นักวิจัยจาก Hold Security พบแฮกเกอร์รัสเซียประกาศขายข้อมูลบัญชีอีเมลอยู่ในฟอรั่มออนไลน์โดยระบุว่าเขามีบัญชีอีเมลกว่าพันล้านบัญชี และหลังจากตรวจสอบและลบข้อมูลซ้ำซ้อนแล้ว พบว่าเป็นข้อมูลบัญชีอีเมล 272.3 ล้านบัญชี
ข้อมูลจำนวนมากเป็นบัญชีของบริการ Mail.ru ถึง 57 ล้านบัญชี ส่วนข้อมูลจากจีเมล 24 ล้านบัญชี, ไมโครซอฟท์ 33 ล้านบัญชี, และยาฮู 40 ล้านบัญชี ที่เหลือเป็นอีเมลจากผู้ให้บริการอื่นในจีนและเยอรมัน
แฮกเกอร์รายนี้ประกาศขายรายชื่อและรหัสผ่านทั้งหมดในราคา 50 รูเบิลหรือเพียง 26 บาท
ตอนนี้ Mail.ru ระบุกับทาง Reuters ว่ากำลังตรวจสอบว่าอีเมลและรหัสผ่านเหล่านี้เป็นของบัญชีที่มีการใช้งานจริงหรือไม่
Alex Holden นักวิจัยความปลอดภัย ผู้ก่อตั้งบริษัท Hold Security ที่มีผลงานค้นพบข้อมูลหลุด (data breach) ชุดใหญ่มาแล้วหลายครั้ง (Adobe ปี 2013 และ แก๊งแฮ็กเกอร์รัสเซียปี 2014) ประกาศพบข้อมูลรั่วไหลอีก 272.3 ล้านบัญชีในฟอรั่มของแฮ็กเกอร์รัสเซีย
ข้อมูลชุดนี้มีที่มาจากหลายแหล่ง ก้อนใหญ่ที่สุดเป็นบัญชีผู้ใช้ Mail.ru ที่นิยมในรัสเซียจำนวน 57 ล้านบัญชี ส่วนบัญชีอีเมลยอดฮิตก็มีครบทั้ง Yahoo Mail 40 ล้านบัญชี, Hotmail 33 ล้านบัญชี และ Gmail 24 ล้านบัญชี ที่เหลือเป็นบัญชีอีเมลและรหัสผ่านขององค์กรอื่นๆ จำนวนมาก
Chris Vickery นักวิจัยความปลอดภัยจากบริษัท MacKeeper ค้นพบว่าฐานข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้งของประเทศเม็กซิโก สามารถเข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ตถ้ารู้ URL เข้าตรง
ฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลของประชากรเม็กซิโกจำนวน 93.4 ล้านคน มีข้อมูลสำคัญครบ ทั้งชื่อ วันเกิด ที่อยู่ อาชีพ นามสกุลของพ่อ-แม่ และรหัสประจำตัวที่ใช้สำหรับการเลือกตั้งด้วย ขนาดของไฟล์ใหญ่ 132GB และเป็นไฟล์ของ MongoDB
Chris Vickery นักวิจัยผู้พบฐานข้อมูลผู้ใช้เว็บ Hello Kitty เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรง รายงานฐานข้อมูลอีกชุดเป็นผู้ลงทะเบียนเลือกตั้งในสหรัฐฯ จำนวนถึง 194 ล้านราย ตัวเซิร์ฟเวอร์รอรับการค้นหาโดยไม่ต้องล็อกอินใดๆ
ข้อมูลในฐานข้อมูลมีตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานของผู้ลงทะเบียนเลือกตั้งเช่น ชื่อ, นามสกุล, ที่อยู่, หมายเลขโทรศัพท์, และความเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
กฎความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ลงเลือกตั้งในสหรัฐฯ ต่างกันไปในแต่ละรัฐ บางรัฐเปิดข้อมูลเหล่านี้เป็นสาธารณะ บางรัฐก็ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนตัวห้ามเผยแพร่บนเว็บ
ยังไม่แน่ชัดว่าเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลนี้เป็นของหน่วยงานใด คาดว่าอาจจะเป็นของหน่วยงานทำโพลสักราย
เว็บกลุ่มแฟนคลับ Hello Kitty เช่น sanriotown.com, hellokitty.com, hellokitty.com.my, hellokitty.com.sg, hellokitty.in.th, และ mymelody.com ทำข้อมูลผู้ใช้รั่วออกมา 3.3 ล้านรายการ
ข้อมูลที่หลุดออกมาได้แก่ ชื่อ-นามสกุล, เพศ, วันเกิด, ประเทศ, อีเมล, รหัสผ่านที่แฮชด้วย SHA-1, คำถามรีเซ็ตรหัสผ่าน
รายงานระบุว่าข้อมูลหลุดออกมาเพราะการคอนฟิก MongoDB ผิดพลาด ทาง Sanrio ระบุว่ากำลังสอบสวนเรื่องนี้อยู่
ที่มา - CSO Online
บริษัทความปลอดภัย Hold Security ซึ่งเคยมีผลงานรายงานข่าว Adobe ถูกแฮ็กเมื่อปี 2013 ประกาศข่าวการแฮ็กบัญชีผู้ใช้ครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ 4.5 พันล้านรายการ หรือ 1.2 พันล้านบัญชี โดยฝีมือแก๊งอาชญากรรมไซเบอร์ของรัสเซียที่ไม่มีชื่อเรียกชัดเจน (Hold ตั้งชื่อให้ว่า CyberVor แปลว่าโจรไซเบอร์ในภาษารัสเซีย)
การแฮ็กครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากเว็บใดเว็บหนึ่ง แต่ CyberVor ซื้อฐานข้อมูลบัญชีผู้ใช้จากตลาดมืด แล้วไล่เจาะเว็บไซต์และ FTP รวมแล้วกว่า 420,000 แห่งด้วยวิธี SQL injection เพื่อให้ได้อีเมลและรหัสผ่านออกมามากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ (บัญชีบางชุดอาจซ้ำหรือเป็นอีเมลปลอม)
จากกรณี Adobe ถูกแฮก ผู้ใช้บางส่วนและซอร์สโค้ดของโปรแกรมถูกขโมย เมื่อต้นเดือนนี้ ตอนแรก Adobe ระบุว่าน่าจะกระทบกับผู้ใช้ประมาณ 2.9 ล้านบัญชี แต่ข้อมูลใหม่ล่าสุดหลังการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว พบว่าอาจกระทบกับผู้ใช้มากถึง 38 ล้านบัญชีเลยทีเดียว
ล่าสุดมีรายงานว่าไฟล์บัญชีและรหัสผ่านของผู้ใช้ (ที่เข้ารหัสแบบ hash) ถูกปล่อยออกมาบนอินเทอร์เน็ตแล้ว ไฟล์นี้มีขนาด 3.8GB และมีข้อมูลผู้ใช้กว่า 150 ล้านบัญชี แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นไฟล์จริงหรือไม่ และเป็นบัญชีที่ถูกใช้งาน (active) มากน้อยแค่ไหน
ส่วนทาง Adobe เองก็แถลงว่าติดต่อผู้ใช้ทุกคนที่ได้รับผลกระทบให้รีเซ็ตรหัสผ่านแล้วทั้งหมด และขอให้ผู้ใช้เข้ามารีเซ็ตรหัสผ่านกันโดยด่วน