Tags:
Node Thumbnail

การประชุมระหว่างคณะรัฐมนตรี นำโดยรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลัง ร่วมกับ สำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโครงการนโยบายเติมเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการนี้แล้ว

โครงการเติมเงิน 10,000 บาท จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ โดยมี มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์, นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การต่างประเทศ, นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย และนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นรองประธานกรรมการ ขณะที่กรรมการและเลขานุการร่วมคือปลัดกระทรวงการคลังและปลัดกระทรวงพาณิชย์

คณะกรรมการนโยบายจะทำงานร่วมกับคณะทำงานอีก 3 คณะคือ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการ, คณะทำงานด้านตรวจสอบการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการ และคณะทำงานด้านบริหารฐานข้อมูลโครงการ

ที่มา - NBT

Get latest news from Blognone

Comments

By: shub on 3 October 2023 - 15:35 #1295721

โครงการแจกเงินในอนาคต สร้างหนี้ที่มองไม่เห็นมาแล้ว ตอนแจกแฮปปี้ตอนของราคาขึ้นมานั่งออกข่าวน้ำตาไหลไม่มีจะกินข้าวของแพง

By: Iamz
AndroidWindows
on 3 October 2023 - 15:52 #1295723

หนี้ต้มยำกุ้งทุกวันนี้ยังผ่อนอยู่ เฉพาะดอกเบี้ยปีละหมื่นกว่าล้าน เอาดอกเบี้ยเงินฝากทุกคนไปจ่าย แล้วยังจะกู้เพิ่มมาซื้อของอีก

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 3 October 2023 - 15:57 #1295727
btoy's picture

มองภาพไม่ออกว่าธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน จะอนุญาติให้โครงการนี้ผ่านได้ยังไง เพราะจำนวนเงินที่ต้องใช้คือมหาศาลมาก แล้วตัวเลขรายได้ที่จะกลับคืนสู่คลัง ถ้าแค่กระตุ้นเศรษฐกิจ ยังไงก็ไม่คุ้มแน่ๆ ถ้าไม่ได้มีเงินสดอยู่ในมือ


..: เรื่อยไป

By: NoppawanConan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 3 October 2023 - 16:04 #1295730 Reply to:1295727
NoppawanConan's picture

ก็ถ้าไม่อนุมัติ ก็ง่ายๆครับ อาจจะเจอการสั่งปลดแน่ๆ โดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทย แล้วเอาคนของตัวเองมาแทน


แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 3 October 2023 - 20:07 #1295744
Perl's picture

พอซักทีได้ไหม เอาเงินภาษีมาโปรยเล่นแบบนี้
ยิ่งกู้มาโปรยยิ่งแย่กว่า ดอกเบี้ยก็ต้องใช้ แล้วยังมาเพิ่มภาระกับภาษีสินค้าและบริการต่างๆ

By: max212
AndroidRed HatSUSEUbuntu
on 3 October 2023 - 20:21 #1295747
max212's picture

ความคิดเห็นส่วนตัว
ถ้าเงินไหลไปยัง ประชาชนอย่างทั่วถึง และไม่ไหลกลับเข้ากระเป๋าของคนบางกลุ่มก็จะดีมาก
ภาษีที่กลับคืนจากส่วนนี้ ควรจะเป็นภาษีที่รัฐเอาออกมาใช้ไม่ได้ เพราะเป็นเงินที่เสกมา ไม่งั้นจะยิ่งเฟ้อ
ส่วนถ้าภาษีแพง พวกร้านก็อาจไม่เอาเหมือนกัน เพราะต้องเพิ่มราคาของตามภาษีที่เพิ่มขึ้นมา
ก็ต้องดูกันต่อไปว่าจะยังไง

By: toooooooon
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 4 October 2023 - 10:30 #1295794 Reply to:1295747

ถ้าไม่ออกกฏให้ คนซื้อของกันเองได้ มีแต่ซื้อกับร้านเท่านั้น เงินจะหมุนสั้นมากแล้วสุดท้ายเงินจะไปกองที่ร้านที่ใหญ่ที่สุด

คน -> ร้าน -> ร้านที่ใหญ่กว่า -> เจ้าสัว

By: sMaliHug on 3 October 2023 - 21:46 #1295754

ผมวิเคราะห์จากมีความเป็นไปได้ 3 ทาง คือ

/ 1บาทดิจิทัล = 1 บาทจริง ซึ่งต้องหาเงินบาทมาแลก ก็คงเข้าข่าย CBDC ของ ธปท. //ซึ่งต้องหาเงินกู้มาแลกก่อน

/ 1บาทดิจิทัล ไม่ต้องหาเงินบาทจริงมาแลก แต่สร้างขึ้นมาใหม่จาก Blockchain เลย แล้วAirdropให้ ปชช.50ล้านคน คนละ10000 ได้เลย //อันนี้ก็คอนเซ็ปต์้การสร้างเหรียญใหม่ทั่วไปเขาทำกันอยู่แล้ว

/ เป็นในลักษณะ E-Voucher มูลค่า 10000 แต่นำเอาBlockchain มารันระบบหลังบ้านแทน

ผมว่า ข้อสุดท้ายน่าจะเป็นไปได้ที่สุด ข้อแรกน่าจะยากสุด

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 4 October 2023 - 01:46 #1295765 Reply to:1295754
lew's picture

ข้อ 3 ต่างจากข้อแรกยังไงครับ ต้องจ่ายเป็นบาทอยู่ดี?


lewcpe.com, @wasonliw

By: Mikamura
AndroidUbuntuWindows
on 4 October 2023 - 09:41 #1295784 Reply to:1295765

ข้อ 3 ไม่มีสถานะเป็นเงินบาท หมดโครงการคือสูญสลายหายไปเลย แต่ข้อ 1 คือยังมีสถานะเป็นเหรียญอยู่ แค่ยังใช้ไม่ได้หลังหมดเวลาโครงการ รอวันที่ CBDC ถูกกฎหมายก็จะกลับมาใช้ได้อีก (หรือไม่ก็โครงการนี้แหละจะทำให้ CBDC ถูกกฎหมายในไทย โดยมี Stablecoin ที่ peg 1 เหรียญ = 1 บาทไทย ออกและรับรองโดย ธปท. ออกมาให้ใช้กัน)

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 4 October 2023 - 10:13 #1295790 Reply to:1295784
hisoft's picture

หมดโครงการคือสูญสลายหายไปเลย

คือคนสุดท้ายที่ถือเงินอยู่จะไม่ได้เงินเหรอครับ? หรือเป็นหวังว่ากว่าจะถึงคนสุดท้ายคือถูกหักภาษีไปหมดแล้วนะ? แต่มันก็มีสินค้าที่ไม่ถูกหัก VAT อยู่ด้วยอีก 🤔

By: toooooooon
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 4 October 2023 - 10:32 #1295795 Reply to:1295790

คนสุดท้ายที่ถือเงิน
ถ้าเป็นร้าน น่าจะแลกเป็นเงินภายหลังได้
ถ้าเป็นคน reset เป็น 0 ไป

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 4 October 2023 - 13:44 #1295815 Reply to:1295795
hisoft's picture

สุดท้ายคนก็จะไม่รับเงิน ส่วนร้านที่รับเงินไปก็ไปขึ้นเงินสดอยู่ดีนี่ครับ

By: zionzz on 4 October 2023 - 10:13 #1295789 Reply to:1295765

คูปองมันไม่ผิดกฏหมายการเงินการคลัง เลี่ยงบาลีนั่นแหละครับ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 4 October 2023 - 10:26 #1295793 Reply to:1295789
lew's picture

นาทีที่ออกคูปองก็เป็นหนี้เลยนะครับ ไม่อย่างนั้นคูปองอื่น (aka พันธบัตร) ก็ออกได้ไม่จำกัดเหมือนกัน


lewcpe.com, @wasonliw

By: zionzz on 4 October 2023 - 11:18 #1295798 Reply to:1295793

ใช่ครับ มันเป็นช่องว่างทางกฏหมายที่สุดท้ายแล้วก็เสียเงิน ผู้ว่าแบ้งชาติเลยบ่นยับๆ จนโดนเรียกไปคุยไง

By: sMaliHug on 4 October 2023 - 12:19 #1295806 Reply to:1295765

ต้องใช้เงินทั้ง2 ข้อครับ แต่ไม่เท่ากัน ข้อ1 ต้องหาเงินมาก่อนแบบ 1:1ซึ่งเยอะมาก

ข้อ3 ต้องใช้เงินเฉพาะผู้ประกอบการเอามาแลก ซึ่งอาจเสนอเป็นผลประโยชน์อย่างอื่นแทนได้ ดังนั้นข้อ 3 จะใช้เงินน้อยกว่า

By: Hoo
AndroidWindows
on 3 October 2023 - 23:09 #1295759

ประชาธิปไตยแบบปล่อยให้หาเสียงประชานิยม + คนดันเลือก

มันเลยเกิด dilemma
ถ้าไม่ทำ ก็โดนด่าว่าไม่ทำตามที่หาเสียง
ถ้าทำ การคลังของชาติก็ชิบหาย

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 4 October 2023 - 00:01 #1295760

รอดูเงื่อนไขอย่างเดียว ว่าจะบังคับโอน 7 ทอดก่อนขึ้นเงินได้(เพื่อให้คืนผ่านการจ่ายภาษีเข้ารัฐเช่นผ่านvat)บวกจำกัดเวลาขึ้นเงินต้องผ่านไป6เดือนไหม เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ลดงบประมาณที่ใช้ลงและกระตุ้นเศรษฐกิจในระบบโดยตรงได้โดยการบังคับให้มีการหมุนเวียนของเงิน ไม่หยุดนิ่ง หรือมีคนโกงง่ายๆแบบรับแลกเงินสดโดยหักส่วนต่าง(โดยอ้างว่าขายของให้แต่ไม่ได้ของจริงๆแบบที่โกงคนละครึ่งกัน) เพราะถ้าบังคับต้องหมุนเงินต่อไป มันก็จะกลายเป็นต้องเสียภาษีในตัวอยู่ดีและอาจจะไม่คุ้มที่จะโกง

เรื่องภาษีเป็นสิ่งที่ต้องจ่าย อยากเพิ่มรายได้ก็ต้องเข้าระบบนั่นแหละ หนีภาษีมานาน ยังไงถ้ายอดขายระดับนี้เผลอๆต้องเสียVAT คนในชุมชนมีเงินคนละหมื่นบาทจะไปจ่ายที่ไหน ถ้าไม่ใช่ร้านในเขตใกล้บ้าน? มองในแง่ดีทำยอดขายได้มหาศาลแน่ๆถ้าขายของถูกชนิด เรื่องภาษียังไงก็เสียน้อยกว่ารายได้ที่เพิ่มอยู่แล้ว เสียภาษีเพิ่มหลักหมื่น แต่รายได้เป็นล้านมาบ่นทำไม? นอกจากโกงภาษีจนเคยตัว?(เรื่องจริงร้านค้าใหญ่ๆในตลาดยอดขายเงินหมุนเวียนหลายล้าน เลี่ยงไปเสียภาษีแบบเหมาจ่ายปีละไม่กี่หมื่น น้อยกว่ามนุษย์เงินเดือนหลายๆท่านในนี้ที่รายได้น้อยกว่าสิบเท่าด้วยซ้ำ)

งบกระตุ้นเศรษฐกิจ ถ้ามองในแง่ร้ายก็เป็นประชานิยมหมดนั่นแหละ รวมถึงนโยบายแนวสวัสดิการสังคมด้วย อย่างอีกพรรคให้เงินคนแก่3พันนี่ใช้งบปีละ4แสนล้านบาทเลยนะ(คนอายุเกิน 60มี12ล้านกว่าๆคน)แถมต่อเนื่องไปตลอดอีก เวลาเห็นคนพรรคในนี้ออกมาแซะงบห้าแสนล้านแล้วก็ขำในใจ นโยบายตัวเองไม่ได้คิดไว้เลยหรือว่าใช้เงินมากกว่าซะอีก? หรือพวกชิมช็อปใช้/คนละครึ่ง มันก็เหมือนซึมๆ ไม่ได้กระตุ้นอย่างแรง แค่ประทังชีวิต GDP แทบไม่ขยับ ตอนนั้นมันทำเพื่อประทังภัยจากโควิทให้รอดตายไปวันๆ แต่ตอนนี้มันไม่ใช่

ใครเกิดทันคงจำMiyazawa plan ได้ อันนั้นกระตุ้นแบบเททิ้งด้วยซ้ำ ไปจ้างขุดบ่อถางหญ้า แต่มันก็กระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าได้ในยุคต้มยำกุ้ง

คนในเมืองคงไม่เห็นภาพ ไม่เห็นประโยชน์ หลายๆคนในนี้ก็รายได้มากพอที่จะไม่สนเงินแจกหมื่นนึงอยู่แล้ว แต่ระดับชุมชนนี่ถ้าเงินมาลงคนละหมื่น กระตุ้นเศรษฐกิจสุดๆเลยนะครับ ไม่ว่า Miyazawa plan,จำนำข้าว พวกนี้คนที่เคยเห็นว่าเงินมันถึงคนตั้งแต่รากหญ้ายังไง แล้วมันขึ้นไปข้างบนยังไงจะเข้าใจดี

By: MaxxIE
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 4 October 2023 - 07:25 #1295771 Reply to:1295760
MaxxIE's picture

อีกพรรคเขาเน้นลดงบทหาร กองทัพ อาวุธ ไอโอ เก็บรายได้จากธุรกิจในพื้นที่ทำกินของกองทัพให้เข้าหลวง(รายได้จากที่ดินกองทัพ ลงทุนด้วยงบหลวง แต่รายได้เข้ากระเป๋านายพล) ลดงบไร้สาระ(พวกก่อสร้างต่างๆแล้วอ้างเฉลิมพระเกียรติ แล้วสุดท้ายไม่มีคนใช้จริง เพราะกะสร้างเอาส่วนแบ่งค่าก่อสร้าง) เพิ่มภาษีคนรวย(ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถ้าเก็บจริงจังนี่ได้เยอะมากนะครับ ยิ่งถ้าคิดแบบรวมแปลงยิ่งได้เยอะ) แค่นี้ผมว่าก็ได้งบกลับคืนมาใช้ได้เยอะแล้วครับ แถมไม่ต้องหวังลมๆแล้งๆแบบvat7%จากการหมุนเงินดิจิทัล6ครั้ง ซึ่งไม่รู้จะหมุนครบได้กี่บาทด้วย แต่ที่แน่ๆเป็นหนี้ไปแล้ว ห้าแสนกว่าล้าน

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 4 October 2023 - 19:43 #1295843 Reply to:1295771

พูดใครก็พูดได้ครับ แต่ทำจริงทำได้แค่ไหน และพูดความจริงไม่หมด ที่ลดจากที่อื่นมันถึงสี่แสนล้านไหม?ถึงจะมาชดเชย งบจ่ายคนแก่เดือนละสามพันบาทได้? (เอาแค่ตัวเลขสี่แสนล้านนี่ ส.ส.ในพรรคหรือสื่อที่สนับสนุนก็ไม่พูดถึงเลยทั้งๆที่ตัวเลข คนแก่12ล้านกว่าคนหาไม่ยากหักคนรับบำนาญก็ล้านคนก็ยังต้องจ่ายอีกเยอะ หลอกคนไม่หาข้อมูลจริงๆ)

งบประมาณประเทศไทยปีละ 3ล้านล้าน คุณจะไปลดยอดอะไรสี่แสนล้าน? งบประมาณส่วนใหญ่คือเงินเดือนข้าราชการ ต่อให้ปีนั้นไม่ซื้ออาวุธเลยก็ลดได้แค่หลักหมื่นล้านเท่านั้นแหละครับ

ภาษีคนรวย? ฝันไปหรือเปล่า เขาก็โยกเงินไปตั้งกิจการสิงคโปร์หมดสิครับ มีตัวอย่างหลายประเทศเริ่มเก็บ wealth tax แล้วคนรวยโยกเงินหนีหมด เหลือแต่นอมินีมาลงทุนแล้วส่งเงินออก

อยากเป็นรัฐสวัสดิการ ก่อนอื่นรายได้เฉลี่ยประชาชนต้องมากพอก่อนครับ ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี เอาเงินไปถมแค่ไหนก็ไม่มีวันพอ

ป.ล. เงินหมื่นบาทผ่าน vat7 ครั้งรัฐบาลได้ภาษีvatคืนมา 3772.50258115409 บาทครับ ทำหยาบๆในlibre นะไม่ได้ปัดเศษ copy มาตรงๆ นี่ยังไม่รวมภาษีเงินได้ ภาษีนิติบุคคลที่จะได้จากคนขายอีกส่วนด้วย
ยอดซื้อ| รัฐได้vat7%
ครั้งที่ 1 10000| 654.205607476636
ครั้งที่ 2 9345.79439252337| 611.407109791248
ครั้งที่ 3 8734.38728273212| 571.408513823596
ครั้งที่ 4 8162.97876890852| 534.026648433268
ครั้งที่ 5 7628.95212047525| 499.090325638568
ครั้งที่ 6 7129.86179483669| 466.439556671559
ครั้งที่ 7 6663.42223816513| 435.924819319214

By: toooooooon
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 4 October 2023 - 10:34 #1295796 Reply to:1295760

โห มิยาซาว่า ไม่ได้ยินนานมาก
กินกันตั้งแต่ ระดับจังหวัดอำเภอ ตำบล ผู้ใหญ่บ้าน
รากหย้าสุด ถือเคียวไปถางหญ้า ชั่วโมงนึงเซ็นรับเงิน

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 4 October 2023 - 19:49 #1295844 Reply to:1295796

ก็ตั้งระบบตรวจสอบสิครับ สมัยก่อนมันโกงง่ายไม่มีระบบตรวจอะไร

แต่จะยกตัวอย่างว่า งบกระตุ้นเศรษฐกิจแบบจ่ายรากหญ้ามันกระตุ้นเงินหมุนเวียนในชุมชนได้จริง แต่การจะจัดจ้างแรงงานแบบสมัยก่อนก็คงไม่ค่อยมีประโยชน์ ให้มาซื้อขายนี่แหละตรวจสอบง่ายกว่าด้วย

By: YF-01
AndroidUbuntu
on 4 October 2023 - 12:48 #1295810 Reply to:1295760

Miyazawa/คนละครึ่ง มันกระตุ้นช่วงวิกฤติ แล้วตอนนี้วิกฤติอะไรเหรอครับ?

ถ้าในมุมว่าเพื่อลากเอาร้านค้าเข้าระบบภาษี ผมว่าคำนวนออกมาให้ดูเลยได้ไม่ยากนะว่าประมาณการณ์แล้วมันจะคุ้มภายในกี่ปี ถ้าทำแล้วคุ้ม ผมว่าโอเค

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 4 October 2023 - 19:40 #1295841 Reply to:1295810

วิกฤติตอนนี้? เงินเฟ้อมหาศาลทั้งโลกนี่ไม่เรียกว่าวิกฤติหรือครับ? แต่ของไทยต่างจากประเทศอื่นตรงที่รากหญ้าก็ยิ่งไม่มีเงินใช้จ่าย ขนาดญี่ปุ่นยังขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งใหญ่ในรอบ20ปีเลยครับ ไม่เรียกญี่ปุ่นว่าประชานิยม?

ถ้าบังคับจ่ายได้เฉพาะร้านที่เข้าระบบภาษี ถ้าร้านจ่าย VAT 7% 7รอบก็จ่ายคืนให้รัฐเกือบ40%แล้วล่ะครับ ลองกดเล่นๆด่วนๆ ถ้าบังคับให้ใช้เงินหมื่นนึงผ่านร้านที่จ่าย vat 7 รอบ รัฐจะได้เงินทั้งหมด 3772บาทกว่าๆคืนมาครับ(คิดแบบคิดจากยอดเดิมหมื่นนึงเท่านั้น) นั่นคืองบโครงการ 5 แสนล้าน รัฐจะต้องหางบจ่ายเงินสดคืนจริงๆแค่ 3แสนล้านต้นๆเท่านั้นเอง (ตัวเลขแบบละเอียดผมโพสคคห.บนนะ) ยังไม่รวมภาษีเงินได้/ภาษีนิติบุคคล ที่จะได้จากร้านค้าที่เงินผ่านอีกด้วย

คิดง่ายๆเงินหมุนเวียนห้าแสนล้าน กระตุ้นการจ้างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจเท่าไร

เรื่องเข้าระบบภาษี ทำไมไม่มองว่าตอนนี้มันเหลื่อมล้ำมากๆ ตัวอย่างที่ผมยกมาคือรู้จักเจ้าของร้านเองครับ เรื่องเล่าแบบร้านรถเข็นรวยกว่ามนุษย์เงินเดือน ไม่น่าตกใจเท่าเจ้าของกิจการร้านค้าใหญ่ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่จ่ายภาษีน้อยกว่ามนุษย์เงินเดือนระดับกลางครับ ยอดขายที่จะได้จากเงินหมื่นคูณจำนวนคนในชุมชน มันก็มากพอที่จะให้ร้านขนาดกลางกล้าเข้าระบบภาษีเพิ่มบ้างล่ะ

By: Hoo
AndroidWindows
on 5 October 2023 - 07:48 #1295878 Reply to:1295841

เงินเฟ้อ ในทางเศรษฐศาสตร์มองได้ว่า
supply เงิน มันมากกว่า demand เงิน(~supply สินค้า/บริการ)

การแก้เงินเฟ้อทางนึงคือ ดึงเงินออกจากระบบ(ลด supply)
เช่น ขึ้นดอกเบี้ยให้คนเอาเงินมาฝาก
เงินจะได้ไหลในระบบน้อยลง แบบที่อเมริกาทำ

การแจกเงินคือไปคนละทางกับการแก้เงินเฟ้อเลย
มันจะทำให้เงินยิ่งเฟ้อต่างหาก

แล้วต้นทุนการเงินในการแจกที่ซ่อนอยู่คือ ดอกเบี้ย
ซึ่งการกระตุ้นด้วยการแจก มันทำให้เศรษฐกิจดีแต่ตอนแจก
แล้วจะโดนกินดอกยาวๆ
แจกเงินหมื่นตอนนี้เหมือนคนอยากมีชีวิตดีๆด้วยการกู้มาใช้จ่าย
สุดท้ายชีวิตจะลำบากกว่าเดิมหลังเงินหมด
เพราะมีรายได้เท่าเดิม แต่มีรายจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมา

เทียบกับตอนโควิดหรือมิยาซาว่าคือ
คนหากินไม่ได้ จนต้องกู้มาใช้จ่าย นี่ถึงเรียกว่า วิกฤติ จริง

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 6 October 2023 - 11:26 #1296037 Reply to:1295878

ผมอาจจะใช้คำพูดไม่ตรง เงินเฟ้อทั้งโลกเป็นสาเหตุหลักครับ

แต่เมืองไทยเศรษฐกิจแย่จนไม่มีเงินจะจ่าย ดอกเบี้ยก็แพงแต่ก็ดึงเงินกลับไปฝากธนาคารไม่ได้ เงินบาทอ่อนยวบ เงินไหลออกอีกตะหาก

ไทยเลียนแบบเมกาไม่ได้ ปริมาณเงินต่างกันรวมถึงเทคโนโลยี ดึงเงินออกจากระบบด้วยการขึ้นดอกเบี้ย มีแต่จะทำให้คนอดตายสิครับเพราะจ่ายหนี้ดอกเบี้ยแพงขึ้น

ของไทยระดับชาวบ้านไม่มีเงิน ไม่มีงาน และเสียประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้นอีกตะหาก เลยต้องกระตุ้นการใช้ในประเทศ

ญี่ปุ่นไม่เพิ่มดอกเบี้ย แต่ไปเพิ่มค่าแรงตามค่าของใช้ที่ขึ้นราคา คุณว่ามันสวนทางกับนโยบายเมกันไหม ทำไมญี่ปุ่นไม่ทำแบบเมกา? ทำไมญี่ปุ่นเพิ่มค่าแรงที่ก็คือการกระตุ้นการใช้ในประเทศคล้ายๆแจกเงินนั่นแหละ ไม่เห็นพยายามลดเงินในระบบเลย?

ทุกวันนี้ตจว.เงียบกริบครับ แม้แต่พ่อค้าออนไลน์ก็บ่นยอดขายตก(ผมสิงตามกลุ่มplatform) ใครที่บอกว่ายังเศรษฐกิจดี ว่างๆก็ออกจากบ้านไปตจว.บ้าง ประเทศไทยไม่ได้มีแค่กทม.ที่คนแห่ไปต่อคิวซื้อ ip15 ในห้างกลางเมือง แล้วบอกว่าเศรษฐกิจยังดี?

ป.ล. GDP growth rateประมาณการ ไม่ถึง3% และทำได้จริงตอนนี้ยังแค่1.8%นี่ไม่เรียกว่าวิกฤติหรือครับ?
ป.ล.2 ตอนนี้ NPL พุ่งกระฉูดนะครับ โดยเฉพาะรายย่อย ใครบอกให้ขึ้นดอกเบี้ยแก้เงินเฟ้อเยอะๆสิ ก็รอดูภาคreal sectorล้มได้เลย

By: Hoo
AndroidWindows
on 9 October 2023 - 07:06 #1296165 Reply to:1296037

อยากจะบอกว่า
ปัญหาของไทยคือ คนไม่ทำงาน&ไม่มีงานทำ ครับ

การศึกษาเราพังพินาศจากการโดนนักการเมืองเปลี่ยนนิยามคุณภาพการศึกษา
จาก คุณภาพการศึกษาวัดที่ความรู้ในหัวเด็ก
กลายเป็นวัดความพอใจของเด็ก
โดยหลอกว่า เด็กพอใจแล้วเด็กจะเรียน
แต่เด็กก็คือเด็ก จะพอใจก็คือไม่เรียน
ระบบมันเลยเบี่ยงมาทางไม่เรียนมากขึ้นเรื่อยๆ

ระบบนี้ผลิตเด็กที่แสวงหาความพอใจ
การทำงาน = ไม่พอใจ = ไม่ทำงาน
และต่อให้รู้ว่าตนต้องกินต้องใช้เลยพร้อมทำงาน
แต่ความรู้ในหัวไม่มี ก็ไม่มีงานให้ทำเหมือนกัน

ซึ่งการแจกเงินนั้น ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรเลย
จะนำพาให้เสพติดการแจกเงินมากกว่า

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 9 October 2023 - 15:30 #1296217 Reply to:1296165

การศึกษาส่วนหนึ่งครับ แต่ผมคิดว่าแนวคิดเป็นนายตัวเอง หรือไม่ต้องเรียนแต่ลาออกไปรีบทำงาน มันก็เป็นtrendทั่วโลก ในยุคที่คนหารายได้จากการเป็นอินฟลูฯในSNS,ขายของออนไลน์ได้ง่ายๆ เด็กยุคใหม่ก็มองแต่คนที่ประสบความเร็จ แต่ไม่มองที่ค่าเฉลี่ย พ่อแม่ยุคใหม่ไม่อยากใช้ความรุนแรง อยากเลี้ยงลูกด้วยเหตุผล แต่กลายเป็นบางคนspoilลูกเกินไปโดยเฉพาะเริ่มมีโรงเรียนทางเลือกแบบผิดๆที่ไม่เน้นวิชาการจนเด็กจบประถมแล้วยังอ่านไม่ออกเยอะเลย(เจอคนรู้จักบ่นครับ ค่าเทอมแพงมากให้ลูกเล่นทั้งวัน วาดรูป ปั้นดิน ไม่มีการบ้านเลียนแบบหลักสูตรยุโรป แต่ไม่รู้เลียนแบบมาไม่ครบตรงไหน เด็กจบมาอ่านหนังสือไม่ออก ไปสอบเรียนต่อสายปกติไม่ได้เลยโดยเฉพาะกับเด็กที่ไม่ได้มีหัวโดดเด่นทางสายอื่นๆเช่นศิลปะจริงๆ) แต่อันนั้นส่วนใหญ่บ้านมีเงิน ก็อาจจะไม่กระทบสังคมโดยรวมเท่าไร

เรื่องงานในบ้านเราก็มีแต่ของเก่าต้องทำใจครับ จะสร้างนวัตกรรมใหม่ก็ยากมากๆ

เอาแค่ภาคอุตสาหกรรม ที่เคยเป็นดาวเด่นของGDP ไทย หลายๆอุตฯก็ลาจากเมืองไทยย้ายฐานไป จะด้วยค่าแรง น้ำท่วม หรือพิษการเมือง รอบใหม่นี่จะด้วยพิษ EV จีนหรือเปล่าที่ รถEV คันละล้านกว่าบาทแต่เสียภาษีให้เมืองไทยน้อยกว่ารถประกอบไทยคันละ5แสน? คนชอบของถูก แต่แรงงานในภาคยานยนต์ล้านกว่าคนล่ะ? ถ้ารัฐไม่ช่วยภาคยานยนต์ญี่ปุ่นในไทยเหมือนที่เอื้อให้กับจีนแล้วยอดขายรถในไทยตกลง ก็คงเตรียมย้ายฐานอีกเช่นกัน (เกร็ดเล็กน้อย ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนในไทยมากที่สุดมาตลอดสามสิบกว่าปี นับจากplaza accord)

ที่ผมเสียดายคือช่วงอุตฯelectronicในไทยรุ่ง เป็นฐานการผลิต แต่กลับแทบไม่ส่งเสริมองค์ความรู้ในไทย จน บ.เอกชนหลายเจ้าต้องยอมลงทุนไปสร้างหลักสูตรร่วมกับมหาลัยหลายที่ แต่มันก็ช้าไปครับสร้างคนตรงสายไม่ทัน เขาก็ย้ายไปที่ๆพร้อมกว่า

เรื่องค่าแรงแพงมีส่วนเฉพาะพวกงานประกอบราคาถูก แต่ถ้าเทคฯขั้นสูงโรงงานchip ก็ยังอยู่มาเลเซีย สิงคโปร์นะครับ ค่าแรงแพงกว่าเราแน่ๆ แต่เขามีคนจบตรงสายเยอะกว่าเรา (ไม่ต้องพูดถึงไต้หวันนะครับ ค่าแรงแพงกว่าอีก แต่เขาสร้างภูมิปัญญาของตัวเองได้จนเมกาที่เคยสอนต้องกลับมาง้อ)

ภาคเกษตรกรรม ก็คงต้องอุ้มไปเรื่อยๆ จนกว่าภาครัฐจะกล้าเลิกนโยบายแนวทางเกษตรแบบดั้งเดิม และส่งเสริมเทคโนโลยีเต็มขั้นครับมันไม่มีทางเปลี่ยนอะไรได้ ถ้าผลผลิตบ้านเรายังประสิทธิภาพต่ำกว่าคู่แข่ง ต้นทุนแรงงานยังไงก็สูงกว่า

แต่เรื่องแจกเงินผมเห็นต่าง ถ้าระดับคนหาเช้ากินค่ำยังไม่อิ่มท้อง คุณจะไปบังคับให้เขาเรียนรู้ หรือปรับตัวอะไรก็ไม่ได้หรอกครับ แค่จะกินยังลำบาก ไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่นหรอก แต่ก็เห็นด้วยถ้าแจกเฉยๆไม่มีโครงการอะไรต่อ ก็ไม่มีประโยชน์

อย่างจำนำข้าว คือการบังคับให้คุณต้องทำนาเพื่อผลิตข้าวไปจำนำ อยากได้มากก็ต้องขยันผลิตข้าวมากๆ ไม่ใช่ได้เงินฟรีๆแบบประกันราคาข้าว(ให้ตามจำนวนที่นา)และเงินก็ถึงชาวนาจริงๆ ยุคนั้นชาวนามีเงินไปทำไรได้อีกเยอะรวมถึงส่งลูกเรียนหนังสือ แต่ไปพลาดตรงที่ขยายวงเงินมากเกินไป (เรื่องทุจริตเล็กน้อยสุดๆ ผมว่าคนในนี้คงไม่เชื่อเรื่องข้าวเน่า ข้าวสวมสิทธิ์ว่าเป็นเรื่องใหญ่นะครับ หรือแม้แต่G2Gที่เอาผิดจากการเล่นเรื่องนิยามในกฎหมายในขณะที่โครงการของรบ.ทหารทำแบบเดียวกันไม่ผิด?) หรือโครงการหมื่นนึงถ้าตามที่เคยหาเสียง ก็บังคับให้ใช้จ่ายผ่านร้านค้าในระบบ ถ้าใครฉลาดคิดเพิ่มอีกหน่อยอยากได้เงิน ก็เปิดร้านเปิดกิจการมารับเงิน ขายอะไรก็ได้ ก็คือการสร้างงานครับ มันก็เป็นการสอนให้คนทำงานโดยเฉพาะในระบบไปในตัวเช่นกัน

By: Hoo
AndroidWindows
on 10 October 2023 - 09:13 #1296261 Reply to:1296217

ใช่ครับ ถ้าหลุดระบบการศึกษา กลายเป็นคนหาเช้ากินค่ำ
จะกลับมาเรียนได้ยากมาก ไม่รวมอุปสรรคเรื่องอายุ ที่เด็กจะเรียนรู้ได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ด้วย
ผมถึงเห็นว่านโยบายการศึกษาที่ไม่ให้เด็กเรียนเนี่ย ผิดจากธรรมชาติการเรียนรู้เต็มๆ

ทีนี้เรื่องแก้ มันก็ควรแก้ด้วยการช่วยเฉพาะกลุ่ม
เช่น แขกเงินผ่านระบบบัตรคนจน, ให้เงินสนับสนุนโรงเรียนวิชาชีพ
(บ่นหน่อยนึง
ผู้แข็งแกร่งอยู่ๆก็สั่งตัดงบโรงเรียนวิชาชีพที่สวนลุมจนปิดตัวเฉยเลย
แล้วเอางบมาฉายหนังกลางแปลง!!
จะให้ ปชช.เป็นสาย STR ไม่ต้องมี INT มั๊ง)

จึงจะมีประสิทธิภาพ ตรงจุดกว่า การแจกเงินถ้วนหน้า
ซึ่งไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย แถมไม่เกิดการพัฒนาตนเองด้วย
ที่คนเขาค้านคือตรงนี้

ส่วนจำนำข้าวนี่ข้อมูลฝั่งผมไปคนละทางเลย
มันมีข้าวเน่าจำนวนมหาศาลเพราะไม่ที่เก็บอย่างถูกต้องอย่างเพียงพอจริงๆ
มีการสวมสิทธิ์ข้าวเพื่อนบ้าน + เอาข้าวที่จำนำแล้วมาวนข้าวก็หนักหนามาก
แล้วปัญหา G2G คือ "ไม่มีการทำ G2G จริงๆ" ไม่ใช่ "การทำ G2G เป็นเรื่องผิดในตัวมันเอง"

จะเห็นว่าสื่อและข้อมูลที่เสพ
มีผลต่อความคิดและการตัดสินใจเยอะมาก

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 5 October 2023 - 16:15 #1295945 Reply to:1295841
zerocool's picture

แก้เงินเฟ้อด้วยการแจกเงิน ? อันนี้ตำราเศรษฐศาสตร์เล่มไหนครับ ขนาดอเมริกาจะแก้เงินเฟ้อยังต้องขึ้นดอกเบี้ยแล้วก็พยายามทำ tapering ควบคู่ไปด้วย

เข้าใจว่าคงจะเชียร์พรรคนี้ แต่อยากให้คิดด้วยเหตุผลครับ

แล้วก็เห็นมีแซะเทียบกับอีกพรรคว่าแจกเงินคนแก่ 12 ล้านคน คนละ 3,000 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 36,000 ล้านบาทต่อเดือน ปีละ 432,000 ล้านบาท เมื่อนำมาเทียบกับจำนวนเงิน 560,000 ล้านบาทของนโยบายแจกเงิน digital ก็บอกว่าแจกเงินคนแก่สิ้นเปลืองมากกว่า เพราะต้องจ่ายไปเรื่อย ๆ ทุกปี

ผมว่าข้อมูลหลายอย่างมันยังไม่ค่อยตรงเท่าไร

1.ทุกวันนี้มีการแจกเงินผู้สูงอายุรายเดือนอยู่แล้ว จำนวนเงิน 600-1,000 บาท ดังนั้นเงินจำนวนมากสุดที่ต้องหาเพิ่มมาคือ 3,000-600 = 2,400 บาทต่อเดือนต่อคน จ่ายเงินเพิ่มมากสุด 28,800 ล้านบาทต่อเดือนคิดเป็น 345,600 ล้านบาทต่อปี จึงจะเป็นตัวเลขที่ถูกต้อง

2.ไม่ใช่ว่าผู้สูงอายุทุกคนจะรับเบี้ยผู้สูงอายุ ผมเชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่รับ พ่อแม่คุณรับเบี้ยสูงอายุไหมครับ ? ดังนั้นตัวเลขไม่น่าจะใช่ 12 ล้านคน

3.มีการจัดสรรงบประมาณจากส่วนอื่นมาช่วย เช่น ลดทหารเกณฑ์ ลดจำนวนข้าราชการเปลี่ยนมาใช้ระบบ IT มากขึ้น เป็นต้น

4.การแจกเงินผู้สูงอายุเป็นการช่วยเหลือตรงกลุ่มเป้าหมายมากกว่า มีมิติของการดูแลสังคมมากกว่าการแจกแบบหว่านแหเพียงครั้งเดียว

5.เห็นคุณพูดว่าการแจกเงินจะมีการหมุนเวียน VAT แล้วเบี้ยผู้สูงอายุไม่มีการหมุนเวียน VAT เหรอครับ ?

6.คุณมั่นใจได้อย่างไรว่าเงิน digital ที่แจกไป 10,000 บาทจะเพิ่มการใช้งาน 10,000 บาทจริง ปกติผมไม่เคยรับเงินแจกจากรัฐเลย เพราะผมคิดว่าผมพอหาได้เลยให้รัฐเอางบประมาณไปแจกคนอื่นที่ด้อยโอกาสมากกว่า แต่สมมติว่าผมได้เงิน 10,000 บาทจากรัฐจริง ปกติผมใช้เงินเดือนละประมาณ 40,000-50,000 บาท คุณคิดว่าเดือนที่ได้รับเงินแจกมานั้น ผมจะเพิ่มการใช้จ่ายเป็น 50,000-60,000 บาทเลยไหม ? คำตอบคือไม่นะครับ ผมก็ใช้เท่าเดิม แค่เอาเงินส่วนของรัฐใช้ก่อน ส่วนของผมก็เก็บไว้ 10,000 บาท แล้วรัฐจะได้ VAT เพิ่มอะไรจากผมครับ ? แน่นอนว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่เป็นแบบนี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนจำนวนไม่น้อยเหมือนกันที่เป็น น่าจะหลักล้านหรือสิบล้านด้วยซ้ำ รัฐได้ลองคิดค่าเฉลี่ยการใช้เงินดูไหม หรือว่าบอกแต่ตัวเลข maximum ให้ฟังดูสวยหรู

7.ญี่ปุ่นเคยแจกเงินแบบนี้เหมือนกันช่วงที่เกิดวิกฤตรอบก่อน ผมจำชื่อไม่ได้ แต่ตอนนั้นที่แจกเงินรัฐออกไป ผลได้ที่กลับมาต่ำมาก multiplier น้อยมาก ลองฟังส.ส.ชัยวัฒน์จากก้าวไกลได้ ตอนนั้นเขาเองก็อยู่ที่ญี่ปุ่นและได้รับแจกเงินโดยตรงเหมือนกัน ดังนั้นการที่พรรคเพื่อไทยออกมาพูดว่าตัวเลข multiplier จะสูงโดยไม่มี research รองรับ มันก็ออกจะขายฝันเกินไปหน่อย


That is the way things are.

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 6 October 2023 - 11:10 #1296035 Reply to:1295945
  1. ผมไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ แต่ก็เห็นว่านโยบายทางการเงินเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจได้โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างไทย ไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยีและภูมิปัญญาแบบอเมริกัน เอาแค่กนง.ขึ้นดอกเบี้ยไม่กี่วันก่อน แต่เงินบาทยังร่วงต่อ เพราะเราไม่มีทางสู้กระแสเงินระดับโลกได้ แต่การกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศอันนี้แหละที่จะทำได้จริง
  2. ผมแค่ประมาณตัวเลขคร่าวๆ เรื่องรับเงินคนที่ไม่มีสิทธิ์รับมีแค่ข้าราชการบำนาญ หรือคนที่ยังมีรายได้ครับ ถ้าพ่อแม่คุณยังมีรายได้ไม่ว่าทางใดๆที่มีการยื่นภาษีไม่ว่าทางตรงหรืออ้อม ก็จะไม่มีสิทธิ์นับอยู่แล้ว ส่วนคนที่ได้ไม่ต้องลงทะเบียนอะไรทั้งนั้นครับแค่แจ้งเลขบัญชี ถ้าตจว.ผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันจะมอบเงินสดให้ครับ แต่ว่าไม่ว่าจะตัดออกไปยังไง เป็นภาระงบประมาณเพิ่มปีละ 3แสนล้านต่อเนื่องไปตลอด
    3.คำถาม ที่ว่าลดงบประมาณทางอื่นมาโปะ มีการตัดลดจากไหน อย่างไรกี่บาท ไม่เอาคำพูดลอยๆครับ ลดกำลังพล ลดกี่คน ลดได้กี่บาท? เหมือนตัวเลขสามแสนล้านที่ต้องจ่ายเพิ่ม ก็ไม่มีส.ส.ส้มคนไหนพูดชัดเจนเลย ผมเห็นด้วยเรื่องต้องปรับลดกำลังพลและข้าราชการนะครับ แต่ก็ไม่น่าจะลดอะไรได้ระดับได้งบคืนมาสามแสนล้านอยู่ดี
    4.การมอบเงินให้คนแก่ เป็นสวัสดิการสังคมครับ ไม่ใช่การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง เหมือนสามสิบบาทรักษาทุกโรค มันมีผลต่อเศรษฐกิจทางอ้อม ไม่ใช่โดยตรง ไม่เห็นผลทันทีชัดเจน
    5.เงินคนแก่ไม่ได้บังคับให้ซื้อของผ่านร้านในระบบเท่านั้่นนี่ครับ เอาไปซื้อหวยใต้ดินก็ยังได้เลย แต่โครงการนี้ตามนโยบายคือต้องใช้จ่ายผ่านร้านในระบบภาษี ไม่ว่าvat หรือจดทะเบียนการค้า อาจจะคล้ายๆคนละครึ่ง ที่ตอนหลังร้านที่ไม่จดทะเบียนก็โดนตามเรื่องภาษีได้ ก็รอดูเงื่อนไขอีกที
    6.ตรงนี้ขึ้นกับเงื่อนไขการใช้ไงครับ ถ้ามันบังคับว่า ต้องมีการใช้7 รอบถึงจะขึ้นเงินสดได้ และต้องรอเวลา 6 เดือนก็จะบังคับให้ต้องใช้ในตัว ถ้าคุณเป็นคนธรรมดาไม่ใช้เลย ก็โดนตัดทิ้งไปเฉยๆรัฐก็ไม่ได้เสียอะไร แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่จะทำแบบนั้น ทุกโครงการมีคนไม่เข้าร่วมและคงไม่ใช่คนส่วนใหญ่
    7.มองปัจจุบันครับ ญีปุ่นแจกเงินช่วงโควิทเช่นกัน และปัจจุบันก็เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในรอบ20ปี

ถ้าคุณมองในมุมของคนเมืองรายได้สูง ก็ไม่มีวันเข้าใจ เหมือนตอนจำนำข้าวนั่นแหละเพราะมองแค่ว่าตัวเองไม่ได้ประโยชน์โดยตรง(แม้ว่าบ.ที่ทำในเมืองจะได้ผลกำไรเพิ่มทางอ้อมเพราะการใช่จ่ายที่เพิ่มจากโครงการก็ตาม?) แต่ผมจะบอกแค่ว่าถ้าฐานรากยังลำบาก ต่อให้นโยบายสวัสดิการสังคมสวยหรูแค่ไหนก็เป็นไปไม่ได้จริงครับ รอบนี้ไม่เหมือนต้มยำกุ้งที่พังจากข้างบนลงมาข้างล่าง

*ขอแก้ไขเรื่องลงทะเบียนรับเงินคนแก่ จริงๆก่อนหน้านี้ต้องมีการลงทะเบียนโดยเฉพาะกทม. แต่ตจว.ปกติกำนันผู้ใหญ่บ้านจะลงทะเบียนให้เลยครับ แต่ในระเบียบใหม่ไม่ต้องลงทะเบียนแต่ก็ต้องมีการส่งเอกสาร(ซึ่งกทม.ถ้าไม่ส่งก็เหมือนไม่รับ แต่ตจว.ผู้ใหญ่บ้านมาทำให้ถึงบ้าน)
อ้างอิงจากข่าวนี้ https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/198561
"อย่างไรก็ตาม ตามระเบียบใหม่ (ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566) ที่ออกมานั้น การได้รับสิทธิของผู้สูงอายุ จะไม่มีการลงทะเบียนแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะอำนวยความสะดวกให้ ด้วยการแจ้งไปยังผู้สูงอายุที่มีสิทธิ แล้วให้ตัวเอง/ตัวแทนของผู้สูงอายุ แนบเอกสารกลับมาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"

เพิ่มเติม2
ปัจจุบันงบเบี้ยผู้สูงอายุ 8หมื่นล้านบาทจ่ายให้ 11ล้านคนครับ
https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/121050-gov-government-pension-VS-old-age-allowance-10-year-report.html

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 6 October 2023 - 16:45 #1296065 Reply to:1296035
zerocool's picture

เอ อันนี้ bug จากตัว web หรืออย่างไรครับ ทำไมตัดคำแปลก ๆ แบบนี้

ขอคุยเรื่องข้อ 6 นะครับ ที่บอกว่าบังคับให้ใช้ 7 รอบถึงจะขึ้นเงินได้ อยากถามว่าจะควบคุมอย่างไรครับ

1.คนแรกได้เงินมา 10,000 บาท ซื้อของร้าน A ทั้งหมด 10,000 บาท

2.คน ๆ นี้จะสนใจทำไมครับว่าร้าน A จะนำไปใช้ต่ออีกกี่ทอด เพราะตัวเองก็ได้สินค้าหรือบริการมาแล้ว

3.ร้าน A นี้จะรู้ได้อย่างไรครับว่าคนที่มาซื้อนี้ ได้รับเงินจากรัฐโดยตรง หรือได้รับผ่านคนอื่นมาแล้วกี่ทอด ? และสมมติว่ามีวิธีการที่จะรู้ได้จริง ร้านค้าก็มีสิทธิ์ไม่รับเงิน digital ที่หมุนมาน้อยรอบหรือไม่ ? เพราะมีความเสี่ยงที่จะใช้ไม่ครบ 7 รอบแล้วจะไปขึ้นเงินไม่ได้

4.ถ้าร้าน A ไม่เอาเงิน digital ไปใช้ต่อ หรือว่าหาที่ไปใช้ต่อไม่ได้ เช่น รับเงินมาในวันสุดท้ายของโครงการ แล้วจะไม่ให้ร้าน A ขึ้นเงินเลยเหรอครับ ? สินค้าก็เสียไปแล้วจะทำอย่างไร ?

ส่วนตัวผมไม่คิดว่าการบังคับ 7 รอบจะทำได้จริง ถ้าคุณพอมีแนวคิดถึงวิธีการดำเนินการ รบกวนเล่าให้ฟังหน่อยครับ

หมายเหตุ ส่วนตัวผมก็คุ้นเคยกับเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยครับ น้อยแบบชาวเขาชาวดอยเลย เรื่องจำนำข้าวโดยโครงการถือว่าเจตนาดีพอใช้ได้ แต่การปฏิบัติการเข้าขั้นเลวร้าย โกงตุกติกได้หลายขั้นตอนมาก ๆ มันเลยกลายเป็นอย่างที่เห็น สิ่งหนึ่งที่ต้องเตือนใจไว้คือรัฐค้าขายสู้พ่อค้าไม่ได้ครับ พอรับข้าวมาขายเองเลยขายไม่ค่อยออก


That is the way things are.

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 9 October 2023 - 15:00 #1296214 Reply to:1296065

เงื่อนไขต้องรอดูครับ

แต่เท่าที่ฟังตอนออกนโยบายก็บังคับว่า คนรับโอนต้องลงทะเบียนในระบบก่อนเท่านั้น เช่นต้องจดทะเบียนการค้า หรือจดvat เป็นนิติบุคคลฯลฯ เพื่อให้มีการสืบภาษีได้เต็มๆครับ

คนซื้อของคนแรกไม่ต้องสนใจไงครับจ่ายหมดแล้วได้ของแล้วจบ แต่ร้านที่รับโอนจากคนแรก ก็อาจจะมีตัวเลือก คือนำไปใช้ต่อไปซื้อของซื้อบริการจากร้านอื่น หรือเก็บไว้เฉยๆ6เดือนแล้วค่อยไปเคลมจากรัฐได้(อันนี้จากที่ฟังแรกๆคือมีเงื่อนไขสองแบบ ทั้งจำนวนการโอน หรือระยะเวลา)ถ้าทุนหนาสายป่านยาวก็เหมือนดองเครดิตยอดขาย 6เดือนก็ได้ แต่ร้านเล็กๆคงทำไม่ได้ ก็ต้องไปข้อสอง คือต้องไปซื้อต่อๆไปครับร้านไหนโชคดี ได้รับโอนเป็นคนที่ 7 ก็อาจจะไปเคลมได้ทันที

แต่คิดว่าเงื่อนไขข้อสองน่าจะมีระยะเวลาเพิ่มแต่อาจจะสั้นกว่าเช่น2-3เดือนโดยถ้าร้านไหนได้เป็นคนที่ 7 แต่ยังไม่ครบเวลาอยากหมุนเงินเลย ก็ต้องไปซื้อจากร้านอื่นต่อๆไป token เงินก็จะโดนบังคับให้หมุนต่อไปครับ(ไม่งั้นจะเกิดเคสแบบที่คุณยกมาคือไม่รับพวกโอนรอบแรกๆเลือกขาย?)

ทั้งนี้ผมคาดเดานะครับเพราะคนแย้งเยอะ นโยบายที่พูดวันนั้น ออกมาจริงจะท่าไหนก็รอดู รอวิจารณ์ได้ครับ รวมถึงตัวระบบสุดท้ายอาจจะง่ายๆเหมือนคนละครึ่งก็ได้ ภาระก็จะไปอยู่ที่สรรพากรเองต้องไปไล่ตามภาษีเอง

ป.ล. ผมเคยอยู่อ.รอบนอกครับ ชนบทชนิดว่าเพื่อนร่วมห้องเป็นชาวเขาแท้ๆ ก่อนจะมาเรียนและทำงานเมืองหลวง
เงินจำนำข้าวชาวนามีแต่ดีใจครับได้เงินทั้งนั้น เศรษฐกิจคึกคักยาวๆเลยช่วงนั้น ที่จะโดนกดคือเรื่องความชื้น ที่โกงกันคือระดับโรงสีรายย่อยสวมข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน(ทำได้เฉพาะจ.ที่ติดชายแดน เพราะมันขนข้าวข้ามเขตไม่ได้ครับ) แต่โกงยากกว่าประกันราคาข้าวเยอะ(อันนั้นโกงที่เจ้าของที่นา+คนตรวจ คนเช่าทำนาไม่ได้เงินนะครับ) เรื่องข้าวเน่าโกดังที่รับฝากเป็นผู้รับผิดชอบครับ มีประกันภัยด้วย ไม่เกี่ยวกับรัฐหรือชาวนาโดยตรง

By: YF-01
AndroidUbuntu
on 7 October 2023 - 15:06 #1296113 Reply to:1295841

ไม่อยากพูดแบบนี้ แต่รอบนี้คุณผิดฟอร์มเยอะไปหน่อยแฮะ

1) เงินเฟ้อ วิธีแก้คือเอาเงินออกจากระบบไม่ใช่เติมเข้า อันนี้มีคนมาช่วยแย้งหลายคนละ

2) ปัญหาที่ฉุดญี่ปุ่นมายี่สิบกว่าปีคือเงินฝืด ไม่ใช่เงินเฟ้อ

3) ปัญหาประเทศไทยไม่ใช่แค่ Inflation หรือเงินเฟ้อ แต่เป็น Stagflation ซึ่งต้นตอคือความความเหลื่อมล้ำจากการที่เม็ดเงินมันกระจุกตัวอยู่ด้านบน
ถ้านโยบายนี้ไม่กันการไหลขึ้นบน หรือเพิ่มผลิตผลให้ข้างล่าง ก็ไม่ช่วยอะไร (ซึ่งผมยังไม่เห็น ถ้าคุณเห็นข่าวแล้วเอามาแย้งได้)

4) เงินหมุนเวียนห้าแสนล้านที่ว่า รัฐบาลประเมินว่าจะได้ Fiscal Multiplier ที่ 2.55 เท่า และจะได้ภาษีจากการนี้ประมาณ 110,000 ล้าน ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของไทยร่วมกันลงนามแล้วว่าข้อให้ทบทวนให้ดี
อันนี้ผมบอกคุณก็คงไม่เชื่อ ไปตามอ่านเองดีกว่าว่าคุณยังเชื่อว่าลงห้าแสนล้านแล้วจะหมุนเป็นล้านสองแสนห้าหมื่นล้านได้จริงมั้ย

5) จากข้อข้างบน ขนาดรัฐบาลยังประเมินว่าเงินหมุนเฉลี่ยยังแค่ 2.55 รอบ ทำไมคุณถึงเชื่อว่ามันจะหมุนได้ 4.95 รอบ? (คำนวนจากจ่ายเงิน 7 ทอด ทุกทอดโดน VAT)

6) เรื่องภาษี อ่านใหม่ดีๆ นี่เป็นประเด็นที่ผมเห็นด้วยกับคุณนะ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 9 October 2023 - 14:43 #1296212 Reply to:1296113

ญี่ปุ่นก็เงินเฟ้อครับใครบอกไม่เฟ้อเลยนี่ไปฟังมาจากไหน? ที่แน่ๆกระทบจากการแก้ปัญหาเงินเฟ้อของเมกาด้วยแน่ๆ

ของแพงขึ้นหมดตอนนี้ มูลค่าค่าแรงแท้จริงลดลงต่อเนื่องมาหลายเดือน จนต้องเพิ่มค่าแรงครั้งใหญ่

ปัญหามันมีหลายส่วนไง การลดเงินในระบบไม่ใช่ทางออกทางเดียว ขึ้นดอกเบี้ยแข่งกับเมกาได้ไหม?

นักเศรษฐศาสตร์ก็พูดไปตามตำราแหละครับ รับฟังเป็นที่ปรึกษา แต่การตัดสินใจเป็นอำนาจฝ่ายบริหาร และต้องรับผิดชอบด้วยอำนาจเสียงของประชาชน(คงไม่ต้องพูดรายละเอียดว่าที่1หรือเปล่าเพราะถ้านับความชอบธรรม ต้องย้อนไปถึงก่อนรปห.2549เลย)

คำว่าชั้นนำก็มีชั้นนำอีกหลายคน เหมือนนักกฎหมายก็มีอาจารย์ของนักกฎหมาย ใครผิดใครถูก มองแค่ระยะสั้นคงไม่ได้

เหมือนโครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค ตอนนั้นคนต่อต้านเยอะมากๆทั้งหมดรวมถึงนักเศรษฐศาสตร์กลัวเป็นภาระประเทศ กลัวทำลายระบบสาธารณสุข ทำให้คนป่วยแกล้งมาหาหมอบ่อยๆ บลาๆ ทุกวันนี้ก็พิสูจน์แล้วว่าคุณูปการแค่ไหน

คนที่ด่า คนที่ต่อต้าน ก็เพระอาจจะมองภาพเพียงด้านเดียว ว่าตัวเองไม่ได้ประโยชน์โดยตรง(ในตอนนั้น)

7 รอบคือคำพูดตอนหาเสียงครับอาจจะเป็นbest case ที่ผ่านvatทุกรอบ ผมคำนวณตัวเลขให้ดูแล้วคคห.อื่นๆนะ ผมคำนวณผิดตรงไหนก็แย้งตรงนั้นครับ ไม่อ้างคำพูดคนอื่น ส่วนทำจริงได้แค่ไหน นโยบายจริงออกข้อกำหนดมายังไงก็ต้องรอดูครับ อาจจะไม่ผ่านvatครบเพราะร้านเล็ก แต่ก็บังคับให้ร้านต้องเข้าระบบภาษีแน่ๆละ

เรื่องจำกัด4kmหรือจำกัดระดับตำบล อำเภอ นี่คือสิ่งที่จะบังคับให้เงินหมุนในชุมชนก่อนครับ แต่คงห้ามไม่ได้ถ้าทอดท้ายๆจะไปสู่ทุนใหญ่ แต่อย่างน้อยทุนใหญ่ก็จ่ายภาษีเต็มๆเช่นกันยังไม่นับว่าถ้าในชุมชนเข้มแข็ง เงินก็ไม่ออกนอกชุมชนหรอกครับ หลายๆที่รอเงื่อนไข แล้วจะเปิดร้านใหม่เพื่อการนี้ก็มี(บริหารภาษี)ที่ๆแน่ๆจ้างงานเพิ่มแน่

ผมงงมากกว่าที่คนดังหลายคนบอกว่าเศรษฐกิจกำลังดีขึ้นเลยไม่ต้องทำอะไรกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งๆที่ปรับลดGDP growth rateคาดหมายลงตลอด...

By: YF-01
AndroidUbuntu
on 11 October 2023 - 11:40 #1296366 Reply to:1296212

1) ญี่ปุ่นมีปัญหาเงินเฟ้อมาร่วมด้วย จริงครับ มันเลยกลายเป็นปัญหา Stagflation ไม่ใช่ Inflation ซึ่งปัญหา Stagflation ไม่ได้แก้ด้วยการอัดเงินเข้าระบบเฉยๆแน่นอน
แต่ถ้าคุณบอกว่าตอนนี้มันวิกฤติมาก คนกำลังจะตายอยู่ละ อันนี้ก็ควรแจกเงินนะ แต่คนออกนโยบายไม่ได้คิดแบบนั้นไงครับ

2) ที่คนออกนโยบายบอกว่าไม่ได้คิด เพราะพท.ประกาศเองว่าหวัง Fiscal Multiplier ถ้าคุณจะเถียง ต้องไปเถียงพท.ละ ไม่ใช่ผม

3) นโยบายที่ใช้การแจกเงินแล้วหวังจะได้ Fiscal Multiplier สูงๆนี่ทำมาหลายที่ทั่วโลกแล้วครับ ไม่ใช่นโยบายใหม่ และสถิติยุคหลังๆคือได้ต่ำกว่า 1 ด้วยซ้ำ แม้กระทั่งอเมริกาที่เป็นเจ้าพ่อเศรษฐศาตร์
ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ก็ยึดสถิตินี้แหละมาแย้ง ถ้าคุณจะเถียงกระทั่งสถิติ ก็คงต้องตอบให้ได้ว่าทำไมนโยบายนี้ถึงดีกว่านโยบายอื่น

4) การคำนวน VAT ที่ได้ของคุณไม่ผิดครับ ที่ผิดคือคุณคำนวนโดยไม่มีข้อมูลของนโยบายนี้อย่างครบถ้วน
เพราะข้อมูลที่มีไม่ครบ ถึงคำนวนแบบ best practice และเพราะข้อมูลไม่ครบ ถึงไม่รู้ว่าเลขนั้นเป็นไปไม่ได้
ก็ขนาดคนออกนโยบายเค้ายังประเมินต่ำกว่าข้อมูลที่คุณใช้อยู่เกือบครึ่ง ถ้าคุณจะยังยึดเลขนี้ก็ประหลาดแล้วนะ

5) การเอาภาษีจาก grey market เข้าระบบเป็นสิ่งที่ได้ และดีแน่ๆ แต่คุ้มกับยอดที่จ่ายรึเปล่าเป็นอีกเรื่อง

6) ผมก็เชื่อว่าเราควรกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ผมไม่เชื่อว่าการแจกเงินจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ เผลอๆไปซ้ำเติมในระยะยาวด้วยซ้ำ (ซึ่งตามสถิติ IMF นโยบายแนวนี้ของไทย สร้างปัญหาทุกกรณี)
แนวคิดหนึ่งครอบครัวหนึ่งซอฟต์พาวเวอร์ยังดูตรงประเด็นกว่ามาก ถึงไม่รู้จะทำได้จริงมั้ยก็เถอะ

7) อันนี้เสริม เรื่อง 30 บาท ลองไปคุยกับหมอในโรงบาลรัฐที่เป็นระดับคนดูงบสิครับว่ามันกระทบระบบสาธารณสุขยังไงบ้าง
แต่ผมก็ยังเชียร์นโยบายนี้อ่ะนะ มันได้ประโยชน์กับคนส่วนใหญ่มากกว่า

By: krithome
AndroidWindows
on 4 October 2023 - 01:32 #1295762

น่าจะสร้าง fake demand มากกว่ารถคันแรกอีก
อยากจะให้แยกเรื่องการใช้เงินกู้ไม่คุ้มค่ากับการจัดเก็บภาษีไม่ทั่วถึง

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 6 October 2023 - 11:54 #1296042 Reply to:1295762

ถ้าไม่ได้นโยบายรถคันแรก ญี่ปุ่นย้ายฐานผลิตยานยนต์ไปกันหมดครับตอนน้ำท่วม54 มีแก้ไขเงื่อนไขนโยบายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมเพื่อเอื้อให้บ.ญี่ปุ่นที่เสียหายได้เยียวยาทางอ้อมด้วย

ส่วนพรบ.จัดการน้ำหายไปกับสายลม แม้รบ.ทหารจะมีอำนาจเต็มและม.44แต่ก็ไม่แตะเพราะกระทบเจ้าของที่ดินริมน้ำตลอดเส้นทาง(จากนโยบายการทำfloodwayแบบญี่ปุ่น ที่จะมีคันคอนกรีตสูง5-10เมตรจากระดับน้ำต่ำสุดตลอดเส้น)

ป.ล. GDP อันดับหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมคือภาคการผลิตยานยนต์และมีการจ้างงานรวมกว่าล้านคน(ขึ้นมาแทนอุตฯอิเล็คฯที่ซบเซาไปหลายปียกเว้นช่วงโควิท) ถ้าใครคิดง่ายๆว่าทิ้งไปได้ หรือซื้อ evนำเข้าจากจีนถูกๆดีกว่าไม่ต้องผลิตเองแล้ว ก็แล้วแต่นะครับ การเปลี่ยนผ่านจำเป็นต้องมี แต่ก็ต้องมองถึงอุตสาหกรรมในประเทศด้วย

By: q0022
AndroidUbuntu
on 4 October 2023 - 08:43 #1295776
q0022's picture

จะมีคนเห็นด้วยกับโครงการนี้มั้ย

By: Iamz
AndroidWindows
on 4 October 2023 - 10:14 #1295791 Reply to:1295776

ตอนนี้มีแต่คนพยายามเอาบันไดมาให้แล้วบอกว่าลงมาเถอะ ขอร้อง

By: WattZ
AndroidRed HatSymbianWindows
on 4 October 2023 - 12:51 #1295811 Reply to:1295776
WattZ's picture

มีคนแบกหลายคนอยู่

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 4 October 2023 - 20:03 #1295847 Reply to:1295776

คนเห็นด้วยก็มีแต่เขาไม่ได้มาโพสในนี้

เหมือนตอนจำนำข้าว เพื่อนในเมืองผมด่าเกือบหมดเพราะตัวเองไม่ได้ประโยชน์โดยตรงและไม่เห็นประโยชน์ แต่ชาวนา กับร้านค้าชุมชนยิ้มแก้มปริ ส่งลูกเรียนสบายๆเศรษฐกิจระดับอำเภอคึกคัก

ตอนนี้เห็นแซะแต่เรื่องเครื่องมือ อันนี้เห็นด้วยจะใช้blockchain หรือเป๋าตังค์มันก็แค่เครื่องมือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายความสะดวกอะไรก็ว่าไป แย้งกันไป

แต่ตอนนี้ขำที่คนที่เคยสนับสนุนนโยบายแจกเงินคนแก่ปีละสี่แสนล้าน(ที่พรรคไม่เคยพูดตัวเลขจริงว่ามันเยอะขนาดนี้จะหางบจากไหน?) ออกมากลัวระบบเศรษฐกิจจะพังจากการจ่ายเงินกระตุ้นครั้งเดียว5แสนล้าน(และจะใช้งบไม่ถึงด้วยถ้าบังคับต้องจ่ายvat ได้7รอบจริงๆ)

ไม่อยากจะบ่นมาก ตอนนี้แม้แต่สื่อหลักยังลงfake news อย่างเช่นเรื่องแบ่งเงินข้าราชการจ่ายไวขึ้น ก็ไปเขียนชี้นำหลอกชาวบ้านว่าจะได้ช้าลง คนรู้มาพูดก็หาว่าแบกทั้งๆที่บ.ข้ามชาติดังๆเขาจ่ายระบบนี้มาหลายสิบปีแล้ว คนไม่รู้ก็เฮๆด่ากันเอามัน แม้แต่อาจารย์influencer คนดังก็ยังแชร์ข่าวปลอมเรื่องนี้แซะว่าข้าราชการจะจ่ายหนี้ไม่พอ?

By: endess on 4 October 2023 - 10:02 #1295788

บอกยกเลิกโครงการนี้แล้วเสนอโครงการอื่นทดแทนที่เหมาะสมและสมเหตุสมผลกว่า ยังจะดูดีกว่าสพาำในตอนนี้

By: Golflaw
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 4 October 2023 - 13:18 #1295814
Golflaw's picture

จริง ๆ รายละเอียดโครงการมันมีมาประมาณนึงแล้วนี่ เอาเท่าที่จำได้ก็มี
1. ไม่ได้บังคับขั้นต่ำขั้นสูง จะจ่ายทีเดียว 10,000 ก็ได้ไม่ว่ากัน
2. ไม่ได้จำกัดร้านว่าต้องเป็นร้านเล็กเท่านั้น ร้านเจ้าสัวก็ใช้ได้ มีจำกัดแค่สินค้าบริการบางประเภทเช่น ค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้าน สลากกินแบ่ง ทองคำ สินค้าออนไลน์
3. ร้านที่รับเงินดิจิตตอลได้ ไม่ได้จำกัดร้านว่าจะต้องอยู่ในระบบภาษีเท่านั้น เป็นร้านค้านอกระบบภาษีก็ได้ แต่ร้านพวกนี้จะต้องเอาเงินไปใช้ต่อ เอาไปขึ้นเงินไม่ได้
4. ร้านที่จะขึ้นเงินสดจริงได้ ต้องเป็นร้านที่อยู่ในระบบภาษีเท่านั้น (อันนี้ไม่แน่ใจว่ายังไงต้องจด vat มั้ยหรือแค่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคลก็พอ)

จากรายละเอียดเท่าที่มี คนเลยกังวลกันว่าร้านเล็กร้านน้อยที่อยู่นอกระบบภาษีจะไม่รับ เพราะถ้ารับไปก็จะกลายเป็นภาระที่จะต้องรีบเอาไปใช้ให้หมดภายใน 6 เดือน ส่วนร้านที่รับแน่ ๆ คือ ร้านเจ้าสัว ซึ่งอันนี้คนวิเคราะห์กันว่าไม้สุดท้ายถึงเจ้าสัวแน่ ๆ แต่จะกี่ทอดเท่านั้น ถ้าได้มาเดินเข้าร้านเจ้าสัวเลยก็ทอดเดียวจบ


A smooth sea never made a skillful sailor.