เมื่อวานนี้ (6 ก.พ.) ตัวแทนสมาคมวิชาชีพด้านสื่อและไอทีหลายราย เช่น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ดูแแลเว็บไทย, สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต, สมาคมผู้ผลิตสื่อออนไลน์, กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ได้เข้าพบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอความเห็นต่อร่างกฎหมายดิจิทัล 10 ฉบับ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในชั้นของคณะกรรมการกฤษฎีกา
นายวิษณุ ให้สัมภาษณ์หลังการพูดคุยว่ารัฐบาลต้องการรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยยอมรับว่าร่างกฎหมายชุดนี้มีปัญหาจริงใน 3 ประเด็น คือ
นายวิษณุ ระบุว่าตอนนี้กฎหมายอยู่ในชั้นของกฤษฎีกา จะถอนกลับมาก็คงไม่ได้ แต่จะแจ้งให้กฤษฎีกาทราบว่าอยากให้ภาคเอกชนเข้าไปชี้แจงข้อมูลแก่กรรมการกฤษฎีกาทุกคณะที่ตรวจสอบร่างกฎหมายชุดนี้ และเมื่อร่างผ่านชั้นของกฤษฎีกาไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว รัฐบาลจะขอให้ภาคเอกชนเข้าไปเป็นกรรมาธิการวิสามัญในส่วนของรัฐบาล เพื่อร่วมแก้กฎหมายในชั้นของสภาด้วย
ที่มา - คมชัดลึก
Comments
ถ้ามีปัญหาแล้วปล่อยให้ผ่านไปได้ยังไง? เพิ่งมาอ่าน?
สงสัยคงต้องคำนึงถึงอายุคนปล่อยผ่านเป็นปัจจัย
ใช่ครับ เขาเพิ่งอ่าน
แสดงว่าผ่านโดยไม่เคยอ่าน แล้ว กม. ตั้งหลายฉบับที่เคยผ่านไปเนี่ยก็แสดงว่าไม่เคยอ่านซักฉบับ?!!! ...
https://www.blognone.com/node/65045
ผมว่าไม่ได้อ่านกันหลายคนเลยทีเดียว
สร้างภาระให้ภาคเอกเชน > สร้างภาระให้ภาคเอกชน
แล้วภาคประชาชนล่ะ
ที่กตหมายนี้เรียกตัวเองว่ากตหมายเศรษฐกิจดิจิตอล เพื่อหลบสายตา ปชช. ก็ชัดเจนแล้วว่ายังไงก็จะเอาให้ผ่านแน่ๆ วินาทีนี่ภาคประชาชนไม่ฟังแน่ๆ ภาคเอกชนก็คงจะมีแต่ บ.ฝรั่ง ที่ฟังเพราะกลัวเงินลงทุนจากนอกลดลง แล้วก็ให้ข่าวเน็นสร้างความสับสน ลดเสียงต่อต้าน
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
มีปัญหาแล้วจะทำไม นายกกล่าว
ก็จะให้ผ่านแล้วทำไม ใครสักคนได้กล่าวไว้
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
ใจเย็นๆ ครับ ผมเองได้ไปร่วมประชุมเมื่อวานนี้กับทาง กลุ่มนี้ด้วย ทาง รอง รมต.ยอมรับว่า กม. มีความผิดพลาดจริง และพร้อมที่จะปรับปรุงให้เหมาะสม ตามที่เอกชนและประชาชนต้องการ โดยเปิดให้ ภาคประชาชนเข้าไปร่วมกับทางกฤษฎีกา (หน่วยงานที่สรุปกฏหมายของรัฐ)
ตอนนี้รัฐเปิดทางแล้ว เรามองไปที่เราจะแก้ และปรับกฏหมายกันอย่างไรดีกว่า ตอนนี้ทางกลุ่มองค์กรที่รวมตัวกัน กำลังสรุปประเด็นทั้งหมด แล้วเข้าไปปรับปรุงให้ดีขึ้นครับ มองไปข้างหน้าดีกว่าครับ.! มีอะไรเสนอกันได้เลยครับ.!
:)
Pawoot.com
A6: ปัจจุบันร่างกฎหมายชุดนี้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้ว โดยหลักการแล้ว คณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เสมือน "ช่างเทคนิค" คือ มีหน้าที่ปรับปรุงการใช้คำในร่างกฎหมายให้รอบคอบรัดกุมตรงตามเจตนารมณ์ของผู้ร่าง และแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเท่านั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่มีอำนาจและไม่สมควรใช้อำนาจแก้ไขหลักการสำคัญในร่างกฎหมาย
หลังคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเสร็จ ร่างกฎหมายชุดนี้จะถูกส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้พิจารณา ซึ่งในกระบวนการก็อาจมีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาและแก้ไขในรายละเอียด และอาจเรียกทีมผู้ร่างไปให้ความเห็นในขั้นตอนนี้ได้ แต่ผู้มีอำนาจตัดสินใจที่แท้จริงคือ สนช. ซึ่งสมาชิกสนช.ยังไม่มีท่าทีชัดเจนว่าจะแก้ไขร่างกฎหมายชุดนี้ไปในทางใด หรือไม่
วิธีแก้ง่ายมาก แค่ต่อท้ายกฏหมายทุกตัวว่า "ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม" เท่านี้ก็จบ พวกศรีธนนชัย จะได้เลิกแถ
มันช่วยได้ยังไงครับงง
เป็นอะไรที่สิ้นคิดยิ่งกว่าตัวร่างฯ เดิมอีกนะครับ พวกนึงศรีธนนชัย อีกพวกที่พยายามต้านก็ไดโนเสาร์ดีๆ
คนธรรมดาๆ สามัญต้องมาอยู่ท่ามกลางพวกนี้ทั้งสองฝ่ายนี่ลำบากมากๆ
ศีลธรรมของใครครับ?
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
แบบนี้ยิ่งง่าย กลายเป็นว่าถ้าทำไปเพื่อพวกตัวเอง ก็กลายเป็นศีลธรรมอันดีงาม แต่ถ้าอีกฝ่ายทำบ้างก็จะโดนขัดศีลธรรม โดนถอดถอน?!?!?!?!
คำอ้างที่ไม่มีนิยามชัดเจนนี่แหละทำให้ตีความแบบกว้างได้ตามใจชอบ
สงสัยจัดให้พอเป็นพิธี สุดท้ายน่าจะลงเอยแบบสัมปทานปิโตรเลียม ประมาณว่า ใครว่ายังไงก็แล้วแต่ แต่การตัดสินใจเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี เย้
จัดได้แต่ระเบียนวินตามซอยครับ เรื่องใหญ่ ๆ มือกฐินเขาล็อกไว้ให้เล่นตามสคริปต์แล้ว
ยอมรับ เปิดให้แก้ไขก็ยังด่า. แหม่ คนเกลียดนี่ก็เกลียดจริงๆ - -'
ยอมรับแล้วยังไงต่อ ? เปิดรับฟังแล้วจะแก้ไขตามที่ประชาชนเรียกร้องหรือไม่
รับฟังแค่เอกชนบางกลุ่มหรือไม่ เปิดประชามติไปเลยว่าคนส่วนใหญ่อยากได้หรือไม่
เกลียดครับทำไมตอนเข้ามาไม่ถามประชชาชนมั่งว่าอยากได้ไหม?!?
ถ้ามีคนมาตีหัวท่านแล้วมาทำแผลให้ท่านคงชมว่าคนนี้เป็นคนดีที่หนึ่งเลยใช่มั้ยครับ
ใครเลือกพวกท่านมา
ไม่จริงใจตั้งแต่แรก อย่างนี้ใครเขาจะอยากได้เป็นแฟน
ผมอ่านแค่หัวข้อข่าว ไม่เห็นมีภาคประชาชน
แล้วตอนแรกจะดันผ่านให้ได้..พอกันทีกับคำว่ารับๆไปเถอะค่อยแก้ทีหลัง!!
ขออนุญาตไม่เชื่อนะครับ เพราะไม่จริงใจมาตั้งแต่แรก
กลยุทธ์ทางทหารครับ ตีหัวก่อนแสดงอำนาจด้วยการใส่มาให้แรง ๆ แล้วบอกว่าเรามีเหตุมีผลรับฟังเสียงสะท้อนกลับเดี๋ยวแก้ไขให้ แต่จริง ๆ ก็ตั้งเป้าไว้เท่านั้นแค่ต้องโชว์พาวว่าจะทำมากกว่านั้นก็ได้
ก็ระแวงกันน่าดูอะนะ ก็รอดูต่อไปว่าจะยังไงมีตุกติกไหม
แต่ผมว่าก็คงให้แก้ได้อยู่แหละ เพราะจุดประสงค์ของกฏหมายนี้ก็ไว้หาคนทำผิดทางไซเบอร์พวก ม.112 อะไรอย่างนี้
ไง ๆ ก็คงไม่เป็นแบบตอนกฎหมายนิรโทษกรรมแน่ ๆ อันนั้นลูกตุกติก อะไร ๆ ที่น่าเกลียดจัดมาเต็ม
พูดเหมือนอันนี้ไม่จัดเต็ม
ผมว่าเรื่องจะจับพวกหมิ่นก็แค่ข้ออ้างให้คนเขาเห็นด้วยนะท่าน เพราะยกเรื่องนี้ขึ้นมากล่าวก็จะมีคนกลุ่มนึงยอมแน่นอน แม้แต่ออก กม. ละเมิดสิทธิระดับไหนก็ตาม
เรื่อง กม.นิรโทษผมก็เห็นออกผ่านไป2รอบล่าสุดก็ผ่านฉลุยนะครับจัดเต็มทั้งสองรอบเหมือนกันไม่มีคนว่าอะไร
ตอนนิรโทษกรรมมันประท้วงได้นี้ครับ ถ้าครั้งนี้คนไม่กลัว sniper คงล้นถนนกว่าครั้งนั้นครับ
อย่าลืมสิครับ ตอนนี้เค้านิรโทษกรรมกันเองเรียบร้อยแล้ว พวกเดียวกันรอดหมดทุกคนครับ เรียกว่าจัดเต็มสุดๆ
ส่วนอันนี้เป็นกฎหมายเพิ่มเติมครับ
คุณmode คงไม่ได้อ่านกฎหมายและประกาศคสช. ที่เขาประกาศนิรโทษกรรมตัวเองตั้งแต่อดีตยันอนาคตนะครับ เลยพูดมาได้อย่างไม่ระแวง ว่าเขาจะทำอะไรอีก
ประชาธิปไตย digital
รองนายกฯ ยอมรับแล้วท่านนายกฯ ยอมรับด้วยหรือเปล่า -..-
That is the way things are.
รับๆไปก่อนเดี๋ยวค่อยแก้ทีหลัง #มิตรสหายท่านหนึ่งได้กล่าวเอาไว้
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
พูดตรงๆในขั้นตอนกฤษฎีกาปกติจะไม่มีการแก้ไขเนื้อหาหลัก แค่เปลี่ยนเป็นใช้คำที่เหมาะสมทางกฎหมาย
จะเปลี่ยนต้องแปรญัติในชั้นสนช. ซึ่งสนช.ไม่เคยแสดงออกว่าจะแก้ไขกฎหมายนี้เลย และกฎหมายที่ออกมาส่วนใหญ่ก็แทบไม่มีการแก้ไขในชั้นสนช.เลยสักฉบับ