Western Digital เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ระดับองค์กรความจุขนาดกลางที่ 4TB, 6TB เพื่อตอบโจทย์งานบางประเภทที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ความจุเยอะๆ ส่วนรุ่น 8TB จะเปิดตัวเพิ่มเติมภายในไตรมาสนี้
โซลูชันขนาด 4TB และ 6TB จะเป็นรุ่น Ultrastar 7K6 ความเร็วจานหมุน 7200rpm อินเทอร์เฟส SATA 6GB/s และ SAS 12GB/s บัฟเฟอร์เพิ่มขึ้นเป็น 256MB เร็วขึ้นกว่ารุ่น 7K6000 อยู่ 12% ส่วน 8TB จะเป็นรุ่น Ultrastar 7K8 จะมีรายละเอียด อายุใช้งานเฉลี่ย 2 ล้านชม
โซลูชันฮาร์ดดิสก์ทั้ง 3 ความจุจะเริ่มผลิตและวางจำหน่ายภายในไตรมาส 2 นี้
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์, The Register
HGST (ที่ตอนนี้อยู่ในเครือ Western Digital แล้ว) เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ Hs14 ความจุ 14TB สำหรับศูนย์ข้อมูลที่ต้องการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
ในตัวฮาร์ดดิสก์อัดฮีเลียมเอาไว้ โดยใช้ชื่อการค้าว่า HelioSeal ตัวดิสก์ใช้เทคโนโลยี shingled magnetic recording (SMR) รุ่นที่สอง อายุการใช้งานเฉลี่ย 2.5 ล้านชั่วโมง
ทาง HGST ยังไม่ได้แจ้งราคา และตอนนี้ตัวดิสก์ยังส่งมอบให้กับผู้ผลิตจำนวนหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าราคาต่อความจุอาจจะแพงกว่ารุ่นที่ความจุต่ำกว่า แต่ทาง HGST ระบุว่าเมื่อคำนวณพื้นที่ศูนย์ข้อมูล, การใช้พลังงานต่อความจุ, ระบบหล่อเย็น, และค่าบำรุงรักษาแล้ว Hs14 ก็ยังคุ้มค่าอยู่
Western Digital เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ความจุดสูง ภายใต้แบรนด์ของบริษัทลูก HGST รุ่น Ultrastar He12 ความจุ 12TB และเตรียมออกรุ่น 14TB ตามมาในอนาคต
ฮาร์ดดิสก์รุ่นนี้เป็นภาคต่อของ HelioSeal ฮาร์ดดิสก์อัดก๊าซฮีเลียมความจุ 10TB ที่เคยเปิดตัวไปแล้ว แต่พัฒนาให้มีความจุมากขึ้น เทคนิคที่นำมาใช้เพิ่มความจุคือเพิ่มจำนวนจานหมุนเป็น 8 จาน เมื่อความหนาแน่นแนวตั้งเพิ่มขึ้น ก็ส่งผลให้อัดความจุได้เพิ่มขึ้น ส่วนก๊าซฮีเลียมก็ช่วยให้จานหมุนโดยมีแรงเสียดทานน้อยลงกว่าอากาศทั่วไป
บริษัทให้บริการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์อย่าง Backblaze เผยข้อมูลในรายงาน "Hard Drive Reliability Review for 2015" ว่า มีจำนวนฮาร์ดดิสก์ในศูนย์ข้อมูลอยู่กว่า 56,000 ตัว แยกเป็น 18 รุ่นจากหลากหลายยี่ห้อ ล้วนแต่เป็นฮาร์ดดิสก์ระดับใช้งานทั่วไป และมีการเก็บข้อมูลอัตราการพังของแต่ละรุ่นไว้ด้วย
ซึ่งเมื่อกาง Failure Rate แยกตามยี่ห้อฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานตั้งแต่ เดือนเมษายน 2013 จนถึงธันวาคม 2015 พบว่าฮาร์ดดิสก์จาก WD จำนวน 1,681 ลูก มีอัตราเสียสูงสุดคือที่ 7% รองลงมาเป็น Seagate ในขณะที่อัตราเสียน้อยสุดคือ HGST ครับ
ที่มา - Backblaze
แม้ว่า Western Digital จะประกาศเข้าซื้อ Hitachi GST (Hitachi Global Storage Technologies) บริษัทลูกผู้ผลิตหน่วยความจำรายใหญ่ของ Hitachi จนสำเร็จเรียบร้อยไปตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2012 ด้วยมูลค่า 4,800 ล้านเหรียญ แต่จนถึงบัดนี้ทั้งสองแบรนด์ก็ยังบริหารงาน และทำตลาดแยกกันในบางประเทศ โดยเฉพาะในจีน
ล่าสุดวันนี้ได้ประกาศคำตัดสินจากกระทรวงพาณิชย์ของจีนหรือ MOFCOM ที่ขัดขวางการรวมบริษัทมามากกว่า 3 ปีได้อนุญาตให้ทั้งสองบริษัทควบรวมกันได้อย่างสมบูรณ์แล้ว แต่การทำตลาดในจีนจะยังขายแยกต่อไปอีก 2 ปีนับจากวันที่ประกาศออกมา รวมถึงมีการปรับตำแหน่งผู้บริหารจำนวนหนึ่ง หลักๆ คือการโยกผู้บริหารจาก Hitachi GST มาบริหารในส่วนของ Western Digital แทน
HGST หรือฮิตาชิเดิม เคยเปิดตัวฮาร์ดดิสก์ขนาด 10TB รุ่น SMR HelioSeal HDD ไปตั้งแต่เดือนกันยายน 2014 แต่ของยังไม่วางขายจริงเสียที
ล่าสุด HGST นำฮาร์ดดิสก์ 10TB ตัวนี้ออกมาโชว์ที่งานสัมมนา Open Compute และงาน Linux Foundation Valut เมื่อสัปดาห์ก่อนแล้ว โดยเว็บไซต์ ZDNet รายงานว่า HGST จะวางขายสินค้าจริงในไตรมาสที่สองของปีนี้
HGST ใช้เทคนิค SMR ร่วมกับ HelioSeal (อ่านคำอธิบายในข่าวเก่า) ช่วยให้ขยับความจุได้สูงถึง 10TB ส่วนฝั่งซอฟต์แวร์ ตอนนี้ลินุกซ์เวอร์ชัน 3.19 เป็นต้นไปก็เริ่มรองรับฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เทคโนโลยี Zoned-device ATA command set (ZAC) แล้ว
บริษัทสำรองข้อมูลออนไลน์ Backblaze ที่สั่งซื้อฮาร์ดดิสก์เป็นจำนวนมาก เคยเปิดเผยสถิติความทนทานของฮาร์ดดิสก์ปี 2013 มาก่อนแล้ว ผลคือ Hitachi (ปัจจุบันคือ HGST ในเครือ Western Digital) นำมาเป็นอันดับหนึ่ง
ปีนี้ Backblaze นำสถิติของปี 2014 มาเผยแพร่อีกรอบ โดยมีฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดเกือบ 40,000 ตัว ผลคือฮาร์ดดิสก์ของ HGST ยังนำมาเป็นอันดับหนึ่งในแง่ความทนทาน ตามด้วย Western Digital และ Seagate รั้งท้าย
HGST บริษัทลูกของ Western Digital (หน่วยธุรกิจฮาร์ดดิสก์ Hitachi เดิม) เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ขนาด 10TB รุ่นแรกของโลก โดยจะเน้นตลาดองค์กรที่ต้องการเก็บข้อมูลระยะยาว ไม่ถูกเรียกใช้บ่อยๆ (cold storage) และชูจุดขายด้านราคาต่อความจุที่ถูกมากๆ
บริษัท HGST (Hitachi Global Storage Technology) ที่รู้จักดีในฐานะอดีตบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อ Hitachi ซึ่งถูกซื้อโดย Western Digital ไปเมื่อปีก่อน ออกมาประกาศความสำเร็จในการพัฒนาฮาร์ดดิสก์บรรจุก๊าซฮีเลียมในเชิงพาณิชย์เป็นรายแรกของโลก
วงการสื่อเก็บข้อมูลถึงคราวสะเทือนอีกครั้ง เมื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Western Digital เข้าซื้อกิจการ Hitachi GST (ย่อมาจาก Hitachi Global Storage Technologies) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Hitachi ที่ผลิตฮาร์ดดิสก์ (ซึ่งเคยเป็นฝ่ายฮาร์ดดิสก์ของ IBM มาอีกทีหนึ่ง)
การเข้าซื้อครั้งนี้มีมูลค่า 4.25 พันล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นเงินสด 3.5 พันล้านดอลลาร์ ที่เหลือเป็นหุ้นของ Western Digital