ฮิตาชิได้โชว์ต้นแบบหน้าจอสัมผัสแบบ capacitive ที่ไม่เพียงแต่รองรับการสัมผัสจากนิ้วมือโดยตรงเท่านั้น แต่ยังรองรับการสัมผัสขณะสวมถุงมือและรองรับการใช้ปากกาแทนนิ้วได้อีกด้วย
ฮิตาชิไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดเชิงลึกของเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาหน้าจอดังกล่าว แต่บริษัทเปิดเผยแต่เพียงว่าวิศวกรได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและเพิ่มส่วนประกอบเข้าไปโดยคงความหนาและขนาดของ LCD ไว้เหมือนจอแบบปัจจุบัน นอกจากนั้นทีมพัฒนายังได้ปรับปรุงอัลกอริทึมเพื่อใช้ตรวจจับวัตถุอื่นที่มิใช่นิ้วมือคนอีกด้วย
หน้าจอแบบ Capacitive นั้นอาศัยหลักการของไฟฟ้าสถิตย์บนผิวหนังของคน ทำให้ไม่สามารถใช้สไตลัสหรือปากกาในการจิ้มหน้าจอได้ แต่ปัญหาดังกล่าวนี้ถูกแก้ไขง่ายๆ ในเกาหลีใต้ด้วยการใช้ไส้กรอกจิ้มหน้าจอแทนครับ (ดูวิดีโอประกอบกันได้)
เหตุผลที่จำเป็นต้องใช้ไส้กรอกนี้เพราะในช่วงนี้สภาพอากาศที่หนาวเย็นในเกาหลีใต้นั้นทำให้ทุกคนต้องใส่ถุงมือ ซึ่งแน่นอนว่าหลังจากใส่ถุงมือแล้วก็ไม่สามารถใช้หน้าจอสัมผัสได้ ครั้นจะใช้ปากกาสำหรับหน้าจอแบบนี้โดยเฉพาะก็แพงและหาซื้อยาก ผู้คนจึงหันมาพกไส้กรอกไว้จิ้มหน้าจอเอาแทน ว่ากันว่าในเกาหลีใต้นั้นการใช้ไส้กรอกจิ้มหน้าจอนี้ถึงกับทำให้บริษัทไส้กรอกมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษเลยทีเดียว
หลายคนเคยบ่นว่า จอยุคใหม่ควรจะเป็น
Capacitive touchscreen (แบบ iPhone ของ Apple)
เพราะมี ข้อดีคือ
แต่มีข้อเสียคือ
จอสัมผัสยุคเก่า หรือที่ใช้กันอยู่ในมือถือส่วนมากในปัจจุบันชื่อ Resistive touchscreen ได้รับความนิยมเพราะมันถูกกว่า Capacitive touchscreen
คนบ่นกันว่าข้อเสียมันคือ
แต่ข้อจำกัดทาง Multitouch จะหมดไป Stantum's technology (ข่าวจากงาน MWC 2009)ได้ปรับปรุง Software สำหรับ resistive touchscreen ให้ใช้ Multitouch ได้
(ดูวีดีโอประกอบด้านล่างครับ)