วันนี้บอร์ด กทค. มีมติเห็นชอบต่อ ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่านความถี่ 1800 MHz เพื่อนำเสนอ กสทช. พิจารณาให้ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป
ตามแผนของ กสทช. จะจัดประมูลคลื่น 1800MHz ที่หมดอายุลงเมื่อปีที่แล้ว (True Move และ GSM1800 เดิม) แยกเป็น 2 บล็อค บล็อคละ 12.5 MHz และเคาะราคาขั้นต่ำ (reserved price) ตามข้อเสนอของ ITU ที่ 11,600 ล้านบาทต่อบล็อค ซึ่งคิดราคาต่อ MHz แล้วจะแพงกว่าคลื่น 2100MHz ที่ประมูลไปรอบที่แล้ว
ลำดับต่อไป สำนักงาน กสทช. จะนำร่างประกาศฯ ข้างต้นไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และขอมติเห็นชอบจาก กสทช. ชุดใหญ่ และประกาศลงราชกิจจานุเบกษาในช่วงเดือนมิถุนายน จากนั้นจะเป็นช่วงประกาศเชิญชวน ยื่นเอกสาร ก่อนจะจัดการประมูลจริงในเดือนสิงหาคม
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
บอร์ด กทค. เคาะราคาขั้นต่ำในการประมูลคลื่น 1800 MHz (Reserve Price) และเห็นชอบหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800 MHz
กทค. ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2557 เห็นชอบการกำหนดราคาขั้นต่ำในการประมูล (Reserve Price) คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่านความถี่ 1800 MHz เพื่อนำเสนอ กสทช. พิจารณาให้ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ
กทค. เห็นชอบการกำหนดราคาขั้นต่ำในการประมูลซึ่งคำนวณโดย ITU ในราคา 11,600 ล้านบาทสำหรับชุดคลื่นความถี่ 2x12.5 MHz หนึ่งชุดคลื่นความถี่ หรือ 464 ล้านบาทต่อ MHz วิธีการที่ได้มาถึงตัวเลขดังกล่าว เป็นวิธีการที่เป็นหลักสากลซึ่ง ITU ได้มีการใช้หลากหลายวิธีประกอบการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ทั้งหมด 3 วิธี ได้แก่
1. Full enterprise value ซึ่งเป็นโมเดลทางธุรกิจที่ใช้ในการหามูลค่าปัจจุบันของกำไรที่เกิดจากการนำคลื่นไปใช้ ร่วมกับทรัพยากรทั้งหมดของผู้ประกอบการตลอดช่วงเวลาของการได้รับใบอนุญาต โดยจะคำนวณทั้งสำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ และผู้ประกอบการรายเล็ก เพื่อให้ความมั่นใจว่าผู้ประกอบรายเล็ก สามารถเข้าสู่การประมูลได้
2. Cost reduction value เป็นวิธีการประมาณการมูลค่าของส่วนต่างระหว่างค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นในกรณีที่ได้รับและไม่ได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่จากการประมูล
3. Benchmark ซึ่งเป็นวิธีทางสถิติ ซึ่งได้มีการนำสถิติการประมูลคลื่นความถี่จากประเทศต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงระหว่างปี 2549 – 2556 มาพิจารณา โดยเป็นข้อมูลสถิติจากการประมูลทั่วโลกจำนวน 101 ใบอนุญาต จากการประมูลของแถบ Asia Pacific 32 ใบอนุญาต และประเทศที่มี GDP/capita ต่ำกว่า below US$30,000 (PPP) โดย ITUการพิจารณากำหนดราคาขั้นต่ำในการประมูล กสทช. ได้ดำเนินการพิจารณาเปรียบเทียบผลการประมาณการมูลค่าคลื่นความถี่ด้วยวิธีการที่หลากหลายดังกล่าวข้างต้นร่วมกัน เพื่อมากำหนดราคาขั้นต่ำในการประมูล ซึ่งเป็นวิธีการที่มีความเหมาะสม รัดกุม และรอบคอบ และมีการคำนึงถึงความสามารถในการเข้าร่วมประมูลของผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ รวมทั้งผลการประมูลที่เกิดขึ้นจริงในต่างประเทศประกอบด้วย และที่สำคัญยิ่ง การกำหนดราคาเริ่มต้นในการประมูลจะต้องสร้างความมั่นใจได้ว่า เป็นราคาขั้นต่ำที่จะสามารถทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กสามารถเข้าร่วมการประมูลได้ และสำหรับราคาที่ชนะการประมูลนั้นจะเป็นไปตามกลไกการแข่งขันในการประมูลเอง ทั้งนี้ ราคาขั้นต่ำของการประมูลนี้มีค่าสูงกว่าราคาขั้นต่ำของคลื่นความถี่ 2100 MHz ที่กำหนดไว้ที่ 450 ล้านบาทต่อ MHz
และในวันนี้เอง กทค. ได้มีพิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน ๑๗๑๐ – ๑๗๒๒.๕ MHz/๑๘๐๕ – ๑๘๑๗.๕ MHz และ ๑๗๔๘ – ๑๗๖๐.๕ MHz/๑๘๔๓ – ๑๘๕๕.๕ MHz พ.ศ. …. และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (IMT)ย่านความถี่ ๑๗๑๐-๑๗๘๕/๑๘๐๕-๑๘๘๐ เมกะเฮิรตซ์ (MHz) โดยเห็นชอบให้นำร่างประกาศดังกล่าวนำเสนอ กสทช. เพื่อจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป
ทั้งนี้ แผนการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz จะมีกรอบระยะเวลาในการนำร่างประกาศฯ ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2557 โดยจะมีการนำเสนอต่อที่ประชุม กสทช. เพื่อให้ความเห็นชอบเพื่อประกาศลงในราชกิจกานุเบกษา ในปลายเดือนมิถุนายน 2557 จากนั้นจะประกาศเชิญชวน และเผยแพร่ สรุปข้อสนเทศ (IM) ฉบับสมบูรณ์ พร้อมกำหนดระยะเวลาให้ผู้ยื่นประมูลมารับเอกสารเพื่อใช้ในการยื่นประมูลในปลายเดือนกรกฎาคม 2557 จากนั้นจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติเข้าร่วมการประมูลต้นเดือนสิงหาคม และจัดการประมูลพร้อมประกาศผลการประมูลในเดือนสิงหาคม 2557
Comments
คือจะสามารถประมูลได้แค่สองเจ้าหรือครับ?
ทุกเจ้าครับ
กสทช.ระบุรึเปล่าครับ ว่าต้องเป็น 4G ... ถ้าคนประมูลเอาคลื่นที่ได้ไปทำแค่ 3G จะเป็นไรมั๊ยครับ
1800 ไม่มี 3G ครับ
มี 2G แล้วไป LTE, LTE-A (ก็ทำได้)
ตามทฤษฎีก็ทำได้ครับ และกสทช.เองก็ไม่ห้าม
เหมือนกับคลื่น 2100 ประมูลได้มาจะเอามาทำ 2G/3G/4G ก็ตามสะดวก
(True เอามาทำ 4G บางส่วน)
LTE มันต้องใช้บล็อค 1.4, 3, 5, 10, 15, 20 MHz ใช่ไหมครับ? ถ้าจะทำ 4G คงต้องเหลือ 2.5MHz ทิ้ง (ไปเป็น guard band?)
กทค. น่าจะแบ่งเป็นบล็อคละ 10 กับ 15 MHz แทนจะได้ไม่เหลือเศษ
@mamuang
มันเป็นคลื่นฟันหลอครับ ไม่ติดกัน
อ่ออย่างนี้นี่เอง ขอบคุณครับ
@mamuang
ถ้าผู้ให้บริการมี 2100MHz อยู่แล้วในมือ จำเป็นจะต้องมี 1800MHz อีกไหมครับ? ขนาด 2100MHz ก็ยังเอาไปทำ 4G ได้เหมือนกันด้วย (แต่ก็ต้องบริหารจัดการคลื่นกันดี ๆ หน่อยนะ)
รู้สึกว่ามันจะแป๊กยังไงก็ไม่รู้
ผมว่า AIS คงเอาแน่ๆอะครับ เพราะถือคลื่น 2100 อยู่อย่างเดียว จะไปแบ่งมาทำ 4G มันจะทำให้ 3G ประสิทธิภาพน้อยลงอีก แต่สำหรับ Truemove-H กับ DTAC ก็แล้วแต่แนวคิดของแต่ละเจ้าอะครับ
ผมขอตอบว่า "คลื่น...มีเท่าไหร่ก็ไม่พอครับ" ถ้ามีตังเขาก็อยากประมูลมาไว้ทั้งนั้นครับ :D
ไม่แป๊กหรอกครับ True นี้ชอบทำก่อนชาวบ้านเขาตลอด สมัย 3G ก็เอา 850MHz ไปทำ พอได้สัปทาน 2100MHz ก็เอาไปทำ 4G และ 3G บางส่วน และเห็นว่าจะขายเสา 850MHz ให้กองทุนรวมเอาไปให้รายอื่นเช่า ท้ายสุดถ้าสัปทาน 1800MHz ได้ผมว่าคงเอาไปทำ 4G แทนตัวเก่าหรือขยายเพิ่มด้วย 1800MHz นั้นแหละครับ คิดซะว่า 4G 2100MHz ตอนนี้เป็นตัวคั่นเวลาทำตลาดก่อนเจ้าอื่น
สัปทาน > สัมปทาน
ข้าขอทรยศต่อคนทั้งโลก ดีกว่าให้ใครมาทรยศข้า
ต้องเรียกว่าใบอนุญาตครับ
I need healing.
แป๊ก > แป้ก
นี้ > นี่
นั้น > นั่น
สองอันหลังนี่ไม่เกี่ยว ผมแค่รู้สึกว่าเสียงมันไม่ตรงแค่นั้นครับ เห็นสองท่านข้างบน ไฟบอทในตัวมันลุกโชน :)
ท้ายสุดถ้าได้สัปทาน 1800MHz ผมว่าคงเอาไปทำ 4G
ปล. อย่าถือสาผมเลยครับ XD
การเอา 2100 มาทำ 4G นี่ไม่เห็นคนออกมาโวยว่า 4G ปลอมเลยนะครับ
I need healing.
+1 เงิบเงียบกริบกันหมดแล้ว
หึหึหึ
จริงๆ ผมว่า จะคลื่นไหนมันก็ 4G ปลอมหมดล่ะนะ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
อยากได้ fup เพิ่มมากกว่า สัก 1mb โอเคเลย
+1
ผู้ให้บริการ : 1MB แทนไหม ได้ตัวใหญ่เลยนะ ?
(คำใบ้ : ความเร็วของเครือข่ายมีหน่วยเป็น บิทต่อวินาที)
1 mbps ?
oxygen2.me, panithi's blog
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
ของ AIS มีนะ แบบ 1 Mbps ไม่จำกัด ราคาประมาณพันนึง
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
Blognone จะเข้าประมูลไหมครับ เอาใจช่วย
แล้ว Thaimobile ที่ใช้ 1800 MHz หายไปไหน
ถ้าได้ 1800 MHz ไปเป็นเจ้าของกี่ปี
ขออนุญาต ถามความเห็นเพื่อนๆ หน่อยครับ GPRS น่าจะอยู่ได้อีกกี่ปีครับ เพราะตอนนี้ผมมีลูกค้าใช้เครื่อง GPS Tracking ซึ่งใช้งาน GPRS (2G Quad Band: GSM 850/ 900/ 1800/ 1900) ในการส่งข้อมูลอยู่จำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบันผู้ให้บริการด้านนี้รวมกันทั้งหมดน่าจะมีเครื่องที่ใช้ 2G ไม่ต้ำกว่าแสนคัน (ความเห็นส่วนตัว)