คดีระหว่าง Apple และ Epic Games ทำให้เราเห็นข้อมูลภายในหลายอย่างปรากฏในเอกสารคำฟ้อง เช่น เหตุผลที่ไม่มี iMessage บน Android คราวนี้เป็นข้อมูลของฝั่ง Epic Games บ้าง
ตัวเลขล่าสุดที่เปิดเผยคือ Epic Games จ่ายเงินค่าเอ็กซ์คลูซีฟให้บริษัทเกมเป็นเงินรวม 444 ล้านดอลลาร์ในปี 2020 โดยตัวเลขนี้คือการันตีรายได้ขั้นต่ำให้บริษัทเกม หากยอมแลกกับการไม่นำเกมลงขายบน Steam เป็นเวลา 1 ปี (ก่อนหน้านี้เคยมีตัวเลขของเกม Control ที่ 10.45 ล้านดอลลาร์)
หากเรานำเลข 444 ล้านดอลลาร์ มาคำนวณจากรายได้ประจำปี 2020 ของ Epic Games Store ระบุว่า Epic มีรายได้จากเกม third party ที่ 265 ล้านดอลลาร์ เท่ากับว่า Epic ขาดทุนจากส่วนนี้อยู่ 179 ล้านดอลลาร์ แต่ในคำฟ้องของ Apple ก็ระบุว่าถ้ารวมตัวเลขของปี 2019 ด้วย ตัวเลขขาดทุนจะอยู่ราว 330 ล้านดอลลาร์เลยทีเดียว
Comments
อย่างงี้ยังควรจะซื้อเกมกับ EPIC อยู่ไหมเนี่ย ถ้าวันนึงปิดขึ้นมา เกมที่ซื้อไว้ก็หายหมด
รายได้หลักของ Epic มาจากส่วนแบ่งรายได้ของ Unreal Engine ครับ มันเป็น Engine สำหรับสร้างเกมซึ่งต้องบอกว่าเป็น Engine อันดับ 1 ของวงการ เกมดัง ๆ ส่วนมากในทุก ๆ platform ต่างก็ใช้ Engine ตัวนี้ในการพัฒนาเกม
เพราะงั้นต่อให้คนซื้อจะไปซื้อเกมใน PS5 XBox PC หรือ Steam ถ้าเกมนั้นใช้ Unreal Engine แล้วมียอดขายสูงเกิน 1 ล้านเหรียญขึ้นไป ยังไง Epic ก็ได้เงินด้วยอยู่ดีครับ (Unreal Engine ให้ใช้ฟรี แต่จะเริ่มเก็บเงินจากยอดขายเมื่อทำรายได้มากกว่า 1 ล้านเหรียญต่อปี)
เพราะงั้นยังไง Epic ก็ล้มยากอยู่ดีครับ เพราะรายได้จาก Fortnite ขนาดโดน apple แบนก็ยังทำรายได้สูงมากอยู่ดี
และยังมีรายได้หลักจาก Unreal Engine อีก
อ้อ ได้ Tencent จากจีนมาถือหุ้นอีก 15% ด้วยเพราะงั้นทุนยังถือว่าแข็งแกร่งมากครับ
Epic ล้มยากใช่ครับ แค่ EGS เค้าก็ปิดบริการได้นี่ครับ ถ้ามันขาดทุนหนักๆ
google ยังไม่ล้มแต่บริการของ google หลายตัวก็หายไปนะครับ
เค้าอาจจะกังวลในจุดนี้
ถ้ากังวลตรงนี้มันก็ได้ครับ แต่ก็ควรกังวลทุกแพลตฟอร์มนะครับ เพราะทุกสโตร์ก็มีโอกาสเจ๊งหมด อนาคตไม่แน่นอนไม่มีใครการันตีได้ว่าบริษัทไหนจะอยู่ค้ำฟ้า แต่ถ้ากังวลที่มันขาดทุน เอาจริงๆ แค่ขาดทุนยังถือว่ายากเลยครับเพราะอะไร เพราะธุรกิจนี้มันไม่ต้องลงทุนมากก็ได้ถ้าแค่ในตัวร้าน สิ่งที่ทำให้มันขาดทุนคือการทุ่มตลาดแย่งส่วนแบ่งจากคู่แข่งครับ เลิกทุ่มตลาดเมื่อไหร่ก็เลิกขาดทุนเมื่อนั้นครับ แต่ช่วงแรกต้องทำก่อนเพื่อให้ฐานลูกค้ามากพอ จะได้แข่งได้ให้พอมีรายได้ระดับที่เพียงพอก่อน ผ่านไปซักพักเขาก็ลดปริมาณค่าใช้จ่ายตรงนี้ลงเองแหละครับแล้วก็ไม่ควรเทียบกับกูเกิลนะครับรายนั้นเขาคลอดโปรดักส์ถี่ยังกับใข่ปลาทะเล อัตราตายเยอะก็ไม่แปลกครับ เรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมเฉพาะที่มีไม่มากก็ว่าได้
ใช่ครับ Epic แข็งแกร่งพอตัว ไม่เจ๊งง่ายๆหรอก แต่ EGS ที่ขาดทุนอยู่นี่เขาจะปิดตัวรึเปล่ามันเป็นอีกเรื่องครับ
ตอนนี้เขาก็เอารายได้ส่วนอื่นๆมาอุ้มได้แหละ ธุรกิจประเภทนี้ขาดทุนช่วงแรกเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว แค่ถ้าขาดทุนแบบนี้ไปเรื่อยๆหลายๆปี EGS ก็อาจจะปิดตัวก็ได้ครับ
ผมมองว่ามันเป็นธุรกิจที่เพิ่งเริ่มครับ เพิ่งเปิดมาได้แค่ 2 ปี ยังไงมันก็ต้องขาดทุนอยู่แล้ว
ซึ่งทาง Epic ก็รู้ในจุดนี้แน่อยู่แล้วแน่นอน ซึ่งถ้าจะเอาการขาดทุนในช่วงเปิดกิจการช่วงทำตลาดใหม่ ๆ มาบอกว่ามีแววจะเลิกกิจการ แบบนี้ก็ดูจะไม่เป็นธรรมสักเท่าไหร่ เพราะถ้าตามข่าว ก็จะเห็นว่าตอนนี้ทาง Epic ก็ทยอยซื้อค่ายเกม ผู้จัดจำหน่ายมาอยู่ใต้ชายคามากขึ้น ซึ่งมันสวนทางกับที่ Google พออันไหนแป๊กก็ไล่ปิดไล่ขายออก
คือต้องลองมองดูว่าที่ Epic Game Store ทำอยู่นี้ก็คล้าย ๆ กับ Xbox Gam Pass ของ Microsoft นั่นแหละครับ
มันขาดทุนแน่ ๆ ในตอนแรก(และขาดทุนมหาศาลด้วย) แต่ต้องไปดูว่าสุดท้ายแล้ว Model ของ Game Pass มันมีแววเติบโตในอนาคตไหม หรือ Epic Game Store นี้จะทำกำไรได้ในที่สุดหรือเปล่า
เพราะงั้นในความเห็นของผมก็ยังคิดว่า Epic Game Store ยังห่างไกลจากการปิดกิจการในอนาคตอันใกล้นี้แน่ ๆ
เพราะบริษัทแม่ยังแข็งแกร่ง และตัวบริษัทแม่ยังเปรี้ยวไปท้ารบชาวบ้านเขาแหยง ๆ อยู่แบบนี้ อย่างน้อยก็น่าจะดันไปจนสุดทางแหละเพราะไม่งั้นมันจะกระทบต่อภาพลักษณ์ที่ไปท้ารบเขาเอาไว้ทั่ว
และต่อให้ปิด ยังไงเขาก็ต้องมีทางเลือกให้ลูกค้าได้เตรียมตัวหรือมีอะไรชดเชยบ้างแหละครับ ไม่ได้ปิดไปดื้อ ๆ เหมือนหลาย ๆ บริการของ Google แน่ ๆ
น่าจะมีวิธีให้exportเกมออกจากแพทฟอร์มแหล่ะครับ ไม่งั้นโดนฟ้องแบบหมู่แน่นอน
ผมเข้าใจว่าร้านค้าเกมพวกนี้ส่วนใหญ่แล้ว เราไม่ได้ซื้อเกมแต่เราซื้อ service การเล่นเกมรึเปล่าครับ? เพราะงั้นถ้าวันดีคืนดีเขาจะปิดตัวขึ้นมาแล้วไม่ให้เกมกับเรา เราก็ไม่น่าจะฟ้องอะไรได้รึเปล่า?
ใน user agreement จะมีบอกอยู่อย่างของsteam เป็น lifetime subscription
อันนี้เป็น Lifetime ของ Store หรือของลูกค้าครับ?
user agreement ไม่จำเป้นต้องถูกต้องในศาลเสมอไปนะครับ ตัวอย่างอย่างเคสขายเกมมือ2
คำว่า lifetime ทุกๆ service หรือ product จะเป็น lifetime ของชิ้นนั้นครับ ไม่ใช่ lifetime user ครับ
ไปดูล่าสุดไม่มีคำว่า lifetime แหะ ไม่รู้ว่าจำผิดหรือโดนเอาออกไป
ผมว่าตัวเลขขาดทุน มันถูกคาดการ์ณเอาไว้แล้วล่ะ เหมือนทรูช่วงแรกๆอ่ะ ขาดทุนยับๆ แต่ก็เติบโตเรื่อยๆ
ถ้ามันเริ่มอยู่ในจุดที่ไม่เติบโตแล้วล่ะก็ เราค่อยเริ่มกังวลกันได้ล่ะ
ทรูที่คนไม่กังวลคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องอื่นมากกว่า
ซ้ำ
ตอนนี้ก็ยังมีขาดทุนอยู่นะครับ ไม่ใช่แค่ช่วงแรก ๆ แต่หลาย ๆ คนคงชินกันแล้วมากกว่า + มีสายป่านยาว
ตัว Store ขาดทุนนี่คิดว่าคนที่ติดตามข่าวก็น่าจะรู้กันอยู่แล้ว (ยกเว้นไร้เดียงสาสุดๆ) ความสำคัญของข่าวนี้คือ เพิ่งเป็นครั้งแรกที่รู้ตัวเลขว่าขาดทุนเท่าไรครับ
ใช้เงินขนาดนี้ luncher ยังพัฒนาไม่ถึงในเลย....
The Dream hacker..
นั้นสิครับ ค้างบ่อย และช้ามาก แถมโดน Anti-Virus ไม่ให้ Run อีก ต้องมานั่ง Allow App ทุกครั้งที่ลงเครื่องใหม่