Wikipedia ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 2001 โดยใช้ซอฟต์แวร์ MediaWiki ที่เขียนขึ้นในยุคนั้น ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายส่วนที่เริ่มล้าสมัยแล้ว
มูลนิธิ Wikimedia Foundation ในฐานะผู้ดูแลโครงการ Wikipedia จึงพยายาม "ยกเครื่อง" ซอฟต์แวร์ MediaWiki ให้ทันสมัยขึ้น หนึ่งในแผนการคือเปลี่ยนมาใช้เฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ตัวใหม่ๆ แทน jQuery ที่ใช้มานาน และเฟรมเวิร์คของตัวเองที่ชื่อ OOUI
คณะทำงานมีเกณฑ์การคัดเลือกเฟรมเวิร์คหลายข้อ เช่น ต้องนิยาม UI แบบ declarative, ตัว UI ต้องอัพเดตแบบ reactive (ตามการป้อนข้อมูลของผู้ใช้), เป็นโครงการโอเพนซอร์สที่มีชุมชนเหนียวแน่น, ประสิทธิภาพสูง, ยืดหยุ่นต่อการใช้งานหลายสถานการณ์
บริษัท Check Point Software Technologies ได้แจ้งเตือนการค้นพบช่องโหว่ประเภท remote code execution บนซอฟต์แวร์ MediaWiki ซึ่งส่งผลกระทบตั้งแต่เวอร์ชัน 1.8 เป็นต้นมา
ช่องโหว่ CVE-2014-1610 นี้ทำให้ผู้โจมตีสามารถรันคำสั่งเพื่อโจมตีจากระยะไกลได้ผ่านทางพารามิเตอร์ในไฟล์ thumb.php
ซึ่งอาจนำไปสู่การแฮ็กเว็บไซต์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์นี้และการนำไปใช้เพื่อกระจายมัลแวร์ต่อไปได้
วิกิพีเดียเตรียมเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ชื่อ Nearby โดยจะอ่านข้อมูล "พิกัด" (geodata) ของบทความนั้นๆ แล้วเช็คกับพิกัดของผู้อ่านในขณะนั้น ถ้าหากมีบทความใดมีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานที่ใกล้เคียงกับจุดที่ผู้อ่านอยู่ ก็จะแสดงรายชื่อแนะนำบทความเหล่านั้น
ในเบื้องต้นวิกิพีเดียยังทดสอบฟีเจอร์นี้กับ mobile web ของตัวเอง โดยผู้อ่านต้องเปิดโหมด experimental ด้วยจึงจะใช้งานได้
เบื้องหลังฟีเจอร์นี้คือส่วนเสริมชื่อ GeoData ของซอฟต์แวร์ MediaWiki ซึ่งมันจะสกัดข้อมูลพิกัดจากเนื้อหาของบทความ ออกมาแยกเก็บในตารางใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาด้วย Apache Solr จากนั้นก็เช็คพิกัดจากผู้อ่านเพื่อนำมาเทียบหาพิกัดในบริเวณเดียวกัน
นี่อาจเป็นฟีเจอร์ที่ผู้เขียน Wikipedia ต้องการมากที่สุด และรอคอยกันมานาน (มาก) ซึ่งในที่สุดมันก็เริ่มเกิดให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างสักที
ทีมผู้พัฒนา MediaWiki ซึ่งเป็น CMS ที่อยู่เบื้องหลัง Wikipedia และเว็บในเครืออื่นๆ เริ่มทดสอบ visual editor หรือตัวแก้ข้อความแบบวิชวลแล้ว โดย MediaWiki จะรองรับทั้งโหมด visual editor และโหมดแก้ไขข้อความด้วยภาษา markup แบบดั้งเดิม ซึ่งสามารถสลับไปมาหระหว่างกันได้
ตัว visual editor นี้ยังมีความสามารถแสดงโหมดแก้ไข 2 โหมดพร้อมกัน และแสดงโค้ดต้นฉบับได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาษา markup ของ MediaWiki เอง, JSON หรือ HTML ก็ได้ (ทดลองเล่นได้ที่ MediaWiki Sandbox)