Microchip ควบรวม Atmel ไปได้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ตอนนี้ก็ยังแสดงท่าทีสนใจพัฒนาชิปตระกูล AVR ต่อไป ด้วยการออกชิปรุ่นใหม่มาเพิ่มเติมอีก 4 รุ่นในตระกูล ATtiny
ATtiny817/816/814/417 มีจำนวนขาตั้งแต่ 14 ถึง 24 ขา หน่วยความจำแฟลช 4KB หรือ 8KB มีแหล่งกำเนิดสัญญาณนาฬิกา 20MHz ในตัว รองรับการทำงานด้วยไฟฟ้า 1.8V-5.5V สื่อสารภายนอกด้วย USART มี ADC 10 บิต และอินพุตสำหรับรองรับปุ่มสัมผัสแบบ capacitive
ราคาชิปเริ่มต้นที่ตัวละ 0.43 ดอลลาร์ หรือ 15 บาท เมื่อสั่งทีละหมื่นตัว การเปิดตัวมาพร้อมชุดพัฒนา Xplained Mini Kit ราคา 8.8 ดอลลาร์ สามารถใช้งานร่วมกับ Arduino ได้ การพัฒนาซอฟต์แวร์บนตัวชิปจะใช้ Atmel START ที่เป็นเว็บ หรือ Atmel Studio 7 ก็ได้
จากเมื่อช่วงต้นปีที่บริษัท Microchip ผู้ผลิตชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล PIC ได้เสนอซื้อบริษัท Atmel ผู้ผลิตชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล AVR ล่าสุดบริษัท Microchip ได้ประกาศว่าการควบรวมกิจการกับบริษัท Atmel ได้เสร็จสิ้นแล้วในด้านการเงิน (officially complete from a financial perspective) โดยในขณะนี้เหลือเพียงการควบรวมทีมดำเนินการซึ่งจะเสร็จสิ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเท่านั้น
บอร์ด Arduino ที่ได้รับความนิยมสูงใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ในตระกูล AVR ของ Atmel แต่ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลนี้ยังมีชิปรุ่นเล็กสุดคือ ATtiny ที่มีขนาดเล็กมากและใช้งานง่ายๆ ได้หลากหลาย ตอนนี้ทาง Atmel ก็อัพเกรดชิปตระกูลนี้เป็น ATtiny102/104
ชิปรุ่นใหม่ มีหน่วยความจำแฟลช 1 กิโลไบต์และแรม 32 ไบต์ ตัวซีพียูรันที่สัญญาณนาฬิกา 12MHz และมีพลังประมวลผล 12 MIPS มี ADC 10 บิตในตัว และพอร์ต USART ภาวะประหยัดพลังงานสามารถปรับให้กินกระแสได้ต่ำเพียง 100nA และทำงานได้ด้วยไฟความต่างศักย์ตั้งแต่ 1.8V ถึง 5.5V
ทาง Atmel เริ่มส่งมอบสินค้าตัวอย่างแล้ว และจะเริ่มผลิตเต็มที่ช่วงเดือนพฤษภาคมนี้
Atmel ผู้ผลิตไมโครคอนโทรลเลอร์โดยเฉพาะชิป AVR ที่ใช้งานในแพลตฟอร์ม Arduino ประกาศแพลตฟอร์ม HW-TLS ที่อินเทอร์เฟซระหว่างฮาร์ดแวร์เข้ารหัส คือชิป ATECC508A และซอฟต์แวร์คือ OpenSSL และ wolfSSL
แพลตฟอร์มฝั่ง OpenSSL นั้นเปิดซอร์สไว้บน GitHub ส่วน wolfSSL เป็นไลบรารีแบบ GPL ที่หากต้องการใช้งานแบบปิดซอร์สจะต้องซื้อไลเซนส์การค้า
ATECC508A จะช่วยเข้ามาจัดการปกป้องกุญแจลับไม่ให้รั่วไหล มีฮาร์ดแวร์สุ่มค่าในตัว พร้อมกับแยกการคำนวณ ECC ออกไปอยู่บนตัวชิป
เมื่อปีที่แล้ว Dialog Semiconductor ประกาศเข้าซื้อ Atmel ผู้ผลิตชิป AVR ที่เป็นหัวใจสำคัญของบอร์ด Arduino ด้วยมูลค่า 4.6 พันล้านดอลลาร์ ล่าสุดทาง Atmel ก็ประกาศยกเลิกข้อเสนอซื้อครั้งนี้โดยระบุว่า Microchip ผู้ผลิตชิป PIC คู่แข่งสำคัญเสนอข้อเสนอที่ดีกว่า
ทาง Atmel จะจ่ายค่ายกเลิกข้อเสนอให้กับ Dialog เป็นเงิน 137.3 ล้านดอลลาร์
ข้อเสนอเดิมของ Dialog แบ่งเป็นเงินสด 4.65 ดอลลาร์ต่อหุ้น และหุ้นของ Dialog 0.112 หุ้นต่อหุ้นของ Atmel 1 หุ้น หลังจากที่มีการประกาศข้อเสนอ หุ้นของ Dialog ตกลงอย่างต่อเนื่อง (จากก่อนประกาศอยู่ที่ 45 ดอลลาร์ต่อหุ้น ตอนนี้เหลือ 26.01 ดอลลาร์ต่อหุ้น) ทำให้มูลค่าที่ผู้ถือหุ้น Atmel จะได้รับตกลงอย่างมาก
Dialog Semiconductor ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่จากยุโรป (เป็นบริษัทลูกผสมอังกฤษ-เยอรมัน) ประกาศซื้อกิจการ Atmel บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ฝั่งสหรัฐ ด้วยมูลค่า 4.6 พันล้านดอลลาร์
ทั้ง Dialog และ Atmel ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในชิปด้านระบบไฟฟ้า (power management) อยู่แล้ว แต่ Dialog ก็ระบุว่าซื้อกิจการ Atmel เพื่อขยายธุรกิจไปยังชิปสำหรับโทรศัพท์ รถยนต์ และ IoT เพื่อกระจายความเสี่ยงของธุรกิจไม่ให้ขึ้นกับอุตสาหกรรมหนึ่งมากเกินไป
ช่วงหลังเราเห็นบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ควบกิจการกันเองอยู่บ่อยครั้ง กรณีล่าสุดคือ NXP Semiconductors ประกาศซื้อกิจการ Freescale และก่อนหน้านี้คือ Avago Technologies ซื้อ Broadcom
เมื่อต้นปีนี้ Parse บริษัทลูกของ Facebook ที่พัฒนาชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาแอพ ประกาศขยายบริการมาทำ Parse of IoT จับตลาด Internet of Things กับเขาด้วย โดยฮาร์ดแวร์ตัวแรกที่รองรับคือบอร์ด Arduino Yun และขยายเพิ่มเติมมายัง Raspberry Pi ในภายหลัง
เวลาผ่านมาประมาณครึ่งปี Parse ประกาศออก SDK เพิ่มเติมรองรับฮาร์ดแวร์อีก 4 ค่ายดังคือ Atmel, Broadcom, Intel, Texas Instruments โดยชุด SDK ทั้ง 4 จะอยู่ในกลุ่ม Partner SDK ที่บริษัทแต่ละรายมาช่วยพัฒนาให้ Parse
Atmel ผู้ผลิตชิปสถาปัตยกรรม AVR ที่ใช้ใน Arduino และชิปสำหรับคอมพิวเตอร์ฝังตัว ARM อีกหลายรุ่น ประกาศเข้าซื้อบริษัทชิปเชื่อมต่อไร้สาย Newport Media ผู้ผลิตชิปเชื่อมต่อไร้สาย 802.11 และ Bluetooth 4.0 โดยมูลค่าการเข้าซื้อ 140 ล้านดอลลาร์ และกระบวนการจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้
แนวทางคอมพิวเตอร์ฝังตัวขนาดเล็กเริ่มเปลี่ยนจากการใช้โปรโตคอลเฉพาะทางเช่น ANT+ มาเป็นโปรโตคอลกลางร่วมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป เช่น NFC, Bluetooth LE, หรือ Wi-Fi มากขึ้น การดึงเอาทรัพย์สินทางปัญญาของ Newport Media มารวมไว้ก็เป็นกลยุทธ์ที่สมเหตุสมผลดีของ Atmel
ที่มา - The Register
กลุ่มพันธมิตรที่ประกอบด้วย Atmel, Broadcom, Dell, Intel, Samsung, Wind River ประกาศตั้งกลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรม Open Interconnect Consortium (OIC) เพื่อกำหนดสเปกกลางสำหรับการสื่อสารในโลกของ Internet of Things (IoT)
สมาชิกในกลุ่มจะร่วมกันพัฒนาโพรโทคอลเปิดและซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่อิงอยู่บนมาตรฐานเหล่านี้ โดยช่วงแรกจะเน้นสินค้าแนวสมาร์ทโฮมและโซลูชันสำหรับที่ทำงาน
การรวมกลุ่มมาตรฐาน IoT เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนหน้านี้เราเห็นข่าวกลุ่ม AllSeen Alliance ที่นำโดย Qualcomm และมีสมาชิกอย่าง LG, Microsoft, Panasonic, Sharp เข้าร่วม
บอร์ดเสริมของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเช่น Arduino หรือ Raspberry Pi มักเพิ่มความสามารถที่มีคนใช้งานกันเยอะๆ เช่น การเชื่อมต่อไร้สาย หรือช่องควบคุมฮาร์ดแวร์บางอย่างเช่นมอเตอร์ แต่บอร์ดล่าสุดที่ออกมาชื่อว่า CryptoCape เป็นบอร์ดที่เพิ่มความสามารถในการเข้ารหัสให้กับบอร์ด BeagleBone Black
ชิปหลักที่ CryptoCape ใช้เสริมความสามารถให้กับ BeagleBone ได้แก่
นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น EEPROM ในตัวที่บอร์ดออกแบบไว้ให้เก็บข้อมูลเข้ารหัส, ไมโครคอนโทรลเลอร์บนตัวบอร์ด, และนาฬิกา RTC
เทคโนโลยี DirectTouch ของ NVIDIA ที่อยู่ใน Tegra 3 เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดโหลดของ touch controller บนระบบจอสัมผัสต่างๆ ที่ต้องประมวลผลการสัมผัสหน้าจอของผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา โดยย้ายโหลดเหล่านี้ไปประมวลผลใน Tegra 3 แทน
ข้อดีของมันคืออัตราการวัดการสัมผัสที่แม่นยำกว่าเดิม โดยเฉพาะกรณีที่สัมผัสหลายจุดมากๆ พร้อมกัน (ดูวิดีโอประกอบ)
NVIDIA ได้พาร์ทเนอร์มาก่อนหน้านี้แล้ว 3 รายคือ N-Trig, Raydium, Focaltech ที่จะผลิตฮาร์ดแวร์ระบบสัมผัสที่รองรับฟีเจอร์นี้ ซึ่งล่าสุด NVIDIA ก็ประกาศชื่อพาร์ทเนอร์ "รายใหญ่" แห่งวงการระบบสัมผัสอีก 3 ราย ได้แก่ Atmel, Cypress, Synaptics (รายหลังเราคงคุ้นชื่อกันดีจากการทำทัชแพด)
เคยเกริ่นกันไปแล้วในข่าว Atmel maXStylus ปากกาสไตลัสที่ใช้ได้พร้อมกับนิ้วสัมผัส, รองรับ Windows 8/ICS ตอนนี้ใกล้จะมีของจริงออกมาให้ใช้งานกันแล้ว และนั่นก็คือส่วนควบคุมการสัมผัสที่พูดถึงในข่าวเก่านั่นเอง
Atmel ได้เปิดตัวส่วนควบคุมการรับสัมผัส (Touchscreen Controller) สำหรับจอ LCD ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่สามไลน์ดังนี้
หลายคนแถวนี้คงฝันถึงการใช้ปากกาสไตลัสบนแท็บเล็ต ซึ่งที่ผ่านมาก็เริ่มมีหลายบริษัททำออกมาขายบ้างแล้ว
ล่าสุดบริษัท Atmel ที่ทำธุรกิจด้านจอสัมผัส ออกปากกาสไตลัสตระกูล maXStylus (ชื่อเขียนยากมาก) ที่มีเทคโนโลยี multiSense ช่วยให้เราใช้ปากกาพร้อมๆ กับนิ้วสัมผัสได้ การวาดรูปหรือจดข้อมูลบนจอแท็บเล็ตจึงทำได้ง่ายกว่าเดิมมาก (มือหนึ่งถือปากกา อีกมือหนึ่งใช้นิ้วซูมหรือหมุน ดูวิดีโอประกอบ)
ปากกาตระกูล maXStylus ยังมีเทคโนโลยีเสริมอีกหลายอย่าง เช่น ดักการวางฝ่ามือบนแท็บเล็ตขณะเขียน รองรับการกดหลายระดับ เซ็นเซอร์ทำงานที่ความถี่ 140Hz และมีเส้นปากกาบางเพียง 1 มิลลิเมตร