ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศบริการใหม่ "มีตังค์" เป็นฟีเจอร์ที่ให้พนักงานที่รับเงินเดือนผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์สามารถเบิกเงินเดือนมาใช้ล่วงหน้าได้ผ่านแอพพลิเคชั่น SCB Easy เบิกได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของเงินเดือน โดยเริ่มทดสอบให้บริการแล้วกับพนักงานของบางบริษัท เช่น Villa Market, อำพล ฟู้ดส์
นายอิทธิพันธ์ เจียกเจิม ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย Global Transaction Banking Services ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า ในช่วงแรกของการทดสอบการใช้งานบริษัทนายจ้างจะคัดเลือกพนักงานกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้รับสิทธิ์ในการเบิกเงินล่วงหน้า สูงสุดไม่เกิน 50% ของเงินเดือน หรือตามที่นายจ้างกำหนด แต่ต้องไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือนสามารถเบิกได้ 24 ชั่วโมงผ่านเมนูมีตังค์ในแอพ SCB Easy โดยธนาคารจะหักเงินคืนในการจ่ายเงินเดือนครั้งต่อไป
อย่างไรก็ตาม บริการ"มีตังค์"มีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 1,000 ละ 20 บาท ในกรณีที่ไม่ได้เบิกล่วงหน้าเป็นตัวเลขกลมๆ ยกตัวอย่างเช่น เบิก 2,500 บาท ก็จะคิดค่าธรรมเนียม 60 บาท โดยจะหักค่าธรรมเนียมจากบัญชีเงินฝากที่เป็นบัญชีสำหรับค่าจ้าง
ในการใช้งาน จะมีเมนูมีตังค์โผล่เข้ามาในแถบ ธุรกรรมของฉัน เลือกเมนู ขอรับค่าจ้างก่อนกำหนด ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ และกดยืนยัน ก็มีเงินโอนเข้ามาในบัญชี
Comments
อั้ยย่ะ ร้ายกาจ แต่งงนิดว่าทำไมเขียนว่าพันละยี่สิบ ทำไมไม่เขียนว่าร้อยละสองหรือสองเปอร์เซ็นต์
ก็ถ้าไม่ถึงพัน ก็คิด 20 บาทไงครับ
จะ 100 บาท หรือ 10 บาทก็คิด 20
อาจจะเป็นครบพันนึงคิดยี่สิบ ถ้าไม่ถึงก็ไม่คิดมั้งครับ
เขียนแบบนี้น่าจะคิดค่าธรรมเนียมที่หลักพัน
คืออาจจะให้เบิกล่วงหน้าเป็นเงินหลักพัน หรืออย่างโหดก็คิดเบิกร้อยก็คิดยี่สิบ
เบิก 1,001 ก็โดน 40 ไง ไม่ใช่ 20.02 บาท
ชัดเจน ขอบคุณครับ
ถ้า 100 ละ 2 บาท จะได้ 22 บาท
ถ้า 2% จะได้ 20.02 บาท
ห้ะ ยังไงนะครับ??? แต่ละข้อคิดจากยอดเงินเท่าไหร่นะครับ
อ่อ จากคอมเมนต์ก่อนหน้า?
คิดแบบขั้นบันใด ไม่ใช่ % สินะ
คนคิดโปรเจค เจ๋งมาก
เป็นการปล่อยกู้แบบความเสี่ยงต่ำ ค่าธรรมเนียมดีกว่าดอกเบี้ยอีกในมุมธนาคาร
ลูกจ้างกู้ เจ้านายจ่ายคืนให้
ความเสี่ยงแทบจะเป็น 0 เพราะผลักไปไว้ที่ค่าธรรมเนียมหมดแล้ว
ยังพอมีความเสี่ยงกรณีบ.ไม่จ่ายเงินเดือน กรณีถูกไล่ออกจากความผิดร้ายแรง แต่คงเป็นส่วนน้อย ภาพรวมธนาคารก็น่าจะกำไรชิลๆ
ไม่ได้ฉลาด เก่งกล้าสามารถขนาดนั้นหรอกครับ concept พื้นๆแบบนี้ ทีม product ทุกแบงค์เค้าก็คิดและเคยยื่นขออนุมัติกันมาก่อนแล้ว อยู่ที่แบงค์ชาติอย่างเดียวเลยว่าจะยอมมั้ย ซึ่งเค้าก็เพิ่งจะมาผ่อนปรนให้กันในปีนี้เอง
หืม ไม่เคยได้ยินมาก่อนนะครับ เพื่อนผมอยู่ทีมโปรดักส์เกือบทุกธนาคาร (ยกเว้นออมสิน) เคยบ่นให้ฟังหลายเรื่อง แต่ไม่มีเรื่องนี้นะ
เมื่อวานยังคุยกันในกลุ่มไลน์อยู่เลยว่าของ SCB เจ๋ง
หายนะทางการเงินของจริง ?
ถ้าเป็นพวกใช้ด้วยความจำเป็น เช่น บริษัทมีการ delay จ่ายเงินเดือน ต้องเอาเงินออกมาจ่ายค่าห้องก่อน อันนี้ก็ไม่เลว
แต่ถ้าคนไม่มีความรับผิดชอบ เอาเงินอนาคตมาใช้จ่าย ก็มีแต่พังกับพัง
แต่ในแง่แบงค์ มีแต่กำไร
มีหนี้
ลองถ้าได้ทำซักครั้งได้เป็นวงจรอุบาทว์แน่เลย เหมือนพวกบัตรเครดิตที่ต้องเอาเงินมาใช้หนี้ แล้วก็ต้องเอาบัตรมาใช้ต่อไปเรื่อย ๆ แต่นี่ไม่มีช่วงปลอดดอกเบี้ย ถ้า max สองหมื่นก็จ่ายไปเลยเดือนละ 400 ทุกเดือน ตกดอกเบี้ยปีละ 24% เลย
แต่ก็ถือว่าดอกเบี้ยต่ำมากนะครับ
24% มันคือขั้นต่ำนะ แต่ถ้ายืมตอนกลางเดือน อัตราดอกเบี้ยอาจจะพุ่งไป 48% เลยนะ
เสริมสภาพคล่อง ก็ แล้วแต่จะบริหาร พอต ละ ครับ
อ่านจาก brandinside เค้าระบุว่ามันคือค่าธรรมเนียมนะ คิดตอนเบิก ..ตัดส่วนข้อความนั้นมาให้ดู
"SCB จึงกำหนดให้สามารถกดได้ตามจำนวนวันที่ทำงานไปแล้ว แต่ไม่เกิน 50% ของเงินเดือน หรือไม่เกิน 20,000 บาท (หรือตามที่นายจ้างกำหนด) และคิดค่าธรรมเนียม 1,000 ละ 20 บาท เบิกได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีดอกเบี้ย เพราะไม่ใช่การกู้เงิน"
ยุค cash less ธนาคารหากำไรจากค่าโอนไม่ได้แล้วก็ต้องมาในรูปแบบนี้แหล่ะ
ไม่นานมานี้ เพิ่งอ่านข่าว แนวๆ สมาคมแบงก์ เล็ง ทบทวนโปรโมชั่น ‘ผ่อน 0%’ หวังลดหนี้ครัวเรือน หลังหนี้ครัวเรือนทะลุ78.7% ต่อGDP
หนี้ความเสี่ยงต่ำ ใครๆก็ชอบครับ
หนทางทำกำไรแบงค์เลย
น่ากลัวมาก
จะไม่มีตังค์ก็เพราะ 'มีตังค์' นี่แหละ
อีกหน่อยต้องกู้เงินซื้อมาม่า
SCB มีตังค์ ไงครับ เราไม่มี
อือหือ ดอก 24%
เรื่องหนี้นี่ ผมว่าแล้วการความสามารถในการบริหารจัดการแต่ละบุคคลแล้วล่ะครับ
มีระบบนี้ไว้ก็ดีครับ ฉุกเฉินก็จะสามารถเอาเงินด่วนมาใช้ได้ก่อน แต่ถ้าฉุกเฉินเยอะก็ต้องมาดูแล้วว่าฉุกเฉินแบบ Must have หรือ Nice to have ถ้าเป็นแบบ Nice to have มากๆเข้าก็ต้องปรับปรุงตัวเองแล้วล่ะครับ
คิดเป็นอัตราราว ๆ 24% ต่อปีนะครับ
ฉลาดจริง กินดอกเบี้ยจากเงินเดือนเขา คนคิดนี่เก่งจริงๆ
ซ้ำจ้า
น่ากลัวดีแท้
ในแง่ผู้ใช้บริการไม่ต่างจากบัตรกดเงินสดเลยครัร
A smooth sea never made a skillful sailor.
เข้าทำนองคนเม้นไม่ได้กู้คนกู้ไม่ได้เม้น
ดีกว่าบัตรกดเงินสดหน่อยตรงที่ไม่เป็นหนี้ เพราะหักเงินเดือนทันที อย่างน้อยก็ไม่โดนดอกเบี้ยทบต้น
มันก็เป็นหนี้อยู่ดี แต่เป็นหนี้แบบเดือนชนเดือนครับ
ปัญหาจะเกิด ถ้าไปผ่อนอย่างอื่นไว้ แล้วเงินเหลือไม่พอจ่าย เลยไปจ่ายขั้นต่ำอย่างอื่นแทน
เพราะอันนี้มันจ่ายขั้นต่ำไม่ได้
แต่เอาจริงๆ มันก็ไม่ต่างกับมีบัตรกดเงินสดหลายๆใบแหละครับ ถ้าคนมันจะไม่มีวินัยทางการเงิน มันก็พังอยู่ดี
ผมหมายถึงว่าพอถึงสิ้นเดือน มันหักจากเงินเดือนออกไปเลยไง ไม่มีทางเลี่ยงและไม่ลืมจ่าย ก็จะไม่โดนดอกทบต้นเหมือนบัตรกดเงินสด
เม้นบนเขาก็จะบอกว่า ผลกระทบมันจะเป็นลูกโซ่น่ะครับ
แบบ โดนหักเงินเดือนไป 50% เลยมีเงินไม่พอใช้ก็ไปกดเงินสดออกมาจากบัตรใบอื่น และใบอื่นๆ ไปเรื่อยๆ เอาใบนี้ไปโปะใบนู้น หมุนเงินไม่ทัน สุดท้ายกลายเป็นหนี้เสีย
คนที่เงินเดือนสูง และสมัคร บัตรอะไรก็ไม่ผ่าน
สาธุ.... ให้ธปท.ใส่เบรกมือที ธนาคารจะได้ดริฟท์ลงข้างทางอีกรอบ
บังเอิญผู้ถือหุ้นใหญ่ใหญ่มากด้วย
ผู้ถือหุ้นจะใหญ่มาจากไหน ถ้าทำธุรกิจก็ต้องอยู่ภายใต้กฏหมาย เช่น มีรายได้ก็ต้องเสียภาษี
ส่วนธนาคารก็ต้องอยู่ภายใต้แบงค์ชาติ ถ้าทำอะไรไม่ถูกไม่ควร ก็โดนเบรกโดนปรับได้ครับ
เอิ่ม แต่ผู้ถือหุ้นแบงค์นี้เค้าใหญ่จิงๆนะครับ
เค้าสั่งอะไรออกมา ยังไม่เคยเห็นมีใครเบรกได้เลยนะครับ
แยกแยะเรื่องฐานะกับการถือหุ้นหน่อยก็ดีนะครับ พอดีผมยังไม่เคยเห็นท่านมาสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานบริษัทเหมือนกันอ่ะครับ อีกอย่างถ้ารวบรวมเสียงผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินครึ่งก็ควบคุมบริษัทไม่ได้อยู่ดี (ผมพูดถึงเฉพาะการบริหารบริษัทนะครับ จะได้ไม่นอกเรื่องจากกระทู้ที่เป็นเรื่องสินค้าใหม่ของบริษัทเนอะ)
อะไรที่ผิด ก็ทำให้มันถูกซะ ง่ายจะตาย 555
เสี่ยงน้อยกว่าบัตรกดเงินสดอีก ไม่เห็นต้องเบรกเลย ไม่ดียังไงหรอครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
หลายคนเชื่อว่าการส่งเสริมให้คนเป็นหนี้คือหนทางสู่ความล่มสลายครับ
ผมคิดกลับกันนะ แอพ "มีตังค์" จะช่วยเรื่องคนที่ใช้สินเชื่อในกรณีเดียวคือ คนที่เงินหมุนไม่ทันในเดือนเดียวกัน แต่มันจะไม่น่าจะช่วยแก้ปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบเนื่องจาก "มีเงินไม่พอ" เลย เพราะระบบนี้เป็นการไปยืมเงินล่วงหน้ามาใช้ก่อน และจะส่งเสริมให้วินัยการใช้เงินแย่ลงไปอีก
ผมว่าการแก้ปัญหาที่แท้จริงคือ บริษัทหรือหน่วยงานในไทยควรเปลี่ยนระบบการจ่ายเงินเดินเป็นทีละ 2 อาทิตย์ (biweekly) คือจ่ายทุกวันที่ 15 และ 30 ของเดือนได้แล้ว
เบิกลักษณะนี้มันเป็นการเติมสภาพคล่องอยู่แล้วแหละครับ ได้จำกัดไม่เกินครึ่งของเงินเดือน และไม่เกิน 2 หมื่นเอง ส่วนวินัยการเงินนี่คงขึ้นกับคนแหละครับ คนที่วินัยการเงินแย่ ไปใช้พวกบัตรกดเงินสดจะหนักกว่านี้อีก แล้วตัวนี้เอามาใช้เป็นเหมือนจ่ายเงินเดือนเดือนละ 2 ครั้งแบบคิดค่าธรรมเนียมก็ได้ ใครเดือดร้อนก็เสียค่าธรรมเนียมไป ใครไม่เดือนร้อนก็รับปกติไป
คนมีวินัย เป็นหนี้แบบไหนก็ไม่มีปัญหา ได้ประโยชน์กว่าคนไม่เป็นหนี้อีก ส่วนคนไม่มีวินัยผมว่าแบบนี้ก็ยังดีกว่าบัตรกดเงินสดหรือบัตรเครดิตนะครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
เอาไว้ไปจ่ายค่าหวยวันที่ 16 ได้ แจ่ม
คิดเทียบเป็นดอกเบี้ยกันยังไงหรอครับ ถึงได้24%
1000คิด20
100คิด2
กด100จ่าย2 ใน1เดือน
ถ้าต้องถือ100 1ปี ก็จ่าย2*12=24 แบบนี้หรือเปล่าครับ
ใช่ครับ คร่าว ๆ ก็ประมาณนั้น แต่ถ้าเกิดยืมตอนกลางเดือน อัตราก็จะกลายเป็น 2% ต่อครึ่งเดือน หรือ 2% x 24 = 48% ต่อปีครับ!!!