Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ขณะที่การใช้งานลายนิ้วมือเพื่อความปลอดภัยบนสมาร์ทโฟนเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ผู้ผลิตหลายเจ้าเลือกที่จะใส่เซ็นเซอร์อ่านลายนิ้วมือไว้บนปุ่มโฮมด้านหน้า บ้างก็ย้ายไปไว้ด้านหลัง แต่ล่าสุดทาง LG ได้ประกาศว่าสามารถพัฒนาเซ็นเซอร์อ่านลายนิ้วมือขนาดเล็ก ที่สามารถติดตั้งเอาไว้ภายใต้หน้าจอที่บางกว่า 0.03 มิลลิเมตรของสมาร์ทโฟนได้แล้ว

โมดูลเซ็นเซอร์แบบใหม่นี้ทาง LG ระบุว่ามีความแม่นยำไม่แพ้แบบที่อยู่บนปุ่มโฮมแม้แต่น้อย ทั้งนี้ LG ไม่ได้เปิดเผยว่าจะนำมาใช้บนสมาร์ทโฟนของตัวเองเมื่อไหร่ ระบุแต่เพียงว่ามีการพูดคุยกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเจ้าอื่นๆ ในการนำโมดูลอ่านลายนิ้วมือนี้ไปใช้บนสมาร์ทโฟนภายในปีนี้

ที่มา - The Verge

Get latest news from Blognone

Comments

By: 7elven
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 2 May 2016 - 11:32 #907922

แล้วมันก็มาพร้อม iphone 7

By: ash_to_ash
AndroidWindows
on 2 May 2016 - 11:42 #907924

จะได้เห็นอุปกรณ์แบบในหนังสายลับ/สืบสวนแล้วสินะ
จำได้เลย criminal minds ควักไอโฟน 5
ออกมาแล้วเปิดโปรแกรมแสกนลายนิ้วมือศพ

ปล.เมื่อก่อนเล่นกะเพือ่นขำดีโปรแกรมแสกนลายนิ้วมือ :p

By: mrBrightside
iPhoneWindows
on 2 May 2016 - 11:55 #907926

ไม่ iPhone 7 ก็ 8 ล่ะ

By: Polwath
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 2 May 2016 - 12:18 #907929
Polwath's picture

ถ้าเอามาขายได้ก็ดีครับ แถมใช้ล็อคมือถือได้อีกต่างหาก แต่ก็เป็นอุปกรณ์ของมิจฉาชีพได้ด้วยเช่นกัน ดาบสองคมจริงๆ แหะ


Get ready to work from now on.

By: berocker
iPhoneAndroidWindows
on 2 May 2016 - 12:25 #907930
berocker's picture

ทุกค่ายคงแข่งกันทำอยู่แหละ ฟังก์ชันนี้ รอดูว่าใครจะมาก่อน หรือใครจะดีกว่า

เรื่องความปลอดภัย ผมว่าระบบคงไม่ให้โปรแกรมเข้าสั่งงานถึงอุปกรณ์นี้โดยตรง คือไม่สามารถสั่งงานเพื่ออ่านลายนิ้วมือได้โดยตรง คงได้แค่รหัสกลับมาเพื่อเช็คว่ารหัสตรงหรือไม่แค่นั้น

By: vv47424
ContributorAndroid
on 2 May 2016 - 12:32 #907933

ผมรอนวัตกรรมนี้มานานแล้ว โดยส่วนตัวเกลียดปุ่มโฮมที่อยู่บนโทรศัพท์ทุกรุ่น รู้สึกว่ามันไม่สวย ตัวสแกนลายนิ้วมือที่ผมว่าเจ๋งคือเอาไว้ข้างๆ แบบ Xperia ตอนแรกหวังว่าจะมากับ Mi5 แต่ก็แห้วไป ใช้ Mi4 ต่อไป 555

By: potter
Android
on 2 May 2016 - 12:46 #907934 Reply to:907933

+1 เกลียดเหมือนกัน มันกร็อกๆแกร็กๆ ไม่ว่าจะเป็นวงกลม วงรี สีเหลี่ยมขอบมน

By: ninja741 on 2 May 2016 - 14:11 #907950 Reply to:907933

ผมชอบปุ่ม home ครับ ตอนเปลี่ยนจาก iphone มา andriod ก็หาที่มันมีปุ่มนี่แหละ เคยลองพวก nexus ที่ไม่มีปุ่มเลย แทบจะเขวี้ยงทิ้งเลยทีเดียว

By: john dick
iPhone
on 2 May 2016 - 14:27 #907953 Reply to:907950
john dick's picture

ใช้ไอโฟนมาจนชิน พอใช้แอนอีกเครื่องรำคาญปุ่ม back แบบซัมซุงมาก ที่ปุ่มไม่ได้อยู่ในจอ มือชอบไปโดน

By: vv47424
ContributorAndroid
on 2 May 2016 - 15:27 #907977 Reply to:907953

คงแล้วแต่ความเคยชินครับ เพราะแรกๆ ผมก็ใช้ htc magic มาก่อน ผมเข็าใจ แต่ครั้งนี้ผมมองในแง่การออกแบบแล้วความชอบส่วนตัวครับ 555

By: patipol123
iPhoneAndroidWindows
on 2 May 2016 - 16:10 #908001 Reply to:907950

+1 ครับเป็นเหมือนกัน แต่เพื่อนหลายคนที่ย้ายจาก android มา iphone ก็ไม่ชินปุ่มhome เช่นกันครับ

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 2 May 2016 - 17:48 #908021 Reply to:907933
devilblaze's picture

ไม่ชอบเช่นกัน เพราะรู้สึกว่า ขนาดหน้าจอมันพอดีมือแล้ว ถ้าเอื่อมไปกดปุ่ม home หรือ back นอกจอ มันต้องเอื่อมนิ้วโป้งเยอะเป็นพิเศษ บางทีกดแล้วไม่ติดอีกต้องกดซ้ำ

By: Eddz on 2 May 2016 - 14:09 #907948
Eddz's picture

เข้าใจว่า LG ทำได้แล้ว แต่ใครเป็นเจ้าของสิทธิบัตรนี้ เพราะแค่แนวคิดก็จดได้ และน่าจะมีคนจดไปนานแล้ว แม้ยังทำไม่ได้ก็ตามเราเข้าใจถูกมั้ย

By: unn
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 3 May 2016 - 12:30 #908264 Reply to:907948

แนวคิดที่ทำไม่ได้จริงไม่น่าจะจดได้นะครับ เข้าใจว่าคงต้องอธิบายได้ด้วยว่ามันทำงานยังไง ด้วยกลไกอย่างไรครับ

By: natong on 2 May 2016 - 14:35 #907956

สวมแหวน NFC ปลดล๊อค BItLocker Windows & แอนดอย

By: DK
iPhoneAndroidSymbian
on 2 May 2016 - 17:02 #908013
DK's picture

ต่อไปเค้าคงจะพยายามทำให้เซ็นเซอร์ทำงานเร็วขึ้น แบบว่าตรวจลายนิ้วมือทุกครั้งที่มีการสัมผัส
เพื่อให้หน้าจอรับคำสั่งจากมือของตัวผู้ใช้เพียงคนเดียว
คนอื่นไม่สามารถ สัมผัสหรือใช้งานหน้าจอนี้ได้เลย.

งาน มโนต้องมา

By: ravipon
iPhoneWindows
on 2 May 2016 - 20:46 #908052
ravipon's picture

เอามารวมกับ 3D touch //จับเฉยๆไม่เปิดเครื่อง ต้องกดลงไปด้วยถึงจะสแกน

By: nottoscale
Windows Phone
on 3 May 2016 - 02:44 #908133

ห่วงส่วนสำคัญหลังจากนั้นคือข้อมูลทางชีวภาพของเราจะปลอดภัยแค่ไหน