กสทช. เปิดตัวมาสค็อต "น้องดูดี" สำหรับประชาสัมพันธ์การผลักดันทีวีดิจิตอลในประเทศไทย ซึ่งเราคงได้เห็นมาสค็อตตัวนี้กันบ่อยๆ ในอนาคตอันใกล้นี้
ในโอกาสเดียวกัน กสทช. ยังทำพิธีมอบ "ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล" (ใบอนุญาตโครงข่าย) ให้กับหน่วยงานของรัฐ 4 รายเจ้าของช่องฟรีทีวีเดิม คือ กองทัพบก, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), กรมประชาสัมพันธ์ และ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) ด้วย
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
Comments
สวยดีนะผมว่า
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
ขายาวสวยดูดีมากๆครับ
ฟ้าหรือเขียวครัฟ (ㆆᴗㆆ)
Dream high, work hard.
อนุมัติ ครับ!
คุ้นๆ นึกชื่อก่อน....
Bomberman ปะคับ คล้ายๆนะผมว่า
เหมือนกันครับ เมื่อก่อนชอบวาดมากเพราะมันวาดง่าย
คุณ FordAntitrust หมายถึงนางแบบครับ พอดีเค้าเป็นช่างภาพน่ะครับ รู้จักนางแบบหลายคน
ใช่น้อง surprise รึเปล่าครับ
ใช่ครับ ;)
นึกว่าไม่มีคนต่อ ><
ออกแบบ ตรงไปตรงมา ดีนะ
หน้าจอ กะ หางปลั๊กไฟ!
เอาเวลาไปแก้ปัญหาดีกว่าเถอะ
แล้วทำพร้อมกันไม่ได้เหรอครับ
+1
คห ทำนองนี้ (ทำxxxทำไมเนี่ย ไปทำyyyไม่ดีกว่าเหรอ) เห็นบ่อยแฮะ :-/
ญี่ปุ่นยังมีมาสค็อตเลย เรามีก็ไม่น่ากระทบอะไรนะครับ กลับจะดีเสียกว่าอีก เพราะผมเห็นตอนนี้ทาง Sony เอง เวลาออกงานอะไรก็จะมีตัวอย่าง Digital TV มาให้ดูแล้ว แต่มันไม่น่าสนใจเสียเลย
My life and hobbies blog!
Technology and Gadget blog!
+1
องค์กรเค้าแบ่งหน้าที่กันทำครับ
คนนี้วาดหู คนนี้วาดตา #ผิด
(นอกเรื่องนิด)
ไหนๆ ก็ไหนๆ ทำไมราชบัณฑิตยสถาน ไม่บัญญัติคำว่า "ดิจิตอล" ลงไปในพจนานุกรมซะเลย
เห็นมานานแล้วก็สงสัย หรือต้องรอชำระพจนานุกรมใหม่ก่อน?
เห็นด้วย ไม่รู้รอบการทำงานของราชบัณฑิตเป็นอย่างไร จึงไม่สามารถบัญญัติศัพท์ได้ทันเลย (อย่างน้อยศัพท์ที่ใช้มาสักระยะหนึ่งควรมีการบัญญัติ) อย่างทุกวันนี้คำที่มีมานานมากแล้วอย่างพวก Hardware Software Computer มีบัญญัติ แต่ไม่ได้ใช้ ไม่รู้เพราะบัญญัติช้า หรือไม่ประชาสัมพันธ์ให้วงการการศึกษา และอื่นๆ นำไปใช้กัน
ผมว่าแบบนี้ดีแล้ว
อาจเพราะเทคโนโลยี แต่เดี๋ยวนี้คำมันมาไวไปไว คำบางคำอาจจะมีคนใช้ ๆ กันอยู่แค่สามปีห้าปี แล้วก็หายไปจากสังคม
เช่นคำว่า จ๊าบ มะ เฟี้ยวเงาะ ซึ่งแทบจะไม่มีคนใช้แล้ว
คำว่า แหล่ม เมพ ขิง ตื๊ด ปลวก เม้ามอย เซอร์ ชิล สิวๆ ความถี่ในการใช้ก็เริ่มลดลง
คำเกิดใหม่ ๆ ก็มีมาเรื่อย ๆ เช่น จุงเบย ไฝว์ บ่องตง
แล้วก็ยังมีคำที่ พอเวลาผ่านไป ความหมายเปลี่ยน เช่นคำว่า เกรียน สมัยก่อนใช้เป็นคำด่า แสดงถึงพฤติกรรมน่ารังเกียจ แต่ปัจจุบันเด็กวัยรุ่น หลาย ๆ คนใช้ในความหมายว่า ทำตัวกวนประสาท และไม่ได้มีความหมายในแง่ลบเหมือนสมัยก่อน
ผมเคยอ่านบทความเกี่ยวกับงานวิจัยนึง ซึ่งได้ผลสรุปว่า การใช้เทคโนโลยีเยอะ จะทำให้เด็ก ๆ ได้รับรู้คำศัพท์น้อยกว่าการใช้ชีวิตในสมัยก่อน เพราะมันมีการใช้ภาพเข้ามาช่วยแทนการบรรยาย เป็นเหตุให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ใช้บรรยายน้อย และเมื่อเด็กไม่รู้จะเอาคำว่าอะไรมาใช้บรรยาย ก็จะมีบางส่วนบัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นมาเอง ซึ่งบางคำก็จะฮิตติดขึ้นมาเป็นกระแส แต่หลังจากเป็นที่นิยมอยู่ซักพักกระแสก็จะซาลงไป เพราะแต่เดิมก็มีคำอื่นที่มีความหมายเดียวกันให้ใช้แทนได้อยู่แล้ว
ผมจึงคิดว่าการรอจนกว่าจะมั่นใจว่ามันจะเป็นคำที่สังคมจะรับไปใช้กันจริง ๆ ไม่ใช่แค่ใช้กันเพียงแค่ตามกระแส แล้วค่อยบัญญัติลงไป เป็นเรื่องที่ดีกว่าครับ
คำที่มีมานานมากแล้วอย่าง Hardware Software Computer แต่ไม่ได้ใช้นั้นเป็นเพราะว่าคำบัญญัติ กับคำที่ใช้กัน เป็นคนละคำกันครับ แล้วก็ไม่ใช่หน้าที่หรือความจำเป็นอะไรที่ราชบัณฑิตจะต้องไปรณรงค์ให้คนเปลี่ยนไปใช้คำที่ตัวเองบัญญัติขึ้นมาใหม่แทนการใช้คำทับศัพท์นี่ครับ
ทำแบบนี้ก็ถูกแล้ว ถ้าทางราชบัณฑิตออกมาประชาสัมพันธ์ให้คนเปลี่ยนไปใช้คำตามที่ตัวเองบัญญัตินี่สิแปลก และไม่ควร
ถ้ามีคนมาบอกผมให้ผมเปลี่ยนจากการเรียกรถ รถแทกซี่ เป็น รถยนต์โดยสารรับจ้างไม่ประจำทาง แทนผมก็ไม่บ้าจี้ทำตามหรอกครับ
ผมเข้าใจว่า คห. ด้านบนเน้นที่คำว่า "ดิจิทัล" > "ดิจิตอล" นะครับ ว่าถ้าไหนๆ คนนิยมใช้ "ดิจิตอล" กันมากกว่า (รึเปล่า) แต่ในที่นี้คือ กสทช. ยึดที่จะใช้ "ดิจิตอล" ไม่ใช้ "ดิจิทัล" ตามราชบัณฑิตฯ
ไม่ได้บ่นๆ ว่าทำไมราชบัณฑิตฯ ไม่ยอมบัญญัติศัพท์ใหม่ๆ พวกศัพท์วัยรุ่นใหม่ๆ ลงไป ว่าทำช้าหรืออะไร ที่ตั้งประเด็นขึ้นมาในข่าวนี้ผมว่าเน้นไปที่คำๆ เดียว ที่คนใช้ไม่ตรงกันนี่แหละ
ส่วน คห. ที่เทียบกับ W3C นี่ผมว่าแปลกๆ นะครับ ถ้ารู้ว่าถูก แล้วทำให้ถูกได้ คำถามคือ "แล้วมีเหตุผลอะไรถึงไม่ทำให้ถูก" คืออย่าง W3C สำหรับเว็บ เข้าใจว่าหลายครั้งที่ไม่ทำให้ถูกเป๊ะๆ ทุกประการ ก็เนื่องจากเหตุผลหลายๆ อย่าง ซึ่งบางอย่างก็ถือว่าไม่จำเป็นจริงๆ แค่ทำดีกว่าไม่ทำ อะไรแบบนั้น แต่การเขียนภาษา ซึ่งเป็นภาษาแม่ของเราแท้ๆ ผมว่า "การทำตัวเป็นตำรวจภาษา" ก็ไม่ผิดอะไรนะครับ
ผมชอบเว็บนี้นะที่เจ้าของมีนโยบายว่าเน้นเรื่องการเขียนการสะกด ใครเห็นอะไรไม่ถูกต้องก็แนะนำกัน (แน่นอนว่าไม่ใช่การบังคับ ผู้เขียนมีสิทธิ์จะเขียนผิดๆ ก็ได้ แต่ข่าวของคุณก็อาจไม่ได้รับพิจารณาให้ผ่านขึ้นหน้าแรกก็เท่านั้น)
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
เราไม่ควรทำตัวเป็น"ตำรวจภาษา"จนมากเกินไปนะครับในเมื่อไม่มีการใช้งานก็ไม่ควรจะไปบังคับให้ผู้อื่นมาใช้ครับ
ภาษาอย่างไรเสียถ้ายังมีคนใช้ภาษานั้นอยู่มันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปครับ
ราชบัณฑิตเป็นคนกำหนดมาตฐานเพื่อให้ติดต่อกันได้แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำตามมาตรฐานแบบเป๊ะๆตลอด
ถ้าเทียบง่ายๆนึกถึงกรณี W3C สิครับมันก็แบบเดียวกันนะแหละคือมีมาตรฐานเพื่อให้ใช้งานร่วมกันได้
แต่ในขณะเดียวกันก็มีสิ่งที่อยู่นอกเหนือมาตรฐานหรือไม่ตรงกับมาตรฐานอยู่เช่นกัน
พจนานุกรมราชบัณฑิต ก็ออกเล่มล่าสุดก็ปี 42 ก็เกือบ 14 ปีได้แล้ว ถึงเวลาชำระกันใหม่ก็ดีนะ
กสทช.น่าจะสะกดว่า "ทีวีดิจิตอล" ด้วยป่าวครับ? ไม่ใช่ "ดิจิตอลทีวี" เหอๆๆๆๆ ทีวีดิจิตอล สะกดอย่างไร?
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เป็นฉบับล่าสุดที่แจกจ่ายให้เฉพาะ สถานศึกษา หน่วยงานราชการต่างๆ ยังไม่ได้ตีพิมพ์เพื่อจำหน่ายทั่วไป
อ้างอิง
http://www.royin.go.th/th/webboardnew/answer.php?GroupID=&searchKey=&searchFrom=&searchTo=&PageShow=9&TopView=&QID=11716
ผมเคยเรียนกับอาจารย์ท่านนึงที่เคยทำงานร่วมกับราชบัณฑิตในส่วนของศัพท์เทคโนโลยีครับ
เหตุผลที่ต้องใช้ "ดิจิทัล" คือศัพท์นี้ทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ ซึ่งในภาษาอังกฤษไม่มีตัว "ต" และดิจิทัลก็เป็นการเขียนทับศัพท์ที่ถูกต้องรวมถึงการอ่านด้วย (ส่วนกรณีคอมพิวเตอร์ที่เป็นข้อยกเว้น เพราะใช้มาจนเป็นที่นิยมแล้ว)
อย่างไรก็ตามในเมื่อราชบัณฑิตบัญญัติให้ใช้ ดิจิทัล เพื่อความถูกต้อง กสทช.ก็ควรใช้ให้ถูกต้องตามครับ ทราบดีว่าคำว่าดิจิตอลเป็นที่นิยม แต่ก็กำลังมีหลายฝ่ายพยายามปรับความเข้าใจและแก้ไขให้ถูกต้องโดยเฉพาะสื่อมวลชนต่างๆ ซึ่งอันที่จริง กสทช. ก็ควรร่วมมือด้วยเพื่อทำให้เกิดการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง ไม่ใช่ย้ำการใช้แบบผิดๆ อีก
กรณีนี้ยังไงก็ถือว่า กสทช. ใช้ผิดครับ คงต้องขออนุญาตตำหนิฝ่ายที่ดูแลเรื่องนี้นะครับว่าควรตรวจสอบความถูกต้องก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะ และถ้ายังดื้อดึงดันจะใช้อีกก็ต้องยิ่งขอตำหนิว่าเป็นหน่วยงานที่ใช้ไม่ได้ครับ
จะ "ดื้อดึงดัน" หรือเปล่าผมไม่รู้นะครับ :( แต่ที่แน่ๆ กสทช. เขาใช้ ดิจิตอล ต่อไปแน่ๆ ข่าวก่อนนหน้านี้ @mk ก็เคยบอกแล้วว่าเขาเคยถกเรื่องคำนี้ในที่ประชุม กสทช. กันเลยด้วยซ้ำ แล้วที่ผมเคยเจอมาก่อนนั้นอีก @supinya ก็เคยบอกว่า ดร. นที อ้างว่าใช้ตามคำที่เขียนไว้ใน พ.ร.บ. ว่าง่ายๆ อ้างตามตัวบทกฎหมายนั่นแหละครับ ไม่เคยตอบว่าทำไมถึงไม่ใช้ตามราชบัณฑิตฯ ทั้งๆ ที่ในตัวบทกฎหมายใช้ผิด เหอๆ เรื่องบางอย่างมันก็ยากเกินความเข้าใจด้วยตรรกะของเราแฮะ ถ้าเราไปอยู่จุดนั้นอาจจะเข้าใจก็ได้ว่าเพราะอะไร หุหุ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
ตอนที่ @mk อธิบายตอนนั้น ผมก็เข้าใจว่ามันเกี่ยวกับกฏหมายด้วย คำบางคำในกฏหมายยังให้ความหมายคนละอย่างกับพจนานุกรมเลยครับ คล้ายๆ "เครื่องหมายการค้า" หรือเปล่านะ ที่เขียนผิดแล้วผิดเลย
ถ้าอยากใช้ "ดิจิทัล" ให้สะดวกใจ คงต้องแก้ พ.ร.บ. ละมั้งครับ
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
กลายเป็นเรื่องใหญ่โตเลยนะครับนั่น ฮาฮา แต่ให้ผมเดานะ ถ้าคนส่วนใหญ่คิดว่า นิยม ถนัด "ดิจิตอล" กันมากกว่า ราชบัณฑิตฯ จะเปลี่ยนการสะกดคำนี้แทน ดูว่าจะง่ายกว่าไหมครับ (คหสต.) ผมไม่ได้สนับสนุนให้ราชบัณฑิตฯเปลี่ยนนะ เพราะถ้าเขาสะกดโดยยึดตามหลักการการถอดเสียงที่ถูกต้องแล้ว การเปลี่ยนตาม "ความนิยม" ผมว่ามันไม่ใช่อะ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
ไม่สวยเลยครับ งานออกแบบพวกนี้อยากให้เปิดเผยกันจัง จ้างกันเท่าไหร่ครับเนี่ย
แต่ผมว่าสวยและดูดีเลยครับ มองปราดเดียวก็รู้เลยว่าเป็นทีวี
น้องดูดี เด็กหญิง โลกสวย สร้างภาพ oop's อุ่ยโทษทีครับแมวพิมพ์ * เมี้ยว *
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
ปลั๊กงอกมาด้านหน้าละเป็นเรื่อง
ถ้าเกิดมีอีกตัวแต่เป็นปลั๊กตัวเมียนี่ ฮาเลย
ผมว่าโลโก้อันนี้โอเคเลยครับ ดีกว่าที่คาดไว้ด้วย ดูน่ารักดี
ของญี่ปุ่นเป็นกวาง ของอังกฤษเป็นหุ่นยนต์ แต่เกาหลี...ไม่มี
*** ขอให้ กสทช. ช่วยประชาสัมพันธ์เยอะๆ ทำRoadshowทั่วประเทศให้ความเข้าใจ คนจะได้เข้าใจ ไม่โวยกัน แบบที่ญี่ปุ่นทำกันหนะครับ อยากเห็นมาก ไม่ใช่อะไรๆก็ กทม. อย่างเดียว ***
คล้ายๆเกมส์ Cordy ใน iOS กับ android เลย แต่ก็น่ารักดี

Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
แรงบันดาลใจ ฮิ_ฮิ
A smooth sea never made a skillful sailor.
มันไม่โมเอะอ่ะครับ!!!
แต่ก็น่ารักดีนะ :D
เหมือนน้องวิกสามเลยอ่ะ
http://www.it24hrs.com/wp-content/uploads/2012/12/vic3_mascot.png
พอเปิดเข้ามา ผมไม่ได้มองตัวมาสค็อตเลยครับ ผมมองคนด้านซ้ายทันทีเลย 555
น่ารักๆ เอามา PR แล้วดูดี หน่วยงานอื่นๆก็น่าจะทำมั้งนะเข้าถึงคนง่ายดี
นึกว่า จะมีการจัดประกวดแข่งขันออกแบบ+ตั้งชื่อซะอีก
ดูน่ารักดี แต่สงสัย ทำไมไม่ทำเป็นจอ LCD นะ หรือ ส่วนใหญ่คนไทยยังใช้จอตู้อยู่
ลองนึกภาพหัวแบนๆ อะครับ มันไม่สวย