ในช่วงที่ผ่านมา กระแสการเติบโตของเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (sharing economy) อย่างเช่น AirBNB หรือ Uber ได้รับความนิยมมากขึ้นในบ้านเรา แต่ก็นำมาซึ่งปัญหาของข้อกฎหมายต่างๆ (กรณีของ Uber ในเมืองไทย ลองดูข่าวเก่าจากหมวดได้) ล่าสุดก็มาถึงกรณีของการปล่อยห้องชุด (เรียกภาษาไม่เป็นทางการว่า คอนโด) ให้เช่าแบบรายวันผ่านระบบทางเว็บไซต์อย่างเช่น AirBNB หรือ Agoda เป็นต้น
รายงานข่าวจากเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจระบุว่า นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีการสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำการตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่ ด้านนายวิวัธน์ ศรีเจริญวงศ์ นายกสมาคมบริหารสินทรัพย์แห่งประเทศไทย ออกมาระบุว่าการกระทำลักษณะนี้อาจจะมีความผิดได้ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2478 นอกจากนั้นหากทรัพย์สินเสียหายหรือสูญหาย จะไม่ได้รับการคุ้มครองหรือมีผู้รับผิดตามกฎหมายด้วย ส่วนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) บอกว่าหน่วยงานมีหน้าที่รับผิดชอบกรณีพิพาทด้านสัญญาเท่านั้น
ปัญหาของห้องเช่าในกรอบของเศรษฐกิจแบบแบ่งปันเช่นนี้ แสดงให้เห็นถึงการที่กฎหมายยังไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ
Comments
ปรับตัวไม่ทัน หรือ ไม่คิดปรับตัว กันแน่ ถ้าไม่ปรับตัว เพราะไม่ต้องทำงานเพิ่มก็พอเข้าใจ แต่มันใช่หรือ
ต้องให้เขาปรับตัวอย่างไรหละครับ ในเมื่อการปล่อยห้องเช่าแบบรายวันนั้นมันผิดกฏหมาย
App และเจ้าของร่วมหลายคนทำ ก็เพื่อรายได้โดยไม่มีสำนึกต่อส่วนรวมหรือคนอื่นเลย
คงต้องแยกแยะหน่อยนะครับ เศรษฐกิจแบบแบ่งบัน กับ การเบียดเบียนคนอื่น
ขอคำจำกัดความของคำว่าสำนึกต่อส่วนรวมในเรื่องนี้หน่อยครับ
ไม่กี่วันก่อนเห็นข่าวประเด็นทัวร์จีนมาเช่าคอนโดรายวัน มันจะมีเรื่องที่เข้าไปใช้ส่วนกลางแบบไม่ดูแลรักษา, สร้างความรำคาญใจให้ผู้อาศัยปกติท่านอื่น, ขโมยของใน fitness, และผู้อาศัยท่านอื่นไม่แน่ใจเรื่องความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน (เพราะพวกนี้ใครก็ไม่รู้ มาอยู่แป๊บเดียวก็ไปแล้ว) ก็ประมาณนี้ครับ ผมเห็นใจผู้อยู่อาศัยปกตินะครับ คงอยากอยู่อย่างสงบสุขกันบ้าง
ผมนึกว่าเรื่องการเสียภาษีซะอีก :p
ผมคิดว่า จะลงโทษ คนที่เอาแต่ประโยชน์ส่วนตัว โดยไม่สนว่า ทำผิดกฎระเบียบ, สร้างความเดือดร้อนรำคาญ
ต้องเล่นเรื่อง ภาษี
ย้อนหลัง เอาให้ แสบถึงทรวง ถึงไขกระดูก กันเลย
แบบ ให้เลิกทำกันไปเลย นั่นแหละ
ผมนี้ อยากให้ มีสิบบนนำจับด้วยนะ โหดไปมั้ย
ผมสงสัยมากเลย การปล่อยห้องตัวเองให้คนอื่นเช่ามันไปเบียดเบียนคนอื่นตรงไหน ถ้าคนที่มาเช่าไม่ได้ทำอะไรละเมิดสิทธิของคนอื่น?
นั่นคือกรณีที่ดีที่สุดครับคือผู้เช่าเป็นผู้เช่าที่ดี แต่เรื่องนี้มันไม่สามารถควบคุมได้มันจึงต้องคิดเผื่อไว้ว่าถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาจะมีวิธีการรับมือยังไง ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ
ถ้าท่านเจ้าของห้องอยู่เฝ้า ดูแลผู้เช่า ไม่ให้ทำความเดือดร้อนรำคาญ เจ้าของร่วมอื่นอื่น
ก็ จะ รับพิจารณา
แต่ เจ้าของห้อง อยู่ที่ใด กันนะ
นั่นสิครับ ตอนพิมพ์ก็มือไวไปหน่อย ไม่ทันมองมุมกลับ
บนโลกไอที กฏหมายตามไม่ทันเลย
แถม หากมีข้อพิพาทย์ แล้ว ดูเหมือนจะแทงว่าให้ผิดกฏหมายไว้ก่อน...
พ.ศ.2478 นานแท้
มันเป็นแค่ชื่อพ.ร.บ. ครับ
ทีเรื่องแบบนี้ส่งสอบ แล้วเรื่องการจัดซื้อเกินจริงล่ะไม่เห็นสอบเลย
นั่นสิครับ มันจะเงียบหายไปอีกแล้วใช่มั้ยครับ
เรื่อง ฮาร์ดดิสในตำนาน นี่
ห้ามปล่อยคอนโดให้เช่าหรือครับ
แล้วมาเอาอะไรกับคนทำมาหากินสุจริต นี้มัน innovation นะครับสร้างมูลค่าสินทรัพย์ตัวเอง
ว่างมากไปไล่จับโจรดีกว่าไหม หนีรอดอีกเยอะเลย
อ่านละเอียดรึยังครับ เค้าห้ามพวกเอาคอนโดไปทำห้องพักรายวันแบบโรงแรม
ไม่ได้ห้ามคนซื้อคอนโดมาแล้วเอาไปปล่อยเช่า...
เรื่องของผมอาจจะไม่เกี่ยวเท่าไหร แต่ขอแบ่งปันข้อมูลนะครับ ผมไม่แน่ใจนะเรื่องคอนโดมาเช่ารายเดือน แต่ถ้าเราซื้อ ทาวโฮมน์ ส่งแบ็งเดือนละ 25,000 แล้วปล่อยเช่าได้ 30,000 สรรพากรเรียกเก็บภาษี 25 หรือ 30% ของ 30,00 นี่แหละ
ผมบอกตรงๆ ไม่รู้ว่าความยุติธรรมมันอยูตรงไหน
แล้วมันไม่ยุติธรรมตรงไหนล่ะครับ?
เขาจะอธิบายความว่า รวมกันแล้วมันขาดทุนชนิดย่อยยับครับ แต่ภาษีมันต้องหักจากต้นทุนนิครับ มันจะหักจาก 30000 จริงๆหรือ?
อย่างน้อย ผมเข้าใจว่า 25000 แบ่งมาเฉพาะดอกเบี้ยเอาไปลดหย่อนภาษีได้ครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
รวมกันแล้วขาดทุนย่อยยับ? ภาษีมันต้องหักจากต้นทุน? ยอดส่งแบงค์ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับการปล่อยเช่าครับ สรุปจากข้อมูลที่บอกมาทั้งหมดแล้วนั่นผมก็ได้ข้อมูลแค่เพียงว่า ผู้ให้เช่ามีรายได้จากการปล่อยเช่า 30,000 บาทครับ
30000 นั่นก็ต้องเอาไปคิดภาษีนั่นล่ะครับ
ถ้ากะว่าส่งแบงค์เดือนละ 25000 แล้วปล่อยเช่าเดือนละ 30000 กินเหนาะๆ เดือนละ 5000 แถมส่งครบได้ asset มาทำทุนอย่างอื่นต่อได้อีก.... ก็ดูจะเป็นการจับเสือมือเปล่าที่ไม่เห็นเหตุต้องงดเว้นภาษีนะครับ
ยังมองไม่ออกว่า "ไม่ยุติธรรมตรงไหน?"
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
เอ่อ ผมว่ามันก็ปกตินิ 30,000 คือรายได้ ก็ต้องเอามาคิดภาษีก็ถูกต้องแล้วนิครับ
ไม่อย่างนั้นคนที่เค้าซื้อสด จะคิดภาษียังไงล่ะ?
ซื้อบ้านก็เอา 25000 ไปลดภาษี ก็ต่างหาก
ส่วน 30000 คือรายได้จากการประกอบธุรกิจ มันก็แยกกันถูกต้องแล้วนิ
เพื่อนผมส่งคอนโดเดือนละ 12000 แต่ปล่อยเช่าห้องเดือนละ 8พันก็เสียภาษีจาก 8 พันเหมือนกัน
ถ้าคิดแบบที่คุณว่าไม่ขาดทุนย่อยยับกว่ารึ?
ถ้าไม่นับพวก AirBNB การปล่อยเช่าห้องปกติต้องมีใบอนุญาตอะไรไหมครับ
เช่ารายเดือน รายปี ไม่เป็นปัญหาอะไรครับ
น่าจะมีการทำสัญญากันก่อนให้เข้าอยู่
เรื่องเอาผิดกับประชนคนทำมาหากินนี่ถนัดจังนะครับ ไม่คิดจะสอบสวนเรื่องกล้อง CCTV หน่อยเหรอ (ผมติดใจเรื่อง DVR ความละเอียดต่ำแค่ 576p ทำไมราคาเป็นแสนๆ) เรื่ีอง Harddisk ไม่รู้รายละเอียด แต่ DVR 576p ราคาแสนห้านี่รับไม่ได้
แล้วผมจะซวยไหมเนี่ยให้เขาเช่าด้วย อยู่แฟลตดินแดง
ที่มีปัญหาคือ การนำคอนโดมา 'ปล่อยเช่าแบบรายวัน' ครับ
ซึ่งไม่สมควรอยู่แล้ว
สิ่งที่ต้องแก้คือต้องให้ลงโทษหนักขึ้นอีก สำหรับคนฝ่าฝืน
คนที่อาศัยอยู่ในคอนโดต้องมาแบกรับความเสี่ยงคนเข้าๆ ออกๆ แบบรายวัน
จริงครับ
ที่คอนโดก็เจอปัญหานี้อยู่
+1 พวกอ้างทำมาหากินแบบผิดกฎหมายนี่สมควรโดนให้หนักครับ
อืม เป็นอีกมุมนึงที่ผมนึกไม่ถึงแฮะ
ป.ล.ผมไม่มีห้องให้เช่าครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
+1 ครับ คนสมัยนี้คิดแค่ตัวเอง จะหาเงินอย่างเดียวไม่มองให้รอบด้าน
คืออยากรู้ว่า ถ้ากรณีปล่อยเช่าแล้วไม่ผิดกฏหมายเนี่ย เกิดผู้เช่ากระทำผิดอะไรขึ้นมา เช่นไปทำลายทรัพย์สินห้องข้างๆ หรือไปขโมยของ เจ้าของห้องที่ปล่อยเช่าต้องรับผิดชอบอะไรไหมครับ? (ในทางกฏหมาย) หรือห้องข้างๆต้องไปไล่ล่าหาคนร้ายเอาเอง
+1 คิดไม่ถึงเลยครับ
เป็นข้อเห็นแย้งต่อการทำธุรกิจแบบนี้ที่น่าสนใจและผมเห็นด้วยนะ อาจจะต้องกวดขันให้มากขึ้น หรือออกฎหมายที่มีระเบียบขั้นตอนต่อการเช่าแบบรายวันให้รัดกุมเพื่อลอความเสี่ยงคนเข้าๆ ออกๆ แบบรายวัน และมาตรการความรับผิดชอบสำหรับผู้ปล่อยเช่าหากเกิดร้าย เพื่อให้การปล่อยเช่ารัดกุม สร้างความปลอดภัยต่อเพื่อนบ้านใกล้เคียง รวมไปถึงระเบียบขั้นตอนการเสียภาษีเพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบต่อคนทำธุรกิจเดิมด้วย
+1 ครับ การปล่อยเช่าแบบรายวัน โดยที่ไม่ได้เป็นโรงแรม ผิด พ.ร.บ. โรงแรมครับ ที่คอนโดผมติดประกาศอยู่ครับ ก็เหมือนกับหอพักรายเดือนมาเปิดแบบรายวัน ก็ผิดเหมือนกันครับ
ผมรู้สึกแบบเดียวกันเลยครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ที่คอนโดฯ ผม มีคนไปค้น AirBNB เจอเพื่อนร่วมคอนโดฯ เอาไปปล่อย เอามาแจ้งนิติฯ หลังจากนั้นก็ประกาศห้ามเป็นทางการครับ เพราะคนในคอนโดฯ ก็ห่วงเรื่อง "คนที่อาศัยอยู่ในคอนโดต้องมาแบกรับความเสี่ยงคนเข้าๆ ออกๆ แบบรายวัน" แบบที่ท่านว่ามา
ไม่รู้ยังมีใครแอบปล่อยอยู่ไหม แต่ถ้าเจอนิติฯ ก็จัดการครับ
อยากรู้ว่าเค้ามีมาตรการจัดการอย่างไรครับ
เท่าที่ผมจำได้ก็จะเป็นพวกตัดน้ำ ตัดการ์ด ตัดสแกนลายนิ้วมือที่เป็นบริการจากส่วนกลางน่ะครับ
ประเด็นสำคัญคือไม่เสียภาษีไงครับ
ผมว่าน่าเกิดจากเหตุระเบิดหรือเปล่า เลยรีบเข้มงวด พอสักพักก็หายเงียบ
สักพัก ก็ ....... เงียบ
เห้อ ....
ไม่ชอบคำว่าเศรษฐกิจแบบแบ่งปันเลย ทั้งการเช่าช่วง
และ uber
เหมือนเป็นคำพูดเก๋ๆ ไว้เลี่ยงภาษี เลี่ยงกฎหมาย
ถ้าแบ่งปันจริงก็ต้องไม่คิดเงินสิ -_-"
Happiness only real when shared.
ยังไม่มีศัพท์ทางการ คงต้องใช้รูปแบบนี้ไปก่อนนะครับ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ถ้ามองในแง่ลบก็จะเห็นแต่มุมที่เป็นแง่ลบครับ นวัตกรรมมันเกิดขึ้นได้ตลอดซึ่งตัวมันเองก็สามารถส่งผลได้ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะทำยังไงที่จะส่งเสริมหรือสนับสนุนด้านบวก และควบคุมไม่ให้ด้านลบสร้างผลกระทบกับสังคมโดยรวม
ก็ดีครับ จะได้ปลอดภัยขึ้นอีกหน่อยครับ เพราะเราไม่รู้ว่าคนที่เช่าจะมีอะไรผิดปกติหรือรุนแรงหรือเปล่า แถมจะพาเจ้าของห้องซวยด้วย
Get ready to work from now on.
uber airbnb
ชวนเจ้าของ รถ/ห้อง/บ้าน ทำผิดกฎหมาย
รึเปล่า?
แล้ว เขาได้% จากการบริการของเรา เขาจะผิดอะไรด้วยมั้ย
ผมเคยสงสัย เสมอ เรื่อง คุณภาพการบริการ ของ taxi ปกติ กับ uber
เห็น หลายคน ญาติด้วย ชมว่า บริการดี มีน้ำแถม มีโปรราคาถูก นั้นนี้
ทีนี้ ที่ ผมสงสัยคือ ทำไม เจ้าของรถ ไม่เอารถตัวเองไป ทำเป็น taxi meter ให้ถูกต้อง
ติดขัดปัญหาอะไร ขับกับ uber ด้วยรถ taxi ที่ถูกต้อง ได้มั้ย?
ค่าบริการที่อาจแพงกว่า รึเปล่า?
หรือ ไม่กดมิเตอร์ คือ ผิด รึเปล่า?
หรือ ไม่อยากมีป้าย taxi บนหลังคารถ?
หรือ ไม่อยากเสียภาษี ค่าธรรมเนียม ขึ้นทะเบียน?
คอนเซพท์ของ sharing economy คือ "เวลาคุณมีสมบัติอะไรซักอย่าง คุณไม่ได้ใช้มันตลอดเวลา ทำไมช่วงนี้ไม่ได้ใช้ไม่เอาออกมาให้คนอื่นยืมล่ะ" เช่น คุณมีบ้านหลายหลัง แต่หลัก ๆ คุณอยู่หลังเดียว หลังอื่นไว้ใช้ไปเที่ยวบ้าง พักผ่อนบ้าง คุณก็เลยปล่อยให้เช่าเป็นครั้งคราว ดีกว่าคุณปล่อยให้มันอยู่เฉย ๆ
จริง ๆ มันเป็นอะไรประมาณนี้ครับ แต่ Uber นี่ดันทำซะกลายเป็นอาชีพเลย AirBNB ก็เหมือนกัน หลายคนเลยซื้อบ้านหรือห้องมาไว้ปล่อยเช่าโดยเฉพาะไปเลย
คือถ้าดูในแง่คอนเซพท์ ผมชอบนะ เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด แต่ก็อย่างที่หลาย ๆ ความเห็นบอกแหละครับ มันก็มีข้อเสียของมัน โดยเฉพาะเจ้าของทรัพยากรที่ล้ำเส้นคอนเซพท์ที่ว่า
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
concept ชวนฝันก็เป็นแบบนั้นแหละครับ แต่ในโลกจริง มันคือการหาช่องโหว่ของกฎหมาย แล้วสร้างบริการใหม่ที่เลี่ยงจากกฎหมายเดิม โดยลดต้นทุนจากข้อบังคับทางกฎหมาย เช่นต้่องจดทะเบียนรถสาธารณะ ทำประกันรถสาธารณะ มีใบขับขี่สาธารณะ หรือปล่อยเช่าห้อง ก็ไม่ต้องทำตามกฎหมายธุรกิจโรงแรม ไม่ต้อ่งจดทะเบียน ไม่ต้องมีอุปกรณ์ความปลอดภัยครบ ฯลฯ และที่สำคัญคือไม่ต้องเสียภาษี
มีบทวิเคราะห์ของตปท.อันนึง พูดประมาณว่า ระบบsharing economy คือการทำลายสิ่งที่คนรุ่นก่อนเรียกร้องให้ออกกฎหมายมาเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพสาธารณะลง
พูดเท่ๆ กฎหมายไม่เท่าทันเทคโนโลยี แต่พูดตรงๆคือ คุณเลี่ยงข้อบังคับสาธารณภัยต่างๆ เพื่อลดต้นทุน แล้วมาสร้างภาพสวยหรูกับผู้ใช้และผู้ลงทุน
ถ้าเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงสักที ก็คงมีคนด่ารัฐแทนที่จะด่าบริษัท ว่าทำไมรัฐไม่ออกaction เร็วกว่านี้....
เอ อันนี้ผมไม่รู้นะครับว่าคนคิดคนแรก ๆ เค้าคิดยังไง เขาอาจจะคิดดีก็ได้ แต่ดันส่งผลเสียมหาศาลอย่างไม่คาดคิด (แล้วอาจจะกลับตัวก็ไม่ทันซะละ ก็เลยยาวไป)
ส่วนตัวผมคิดว่ามันควรจะปรับกันทั้งสองฝ่าย ฝ่ายเอกชนก็ควรจะหาทางป้องกันไม่ให้มันผิดคอนเซพท์ ไม่ใช่เล่นแง่เหมือนที่ Uber ทำ ฝ่ายรัฐก็ต้องรีบควบคุมให้ทัน เพราะเราก็เห็นกันอยู่ว่าเอกชนแย่ ๆ ลีลาเยอะขนาดไหน
สุดท้ายมันก็เลี่ยงไม่ได้ที่รัฐจะต้องออกมาปรับตัวให้ทันอยู่ดี ไม่งั้นเอกชนก็จะลงมาเล่นกับเรื่องนี้ทุกอย่าง คงไม่ใช่แค่บ้านกับรถแล้ว
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ถ้าใครไม่ได้อยู่คอนโดเองหรือมีคอนโดเอาไว้ปล่อยเช่าอย่างเดียวคงไม่รู้ว่าการ "ปล่อยเช่ารายวัน" ห้องชุดของตัวเองมันสร้างปัญหาให้กับลูกบ้านคนอื่นแค่ไหน เรื่องความปลอดภัยนี่หดหายไปเยอะเลยใครก็ไม่รู้เข้าๆออกๆได้ตลอดเวลา แล้วจะมีคีย์การ์ดไว้ทำใม ระบบรักษาความปลอดภัยก็ไม่ได้ถูกออกแบบไว้รองรับแขกแปลกหน้าทุกๆวันเหมือนที่โรงแรมมี คอนโดของผมนี่บ่อยมากเป็นฝรั่งแบ๊คแพคมากันเลยเป็นกลุ่มมาอยู่วันสองวัน อยู่เข้าห้องกันก็คงนึกว่าอยู่โรงแรมกินเหล้าแหกปากโวยวายก็บ่อย พอมีปัญหาจะเอาเรื่องก็ทำไรไม่ได้มากเพราะคนเช่าก็ออกไปแล้วไม่ใช่อยู่นานหลายเดือนที่สามารถตามเรื่องได้ ไม่นับเรื่องส่วนกลางสระน้ำนี่นึกว่ามีปาร์ตี้กัน มันจะทำให้ส่วนกลางโทรมเร็วมากครับเพราะเค้าไม่ได้ถนอมอะไรไม่เหมือนลูกบ้านที่ค่อยๆใช้เพราะกลัวพังแล้วต้องจ่ายตังค์ซ่อม
อันนี้ยังไม่นับเรื่องการเก็บภาษีนะ เพราะภาษีอาคารที่พักอาศัยมันคนละเรทกับโรงแรม (กฏหมายต่างกัน) airbnb นี่ดูๆไปจะมีปัญหาแทบไม่ต่างกับ uber เลย
มุมมองนี้เอง เข้าใจละครับ
พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2478 บ้านเราไม่ อัพเดตมา 80 ปีเลยเหรอ ปัญหาบ้านเราเคือ ประชาชนไม่รู้จักหน้าที่ สส. หรือ สส. ไม่รู้จักหน้าที่ตัวเองกันนะ
อาจมีแก้บางมาตราแต่ พ.ศ. เดิมครับ
มุมมองผม "สส. ไม่ทำหน้าที่" แน่ๆครับ
แต่ละคนมาเป็น สส. (ฝ่ายนิติฯ)
จริงๆ เพราะอยากจะเป็น รมต. นายก (ฝ่ายบริหาร)
แถม สส. เป็นคนโหวต นายก
ทำให้ ฝ่ายนิติฯ และ ฝ่ายบริหาร เป็นคนกลุ่มเดียวกัน
ฝ่ายนิติฯ จึงไม่เคยค้านอะไรฝ่ายบริหาร ชงกฏหมายอะไรมาก็ยกผ่านตลอด
ฝ่ายบริหาร กินมูมมามยังไง สส. ก็โหวต ชนะมติไม่ไว้วางใจตลอด
และเพราะใจไม่ได้เป็น ฝ่ายนิติฯ
จึงไม่มีความคิดจะตรวจตรา update กฎหมายที่ตกยุค เลย
หน้าที่อย่างเดียวของ สส. คือ "ยกมือตามมติพรรค"
สมง สมอง ไม่ต้องใช้ ตามพรรคอย่างเดียว
เรื่องส.ส.ไม่ทำหน้าที่ ก็ขึ้นกับมุมมอง
แต่เรื่องกฎหมาย ปกติแล้วเราจะใช้วิธีแก้ไขเพิ่มเติม พรบ. หรือแก้ไขกฎกระทรวงนะครับ อย่างพรบ.จราจร พ.ศ.2522 ก็มีหลายมาตราที่เพิ่ง updateไปปีที่แล้วนี่เอง(เรื่องเมาแล้วขับ) ไม่ใช่ว่าทุกมาตราจะเก่า ตามชื่อปีพ.ศ.สักหน่อย
รวมไปถึงพรบ.การโรงแรมก็เพิ่งเปลี่ยนพรบ.ใหม่เป็น 2547 นะครับ
ส่วนการออกกฎหมาย ก็ควรต้องมีการกลั่นกรองพอสมควร หรือจะเอาอย่างสนช.แต่งตั้งโดยรบ.ทหาร ไม่ต้องกลั่นกรองอะไรทั้งนั้น แค่ยกมือโหวตผ่านพรบ.นับร้อยฉบับ ภายในเวลาไม่นาน แล้วก็มีกฎหมายพิกลพอการ แบบพรบ.คุ้มครองสัตว์ที่บทลงโทษรุนแรงกว่า การทำร้ายมนุษย์ด้วยกัน หรือแก้ไขการครอบครองสื่อลามก ที่มีโทษราวกับครอบครองยาเสพติด?
เดี๋ยวนะ ข่าวต้นทางนี่ยังไง ฉบับ พ.ศ. 2478 ยกเลิกไปแล้วนี่ (พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ๒๕๔๗)
ปัญหาหลักๆ คงเป็นเรื่องคอนโดที่มีส่วนกลาง (บ้านหมู่บ้านก็น่าจะเหมือนกัน)
แต่ถ้าเป็นบ้านเดี่ยวและไม่มีปัญหากับนิติฯ น่าจะไปแจ้งเป็นสถานที่พักไม่เป็นโรงแรมได้
lewcpe.com, @wasonliw
ผมก็เช่าคอนโดเหมือนกัน(รายปี) เห็นด้วยว่าต้องเข้มงวดนะ ที่คอนโดผมก็มีติดประกาศว่าเช่ารายวันผิดกฎหมาย อ่านหลายความเห็นกลับไปด่าฝ่ายรัฐเสียนี่ เป็นงั้นไป