คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ยังมีองค์กรที่มีวัฒนธรรมในการทำงานแบบเดิมๆ อยู่ ขณะเดียวกันองค์กรที่ต้องการและอยู่ระหว่างการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีและยุคสมัย ตามกระบวนการที่เรียกว่า Digital Transformation ก็มีอยู่ไม่น้อย
ด้าน AIS เองนอกจากการเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายและบรอดแบรนด์ ก็มีวิสัยทัศน์ในการเป็นตัวกลางและผู้ช่วยให้ภาคธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทย สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลตั้งแต่ปีที่แล้ว จากการเปิดตัว AIS Business Cloud เมื่อปีที่แล้ว ปีนี้ AIS ยังคงวิสัยทัศน์เดิม พร้อมด้วยการพัฒนาฟีเจอร์ โซลูชันและบริการต่างๆ ของ Business Cloud ที่ AIS เรียกว่า End-to-End Cloud Service ให้ครบเครื่องและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
mForm
หนึ่งใน pain point ของการจัดการงานด้านเอกสารในแบบเดิมๆ คือเสียทั้งเวลา เสียทั้งทรัพยากร ไม่รวมปัญหาความล่าช้าจากขั้นตอนต่างๆ มากมาย แต่หากกระบวนการด้านเอกสารต่างๆ ถูกยกขึ้นไปไว้บนคลาวด์ทั้งหมดก็จะช่วยแก้ปัญหาข้างต้นไปได้ค่อนข้างมาก
mForm บน AIS Business Cloud คือบริการที่จะเปลี่ยนแบบฟอร์มบนกระดาษ ให้กลายเป็นแบบฟอร์มออนไลน์ ถูกออกแบบมาสำหรับแก้ปัญหา pain point ให้องค์กรที่มีงานด้านเอกสาร โดยเฉพาะเอกสารจากการลงฟิลด์หรืองานนอกองค์กร โดย mForm จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างหรือปรับแต่งฟอร์มเอกสารผ่านระบบคลาวด์ได้ง่ายๆ ตามความต้องการ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ไอทีก็สามารถทำได้ และรองรับแทบจะทุกแพลตฟอร์ม ทั้งในรูปแบบแอปบน iOS, แอนดรอยด์ และผ่านเบราว์เซอร์ทั้ง Microsoft Edge, Chrome และ Firefox
ขณะที่ความสามารถหลักๆ ของ mForm มีดังนี้
จะเห็นว่า mForm ไม่เพียงช่วยลดต้นทุนด้านเอกสาร แต่ยังช่วยประหยัดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลองค์กรด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานผ่านกระดาษในแบบเดิมๆ ไปได้มากเลยทีเดียว
Unified Communication (UC)
อีกหนึ่งปัญหาในการติดต่อระหว่างหรือภายในองค์กร คือช่องทางการติดต่อของพนักงานหรือผู้บริหารคนหนึ่งๆ มีค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะ fixed line บนโต๊ะทำงาน, เบอร์โทรศัพท์ส่วนตัว, อีเมลหรือแม้แต่แอป Instant Messaging ทั้งหลาย ซึ่งสร้างความสับสนในการเลือกช่องทางการติดต่อ
Unified Communication ของ AIS Business Cloud จะเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาตรงนี้ ด้วยการรวมช่องทางการติดต่อสื่อสารทั้งหมดขึ้นมาไว้บนคลาวด์ ไม่ว่าจะ fixed line, โทรศัพท์มือถือและแอปแชท มาอยู่บนช่องทางเดียวผ่านแอปพลิเคชันของ AIS ที่รองรับทั้งบนสมาร์ทโฟน, พีซีและเชื่อมต่อเข้ากับโทรศัพท์บนโต๊ะทำให้เวลามีคนติดต่อเข้ามา แอปและโทรศัพท์ที่ผูกกับระบบเอาไว้จะดังขึ้นมาพร้อมกันหมด
การทำงานของแอป UC จะผ่านอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว ขณะที่สาย fixed line จะถูกเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตเช่นกันในลักษณะ IP Phone แทน นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่สำหรับการ collaboration อย่าง conference call, VDO conference, แชร์หน้าจอเดสก์ท็อปและระบบแชร์ไฟล์เป็นต้น
แพ็คเกจของ UC มีอยู่สองแพ็คเกจคือ
ประโยชน์สำคัญของ Unified Communication คือองค์กรจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและทรัพยากรในการติดตั้งและดูแลรักษาระบบตู้ PBX ไปจนถึงค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์หากันภายในองค์กร และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความต่อเนื่องในการทำงาน ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ภายในองค์กรหรือออกไปทำงานข้างนอกก็ตาม
ด้วยนโยบายของ AIS ในการให้บริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ พร้อมสนับสนุนพาร์ทเนอร์ ให้เติบโตไปด้วยกัน ทำให้การขยายบริการ AIS Business Cloud ครั้งนี้ AIS ดึงเอาไมโครซอฟท์มาเป็นพาร์ทเนอร์สำหรับบริการ Hybrid Cloud และ Azure จะทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกในการใช้บริการโซลูชันบนคลาวด์ของไมโครซอฟท์กว่า 500 บริการ ไม่ว่าจะเป็น Virtual Machine, Big Data, Website, Internal Business App และ IoT เป็นต้น
บริการนี้ทางไมโครซอฟท์จะเป็นผู้ดูแลบริการจัดการด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์และเน็ตเวิร์คทั้งหมด ขณะเดียวกัน AIS เองก็รับรองเสถียรภาพของเครือข่ายด้วย SLA 99.9% จากท่อที่เชื่อมต่อกับศูนย์ข้อมูลไมโครซอฟท์โดยตรง
เมื่อหัวใจสำคัญขององค์กรคือข้อมูล AIS Business Cloud ก็มีบริการ AIS Backup on Cloud รองรับการเก็บข้อมูลเอาไว้บนคลาวด์จากความร่วมมือกับ VEEAM ในส่วนของโซลูชันการการสำรองและกู้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
บริการของ AIS Backup on Cloud นอกจากสำรองและกู้ข้อมูลได้รวดเร็วแม่นยำแล้ว ยังมีโซลูชันที่เรียกว่า Layer of Protection ในการออกแบบระบบเพื่อปกป้องข้อมูลจากความเสียหายและสูญหายที่ถูกสำรองไว้ และที่สำคัญคือมีบริการตั้งแต่ออกแบบ ติดตั้งและดูแลจาก AIS ตลอดการใช้งานด้วย
อีกหนึ่งบริการคือโซลูชันจัดการดาต้าเบสที่ร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง Tibero6 ที่รองรับฐานข้อมูลขนาดใหญ่จากสถาปัตยกรรม Hyper Thread ทั้งยังสรองรับการใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลแบบ RDBMS ได้ด้วย
ความปลอดภัยย่อมเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ขององค์กร โดยเฉพาะองค์กรขนาดกลางถึงใหญ่ที่มีหลายสำนักงาน AIS Centralized Firewall ซึ่งเป็น Virtual Firewall บนคลาวด์และติดตั้งอยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์กลางแห่งเดียวจากความร่วมมือกับ Palo Alto จะช่วยตอบโจทย์ตรงนี้ ทั้งในแง่ค่าใช้จ่ายและความรวดเร็วในการติดตั้ง
เป็นครั้งแรกที่องค์กรสามารถสั่งปรับเพิ่มแบนด์วิธแบบชั่วคราวได้ตามต้องการ ในกรณีที่มีความต้องการใช้งานเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ สามารถสั่งเพิ่มได้เป็นรายครั้งและแบบรายเดือน รวมถึงสั่งเพิ่มแบนด์วิธได้เริ่มต้นที่ 1 วันเท่านั้น
คงไม่น่าใช่เรื่องแปลกหากองค์กรที่ต้องการจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล จะไม่รู้ว่าควรจะเริ่มจากจุดไหน อะไรคือสิ่งที่เหมาะสมสำหรับองค์กร ทาง AIS ก็มีบริการ Managed Cloud Services ที่จะให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่ม ก่อนเข้าไปดูแล ติดตั้ง ระบบไปจนถึงการซัพพอร์ทหลังการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง
ด้วยโซลูชัน เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญที่ AIS ไม่รวมความครอบคลุมของโครงข่ายต่างๆ ทั่วประเทศ ทำให้ AIS เป็นผู้ให้บริการที่น่าสนใจสำหรับองค์กรที่อยากจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล หรือแม้แต่เปลี่ยนผ่านไปแล้วก็ตาม
สำหรับลูกค้าองค์กรที่สนใจใช้บริการ AIS Business Cloud สามารถติดต่อได้ที่ AIS Corporate Call Center 1149 หรือที่เว็บไซต์ business.ais.co.th
Comments
ผมเบื่อที่เอะอะไรต้องทำผ่าน web เนี่ยหล่ะ ทำเป็นซิงโครนัสกับคอมด้วยไม่ได้หรอผ่าน app อ่ะ
ผมชอบนะ ไม่ต้องอิงกับระบบปฏิบัติการ