กสทช.
กสทช. อนุมัติคำร้องขอร่วมจาก TOT และ AIS เพื่อทดลองเทคโนโลยีเครือข่าย LTE บนความถี่ 1800 MHz และ 2300 MHz รวมทั้งสิ้น 20 ช่องสัญญาณ โดยการทดสอบจะติดตั้งตัวส่งสัญญาณ 84 จุดในกรุงเทพฯ และบางหัวเมืองใหญ่ ใช้เวลาทดสอบทั้งสิ้น 90 วัน และสามารถขยายเพิ่มได้อีก 90 วัน (เป็น 180 วัน) ทั้งนี้ในเนื้อหาข่าวยังไม่ได้ระบุพื้นที่ และช่วงเวลาในการทดสอบ
นอกจากนี้ กสทช. ยังคงเปิดรับคำร้องจากทั้งทาง CAT Dtac และ True ด้วยเช่นกัน จากคำบอกเล่าของคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ทาง True เป็นอีกค่ายที่ได้ยื่นคำร้องไปแล้ว
ปล. ไม่แน่ใจควรจะดีใจไหม?
ที่มา - The Nation
เช้าวันนี้ทางสำนักสื่อสารสาธารณะและบริการประชาชน สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้ส่งจดหมายข่าวเตือนผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ต่อคดี "อากง เอสเอ็มเอส" ว่าสะท้อนว่าเจ้าของเครื่องจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำผ่านเครื่องนั้นๆ แม้จะไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้ลงมือจริงก็ตาม
ผลจากคดีนี้ กสทช.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ออกคำเตือนผ่านสบท. ดังนี้
ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 นั้นกำหนดให้การใช้งานเพื่อการค้านั้นต้องได้รับใบอนุญาตผ่านการประมูลเท่านั้น ปัญหาคือกสทช. จะเริ่มจัดสรรคลื่นความถี่ได้ก็หลังจากออกตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติได้เสียก่อน ระหว่างนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่สัญญาการใช้ความถี่ต่างๆ ที่หมดลงจะต้องหยุดดำเนินกิจการจนกว่าเราจะเข้าสู่ระบบการประมูล ผลคือกิจการที่สัญญาจะหมดลงในช่วงนี้ก็จะถูกยึดความถี่คืนทั้งหมด
ย้อนกลับไปข่าวเก่าเมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากที่วุฒิสภาได้คัดเลือก กสทช. ทั้ง 11 คนแล้วนั้น เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้นำรายชื่อของผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ชุดแรก ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้วนั้น ในวันเดียวกันก็มีสำเนาประกาศจากสำนักนายกรัฐมนตรีส่งมายังรัฐสภาโดยมีใจความว่า
update: ผมตรวจสอบกับแหล่งข่าวอื่นๆ หลายคนให้ความเห็นว่ากสทช. ไม่น่าจะสั่งหยุดให้บริการ โดยเว็บอื่นๆ นอกจาก Post Today ระบุเพียงรักษาการกสทช.สั่งให้แก้เนื้อหาสัญญาเท่านั้น (ไทยรัฐ, ประชาชาติธุรกิจ, MCOT) ดังนั้นเราอาจจะต้องรอรายงานผลการประชุมตัวเต็มขึ้นเว็บกสทช. และจดหมายคำสั่งไปยังทรูว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างไร
หลังจากยืดเยื้อมานานนับปี วันนี้วุฒิสภาได้ลงมติเลือกคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ชุดแรกตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 จำนวน 11 คนเรียบร้อยแล้ว
คณะกรรมการ กสทช. มีวาระการทำงาน 6 ปี ในการปฏิบัติงานจริงจะแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วนคือ โดยแบ่งคณะกรรมการย่อย 2 ชุด ชุดละ 5 คน (ไม่รวมประธาน กสทช.) คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)
สำหรับรายชื่อ กสทช. ทั้ง 11 คนมีดังนี้
กระบวนการสรรหากสทช. ที่จะเข้ามากำกับดูแลคลื่นความถี่ทั้งประเทศผ่านการคัดค้านไปได้อีกขั้นเมื่อศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษายกฟ้องจากการที่นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร ฟ้องร้องต่อคณะกรรมการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าดำเนินการไม่โปร่งใส
เมื่อวานนี้ (29 มิ.ย.) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ปฎิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการกิจการวิทยุกระเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทร คมนาคม (กสทช.) ได้อนุมัติให้ AIS เปลี่ยนแปลงพื้นที่ให้บริการ 3G HSPA บนความถี่เดิม (in-band migration) จำนวน 1,884 สถานี ซึ่งคู่สัญญาสัมปทานของ AIS คือ TOT ได้อนุมัติมาก่อนแล้ว
ส่วนนายวิเชียร เมฆตระการ ซีอีโอของ AIS ระบุว่าการอัพเกรดอุปกรณ์ 2G เดิมเป็น HSPA เรียบร้อยหมดแล้ว จะเปิดบริการในเดือน ก.ค. ประมาณ 1,000 สถานี และเปิดครบ 1,884 สถานีภายในไตรมาสที่สามของปีนี้