แม้ว่ากระแสเทคโนโลยีองค์กรช่วงนี้จะหันไปทางไหนก็มีแต่ AI, ปัญญาประดิษฐ์กันไปหมด แต่ก็คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า คำว่า Data is the (new) oil ยังคงเป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน เพราะไม่ว่าองค์กรจะนำเทคโนโลยีใหม่แค่ไหนมาใช้งาน แต่ Big Data ยังคงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ
แต่สิ่งหนึ่งที่หลายองค์กรอาจจะยังไม่รู้คือข้อมูลที่เรียกว่า Telco Data Insights จากผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่สามารถเป็นชุดข้อมูลสำคัญเพื่อช่วยให้องค์กรในต่อยอดธุรกิจได้อย่างแม่นยำ เข้าใจลูกค้า ไปจนถึงเข้าใจตลาดได้มากยิ่งขึ้น
AIS Business เปิดเผยแผนธุรกิจปี 2024-2025 ด้วยการนำโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายอัจฉริยะ ช่วยส่งเสริมและติดสปีดให้การทำงานขององค์กรภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ช่วยหนุนขีดความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันให้ประเทศ ภายใต้แนวคิด AIS Business Digital Evolution: Sustainable Business for a Sustainable Nation
AIS Business เปิดตัวบริการใหม่ analyticX ภายในงาน Martech Expo 2024 เพื่อช่วยส่งเสริมและต่อยอดธุรกิจองค์กรให้ดียิ่งขึ้นด้วย Data โดย analyticX มีบริการครอบคลุมถึงการให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากภาคธุรกิจเองเท่านั้น แต่ยังเสริมด้วย Insights ของข้อมูล Telco Data จาก AIS เอง รวมไปถึงบริการด้านการให้คำแนะนำในการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อประโยชน์ทางด้านการตลาดที่จะช่วยให้องค์กรสามารถวิเคราะห์ข้อมูล ให้ใช้ประโยชน์เชิงลึกได้มากขึ้น เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้น
ในงาน AIS Business Digital Future 2024: DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION ที่ผ่านมามีการนำเสนอถึงเทคโนโลยีและแนวทางการใช้งานบริการต่างๆ ของ AIS ต่อโลกธุรกิจที่ต่างไปจากการใช้งานของผู้ใช้ทั่วไปที่มักใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั้งบริการ 5G และบริการอินเทอร์เน็ตบ้าน แต่ในโลกธุรกิจนั้นมีความต้องการใช้งานเทคโนโลยีในรูปแบบที่ต่างออกไปจากผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป หลายองค์กรมีแนวทางที่ใช้งานต่างกันแม้จะเป็นเครือข่าย 5G เหมือนกันก็ตาม
ที่งาน AIS Business Digital Future 2024 วันนี้ AIS โชว์บริการระดับองค์กรหลายอย่างโดยเน้นธุรกิจการผลิต, ลอจิสติก, อสังหาริมทรัพย์และการค้าปลีก โดยบริการตัวหนึ่งที่ออกมาโชว์ในงานนี้ คือ Communications Platform-as-a-Service (CPaaS) แพลตฟอร์มที่เปิดให้องค์กรเข้าไปคอนฟิกบริการโทรศัพท์และ SMS ได้อย่างละเอียด
ลูกค้ากลุ่มธุรกิจ SME ทุกวันนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญ เพราะถือเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนของเศรษฐกิจประเทศ แม้เราจะผ่านช่วงเหตุ COVID-19 กันมาแล้ว แต่กลุ่มSME ก็ยังคงสร้าง GDP ให้กับประเทศในสัดส่วนที่สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ สภาวะเศรษฐกิจ และดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ทำให้ SME ต้องปรับตัวอย่างหนัก เพราะลูกค้าชินกับการเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องออนไลน์ไปเป็นที่เรียบร้อย ทั้งยังชินกับการจ่ายเงินผ่านช่องทางดิจิทัลทั้งบัตรเครดิตหรือแอปต่างๆ
ชื่อ AIS เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคมอันดับหนึ่งของไทย แต่หลายปีที่ผ่านมา AIS ก็ได้ทำ Transformation ปรับเปลี่ยนแนวทางของบริษัทกลายเป็น Digitial Life Service Provider ที่ลูกค้าจะสามารถเลือกใช้บริการจาก AIS ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่การสื่อสารที่เป็นท่อเชื่อมต่อไปยังบริการอื่นๆ เท่านั้น แต่บริการต่างๆ ที่สำคัญในยุคดิจิทัลก็สามารถเลือกใช้ AIS ได้เสมอ และขั้นต่อไปของ AIS คือการก้าวไปสู่องค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co เป็นการขยายบริการ จากเดิมที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์สู่การเป็นผู้ให้บริการที่รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรหรือมีปัญหาการใช้งานอย่างไรบ้าง ผ่านการใช้งานเทคโนโลยีอย่าง AI, Data Analytics, Intelligent IT, และ Autonomous Network
ภัยไซเบอร์ทุกวันนี้คนร้ายสามารถหาจุดที่อ่อนแอที่สุดแล้วโจมตีไม่ว่าส่วนที่อ่อนแอนั้นจะเป็นส่วนที่เล็กน้อยเพียงใดก็ตาม แต่โครงสร้างไอทีที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวันนี้ องค์กรมักใช้คลาวด์จากผู้ให้บริการหลายราย รวมถึงมีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในศูนย์ข้อมูลขององค์กรเอง การดูแลว่าระบบใดมีความผิดพลาดในจุดใด เช่น การเปิดพอร์ตเกินความจำเป็น หรือมีการคอนฟิกที่ผิดหลักความปลอดภัยบางประการกลายเป็นเรื่องยากที่จะดูแลได้ทั่วถึง เซิร์ฟเวอร์สักตัวอาจจะคอนฟิกผิดพลาด ไม่ทำตามหลักความปลอดภัยที่ดี หรือใช้ซอฟต์แวร์เก่าจนเกิดความเสี่ยงกับระบบโดยรวม โครงสร้างไอทีขององค์กรเองกระจายตัวมากขึ้น ทั้งที่อยู่บนคลาวด์หลายราย เช่น Microsoft Azure, AWS, GCP หรือคลาวด์ผู้ให้บริการคลาวด์ในประเทศอย่าง AIS Cloud X ตลอดจนคลาวด์ภายในขององค์กรเอง
ระบบฐานข้อมูลนับเป็นหัวใจสำหรับของธุรกิจจำนวนมาก ข้อมูลทางธุรกิจ และข้อมูลลูกค้าล้วนอยู่บนระบบฐานข้อมูลนี้และต้องอาศัยการดูแลที่วางใจได้ มีการรักษาความปลอดภัยที่ดี มีการแก้ไขช่องโหว่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และต้องสามารถทำงานได้รวดเร็ว งานเหล่านี้นับเป็นความยุ่งยากของทีมไอทีในองค์กรที่ต้องคอยดูแลระบบฐานข้อมูลให้ทำงานต่อเนื่อง อีกทั้งต้องวางแผนว่าซอฟต์แวร์จะหมดอายุซัพพอร์ตในช่วงเวลาใด ทำให้ต้องมีการย้ายระบบและทดสอบครั้งใหญ่เมื่อต้องเปลี่ยนเวอร์ชั่นซอฟต์แวร์ในแต่ละครั้ง