Mishaal Rahman บล็อกเกอร์สาย Android ชื่อดัง เปิดเผยฟีเจอร์เล็กๆ ของมือถือ Pixel 9 ที่กูเกิลไม่เคยพูดถึง แต่มีให้ใช้งานในรอมของ Pixel รุ่นที่วางขายจริง ฟีเจอร์นี้คือ Adaptive Touch ที่ช่วยให้นิ้วมือเปียกน้ำแตะจอได้แม่นยำขึ้น
ใน Pixel 8 มีฟีเจอร์ Screen Protector Mode ตรวจจับการแปะฟิล์มกันรอย เพื่อเพิ่มระดับการตรวจการสัมผัส (touch sensitivity) มาก่อนแล้ว ส่วนฟีเจอร์ Adaptive Touch ของ Pixel 9 เพิ่มตัวเลือกใหม่มาอยู่ข้างๆ กัน สำหรับกิจกรรมอื่นๆ ด้วย ซึ่งรวมถึงหน้าจอเปียกน้ำ หรือนิ้วเปียกน้ำ (ตัวเลือกทั้งสองอยู่ในหน้า Settings > Display > Touch sensitivity)
นักวิจัยสาธิตการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถไปควบคุมการทำงานของแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอส้มผัสได้ราวกับว่ามี "นิ้วล่องหน" ไปแตะสัมผัสหน้าจอเพื่อใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ อยู่จริง
การสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวทำได้โดยการปล่อยสัญญาณออกจากแผงเสาอากาศที่ถูกติดตั้งซุกซ่อนไว้ในตำแหน่งใกล้หน้าจอของอุปกรณ์เป้าหมาย ซึ่งเทคนิคการโจมตีเพื่อแฮคอุปกรณ์ที่ว่านี้เรียกว่า Intentional Electromagnetic Interference (IEMI) attack
Japan Airlines (JAL) เริ่มทดสอบตู้ kiosk สำหรับเช็คอินในสนามบินฮาเนดะ โดยเป็นหน้าจอแบบไร้สัมผัส (touchless) ที่พัฒนาโดย Mitsubishi Electric และ Oki Electric Industry ทดสอบจอสัมผัสแบบเดิม เพื่อให้ความมั่นใจกับผู้โดยสารในช่วง COVID-19 เช่นนี้
จอมีเซ็นเซอร์อินฟราเรดตรวจระยะห่างของนิ้ว และถือว่าเหมือนกดจอเมื่อนิ้วเข้าระยะจากจอ 3 เซนติเมตร
ตอนนี้ทาง JAL ติดตั้งตู้ทดสอบแล้วสองตู้ มีระยะเวลาทดสอบประมาณ 3 สัปดาห์ถึงวันที่ 15 กันยายนนี้ จากนั้นจะพิจารณาว่าจะติดตั้งเต็มรูปแบบหรือไม่
ที่มา - JAL, Japan Times
ค่ำคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้คนทั่วโลกต่างพุ่งความสนใจไปที่สนาม Luzhniki Stadium เพื่อติดตามการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลโลก 2018 แต่ ณ วันและสถานที่เดียวกันนั้นเอง สตาร์ทอัพจีนนาม Royole ได้ถือโอกาสอวดโฉมผลิตภัณฑ์ที่เรียกความสนใจจากคนรอบข้างได้เป็นอย่างดี
สินค้าของ Royole ที่ว่านี้คือเสื้อยืดที่มีหน้าจอสัมผัส AMOLED แปะหราอยู่กลางหน้าอก และหมวกที่ติดหน้าจอไว้ด้านหน้า ซึ่งลำพังตัวเสื้อและหมวกนั้นก็เป็นเครื่องนุ่งห่มที่ถักทอขึ้นมาธรรมดาไม่ได้พิเศษไปกว่าสินค้าจากผู้ผลิตเครื่องแต่งกายรายอื่นเท่าใดนัก จุดเด่นที่สำคัญจริงๆ ก็คือหน้าจอสัมผัส AMOLED ที่ติดตั้งอยู่บนเสื้อและหมวกต่างหาก
บริษัท AirBar โชว์เครื่องต้นแบบอุปกรณ์รับการสัมผัสบริเวณหน้าจอสำหรับ MacBook Air รุ่นขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้ว (แต่มีวางจำหน่ายเวอร์ชันสำหรับโน้ตบุ๊กขนาด 15.6 นิ้วมาก่อนแล้ว) โดยเป็นแผงเซ็นเซอร์ขนาดเล็กที่วางไว้ด้านบนสุดของคีย์บอร์ดแล้วยึดไว้ด้วยแม่เหล็ก
สำหรับการใช้งานนั้น AirBar อ้างว่าสามารถเสียบและใช้งานได้ทันที รองรับการใช้งานทั้งแตะธรรมดา ย่อ-ขยายและเลื่อน จากการทดสอบของ Engadget ด้วย Google Maps และ Paintbrush ก็พบว่าสามารถทำงานได้ดี แต่ฟังก์ชันการย่อ-ขยายและการเลื่อนยังไม่สามารถใช้งานได้เพราะยังเป็นเพียงเครื่องต้นแบบ
AirBar สำหรับ MacBook Air 13” จะวางจำหน่ายในเดือนมีนาคมนี้ บนแอมะซอนด้วยราคาชุดละ 99 ดอลลาร์สหรัฐ
ผู้ใช้ iPhone 6 และ iPhone 6 Plus กลุ่มหนึ่ง เตรียมฟ้องแอปเปิลแบบกลุ่ม (class-action) จากปัญหาจอสัมผัสไม่ตอบสนอง จนไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์ได้ อาการคือพบแถบสีเทาปรากฏขึ้นที่ขอบด้านบนของหน้าจอ
เว็บไซต์จอมแกะ iFixit เรียกปัญหานี้ว่า Touch Disease โดยระบุข้อมูลจากร้านซ่อมมือถือบางแห่งในสหรัฐว่ามีคนส่งซ่อมเครื่องจากปัญหานี้ มากเกิน 100 เครื่องต่อเดือน และมีผู้ใช้คนหนึ่งโพสต์ข้อมูลว่าเจ้าหน้าที่ในร้าน Apple Store ก็รับทราบปัญหานี้ เพราะเจอบ่อย แต่ทางแอปเปิลไม่ถือเป็นปัญหา defect จากฝั่งบริษัท เจ้าหน้าที่จึงไม่สามารถช่วยอะไรได้
ผ่านมาถึง 10 เดือนหลังจากที่ Tactus ได้นำเอางานต้นแบบเคส iPad mini ที่มีหน้าจอแบบเปลี่ยนรูปยุบได้พองได้ออกมาโชว์ ตอนนี้ Tactus ก็ได้วางจำหน่ายเคสที่ว่านี้แล้ว
เว็บไซต์ข่าวไอทีภาคภาษาเวียดนาม TechRum.vn รายงานว่า ไมโครซอฟท์จะปล่อยอัพเดตแก้ปัญหาจอสัมผัสให้ Lumia 535 ในวันที่ 27 ธ.ค. นี้
เนื่องจาก TechRum.vn ไม่ได้ระบุว่า Lumia 535 ในประเทศอื่นจะได้อัพเดตในวันดังกล่าวหรือไม่ ใครที่ใช้ Lumia 535 ก็ลองเช็คอัพเดตในวันดังกล่าวดูครับ
ที่มา: TechRum.vn ผ่าน WMPoweruser
มีผู้ใช้ Lumia 535 วินโดวส์โฟนตัวแรกภายใต้แบรนด์ Microsoft รายงานว่า เครื่องมีปัญหาด้านการรับรู้การสัมผัสบนหน้าจอ อาทิ กดปุ่มจุดสามจุดเพื่อเรียกเมนูย่อยลำบาก เป็นต้น
ทีมงาน Winphoneviet เว็บไซต์ชุมชนวินโดวส์โฟนชาวเวียดนาม ได้ทดสอบและพบว่ามือถือมีปัญหาเรื่องความแม่นยำในการติดตามการสัมผัสของนิ้วจริง โดยเฉพาะเมื่อมีหลายนิ้วสัมผัสบนหน้าจอ
เว็บไซต์ WMPoweruser กล่าวว่าไมโครซอฟท์รับทราบปัญหาแล้ว และมีแผนปล่อยอัพเดตมาแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าจะเป็นเมื่อใด
ที่มา: WMPoweruser
คนที่รอแอปเปิลทำเครื่องแมคจอสัมผัสคงฝันสลาย เพราะ Craig Federighi ผู้บริหารด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของแอปเปิล ให้สัมภาษณ์กับ CNET ว่าแอปเปิลไม่มีแผนทำฮาร์ดแวร์ลักษณะนี้
Federighi ให้เหตุผลว่าเครื่องแมคออกแบบมาสำหรับการนั่งใช้งานบนโต๊ะ และไม่คิดว่าอินเทอร์เฟซของมันเหมาะกับจอสัมผัสเท่าไรนัก ถ้าหากทำเครื่องแมคจอสัมผัสแล้วต้องยกมือขึ้นเอื้อมไปแตะจอตลอดเวลา คงไม่ใช่ประสบการณ์ที่ดีนัก
เขายังบอกด้วยว่าแอปเปิลทดลองเทคโนโลยีหลายรูปแบบ และพบว่าการทำเครื่องแมคจอสัมผัสไม่เวิร์คอย่างแรง ถึงขนาดแอปเปิลไม่คิดจะลองทำมาสักรุ่นด้วยซ้ำ
ที่มา - CNET
หนึ่งในคุณสมบัติของหน้าจอสัมผัสที่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนหลากหลายยี่ห้อพยายามปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นมาตลอด คือเรื่องความทนทานต่อรอยขีดข่วน และความไวในการตอบสนองต่อการสัมผัสของผู้ใช้งาน (บ้างก็ปรับปรุงให้ใช้งานได้แม้ในขณะที่หน้าจอเปียกไปด้วยหยดน้ำ บ้างก็เพิ่มโหมดการใช้งานขณะสวมใส่ถุงมือ) แต่จะมีวิธีไหนที่จะเหมาะแก่การทดสอบคุณสมบัติเหล่านี้ของหน้าจอสมาร์ทโฟน
หากใครยังจำ Tactus ได้ นี่คือผู้พัฒนาหน้าจอสัมผัสแบบเปลี่ยนร่างได้ โดยหน้าจออาจมีปุ่มนูนขึ้นมาและยุบหายไปได้ ขึ้นอยู่กับภาพที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอในขณะนั้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถูกนำมาโชว์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว หากแต่ยังไม่มีการนำไปต่อยอดผลิตเป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์แบบจริงจังเสียที ทว่าล่าสุด Tactus ได้พันธมิตรใหม่ที่มาร่วมลงทุนกับเทคโนโลยีนี้ของตน ซึ่งก็คือ Wistron และมีแผนที่จะพัฒนาสินค้าตัวแรกด้วยเทคโนโลยีนี้ออกวางขายภายในปีนี้
Apple เพิ่งได้รับอนุมัติสิทธิบัตรฉบับใหม่ว่าด้วยเรื่องการผลิตหน้าจอสัมผัสแบบผิวโค้ง สอดรับกับข่าวลือที่ว่ากำลังทำนาฬิกาอัจฉริยะที่มีหน้าจอโค้งมน
Acer เปิดตัว Chromebook C720P ซึ่งเป็นเวอร์ชันจอสัมผัสของ Chromebook C720 ที่เพิ่งอัพเดตสเปกมาก่อนหน้านี้
สเปกของ C720P เหมือนกับ C720 เกือบหมด หน้าจอ 11.6" 1366x768, Celeron 2955U Haswell, แรม 2GB DDR3 จุดต่างคือ SSD เพิ่มเป็น 32GB และเปลี่ยนเป็นจอสัมผัส
จุดที่น่าสนใจคือ C720P ตั้งราคาอยู่ที่ 299 ดอลลาร์ (แพงกว่ารุ่นจอไม่สัมผัส 100 ดอลลาร์) ซึ่งก็ถือว่าถูกพอสมควรสำหรับโน้ตบุ๊กจอสัมผัสในสภาพตลาดปัจจุบัน (อย่างไรก็ตาม Chrome OS ก็ถูกวิจารณ์มาตั้งแต่สมัย Chromebook Pixel ว่าไม่ได้ออกแบบมาสำหรับจอสัมผัสเท่าไรนัก)
Chromebook C720P จะเริ่มวางขายในสหรัฐเดือนธันวาคมนี้
ผลงานวิจัยใหม่ของ Disney Research เป็นการพัฒนาหน้าจอสัมผัส ที่นอกจากจะใช้แสดงภาพแล้ว ยังสามารถถ่ายทอดผิวสัมผัสของวัตถุตามที่ปรากฏบนหน้าจอให้ผู้ใช้รับรู้ผ่านปลายนิ้วได้ด้วย
ผลงานนี้มุ่งเน้นการสร้างผิวสัมผัสที่แตกต่างกันในแต่ละส่วนของหน้าจอ โดยพื้นที่ซึ่งให้ผิวสัมผัสที่แตกต่างกันนั้นจะแปรเปลี่ยนตามภาพที่ฉายอยู่บนหน้าจอนั้น โดยเทคนิคที่ Disney นำมาใช้คือการปล่อยแรงดันไฟฟ้าเพื่อสร้างการสั่นสะเทือนให้แก่หน้าจอซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียดทานขึ้นที่ปลายนิ้วของผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกเสมือนได้สัมผัสวัตถุในภาพ ทั้งนี้แรงสั่นสะเทือนที่แตกต่างกันจะมีผลให้ความเสียดทานที่เกิดขึ้นมามีความแตกต่างกันออกไปด้วย จึงสามารถถ่ายทอดผิวสัมผัสของวัตถุที่มีความลึกหลากหลายได้
Google เตรียมปล่อย Chromebook รุ่นใหม่ออกมาตีตลาดอีกครั้ง โดยรอบนี้เป็น Acer ที่รับหน้าที่เป็นผู้ผลิตเครื่อง มีเลขรุ่นคือ C720 ซึ่งมีข้อมูลว่า Acer จะมีหน้าจอสัมผัสให้เลือกเป็นฟีเจอร์เสริมของ Chromebook ได้ด้วย
ส่วนรายละเอียดอื่นของ Chromebook ตัวใหม่ จนถึงขณะนี้สามารถสรุปข้อมูลเครื่องโดยสังเขปได้ดังนี้
หลังจากที่มีการเผยแพร่ผลการทดสอบความเร็วในการตอบสนองที่ iPhone ออกมาชนะสมาร์ทโฟนตัวอื่นไปอย่างขาดลอย ทำให้ตัวผมเองอยากจะรู้ขึ้นมาบ้างว่าอุปกรณ์ที่ตัวเองใช้อยู่มีค่านี้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงกำลังขัดใจที่ "รู้สึก" ว่าของใหม่อย่าง Nokia Lumia 920 ตอบสนองได้ช้ากว่า HTC 7 Mozart แล้วไม่อยากจบที่ความรู้สึก อยากจะเห็นผลอย่างเป็นทางการด้วย
การทดสอบนี้ทำแค่คร่าวๆ ด้วยการใช้กล้องวิดีโอความเร็วสูง ถ่ายที่ความเร็ว ๒๔๐ เฟรมต่อวินาที แล้วใช้การนับเฟรมมาหารด้วย ๒๔๐ ให้ออกมาเป็นหน่วยวินาทีแทน
ภาพในวิดีโอ ถูกแปลงจาก ๒๔๐ เฟรมต่อวินาทีลงมาเป็น ๒๔ เฟรมต่อวินาที ทำให้มีความเร็ว ๑ ใน ๑๐ ของภาพจริง
นักวิเคราะห์ของ IDC ออกมาเผยตัวเลขของสัดส่วนโน้ตบุ๊กจอสัมผัสในท้องตลาดว่า เดิมทีเคยประเมินไว้ว่าปี 2013 โน้ตบุ๊กประมาณ 17-18% จะเป็นจอสัมผัสแล้ว แต่ในความเป็นจริงตัวเลขกลับไม่เข้าเป้า และ IDC ต้องปรับลดตัวเลขประเมินใหม่ลงเหลือ 10-15% แทน
เหตุผลสำคัญที่โน้ตบุ๊กจอสัมผัสเติบโตไม่เข้าเป้าเป็นเพราะราคาแพงเกินกว่าโน้ตบุ๊กจอปกติมาก (บางครั้งแพงกว่ากันเป็นเท่าตัว) และผู้บริโภคเองก็ยังไม่เห็นประโยชน์จากจอสัมผัสมากนัก แถมเรายังไม่เห็นแอพที่ดึงพลังของจอสัมผัสบนโน้ตบุ๊กออกมาได้อย่างเต็มที่อีกด้วย
การเติบโตของพีซีจอสัมผัสที่น้อยกว่าที่คาด ส่งผลกระทบกับยอดขายของ Windows 8 ซึ่งนักวิเคราะห์ของ IDC ก็เสนอให้ไมโครซอฟท์รีบกลับมาผลักดันตลาดพีซีจอไม่สัมผัสที่ยังเป็นส่วนใหญ่ของตลาด
Microsoft เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้แก่ Internet Explorer 11 หลายรายการ เน้นการใช้งานผ่านหน้าจอสัมผัส
Internet Explorer 11 ซึ่งจะเป็นเว็บเบราว์เซอร์มาตรฐานสำหรับ Windows 8.1 ได้รับการปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมต่อการใช้งานผ่านอุปกรณ์ที่มีหน้าจอสัมผัสยิ่งขึ้น จากแต่เดิมที่ การใช้งานระบบสัมผัสกับ Internet Explorer 11 สามารถทำได้เพียงใช้นิ้วแตะที่ลิงก์บนหน้าจอเพื่อเปิดหน้าเว็บของลิงก์นั้น
ฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นมามีดังนี้
แม้ว่ายอดขายของ Windows 8 จะไม่ตื่นตาตื่นใจนัก แต่การมาของระบบปฏิบัติการที่รองรับหน้าจอสัมผัสทั้งระบบก็ช่วยดันยอดของโน้ตบุ๊กจอสัมผัสไปได้พอสมควร จากตัวเลขของ DisplayBank พบว่าไตรมาสแรกของปี 2013 โน้ตบุ๊กจอสัมผัสมีสัดส่วน 1 ใน 10 จากโน้ตบุ๊กทั้งหมดที่ขายไปแล้ว
นับเป็นตัวเลขแบบชัดๆ คือจากยอดขายที่ DisplayBank ระบุว่าโน้ตบุ๊กที่ขายไปไตรมาสแรกของปีนี้มีจำนวนทั้งหมด 46 ล้านเครื่อง ในนั้นมีโน้ตบุ๊กจอสัมผัสถึง 4.57 ล้านเครื่องด้วยกัน
แม้ว่าเมื่อเทียบกับตัวเลขทั้งหมดแล้ว จำนวนโน้ตบุ๊กจอสัมผัสยังไม่สูงนัก แต่ก็เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าถึง 51.8% และต้องไม่ลืมว่าในกลุ่มโน้ตบุ๊กที่ใช้จอสัมผัสนั้นเป็นโน้ตบุ๊กราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับตลาดโดยรวม
HP กำลังพัฒนาเทคโนโลยีหน้าจอแสดงภาพ 3 มิติ โดยไม่ต้องใช้แว่นตาประกอบการใช้งาน เล็งนำไปประยุกต์ใช้กับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต
แนวคิดของ HP คือการทำพื้นผิวหน้าจอให้มีรอยบุ๋มรูปทรงกลมขนาดเล็กๆ กระจายอยู่เต็มหน้าจอ โดยรอยบุ๋มดังกล่าวจะก่อให้เกิดการกระเจิงของแสงที่ออกจากหน้าจอ ทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพบนหน้าจอจากมุมมองแต่ละองศาแตกต่างกันไป และนั่นหมายถึงผู้ใช้จะสามารถมองเห็นภาพ 3 มิติจากหน้าจอได้ แม้ตอนที่เอียงหน้าจอ หรือในขณะที่เคลื่อนหน้าจอไปมาก็ตาม
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าววงในว่ากูเกิลกำลังพัฒนาโน้ตบุ๊ก Chromebook ที่เป็นจอสัมผัส และจะวางขายภายในปีนี้ แต่ยังไม่มีรายละเอียดวันเปิดตัวหรือผู้ผลิตฮาร์ดแวร์
ข่าวนี้ของ Wall Street Journal สอดคล้องกับข่าวหลุดก่อนหน้านี้ของ Chromebook Pixel ถ้าข่าวเป็นจริงเราอาจได้เห็นมันที่งาน Google I/O 2013 เดือนพฤษภาคมครับ
ที่มา - Wall Street Journal
Apple ได้สิทธิบัตรเกี่ยวกับการประดิษฐ์แป้นสัมผัสสำหรับรองรับการป้อนคำสั่งของผู้ใช้งาน โดยการออกแบบใช้แผงตัวนำไฟฟ้าฝังไว้ใต้แป้นสัมผัส ซึ่งแผงตัวนำชุดเดียวกันนี้จะทำหน้าที่ดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อนำไปหมุนเวียนเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวอุปกรณ์ด้วย
ประโยชน์สำคัญประการแรกที่ได้รับจากเทคโนโลยีนี้ คือสามารถลดขนาดของอุปกรณ์ให้เล็กลงได้ เนื่องจากพื้นที่รับการสั่งงานด้วยการสัมผัสและพื้นที่รับพลังงานแสงถูกนำมาซ้อนทับเป็นบริเวณเดียวกัน
สำหรับผู้ใช้อุปกรณ์จอสัมผัส แม้ว่าจะใช้มานานจนชิน แต่ทุกครั้งที่ต้องพิมพ์บนหน้าจอก็คงคิดถึงคีย์บอร์ดแบบเดิมที่เคยใช้บนคอมพิวเตอร์ สำหรับคนที่ยังเป็นแบบนั้นอยู่คงจะชอบ Tactile Layer เทคโนโลยีใหม่สำหรับการพิมพ์บนจอสัมผัสที่ดีขึ้นจากบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ Tactus
ตัวเทคโนโลยี Tactile Layer คือการสร้างอินเทอร์เฟซเสมือนว่ากำลังพิมพ์อยู่บนคีย์บอร์ดจริงๆ (ที่เป็นฮาร์ดคีย์บอร์ด) บนหน้าจอตำแหน่งเดียวกับคีย์บอร์ด และสัมผัสได้เหมือนกับคีย์บอร์ดจริง นอกจากหน้าตาจะเหมือนแล้ว ยังสามารถวางนิ้วได้ด้วย หลังจากไม่ใช้งานคีย์บอร์ด ตรงส่วนหน้าจอก็จะกลับมาเป็นปกติ
ตัวเทคโนโลยี Tactile Layer ใช้งานได้ด้วยการเปลี่ยนตัวกระจกด้านหน้าของจอ ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าเจ้าไหนจะหยิบเทคโนโลยีนี้ไปใช้ครับ
Tactus เป็นผู้ผลิตหน้าจอสัมผัสแบบพิเศษที่สามารถปรับพื้นผิวเป็นปุ่มนูนได้ตามการใช้งาน โดยเปิดตัวหน้าจอรุ่นต้นแบบตั้งแต่ปีกลาย จนมาถึงงาน CES 2013 นี้ก็ถือเป็นเวทีโชว์ตัวของ Tactus อีกครั้ง
จากแนวคิดที่ว่าบางเวลาผู้ใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตซึ่งสั่งการผ่านจอสัมผัสอาจต้องการใช้งานอุปกรณ์แบบมีปุ่มกดจริงๆ ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาแชท และคอเกมทั้งหลายซึ่งน่าจะเข้าใจความรู้สึกดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงกลายเป็นที่มาของ Tactus ซึ่งเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีมาตั้งแต่ปี 2007 หลังได้แรงบันดาลใจจากการเปิดตัวอุปกรณ์แห่งยุคอย่าง iPhone