Amazon มีโปรโตคอลสื่อสารไร้สาย Sidewalk สำหรับอุปกรณ์ IoT เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2019 และเปิดทดสอบในวงปิดเมื่อปี 2021 ตอนนี้เปิด HDK/SDK ให้คนทั่วไปใช้งานแล้ว
Helium Network เป็นบริษัทด้านบล็อกเชน (หรือบ้างก็เรียก web3) ที่ทำระบบเครือข่ายเราเตอร์ LoRaWAN ผ่านมวลชนจำนวนมาก เพื่อให้บริการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT โดยนำแนวคิดบล็อกเชนและ token ($HNT) เข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ลงทุนซื้อเราเตอร์มาให้บริการ
Helium เคยถูกยกย่องว่าเป็นกรณีศึกษาว่า web3 สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในโลกจริงได้จริงๆ นะ (บทความในสื่อใหญ่อย่าง The New York Times ที่พาดหัวว่า Maybe There’s a Use for Crypto After All) แนวคิดของมันคือการสร้างเครือข่าย LoRaWAN โดยผู้ใช้ "ลงทุน" ซื้ออุปกรณ์ hotspot ราคาประมาณ 500 ดอลลาร์มาติดตั้งไว้เฉยๆ เปิดให้ Helium เข้ามาจัดการจากระยะไกล ซึ่ง Helium จะนำไปปล่อยเช่ากับ "ลูกค้าอุตสาหกรรมที่ต้องใช้งาน" และนำรายได้กลับเข้ามา "จ่ายคืน" ผู้ลงทุน โดยกระบวนการคิดค่าตอบแทนใช้ระบบ token เป็นสื่อกลางตามสมัยนิยม
แต่ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา Helium กลับถูกแฉว่า แทบไม่มีรายได้จากการเช่า LoRaWAN เข้ามาจริงๆ และลูกค้าที่ Helium แปะโลโก้ไว้บนหน้าเว็บ ซึ่งมีแบรนด์ดังๆ อย่าง Lime และ Salesforce ก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่เคยมีความสัมพันธ์กับ Helium แต่อย่างใด
Arduino เปิดตัวเกตเวย์สำหรับอุปกรณ์ IoT ในชื่อ Arduino PRO Gateway for LoRa โดยเป็นบอร์ด Raspberry Pi 3B+ มาพร้อมกับโมดูล Embit EMB-LR1301 ที่รองรับข้อมูลได้พร้อมกัน 8 ช่อง และเคสแบบความทนทานสูง
ผู้ซื้อเกตเวย์จะได้เข้าถึงบริการ Arduino IoT Cloud ในช่วงเบต้าก่อนเปิดตัวจริง โดยบริการนี้ทำให้การเซ็ตอัพเกตเวย์ทำได้ง่ายขึ้น
ตัวเกตเวย์นี้เข้ากันได้กับบอร์ด Arduino MKR WAN 1300 ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมีรุ่นแยกสำหรับคลื่น 915MHz สำหรับสหรัฐฯ และ 868MHz สำหรับยุโรป
เกตเวย์เริ่มเปิดรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าแล้ว ราคา 350 ยูโร เริ่มส่งมอบเดือนมกราคม 2019
CAT เปิดบริการเครือข่าย LoRa ตามที่ประกาศไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยตอนนี้พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 12 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, น่าน, สระบุรี, นครราชสีมา, ขอนแก่น, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, และภูเก็ต โดยระบุว่าจะขยายให้ทั่วประเทศภายในเวลา 2-3 ปี
สำหรับฮาร์ดแวร์ทาง CAT เตรียมไว้จำหน่ายสองแบบ คือแบบ Starter Kit ราคา 1,290 บาท และแบบโมดูลสื่อสาร 590 บาท ทั้งสองแบบมาพร้อมกับค่าบริการปีแรก ส่วนปีต่อๆ ไป 300 บาท
สำหรับหน่วยงานที่สนใจพัฒนาอุปกรณ์สามารถติดต่อรอรับบอร์ดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ด้วย
วันนี้เทศบาลนครขอนแก่นลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ Thailand IOT Consortium และบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง เตรียมพัฒนาระบบ IoT เพื่อใช้ในงานจัดการที่จอดรถ, ตรวจวัดค่าสิ่งแวดล้อม, และเตือนภัยพิบัติ
โครงการนี้จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นคัดเลือกเอกชนที่มีโซลูชั่นตรงกับแผนการเข้าทำงาน โดยเครือข่าย IoT ที่จะใช้ในโครงการนี้เป็น LoRa ทำงานที่ย่านความถี่ 920-925MHz ที่เป็น unlicensed band ตั้งเสาเกตเวย์โดยกสท โทรคมนาคม และส่วนเก็บข้อมูลก็เป็นเซิร์ฟเวอร์ของกสทอีกเช่นกัน
สำหรับเซ็นเซอร์สิ่งแวดล้อมในโครงการนี้ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์, ฝุ่นผง (particulate matter), อุณหภูมิ, ความชื้น, และความกดอากาศ
หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของกระแส IoT คือเครือข่ายที่ครอบคลุม ตอนนี้ยังมีหลายมาตรฐานแข่งกันอยู่ สำหรับคนที่สนใจจะพัฒนาเครือข่ายเอง pycom บริษัทที่เคยพัฒนาบอร์ด WiPy สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT สู่อินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi ก็หันมาพัฒนา LoPy บอร์ดเกตเวย์ขนาดจิ๋วสำหรับให้บริการเครือข่าย LoRa
LoPy ไม่ได้บอกว่าใช้ชิปอะไรภายในแต่ระบุว่าเป็น Cortex-M4 สองคอร์เป็น Wi-Fi SoC ฝั่ง LoRa นั้นใช้ชิป Samtech SX1272 ให้บริการอุปกรณ์ได้ถึง 100 ตัวในระยะทางถึง 5 กิโลเมตร (ในที่โล่ง) บนตัวบอร์ดของรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi และ Bluetooth ในตัว