กระแส Digital Disruption ที่ถาโถมสู่ทุกธุรกิจนี้ ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องปกติ เรียกว่าเชื่อมโยงถึงกันได้แบบไร้ขีดจำกัด ซึ่งหนึ่งอุตสาหกรรมที่น่าจับตามองอย่างมากคือธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมที่ขยายบทบาทสู่การเป็นแกนหลักในการดำเนินธุรกิจทุกอุตสากรรมในยุคดิจิทัลนี้อย่างเต็มตัว
AIS รับมือกับคลื่นความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ด้วยกลยุทธ์เชิงรุก โดยตั้งเป้าเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารในทุกมิติด้วยตนเอง เพื่อให้คนไทยได้ใช้ประโยชน์ของดิจิทัลที่ทันสมัยที่สุดก่อนใครในโลกแบบไม่ต้องรอ ดังนั้นความท้าทายของ AIS ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา จึงมากกว่าการขยายโครงข่ายสำหรับการให้บริการ 3G และ 4G ให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศ แต่คือการเดินหน้าคิดค้น พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งทำงานร่วมกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลลัพธ์คือวันนี้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้การให้บริการเครือข่ายในประเทศมีความแข็งแรงมากกว่าเดิม และสามารถมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้คนไทยในแบบที่มีแค่เอไอเอสเท่านั้นจะให้ได้
แล้วอะไรบ้างที่ AIS พิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเครือข่ายของโลก ?
ย้อนไปเมื่อช่วงแรกๆ ของการให้บริการ 4G ในประเทศไทย หลังจากขยายเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ เอไอเอสก็ไม่รอช้า พัฒนาเครือข่ายเดิมที่มีให้ดียิ่งขึ้นไปอีก เพื่อพร้อมรับการใช้งานของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารใหม่ๆ และอัดฉีดเข้าไปในเครือข่าย 4G
ตั้งแต่ปี 2014 AIS คือ บริษัทแรกของโลกที่สามารถพัฒนาเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือเป็นแบบ 6 Sector จาก 3 Sector ทำให้เสาหนึ่งต้นสามารถรองรับการใช้งานโทรศัพท์มือถือพร้อมๆ กันในปริมาณมากขึ้นถึงสองเท่า
ปี 2015 AIS พัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถรองรับสองคลื่นความถี่ คือ 1800 MHz และ 2100 MHz ได้ภายในตัวเดียวกัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่นำไปติดตั้งกับสถานีฐานเพื่อการส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกนำไปใช้งาน และพัฒนาต่อจนถึงวันนี้
ปี 2016 AIS พัฒนาเทคโนโลยี CA (Carrier Aggregation) รวมคลื่นความถี่ต่างกันเข้าด้วยกัน คือคลื่น 1800 MHz รวมกับความถี่ 2100 MHz รวมทั้งขยาย Coverage ให้ครอบคลุมมากที่สุดในประเทศ ด้วยการติดตั้งสถานีฐาน 4G กว่า 75,000 สถานีฐาน พร้อมยกระดับคุณภาพสัญาณด้วยเทคโนโลยี Download Modulation 256QAM / Upload Download 64QAM เพิ่มประสิทธิภาพ ในการรับส่งข้อมูลจำนวนมหาศาล ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการดาวน์โหลดแรงขึ้น 30% เมื่อเทียบกับ 4G ปกติ และใช้เทคโนโลยี Download MIMO 4x4 เป็นเทคโนโลยีการรับส่งสัญญาณจากสถานีฐานด้วยการใช้งานระบบ 4 เสา สามารถรับส่งข้อมูลได้ในจำนวนมากๆ พร้อมกัน เพิ่มประสบการณ์การดาวน์โหลดที่แรง เต็มสปีดมากขึ้น 2 เท่า
ด้วยความมุ่งมั่นของ AIS ในการตอบสนองความต้องการใช้งานดาต้าความเร็วสูงบนโทรศัพท์มือถือของลูกค้า ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างมากมายนั้น ที่ทำให้ศักยภาพของเครือข่ายที่ไกลกว่า 4G ไปแล้ว ดังนั้นเอไอเอสจึงพัฒนาไปอีกขั้นสู่ 4.5G ภายใต้เทคโนโลยี LTE-U/LAA (LTE-Unlicensed / License Assisted Access) เป็นครั้งแรกในไทย ด้วยการรวมคลื่นความถี่ปัจจุบัน (ที่ได้รับอนุญาต) เข้ากับคลื่นความถี่สาธารณะ และการพัฒนาเครือข่ายให้รองรับเทคโนโลยีขั้นสูง MIMO 4x4 with CA และ 256 QAM ทำให้ 4.5G ของ AIS สามารถรับส่งข้อมูลเร็วกว่าเครือข่าย 4G ถึง 2 เท่า และเพิ่มขีดความสามารถในการดาวน์โหลดแรงขึ้น 30% เมื่อเทียบกับ 4G ปกติ
ความพิเศษของ LAA จากเอไอเอส ที่ไม่เหมือนใคร คือมีการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ผู้ผลิตดีไวซ์ให้เครือข่ายสุดล้ำนี้ ใช้งานได้จริงแล้วบนสมาร์ทโฟนที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบัน โดยอุปกรณ์ที่พร้อมรองรับเทคโนโลยี LAA บนเครือข่าย 4.5G แล้ว ได้แก่ Samsung Galaxy S9, S9+ และ Sony Xperia XZ2 Premium และรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะตามมาในอนาคต
ย้อนไปเมื่อเดือน มกราคม 2017 การพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายของ AIS สร้างเสียงฮือฮาให้วงการโทรคมนาคมทั่วโลกอีกครั้ง โดยความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์อย่าง Huawei พัฒนาเทคโนโลยี Massive MIMO 32T 32R ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการส่งข้อมูลให้ได้มากขึ้น ถือเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่ล้ำสมัย ที่แสดงให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมด้านนวัตกรรมเครือข่ายให้กับประเทศ เพื่อก้าวสู่เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคถัดไปอย่าง 5G
โดยเทคโนโลยี Massive MIMO 32T 32R เป็นการขยายขีดความสามารถในการรองรับการใช้งานให้เพิ่มขึ้นจากระบบเดิมอีก 5-8 เท่า ช่วยเพิ่มประสบการณ์การสื่อสารที่มีคุณภาพให้กับผู้ใช้บริการซึ่ง AIS เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายรายแรกที่ประสบความสำเร็จกับการทดสอบเทคนิคดังกล่าวบนเครือข่าย FDD-LTE
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเครือข่ายของ AIS นอกจากการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลแล้ว ยังนำมาซึ่งการเชื่อมต่อระหว่างอุปการณ์ ผ่านการให้บริการ IoT บนสองเครือข่าย NB-IoT และ eMTC ที่ GSMA รับรองแล้วว่าครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศเป็นรายแรก และรายเดียวของไทย พร้อมให้บริการเชิงพาณิชย์กับทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ รวมถึงมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยที่ต้องการพัฒนาสินค้าหรือบริการ
โดยทั้งสองเครือข่าย มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เหมาะกับการใช้งานโซลูชันส์ที่ไม่เหมือนกัน จึงสามารถทำงานควบคู่กัน เพื่อรองรับการใช้งานของอุปกรณ์ IoT ในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม อาทิ Smart City, Smart Industrial, Smart Logistics และ Smart Home สร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน ทั้งการใช้ชีวิตของคนในสังคม, ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยในปัจจุบันมีภาครัฐและเอกชนชั้นนำเลือกใช้บริการ IoT จาก AIS อย่างต่อเนื่อง อาทิ ปตท., พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค, โครตรอนกรุ๊ป, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ
นอกจากนี้ AIS ยังร่วมมือกับสมาชิกอีกกว่า 700 ราย จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี IoT ในโครงการ AIS IoT Alliance Program - AIAP ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย ผู้ผลิตเทคโนโลยี นักพัฒนาอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ ทั้งในและต่างประเทศ ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถ, Products, Services หรือ Solutions เพื่อให้เกิดการพัฒนา IoT Solution / Business Model ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ขยายประโยชน์สู่ภาคประชาชน เสริมการบริการจัดการในทุกภาคส่วน
AIS NEXT G เป็นอีกหนึ่งบริการที่พิสูจน์ให้เห็นถึงความก้าวหน้าของการพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายของ AIS ด้วยแนวคิดที่ไม่ว่าจะอยู่ในยุค 3G, 4G หรือ 5G เอไอเอสจะพัฒนาเครือข่ายที่ดีกว่าให้ลูกค้าเสมอ โดยครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกับพันธมิตร KT (Korea Telecom) ผู้ให้บริการเครือข่ายชั้นนำจากประเทศเกาหลีใต้ ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Multipath TCP ที่สามารถรวมความเร็วอินเทอร์เน็ตของทั้งเครือข่ายมือถือและเครือข่ายไวไฟเข้าด้วยกัน ส่งผลให้พื้นที่ใดก็ตามที่มีทั้งเครือข่าย AIS 4G ADVANCED และ AIS SUPER WiFi อยู่ในพื้นที่เดียวกัน จะสามารถให้ความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตได้สูงสุดถึง 1 Gbps
นอกจากนี้ AIS ยังร่วมมือกับผู้ผลิตมือถือทุกแบรนด์ อาทิ Huawei, Samsung, Oppo, Vivo, Sony, LG, Xiaomi, Honor และ OnePlus มาร่วมพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะทำให้โทรศัพท์มือถือทุกรุ่นที่เป็น Android เวอร์ชัน 7.0 ขึ้นไป รองรับแอป NEXT G ได้
จากทั้งหมดนี้ นับเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเครือข่ายของ AIS ที่มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารให้ครบทุกด้านเพื่อตอบสนองการใช้งานและมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับคนไทย สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของ AIS ที่กำลังมองไปข้างหน้า เป็นมากกว่าผู้ให้บริการเครือข่าย สู่บริษัทผู้พัฒนานวัตกรรมการสื่อสารที่ทั่วโลกให้การยอมรับ
Comments
สงสัยต้องให้ฝ่ายการตลาด ais ไปเรียนประถมใหม่
เหมือนจะเข้าใจคำว่า "นวัตกรรม" แบบเข้ารกเข้าพงไปมาก
แบบพวกหน่วยงานราชการต่างๆ แค่มีแอพในมือถือ ก็เรียกนวัตกรรมแล้ว
ไอที่พูดมาทั้งหมดเนี่ย อันไหนที่เรียกว่า "นวัตกรรม" บ้าง?
แล้วอันไหนคืออันที่ "คิดค้นโดยคนไทย"?
ไม่มีเลย
หึหึ
ตั้งแต่ปี 2014 AIS คือ บริษัทแรกของโลกที่สามารถพัฒนาเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือเป็นแบบ 6 Sector จาก 3 Sector ทำให้เสาหนึ่งต้นสามารถรองรับการใช้งานโทรศัพท์มือถือพร้อมๆ กันในปริมาณมากขึ้นถึงสองเท่า
เทคโนโลยี 32T 32R ใน FDD-LTE ครั้งแรกของโลก
ย้อนไปเมื่อเดือน มกราคม 2017 การพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายของ AIS สร้างเสียงฮือฮาให้วงการโทรคมนาคมทั่วโลกอีกครั้ง โดยความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์อย่าง Huawei พัฒนาเทคโนโลยี Massive MIMO 32T 32R ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก
อ่านจบรึยังคับท่าน ^^
เห็นด้วย ที่กล่าวๆมาก้านบนเนี่ยเขาเรียก "Technology Application" คนละเรื่องกันกับ "Innovation" เลย ไม่เห็นมีตรงไหนที่เป็น Innovation สักบรรทัด
มีหลายอันเป็นนวัตกรรมครับ
ปัญหาคือ.....คนคิดไม่ใช่คนไทย เค้าแค่มาทดสอบ/ลองใช้ที่ไทยที่แรกเฉยๆเนี่ยสิ
นวัตกรรมคืออะไรครับ ผมอ่านมาผมก็ว่าเรียกนวัตกรรมได้ นวัตกรรมไม่จำเป็นแต่พัฒนาใหม่หมด (อันนั้นเรียก invention ไม่ใช่ innovation) จะเป็นการประยุกต์ แต่ทำเป็นครั้งแรกในสินค้านั้นๆ แล้วเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นผมว่าเรียก innovation ได้ทั้งนั้น แต่ impact เยอะ ไม่เยอะผมไม่รู้ในทางเทคนิค
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ที่มีรแนว ?
เทคโนโนโลยี ?
ความพิเศษที่ของ LAA ?
คิดค้นศัพย์เทพ
กรอกหูสะกดจิตคนไทยได้
แต่ฝรั่งฟังแล้วงงเป็นไก่ตาแตก
ช่วงที่อยู่ระหว่างรอประมูล ก็แทบกระอักเลือด
เน็ตวิ่งไม่ออก ลูกค้าโดนทรูดูดไปเท่าไหร่
ไม่เห็นออกมาคุย
ตอนนี้ มาตราฐานโลกใหม่ 5G กำลังจะมา
ก็ยังแอบเอาผ้ามาผูกตาอุดหูชาวบ้านอีก ว่าอย่าไปฟัง พวกนั้นของปลอม ต้องของข้าเท่านั้นที่หนึ่งในสามโลก
คลิกลิ้งมาจากเฟส โหลดมาเห็น tags Advertorial ปุ๊บ เลื่อนลงมาอ่านคอมเม้นก่อนเลย แล้วก็เป็นอย่างที่คิดจริงๆ 55555
ออก Advertorial มาดูถูกคนอ่านใน Blognone มากเลยนะครับ การนำ technology มาใช้เป็นรายแรก กับการคิดค้นขึ้นมาใหม่เป็นรายแรกนี้ต่างการมากนะครับ ยิ่งคิดค้นขึ้นมาใหม่ไม่ผ่าน IEEE นี้ devices ต่าง ๆ จะคุยกันได้มั้ยนะ - -a
ส่วนตัวเองก็เป็นลูกค้า AIS อยู่แล้วด้วย ทำให้รู้สึกติดลบไปเลย
เห็นด้วยครับ ผมก็เป็นลูกค้าเอไอเอส ไม่เห็นต้องโฆษณาแบบนี้ ยิ่งมาลงใน Blognone มีแต่กลุ่มคนไอทีอ่าน เค้าจะเชื่อเหรอ?
มันคือนวัตกรรมยังไง อธิบายทีผมอาจจะเรียนมาน้อย
หัวข้อข่าว ดักควาย
ขอแสดงความเห็นหน่อยนะครับ (แน่นอนว่าผมเป็นผู้มีส่วนได้เสีย)
คิดว่าศัพท์เทคนิคเฉพาะทางด้านเครือข่ายอาจเยอะไปหน่อย คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการอาจเข้าใจยาก (แต่ technical fact เราเช็คอย่างละเอียดแล้วว่าถูกต้องตามมาตรฐาน Blognone)
แต่ถ้าให้สรุปเป็นภาษาบ้านๆ หน่อยคือ ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายหลายราย เช่น (ยี่ห้อ H) ส่งวิศวกรมานั่งอยู่ที่เมืองไทยกับ AIS เพื่อทดสอบฟีเจอร์บางตัว (ที่อ่านชื่อแล้วไม่รู้ว่ามันคืออะไรนั่นแหละครับ) ก่อนเป็นที่แรก แล้วค่อยเอาผลงานไปใส่ในอุปกรณ์เวอร์ชัน production ขายทั่วโลกอีกทีครับ
เป็นทุกเจ้าครับ AIS , True 2เจ้านี้คือผู้นำนวัตกรรมพวกนี้มาใช้งานในไทยรายแรกๆ ส่วนVandor(หรือผู้ผลิต)ก็ส่งRDจากจีนหรือคนไทยด้วยกันเองช่วยกันทำให้มันใช้งานได้กับระบบของไทย ซึ่งมันก็ใช้งานได้เกือบทุกตัว บางตัวTrueส่งลงสนามจิงก่อนAISด้วยนะ ซึ่งมันก็แล้วแต่ว่าเจ้าไหนจะส่งลงสนามจิงก่อนและเปิดใช้นั่นเเละเพราะแต่ละเจ้าตอนนี้คลื่นแน่นแล้ว เหลือแค่Dtacที่น่าจะตามหลังอีกหลายปี
32r 32t กับ 3 sector 6 sector นี่ผมถือเป็น technical เลยนะครับ
รอพวกนี้ Production จริง เผื่อเน็ทจะเร็วขึ้น เมื่อก่อนใช้มือถือที่ได้ 4G แรกๆ นี่ไวมากมาย เดี่ยวนี้ช้าละ
รึผมเข้าใจอะไรผิด เอาของที่คนอื่นผลิตมา โดยที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีนั้น และแถมทุกวันนี้ยังต้องจ่ายเงินซื้อผลิตภัณฑ์นั้นมาใช้งานอยู่ด้วยซ้ำ อันนี้เรียก "นวัตกรรม" ด้วยรึ
ถ้าผมไม่สบาย ไปเซ็นสัญญาร่วมทดสอบยาตัวใหม่ (clinical trial) ที่ใช้ในการรักษาโรคที่ผมเป็นอยู่ (สมมติ) ซึ่งยานั้นคนไข้ก็ยังต้องซื้อมาใช้ แบบนี้ ผมก็พูดได้ว่า ผมมี "นวัตกรรมทางการแพทย์ที่คิดค้นโดยผม" ได้แล้วใช่ไหมครับ
อ้า งั้นถ้าผมมีนาฬิกาข้อมือวัดความดันโลหิตใช้เป็นคนแรกในกลุ่มเพื่อนสนิทของผม ผมก็มี "นวัตกรรม" แล้วนะสิครับ
จด...จด....
เห็นด้วยกับตัวอย่างมากๆเลยครับ คนช่วยทดสอบไม่ใช่เจ้าของนวัตกรรม ไม่ใช่คนคิดค้น ถ้าเป็นการลงทุนร่วมในการวิจัย อันนี้อาจพออ้างได้
ปล. อาจเรียกว่านวัตกรรมได้ ถ้าช่วยแก้ปัญหาอะไรให้ชีวิตหรืออะไรก็ตามดีขึ้นได้ครับ แต่ที่แน่ๆ ตาม ADs อันนี้ไม่ใช่เจ้าของครับ
เข้าใจว่ามาไทยเพื่อสร้างอุปกรณ์ตัวใหม่ แต่ยังไม่ใช้เป็นวงกว้างทั่วโลก น่าจะเป็นเทคนิคมากกว่า พอใช้ทั่วโลกถึงเรียกนวัตกรรม รึป่าวครับ มันยังไม่เกิดอิมแพคเท่าไหร่เลย
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
นี่(แห)ละคือ โฆษณา
ไม่/มิ ใช่ ประชาสัมพันธ์
AIS พัฒนาเอง ?
เบื้องหลังคือ Vendor ทั้งนั้น
Huawei, ZTE, Nokia-Siemens
ปล.เรียนจบ Telecommunications engineering
อยู่วงการนี้ครับ เพื่อนก็อยู่หลากหลาย ทั้ง Operator และ Vendor
ตามนั้นเลยนะจิงๆ ผมก็ทำอยู่Hฝั่งสีแดง เจ้านี้ก็ไม่เบา
มันคือ 'นวัตกรรม' ของคนอื่นที่ไม่ใช่คนไทย
ถ้าเป็นสโลแกนผู้นำด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร น่าจะเหมาะสมกว่านะ
สำหรับคนงงข่าวนี้ว่าทำไมโดนด่าเยอะจัง
A : ผมอยากได้ solution แบเนี้ย บลาๆๆๆๆ ทำให้หน่อซิ
็H,Z,N,C : Ok ทีมวิจัยเรากำลังทำงานอยู่ครับ (เป็นเรื่องปรกติซื้อของหลัก 100-1000พันล้าน vendorวิจัยให้อยู่แล้ว )
็H,Z,N,C : เรียบร้อยแล้วครับ ขอเทสเลยนะครับ บลาๆๆ (ถ้าใช้งานได้จริง จะออกเป็นมาตฐานใหม่อะไรก็ว่ากันไปบลาๆ)
A : โฆษณา!! นี่คือผลงานของเราครับ หลายๆคนอาจไม่รู้ว่านี่คือผลงานที่คิดค้นโดยเราบลาๆๆๆ ใช้ที่นี่ที่เดียว หรือที่แรก บลาๆๆ
คนทั่วไป : ว้าวสุดยอด!!
คนที่ทำงานด้านนี้ : เฮ้ยมันใช่เหรอว่ะ แบบนี้!!!
55555555555555555555555555555555
คุณรู้ไหม บริษัท Aplple Iphone เคยแก้+เพิ่ม feture บางอย่างให้กับ opertor ของไทยจ้าวนึง อันนี้ต้องเรียกว่าเป็นคนไทยคิดด้วยเป่าเนี่ย5555
อยากเผือกตรงนี้ เล่าหน่อย "คุณรู้ไหม บริษัท Aplple Iphone เคยแก้+เพิ่ม feture บางอย่างให้กับ opertor ของไทยจ้าวนึง อันนี้ต้องเรียกว่าเป็นคนไทยคิดด้วยเป่าเนี่ย5555"
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
ถ้าให้เดา น่าจะเป็นเมนูจ่ายตังที่มีเพิ่มขึ้นมาเป็นพิเศษ
จริงๆมันก็ก้ำกึ่งนะ
การออก spec ใหม่ๆ requestให้ vendor ไปพัฒนามาตามที่กำหนด เป็นการทำ innovation เองหรือไม่?
ในเมื่อ vendor ทำให้ตามที่ request เป็นเจ้าแรก แล้วถึงค่อยไปขายคนอื่นต่อ?
ถ้าเราไม่ request ทาง vendor ก็อาจจะพัฒนาขึ้นมาเองหรือไม่ ก็ไม่มีทางรู้ (what-if)ปัญหาบางอย่างมันเฉพาะเจาะจงกับตลาดไทยเท่านั้นด้วย
ซึ่งปกติการพัฒนา solution ร่วมกัน มันก็มีทั้งออกความต้องการลอยๆ หรือกำหนด spec แบบชัดเจน ชนิดว่าแทบจะออกแบบเป็นเบื้องต้นให้แล้ว ให้ vendor ไปทำอุปกรณ์แบบนี้มาทดสอบจริงอีกที
Innovation คือการสร้างสิ่งใหม่จากเทคโนโลยีและเทคนิคที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือเริ่มจาก 0 กลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือมาตรฐานใหม่ที่เป็นที่ยอมรับในประเทศและสากล ซึ่งต้องทำด้วยตัวเองและเป็นของชาติตัวเอง อย่างเช่นระบบทางการทหารที่คนไทยทำหรืองานวิจัยที่มาจากนักศึกษาและเด็กนักเรียน นั่นคือนวัตกรรม
การที่เจ้าของระบบหรือสินค้าทดลองเอามาให้ผู้ให้บริการทดลองใช้งานแบบในโฆษณานี้ ไม่เรียกว่านวัตกรรม มันคือการเสนอเป็นหนูทดลอง
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ทำได้ตั้งหลายอย่าง แต่ Ais Fibre ที่คอนโดรับได้สูงสุดแค่ 50mb สะเทือนใจ
นี่คนของ AIS มาเขียนบทความเองเลยป่าวครับ หรือ Blognone ถูกจ้างให้มาเขียน
เข้าใจว่าเป็นคนของ AIS นะครับ เพราะก่อนจะกลายเป็น sponsored เห็นเป็นชื่อของ user ท่านนึงเขียนบทความนี้อยู่
ถ้าเกิดว่าผมติด WiFi, RF433, Bluetooth, 2-4G Repeater, วิทยุสมัครเล่น, วิทยุชุมชน ในเสาต้นเดียวกัน ถือว่าเป็นนวัตกรรมไหมครับ?
ถ้าใช้คำว่าร่วมวิจัยอาจจะออกมาดูสวยงามกว่านี้อยู่นะ เพราะถ้าเป็นแบบที่ผมเข้าใจก็น่าจะเป็นประมาณ ทางผู้ผลิตทำขึ้นมาแล้วเอามาให้ ais ใช้ เหมือน test on production มีอะไรก็แก้และปรับกันไป สุดท้ายได้เป็น case ไว้ศึกษาเก็บประวัติต่างๆ
เพราะอย่างตัวอย่างหมอกับคนไข้ คนไข้ก็เป็นผู้เข้าร่วมการวิจัย
AIS คิดค้นเองได้ขนาดนี้ ป่านนี้เป็นเจ้าพ่อใน 3GPP ไปแล้วล่ะคับ ^ ^"