ถ้าพูดถึง “โซลาร์เซลล์” เชื่อว่าภาพแรกที่หลายคนนึกถึง คือ ภาพแผงโซลาร์นับร้อยๆ แผงติดตั้งในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือบนหลังคาของโรงงาน และอาคารสำนักงานต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน “พลังงานแสงอาทิตย์” ถูกพัฒนาเป็น ของใช้ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์หลายรูปแบบที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น หลายประเทศทั่วโลกก็หันมาให้ความสำคัญพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีด้านระบบโซลาร์เซลล์กันมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว “แสงอาทิตย์” ยังถือเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ให้พลังงานมากกว่าปริมาณพลังงานที่มนุษย์ทั้งโลกต้องการใช้ถึง 10,000 เท่า
Blognone จะพามาส่อง 3 นวัตกรรมพลังแสงอาทิตย์ที่ใช้งานได้จริงที่ “กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานของ บ้านปูฯ” ในฐานะผู้ให้บริการด้านการวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และสมาร์ทซิตี้โซลูชันแบบครบวงจร ที่ขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ “Greener & Smarter” เพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของผู้บริโภค ชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน เป็นผู้คิดค้น และพัฒนาให้กับลูกค้าที่ติดตั้งระบบโซลาร์และสมาร์ทซิตี้โซลูชันของบ้านปูฯ เพื่อสร้าง Ecosystem ด้านพลังงานโซลาร์ได้อย่างครบวงจร และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ตู้คีออสพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar kiosk) เป็นตู้คีออสที่สามารถออกแบบได้ตามความต้องการใช้งาน เช่น ประยุกต์เป็นแท่นชาร์จสมาร์ทโฟนด้วยพลังงานโซลาร์ (Solar Mobile Charging Kiosk) หรือสามารถประยุกต์ให้เป็นร้านขายของขนาดเล็กหรือเคาท์เตอร์จำหน่ายตั๋วแบบ pop-up ที่สามารถติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยใช้ไฟที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น
โดย Solar kiosk สามารถใช้เป็นทั้งระบบออนและออฟกริด (On-Off grid) เพื่อให้สามารถใช้ได้ทั้งไฟบ้าน และไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์แบบ 100% (Off-Grid) ทำให้ Solar kiosk เป็นนวัตกรรมที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายมาก
โซลาร์ แอด-ออนส์ (Solar Add-ons) หรือการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีของโซลาร์เซลล์ ไปเพิ่มในจุดที่ เราต้องการใช้งาน เช่น การออกแบบเก้าอี้ที่สามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานโซลาร์ เพื่อให้เก้าอี้นั้นสามารถชาร์จโทรศัพท์ได้ ซึ่งโรงเรียนนานาชาติรักบี้ที่บ้านปูฯ ได้ให้บริการด้านสมาร์ทซิตี้โซลูชันก็ได้มีการนำ “เก้าอี้พลังงานแสงอาทิตย์” (Solar chair) ไปวางตามจุดต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ปกครองที่มารอรับลูกๆ กลับบ้าน โดยสามารถชาร์จโทรศัพท์ หรือแท็บเล็ตระหว่างที่นั่งรอได้
ตู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Banpu Solar Box) เมื่อนำมากางออกจะกลายเป็นแผงโซลาร์ที่ ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ตามต้องการ และตู้กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ (Banpu Energy Box) และเมื่อนำมาเชื่อมต่อกับตู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จะสามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ใน ตอนกลางคืนได้ ซึ่งทั้ง 2 นวัตกรรมสามารถเคลื่อนย้ายไปที่ไหนก็ได้ เหมาะอย่างยิ่งกับทุกพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง หรือไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น กิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ ที่ต้องนำไปติดตั้งในบริเวณงานเพื่อให้ผู้ร่วมงานสามารถนำโทรศัพท์มาชาร์จได้ทั้งกลางวัน และกลางคืน หรือ นำไปใช้เป็นแหล่งผลิตและกักเก็บไฟฟ้าบนเกาะ
ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าแต่มีกำลังการผลิตที่ไม่เพียงพอ หรือในพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติ เป็นต้น
ในอนาคต เราอาจจะได้พบกับ “ตู้คีออสพลังงานแสงอาทิตย์” ที่ออกแบบเป็น “ร้านกาแฟพลังงานสะอาด” หรืออาจจะ ได้เห็น Solar Add-ons ถูกประยุกต์ออกมาในรูปแบบอื่นๆ เพราะขีดความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมพลังโซลาร์ต่างๆ ของบ้านปูฯ จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเท่านี้ ด้วยความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี ทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึง
การให้บริการที่ครบวงจร ทำให้สามารถพัฒนา และต่อยอดไอเดียสร้างสรรค์จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นนวัตกรรมต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง
บ้านปูฯ มีแนวคิดในการออกแบบ และผลิตนวัตกรรมต่างๆ โดยเน้นการตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันไป ของลูกค้าที่ติดตั้งระบบโซลาร์และสมาร์ทซิตี้โซลูชันกับบ้านปูฯ ให้ได้อย่างตรงจุด นอกจากนี้ ยังมุ่งมั่นคัดสรรนวัตกรรม และให้บริการพลังงานสะอาดในราคาที่เหมาะสม มีความเสถียร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อนำเสนอโซลูชัน ด้านพลังงาน และบริการที่ดีที่สุดมาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ครอบคลุมตั้งแต่การสำรวจพื้นที่ การออกแบบระบบ การเข้าติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และสมาร์ทซิตี้โซลูชัน ไปจนถึงการบำรุงรักษา
ปัจจุบัน “กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานของบ้านปูฯ” ได้รับความไว้วางใจจากพันธมิตรในหลากหลายธุรกิจไม่ว่าจะเป็น การศึกษา อุตสาหกรรม แฟชั่นเอ๊าท์เลท สถานีบริการน้ำมัน โรงแรม โรงพยาบาล ฯลฯ หากมีผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมที่สนใจบริการของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานของ บ้านปูฯ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ Banpu หรือ ติดต่อลูกค้าสัมพันธ์ โทร.02-095-6599 หรือ contact@banpuinfinergy.co.th
Comments
อ่าง ?
ผุ้ปกครอง => ผู้ปกครอง
ก็ติดอยู่บนหลังคาอยู่ดี
ฮ่า อ่านตั้งนาน ยังไม่เจออะไรที่ว้าวเลย
นั้นสิครับ พยายามนั่งอ่านอยู่นะ นึกว่าจะมีแบบว่า ติดโซลาร์ตรงใบกังหันลมอะไรก็อย่างงี้... ฮ่าๆๆ
จริงๆ แค่ฝังบนแผ่นกระเบื้องหลังคาเลยแค่นั้นก็ล้ำแล้วครับแบบของ Tesla
ไม่แปลกครับ เพราะ Solar cell ต้องอยู่ที่สูงเหนือสิ่งอื่นใด เพื่อให้ได้พลังงานสูงสุด
แม้แต่แนวคิด Solar roadway ก็ยังเจอปัญหาเยอะ และไม่คุ้มที่จะสร้างเลยครับ แถมได้พลังงานไม่คุ้มเท่าแผ่น Solar ตามหลังคาบ้านเลยด้วยซ้ำ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ไม่มีอะไรใหม่
ชมบ้านปูฯ หรือคนเขียนดี ???
เหมาะสำหรับผู้มีเงินที่ต้องการสร้างแหล่งพลังงานให้ที่พักตามหุบเขา หรือบ้านพักตากอากาศในที่ห่างไกล แต่กับการใช้งานปกติยังไม่คุ้มที่จะลงทุน
ถ้า On-grid ก็ต้องลงทะเบียนกับการไฟฟ้าเข้าโครงการขายไฟรัฐ หรือทำระบบสายไฟแยกต่างหาก ไม่รวมกับระบบไฟปกติไปเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
มี On-Grid แบบ Hybrid เปล่าครับ ผลิตไฟช้เองไม่ขายการไฟฟ้า แต่พอกลางคืนผลิตไม่ได้ค่อยใช้ของการไฟฟ้า
ถ้าทำแล้ว มันใจว่าไม่มีไฟเข้าระบบของการไฟฟ้าก็ทำได้ อาจต้องทำเป็น Breaker แยกพร้อมระบบตรวจกระแสไฟอีกต่างหาก แบบเดียวกับระบบ UPS หรือระบบไฟฟ้าสำรองตามสำนักงาน แพงแน่นอน
แต่ผมว่าน้อยนะที่จะทำระบบแบบนั้นนะ ส่วนใหญ่เป็นแบบโซล่าเซลล์เพียวๆ ไฟจากการไฟฟ้าเพียวๆ หรือผลิตคืนการไฟฟ้า+ใช้ไปการไฟฟ้าร่วมกันทั้งระบบ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ออพอนึกออกแล้วครับ เคยดูๆ พวก Datacenter รู้สึกจะแบ่งโหลดไฟที่เข้าได้ด้วย คงหลักคล้ายๆ กัน
แบบถูกต้องนั้นการไฟฟ้าจะให้มิเตอร์ดิจิตอลมาครับ จะต่างจากมิเตอร์หมุนคือมันไม่มีหมุนย้อนกลับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ถ้าขายไฟด้วย จะเป็นมิเตอร์อีกอย่างด้วยเปล่าครับ หรือเพิ่มสายส่งไฟออกเข้าระบบการไฟฟ้าด้วย พอจะทราบเปล่าครับ คือสงสัยนิดหน่อย หรือเปลี่ยนมิเตอร์ดิจิตอลแล้วจะขายหรือไม่ขายไฟก็ได้แบบนี้
ปัจจุบันกำลังมีความพยายามทำแบบ net metering ใช้ไฟจากการไฟฟ้า และขายย้อนกลับให้การไฟฟ้า
////////////////////////////////////////////////////////
Blog: ติดตั้งโซล่าเซลล์