ทุกวันนี้แทบทุกคนใช้ชีวิตผูกติดกับโลกออนไลน์ เราจะได้เห็นข่าวเคสโดนหลอก โดนโกงเงินจากบรรดามิจฉาชีพและแฮกเกอร์ที่ขยันสรรหาวิธีคิดมาล่อลวงเอาข้อมูลการเงินไปจากเรา และหากไม่นับเรื่องแฮกเกอร์โจมตีระบบบริษัทเพื่อขโมยข้อมูลแล้วนั้น ภัยไซเบอร์ก็อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิดมาก ๆ
ที่ผ่านมาเราเห็นเหตุการณ์ที่บัญชี Facebook และ Instagram ของเพื่อนๆ เราถูกแฮ็กหรือถูกสวมรอยเพื่อมาขอยืมเงิน เรียกได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่บานปลายไม่จบไม่สิ้น หรือแม้แต่เหตุการณ์ข้อความจากเว็บไซต์พนันบอลและเว็บเถื่อนกู้เงินออนไลน์ มาหลอกให้เราคลิกลิงก์ที่ไม่ปลอดภัย ฝังสแปมไว้เพื่อขโมยข้อมูลเราตั้งแต่ข้อมูลโซเชียลมีเดีย หรือที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเงิน และรหัสผ่านต่าง ๆ ซึ่งการป้องกันหลาย ๆ อย่างสามารถเริ่มได้ที่ตัวเราเอง
เราจึงอยากมาแชร์วิธีป้องกันข้อมูลตัวเองเบื้องต้นแบบง่ายที่สุด และเริ่มต้นจาก “ตัวเอง” ก่อน #ใช้สติป้องกันสตางค์ เพื่อให้รอดปลอดภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์ที่กำลังสร้างความเสียหายอย่างมากมายในทุกวันนี้
หลาย ๆ ครั้ง เราใช้งานมือถือ และวางมือถือทิ้งไว้โดยไม่เฉลียวใจว่าอาจมีผู้ไม่หวังดีขโมยมือถือของเราไปใช้ทำอะไรบางอย่าง หรือที่แย่กว่านั้น คือล็อกอินมือถือทิ้งไว้ และมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลเราได้ทุกอย่าง
มือถือกลายเป็นปัจจัยหลักไม่เพียงติดต่อสื่อสารกับคนอื่น แต่มันยังทำหน้าที่เก็บข้อมูลส่วนตัว และยังใช้เป็นช่องทางหลักในการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร ดังนั้น มือถือควรเป็นสิ่งที่คนต้องหวงไว้ยิ่งชีพ หรือหากมีความจำเป็นต้องนำมือถือเข้าศูนย์ซ่อม ต้องทำการ Backup ข้อมูล รีเซตเครื่องใหม่เป็นเครื่องเปล่า (Factory Reset) และต้องไม่ลืมนำ Sim Card, SD Card ออกจากเครื่อง
ทันทีที่ได้มือถือกลับมาจากศูนย์ซ่อม ควรทำการล้างเครื่องหรือ Factory Reset อีกครั้ง ป้องกันการฝังมัลแวร์ หรือแอปพลิเชันแปลกปลอมโดยที่เราไม่รู้ตัว
ภาพจาก Shutterstock
จากข่าวใหญ่โตในช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นแล้วว่า เลขบัตรเครดิตสามารถถูกขโมยได้ ดังนั้น เราจึงต้องปกปิดข้อมูลเลขบัตรเครดิต รวมถึงเลข CVV หลังบัตรให้มิดชิดที่สุด ไม่เปิดเผยข้อมูลการใช้งานให้คนอื่นนอกจากธนาคาร
ในการใช้บัตรเครดิต หรือเดบิตในการซื้อสินค้าและบริการตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ ก็เช่นกัน ควรเลือกแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ และต้องลบข้อมูลบัตรเครดิตออกจากทุกบริการที่เลิกใช้งานแล้ว รวมถึงถอดการเชื่อมแอปธนาคารเมื่อไม่ใช้งานแพลตฟอร์มซื้อของนั้นๆ ด้วย อันนี้สำคัญมากและคนทั่วไปมักมองข้าม
ภาพจาก Shutterstock
แอปพลิเคชันธนาคาร และบัตรเครดิตสามารถตั้งค่าวงเงินโอนออกได้ ป้องกันการขโมยเงินออกจากบัญชีได้ระดับหนึ่ง อีกทางเลือกที่ดีคือ ตั้งการแจ้งเตือนโอนออกผ่านอีเมลเสมอ เพื่อที่เราจะได้รู้ทุกความเคลื่อนไหวของธุรกรรมในบัญชีของเรา หากเกิดเหตุร้ายขึ้นมาจริง ๆ เราจะไหวตัวทัน และทำการอายัดบัตรได้เร็ว
การตั้งค่าวงเงินโอนออก มีคามสำคัญมาก เราจึงควรตั้งวงเงินให้ต่ำพอที่หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้วยังจัดการปัญหาได้ทัน บัตรเครดิตที่ธนาคารให้วงเงินมาสูง เราก็สามารถโทรแจ้งธนาคารเพื่อขอปรับลดวงเงินให้เหลือตามที่เราสะดวกใจได้
หนึ่งในเหตุการณ์ที่พบเจอได้บ่อยคือ บัญชีโซเชียลมีเดียของเพื่อน ๆ โดยสวมรอย และอาศัยความเห็นอกเห็นใจของเรามาแชตขอยืมเงิน หรือใช้วิธีกดดันเราให้โอนเงินให้ด่วนที่สุด เช่น รถเสีย ไม่มีเงินซื้อข้าวกิน พ่อแม่ป่วย เป็นต้น
วิธีทดสอบง่าย ๆ คือ กดโทรออกเพื่อคุยกับเจ้าตัวโดยตรง หรือแชทคุยถามข้อมูลรอบด้านอื่น ๆ เพื่อจะได้รู้ว่า คน ๆ นี้คือเพื่อนของเราตัวจริง
ภาพจาก Shutterstock
ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คนเราอาจหวั่นไหวได้ง่ายกับวิธีที่มิจฉาชีพใช้เพื่อล่อลวงให้เราตกหลุมพราง ไม่ว่าจะเป็น SMS แปลก ๆ หรืออีเมลแปลกๆ อย่างเช่น “คุณได้รับเงินกู้”, “คุณได้รับสิทธิ์เติมเงินฟรี”, “คุณได้รับอนุมัติสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ” “คุณได้รางวัลจาก...” เป็นต้น ซึ่ง SMS และอีเมลเหล่านี้มักแทรกลิงก์หน้าตาแปลกๆ เข้ามา
วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าข้อความเหล่านี้เป็นข้อความหลอกลวงคือ มักใช้ภาษาไม่เป็นทางการ และกระตุ้นให้กด ทำราวกับว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนจนเกินจริง และมาพร้อม URL หน้าตาแปลก ๆ
ดังนั้น ทางที่ดีคือ หากคุณเป็นคนที่ต้องการเงินกู้จริง ๆ ควรติดต่อผ่านธนาคารโดยตรงเท่านั้น และห้ามกดลิงก์จาก SMS หรืออีเมลที่เชิญชวนให้กดเป็นอันขาด
มิจฉาชีพมักใช้วิธีการสุ่มเบอร์โทรศัพท์ และใช้ข้อความอัตโนมัติสร้างความตื่นเต้นหรือตกใจให้กับเหยื่อ บางครั้งก็แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ โทรมาหลอกเอาข้อมูลสำคัญ หรือหลอกให้เหยื่อไปทำรายการที่ตู้ ATM โดยใช้ข้ออ้างว่า ทำไปเพื่อล้างหนี้สิน หรืออาจหลอกให้เหยื่อไปโอนเงินให้หน่วยงานภาครัฐเพื่อตรวจสอบ ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้จะอาศัยความกลัว ความโลภ และความรู้ไม่เท่าทันของเหยื่อ โดยข้ออ้างที่มิจฉาชีพมักใช้หลอกเหยื่อ เช่น
ทางที่ดี หากเจอเหตุการณ์แบบนี้ ต้องรีบพูดตัดบท และโทรสอบถามไปยังธนาคารที่มิจฉาชีพอ้างมาทันที เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
อ่านข้อมูลมาจนจบถึงตอนนี้ ถ้าใครเห็นว่าเป็นประโยชน์อยากเอาไปแชร์ต่อ ธนาคารกสิกรไทยที่ร่วมรณรงค์แคมเปญ สติ ยินดีที่จะให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน หรือคนทั่วไป สามารถนำคลิป ข้อมูล ต่าง ๆ ไปเผยแพร่ต่อได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นการร่วมด้วยช่วยกันเพื่อให้พวกเราทุกคนปลอดภัยจากภัยไซเบอร์ที่แพร่ระบาดหนัก โดยสามารถติดต่อได้ที่ kbank.co พร้อมรับชมและกดแชร์หนังโฆษณาสติได้ที่ YouTube
หากพบภัยไซเบอร์ที่เกี่ยวกับธนาคารกสิกรไทย ติดต่อแจ้งข้อมูลได้ที่ KBank Live ผ่าน Line หรือ Facebook Messenger หรือแจ้งทางอีเมล info@kasikornbank.com หรือติดต่อ K-Contact Center ได้ที่ 02-888-8888
Comments
ก่อนจะคลิกเข้ามาอ่าน นึกว่ามาโฆษณาประกันกันเงินหาย ?