กูเกิลเพิ่มคุณสมบัติการแปลภาษาแบบออฟไลน์ในแอป Google Translate มาหลายปีแล้ว (ผู้ใช้ต้องโหลดชุดแปลแต่ละภาษาเพิ่มเติมก่อน) และเมื่อปีที่แล้วกูเกิลก็เริ่มใช้เครื่องมือแปลอย่าง Neural Machine Translation ที่ทำให้แปลระดับประโยคได้ถูกต้องมากขึ้น จากเดิมที่แปลเป็นคำ ล่าสุดกูเกิลประกาศความก้าวหน้าของการแปลแบบออฟไลน์เพิ่มเติม
โดยกูเกิลบอกว่าความสามารถในการแปลภาษาแบบออฟไลน์ ที่ตอนนี้รองรับ 59 ภาษานั้น ภาพรวมมีการแปลที่ถูกต้องขึ้น 12% และในบางภาษาความถูกต้องนั้นสูงขึ้นถึง 20% อาทิ ภาษาญี่ปุ่น, เกาหลี, ไทย, โปแลนด์ และฮินดี (ดูตัวอย่างการแปลภาษาฮินดีได้ข้างล่าง)
นอกจากนี้กูเกิลยังเพิ่มตัวช่วยการอ่านออกเสียงคำภาษาต่างประเทศ กรณีต้องการออกเสียงตามคำท้องถิ่นอีก 10 ภาษา ซึ่งสามารถทำงานแบบออฟไลน์ได้เช่นกัน
Comments
แค่คำว่า “ปวดฉี่” ยังแปลไม่ถูกเลย
pee pain, lol
แล้วคิดว่ามันควรแปลว่าอะไรครับ? ผมว่ามันแปลยากครับ เพราะมันไม่มีคำแปลตรงๆ จะใช้ว่า urinary urgency ก็ไม่มีใครใช้กันในชีวิตประจำวัน หรือ feeling the need to pee มันก็ดูเป็นประโยคอธิบายมากกว่า คำที่ใช้กันจริงๆ ก็เป็นประโยคเลี่ยงหมดเช่น I need to use restroom / bathroom.
ลองไปอ่านดูได้ครับ https://www.quora.com/Is-there-a-word-for-that-feeling-the-need-to-pee
จะแปลให้ถูกต้อง100%คงจะยาก
คำในภาษาไทยจะค่อนข้างเหมือนบทกลอน
ขนาดใช้ท่องจำยังเป็นบทกลอนเลยนะเออ
1. คำนาม...
2. คำสรรพนาม...
3. คำกริยา...
4. คำวิเศษณ์...
5. คำสันธาน...
6. คำบุพบท...
7. คำอุทาน...
• คำไทยมีเจ็ดคำ ที่ต้องจำไว้ให้ดี
คำนาม คือคำที่ ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ
เช่น บ้าน หนู หมู หมา ไฟ ปากกา ปลา เงินทอง
ภูเขา ห้วย ลำคลอง เมืองระนอง นายทองดำ
หน้าที่ของนามนะ เป็นประธานและเป็นกรรม
เล่าเล่าพอให้จำ จงหมั่นเพียรเล่าเรียนไป
• คำสอง สรรพนาม แทนคำนามจำใส่ใจ
เช่น เรา เขา เธอ ใคร หน้าที่คล้ายกับคำนาม
• คำสาม คือ กริยา บอกอาการนาม สรรพนาม
เช่น เดิน นอน นั่ง ถาม กิน วิ่ง พูด ยิ้ม ร้องไห้
• วิเศษณ์ คือคำที่ ให้มีเนื้อความแปลกไป
ประกอบนามวิเศษณ์ไซร์ สรรพนามและกริยา
เช่น ชั่ว ดี เลว แป้น เขียว ดัง แบน หอม หวาน ช้า
เหม็น ฉุน เปรี้ยว เค็ม จ๋า เหนือ หมด ใด ไหน ดี แน่
• บุพบก นำหน้านาม สรรพนามตัวอย่าง แด่
ดูก่อน ใน ยัง แต่ แห่ง ของ ด้วย บน โดย ตาม
• สันธาน เชื่อมถ้อยคำ คำต่อคำ ความต่อความ
เชื่อมประโยคให้งดงาม เช่น กับ เพราะ และ เช่นว่า
• อุทาน การออกเสียง ผิดสำเนียงธรรมดา
แสดงอารมณ์นา ความรู้สึกผู้อุทาน
เช่น เหม่! ชิ! หรือ! หา! เฮ้ย! ไฮ้! ฮา! สะพงสะพาน
เรือแพ ขอจบการ เล่าให้อ่านจำไว้เอยฯ