Tags:
Node Thumbnail

Helium Network เป็นบริษัทด้านบล็อกเชน (หรือบ้างก็เรียก web3) ที่ทำระบบเครือข่ายเราเตอร์ LoRaWAN ผ่านมวลชนจำนวนมาก เพื่อให้บริการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT โดยนำแนวคิดบล็อกเชนและ token ($HNT) เข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ลงทุนซื้อเราเตอร์มาให้บริการ

Helium เคยถูกยกย่องว่าเป็นกรณีศึกษาว่า web3 สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในโลกจริงได้จริงๆ นะ (บทความในสื่อใหญ่อย่าง The New York Times ที่พาดหัวว่า Maybe There’s a Use for Crypto After All) แนวคิดของมันคือการสร้างเครือข่าย LoRaWAN โดยผู้ใช้ "ลงทุน" ซื้ออุปกรณ์ hotspot ราคาประมาณ 500 ดอลลาร์มาติดตั้งไว้เฉยๆ เปิดให้ Helium เข้ามาจัดการจากระยะไกล ซึ่ง Helium จะนำไปปล่อยเช่ากับ "ลูกค้าอุตสาหกรรมที่ต้องใช้งาน" และนำรายได้กลับเข้ามา "จ่ายคืน" ผู้ลงทุน โดยกระบวนการคิดค่าตอบแทนใช้ระบบ token เป็นสื่อกลางตามสมัยนิยม

แต่ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา Helium กลับถูกแฉว่า แทบไม่มีรายได้จากการเช่า LoRaWAN เข้ามาจริงๆ และลูกค้าที่ Helium แปะโลโก้ไว้บนหน้าเว็บ ซึ่งมีแบรนด์ดังๆ อย่าง Lime และ Salesforce ก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่เคยมีความสัมพันธ์กับ Helium แต่อย่างใด

Tags:
Node Thumbnail

Arduino เปิดตัวเกตเวย์สำหรับอุปกรณ์ IoT ในชื่อ Arduino PRO Gateway for LoRa โดยเป็นบอร์ด Raspberry Pi 3B+ มาพร้อมกับโมดูล Embit EMB-LR1301 ที่รองรับข้อมูลได้พร้อมกัน 8 ช่อง และเคสแบบความทนทานสูง

ผู้ซื้อเกตเวย์จะได้เข้าถึงบริการ Arduino IoT Cloud ในช่วงเบต้าก่อนเปิดตัวจริง โดยบริการนี้ทำให้การเซ็ตอัพเกตเวย์ทำได้ง่ายขึ้น

ตัวเกตเวย์นี้เข้ากันได้กับบอร์ด Arduino MKR WAN 1300 ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมีรุ่นแยกสำหรับคลื่น 915MHz สำหรับสหรัฐฯ และ 868MHz สำหรับยุโรป

เกตเวย์เริ่มเปิดรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าแล้ว ราคา 350 ยูโร เริ่มส่งมอบเดือนมกราคม 2019

Tags:
Node Thumbnail

CAT เปิดบริการเครือข่าย LoRa ตามที่ประกาศไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยตอนนี้พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 12 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, น่าน, สระบุรี, นครราชสีมา, ขอนแก่น, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, และภูเก็ต โดยระบุว่าจะขยายให้ทั่วประเทศภายในเวลา 2-3 ปี

สำหรับฮาร์ดแวร์ทาง CAT เตรียมไว้จำหน่ายสองแบบ คือแบบ Starter Kit ราคา 1,290 บาท และแบบโมดูลสื่อสาร 590 บาท ทั้งสองแบบมาพร้อมกับค่าบริการปีแรก ส่วนปีต่อๆ ไป 300 บาท

สำหรับหน่วยงานที่สนใจพัฒนาอุปกรณ์สามารถติดต่อรอรับบอร์ดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ด้วย

Tags:
Node Thumbnail

วันนี้เทศบาลนครขอนแก่นลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ Thailand IOT Consortium และบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง เตรียมพัฒนาระบบ IoT เพื่อใช้ในงานจัดการที่จอดรถ, ตรวจวัดค่าสิ่งแวดล้อม, และเตือนภัยพิบัติ

โครงการนี้จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นคัดเลือกเอกชนที่มีโซลูชั่นตรงกับแผนการเข้าทำงาน โดยเครือข่าย IoT ที่จะใช้ในโครงการนี้เป็น LoRa ทำงานที่ย่านความถี่ 920-925MHz ที่เป็น unlicensed band ตั้งเสาเกตเวย์โดยกสท โทรคมนาคม และส่วนเก็บข้อมูลก็เป็นเซิร์ฟเวอร์ของกสทอีกเช่นกัน

สำหรับเซ็นเซอร์สิ่งแวดล้อมในโครงการนี้ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์, ฝุ่นผง (particulate matter), อุณหภูมิ, ความชื้น, และความกดอากาศ

Tags:
Node Thumbnail

หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของกระแส IoT คือเครือข่ายที่ครอบคลุม ตอนนี้ยังมีหลายมาตรฐานแข่งกันอยู่ สำหรับคนที่สนใจจะพัฒนาเครือข่ายเอง pycom บริษัทที่เคยพัฒนาบอร์ด WiPy สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT สู่อินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi ก็หันมาพัฒนา LoPy บอร์ดเกตเวย์ขนาดจิ๋วสำหรับให้บริการเครือข่าย LoRa

LoPy ไม่ได้บอกว่าใช้ชิปอะไรภายในแต่ระบุว่าเป็น Cortex-M4 สองคอร์เป็น Wi-Fi SoC ฝั่ง LoRa นั้นใช้ชิป Samtech SX1272 ให้บริการอุปกรณ์ได้ถึง 100 ตัวในระยะทางถึง 5 กิโลเมตร (ในที่โล่ง) บนตัวบอร์ดของรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi และ Bluetooth ในตัว