Cloud Computing แทบจะกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีขององค์กรไม่ทางใดก็ทางหนึ่งไปแล้ว เพียงแค่รูปแบบการใช้งาน Cloud อาจแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ละองค์กร
นอกจากประเด็นเรื่องความเหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานและเงื่อนไขขององค์กรในการเลือกประเภท Cloud แล้ว ความกังวลว่าองค์กรจะเอาโครงสร้างไปผูกไว้กับผู้ให้บริการรายเดียว (Vendor Lockdown) ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้หลายองค์กรเลือกใช้ Cloud จากผู้ให้บริการที่หลากหลาย ซึ่งกลายเป็นว่า Hybrid Multicloud กำลังจะกลายเป็นรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับการปรับเปลี่ยนองค์กรเข้าสู่ระบบดิจิทัล
จากรายงานของ IDC ที่ร่วมกับเทนเซ็นต์ คลาวด์ ชี้ว่าไฮบริดมัลติคลาวด์จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับองค์กรที่ต้องการปรับเปลี่ยนและสร้างโมเดลธุรกิจขึ้นมาใหม่ในโลกดิจิทัลในยุค New Normal รวมถึงจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการเติบโตขององค์กรด้วย
นอกจากนี้ 8 เมกะเทรนด์ในเอเชียแปซิฟิกจากรายงานนั้นคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทในการกำหนดกลยุทธ์องค์กรนั้น คลาวด์จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของการกำหนดทิศทางธุรกิจ และการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ระบบดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานที่สามารถปรับขนาด และมีความยืดหยุ่นจะเอื้อให้ธุรกิจสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้รวดเร็วทันท่วงที ซึ่งจะกลายเป็นข้อได้เปรียบของธุรกิจที่วางโครงสร้างเพื่อตอบรับการใช้งานในอนาคตได้
8 เมกะเทรนด์ในเอเชียแปซิฟิกจากการคาดการณ์ของ IDC
เมกะเทรนด์ข้างต้นเป็นตัวบ่งบอกว่าโลกดิจิทัลเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญกับองค์กร โดยในรายงานระบุว่าไฮบริดมัลติคลาวด์ จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักสำหรับการเปลี่ยนผ่าน เพราะทั้งเป็นตัวกลางที่เหมาะสม ตอบโจทย์กับการเป็นตัวกลางระหว่าง on-prem และ off-prem ไปจนถึงกระบวนการทำงานและ แอปพลิเคชันต่างๆ ขององค์กรที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ยังอาจมีข้อจำกัดที่ต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานแบบเก่าอยู่ ทาง IDC คาดการณ์ด้วยว่าภายในปี 2021 องค์กรกว่า 90% จะใช้คลาวด์แบบผสมผสาน ทั้งไพรเวทคลาวด์ พับลิกคลาวด์หลายๆ แห่ง และแพลตฟอร์มดั้งเดิม (Legacy Platform)
สถาปัตยกรรมแบบ Hybrid Multicloud เปิดทางให้องค์กรสร้างความมั่นใจว่าจะใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าที่สุดในอนาคตโดยไม่ต้องกังวลว่าจะผูกกับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว เมื่อ แอปพลิเคชันในองค์กรต่างพร้อมสำหรับการรันบนคลาวด์อย่างเต็มที่ การเลือกรันแบบ on-prem ไม่ได้ติดสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันเองที่ไม่พร้อมต่อคลาวด์ แต่เกิดจากความเหมาะสม เช่น แอปพลิเคชันต้องการ latency ต่ำ หรือติดกฎหมายข้อบังคับบางประการ
ขณะเดียวกันการออกแบบรองรับ Multicloud แต่แรกทำให้องค์กรแน่ใจได้ว่าจะสามารถย้ายแอปพลิเคชันไปยังผู้ให้บริการคลาวด์ต่างๆ ตามความเหมาะสมอย่างแท้จริง เช่น มีผู้ให้บริการรายใหม่ผ่านเงื่อนไขกฎเกณฑ์ของอุตสาหกรรม หรือคลาวด์บางรายอาจจะให้บริการในพื้นที่เฉพาะจนแทนที่ on-prem ได้ องค์กรก็สามารถเปลี่ยนผ่านไปได้ทันที
Tencent Cloud เป็นบริการภายใต้บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งได้เข้ามาให้บริการอย่างเต็มตัวในประเทศไทย โดยมาพร้อมกับความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจเชิงลึกในด้านการให้บริการแพลตฟอร์มขนาดใหญ่จากบริษัทแม่ในประเทศจีน ซึ่งพิสูจน์แล้วจากผู้ใช้งานกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลก ทั้งในเรื่องความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเทนเซ็นต์มอบบริการระบบปฏิบัติการคลาวด์ระดับเวิล์ดคลาส ที่มีประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และยืดหยุ่น สามารถปรับได้ตามความต้องการของลูกค้า พร้อมทั้งสามารถมอบโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกอุตสาหกรรม และยังมีจุดแข็งคือ การมีทีมสนับสนุนในประเทศไทยที่สามารถให้บริการและคำปรึกษากับลูกค้าคนไทยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในประเทศ อีกทั้งการมีศูนย์จัดเก็บข้อมูล (Data Center) ที่ตั้งอยู่ในประเทศเพื่อให้การถ่ายโอนข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และปลอดภัยอีกด้วย นอกจากนี้ Tencent Cloud ยังมีฟังก์ชัน และบริการต่างๆ พร้อมสำหรับงานประเภทต่างๆ รวมถึงการทำไฮบริดคลาวด์
เทนเซ็นต์ คลาวด์มีข้อแนะนำองค์กรที่ต้องการจะสร้างแพลตฟอร์มคลาวด์ว่าต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนสมัครขอรับสิทธิ์ใช้งานแพคเกจ Free Trial และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tencent.co.th/th/product/services
Comments
ถ้ารัฐบาลจีนต้องการเข้าถึงข้อมูลลูกค้าบน Cloud ของ Tencent จะมีนโยบายดำเนินการอย่างไรบ้างอ่ะครับ ?
ของจีน คาดหวังไรมาก
แนะนำเช้า google แล้ว search NSA จะได้เบิกเนตร สวัสดี
เขารู้มาเป็นชาติแล้ว
และเชิญค้นหาเกี่ยวกับกฎหมายดิจิทัลในประเทศจีน เปรียบเทียบกับอมริกา จะได้เบิกเนตร สวัสดี