เห็นได้ชัดว่าเทรนด์ของหน้าจอสมาร์ทโฟนจะเป็นไปในทิศทางแบบไร้ขอบเต็มพื้นที่ด้านหน้าของสมร์ทโฟน ทำให้เราเห็นข่าวเรื่องการฝังเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือบนหน้าจออยู่เป็นระยะ อย่าง Synaptics ก็มี Clear ID หน้าจอสัมผัสที่ฝังเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ
ดูเหมือน Vivo จะเป็นเจ้าแรกที่นำโซลูชันนี้ไปใช้งานและเผยโฉมให้สาธารณะได้ชมแล้วในงาน CES 2018 โดยเซ็นเซอร์ถูกฝังอยู่บริเวณด้านล่างตรงกลางของจอ โดยเป็นเซ็นเซอร์แบบ optical และทำงานได้เฉพาะกับหน้าจอ OLED ได้เท่านั้น โดย Synaptics อ้างว่าใช้เวลาราว 0.7 วินาทีเท่านั้นในการสแกนลายนิ้วมือ
Vivo ระบุว่าที่นำมาโชว์ในงาน CES 2018 นี้เป็นผลิตภัณฑ์ตัวจริงและพร้อมวางจำหน่ายแล้วในเร็วๆ นี้
Synaptics ผู้ผลิตทัชแพดและแผงจอสัมผัสรายใหญ่ รายงานว่าบริษัทเริ่มสายการผลิต (mass production) ของแผงจอสัมผัสที่มีเซนเซอร์ลายนิ้วมือฝังข้างใต้แล้ว ภายใต้เครื่องหมายการค้า Clear ID
รายงานของทางบริษัทระบุว่าบริษัทกำลังผลิตแผงจอสัมผัสนี้ให้กับบริษัทรายใหญ่ห้าราย ซึ่ง Bloomberg คาดการณ์ว่าเป็น Apple, Samsung, Huawei, Oppo, Vivo หรือ Xiaomi
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งจาก Bloomberg คือ ความล้มเหลวในการผลิตแผงจอสัมผัสที่มาพร้อมเซนเซอร์ลายนิ้วมือทำให้โทรศัพท์มือถือเรือธงของ Samsung ในปี 2017 (อันได้แก่ Galaxy S8 และ Galaxy Note 8) ซึ่งออกแบบให้ขอบจอด้านหน้ามีพื้นที่เล็กมาก ต้องวางเซนเซอร์อ่านลายนิ้วมือไว้ข้างหลังในที่สุด
ฝั่งผู้ผลิตอุปกรณ์เริ่มเตรียมความพร้อมกับกระแสหน้าจอสัมผัสแบบจับแรงกดได้ อย่างที่ iPhone 6s เริ่มนำมาใช้จริงจัง โดยทาง Synaptics ออกมาเปิดตัวส่วนควบคุมหน้าจอสัมผัสรุ่นใหม่ที่รองรับฟีเจอร์นี้กันแล้ว
โดยจากสามรุ่นใหม่ที่เปิดตัวมา ClearPad 3700 เป็นรุ่นเด่นที่ออกแบบมาสำหรับเรือธงโดยเฉพาะด้วยฟีเจอร์ ClearForce สำหรับรับแรงกดบนหน้าจอ และ SideTouch ที่ช่วยให้สั่งงานตัวเครื่องได้ แม้ไม่ได้แตะไปที่หน้าจอตรงๆ แต่ใช้การสัมผัสที่ขอบแทน รวมถึงรองรับการทำงานร่วมกับสไตลัสมากขึ้น
เพิ่งมีข่าวว่าแอปเปิลได้สิทธิบัตรของคีย์บอร์ดตัวใหม่ที่จะรวมเซ็นเซอร์รับการสัมผัสเข้าไปในปุ่มได้ไม่กี่วัน รายใหญ่ของวงการอย่าง Synaptics ก็ออกมาเปิดตัวเทคโนโลยีคล้ายๆ กันอย่าง SmartBar ที่เพิ่มความสามารถในการรองรับสัมผัสให้กับปุ่ม spacebar
การใช้งาน SmartBar นั้นเหมือนกับทัชแพดทุกประการ สามารถใช้เลื่อน ขยาย ย้ายไฟล์ และตั้งค่าให้เลือกโปรแกรมจากเมนูได้ (จุดต่างคือคลิกไม่ได้) โดย Synaptics ระบุว่า SmartBar ไม่ได้วางตัวมาเพื่อแทนที่ทัชแพด แต่ออกแบบมาสำหรับการพิมพ์ต่อเนื่องให้ผู้ใช้สามารถใช้งานฟีเจอร์ของทัชแพดได้โดยไม่ต้องยกมือขึ้นมาเลื่อนที่ทัชแพดตามปกติ รวมถึงเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้ามา แทนที่ปุ่มทางลัดบนคีย์บอร์ด
หลังจากที่ทาง FIDO เพิ่งออกมาตรฐานรุ่น 1.0 มา ทาง Synaptics ที่เป็นหนึ่งในสมาชิกระดับบอร์ดก็ได้ออกอุปกรณ์มารองรับทันทีในชื่อ SecurePad
ข่าวนานไปนิด แต่ค่อนข้างน่าสนใจเลยหยิบมานะครับ
Rick Burgman ซีอีโอของ Synaptics ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ CNET พูดถึงในประเด็นต่าง ๆ โดยหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ประเด็นเกี่ยวกับตัวอ่านลายนิ้วมือในสมาร์ทโฟน ซึ่ง Burgman บอกว่า "ซัมซุงเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของเรา แต่ในอนาคตนี้ คุณจะได้เห็นผู้ผลิตรายอื่น ๆ ที่มีตัวอ่านลายนิ้วมือบนสมาร์ทโฟน"
ซึ่งจากคำพูดดังกล่าวนั้นกล่าวเป็นอีกนัยหนึ่งว่า ในปีหน้า จะมีกองทัพสมาร์ทโฟน (อาจจะรวมไปถึงแท็บเล็ต) ที่มีตัวอ่านลายนิ้วมืออีกมากมาย โดย Burgman ยังเสริมต่ออีกว่า เมื่อราคาของตัวอ่านลายนิ้วมือลดลง ก็จะได้เห็นสมาร์ทโฟนระดับบนและระดับกลางที่ใช้ตัวอ่านลายนิ้วมือของบริษัทมากขึ้น
เทคโนโลยีของทัชแพดนั้นเงียบเหงาลงไปมาก หลังจากที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่เปลี่ยนไปใช้ทัชแพดแบบ capacitive ที่ใช้งานใกล้เคียงกับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตมากขึ้น ผสมกับความสามารถในการคลิกได้ทั้งอันจนเป็นชื่อเรียกแบบไม่เป็นทางการว่าคลิกแพดในปัจจุบันนี้
ล่าสุดในโน้ตบุ๊กสายองค์กรรุ่นใหม่ของ HP อย่าง Elitebook Folio 1040 G1 ได้มีการใช้เทคโนโลยีทัชแพดแบบใหม่ที่เปลี่ยนวิธีการใช้จากการลาก เป็นการรับแรงกดบังคับทิศทางแทนในชื่อ ForcePad ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจาก Synaptics
Synaptics เจ้าพ่อแห่งทัชแพด ประกาศซื้อกิจการบริษัท Validity ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสแกนลายนิ้วมือสำหรับสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ต-โน้ตบุ๊กใต้แบรนด์ Natural ID
มูลค่าการซื้อกิจการครั้งนี้ประมาณ 255 ล้านดอลลาร์ โดยแบ่งเป็นทั้งเงินสดและจ่ายเป็นหุ้น ส่วนเหตุผลที่ซื้อกิจการทาง Synaptics ประกาศชัดว่าตลาดนี้จะเติบโตอีกมาก และ Synaptics ก็ไม่อยากพลาดโอกาสทางธุรกิจนี้
หนึ่งในฟีเจอร์เด่นของทั้ง Lumia 920 และ 820 ที่ถูกยกมาโชว์ในงานเปิดตัววันนี้คือการรองรับสัมผัสได้ แม้ว่าผู้ใช้จะสวมใส่ถุงมือ หรือแม้แต่เล็บก็ยังใช้ได้
ความลับของฟีเจอร์นี้อยู่กับเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Super Sensitive Touch ที่โนเกียพัฒนาร่วมกับ Synaptics นำเอาส่วนรับสัมผัส (digitizer) รุ่นใหม่ซีรีส์ ClearPad Series 3 ที่สามารถแยกได้ว่าส่วนใดที่มาสัมผัสกับหน้าจอ ด้วยการวัดคลื่นสัญญาณสะท้อนจากวัตถุที่สัมผัสกับหน้าจอ เพื่อให้สามารถจำแนกได้ว่าสิ่งมาแตะจอคืออะไร ก่อนหน้านี้ Synaptics เคยโชว์เทคโนโลยีนี้ในงาน MWC มาก่อนแล้ว
Synaptics บอกว่า Lumia ทั้งสองรุ่นใหม่จะได้ใช้ก่อน และจะมีรุ่นอื่นที่ใช้ digitizer รุ่นใหม่นี้ตามมาอีกเรื่อยๆ
ทัชแพดที่ใช้กันในโน้ตบุ๊กแทบทั้งโลกตอนนี้หลายคนคงรู้กันว่าผลิตโดยบริษัท Synaptics แต่วันนี้บริษัทก็ประกาศลงตลาดคีย์บอร์ดแล้ว
Synaptics ThinTouch เป็นคีย์บอร์ดแบบบางพิเศษสำหรับ Ultrabook โดยเฉพาะ โดยคุณสมบัติพิเศษของมันคือบางกว่าคีย์บอร์ดทั่วไปถึง 40% และใช้หน้าสัมผัสแบบ capacitive ที่ตรวจจับแรงกดได้ทำให้ตอบสนองต่อน้ำหนักการกดได้ต่างกัน เช่น กดแรงเพื่อพิมพ์ตัวใหญ่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ คือช่วงกดที่ต่ำลงอย่างมาก งานนี้คนที่ชอบกดคีย์บอร์ดหนักๆ คงไม่ชอบกัน
ตัวคีย์บอร์ดจะขายยกให้กับผู้ผลิตแบบ OEM โดยตรงเท่านั้น เราน่าจะเห็นมันติดตั้งมากับโน้ตบุ๊กรุ่นใหญ่ๆ ก่อน ถ้าวันนึงมันถูกลงอาจจะมีใครผลิตคีย์บอร์ดแยกออกมาขายอีกที
เทคโนโลยี DirectTouch ของ NVIDIA ที่อยู่ใน Tegra 3 เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดโหลดของ touch controller บนระบบจอสัมผัสต่างๆ ที่ต้องประมวลผลการสัมผัสหน้าจอของผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา โดยย้ายโหลดเหล่านี้ไปประมวลผลใน Tegra 3 แทน
ข้อดีของมันคืออัตราการวัดการสัมผัสที่แม่นยำกว่าเดิม โดยเฉพาะกรณีที่สัมผัสหลายจุดมากๆ พร้อมกัน (ดูวิดีโอประกอบ)
NVIDIA ได้พาร์ทเนอร์มาก่อนหน้านี้แล้ว 3 รายคือ N-Trig, Raydium, Focaltech ที่จะผลิตฮาร์ดแวร์ระบบสัมผัสที่รองรับฟีเจอร์นี้ ซึ่งล่าสุด NVIDIA ก็ประกาศชื่อพาร์ทเนอร์ "รายใหญ่" แห่งวงการระบบสัมผัสอีก 3 ราย ได้แก่ Atmel, Cypress, Synaptics (รายหลังเราคงคุ้นชื่อกันดีจากการทำทัชแพด)
แม้ว่าระบบ Windows 8 ยังไม่เสร็จดีนัก แต่ Synaptics ได้ออกโรงโชว์คอนเซปต์ใหม่ให้กับทัชแพดของตนเองบน Windows 8 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หลายคนคงเห็นโฆษณาโน้ตบุ๊กของแอปเปิลที่มีทัชแพดแบบมัลติทัช และสนับสนุน gesture ของคำสั่งลัดต่างๆ (เช่น ปัด 3 นิ้ว แทน Back/Forward ใน Safari) วันนี้ฟีเจอร์นี้มาถึงพีซีแล้ว โดยคนทำไม่ใช่ใครอื่น Synaptics ผู้ผลิตทัชแพดรายใหญ่ของโลกนั่นเอง
ซอฟต์แวร์ตัวนี้มีชื่อว่า Scrybe ตอนนี้ยังเป็นเวอร์ชันทดสอบแต่ก็สามารถดาวน์โหลดมาลองกันได้ (10MB) จากตัวอย่างในวิดีโอเดโม ลากนิ้วเป็นรูปเครื่องหมายคำถามเท่ากับเปิด search engine, ลากนิ้วเป็นรูป ^ คือสั่ง page up เป็นต้น (แต่สามารถกำหนดท่าของ gesture เองได้)
Synaptics ผู้ผลิตทัชแพดและจอสัมผัสที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือชื่อดัง ได้พัฒนาส่วนติดต่อผู้ใช้รุ่นทดลองชื่อว่า Fuse ซึ่งรองรับการสัมผัสได้จากด้านข้างและด้านหลังของตัวเครื่อง รวมไปถึงสั่งงานโดยการบีบที่ตัวเครื่อง
โทรศัพท์รุ่นที่ใช้เป็นรุ่นต้นแบบที่ Synaptics และพันธมิตรสร้างขึ้นเพื่อเดโม มันใช้ซีพียู TI OMAP 3630, จอภาพแบบ AMOLED, จอสัมผัสรุ่น ClearPad 3000 ของ Synaptics และออกแบบอินเทอร์เฟซโดย The Alloy กับ The Astonishing Tribe ตอนนี้ยังเป็นแค่เครื่องเดโม เราก็ได้แต่หวังว่าผู้ผลิตมือถือที่ขายจริงจะนำไปพัฒนาต่อ
นอกจากระบบสัมผัสรอบเครื่องแล้ว Fuse ยังใช้การแสดงผลแบบ 3 มิติซึ่งมีลูกเล่นเพิ่มขึ้นมาพอสมควร ดูได้ในวิดีโอครับ
หลายๆ คนน่าจะพอนึกภาพออกว่า จุดขายอันหนึ่งของ MacBook/MacBook Pro รุ่นใหม่สีเงินคือทัชแพดแบบใหม่ที่คลิกลงไปได้ทั้งอัน (บางคนก็ไม่ชอบ) แต่ว่าตอนนี้ Synaptics ขาใหญ่แห่งวงการทัชแพดและผู้ผลิตทัชแพดรายใหญ่ให้แอปเปิล ได้นำเทคโนโลยีแบบเดียวกันมาเปิดตัวใต้ชื่อ ClickPad สำหรับพีซีแล้ว