Espressif ผู้ผลิตชิปไมโครคอนโทรลเลอร์พร้อม Wi-Fi ราคาประหยัดชื่อดังเปิดตัวชิปรุ่นล่าสุด ESP32-C5 จุดเด่นสำคัญคือการรองรับ Wi-Fi ที่คลื่นย่าน 5GHz จากเดิมที่รองรับย่าน 2.4GHz เท่านั้น
ESP32-C5 ใช้ซีพียูภายในเป็น RISC-V 32 บิต คอร์เดี่ยว แรม 400KB รอม 384KB รองรับ Wi-Fi 6 (802.11ax) ที่แถบคลื่นกว้าง 20MHz และรองรับ Wi-Fi 802.11b/g/n ที่แถบคลื่นกว้าง 20/40MHz พร้อมกับ Bluetooth 5 LE
802.11ax รองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IoT ได้ดีกว่า Wi-Fi ตัวอื่นๆ เนื่องจากมีฟีเจอร์ Target Wake Time (TWT) รองรับการเชื่อมต่อโดยที่ตัวอุปกรณ์ IoT ปิดการทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์ไปได้นานๆ ก่อนจะกลับมาส่งข้อมูล ทำให้อุปกรณ์อาจจะใช้แบตเตอรี่ได้นานนับปี
Espressif เปิดตัวชิปอุปกรณ์ IoT รุ่นใหม่ในชื่อรุ่น ESP32-C6 จุดเด่นสำคัญของรุ่นนี้คือการรองรับ Wi-Fi 6 หรือ 802.11ax ที่มีประสิทธิภาพการใช้แถบความถี่ต่อแบนวิดท์สูงมาก แต่ยังรองรับเฉพาะย่าน 2.4GHz เท่านั้น
ตัวซีพียูภายในเป็น RISC-V 32 บิตคอร์เดี่ยว สัญญาณนาฬิกา 160MHz พร้อมแรม 400KB และรอม 384KB ขา GPIO 22 ขา, ชุดวงจรเข้ารหัส เร่งความเร็วได้ทั้ง SHA, AES, HMAC, และ RSA รวมถึงการสร้างค่าสุ่ม
ฟีเจอร์สำคัญของ 802.11ax คือการตั้งเวลาตื่นมารับส่งข้อมูลล่วงหน้า (Target Wake Time - TWT) ทำให้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานลงมาก หาก access point รองรับฟีเจอร์นี้เหมือนกัน ตัวอุปกรณ์ IoT ก็สามารถทำงานด้วยแบตเตอรี่นานนับปี
Espressif ผู้ผลิตชิป Wi-Fi ราคาถูกที่ได้รับความนิยมสูงในหมู่เมกเกอร์ในช่วงหลังเตรียมเปิดตัวชิป ESP32-C3 ที่เปลี่ยนคอร์จาก Xtensa ของ Xilinx มาเป็น RISC-V แบบ 32 บิต ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 160MHz
ตัวชิปมาพร้อมแรม 400KB และรอม 348KB รองรับ Bluetooth 5.0 และ Wi-Fi
ทาง CNX Software ระบุว่าชิปใหม่นี้จะมีขาตรงกับ ESP8266 และราคาก็ใกล้เคียงกันทำให้คาดได้ว่ามันจะราคาถูกมาก (การเลือกผลิตชิป RISC-V มีความได้เปรียบว่าไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ให้ผู้ออกแบบชุดคำสั่งอยู่แล้ว)
ที่มา - CNX Software
Gravitech ผู้ผลิตบอร์ดพัฒนาไทย เปิดตัวบอร์ด Cucumber R/RS บอร์ดพัฒนา IoT ชิป ESP32-S2 โดยรุ่น R คือบอร์ดพัฒนาเปล่าๆ และรุ่น RS มาพร้อมเซ็นเซอร์ครบชุด ทั้ง อุณหภูมิ, ความชื้น, accelerometer 3 แกน, gyroscope, และความดันอากาศ
ตัวบอร์ดฟีเจอร์คล้ายกับ ESP32-S2-Saola-1 ของ Espressif เอง แต่มีพอร์ต USB OTG เพิ่มมาให้ด้วยสำหรับผู้ที่ต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์ USB
สั่งจองล่วงหน้าได้แล้วบนเว็บ Gravitech เริ่มส่งสินค้าวันจันทร์ที่ 27 เมษายนนี้ Cucumber R ราคา 285 บาท แล Cucumber RS ราคา 405 บาท
Espressif เปิดตัวเฟรมเวิร์ค ESP-Skainet สำหรับการพัฒนาอุปกรณ์รับคำสั่งด้วยเสียง เปิดทางให้นักพัฒนาสร้างอุปกรณ์รับคำสั่งโดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
เฟรมเวิร์คประกอบด้วยโมดูลจดจำเสียงสองส่วน คือ WakeNet สำหรับจับคำสำคัญเพื่อเริ่มต้นทำงาน โดยส่วนนี้ใช้แรมเพียง 20 กิโลไบต์และยังได้ความแม่นยำที่ค่อนข้างสูง ประมาณ 88% ที่ระยะ 1 เมตร โดยตอนนี้รับคำสำคัญเป็นภาษาจีนเท่านั้น
อีกส่วนคือการรรับคำสั่ง ที่ชื่อว่า MultiNet เป็นโมเดล deep learning ที่แยกคำได้สูงสุด 100 คำในภาษาจีน พร้อมความสามารถในการรับคำสั่งจากผู้ใช้เพิ่มเติม
Espressif Systems ผู้ผลิตชิป IoT ราคาถูกอย่าง ESP-8266 และ ESP-32 เข้าซื้อขายในกระดาน STAR ของตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาด้วยราคา IPO ที่ 62.60 หยวนต่อหุ้น ระดมเงินทุนประมาณ 5,000 ล้านบาทเข้าบริษัท และหลังจากเข้าซื้อขาย ราคาหุ้นก็พุ่งขึ้นเรื่อยๆ จนราคาล่าสุดอยู่ที่ 163 หยวนต่อหุ้น ทำให้มูลค่าบริษัทรวมสูงถึง 14,470 ล้านบาทแล้ว
กระดาน STAR (Sci-Tech Innovation Board) เป็นกระดานใหม่ของตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ที่รวมเอาบริษัทด้านเทคโนโลยีไว้ด้วยกัน ทำให้บางครั้งมีคนเรียกว่า NASDAQ ของจีน โดยบริษัทชุดแรกที่ซื้อขายในกระดานนี้มี 25 บริษัท
Espressif ผู้ผลิตชิป ESP8266 และ ESP32 ออกบอร์ด ESP32-Azure IoT Kit สำหรับการพัฒนาระบบเพื่อพัฒนา IoT ที่เชื่อมต่อกับคลาวด์
แม้ชื่อจะบอกว่าเป็นบอร์ดสำหรับ Azure แต่ตัวบอร์ดจริงๆ ก็เป็นเพียงโมดูล ESP32-WROVER-B ที่บัดกรีเข้ากับบอร์ด I/O ที่ให้ทุกอย่างมาค่อนข้างครบ เริ่มจากจอภาพ OLED, ลำโพง buzzer, สวิตช์, เซ็นเซอร์อุณหภูมิ/ความชื้น, เซ็นเซอร์ความกดอากาศ, เซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก, accelerometer, เซ็นเซอร์แสง, ช่องต่อ microSD, และช่องต่อแบตเตอรี่
ซอฟต์แวร์ภายในไม่มีข้อมูลว่าเป็นเฟิร์มแวร์อะไร แต่น่าจะเป็นเฟิร์มแวร์ Azure มาแต่แรก เพราะ LED ดวงหนึ่งแสดงสถานะการเชื่อมต่อ Azure โดยเฉพาะ
HardKernel ผู้ผลิตบอร์ดพัฒนาจากเกาหลีเปิดตัวบอร์ด ODROID-GO บอร์ดแบบเดียวกับเกมบอย โดยภายในเป็นชิป ESP-32 และจำหน่ายเป็นชุดพัฒนาที่ต้องไปประกอบเอง
ตัวเครื่องมาพร้อมกล่องพลาสติกให้เรียบร้อย มีหน้าจอ 2.4 นิ้ว (320x240 พิกเซล), แบตเตอรี่ 1200mAh, ปุ่มกดยาง 10 ปุ่ม (ปุ่มสี่ทิศทางหนึ่งชุด), และช่องใส่ microSD, และลำโพง
ฝั่งซอฟต์แวร์รองรับ Arduino IDE และมีเกม Tetris เป็นตัวอย่างให้
ราคาทั้งชุดไม่รวมค่าส่ง 32 ดอลลาร์หรือประมาณ 1,000 บาท พร้อมแยกขายชิ้นได้ ตัวบอร์ดเปล่า 17 ดอลลาร์ ตัวกล่องพลาสติก 6 ดอลลาร์
ที่มา - HardKernel
Adafruit ร้านขายชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมสูงในหมู่เมกเกอร์สหรัฐ ออกบอร์ดพัฒนา ESP32 แบบต่อ USB พร้อมใช้งานได้ทันที
ทาง Adafruit เตือนว่าบอร์ดรุ่นนี้สำหรับนักพัฒนาแบบจริงจังเท่านั้น เพราะซอฟต์แวร์ต้องคอมไพล์จากเครื่องมือสำหรับซีพียู Tensilica โดยตรง ยังไม่มีเฟิร์มแวร์ที่ใช้งานได้ง่ายๆ เช่น Arduino, Lua, หรือ micropython ออกมา
ราคา 15 ดอลลาร์ และตอนนี้ขายหมดแล้วเรียบร้อย นักพัฒนาที่อยากได้ต้องรอชุดต่อไปอีกสักระยะ
ที่มา - Adafruit
ชิป ESP32 เริ่มพร้อมสำหรับการขายปลีกขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ร้านขายอุปกรณ์สำหรับนักพัฒนา IoT อย่าง SeeedStudio ก็เริ่มเปิดรับสั่งโมดูล ESP3212 ที่ใช้ชิป ESP32 แล้ว ราคาปลีกอยู่ที่ 6.95 ดอลลาร์ไม่รวมค่าส่ง
ESP32 ผลิตด้วยเทคโนโลยี 40 นาโนเมตรของ TSMC ตัวซีพียูเป็น Xtensa สองคอร์พลังประมวลผล 600 DMIPS มีแรม 520KB รอม 448KB รองรับ Wi-Fi 802.11b/g/n/e/i และ Bluetooth 4.2 BR/EDR/BLE
ตัวโมดูล ESP3212 มาพร้อมกับหน่วยความจำแฟลชอีก 4MB และเสาอากาศบนตัวบอร์ด 3dBi
ด้านซอฟต์แวร์มี SDK ของ Espressif เองและ Arduino Core for ESP32 ส่วน NodeMCU ยังไม่ออกมา
Wemos ผู้ผลิตบอร์ด ESP8266 เปิดตัวบอร์ดรุ่นใหม่ Wemos D1 Pro ความพิเศษสำคัญคือหน่วยความจำแฟลชขนาดใหญ่ถึง 16MB
ตัวบอร์ด D1 mini รุ่นเดิมใช้โมดูลของ Espressif มาเชื่อมต่อกับบอร์ดที่เป็น USB ในตัว แต่บอร์ด D1 mini Pro วางชิปลงบนบอร์ดโดยตรงทำให้น้ำหนักลดลงจาก 3.9 กรัมเหลือ 2.5 กรัม และเปลี่ยนชิป USB-UART เป็น CP2104 อีกจุดที่สำคัญคือเสาอากาศบนบอร์ดเป็นเสาเซรามิก และสามารถต่อเสาอากาศภายนอกได้ แต่ต้องบัดกรีเพื่อสลับเสา
สามารถใช้รันเฟิร์มแวร์ NodeMCU ได้เหมือนเดิม และยังใช้บอร์ดเสริมของ Wemos ได้เช่นกัน
ราคา 5 ดอลลาร์ ไม่รวมค่าส่ง
ที่มา - CNX Software
ESP32 เป็นชิป Wi-Fi + Bluetooth LE ที่มีคนรอมากที่สุดตัวหนึ่ง จากชื่อเสียงด้านราคาของบริษัท Espressif ที่ทำราคาชิปได้ถูกเหลือเชื่อ หลังจากเปิดตัวชิปมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ตอนนี้ ESP32 ก็เริ่มมีขายแล้ว
ตอนนี้ชิปขายอยู่ใน Taobao ราคา 19 หยวน หรือประมาณหนึ่งร้อยบาท โดยตอนนี้ยังจำกัดการสั่งซื้ออยู่ที่ 5 ชิปต่อคน
ตอนนี้ยังมีขายเฉพาะชิปเปล่าซึ่งอาจจะใช้งานไม่สะดวกนัก แต่ Espressif ก็มีตัวโมดูลกำลังตามออกมา ถ้าใครไม่ใช่นักออกแบบบอร์ดโดยตรงรอตัวโมดูลน่าจะดีกว่า
โมดูล ESP8266 ไม่มีวงจร USB มาให้ในตัวทำให้ไม่สามารถทำงานจำลองเมาส์หรือคีย์บอร์ด ไปจนถึงอุปกรณ์อื่นๆ ได้เหมือนโมดูลที่มีวงจรเหล่านี้ในตัว เช่น Arduino Leonardo อย่างไรก็ดี ตอนนี้นักพัฒนาที่ชื่อ Charles Lohr ก็พัฒนาซอฟต์แวร์ USB ทำให้สามารถใช้งาน ESP8266 ผ่านพอร์ต USB ได้แล้ว
ซอฟต์แวร์สามารถเชื่อมต่อ USB ที่ความเร็วต่ำ 1.5Mbps แม้ว่าซีพียูอาจจะสามารถรองรับความเร็ว 12Mbps ได้ก็ตาม เพราะข้อจำกัดด้านหน่วยความจำ และอินเทอร์รัปต์
ตัวโครงการยังอยู่ระหว่างการพัฒนา Lohr ระบุว่าอย่าคาดหวังว่ามันจะใช้งานได้จริง แต่เบื้องต้นเขาสาธิตการใช้งานด้วยการจำลอง ESP8266 เป็นเมาส์ได้สำเร็จ และในโครงการยังเขียนถึงการอัพเดตเฟิร์มแวร์ผ่านสาย USB โดยตรง
ESP8285 ที่มีรอมในตัวขนาด 1MB ทำให้ลดขนาดโมดูลลงเล็กกว่าเดิมเปิดตัวไปตั้งแต่ต้นปี และเพิ่งมีขายปลีกไม่นานนัก ตอนนี้ก็เริ่มมีโมดูลราคาถูกสมชื่อชิปตระกูล ESP ออกมาแล้วที่ราคาเพียง 1.99 ดอลลาร์
โมดูล PSF-A85 มีขนาดเพียง 13.7 x 13.4 ตารางมิลลิเมตร มีเสาอากาศในตัวโมดูลเอง พร้อมกับต่อเสาอากาศภายนอกได้ผ่านช่อง IPEX
ตัวโมดูลวางขายอยู่ที่เว็บ ITEAD แต่ขายหมดไปอย่างรวดเร็ว ต้องรอล็อตต่อไปเดือนสิงหาคม
ที่มา - CNX Software
ปัญหาอินเทอร์เน็ตไม่เสถียรในบ้านหลายๆ ครั้งมักแก้ไขได้ด้วยการบูตเราท์เตอร์ง่ายๆ แต่การเดินไปบูตทุกๆ สองสามวันก็เป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับหลายๆ คน ตอนนี้บอร์ด WiReboot ที่พัฒนาจาก ESP8266 ก็เปิดระดมทุนแล้ว
แนวคิดของบอร์ด WiReboot ง่ายๆ คือมันจะคั่นกลางสายไฟก่อนเข้าเราท์เตอร์เอาไว้ และทดสอบความเสถียรของ Wi-Fi ทั้งการเชื่อมต่อ Wi-Fi เองและการเข้าเว็บ หากไม่เสถียรก็จะปิดเราท์เตอร์ไว้สิบนาทีก่อนจะเปิดใหม่
ทางผู้พัฒนาระบุว่าจะมีบอร์ดเสริมสามารถเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเช่น อุณหภูมิ, ความชื้น, แสงสว่าง, หรือการส่งสัญญาณ 433MHz เพื่อควบคุมอุปกรณ์อื่น
บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ส่วนมากจำเป็นต้องมีสาย USB สำหรับจ่ายไฟหรือเขียนโปรแกรม บอร์ดบางส่วนมักออกมาเป็นรูปแบบ dongle เพื่อให้ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ใช้งานได้เลย ตอนนี้ทีมงาน Hack a Robot ก็เปิดระดมทุนบอร์ด WiThumb ที่ใช้ชิป ESP8266 มาเป็นรูปแบบ dongle แล้ว
WiThumb ไม่ได้มีแต่โมดูล ESP8266 อย่างเดียว แต่มีเซ็นเซอร์ภายในมาให้อีกสองตัว คือ อุณหภูมิ และเซ็นเซอร์เคลื่อนไหว (gyroscope + accelerometer) การใส่เซ็นเซอร์มาให้แบบนี้ทำให้เราสามารถใช้ WiThumb มอนิเตอร์อุณหภูมิรอบๆ อุปกรณ์ในบ้านที่มีพอร์ต USB ได้ทันที เช่น ทีวี, เราท์เตอร์ หรือจะบันทึกความเคลื่อนไหวในรถยนต์, โดรน ฯลฯ
ราคาเริ่มต้น 17 ดอลลาร์ (แต่หมดไปแล้ว) ราคาทั่วไปอยู่ที่ 19 ดอลลาร์ เริ่มส่งมอบเดือนพฤศจิกายนนี้
ชิป ESP8266 นับแต่เปิดตัวมาก็พลิกวงการ IoT ไปอย่างมาก เพราะเป็นชิปที่เชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ในราคาถูก (ตอนนี้เหลือโมดูลละไม่ถึง 3 ดอลลาร์แล้ว) ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของ ESP8266 คือมันไม่มีรอมในตัว ต้องเชื่อมต่อหน่วยความจำแบบแฟลชภายนอกทำให้โมดูลแต่ละรุ่นมีสเปคต่างกันไป ตอนนี้ ESP8285 ที่มีหน่วยความจำแฟลชในตัวขนาด 1MB ก็เริ่มวางขายแล้ว
เมื่อเดือนที่แล้ว Pycom ผู้ผลิตบอร์ด IoT ประกาศระดมทุนบอร์ด LoPy เกตเวย์สำหรับ IoT ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ด้วยมาตรฐาน LoRa ตอนนี้โครงการระดมทุนได้เกินเป้าหมายไปเรียบร้อย (ตั้งเป้า 50,000 ปอนด์ตอนนี้เกิน 100,000 ปอนด์แล้ว) แต่ความคืบหน้าล่าสุดกลับน่าสนใจกว่า เมื่อทาง Pycom ระบุว่าจะใช้ชิป ESP32 จาก Espressif
บอร์ดตระกูล ESP8266 เพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ แต่บอร์ด WeMos D1 mini น่าสนใจเพราะราคาค่อนข้างถูก ที่ 4 ดอลลาร์เท่านั้น และยังมีพอร์ต micro USB มาในตัวทำให้โปรแกรมง่ายขึ้น
นอกจากบอร์ดขนาดเล็กแล้ว WeMos D1 ยังมีบอร์ดเสริมของตัวเองอยู่ 5 แบบ ได้แก่ เซ็นเซอร์อุณหภูมิสองแบบ, micro SD, relay, ปุ่มกด
ที่มา - Aliexpress: WeMos, CNX Software
ESP8266 มีบอร์ดพัฒนารุ่นใหม่ ESP-12F ฟีเจอร์น่าสนใจคือมันมีพอร์ต USB อยู่ในตัวทำให้ไม่ต้องต่อบอร์ดเพื่อโปรแกรมเพิ่มเติม บนตัวบอร์ดเอง
นอกจากพอร์ต micro USB สองพอร์ต (น่าจะสำหรับจ่ายไฟและโปรแกรมแยกกัน) ยังมี photo resister สำหรับจับความสว่าง และ RGB LED เปลี่ยนสีได้ตามกำหนด
นอกจากตัวฮาร์ดแวร์แล้ว ซอฟต์แวร์ที่ให้มายังมีบริการ Witty Cloud ที่เชื่อมต่อบอร์ดเข้ากับแอปบนแอนดรอยด์เพื่อควบคุมการทำงานของบอร์ดได้
ก่อนหน้านี้บอร์ดที่สามารถเชื่อมต่อ USB ได้แบบเดียวกันคือบอร์ด NodeMCU ที่ราคาประมาณ 5-6 ดอลลาร์ บอร์ด ESP-12F นี้ราคาถูกลงมาอยู่ที่ 4-5 ดอลลาร์ พร้อมเซ็นเซอร์พื้นฐาน
รายละเอียดเพิ่มเติม ESP32: ออกเป็นโมดูลแต่แรก, รองรับสวิตช์สัมผัส 10 ปุ่ม, มี RTC ในตัว
Espressif ผู้ผลิต ESP8266 ชิปดังก้องโลกจากราคาที่ถูกเหลือเชื่อเปิดข้อมูลมาเมื่อเดือนที่แล้ว ตอนนี้นักพัฒนาบางส่วนก็เริ่มได้รับมอบบอร์ดและข้อมูลเพิ่มเติมออกมามากขึ้น
โมดูลรุ่นใหม่ยังมีหน้าตาคล้ายกับโมดูล ESP8266 เดิม แต่จำนวนขา I/O จะเยอะขึ้น องค์ประกอบภายในน่าสนใจหลายส่วน ทั้งวงจร RTC, วงจรเร่งความเร็วการเข้ารหัสรองรับ SHA/RSA/AES และการสร้างเลขสุ่ม ทำให้พอดีกับการเร่งความเร็วการเชื่อมต่อ TLS/SSL ทั้งกระบวนการ ขาอนาล็อกแบบ ADC มีถึง 10 ขา และ DAC อีก 2 ขา
โมดูล ESP8266 ถูกใช้เป็นโมดูลเดี่ยวโดยไม่มีชิปภายนอกมากขึ้นในช่วงหลัง แต่ข้อเสียสำคัญคือจำนวน I/O โดยเฉพาะอนาล็อกที่มีเพียงขาเดียว A.I. Thinker ออกโมดูล ESP-14 ประกบชิป STM8 (datasheet - PDF) เข้ากับ ESP8266 ได้ขาอ่านค่าอนาล็อกเพิ่มมาอีก 5 ขา
รายละเอียดทางเทคนิค รวมถึงการโปรแกรมชิปทั้งสองตัวยังไม่ชัดเจนนัก ตัวโมดูลต่อขาสำหรับปรับโหมดการทำงานของ ESP8266 มาให้ แต่ขาอื่นๆ ระบุว่าเป็นขาที่ต่อออกมาจาก STM8 ถ้าใครต้องการใช้โมดูลอนาล็อกเยอะๆ คงน่าสนใจ แต่คงต้องเตรียมแกะลายวงจรกันว่าภายในเชื่อมต่อกันอย่างไร
EspressIf ผู้ผลิตชิปจากจีนที่โด่งดังขึ้นมาจากการสร้างชิป ESP8266 ที่ราคาถูกเหลือเชื่อ ประกาศชิปรุ่นใหม่ที่เป็น Wi-Fi/Bluetooth ตั้งแต่สองเดือนก่อน ตอนนี้ก็มีรายงานความคืบหน้าว่าชิปทดสอบเริ่มทำงานได้แล้ว
สเปคโดยทั่วไปยังไม่ชัดเจน แต่ทาง EspressIf ก็เปิดเผยข้อมูลเพิ่มขึ้นมาอีกหลายส่วน
Espressif ผู้ผลิตชิป ESP8266 ที่ราคาถูกอย่างไม่น่าเชื่อจนทำให้การพัฒนาอุปกรณ์เชื่อมต่อ Wi-Fi กลายเป็นเรื่องง่ายและราคาถูกประกาศหาคนทดสอบชิปรุ่นเบต้า โดยระบุว่าชิปรุ่นใหม่จะรองรับ Wi-Fi, Bluetooth LE, และมีฮาร์ดแวร์สำหรับ SSL โดยเฉพาะ
สเปคของชิปยังไม่ชัดเจน แต่แรมจะเพิ่มขึ้นเป็น 500kB และพลังประมวลผล 500 DMIPS กินกระแสขณะที่ไม่ได้ทำงานเพียง 5 ไมโครแอมป์