สารานุกรมเสรี
Wikipedia ประกาศรองรับ dark mode อย่างเป็นทางการ บนหน้าเว็บทั้งเดสก์ท็อปและมือถือ
ทีมพัฒนาบอกว่า dark mode เป็นส่วนต่อขยายของธีม Vector ที่เริ่มใช้งานในปี 2022 โดยเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ที่ถูกเรียกร้องเข้ามามากที่สุด แต่การทำ dark mode ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ไม่ใช่เป็นแค่การกดฟิลเตอร์สลับสีแล้วจบกันไป เนื่องจากตัวคอนเทนต์อาจเกิดปัญหาสีเพี้ยนจากการสลับสี จนสูญเสียความหมายที่ถูกต้องไปเลย เช่น หน้าของสี International Orange เมื่อกลับสีแล้วจะเพี้ยน
Wikimedia Foundation ผู้ให้บริการ Wikipedia ทดสอบปลั๊กอินเบราว์เซอร์ Citation Needed เป็นการตรวจสอบข้อมูลในเว็บด้วยการค้นหาข้อมูลในวิกิมาอ้างอิง โดยใช้ ChatGPT มาอ่านข้อความและหน้าเว็บอ้างอิงว่าเนื้อหาสนับสนุนกันหรือไม่
ปลั๊กอินเบราว์เซอร์ตัวนี้รับอินพุตโดยให้ผู้ใช้เลือกข้อความในเว็บใดๆ จากนั้นจะอาศัย ChatGPT ในการสร้างคำค้นหา และค้นหาหน้าวิกิด้วย API ของ Wikipedia เอง สุดท้ายจะใช้ ChatGPT ในการแยกประโยคที่เกี่ยวข้องและสรุปออกมาว่าเป็นเนื้อหาที่ผู้ใช้เลือกมานั้นสอดคล้องกับข้อความในหน้าวิกิหรือไม่
Wikipedia รายงานเนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุดเฉพาะที่เป็นภาษาอังกฤษ จากจำนวนเพจวิวรวมกว่า 8.4 หมื่นล้านครั้ง ตลอดปี 2023 ซึ่งสามารถสะท้อนเรื่องราวความสนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมของผู้คนในปีที่ผ่านมาได้
ChatGPT เป็นเนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุดในปีนี้ ซึ่งแอปก็เพิ่งให้บริการมาครบหนึ่งปี จึงอาจบอกได้ถึงกระแสความสนใจทั้งประโยชน์และข้อกังวลในผลกระทบต่อสังคมที่อาจเกิดขึ้น
Wikipedia ปรับดีไซน์หน้าเว็บเวอร์ชันเดสก์ท็อปเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี (ปรับครั้งสุดท้ายปี 2011) การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนคือหน้าตาสะอาดขึ้น ไอคอนลูกโลกมีขนาดเล็กลง แถบ sidebar ข้างซ้ายกินพื้นที่มากกว่าเดิม ตัวเนื้อหาบทความขยับมาอยู่ตรงกลางหน้าจอมากขึ้น
เหตุผลที่แถบด้านซ้ายมือขยายใหญ่ขึ้น เพราะมันกลายเป็บแถบ navigate แสดงโครงสร้างของเนื้อหาส่วนต่างๆ ในบทความแทน (ของเดิมอยู่รวมกับหน้าบทความ) ส่วนรายการบทความเดียวกันในภาษาอื่นๆ ที่เคยอยู่ในแถบ sidebar กลายมาเป็นเมนูแบบ drop-down ที่มุมขวาบนของบทความแทน
Meta เปิดตัวโครงการ AI ใหม่แนวสารานุกรมออนไลน์ชื่อ Sphere
แนวทางการทำงานของ Sphere คือการให้ AI อ่านเอกสารความรู้เชิงวิชาการจำนวนมาก 134 ล้านหน้าบนอินเทอร์เน็ต นำมาย่อยเป็นข้อความ 906 ล้านย่อหน้า (เรียกว่า knowledge-intensive natural language processing หรือ KI-NLP) เพื่อให้ AI ทำตัวเป็น "ปราชญ์" สามารถตอบคำถามแนวความรู้ เช่น "ใครเป็นคนที่ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์คนแรกของโลก" ได้อย่างแม่นยำ
Meta บอกว่าแนวทางของ Sphere เป็นการเข้าไปอ่านเอกสารที่สแกนหาเองโดยตรง (Meta เขียน crawler เอง เพื่อมาอ่านให้เข้าใจด้วย NLP) ต่างจากแนวทางเดิมที่ใช้วิธีดึงข้อมูลจาก search engine ที่ผ่านการคัดกรองอันดับมาแล้ว
ต่อจากข่าว อาสาสมัคร Wikipedia เสนอให้หยุดรับเงินบริจาคเป็นคริปโต มีคนโหวตเห็นด้วย 71% ทางมูลนิธิ Wikimedia Foundation ประกาศหยุดรับเงินบริจาคเป็นคริปโตตามข้อเสนอแล้ว โดยจะปิดบัญชี Bitpay ทำให้ไม่สามารถรับเงินเป็นคริปโตได้อีก
ข้อเสนอของเหล่าอาสาสมัครให้เหตุผลหลัก 3 ข้อที่ควรเลิกรับคริปโตคือ การรับบริจาคเงินคริปโตเป็นการส่งสัญญาณว่ามูลนิธิสนับสนุนการใช้เงินคริปโต, เงินคริปโตส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งขัดแย้งกับเป้าหมายของมูลนิธิ, ตัวองค์กรเสียชื่อเสียงจากการรับเงินคริปโต
เมื่อต้นปีนี้ Mozilla Foundation ก็หยุดรับบริจาคเป็นเงินคริปโต ด้วยเหตุผลเรื่องสิ่งแวดล้อม
กลุ่มอาสาสมัคร Wikipedia ระดับ editor จำนวนประมาณเกือบ 400 ร่วมกันโหวตข้อเสนอให้มูลนิธิ Wikimedia Foundation ที่ดูแล Wikipedia หยุดรับเงินบริจาคเป็นคริปโต
ข้อเสนอนี้มีเหตุผลหลัก 3 ข้อคือ การรับบริจาคเงินคริปโตเป็นการส่งสัญญาณว่ามูลนิธิสนับสนุนการใช้เงินคริปโต, เงินคริปโตส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งขัดแย้งกับเป้าหมายของมูลนิธิ, ตัวองค์กรเสียชื่อเสียงจากการรับเงินคริปโต โดยยกกรณีของ Mozilla ที่ตัดสินใจหยุดรับเงินคริปโต
คนรัสเซียเริ่มดาวน์โหลดข้อมูล Wikipedia เก็บไว้ใช้งานแบบออฟไลน์ ก่อนรัฐบาลรัสเซียบล็อคการเข้าถึง Wikipedia (ขู่ว่าจะบล็อคแต่ยังไม่บล็อคจริงๆ)
ปัจจุบันมีเครื่องมือหลายตัวที่ใช้ดาวน์โหลดข้อมูลจาก Wikipedia เก็บไว้แบบออฟไลน์ ตัวอย่างยอดนิยมคือ Kiwix ที่ออกแบบมาสำหรับการอ่าน Wikipedia ในสถานที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต หรือประเทศที่ปิดกั้นอินเทอร์เน็ต
รัสเซียขู่จะบล็อคเว็บไซต์ WIkipedia ภาษารัสเซียเนื่องจากบทความเรื่องรัสเซียบุกยูเครนปี 2022 โดยทางการรัสเซียอ้างว่าบทความดังกล่าวเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย
สำหรับเหตุผลที่รัสเซียไม่พอใจบทความนี้ เนื่องมาจากในบทความมีรายงานเกี่ยวกับจำนวนคนตายของเจ้าหน้าที่รัฐฝั่งรัสเซียและประชาชนและเด็กชาวยูเครน โดย Roskomnadzor หน่วยงานควบคุมด้านการสื่อสารของรัสเซียต้องการให้นำข้อมูลนี้ออกจากบทความ
ตอนนี้บทความดังกล่าวถูกป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ใหม่หรือผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนแก้ไข และผู้ที่จะแก้ไขได้จะต้องมีสถานะเป็นบรรณาธิการของ Wikipedia เท่านั้น
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา เรื่องเริ่มต้นจากการที่มีผู้ใช้ PhakkaponP ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ใช้ Lazymaw เข้ามาแก้ไขบทความ "สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์" ซึ่งเป็นว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. จากพรรคประชาธิปัตย์ในรูปแบบที่เป็นการประชาสัมพันธ์และมีความไม่เป็นกลาง ซึ่งขัดกับแนวทางความเป็นสารานุกรมของวิกิพีเดีย ก่อนที่ผู้ใช้ Lazymaw จะเข้ามาอ้างว่าตนเองเป็นคนที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากคุณสุชัชวีร์ รวมถึงอ้างว่าคุณสุชัชวีร์ได้เป็นผู้ตรวจเนื้อหาต่างๆ ด้วยตนเองว่ามีความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยการขู่ดำเนินคดีกับผู้ใช้คนอื่นที่มาแก้ไขบทความ
Wikimedia Foundation เปิดตัวบริการใหม่ Wikipedia Enterprise โดยจับกลุ่มบริษัทที่ต้องการใช้ข้อมูลจาก Wikipedia ให้บริการ clean up ข้อมูลเบื้องต้นก่อนนำไปใช้งาน
ตอนนี้ Wikimedia ยังไม่ได้กำหนดว่า Wikipedia Enterprise จะทำอะไรได้บ้าง แต่รายละเอียดคร่าว ๆ คือจะเป็น API เวอร์ชันพรีเมียมสำหรับผู้ใช้องค์กรที่ต้องการนำข้อมูลจาก Wikipedia ไปใช้งาน โดยตัว API จะแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลบน Wikipedia ไปใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่แสดงจะเป็นข้อมูลที่ผ่านการแก้จากชุมชนมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง แทนที่จะแสดงข้อมูลล่าสุด (ซึ่งอาจจะเพิ่งโดนแก้ให้ผิดไปในระยะเวลาไม่นานนัก)
วิกิพีเดียเผยหัวข้อที่มียอดคนเข้าอ่านสูงสุดประจำปี 2020 โดยจำกัดเฉพาะหน้าเพจที่เป็นภาษาอังกฤษ พบว่า COVID-19 มาเป็นอันดับ 1 และมีหลายหัวข้อเกี่ยวกับโรคระบาดที่ติดโผ 7 ใน 25 รายการที่คนอ่านสูงสุด ได้ยอดคนอ่านเฉพาะเรื่อง COVID-19 รวมกัน 225 ล้านครั้ง ส่วนหัวข้อที่ได้รับความสนใจอื่นๆ มี การเลือกตั้งสหรัฐฯ, ประวัติของ Kamala Harris และ Joe Biden , การเสียชีวิตของนักบาสเกตบอล Kobe Bryant นักแสดงชาวอินเดีย Sushant Singh Rajput และนักแสดง Chadwick Boseman
หัวข้อทั้ง 25 รายการมีดังนี้ (ตัวเลขด้านหลังคือยอดคนเข้าอ่าน)
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ร่วมกับ Wikimedia Foundation เจ้าของวิกิพีเดีย ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับ COVID-19 สามารถใช้งานอินโฟกราฟิก, ข้อมูลตัวอักษร, ภาพและวิดีโอ ออกไปได้ไม่ติดลิขสิทธิ์ เพราะอยู่ภายใต้เงื่อนไข Creative Commons Attribution-ShareAlike
วิกิพีเดียเตรียมจะปรับปรุงหน้าเว็บ ยกเครื่องใหม่ในรอบสิบปี และยังเผยโปรโตไทป์หน้าตาใหม่ในบล็อกด้วย มีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง ที่ตั้งเป้าจะเปิดให้ใช้งานแบบครบถ้วนภายในปี 2021 ดังนี้
Facebook เริ่มทดสอบฟีเจอร์ใหม่ แสดงข้อมูลจาก Wikipedia ในช่องค้นหา คล้ายกับฟีเจอร์ Knowledge Panels ของ Google โดยเมื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ จะมีแท็บปรากฏเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นจากบทความใน Wikipedia พร้อมรูปภาพประกอบ
Facebook เพิ่มฟีเจอร์ดังกล่าวเพื่อป้องกันข่าวปลอมที่แพร่หลายอย่างมาก ก่อนหน้านี้ Facebook ก็ได้เพิ่มฟีเจอร์แปะป้ายว่าโพสต์ใดเป็นข่าวปลอม รวมไปถึง ให้บัญชีผู้ใช้ที่ได้รับความนิยมผิดปกติยืนยันตัวตน แต่ล่าสุดก็ถูก Joe Biden เรียกร้องกึ่งโจมตีให้แก้ข่าวปลอม โดยเฉพาะกรณีที่ยกเว้นโพสต์ของ Trump
Wikipedia ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 2001 โดยใช้ซอฟต์แวร์ MediaWiki ที่เขียนขึ้นในยุคนั้น ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายส่วนที่เริ่มล้าสมัยแล้ว
มูลนิธิ Wikimedia Foundation ในฐานะผู้ดูแลโครงการ Wikipedia จึงพยายาม "ยกเครื่อง" ซอฟต์แวร์ MediaWiki ให้ทันสมัยขึ้น หนึ่งในแผนการคือเปลี่ยนมาใช้เฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ตัวใหม่ๆ แทน jQuery ที่ใช้มานาน และเฟรมเวิร์คของตัวเองที่ชื่อ OOUI
คณะทำงานมีเกณฑ์การคัดเลือกเฟรมเวิร์คหลายข้อ เช่น ต้องนิยาม UI แบบ declarative, ตัว UI ต้องอัพเดตแบบ reactive (ตามการป้อนข้อมูลของผู้ใช้), เป็นโครงการโอเพนซอร์สที่มีชุมชนเหนียวแน่น, ประสิทธิภาพสูง, ยืดหยุ่นต่อการใช้งานหลายสถานการณ์
Wikipedia เว็บไซต์สารานุกรมฟรีและเสรีประกาศว่าตอนนี้ทางเว็บไซต์มีบทความเป็นภาษาอังกฤษมากกว่า 6 ล้านบทความแล้ว หลังจากก่อตั้งมาราว 19 ปี
สำหรับบทความที่หกล้านใน Wikipedia ภาษาอังกฤษนี้ คือบทความเกี่ยวกับ Maria Elise Turner Lauder ซึ่งเป็นครูในโรงเรียนแคนาดา, นักเขียนด้านการท่องเที่ยว และนักเขียนนวนิยายในศตวรรษที่ 19 เขียนโดย Rosie Stephenson-Goodknight ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความให้ Wikipedia มาอย่างยาวนาน
ตุรกีได้เริ่มบล็อควิกิพีเดียเมื่อเกือบสามปีก่อน ล่าสุดตอนนี้วิกิพีเดียเริ่มกลับเข้ามาใช้งานได้อีกครั้งในตุรกี หลังจากศาลรัฐธรรมนูญในตุรกีกลับคำสั่งแบนเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
การสั่งบล็อควิกิพีเดียเมื่อสามปีก่อน เกิดจากหน่วยงานด้านการสื่อสารทางไกลของตุรกีเป็นผู้สั่งบล็อคโดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงต่อประเทศ แต่ศาลรัฐธรรมนูญระงับคำสั่งโดยระบุว่าการกระทำนี้ถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตยและทำลายเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
Wikipedia ประกาศ 25 อันดับบทความยอดนิยมเฉพาะภาษาอังกฤษในปี 2019 ซึ่งรวบรวมสถิติโดยนักวิจัย Andrew G. West เพื่อสะท้อนว่าผู้อ่าน Wikipedia สนใจเนื้อหาเรื่องใดมากทึ่สุด
ผลการจัดอันดับพบว่า 16 ใน 25 อันดับ เป็นบทความด้านบันเทิงทั้ง ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และวิดีโอเกม โดยมี Avengers: Endgame เป็นบทความยอดนิยมอันดับ 1 ด้วยจำนวนเพจวิวเกือบ 44 ล้านครั้ง
ทั้งนี้ผลการจัดอันดับดังกล่าวนับถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2019 ซึ่งจะมีการปรับปรุงข้อมูลอีกครั้งเมื่อครบปี และตัดบทความที่มีอัตราส่วนผู้เข้าชมผ่านมือถือน้อยกว่า 10% หรือมากกว่า 90% เนื่องจากมองว่าเป็นบอตหรือสแปม
25 อันดับบทความยอดนิยมเป็นดังนี้
กระทรวงเทคโนโลยีและไอทีของอินเดีย เสนอกฎหมายที่ระบุว่า แอปพลิเคชั่นตัวกลาง หรือผู้ให้บริการออนไลน์ใดๆ ที่มีผู้ใช้ 5 ล้านรายขึ้นไป ต้องจัดตั้งสำนักงานท้องถิ่นและมีผู้บริหารระดับสูงในประเทศที่สามารถรับผิดชอบต่อปัญหาทางกฎหมายได้ วัตถุประสงค์ของกฎหมายคือ ให้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ปลอดภัย จึงต้องการคนกลางในการปิดการเข้าถึงเนื้อหาอันตราย ผิดกฎหมาย
ส่งผลให้วิกิมีเดียผู้ก่อตั้งวิกิพีเดียแสดงความกังวลว่าจะกระทบต่อเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร Amanda Keton ที่ปรึกษาทั่วไปของมูลนิธิวิกิมีเดียบอกว่า กฎหมายอินเดียที่เสนอมานี้อาจสร้างภาระทางการเงินสำหรับองค์กรวิกิมีเดียที่ไม่แสวงหาผลกำไร และปิดกั้นสิทธิการแสดงออกอย่างอิสระสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอินเดีย การเสนอกฎใหม่ของอินเดียยังสร้างความกังวลให้บริษัทไอทีอื่นด้วย เช่น Mozilla, GitHub
Wikipedia ร่วมมือกับ Internet Archive แปลงลิงก์บน Wikipedia ที่อ้างอิงถึงหนังสือ ให้กลายเป็นลิงก์ในยังเว็บเก็บภาพแสกนหนังสือโดยตรง ทำให้ตรวจสอบได้ทันทีว่าอ้างอิงถูกต้องหรือไม่
ตอนนี้ทาง Internet Archive แสกนหนังสือแล้ว 50,000 เล่ม และความร่วมมือครั้งนี้ก็แปลงการอ้างอิงบน Wikipedia เป็นลิงก์ทั้งหมด 130,000 รายการ ผู้ใช้สามารถกดอ่านบางส่วนของหนังสือได้ทันที
ทาง Internet Archive ระบุว่าต้นทุนการแสกนหนังสืออยู่ที่เล่มละ 20 ดอลลาร์ และมีเป้าหมายที่จะแสกนหนังสือ 4 ล้านเล่มในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ที่มา - Internet Archive
เมื่อคืนที่ผ่านมา Wikipedia ประกาศผ่าน Twitter ของโครงการว่าถูกโจมตีด้วยกระบวนการ DDoS จน server บางประเทศใช้งานไม่ได้ไประยะหนึ่งในช่วง 0100 - 0500 ตามเวลาในประเทศไทย
แม้จะยังไม่ทราบผู้โจมตีและสาเหตุที่โจมตีที่แท้จริง แต่มีกลุ่มคนอ้างตัวว่าทำไปเพราะต้องการทดลองศักยภาพของอุปกรณ์ IoT ที่อยู่ในความยึดครอง
เป็นแคมเปญโฆษณาที่อาจเรียกได้ว่า หาเหาใส่หัว พอสมควรกับกรณีแบรนด์เสื้อผ้าชื่อดัง The North Face ร่วมมือกับเอเจนซี่ Leo Burnett Tailor Made ทำแคมเปญให้แบรนด์ The North Face ติดอันดับค้นหาในอินเทอร์เน็ตด้วยการไปเปลี่ยนรูปสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในวิกิพีเดียให้เป็นรูปที่มีสัญลักษณ์ The North Face อยู่ในรูปด้วย แต่ก็ยังคงเป็นรูปที่มาจากสถานที่เดียวกัน
เช่น ถ้าผู้ใช้งานค้นหาสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ใช้ก็จะเจอรูปสวิตเซอร์แลนด์ในวิกิพีเดีย แต่มีนางแบบนายแบบสวมใส่ผลิตภัณฑ์ของ The North Face อยู่ในนั้นด้วย ถือเป็นแคมเปญที่ทำให้แบรนด์มีคนเจอในหน้า Google โดยที่ไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่มเติมเลย
ประเทศจีนนั้นถือเป็นประเทศที่มีการควบคุมโลกออนไลน์อย่างเคร่งครัด และล่าสุดก็เป็นคราวของ Wikipedia ที่ Open Observatory of Network Interference รายงานว่าโดนสั่งบล็อคจากทางการจีนเรียบร้อยแล้วในทุกภาษาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา จากเดิมที่บล็อคเวอร์ชันภาษาจีนตั้งแต่ปี 2015
ตอนนี้ยังไม่ทราบว่าทำไมจีนจึงตัดสินใจบล็อค Wikipedia ในภาษาอื่น ๆ ด้วย แต่ค่อนข้างแน่นอนว่าอาจเกี่ยวกับงานครบรอบ 30 ปีของการประท้วงจัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งโดยปกติจีนมักจะบล็อคหน้าเว็บอยู่แล้ว แต่หลังจาก Wikipedia เปลี่ยนไปใช้ HTTPS ก็ทำให้การบล็อคเป็นหน้าใช้ไม่ได้อีกต่อไป จึงสั่งบล็อคทั้งเว็บเพื่อป้องกันไม่ให้คอนเทนต์บางอย่างออกสู่สายตาประชาชน
Wikimedia Foundation องค์กรผู้ดูแลเว็บไซต์สารานุกรมเสรี Wikipedia ได้ระบุถึงการนำ machine learning มาใช้เพื่อประโยชน์ในการทำระบบการอ้างอิงของ Wikipedia
Wikimedia ระบุว่า กลไกสำคัญที่ทำให้ Wikipedia รักษาคุณภาพระดับสูงเอาไว้ได้นั่นก็คือ inline citation หรือการอ้างอิงในเนื้อหา ซึ่งการอ้างอิงเหล่านี้จะทำให้ผู้อ้างและผู้แก้ไขมั่นใจว่าข้อความในบทความนั้น ๆ สะท้อนแหล่งข้อความอย่างเที่ยงตรง ส่วนเนื้อหาอะไรที่ไม่มีแหล่งข้อมูลชัดเจน จะต้องถูกลบหรือมีการแปะว่า “ต้องการอ้างอิง”