ท่ามกลางกระแสข่าวการหลอกโอนเงินด้วยวิธีต่างๆ ของมิจฉาชีพที่เรียกติดปากว่า "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยมีการออกมาตรการ ไปบ้างแล้ว
ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศมาตรการชุดใหญ่ให้ธนาคารนำไปบังคับใช้อย่างเป็นทางการดังนี้
มาตรการป้องกัน
- ห้ามแนบลิงก์ผ่าน SMS และอีเมล เพื่อขอข้อมูลสำคัญ
- จำกัดจำนวน mobile banking ได้แค่ 1 เครื่อง
- ยกระดับการยืนยันตัวตนขั้นต่ำเป็น biometrics กรณีที่เปิดบัญชีผ่านแอป หรือทำธุรกรรมมากกว่าขั้นต่ำที่กำหนด เช่น เกิน 50,000 บาทต่อวัน หรือการปรับวงเงินขั้นต่ำเพิ่มมากกว่า 50,000 บาท
มาตรการตรวจจับและติดตามบัญชีต้องสงสัย
- รายงาน ปปง. เมื่อพบความผิดปกติหรือพบการกระทำความผิด
- มีมาตรการตรวจจับ/ติดตามธุรกรรมที่เข้าข่ายผิดปกติตตลอด 24 ชม.
มาตรการตอบสนองและรับมือ
- มีช่องทางติดต่อ 24 ชม. แยกจากช่องทางปกติ
- สนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสอบสวน รวมถึงมีผู้รับผิดชอบการประสานงานที่ชัดเจน
- ดูแลและรับผิดชอบ กรณีที่พบว่าความเสียหายเกิดจากความผิดพลาดของธนาคาร
ที่มา - ธนาคารแห่งประเทศไทย
Comments
เรื่องนี่้ เจ้าหน้าที่ต้องเร็วนะ แจ้งเรื่อง ต้องรอหลายวัน ไม่ได้
มาตรการเกี่ยวกับบัญชีม้าด้วยสิครับ เพิ่งไปแจ้งตำรวจมา เพราะโดนหลอกซื้อของ (ขนาดว่าเก็บเงินปลายทางละนะ) ตำรวจทำงานไวนะ อันนี้ชื่นชม รับแจ้งเรื่อง ดำเนินการหาชื่อบัญชีแทบจะได้เดี๋ยวนั้นเลย แต่ทำไรต่อไม่ได้ เพราะต้องส่งเรื่องไปขอความร่วมมือธนาคาร ตำรวจก็แจ้งเชิงตัดพ้อหน่อย ๆ ว่ารออีกเป็นเดือนนะ ธนาคารชอบหายตลอด นี่ก็รอมาสามสัปดาห์ละ เงียบกริ๊บ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
แชร์เพิ่มได้มั้ยครับ โดนหลอกซื้อของยังไง
กรณีที่แจ้งตำรวจ คือสั่งของออนไลน์ธรรมดานี่แหละครับ โอนเงินไปแล้วไม่ส่งซักที เข้าไปทวงก็โดนบล็อค เลยแจ้งครับ ส่วนอีกกรณีนึงคือสั่งเก็บเงินปลายทาง สั่งอย่างนึงได้อีกอย่างนึง ของที่ส่งมาราคาถูกกว่าของที่สั่งมาก ๆ และไม่ใช่ของประเภทเดียวกันเลย พอดีคนที่บ้านรับของให้ เลยไม่ได้ฉุกคิดครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ของผมเคยรอ 3 เดือน กว่า bank จะส่งข้อมูลกลับมาให้ตำรวจ เห็นด้วยว่าอันนี้ต้องแก้ก่อนเลย ถ้าชักช้าควรมีคนรับร้องเรียนที่ใหญ่กว่าธนาคาร
เพื่อนผมไม่เจอกันตั้งแต่เรียนจบมัธยม แต่หากันเจอเพราะเขาทำงานธนาคารและค้นชื่อผมในธนาคารล่ะมั่ง ดูแล้วกระบวนการน่ะน่าจะง่ายนิดเดียวจริงๆแค่ค้นหาในระบบ เพียงแต่พอเป็นงานจริงๆจังเอกสารถือว่าสำคัญ และคงจะช้าจุดนี้
รู้สึกยุ่งยากมากที่ไทยพาณิชย์ให้ปิดตัวช่วย accessibility ถึงจะเข้าแอพได้
ผมปิดแล้วปิดอีกก็ยังแจ้งว่าใช้ไม่ได้อยู่ดี เลิกใช้ธนาคารนี้ไปเลย
แล้วคนพิการและคนที่จำเป็นต้องใช้จริงๆจะทำยังไงกับโหมด
accessibility
รบกวนแชร์เพิ่มได้ไหมครับว่าแอปให้ปิด accessibility ส่วนไหนบ้าง แล้วการปิดมันกระทบกับการใช้งานหรือชีวิตอย่างไรบ้างครับ
ผมโดน Kept อีกเจ้าครับ ถึงตอนนี้ทั้ง 2 เจ้ายังไม่แก้
ผมโดนแอพแอนตี้ไวรัส แอพที่โดนเนื่องจากมีพวกระบุโลเคชั่น
รีโมทได้ บล็อคได้ แอนตี้ธีฟ Anti Scam ผมโดยโดน TTB กับ LH
ต้องปิดให้เมือถือที่บ้านเพราะอธิบายยังไงเค้าก็ไม่เข้าใจว่าไม่ควรปิด
แถมเวลากดเปิดมันไม่มีช็ตคัท ผมเลยลบทิ้งเลยง่ายกว่า
ลบแอพแอนตี้ไวรัสหรือลบแอพธนาคารไปครับ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ตอนนี้กสิกรก็เริ่มบังคับให้ปิดแล้วเหมือนกันครับ ยังดีที่บอกว่าให้ปิดแอปไหนบ้างเป็นที่ระบบตรวจเจอถึงจะเข้าได้ (เท่าที่จำได้ไม่บังคับปิดพวกแอป Password manager) แต่ยังดีหน่อยที่ถ้าไม่อยากเข้าไปปิดก็บังคับสแกนหน้าแทน
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
น่าจะกำหนดไปเลยว่าต้องตอบสนอง case ภายในกี่นาที
ถ้ามาตรการหละหลวม ธนาคารก็ไม่ทุ่มทุนมาดูแลด้านนี้อยู่ดี
ไม่มีมาตรการว่าธนาคารต้องดำเนินการเรื่องในเท่าไหร่ก็....
เคยแจ้งความยื่นเรื่องไปก็หายขั้นส่งเรื่องไปที่ธนาคาร
กำหนดการ ความถี่ใน ทำ transaction ไปเลยสิ
เช่น จำนวนครั้งของ เงินเข้า ออก บัญชี ต้นทาง ปลายทาง แล้ว trigger ขึ้นว่าว่าต้องสงสัย
หรือ อาจเพิ่มมาตรการ กำหนดหว่า ถ้าโอนเงินรวมแล้วเกินเท่านี้ต้องแจ้งธนาคาร ล่วงหน้า ก่อนทำ Transaction โดยอาศัยข้อมูลของ ลูกค้าที่เคยโดนมาเป็นตัวอย่าง
เช็คขนาดนั้นไม่ระบบหน่วงก็ล่มไปเลยแหล่ะครับ ธุรกรรมต่อวินาทีที่ทำงานพร้อมๆกันของทุกบัญชีทีเชื่อมต่อในระบบทั้งหมด
ผมว่ามันมีวิธีและ Hardware ปัจจุบันไม่ใช่ปัญหาครับ อยู่ที่ logic การเขียน code มากกว่า
ปัญหาคือ "เงินลงทุน" ที่ใช้เพื่อขยาย h/w และ license ของ s/w ต่างๆ ครับ
แจ้งล่วงหน้าทางไหนครับ แล้วช่องทางที่ว่าจะตรวจสอบตัวตนกันยังไง แล้วมันดีกว่ารูปแบบที่ธปท. บอกมายังไง ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า และกำหนดมาแล้วว่าให้ตรวจสอบด้วย biometric
lewcpe.com, @wasonliw
เห็นด้วยครับ ผมว่าด้วยระบบธนาคารปัจจุบันสามารถ implement feature นี้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยน hw/sw อะไรมากมายเลย
มาตรการอันนี้ป้องกันโอนได้แค่กรณีที่เราไม่ได้กดเองเช่นโดนลงแอปแปลกมาสั่งโอนเงิน
แต่ถ้าเป็นกรณีที่เจ้าตัวกดโอนเองด้วยความตั้งใจ อาจจะด้วยการโดนหลอกให้โอนด้วยวิธี scam ต่าง ๆ
อยากถามว่าทุกคนมีความคิดเห็นอย่างไร มีไอเดียอะไรที่น่าจะป้องกันตรงนี้ได้
ทำ blacklist บัญชีที่เคยมีประวัติโกงเงิน แล้วก่อนที่จะเราจะกดโอนจะเช็คประวัติบัญชีนั้น แล้วขึ้นแจ้งเตือนเราว่า "บัญชีนี้มีประวัติถูกรายงาน xx ครั้ง อาจเป็นบัญชีมิจฉาชีพ" สายโอนไวจะได้ยั้งมือก่อนกดโอน ไอเดียเหมือน www.blacklistseller.com หรือ www.chaladohn.com
เอาจริงๆ หน่วงเวลาโอนต่อ ก็น่าจะช่วยได้เยอะนะ ,,, เห็น ข่าวโอนไปบัญชีม้า แว่บเดียวไม่ถึงนาที โอนต่อเป็นทอดๆ ไป อีก 8-9 ทอด
นั่นล่ะครับเอาพฤติกรรมแบบนี้มาเป็น logic ในการเช็คเพื่อ trigger lock อายัดบัญชี ก็น่าจะพอได้อยู่
ตอนผมอยู่ต่างประเทศและเปิดบัญชีที่นั่น ในเว็บแอปมันแยกยอดเงินออกเป็น 2 ประเภทเลยครับ คือ ยอดเงินที่ใช้ได้ กับยอดเงินที่เรามี
เวลาเงินออก... ยอดเงินที่ใช้ได้ลดก่อน ส่วนยอดเงินที่มีก็ทยอยปรับทีหลัง
เวลาเงินเข้า... ยอดเงินที่มีปรับแล้ว แต่ยอดเงินที่ใช้ได้ยังไม่ปรับ
ตอนแรกก็แอบสงสัยนะว่าทำไมเขาถึงทำแบบนั้น หรือจริงๆไทยเราก็เป็นแบบนี้ (แค่ไม่โชว์ในแอปเฉยๆ) แต่พอคิดตามคอมเมนต์นี้แล้ว เขาอาจจะทำเพื่อป้องกันมิจฉาชีพก็ได้แฮะ
ของเรามีวงเงินรายวันอยู่แล้วนะครับ แต่ความอ่อนแอคือกระบวนการปรับวงเงินมันใช้แอป หรืออย่างมากก็ใช้ SMS อีกอย่าง รอบนี้คือเขาบังคับว่าจะปรับวงเงินต้องตรวจสอบ biometric
lewcpe.com, @wasonliw
ที่ผมเจอมันไม่เชิงวงเงินครับ แต่เป็นคล้ายๆกับหน่วงเวลาตามที่คอมเมนต์แรกว่าไว้ (ถ้าผมเข้าใจถูกนะ) ก็คือเงินเข้าบัญชีมาแล้วใช้ต่อทันทีเลยไม่ได้ ต้องรอซักระยะครับ
แบบนั้นแสดงว่าของเราดีกว่านะครับ เพราะของเราใช้งานได้ทันที แค่ไปควบคุมปริมาณเงินที่ใช้ได้ให้ไม่สูงเกินไปก็พอ เพราะไม่แบบนั้นคนมีภาระ วันนี้เงินเดือนเข้าแต่จะจ่ายค่าเช่าบ้านไม่ได้แบบนั้นจะสร้างความเดือดร้อนอีกเยอะ
lewcpe.com, @wasonliw
ใช่ครับ ผมก็คิดว่าของเราดีกว่า
จนกระทั่งได้มาอ่านคอมเมนต์นี้ที่ว่าการหน่วงเวลาอาจจะช่วยบรรเทาปัญหาลงได้บางส่วน ก็เลยคิดว่าที่เขาเคลียร์ริ่งช้าอาจจะจงใจรึเปล่า? และถ้าเราจงใจหน่วงจะช่วยลดปัญหาได้ไหม? นั่นคือที่ผมอยากจะสื่อครับ
ไม่น่าเรียกว่าจงใจ แต่เป็นเพราะยึดติดในระบบเก่าๆมากกว่าครับ มันแค่บังเอิญกลายเป็นข้อดีในการถ่วงเวลาโจร
เหมือนบอกว่าเอกสารแบบกระดาษดีกว่าแบบdigital เพราะhackจากinternet ไม่ได้นั่นแหละ คือมันใช่ข้อดีกว่าจริงๆน่ะหรือ?
อันนั้นอาจจะเป็นเรื่องของ clearing ครับ เช่นถ้าเอาเช็คที่เราได้มาเข้าบัญชีเรา ยอดเงินจะปรับเลยเพราะธนาคารเราเห็นแล้วว่ามีเช็ค แต่ยอดเงินที่ใช้ได้ยังไม่ปรับเพราะว่าธนาคารเราไม่รู้ว่าเงินนี้มีอยู่จริงมั้ย ต้องเอาเช็คใบนั้นไปเรียกเงินกับธนาคารต้นทางก่อน แต่สมัยนี้ไม่รู้เป็นยังไง ไม่ได้เอาเช็คเข้าธนาคารมานานมากแล้ว
ส่วนนึงเป็นเพราะความเทพของระบบธนาคารบ้านเราครับ ไม่ต้องรอ clearing นานเหมือนหลายๆประเทศ
ธนาคารต้องอายัดบัญชีเร็วที่สุด แล้วใครกดเงินบัญชีม้า กล้องวงจรปิดต้องส่งภาพไปให้ตำรวจทันที
กรณีต้องยืนยันตัวตนด้วย biometrics ขอให้คำนึงถึงคนตาบอดด้วยนะครับ เช่น ยืนยันด้วยใบหน้า ผมทำกี่ครั้งๆไม่เคยสำเร็จสักที ต้องให้คนตาดีช่วยตลอดเลย หรือบางคนลักษณะทางกายภาพดวงตาไม่เหมือนคนอื่นจะไม่สามารถยืนยันตัวตนได้
อยากให้สามารถใช้ลายนิ้วมือหรือมีทางเลือกอื่นด้วยครับ
ลายนิ้วมือน่าจะติดข้อจำกัดของระบบไม่ยอมให้ทำนะครับ
คนสายตาสั้นก็มีปัญหาครับ พวกระบบยืนยันตัวตน สั่งให้ถอดแว่น แล้วหันซ้ายหันขวา ประเด็นคือถอดแว่นแล้วอ่านหน้าจอไม่เห็นว่าสั่งให้หันทางไหน ขยับจอมาใกล้หน้าก็โดนยกเลิกให้เริ่มใหม่อีก
แบงค์บัวหลองแน่นอน ตอนนี้ยังลงแอพให้แม่ไม่ได้เลย หลังจากล้างไอแพดไป หันกันจนเหนื่อย
ผมต้องเข้าสาขาทุกรอบเลยครับเจ้านั้น orz
ถ้าไอโฟน ก็ได้แค่สแกนหน้านะ
บัตรเครดิตบางเจ้า ถ้ามีการทำธุรกรรมน่าสงสัยเช่นจ่ายเงินตปท หรือใช้จ่ายในวงเงินมากๆผิดปกติ เค้าโทรเข้ามาเช็คเลยนะครับ อย่างแค่ผมจ่าย Oracle SG เพื่อ activate account แค่ $5 เองยังโดนระงับ transaction on the fly เลย แล้วพนักงานก็โทรเข้ามาอย่างไวถามว่าเมื่อกี้ได้ทำธุรกรรมนี้จริงรึเปล่า ไม่เข้าใจว่าทำไมบัญชีธนาคารทั่วๆไปไม่มีมาตรการตรงนี้
เห็นด้วยว่าควรทำ แต่ก็พอเข้าใจว่าเสกลมันคงจะใหญ่กง่ากันมากครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
มันมี pattern ในการจับ fraud อยู่ครับ เช่นพวก double spending,ใช้ต่างlocation ในเวลาห่างกันไม่นาน ฯลฯ
แต่ของบ้านเรามันแยกบัญชีม้า กับบัญชีเพื่อการทำธุรกิจได้ยาก
โดยเฉพาะพวกโอนบ่อยๆรัวๆนี่ร้านค้าออนไลน์เยอะแยะ ที่มีpattern แบบเดียวกัน และไม่ใช่ทุกคนที่จะลงทะเบียน หรือจดทะเบียน ร้านค้าทั่วไปเขาก็ใช้
อ่านตามเพจข่าวเจอcommentเสนอเงื่อนไขวิธีให้ยุ่งยาก แทบจะพอๆกับให้ไปโอนที่สาขาธนาคารแบบโบราณเลยก็ว่าได้
ถ้าบังคับยุ่งยากมาก จุดเด่นสังคมcashless จะย้อนกลับเอาน่ะสิ
บางเจ้าระงับ transaction ให้แต่ไม่โทรแจ้งเลย ทำให้ทำรายการไม่สำเร็จ แล้วจะเอาไปใช้จ่ายอย่างอื่นก็ไม่ได้ เพราะบัตรโดนระงับไปเลย กลับไทยมาต้องโทรไปถาม call center เอง อย่างเซ็งเลย ดีว่าผมมีบัตรหลายใบให้ใช้แทน
+1
ผมโดนบัตรเครดิตกสิกรระงับแล้วไม่บอก ท้้งที่จ่ายเหมือนๆเดิมเดือนละแสนยังระงับ
ต้องโทรปลดทุกครั้งเวลาจะรูดใหม่
บอกเขาว่าไม่ต้องระงับเพราะใช้แบบนี้ตลอด เขาบอกเป็นมาตรการ จะรั่ว
อย่างน้อยระงับแล้วบอกกันบ้าง หรือโทรมาถามก็ยังดี
ระงับเพราะรูดไปแล้วมันลดความเสียหายตรงไหน ไม่บอกให้เรารู้เลยด้วยซ้ำ