Project Ara โครงการพัฒนาสมาร์ทโฟนปรับสเปคเองได้ที่เริ่มพัฒนาขึ้นในปี 2013 โดยตั้งเป้าว่าจะเริ่มลงตลาดในต้นปี 2015 จากนั้นเลื่อนเป็นทดลองตลาดในเปอร์โตริโกครึ่งหลังปี 2015 ก่อน แต่สุดท้ายกลับยกเลิกการทดลองตลาดแล้วเลื่อนการลงตลาดไปยังปี 2016 จนในที่สุดก็มีความคืบหน้าโครงการนี้ออกมาอีกครั้งในงาน Google I/O ที่ผ่านมา
ทีม Google ATAP ประกาศว่าจะส่งชุดอุปกรณ์สำหรับนักพัฒนาตัวใหม่ในฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ ความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้คือจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนสเปคได้อิสระอย่างเคย โดยส่วนหลักของสมาร์ทโฟนทั่วไป เช่น หน่วยประมวลผล เสาอากาศ แบตเตอรี่ จอภาพ จะอยู่บนบอดี้หลักของเครื่อง ส่วนที่ถอดเปลี่ยนได้เหลือเพียงอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เช่น กล้อง ลำโพง ตัวสแกนลายนิ้วมือ ขาตั้ง จอภาพขนาดเล็ก เป็นต้น เปิดให้นักพัฒนาที่สนใจสามารถขอรับชุดอุปกรณ์ได้ที่หน้าเว็บไซต์ของ Project Ara ส่วนตัวสินค้าสำหรับผู้ใช้ทั่วไปเลื่อนการลงตลาด (อีกครั้ง) ออกไปเป็นปี 2017
ก็ต้องรอลุ้นกันต่อไปว่าครั้งนี้จะเลื่อนอีกหรือไม่
ที่มา - Ars Technica
Comments
ทำให้ดีนวัตกรรมดีๆช้าหน่อยไม่เป็นไร...
+1
เปลี่ยนได้น้อยลง น่าสนใจน้อยลง
พอปรับแต่งได้น้อยลงแบบนี้ โครงการก็ไม่น่าสนใจแล้วครับ จากเปิดกว้างเป็นเปิดบางส่วน ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นกับโครงการพัฒนาแบบนี้
Get ready to work from now on.
เปลี่ยนได้หมดก็น่ากลัวครับ hardware คงยัดไส้กันเป็นว่าเล่น
ปรับ CPU ไม่ได้นี่ความน่าสนใจหายเกือบหมดเลย จอภาพกับเสานี่เฉยๆ
ถ้าปรับได้เยอะเกินไปน่าจะมีปัญหาละมั้งครับ
ตอนแรกเหมือน PC เลย ประกอบเองได้ทุกส่วน
ตอนนี้เหลือ notebook ที่ประกอบส่วนประกอบหลักไม่ได้แล้ว
ปล่อยตัวนี้ออกมาก่อนได้ แต่ก็อย่าลืมพัฒนาต่อตามเป้าหมายแรกที่ตั้งไว้ให้ได้นะ
รอวันที่ smart phone สามารถเลือกประกอบเองได้แบบ PC
ถ้ากำหนด form factor ได้เหมือน PC ก็พอจะทำได้อยู่ครับ
คิดไว้แล้วว่าจะไม่ wow ตั้งแต่เปิดตัวตอนนู้นละ
มันกลายเป็นมือถือที่น่าเกลียดไปแล้ว ขนาด LG G5 เปลี่ยนแค่ฐานยังไม่ค่อยจะมีคนซื้อเลย
ถ้าราคาประกอบร่างแล้วไม่ถูกกว่า ซื้อแบบปกติใช้ดีกว่า งานประกอบเนียบ มีดีไซน์สวยงาม
ขนาดคอมประกอบทุกวันนี้ยังตาย คิดยังไงทำมือถือประกอบอ่ะ ทุกชิ้นส่วนต้องมีกรอบครอบตัวเอง และเรื่องความเร็วสัญญาณระหว่างชิพอีก เครื่องคงจะใหญ่น่าเกลียดตามคลิปนั้นแหละ
ช่างเป็นคนมีวิสัยทัศน์จริงๆ
คอมพ์ประกอบมันตายเพราะอะไร ทราบจริงๆ หรือป่าว มันไม่ได้ตายเพราะเป็นคอมพ์ประกอบ มันขายเพราะความต้องการ PC มันหดตัว เนื่องจากตลาด SmartPhone และ Tablet
ไม่เคยเห็น PC ยุคเฟื่องฟู่ที่ห้างพันทิพยุ์หรอ
จบสิ้นละครับ ความน่าสนใจหายไปแล้ว
Product แบบนี้ LG G5 นี่เอง
ตอนแรก google glass ตอนนี้ ara หวังว่า self driving car จะไม่ fail ตามนะจ็ะ
ทำไมผมว่าสวย lol
เวลาดูสาวชอบดูสาวขาวๆ Sex Sex เวลาดู Notebook ชอบแบบ"ถึกๆดำๆ"
Twitter : @Zerntrino
G+ : Zerntrino Plus
เปลี่ยนได้แค่นั้นจะทำมาเพื่อ...
จากที่เคยพูดไว้ในครั้งก่อน ผมว่าสำหรับแนวคิดนี้มันดูแล้วยากที่จะทำให้สำเร็จกลายเป็นจริงได้ (ได้รับความนิยม ใช้งานอย่างแพร่หลาย) ประเด็นหลักคงอยู่ที่ราคา ถ้าจะคุมราคาของ module ให้ได้ก็ต้องทำออกมาขายในปริมาณที่มากพอสมควรซึ่งนั่นก็หมายถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย ถ้าเทียบไปการทำมือถือสเป็คดีราคาถูกในตอนนี้ยังดูมีความเสี่ยงน้อยกว่า
ตายสนิทแล้วล่ะ ออกมาแบบไม่เปิดกว้างแต่ก็ไม่ปิด ครึ่งๆกลางๆแบบนี้ เปลี่ยน CPU ไม่ได้นี่จบเลย เลยไม่เห็นเลยว่าผู้ใช้จะเลือก ARA เหนือเจ้าอื่นไปทำไม ยังไม่รวมว่าใครจะเป็นคนมายอมผลิตโมดูลที่ว่านี้บ้างนะ
ARA จะสำเร็จได้มีอยู่อย่างเดียว คือเปลี่ยนได้ทุกอย่างตั้งแต่ CPU ยันเคสเหมือนคอมประกอบ คิดไปคิดมา ส่วนตัวว่าระบบปฏิบัติการมีส่วนในตรงนี้ด้วย และเจ้าที่น่าจะทำสำเร็จได้มากที่สุดมีเจ้าเดียวคือ Windows แต่พี่ท่านจะมาทำรึเปล่า
มาช้า ก็รอได้ แต่เปลี่ยนได้น้อยลงนี่ ขี้เกียจรอและอะ
เปลี่ยนได้น้อยลงผมว่าไม่เป็นปัญหา จุดสนุกมันอยู่ที่ จะใส่อุปกรณ์แบบเดียวกันหลายๆ ตัวได้แค่ไหนต่างหาก
เช่น วางนอนแล้วใส่กล้อง 3 ตัวบนขายื่นขึ้นมาทำให้สามารถถ่ายภาพ 360 องศาได้
ส่วนชิ้นที่เป็น default วางไว้ด้านเดียวกันให้หมดแล้วใส่กรอบซ่อนไปเลย
ต้องมีมาตรฐานกลางว่าจอกี่นิ้วครับ เหมือนกับ mb กับเคส ระยะห่างน๊อตต้องเท่ากัน ตำแหน่ง i/o
The Last Wizard Of Century.
แบตเตอรี่ ก็เปลี่ยนไม่ได้ด้วย โหดจริง ลดเยอะเกินไปเปล่า
โมดูลเสริมเป็นแบตได้ครับ