บริษัท Voxox ผู้ให้บริการสื่อสารที่มีสำนักงานอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียถูกค้นพบว่าไม่ได้ล็อกรหัสผ่านเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลไว้ เปิดให้ใครก็ได้เข้าใช้งานและเก็บข้อความ SMS ได้ทันทีในระดับเกือบเรียลไทม์
Sébastien Kaul นักวิจัยความปลอดภัยระบุว่า เขาพบเซิร์ฟเวอร์นี้จาก Shodan เสิร์ชเอนจินที่ค้นหาฐานข้อมูลและอุปกรณ์ที่เข้าถึงได้จากสาธารณะ และเซิร์ฟเวอร์นี้ถูกผูกเข้ากับซับโดเมนของ Voxox ด้วย
ปัญหา Amazon S3 โดนแฮกคอนฟิกผิดจนกระทั่งเปิดออกสู่สาธารณะเป็นปัญหาเรื้อรังที่หลายบริการเจอในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้ทาง AWS จะพยายามปรับหน้าจอหรือการแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้รู้ตัวเร็วขึ้นแล้วก็ตาม ตอนนี้ทาง AWS ก็เปิดฟีเจอร์ใหม่ Amazon S3 Block Public Access การตั้งค่าบัญชีไม่ให้เปิด S3 เป็นสาธารณะได้อีกต่อไป
การปรับค่ามีให้เลือก คือ บล็อคการตั้ง ACL ให้อนุญาตให้คนภายนอกสามารถอ่านและเขียนไฟล์ได้ และบล็อคการตั้ง bucket เป็นสาธารณะ ทั้งสองแบบมีทั้งการบล็อคการสร้างออปเจกต์หรือ bucket ใหม่ในอนาคต และการลบสิทธิ์สาธารณะเดิมที่เคยเปิดไว้
เมื่อสั่งบล็อคแล้ว การสร้าง bucket ใหม่หรือเปิดสิทธิ bucket เดิมให้เป็นสาธารณะก็จะทำไม่ได้อีกต่อไป
Mozilla ประกาศอัพเดตฟีเจอร์ใหม่เพิ่มให้ Firefox Monitor ระบบแจ้งเตือนผู้ใช้หากเว็บไซต์มีการรั่วไหลของข้อมูล โดยเพิ่มให้ Firefox Monitor รองรับอีกหลายภาษา และเพิ่มระบบแจ้งเตือน Firefox Monitor ให้แจ้งเตือนผู้ใช้ผ่านเบราว์เซอร์ Firefox ได้เลย
สายการบิน Cathay Pacific รายงานถึงการสอบสวนการเข้าถึงข้อมูลผู้โดยสารโดยไม่ได้รับอนุญาตตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา รวมผู้โดยสารที่อาจได้รับผลกระทบ 9.4 ล้านคน ทั้งของ Cathay Pacific เอง และสายการบิน Hong Kong Dragon
ข้อมูลที่ได้รับกระทบได้แก่ ชื่อผู้โดยสาร, สัญชาติ, วันเกิด, เบอร์โทรศัพท์, อีเมล, ที่อยู่, หมายเลขหนังสือเดินทาง, หมายเลขบัตรประชาชน, หมายเลขสะสมไมล์, โน้ตจากศูนย์บริการลูกค้า, หมายเลขบัตรเครดิต, และประวัติการเดินทาง
ข้อมูลของผู้โดยสารแต่ละคนที่ได้รับกระทบไม่เท่ากัน เช่น หมายเลขหนังสือเดินทางกระทบ 860,000 ราย, หมายเลขบัตรประชาชนฮ่องกงกระทบ 245,000 ราย, หมายเลขบัตรเครดิตที่หมดอายุแล้ว 403 ราย, หมายเลขบัตรเครดิตที่ยังไม่หมดอายุ 27 ราย
บริษัท Pocket iNet ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในรัฐวอชิงตันถูกพบว่าปล่อยข้อมูลบน bucket ของ Amazon S3 ออกเป็นสาธารณะ โดยมีข้อมูลรวมทั้งหมด 73GB อยู่ในนั้น
Chris Vickery จากบริษัทด้านความปลอดภัย UpGuard ซึ่งเป็นผู้ค้นพบข้อมูลได้ให้รายละเอียดว่า ไฟล์ที่อยู่ใน bucket นั้น มีหลายอย่าง เช่น ไดอะแกรมการตั้งค่าเครือข่ายของบริษัท, AWS secret key ของพนักงาน, การตั้งค่าเราท์เตอร์, รายละเอียด รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์ลูกค้า, สเปรตชีทที่เก็บรหัสผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ แบบ plain text และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งแม้ว่าจะไม่มีข้อมูลลูกค้าอยู่ใน bucket นั้น แต่ก็มีข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับลูกค้าบ้าง เช่น มีไฟล์หนึ่งระบุลูกค้า priority ของ Pocket iNet ด้วย
Direct Enrollment pathway ระบบจัดซื้อประกันสุขภาพผ่านรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ถูกแฮก และแฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้รวม 75,000 คน หลังจากพบความผิดปกติในการใช้งานตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา และยืนยันได้ว่ามีการบุกรุกในวันที่ 16 ตุลาคม
Centers for Medicare & Medicaid Services (CMS) หน่วยงานผู้ดูแลระบบช่องทางการซื้อประกันสุขภาพตามกฎหมาย Affordable Care (โอบามาแคร์) ยืนยันว่าพลเมืองสหรัฐฯ จะยังสามารถซื้อประกันสุขภาพผ่านทางช่องทางอื่นๆ ได้แก่ HealthCare.org หรือ Marketplace Call Center แต่ตอนนี้ช่องทาง Direct Enrollment นั้นถูกปิดไปแล้ว และจะเปิดกลับมาใน 7 วันข้างหน้า
HealthHub บริการส่งเสริมสุขภาพของรัฐบาลสิงคโปร์ได้รับแจ้งจากผู้ใช้ว่ามีการเข้าใช้งานบัญชีอย่างไม่ถูกต้อง หลังสำรวจพบว่ามีการเข้าใช้งานอย่างผิดปกติ ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีการยิงรหัสผ่านด้วยอีเมลถึง 27,000 รายการ และมี 72 อีเมลตรงกับชื่อล็อกอินของ HealthHub จึงคาดว่าทั้ง 72 บัญชีจะถูกดึงข้อมูลออกไปแล้ว อย่างไรก็ดี โดยตัวระบบเองไม่ได้มีช่องโหว่แต่อย่างใด
ตามที่ Facebook ออกมาเปิดเผยว่าเว็บถูกแฮก access token ไป และสรุปตัวเลขจากการสอบสวนล่าสุดว่ามีผู้ใช้ได้รับผลกระทบทั้งหมด 30 ล้านราย แม้ Facebook บอกว่าจะแสดงข้อความเตือนผู้ใช้ที่ได้รับผลกระทบ แต่เชื่อว่าหลายคนที่สงสัยว่าตนเองเข้าข่ายด้วยหรือไม่ และไม่เห็นข้อความก็คงอยากรู้เช่นกัน ซึ่ง Facebook ก็ให้วิธีตรวจสอบไว้ดังนี้
เฟซบุ๊กรายงานผลการสอบสวนกรณีเว็บถูกแฮก access token ที่อาจจะกระทบผู้ใช้มากถึง 50 ล้านคน โดยการสอบสวนสุดท้ายจำกัดผู้ได้รับผลกระทบเหลือ 30 ล้านคน
การสอบสวนทำให้รู้ว่าแฮกเกอร์เริ่มใช้ช่องโหว่ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แต่ทางเฟซบุ๊กเริ่มเห็นความผิดปกติในวันที่ 14 กันยายน และแน่ใจว่าเป็นการใช้ช่องโหว่ในวันที่ 25 กันยายน จากนั้นจึงปิดช่องโหว่ไปในสองวัน ระหว่างนี้ทางเฟซบุ๊กกำลังทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนคดี จึงยังไม่เปิดเผยข้อมูลว่าใครน่าจะอยู่เบื้องหลัง
พรรคอนุรักษ์นิยมของสหราชอาณาจักรมีแอพบนมือถือสำหรับอำนวยความสะดวกในการประชุมใหญ่ของพรรคชื่อว่า Conservative Party Conference แต่มีรายงานว่าแอพนี้มีช่องโหว่ที่อันตรายมาก คือกดปุ่ม Attendees และใช้เพียงอีเมลแอดเดรสเป็นข้อมูลทำการล็อกอิน ก็เห็นข้อมูลของสำคัญของผู้เข้าร่วมการประชุมคนอื่น ๆ ได้ทันที หรือจะแก้ข้อมูลยังได้ แม้ว่าจะเป็นข้อมูลของนักการเมืองคนสำคัญก็ตาม
เที่ยงคืนที่ผ่านมาเฟซบุ๊กออกข่าวที่กระเทือนโลกออนไลน์และวงการความปลอดภัยทั้งโลก จากฟีเจอร์ "View As" ที่ช่วยให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กสามารถตรวจสอบการตั้งค่าของของตัวเอง ว่าเปิดสิทธิ์ให้คนต่างๆ เข้ามาเห็นข้อมูลอะไรบ้าง เช่นบางคนต้องการเปิดข้อมูลการทำงานให้เฉพาะเพื่อนเท่านั้น ขณะที่บางคนอาจจะเปิดให้ทุกคน หรือแม้แต่การบล็อคบางคนออกจากบางโพส
สายการบิน Aeroflot เผลอปล่อย Docker registry ออกสู่อินเทอร์เน็ต ทำให้คนที่รู้ URL สามารถ pull เซิร์ฟเวอร์ไปได้ และเมื่อดาวน์โหลดไป จะเห็นซอร์สโค้ดของเว็บทั้งชุด
อย่างไรก็ดี ไม่มีข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าอยู่ในอิมเมจแต่อย่างใด ความเสี่ยงสำคัญคือแฮกเกอร์สามารถนำโค้ดไปวิเคราะห์หาช่องโหว่ และใชัโจมตีเว็บจริงของทางสายการบินต่อไป
ประเด็นซอร์สโค้ดรั่วเป็นประเด็นสำคัญที่พบกันเรื่อยๆ ในองค์กรต่างๆ แม้แต่แอปเปิลก็ถูกขโมยโค้ด iBoot มาเปิดเผยต่อสาธารณะ
ที่มา - The Register
Mozilla เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Firefox Monitor บริการฟรีเพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้หากตกเป็นเหยื่อของการรั่วไหลข้อมูล ตั้งแต่กลางปี โดยเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับ Have I Been Pwned ของ Troy Hunt และหลังจากทดสอบเป็นระยะเวลาหนึ่ง วันนี้ Firefox Monitor ก็พร้อมให้บริการแล้ว
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว British Airways ประกาศว่าพบข้อข้อมูลรั่วไหล กระทบลูกค้า 380,000 คน ภายในวันเดียวกัน รัฐบาลอังกฤษโดยศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ก็ออกมาเตือนประชาชนพร้อมกัน แนวทางนี้ทำให้เราเห็นว่าเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว ในประเทศที่เจริญแล้วมีแนวทางรับมือปัญหาอย่างไร
ภายใต้กฎหมาย GDPR ทาง British Airways ถูกบังคับให้ต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่ามีข้อมูลรั่วไหลภายใน 72 ชั่วโมงหลังทราบเรื่อง หากปิดบังไว้โทษปรับสูงสุดถึง 4% ของรายได้บริษัท
หน้าเว็บแจ้งเตือนของ British Airways มีการอัพเดตเป็นระยะ อย่างไรก็ตามข้อมูลตอนนี้ค่อนข้างนิ่งแล้ว โดยการแจ้งเตือนมีดังนี้
British Airways ออกประกาศเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลบนเว็บไซต์และแอพของบริษัทกระทบกับลูกค้ากว่า 380,000 คนที่จองเที่ยวบินตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคมจนถึง 5 กันยายน
สำหรับข้อมูลที่หลุดไปนั้น British Airways ระบุว่าเป็นข้อมูลสำคัญ โดยมีทั้งชื่อ, ที่อยู่, อีเมล และข้อมูลบัตรเครดิต แต่ไม่มีข้อมูลพาสปอร์ตหรือข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางที่จองหลุดออกไปในครั้งนี้
British Airways ได้แจ้งลูกค้าที่ได้รับผลกระทบหลังตรวจพบข้อมูลรั่วไหลภายใน 1 วัน โดยทางสายการบินแนะนำให้ผู้ใช้ที่ได้รับผลกระทบติดต่อผู้ออกบัตรเครดิต โดยทางบริษัทจะจ่ายค่าตรวจสอบเครดิตให้ลูกค้ารวมถึงชดใช้ค่าเสียหายให้ด้วย
T-Mobile ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของสหรัฐฯ ถูกแฮกเกอร์เจาะฐานข้อมูลลูกค้าประมาณ 2 ล้านราย ได้ข้อมูล ชื่อ, อีเมล, ที่อยู่, หมายเลขบัญชี, ข้อมูลการออกใบเสร็จ, และรหัสผ่านที่เข้ารหัส โดยข้อมูลบัตรเครดิตนั้นไม่ได้หลุดไปด้วย
งานนี้ทางทีมดูแลความปลอดภัยของ T-Mobile เป็นผู้พบความผิดปกติด้วยตัวเอง ก่อนจะปิดช่องโหว่นี้ไป
ทาง T-Mobile รายงานออกมาครั้งแรกไม่ได้ระบุว่ามีข้อมูลรหัสผ่านหลุดออกมาด้วย แต่นักวิจัยบางส่วน และทางเว็บ Motherboard ได้รับข้อมูลมา ระบุว่ามีฟิลด์ "userpassword" ในฐานข้อมูล น่าจะเป็นรหัสผ่านที่แฮชด้วย MD5 ที่ค่อนข้างอ่อนแอ ภายหลังทาง T-Mobile จึงยอมรับว่ามีรหัสผ่านที่เข้ารหัสแล้วหลุดออกไปด้วย
Upguard Security รายงานถึง S3 bucket ที่ชื่อว่า abbottgodaddy เก็บข้อมูลเซิร์ฟเวอร์นับพันรายการ และโมเดลราคาของ GoDaddy เอาไว้ พร้อมกับบอกส่วนลดพิเศษที่ GoDaddy ได้รับ
ทาง Upguard พยายามติดต่อ GoDaddy ตั้งแต่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา และตัว bucket ล็อกไปหลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์
GoDaddy ชี้แจงกับ Engadget ว่าข้อมูลที่หลุดออกมาเป็นการประมาณการใช้งานเท่านั้น ส่วนทาง AWS ระบุว่า bucket นี้สร้างโดยเซลล์คนหนึ่งของ AWS เอง เพื่อเก็บโมเดลราคาที่จะให้กับลูกค้า โดยไม่มีข้อมูลลูกค้าของ GoDaddy หลุดแต่อย่างใด
ที่มา - Engadget
Reddit แจ้งผู้ใช้ว่าช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาแฮกเกอร์ได้เข้าถึงโครงสร้างคลาวด์และระบบเก็บซอร์สโค้ด ด้วยการดักรับ SMS ที่ผู้ดูแลระบบใช้เป็นโทเค็นล็อกอินขั้นที่สอง ทำให้แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ได้ด้วย แม้ฐานข้อมูลจะไม่ถูกแก้ไข และบัญชีที่หลุดไปจะไม่มีสิทธิ์เขียนข้อมูลในระบบหลัก แต่ก็มีข้อมูลผู้ใช้หลุดออกไปด้วย
ข้อมูลที่แฮกเกอร์อ่านไปได้ ได้แก่ ล็อกไฟล์อื่น, ซอร์สโค้ดของระบบ, ไฟล์คอนฟิกต่างๆ และข้อมูลที่กระทบต่อผู้ใช้
โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม
หลังจากทางธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงข่าว ตอนนี้ก็มีข้อมูลจากทั้งสองธนาคารเพิ่มเติม
ระบบของธนาคารกสิกรไทยเป็น "ส่วนหน้า" ของของระบบขอหนังสือรับประกัน K CONNECT LG โดยเป็นข้อมูลที่หาได้จากแหล่งสาธารณะ โดยยืนยันว่าข้อมูลสำคัญเช่นรหัสผ่านหรือรายการธุรกรรมของลูกค้าไม่ได้รั่วออกไป
ทางธนาคารกสิกรไทยกำลังจะติดต่อลูกค้าเป็นรายองค์กรต่อไป
ส่วนของธนาคารกรุงไทยเป็นข้อมูลสมัครสินเชื่อกรุงไทย Super Easy รวม 120,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายบุคคล เป็นนิติบุคคล 3,000 ราย ทางธนาคารกรุงไทยไม่ได้ระบุว่ามีข้อมูลอะไรที่หลุดออกไปบ้าง แต่หน้าเว็บสมัครสินเชื่อ Super Easy นั้นมีข้อมูล ชื่อ, นามสกุล, หมายเลขโทรศัพท์, และรายได้ต่อเดือน
update: ข้อมูลเพิ่มเติมจากทั้งสองธนาคาร
ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยแพร่ข่าวระบุว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์ข้อมูลลูกค้าธนาคารสองแห่งหลุดสู่ภายนอก ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงไทย
ข้อมูลที่หลุดจากธนาคารกสิกรไทยเป็นข้อมูลลูกค้านิติบุคคล ที่เป็นข้อมูลสาธารณะอยู่แล้ว ขณะที่ข้อมูลของธนาคารกรุงไทยเป็นข้อมูลคำขอสินเชื่อลูกค้ารายย่อยและนิติบุคคล
ประกาศไม่ได้ระบุถึงจำนวนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ
ที่มา - จดหมายข่าวธนาคารแห่งประเทศไทย
Level One Robotics บริษัทหุ่นยนต์ในแคนาดาคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ rsync สำหรับสำรองข้อมูลผิดพลาด ทำให้ใครก็ตามเชื่อมต่อจากอินเทอร์เน็ตสามารถดาวน์โหลดข้อมูลออกไปได้
ผู้รายงานข้อมูลรั่วครั้งนี้คือบริษัท Upguard ข้อมูลที่หลุดออกมา ย้อนหลังไปได้ไกล 10 ปี แบ่งตามประเภทข้อมูล ได้แก่
ลูกค้าของ Level One ล้วนเป็นบริษัทดังที่เราได้ยินชื่อบ่อยๆ เช่น Tesla, Boeing, VW, Toyota เป็นต้น
ตำรวจไซเบอร์ของเอสโตเนีย (Cybercrime Bureau of the Estonian Central Criminal Police) กำลังสอบสวนคดีข้อมูลหลุดและพบว่ามีผู้ได้รับผลกระทบถึง 655,161 ราย อย่างไรก็ดี ทางตำรวจไม่ต้องการส่งอีเมลแจ้งเตือนเนื่องจากไม่แน่ใจว่าเจ้าของบัญชียังเข้าอีเมลได้อยู่หรือไม่ จึงส่งรายชื่อให้โครงการ Have I Been Pwned แจ้งเตือนให้
ยังไม่มีการเปิดเผยว่าข้อมูลชุดนี้หลุดออกมาจากแหล่งใดเนื่องจากคดีอยู่ระหว่างการสอบสวน อย่างไรก็ดีหากผู้ใช้ที่ได้รับผลกระทบจากชุดข้อมูลนี้และถูกขโมยเงินคริปโตไป ทางตำรวจเอสโตเนียขอให้ติดต่อได้ทางอีเมล
บริการสตรีมมิ่งเพลง Tidal เริ่มกระบวนการสอบสวนภายใน เนื่องจากสงสัยการหลุดของข้อมูลสถิติการเล่นเพลงต่าง ๆ
ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์นอร์เวย์ Dagens Næringsliv (DN) ได้นำฮาร์ดไดรฟ์ข้อมูลภายในของ Tidal ไปให้ Norwegian University of Science and Technology วิเคราะห์ข้อมูล และพบว่า Tidal ได้ปรับตัวเลขจำนวนครั้งในการเล่นเพลงของ Lemonard และ The Life of Pablo ให้ดูสูงขึ้นมาก (จากรายงานเขียนว่านับร้อยล้านครั้ง) และ Tidal ต้องจ่ายนักร้องทั้งสองคือ Beyoncé และ Kanye West สูงขึ้น
ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา Mike Schroepfer ซีทีโอของ Facebook เข้าให้การต่อสภาอังกฤษเรื่องข่าวปลอมและข้อมูลหลุด ผลปรากฏว่าสภาอังกฤษไม่พอใจในคำตอบที่ Schroepfer ที่มีให้ เตรียมเรียกซีอีโอ Mark Zuckerberg มาให้การต่อ แต่ก็ถูกปฏิเสธไป
ล่าสุด Facebook ยอมตกลงจะไปให้การต่อสภายุโรปแล้ว คาดว่าการให้การจะมีขึ้นสัปดาห์หน้าที่กรุงบรัสเซลส์ โดยในบรรดาข้อมูลหลุดทั้งหมด 87 ล้านบัญชี คาดว่ามีคนยุโรปได้รับผลกระทบประมาณ 2.7 ล้านราย และเป็นคนอังกฤษที่ได้รับผลกระทบประมาณกว่าล้านราย
แม้ Cambridge Analytica คู่กรณีของ Facebook ครั้งนี้จะปิดตัวลงไปแล้ว แต่ฝั่งรัฐบาลอังกฤษก็ยังคงให้ความสนใจและยังสอบสวนวิธีที่บริษัทได้ข้อมูลจากผู้ใช้ Facebook นับล้านไปได้อย่างไร
Cambridge Analytica บริษัทที่เป็นคู่กรณีกับ Facebook ในการทำข้อมูลหลุด 87 ล้านบัญชีประกาศปิดตัวแล้ว พร้อมบริษัทแม่ SCL Elections Ltd เนื่องจากเหตุการณ์อื้อฉาวกับ Facebook ทำให้ธุรกิจพังเพราะสูญเสียลูกค้าและบริษัทยังมีค่าใช้จ่ายด้านกฎหมายอีกจำนวนมาก โดยตอนนี้ทางบริษัทจะเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายการล้มละลาย
คำแถลงของ Cambridge Analytica เผยว่า ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ ทางบริษัทต้องพบกับข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลจำนวนมาก แม้ทางบริษัทจะพยายามแก้ไข แต่ก็ยังถูกใส่ความกิจกรรมที่ถูกกฎหมายรวมทั้งยังเป็นที่ยอมรับในหมู่การโฆษณาออนไลน์ทั้งเชิงการเมืองและพาณิชย์