จากที่มีข่าวว่า Xmarks ปิดกิจการ เหตุเพราะเงินหมดและคู่แข่งเยอะ แฟนๆ ของ Xmarks ก็ส่งข้อความไปยังบริษัทเป็นจำนวนมาก จนทาง Xmarks ตัดสินใจว่าอาจจะนำโมเดลคิดเงินกลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อให้บริษัทอยู่ได้
ในเบื้องต้น Xmarks ได้ขอซาวเสียงจากผู้ใช้ก่อนว่า ยินดีจ่าย 10 ดอลลาร์ต่อปีเพื่อ Xmarks Premium หรือไม่ โดยขอให้ผู้ที่เต็มใจจะจ่ายจริงๆ ไปลงชื่อที่ PledgeBank ตอนที่ผมเขียนข่าวมีคนไปลงชื่อ 3,975 คน ทาง Xmarks ต้องการ 100,000 คน
Xmarks ยังเผยสถิติว่ามีคนบริจาคให้ Xmarks น้อยมากคือน้อยกว่า 0.001% ในขณะที่โปรแกรมอย่าง Evernote ที่อยู่ได้จากการขายเวอร์ชันพรีเมียม มีสัดส่วนผู้จ่ายเงินประมาณ 2%
นอกจากนี้ หลังมีข่าวว่าจะปิดกิจการ Xmarks ยังได้รับข้อเสนอซื้อจากนักลงทุนหลายราย เพียงแต่ตอนนี้ยังไม่มีอะไรแน่นอนว่าจะขายบริษัทได้จริงหรือไม่
ที่มา - Xmarks Blog
Comments
แต่ตอนนี้ผมย้ายไป firefox sync เรียบร้อยแล้ว และคงไม่กลับมา
เพราะ firefox sync ได้ความเรียบง่ายและฟีเจอร์เพียงพอกับความต้องการ
ยังอยากได้อยู่ดี แฮะ.. ทำงานบน window ใช้ Chrome linux ใช้ ff
+1 เหมือนกันเด๊ะ เลยครับ
blog.semicolon.in.th
ของเค้าดีจริงๆ
ใช้หลาย browser ต้องใช้ตัวนี้ซิ้ง ขาดไปชีวืตคงแย่
อ่ามองในมุมเจ้าของกิจการยังไงก็ขอให้ไปรอดครับ ถึงจะไม่ได้ใช้ก็เถอะนะ
ล่าสุดจะแตะ 5000แล้ว =_=
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ผม Sign Pledge ไปเรียบร้อยครับ
blog.semicolon.in.th
ขอให้รอดเถอะ
ตอนนี้ย้ายมาใช้ซิงของ chrome
กลัวรอจนปิดเดี่ยวปรับตัวไม่ทัน
คิดด้วยค่าเงินไทยตอนนี้ นิดเดียวเองแฮะ
คิดถึงความห่วยของ Firefox Sync แล้วไม่ลังเลที่จะจ่ายเลย
ไปลงชื่อๆ
( ช่วงนี้พยายามใช้ SyncPlaces ซึ่งก็ใช้ได้ดี แต่มันประมวลผลฝั่งเครื่องเรา sync ทีนึง เครื่องแทบค้าง )
ใช้หลายบราวเซอร์ครับ ต้องอาศัยตัวนี้อย่างเดียวเลย ขอให้รอดครับ
10 ดอลลาร์ต่อปี คิดเป็นเงินที่ 40 บาทต่อ 1 ดอลล์
400 ต่อปี ถือว่าสูงเหมือนกันนะ
ลองดูอัตราแลกเปลี่ยนในกุเกิ้ลตอนนี้เป็นแบบนี้ครับ
1 U.S. dollar = 30.3204876 Thai baht
ใช่ครับ ในความเป็นจริงจะเทียบแบบนั้น แต่ถ้าเคยทำงานบริษัทที่ค้าขายกับต่างประเทศ
เขาจะไม่อิงราคาตามอัตราแลกเปลี่ยนโลกแบบนั้นครับ ถ้าบาทแข็งมันจะขาดทุนทันที
เวลาเขาตกลงซื้อขายเขาจะกำหนดบาทต่อเหรียญไว้อีกระดับหนึ่งให้คงที่มากกว่าปกติ
มิฉะนั้นจะเสนอขายลำบากเพราะราคาไม่นิ่ง
ในส่วนต่างกันนี้จะเป็นการประกันราคาน้ำมัน ราคาขนส่งด้วย
ในกรณีของ xmark อาจจะไม่ระดับนั้น แต่ก็ต้องเผื่อเงินอีกส่วนหนึ่งสำหรับการตัดยอดข้ามประเทศ
เหมือนกับเราเอาบัตรเครดิตไปซื้อของต่างประเทศ เรารู้ว่าราคาเป็นเงินไทยเท่าไร
แต่พอตัดยอดเป็นบาทจะสูงกว่านั้น เหมือนเป็นค่าธรรมเนียมระหว่างธนาคาร
มันหักเงินเป็น usd ไม่ใช่เหรอครับ
เรทบัตรเครดิตตอนนี้ก็ 31-32 นะ บวกมาแค่บาทเดียว
ไม่ใช่ samsung apps นะครับ จะได้คิดเรทเว่อร์แบบนั้น
ไปกินเหล้าครั้งนึงกับเพื่อน ก็แชร์ประมาณนี้ละครับ แค่คืนเดียว นี้ทั้งปีเลยนะครับ
เปรียบเทียบได้ดีจังครับ ^^
Liked!
blog.semicolon.in.th
+66
เทียบแบบนั้นไม่ได้มั๊งครับ ต้องเทียบภาระที่เกิดขึ้นจริงมากกว่า
เหมือนเราไปใช้บริการนิดนึง แบนวิดธ์วิ่งแทบไม่กระดิกแต่เสียค่าบริการซะเยอะ
อยากให้ใครมารับภาระตรงนี้ อย่างกูเกิ้ลอะไรเงี้ยะ ไหนๆ ก็ฟรีแล้วนิ
ค่าเงินตอนนี้ $ ละ 31 บาท ปีนึง 310 บาท
จ่ายวันจะบาทยังได้มากกว่านั้นเลยครับ
จะเอาอะไรกันเชียว แผ่นเถื่อนยังถูกก๊อปเลย หนังแผ่นละไม่ถึง 150 ก็ยังขายไม่ออก
เท่าที่เห็นการบริจาคเงินนี่มันผ่านบัตรเครดิต ผมยังไม่ค่อยวางใจการใช้บัตรผ่านเน็ตเท่าไรนัก น่าจะเรียกว่าไม่ไว้ใจเลยมากกว่า ผมว่าตรงนี้เป็นปัญหามากที่ระบบการจ่ายเงินให้ผู้บริการทำได้ไม่เต็มที่ พอไม่ไว้ใจก็ไม่จ่ายซะเลย คิดดูเหอะแม้แต่เอทีเอ็มพวกห้าร้อยมันยังหาวิธีดูดออกจากบัญชีได้ง่ายๆ
ผมว่าเค้าใช้ paypal กันนะ
ขอให้นายทุนใจดี ช่วยมาซื้อแล้วให้บริการฟรีต่อไปเหอะ
หรือถ้าจะแบ่งรุ่น เป็น free/premium ก็ได้แต่อย่าปิดเล๊ยยยย
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
กลุ่มโอเพ่นซอร์สที่ได้รับเงินสนับสนุนน่าจะเหมาะ เช่น กูเกิล ไมโครซอฟท์ ออราเคิล
ถือว่าจ่ายวันละบาท ไม่แพงครับ ช่วย ๆ กัน เพราะใช้สะดวกมากเลย
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
น่าจะมีสถิติว่าประเทศไหนจ่ายเยอะ จะได้ประเมินผลก่อนและหลัง ว่ากระแสอยากจ่ายกับจ่ายจริงจะไปในแนวทางเดียวกันไหม
ถ้าจะเก็บเงินค่าบริการ อีกแนวทางการคิดราคาอาจเทียบจากค่าบริการค่าเช่าโฮสต์ ค่าโดเมน เป็นพื้นก่อนซึ่งราคาต่อปีไม่สูงมาก เงินในระดับนี้ค่าบริจาคน่าจะเอาอยู่
จากนั้นจะคิดค่าแรงสำหรับนักพัฒนาก็ประเมินมูลค่าเข้าไป (เขาจะได้มีเงินกินและคิดอะไรดีๆ ได้อีก) หรืออาจจะมีออปชั่นพิเศษสำหรับคนที่จ่ายตังค์ก็ได้ เช่น เสียตังค์มีบริการเก็บรหัส ถ้าไม่จ่ายเก็บเฉพาะแอดเดรส
ถ้าระบุว่าเก็บทุกคนดูมันจะปิดโอกาสสำหรับคนที่มีรายได้น้อย แน่นอนว่าไม่มีบัตรเครดิต และจะทำให้ตลาดแคบไม่เกิดการทดลองใช้
คนได้ประโยชน์สมควรเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย ตามหลักกฎหมายว่าไว้แบบนั้น
สะดวกมากครับ ยินดีจ่าย
แบบนี้เค้าถึงบอกว่า อย่าลดราคา อย่าแจกฟรี ไม่งั้นพอมาเก็บเงิน คนจะรับไม่ได้
ทั้งๆ ที่บริการทำนองนี้ ก็ราคาประมาณนี้ทั้งนั้น 10 เหรียญต่อปี กิ๊กก๊อกมาก
แต่เพราะคนติดภาพของฟรีไปแล้ว พอจะเก็บเงินขึ้นมา กลายเป็นดูไม่ดีไปเลย
ตอนนี้ปีนึงผมจ่ายให้กับบริการพวก could services อยู่ 2 ตัว คือ Flickr Pro ราคา $24.95/Year และ Multiply Premium ราคา $19.95/Year ตอนนี้กำลังจะเพิ่ม Google Apps Premier Edition ที่ $50/Year เพื่อใช้ Google Apps Sync ส่วน XMarks ที่บอกว่า $10/Year ก็น่าสนใจมากๆ ถ้าทุกอย่างโอเค ก็น่าจะทำตามแผนการนี้ ^^
ฝากนิดนึง เราใช้แต่ของฟรีในเน็ตกันจนเคยตัว อะไรที่ต้องจ่ายเงินกลายเป็นไปต่อว่าเค้า ลืมไปหรือเปล่าว่าคนทำงานเค้าก็คนที่กินข้าว มีภาระและความจำเป็นเท่าๆ กับเรา สำหรับบางคน "เอาแต่ได้กันเกินไปหรือเปล่า" ... เราในฐานะคนใช้บริการ เรามีสิทธิ์ที่จะไม่ใช้ถ้าไม่พอใจในราคาดังกล่าว (เราจ่ายไปแล้ว เรายังขอเงินคืน ก็ยังได้เลย) และแน่นอนถ้าเราพอใจ เราก็สมควรที่จะจ่ายไม่ใช่หรือครับ ^^
+1 .. ชัดเจน ตรงประเดน