติที่ไม่เคยมีใครกินมาก่อน"
คู่แข่งเลยทำอาหารที่มีรส"ไฟฟ้า"
ใกล้จะเป็นจริงแล้วสินะ
คิดอยู่ว่ามันคุ้น ๆ จัง
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ข่าวซ้ำครับ
Ref อันเดียวกันเป๊ะด้วยครับ