อาจไม่เกี่ยวกับวงการไอทีตรงๆ แต่เมื่อนับว่าเป็นคำชี้แนะจากแอนดรูว์ อึง (Andrew Ng) ผู้ร่วมก่อตั้ง Coursera เว็บไซต์คอร์สเรียนออนไลน์ และเป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์จาก Baidu ก็ขอนำมาเล่าตรงนี้ครับ
มีคำถามหนึ่งใน Quora ถามถึงเขาว่า มีคำแนะนำอะไรสักอย่างหนึ่งถึงเหล่านักเรียนบ้างหรือไม่? เขาก็ตอบว่า เมื่อคิดว่าจะใช้เวลากับอะไรสักอย่าง ให้คำนึงถึงสองข้อนี้ คือ สิ่งที่กำลังจะทำนั้นจะเปลี่ยนแปลงโลกได้หรือไม่ และ คุณจะได้เรียนรู้อะไรกับการทำสิ่งนี้ (ต่อด้านในครับ)
เขาอธิบายต่อว่า สังคมสมัยนี้ให้โอกาสผู้คนแต่ละคนได้เปลี่ยนแปลงโลก ทั้งเทคโนโลยี เครื่องมือสมัยใหม่ ทำให้ความคิดและผลิตภัณฑ์ถูกแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว หากของดีจริง ก็จะได้ช่วยผู้คนได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นถามตัวเองว่า สิ่งที่คุณมุมานะทำอยู่ นอกจากสนองความต้องการตัวเองแล้ว ยังได้มีส่วนช่วยผู้อื่นหรือเปล่า ถ้าไม่ ลองหาอย่างอื่นดู ไม่อย่างนั้นชีวิตจะมีค่าไม่เต็มที่เท่าที่จะมีในชีวิตนี้
อีกประการคือ คุณยังเยาว์ อย่าดูถูกคุณค่าของการศึกษา คำว่ายังเยาว์ของแอนดรูว์คืออายุน้อยกว่า 100 ปี อะไรก็ตามที่คุณเรียนรู้ไปจะมีประโยชน์กับตัวแน่แต่อาจใช้เวลาหน่อย และพอเรียนจบไป ก็ไม่มีใครมาจ้ำจี้จ้ำไชให้คุณเรียนรู้หรืออ่านหนังสือ ดังนั้นคุณต้องกระตุ้นตัวเองให้รู้สึกสนุกกับการอ่าน การคิด การส่งต่อความรู้ที่คุณเพิ่งอ่านมา เมื่อทำแบบนี้บ่อยๆ เข้า คุณจะช่ำชองในเรื่องนั้นๆ
เขายกตัวอย่างวิธีการอ่านของเขาว่าใน Kindle เขามีหนังสือกว่าพันเล่ม ใช้เวลาอ่านหนังสือหมวดต่างๆ ทั้งผลวิจัย, ชีวประวัติคนที่ชอบ อีกทั้งยังชอบพูดคุยกับคน ซึ่งเขาจะได้ความรู้อะไรจากบทสนทนาอยู่ตลอด เมื่อเห็นตัวอย่างความสำเร็จจากคนอื่นๆ ก็จะเป็นแรงบันดาลใจให้คุณคิดเปลี่ยนแปลงโลกด้วยมือคุณเอง
Comments
พูดได้ดี
เมืองไทยนี่เด็กจบใหม่จะพูดอะไรใครก็ไม่ฟัง แถมยังโดนผู้ใหญ่ว่าอีก ฉันอาบน้ำร้อนมาก่อนแกนะ
ผมมองต่างนะ เด็กจบใหม่ที่พูดอะไรแล้วคนอื่นไม่ฟัง เพราะไม่ฟังคนอื่นมาก่อนรึเปล่า
ถ้าความคิดเอามาแชร์กันแล้วยอมรับซึ่งกันและกันผู้ใหญ่ก็ฟังนะ ถึงจะได้บ้างไม่ได้บ้างก็เถอะ
ยิ่งดูนโยบายการศึกษายุคนี้ การออกนอกระบบ(รัฐ แต่กลายเป็นเผด็จการบอร์ด)ของมหาวิทยาลัยไทยแล้ว คงกะว่าจะเริ่มกดรุ่นต่อไปตั้งแต่ยังเรียนอยู่เลย
เอาเป็นว่าเพื่อนผมที่เป็นเจ้าของกิจการรอรับแต่ต่างด้าวหลังเปิด AEC ล่ะ
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
ถ้าพูดแบบนี้ ก็ไม่มีคนฟังครับ
ลองมองดูง่ายๆ ว่า
ผู้ใหญ่ที่จะไปพูดถึงนั้น คิดยังไง มองอะไรแบบไหน
พูดกับคนที่เขาไม่ฟัง เค้าก็ต้องไม่ฟังอยู่แล้ว
พูดเรื่องที่เขาไม่ฟัง ไม่สนใจ เค้าก็ต้องไม่อยากฟังอยู่แล้ว
มันเสียเวลาเขาไหม มานั่งฟังเด็กคนนึงที่มีเป้าหมายไม่ตรงกัน
ตัวคนที่พูดนั้น พูดเพื่ออะไร แล้วเป็นคนแบบไหน
ความคิดเจ๋งๆ ที่เชื่อมั่นในตัวเองเหลือเกินนี่ ได้ลองทำแค่ไหน พิสูจน์อะไรมาแค่ไหน
มองกว้าง มองลึก แค่ไหน รอบคอบขนาดไหน
ตัวเองยังทำตัวง๊องแง๊ง เค้าก็มองว่าไร้สาระครับ
ถ้าจะมีดีอะไรข้างใน ก็ช่วยเอาออกมาแสดงให้ชัดด้วย...
มันไม่เกี่ยวกับเมืองไทย หรือที่ไหนหรอกครับ
(แม้ว่าภาพรวมจะมีผล แต่ถ้ายังเป็นคนที่ไม่โดดเด่นเหนือภาพรวม อย่าไปหวังอะไรมาก ไม่ว่าที่ไหนๆ)
ทำใจครับ ระบบอาวุโสของไทยมันเข้มข้น ขนาดผมเรียน IT ผมยังเคยโดนพ่อว่าตอนเลือกแท็บเลตเครื่องแรกเลยว่า อย่างแกจะไปรู้อะไร ส่วนหลังจากซื้อมาแล้วก็ได้ไอ้คนที่รู้อะไรคนนี้ล่ะที่คอยแก้ปัญหาเวลาใช้งานไม่ได้ใช้งานไม่เป็นให้ นี่ขนาดคนในบ้านที่รู้จักกันดีนะ คนนอกบ้านนี่ไม่อยากพูดถึงเลย อยากลืมๆ ไปซะ
คนนี้เองเรอะผู้คิดค้น pcfaster
คำนึก ?
วันนี้ก็เจอโพสต์ที่ชอบเอาความเชื่อผิดๆ มาฝังหัวชาวเน็ตถูกแชร์มาอีกระลอก
(function(d, s, id) { var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0]; if (d.getElementById(id)) return; js = d.createElement(s); js.id = id; js.src = "//connect.facebook.net/en_US/sdk.js#xfbml=1&version=v2.3"; fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs);}(document, 'script', 'facebook-jssdk'));
capture แทนดีกว่าเหมือน facebook มัน error ครับ
อ่อไว้ครั้งหน้าครับ พอมี Reply แล้วผมกลับไปแก้ไม่ได้
ก็อปโค้ดแชร์มาดีแล้วถูกต้องแล้วครับ ตามต้นทางง่ายกดไลค์กดแชร์ได้ แต่มันมีสคริปต์ส่วนนึงที่ที่นี่ดักไว้ ลบด้านหน้าออก (ส่วนที่มองเห็น) ที่เหลือก็ขึ้นได้ปกติครับ
จริงๆผมไม่เห็นด้วย ที่เราปลูกฝัง ความเชื่อ เรื่องการศึกษา ผมเชื่อใน ประสบการณ์ และการเรียนรู้มากกว่า
เรื่องจริงคือ หลายคนที่ จบสูงแต่ทำอะไรไม่เป็น (ผมคนนึง)
เกาหลีใต้เจอปัญหาเดียวกันนี้ตั้งแต่ปี 1980 และเขาแก้แล้ว แต่ยังไม่หาย ขาด
หลายคนบอกให้ลูกไปเรียน เรียนสูงๆ แต่กลับไม่รู้ว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร แม้กระทั่ง ดร ก็ทำซาลาเปาไม่เป็น
อเมริกา เขาไม่สนหรอกว่าคุณจบอะไรมา เขาสนแค่ทำงานได้ไหม (แต่เรายังสร้างความเชื่อให้เด็กไปเรียน) แทนที่จะสร้างความเชี่ยวชาญในอาชีพ
เราตีความหมายไปคนละอย่างครับ ซึ่งหลายคนก็อาจจะตีความหมายจากรูปนี้ผิวเผินไปว่าเรียนกับไม่เรียน แต่จริงๆ สิ่งที่เราต้องปลูกฝังคือเรื่อง "ความรู้" ครับ ซึ่งความรู้สมัยนี้เราสามารถหาได้จากหลายแหล่ง แต่ที่สุดแล้วการที่จะเรียนรู้ได้ไวที่สุดก็คงต้องเรียนในระบบ แต่ว่าตัวระบบก็จำเป็นต้องปรับปรุงและปรับตัวให้กับยุคสมัย
และแม้แต่คนที่ชอบเอามาอ้างอย่าง Steve Jobs หรือ Bill Gates ก็รู้ถึงความสำคัญของการศึกษา
"จะรู้ได้ไวต้องเรียนในระบบ" อันนี้ผมว่าไม่จริงเสมอไปครับ ลองถ้าไม่ใช่สิ่งที่สนใจ จะเรียนแบบไหนก็เก๊ทช้า แต่เผอิญว่าบางทีสิ่งที่สนใจมันดันเป็นสิ่งที่ระบบ(สังคม)บอกว่ารู้ไปก็กินแกลบ จะรู้ทำไม เอาตามๆเขานี่ล่ะเพลย์เซฟ
มันก็คงต้องมีข้อยกเว้นบ้างแหละครับ มันไม่สามารถพูดได้ว่า 100% และที่บอกมาก็หมายถึงสำหรับคำทั่วไป ไม่ใช่ส่วนน้อยที่เป็นข้อยกเว้น การเรียนในระบบมันคือการเรียนรู้จากประสบการณ์คนอื่นที่มีการจัดการเรียนรู้ไว้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนมีทิศทางที่แน่นอน เรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายๆ สิ่งหนึ่งแล้วค่อยๆ ต่อยอดไปเรื่องที่ยากขึ้นเป็นลำดับ ส่วนการเรียนนอกระบบมันก็อยู่ที่ว่าสิ่งที่เราเรียนนั้นมันเหมาะสมหรือเปล่าไปถูกทิศทางหรือเปล่า จะเรียนหมอแต่จะให้ไปหาแอบขุดศพมาศึกษาเองแบบสมัยแต่ก่อนมันก็ยังไงๆ อยู่ครับ
ในที่สุดผมก็รู้ว่านามสกุลเค้าอ่านว่า อึง -..-
แซ่อึ้งไงครับ บ้านเราก็มีเยอะ ถ้าเป็นแต้จิ๋วออกเสียงเป็นแซ่โง้ว ถ้าเป็นจีนแคะก็เป็นแซ่อึ่ง จีนกลางเป็นแซ่อู๋
อันนี้คนละ อึ้ง กับบ้านเรานี่ครับ แซ่อึ้งในไทยนี่แต้จิ๋วนะ (อันเดียวกับแซ่หวงในจีนกลาง)
ส่วนคนนี้แซ่อึง (กวางตุ้ง) = แซ่อู๋ (จีนกลาง)
+1 เคยเซิร์จหาว่าอ่านยังไงยังหาไม่เจอเลย 555
Baidu
แค่คำนี้คำเดียว ก็รู้ว่าไม่มีจรรยาบรรณ