ที่ผ่านมาเราอาจจะเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้งถึงเรื่องการใช้อุปกรณ์ไอทีแบบสวมใส่ (wearable devices) ว่ามีข้อจำกัดมากมายในการตรวจที่ให้ผลอย่างแม่นยำ ล่าสุดวารสารทางการแพทย์อย่าง JAMA Internal Medicine ของสมาคมแพทยศาสตร์อเมริกัน ออกมาเผยแพร่งานวิจัยขนาดสั้นชิ้นหนึ่งจากคณะแพทย์ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยระบุว่าแม้แต่คุณสมบัติพื้นฐานอย่างการวัดกิจกรรมร่างกาย หรือการเผาผลาญของร่างกาย ก็ยังมีความไม่แม่นยำ
งานวิจัยดังกล่าวได้เปรียบเทียบอุปกรณ์ไอทีแบบสวมใส่ที่เอาไว้วัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวของร่างกาย (มีอุปกรณ์ยอดนิยมอย่าง Fitbit และ Jawbone ด้วย) จำนวน 12 รุ่น เทียบกับวิธีทางแพทย์สองวิธีคือ metabolic chamber ที่ตรวจหาการเผาผลาญและการใช้พลังงานของร่างกายใน 24 ชั่วโมง และ doubly-labeled water (DLW) ที่ตรวจหากิจกรรมการเผาผลาญของร่างกายใน 15 วัน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่ 19 คน ที่ต้องสวมใส่อุปกรณ์ทั้ง 12 ชิ้น (ใส่ยังไงอันนี้ไม่ได้บอกนะครับ) เทียบกับวิธีการตรวจหาที่เป็นมาตรฐานทั้งสองวิธีข้างต้น พบว่าอุปกรณ์ไอทีแบบสวมใส่เหล่านี้ ให้ค่าผิดไปจากวิธีปกติทางการแพทย์ไปมาก
ผลจากอุปกรณ์เมื่อเทียบกับวิธีแรก (metabolic chamber) ให้ค่าที่แกว่งมากตั้งแต่ต่ำกว่าวิธีปกติ 278 kcal ไปจนถึงเกินไปกว่า 204 kcal (ค่าที่วัดได้จากวิธีแรกอยู่ที่ 2,093 kcal) และเมื่อเทียบกับวิธีที่สอง (DLW) ซึ่งค่ากลางอยู่ที่ 2,314 kcal อุปกรณ์เหล่านี้ก็ให้ค่าเพี้ยนโดยให้ค่าต่ำกว่าจริง ตั้งแต่ 69 kcal ไปจนถึง 590 kcal ซึ่งถึงแม้ทีมวิจัยจะระบุว่า อาจมีในบางช่วงที่กลุ่มตัวอย่างไม่ได้ใช้อุปกรณ์เหล่านี้เพราะต้องชาร์จแบตเตอรี แต่ก็เพียงพอที่จะสรุปได้ว่ามีความไม่แม่นยำเพียงพอ
ที่มา - MedPageToday, งานวิจัยต้นฉบับ (ต้องเป็นสมาชิกหรือเข้าผ่านหน่วยงานที่เป็นสมาชิก)
ภาพโดย Intel Free Press (สัญญาอนุญาต CC BY-SA 2.0)
Comments
เอาแบบร้อยเปอร์เซ็นต์มันยุ่งยาก เอาแบบคร่าวๆก็ได้พอได้มั่ง
ผมใส่แค่เพราะต้องการ wristbandสวยๆ กับนาฬิกาปลุกแบบสั่นที่ข้อมือเงียบๆ แค่นั้นแหละ555
เห็นด้วยสุด ๆ ครับ
ทุกวันนี้ใช้ Fitbit ใส่เข้านอนด้วย แต่มันก็เห็นว่าผมเดินระหว่างนอน ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้
เอาจริง ๆ ของแบบนี้มันไม่มีอะไร accurate หรอกครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
คุณอาจจะมีอาการ Sleepwalking ก็เป็นไปได้นะครับ 555
Microsoft Band ไม่ว่าจะหลับแบบกดว่านอนหรือไม่กดก็ไม่เคยเจอเคสนั้นครับ เว้นแต่ตื่นมาทำอะไรจริงๆ
อ่าวแล้วทำไม ผมรู้สึกกลัว 5555
ต้องตั้งกล้องเซ็คแล้วมั้งเนี่ย อาจจะละเมอมาเดินก็เป็นได้
นึกถึงหนังเรื่อง panorama activity เลยครับ ลุกมาเดินตอนกลางคืน
ราคาเครื่องมือแพทย์ที่ใช้กับราคาของ fitbit ต่างกันกี่เท่าล่ะครับ
ในฐานะที่เป็นคนทดสอบแบบพอสมควร ตั้งแต่ทดสอบมามันก็ไม่เคยเท่ากันสักตัวแหละครับ แต่พวกรุ่นเดียวกันค่าจะใกล้เคียงกัน ผมบอกเสมอว่าด้วยหลักการปัจจุบันมันไม่มีทางบอกค่าที่ถูกได้เวลามีคนถามว่าตัวไหนแม่นกว่ากัน
ทั้งนี้ทั้งนั้นมันทำได้ดีในการเปรียบเทียบค่ากับตัวมันเองในแต่ละวันครับว่าวันนี้มากน้อยกว่าเมื่อวานขนาดไหนอะไรพวกนี้
ทั้งนี้ทั้งนอนหลังจากในรูปแล้วยังมีอีกหลายตัวครับ ถ้าเรื่องสวมใส่แล้วโอเคแบบไม่สนอย่างอื่นผมให้ Garmin vivo smart HR กับ Mi Band 1s แล้วกัน ตัวอื่นใส่แล้วทรมานชีวิตกว่ากันเยอะ แต่แอพ Garmin มันกีคมากครับ เยอะดี ผมชอบ แต่ใช้แล้วอาจงงได้ง่ายๆ
จดๆๆ ของดีราคาไม่แพง ต้องลองเล่นหน่อยแล้ว ขอบคุณครับ
ผมว่าวิธีเดิมๆ ดีแล้ว ออกกำลังบ้าง คุมอาหาร ลดแป้ง น้ำตาล ทานผักผลไม้เยอะๆ ผมก็ลดจาก 80 เหลือ 72
ต่อให้ใส่อุปกรณ์พวกนี้ทั้งแขนซ้ายแขนขวา หรือใส่บนศีรษะ แต่ถ้ายังกินพิซซ่า แม็คโดนัลด์ กาแฟเย็นใส่วิปครีม 2 แก้ว มันก็ไม่ดีขึ้นหรอก
บางทีมันก็เป็นทริคสำหรับสร้างแรงบันดาลใจได้ครับ อย่างผมนี่เวลาซื้อรองเท้าวิ่งใหม่ก็จะสะกดจิตตัวเองว่าซื้อมาแพงต้องวิ่งให้คุ้ม ส่วนเรื่องจะได้ผลหรือไม่ก็คงเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล
ผมเป็นแบบนี้เหมือนกันครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
บางครั้งมันทำให้กำหนดเป้าหมายง่ายขึ้นครับ หรือบางตัวอย่าง fitbit มีแข่งกับเพื่อน ก็เป็น Motivation อย่างหนึ่งครับ แต่ละคนอาจจะมีวินัยไม่เท่ากันครับ
มันทำให้รู้ได้พอสมควรว่าทานเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม รวมถึงคนที่ไม่ได้ต้องการลดน้ำหนักด้วยครับ
แบบปกติผมเดินทางไปทำงานไปกลับ 67 กม. แต่มีวันนึงต้องไปทำอีกทางนึงระยะ 90 กม. จะให้ผมทานเท่าเดิมมันก็ไม่ควรเพราะร่างกายจะซ่อมแซมไม่ทันหรือซ่อมแซมมาไม่ดีเอา หรือทานตามความรู้สึกหิวก็อาจจะมากเกินไปอีก
แต่โดยส่วนตัวผมก็ทานตามใจอยากนะครับ ที่ใส่อยู่นี่ดูตัวเลขไปเฉยๆ เท่านั้นเอง เรียกว่าเป็นของเล่นก็ได้ เพราะตัวผมเองจะเป็นเดือนที่เดินทางปกติทานอดๆ อยากๆ หรือเดือนที่ทานเต็มที่ไปกับเพื่อนบ่อยแถมอาศัยรถยนต์เป็นหลัก น้ำหนักผมก็วนอยู่แค่ 63-64 กก. นี่แหละครับ
ตอนนี้ข้อมูลจากอุปกรณ์ทั่วไปสามารถในการประเมินความเสี่ยงได้
แต่ยังไม่ค่อยเหมาะสมกับการวินิจฉัยโรค/วิจัยทางการแพทย์ซักเท่าไร
เหมือนกับเอาอุปกรณ์ทางการแพทย์มาย่อขนาดลง สะดวกมากขึ้น แต่ความแม่นยำย่อมต่ำลงไป
แต่คิดว่าในอนาคตอุปกรณ์พวกนี้ย่อมพัฒนาให้มีประสิทธิภาพขึ้นมาได้อย่างแน่นอน
ผมว่ามันเหมือน Placebo มากกว่า คือพอเราใส่เห็นตัวเลขก็จะรู้สึกอยากทำให้มันเพิ่มขึ้นหรือทำให้ถึงเป้า แต่ถ้าไม่ใส่จะไม่มีอะไรเป็นตัววัด (แม้ว่าผลวัดจะไม่ตรงก็ตาม)
ชื่นชมผู้ที่ทำงานวิจัยชิ้นนี้
แต่ความคลาดเคลื่อนอุปกรณ์สวมใส่กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ย่อมมีความคลาดเคลื่อนสูงเป็นปกติของการพัฒนาที่พึ่งเริ่มต้นได้ไม่นาน ในทางการแพทย์มีการพัฒนามายาวนานกว่าเครื่องมือจึงแม่นยำกว่าก็เป็นเรื่องธรรมดา มันจะยิ่งดูแย่ยิ่งกว่าหากเครื่องมือทางการแพทย์ราคาต่างกันหลายเท่า ประสิทธิภาพได้แค่อุปกรณ์สวมใส่
ดังนั้นงานวิจัยนี้ถือว่าเป็นเรื่องดีที่มีการสะท้อนความเป็นจริงของการวัดผลต่างๆ และบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สวมใส่จะได้เร่งพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยีที่สามารถวัดผลได้ค่าความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด
เช่น สเตป(หูฟังแพทย์)ก็ไม่ได้วัดอัตราการเต้นหัวใจ ละเอียดเท่ากับเครื่องที่หนีบนิ้ว* แต่ก็มีประโยชน์ของมัน เช่นเดียวกับอุปกรณ์สวมใส่ต่างๆ ก็ต่างมีประโยชน์ในกลุ่มผู้ใช้ของมัน
*จริงเอาไว้วัด O2 ในเลือดมากกว่า
โดยเฉพาะกับฟังก์ชั่นนับก้าว แค่ขยับแขนก็เท่ากับเดินแล้ว
ผมเปลี่ยนไปใส่ที่ข้อเท้าแทนล่ะ
เพราะกลับมาใส่นาฬิกาแบบ Mechanic ด้วย
ก้าวต่อไปผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ต้องปรับตัวแล้วเมื่ออุปกรณ์สวมใส่ได้เริ่มรุกคืบเข้ามาดิสรัพ
สงสัยว่าพออุปกรณ์มันรายงานการนอนแล้วทำไงต่อ มีปัญหาจริงๆไม่มีอุปกรณ์ก็สังเกตได้แล้ว จะแก้ซื้อออกซิเจนมาใส่ก็ต้องไปปรึกษาแพทย์ก่อนอยู่ดี
ให้เอา เครื่องวัดชีพจร มาใส่วิ่งมันคงดูตลกไม่ใช่น้อย
Mi band 1S หลักๆไว้ใช้ดู ช่วงชีพจร เวลาวิ่งทำให้ ไม่หักโหมเกินไป สภาพร่างกายหลังการวิ่งดีขึ้นเยอะ
ค่าตั้งต้นที่ใส่มาในอุปกรณ์มันเปนค่าที่ได้มาแบบโดยเฉลียซึ่งมันไม่ตรงอยู่แล้วในแต่ละคน เอาแค่การเดิน แต่ละคนก้าวไม่เท่ากันอยู่แล้ว มันถึงต้อง Calibrate ได้ไงครับ
Destination host unreachable!!!